นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ ชี้ความโลเลของประธานาธิบดียูเครน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่ไม่เป็นกลาง ทำให้ทั้งโลกต้องเดือดร้อนไปด้วย พร้อมยกกรณีศึกษาของประเทศฟินแลนด์-เบลเยียม เป็นแบบอย่างประสบความสำเร็จในความเป็นกลาง
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ ได้ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว "กมล กมลตระกูล" เกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ชี้เป็นเพราะประธานาธิบดียูเครน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ไม่เป็นกลางทำโลกทั้งโลกเดือดร้อนไปด้วย โดยนายกมลได้ระบุข้อความว่า
"โมเดลความเป็นกลางที่ผู้นำยูเครนไม่เลือก ทำให้โลกทั้งโลกเดือดร้อนไปด้วย! การยุติสงครามด้วยความเป็นกลางของยูเครน
CNAStefan Wolff and David Hastings Dunn are a Professor of International Security and a Professor of International Politics in the Department of Political Science and International Studies at the University of Birmingham respectively. This commentary first appeared in The Conversation.
หนึ่งในเหตุผลของวลาดิมีร์ ปูติน ในการใช้กำลังทหารเข้าไปปลดอาวุธในยูเครน (Demilitarization) ของเขาคือความจำเป็นในการถอด “มีดสั้นที่จ่อคอหอยของรัสเซีย” โดยยืนยันถึงความเป็นกลางและกำหนดให้เป็นประเทศปลอดทหารของยูเครน
ความเป็นกลางในขอบเขตที่สามารถทำได้บนพื้นฐานของคำประกาศของปูตินที่ยืนยันมาหลายปีมาจนถึงปัจจุบัน คือ
1. ยูเครนจะต้องสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมกับ NATO หรือสหภาพยุโรป
2. เป็นเขตปลอดทหารอย่างสมบูรณ์ และ
3. ไม่อนุญาตให้ต่างประเทศ (โลกตะวันตกและนาโต้) ตั้งฐานทัพทหารในยูเครน และถอนฐานทัพที่มีอยู่ให้ออกไปให้หมด
วิสัยทัศน์ของรัสเซียเรื่องความเป็นกลางสำหรับยูเครนหมายถึงรัฐบาลที่เป็นมิตรกับมอสโกทั้งในนโยบายในประเทศและต่างประเทศ
Model ฟินแลนด์ของยูเครน แนวคิดเรื่อง "Finlandisation" ของยูเครนได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง
กรอบกฎหมายสำหรับเรื่องนี้ประกอบด้วยสนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 กับฟินแลนด์และข้อตกลงมิตรภาพ ความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของฟินโน-โซเวียตปี 1948 มาตรา 8 ของสนธิสัญญาปี 1947 กำหนดให้ฟินแลนด์ห้าม "องค์กรต่างๆ มาโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต" ต่อมา มีข้อตกลงปี 1948 แม้จะไม่ได้ให้ปลอดทหาร แต่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่าฟินแลนด์ต้องไม่ "เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรใดๆ ที่มุ่งต่อต้าน" สหภาพโซเวียต สนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 กับฟินแลนด์ยังยืนยันอีกครั้งถึงบทบัญญัติของข้อตกลงสงบศึกปี 1944 ที่ฟินแลนด์จะให้สหภาพโซเวียตเช่าฐานทัพเรือให้เป็นเวลา 50 ปี ซึ่งมอสโกขอยกเลิกในปี 1956
ตัวอย่างอื่นๆ ที่เป็น “แบบอย่างประสบความสำเร็จ” ในความเป็นกลางซึ่งเป็น "แนวทางแก้ไขปัญหา" ที่เป็นไปได้สำหรับวิกฤตในปัจจุบัน ได้แก่ สนธิสัญญารัฐออสเตรียปี 1955 และความเป็นกลางก่อนหน้าของเบลเยียม ซึ่งตกลงกันในการประชุมลอนดอนระหว่างปี 1830-1832ได้กำหนดไว้ตามสนธิสัญญารัฐออสเตรีย ว่า เมื่อกองกำลังพันธมิตรทั้งหมดได้ถอนกำลังออกจากประเทศออสเตรียก็จะยึดถือความเป็นกลางถาวรโดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และสภาต้องทำตามรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาประกาศว่า “ในอนาคตออสเตรียจะไม่เข้าร่วมกับพันธมิตรทางทหารและจะ ไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งฐานทัพทหารของต่างประเทศใดๆ ในอาณาเขตของเธอ”
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เบลเยียมกลายเป็น “รัฐที่เป็นกลางตลอดกาล” ภายใต้เงื่อนไขของการประชุมลอนดอน มหาอำนาจทั้ง 5 แห่งในยุคนั้น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซีย ทำหน้าที่ “รับประกันความเป็นกลางถาวรตลอดจนการเคารพในบูรณภาพและอาณาเขต ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของอาณาเขตของเบลเยียม
จากบทสนทนาและเสวนาข้างต้น โมเดลทั้งหมดนี้ ประธานาธิบดียูเครนเลือกได้เพื่อให้เกิดสันติภาพและการอยู่ร่วมกันกับรัสเซียอย่างถาวร เหมือนประเทศต่างๆ ข้างต้น แต่ไม่เลือก โลกทั้งโลกจึงพลอยยุ่งเหยิงเดือดร้อนไปด้วยจากราคาน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง สินค้าขาดแคลน คนตกงาน ผู้นำประเทศไหนเลือกข้าง ไม่เป็นกลาง จะทำให้ประชาชนของตนยิ่งเดือดร้อนมากขึ้น (จับตาดูรัฐบาลใหม่เกาหลีใต้) ณ วันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งเลือกข้าง และกลับเป็นฝ่ายผลักดันรัฐบาลให้เลือกข้าง?"
อ่านโพสต์ต้นฉบับ