xs
xsm
sm
md
lg

"หมออั้ม" ยันฉีดแอลกอฮอล์สเปรย์พ่นมือ-ผิวหนังได้ปกติ โอกาสไฟลุกมีน้อยมาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เฟซบุ๊ก “หมออั้ม อิราวัต” โพสต์อธิบายการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์พ่นมือ-ผิวหนัง สามารถทำได้เป็นปกติ เพราะแอลกอฮอล์ระเหยเร็ว แค่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ หลังมีข่าวสาวไฟไหม้ตัวจากการฉีดแอลกอฮอล์ที่ตัวแล้วเดินไปจุดยากันยุง

จากกรณีมีรายงานข่าวว่าสาววัย 28 ปีใช้สเปรย์แอลกอฮอล์พ่นฆ่าเชื้อตามตัวหลังกลับมาจากที่ทำงานก่อนเข้าบ้านเพื่อป้องกันโควิด เนื่องจากที่บ้านมีผู้สูงอายุ จากนั้นเดินเข้าบ้านไปจุดยากันยุงไล่ยุง จู่ๆ ไฟเกิดลุกไหม้ทั่วตัวลุกลามอย่างรวดเร็ว ร่างกายถูกไฟไหม้กว่า 60% คาดเกิดจากไอระเหยของแอลกอฮอล์ที่ฉีดพ่นไปยังติดค้างอยู่ที่ตัวและเสื้อผ้าทำให้ติดไฟ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 ก.พ. หมออั้ม อิราวัต อารีกิจ อดีตนักร้อง และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "อั้ม อิราวัต" โดยได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า

"แอลกอฮอล์สเปรย์ ถ้าพ่นมือ/ผิวหนังธรรมดา โอกาสติดไฟลุกลามน้อยมากๆ นะครับ เพราะมันจะระเหยจากผิวเราเร็วมากๆ
เคสในข่าว ที่บอกว่าพ่นแล้วไปจุดไฟกันยุง แล้วไฟคลอก ลุกติดตัวจนไหม้บาดเจ็บ น่าจะเกิดจากการพ่นในปริมาณมากจริงๆ จนชุ่มผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม จนมากพอที่จะทำให้เกิดการติดไฟลุกลามได้ ในฐานะแพทย์ ผมเคยทดลองมาก่อนครับ โดยการนำสเปรย์แอลฯ หลากชนิด (ที่มี % เกิน 70%) พ่นโดยตรงใส่เทียนและกองไฟ ได้ผลดังนี้ แอลกอฮอล์ล้างแผล ไฟติดง่ายกว่า แต่ไม่นาน แต่หากพ่นใส่ผ้า หรือสำลีชุ่มๆ ในปริมาณเยอะๆ จะติดไฟได้ง่ายและยาวนานขึ้น เกิดอันตรายได้ ส่วนแอลกอฮอลพ่นมือที่ทำมาเฉพาะ โอกาสติดไฟต่ำกว่ามากๆ ต่อให้พ่นโดยตรง เพราะที่จำหน่ายกัน ที่วางขายตามท้องตลาด จะมีส่วนประกอบอื่นด้วย เช่น สารแต่งกลิ่น-สี น้ำมันดอกไม้ อะโลเวรา ฯลฯ หากพ่นใส่สำลี หรือผ้า ต้องพ่นเยอะมากกว่า และต้องให้ชุ่มจริงๆ ถึงติดไฟลุกลามได้

สรุป ไม่ต้องกังวลการพ่นมือหรือวัสดุต่างๆ พ่นได้ตามปกติชีวิตประจำวันในยุคโควิดโดยไม่ต้องกังวลจนเกินไป ตามข่าว

แต่อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตสิ่งรอบตัว ไม่ประมาท พ่นห่างไฟหรือพื้นที่ที่มีความร้อนสูง ที่มีไฟ มีเชื้อเพลิงอะไรๆ ไว้ก่อน รวมไปถึง รอสักนิดให้แอลกอฮอล์ระเหยดีๆ ก่อนทำกิจกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะที่ใกล้ไฟ ไม่พ่นใกล้เยื่อบุตา จมูก หรือจุดที่เป็นแผล เพราะจะทำให้ผิวหนัง เยื่อบุอวัยวะนั้นๆ เกิดการระคายเคือง และบาดเจ็บได้"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ
กำลังโหลดความคิดเห็น