xs
xsm
sm
md
lg

“หมอจุฬาฯ” เผยโควิดสายพันธุ์ “โอไมครอน” กลายพันธุ์มากขึ้น-ต่อต้านวัคซีนกว่า "เดลตา"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ เผยโควิดสายพันธุ์ใหม่ บี 1.1.529 หรือ “โอไมครอน” เป็นการกลายพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา และนอกจากนี้ทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลง 40%

จากกรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อโควิด-19 ตัวกลายพันธุ์ B.1.1.529 ที่พบในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ว่า “โอไมครอน” (Omicron) โดยเป็นการเรียกชื่อตามลำดับอักษรกรีก พร้อมประกาศให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variant of concern) เนื่องจากมีแนวโน้มแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า

ต่อมา วันนี้ (27 พ.ย.) เพจ "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" หรือ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ บี 1.1.529 หรือ “โอไมครอน” โดยระบุว่า "สรุปข่าวช่วงเช้า (26/11/2021) กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ส่งสัญญาณเตือนถึงสุดยอดไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมาที่จะทำให้วัคซีนทั้งหลายนั้นมีประสิทธิภาพน้อยลง 40%

พวกเขาได้ส่งสัญญาณความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ซึ่งงานนี้ทำให้อังกฤษและอิสราเอลได้สั่งการให้หยุดการเดินทางที่มาจากภูมิภาคแอฟริกาใต้แต่บรรดาผู้โดยสารนั้นยังคงเดินทางไปยังอเมริกาอยู่ สายพันธุ์ดังกล่าวถูกเชื่อว่ามีต้นกำเนิดใน Botswana ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่มีเที่ยวบินไปยังอเมริกาโดยตรง

จีนเองก็ได้รายงานว่าได้พบเคสติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวจากผู้โดยสารที่เดินทางไปฮ่องกงซึ่งได้เดินทางมาจากแอฟริกาใต้และงานนี้ได้ทำให้ผู้ที่อยู่ในโรงแรมเดียวกันได้ติดเชื้อไปด้วย Dr. Eric Feigl-Ding นักระบาดวิทยาและคนของสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้กล่าวว่า

- ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาจากสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่น่ากังวลและควรจะมีคำสั่งให้ปิดชายแดน
- ดูเหมือนว่าความสามารถในการหลบหลีกวัคซีนของสายพันธุ์นี้จะเป็นของจริงโดยคนไข้ 2 รายที่ติดไวรัสตัวนี้ในฮ่องกงนั้นทั้งคู่ได้ฉีดวัคซีน 2 เข็มของ Pfizer ไปแล้ว
- มันเป็นไวรัสที่แพร่ทางอากาศ แขกในโรงแรมนั้นอาศัยอยู่คนละห้อง และจากการเก็บตัวอย่างด้านสภาพแวดล้อมได้ตรวจพบไวรัส 25 ครั้งจากการซุ่มตัวอย่างทั้งหมด 87 ครั้งในห้องพักของลูกค้าทั้ง 2 ราย

สายพันธุ์ดังกล่าวนั้นจะถูกตั้งชื่อว่า NU โดย WHO ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยมันมีคุณสมบัติดังนี้
- ทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลง 40%
- มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 30 ครั้งในสายพันธุ์ NU ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยมีมาและมากกว่า Delta ถึง 2 เท่า ซึ่งสามารถสรุปได้ว่ามันมีความสามารถในการต่อต้านวัคซีนและแพร่ระบาดได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยมีมาก่อน"

คลิก>>>อ่านโพสต์ต้นฉบับ


กำลังโหลดความคิดเห็น