xs
xsm
sm
md
lg

นักวิชาการแนะบทบาทของไทยต่อความขัดแย้งในเมียนมา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ผศ.ดร.ดุลยภาค” แนะ 3 แนวทาง บทบาทของไทยต่อความขัดแย้งในเมียนมา “เรียกร้องต่อต้านความรุนแรง-รักษาความสัมพันธ์รัฐบาลเมียนมา-พูดคุยกลุ่มคนแนวชายแดน” ชี้ ได้ภาพลักษณ์ที่ดี และน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด



วันที่ 1 ก.พ. 2565 ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “1 ปี รัฐประหารพม่า ไร้เงาประชาธิปไตย”

โดย ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวในช่วงนึงถึงบทบาทที่เหมาะสมของไทย ต่อความขัดแย้งในเมียนมา ว่า เล่นเกมตามประชาคมโลกบ้าง อะไรที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นความสูญเสียต่อมวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของฝ่ายกองทัพพม่า หรือฝ่ายต่อต้าน เราต้องเรียกร้องออกแถลงการณ์ให้มีการยุติความรุนแรง อย่างนี้เป็นสิ่งที่รับได้ อีกทั้งความขัดแย้งมาอยู่ติดชายแดนบ้านเรา ทำให้มีน้ำหนักในการพูดในการส่งเสียง ซึ่งตนคิดว่าสหประชาชาติ หรืออาเซียน หรือประเทศอื่นๆ รับได้

ส่วนแนวทางที่ 2 ก็คือ ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับพม่า ในความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับ เนปิดอว์ ยังต้องมีต่อไป และรักษาสัมพันธภาพไป

เราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่ารัฐบาลอย่างเป็นทางการในประเทศเมียนมา ก็คือ กลุ่มที่อยู่ในเนปิดอว์ แล้วก็ยังมีบางประเทศที่ยอมรับ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนเหล่านี้ เราก็ต้องติดต่อกับ มิน อ่อง ลาย ต่อไป มันก็มีข้อดีเวลามีความขัดแย้งที่ชายแดน มันยังมีช่องทางให้คุยถึงกันได้ หรือบางทีอาเซียนอาจเสนอประเทศไทยช่วยในการคุยกับผู้นำเมียนมาหน่อยว่าให้เริ่มกระบวนการปรองดองแห่งชาติ

ส่วนแนวสุดท้าย เล่นตามตะเข็บชายแดนไทยกับเมียนมา ซึ่งมันมีประเด็นเรื่องเส้นเขตแดน มีค่ายผู้ลี้ภัย มี NGO แล้วก็มีฐานที่มั่นของกองกำลังติดอาวุธทางชาติพันธุ์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็ต้องคุยกับคนพวกนี้บ้าง

และสิ่งที่เราก็ต้องระมัดระวัง คือ การพูดในทำนองว่าสงสารกองกำลังชนกลุ่มน้อย อาจทำให้รัฐบาลที่เนปิดอว์รู้สึกไม่สบายใจ การดำเนินการ 3 แนวทางที่ว่ามา ให้สมดุลกันทุกๆ ด้าน น่าจะเป็นทางออกที่ดี


กำลังโหลดความคิดเห็น