xs
xsm
sm
md
lg

เข็ม 4 ต้องมา "หมอธีระวัฒน์" เผยเข็ม 3 ใช่ว่าจะอยู่นาน ระบุอาจต้องฉีดทุก 6 เดือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ เผย วัคซีนโควิด AZ หรือ PZ ครบ 3 เดือนประสิทธิภาพลดลงมาก ชี้ เข็มที่ 4 อาจต้องมา และอาจต้องฉีดกันทุกๆ 6 เดือน

วันนี้ (24 พ.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ระบุถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ booster dose โดยมีใจความว่า

"การฉีดวัคซีนโควิดในขณะนี้เป็นที่รับรู้กันแล้วว่าความสามารถในการป้องกันการติด ซึ่งสะท้อนไปถึงความสามารถในการบรรเทาหรือลดความรุนแรงและการเสียชีวิตนั้นผูกติดกันอยู่พอสมควร
ดังรายงานล่าสุดใน

วารสารวิทยาศาสตร์ (Science) ที่ทำการศึกษาในลิง โดยฉีดวัคซีน mRNA สองเข็มตามปกติที่ทำจากไวรัสต้นแบบที่เกิดขึ้นที่อู่ฮั่น และหลังจากหกเดือนไปแล้วฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนต้นแบบหรือวัคซีนที่ปรับเปลี่ยนเป็นกลุ่มวาเรียนท์ เบต้า หรือแอฟริกาใต้ที่ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด

ผลของการศึกษาทั้งในการวัดระดับของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสกลุ่มต่างๆ ทั้งในน้ำเหลืองและในเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนต้นและส่วนที่ลึกลงไปรวมกระทั่งถึงภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์ทั้งหมด จะพบว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อไวรัสในกลุ่มเบต้าจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีกว่าต่อกลุ่มต่างๆทั้งหมดโดยที่ระดับในทางเดินหายใจส่วนต้นนั้น ต้องอยู่ในระดับสูงมาก จึงจะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้เมื่อทดสอบด้วยการให้มีการติดเชื้อจริง แต่หลังจากนั้นในเวลาต่อมาก็เริ่มมีแนวโน้มในทางลดลง ขัอมูล จาก กลุ่มพันธมิตร อาจารย์หมอ เขตต์ สถาบันโรคทรวงอก อ อนันต์ ไบโอเทค และ ของเรา ล่าสุดเมื่อ 7/11/64 พบในลักษณะคล้ายคลึงกันนั่นก็คือ

1- เข็ม 3 ไม่ว่า AZ หรือ PZ เมื่อครบ 3 เดือนแล้ว แม้ว่า ระดับการยับยั้งไวรัส (NT) ที่ไม่ได้เจาะจงกลุ่มใด แต่รวมทุกกลุ่มอยู่ด้วยกัน จะสูงอยู่ที่ประมาณ 70-90% แต่ เมื่อทำการตรวจโดยละเอียดโดยใช้วิธี pseudovirus NT เจาะจง ต่อ สายพันธุ์ delta และ beta พบว่า ประสิทธิภาพลดลงมาก โดยที่ AZ จะลดลงเร็วกว่า mRNA ที่ ใช้เป็น booster dose

2- ดังนั้น เข็ม 4 น่าจะต่อจากเข็ม 3 ตั้งแต่ สามถึงสี่ เดือนขึ้นไป

3- มีความเป็นไปได้ว่า หลังจากเข็ม 4 หรือ การbooster ในอนาคต อาจจะต้องฉีดทุก 6 เดือนด้วย mRNA หรือ protein subunit เช่น ของใบยา และ ต้องปรับให้เหมาะกับสายพันธุ์ ที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะเดลต้า และเบต้าตัวร้าย โดยที่ ใบยา จะคล่องตัวสำหรับ การผันเข้ากับสถานการณ์โดยที่สามารถปรับสูตรได้เร็วและผลิตได้เป็นปริมาณมากเพียงพอกับความต้องการ

ถ้ามองถึงความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพ การที่เรามี vaccine protein subunit ของเราเองที่สามารถปรับตามสายพันธุ์ได้ ใช้ boost ปีละ1-2 ครั้ง น่าจะตอบโจทย์ระยะยาวของประเทศไทยมากที่สุด

สถานการณ์วิกฤตของเราน่าจะต้องระวังอีกครั้ง แม้ว่าคนจะได้รับวัตซีน 2 เข็ม ไปแล้วหรือ ได้เข็มที่ 3 แต่ทั้งหมดหลัง 3 เดือนไปแล้วโดยที่เราจะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ทั้งหมด แม้จะลดความรุนแรงได้ แต่และมีการแพร่เชื้อต่อไปอีกโดยเฉพาะในกลุ่มทีไม่ได้วัคซีนเลย เช่น เด็กวัยเรียน 5-11 ขวบ

โดยที่ ต้องระวัง ตั้งแต่ช่วงที่ โรงเรียนเปิด เต็มที่ อากาศหนาว PM2.5 ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ตกลง ในประชากรไม่ว่าจะสูตรไหนก็ตาม การเปิดประเทศหลังเทศกาลวันหยุดยาวคงต้องมีวินัย และ ตระเตรียมวัคซีน อย่างต่อเนื่อง"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ
กำลังโหลดความคิดเห็น