“รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด” อดีตอาจารย์จุฬาฯ ที่ถูกฟ้องกรณีวิทยานิพนธ์ฉาวของณัฐพล ใจจริง ที่เจ้าตัวเป็นที่ปรึกษา โวยจุฬาฯ ไม่ช่วยปกป้องแถมตั้งกรรมการสอบซ้ำเติม ด้าน อ.อานนท์ ชี้เสรีภาพทางวิชาการไม่ใช่อ้างเอกสารเท็จ ใส่ร้ายสถาบัน ทำลายชื่อเสียงคนอื่นแบบไม่มีมูล ยันบกพร่องศีลธรรมก็ต้องรับโทษ
สืบเนื่องมาจากกรณีที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต บุตรสาวของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และมีศักดิ์เป็นหลานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 5 มี.ค. เพื่อดำเนินคดีต่อนายณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้แต่งหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี”, นางกุลลดา เกษบุญชู มี้ด อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น.ส.อัญชลี มณีโรจน์ หุ้นส่วนสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน และนายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ในฐานความผิดละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท กรณีที่นายณัฐพลเขียนวิทยานิพนธ์หัวข้อ “การเมืองไทยสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” รวมทั้งหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500)” และหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” มีข้อความบางตอนที่โจทก์อ้างว่าบิดเบือนทำให้ได้รับความเสียหาย
อ่านประกอบ : “หลานกรมพระยาชัยนาทฯ” สุดทน ฟ้อง “ณัฐพล ใจจริง-ฟ้าเดียวกัน” 50 ล้าน ชี้เจตนาให้ร้ายสถาบันกษัตริย์
วันนี้ (9 พ.ย.) รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่คำแถลงผ่านสื่อมวลชนอาวุโสรายหนึ่ง ระบุว่า “ดิฉันมีความเสียใจที่ต้องตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของ ณัฐพล ใจจริง คดีนี้แยกเป็นสองส่วน คือส่วนแรกที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ ซึ่งดิฉันมีบทบาทเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และส่วนที่สองคือ หนังสืออันเป็นผลผลิตของวิทยานิพนธ์ ซึ่งดิฉันไม่มีบทบาทใดๆ ทั้งสิ้น
การดำเนินคดีในส่วนแรก เป็นความท้าทายต่อหลักการของเสรีภาพทางวิชาการ การฟ้องดำเนินคดีดิฉันซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นการละเมิดหลักการทั้งสองและย่อมมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวงการวิชาการในอนาคตด้วย คดีนี้จึงเป็นการต่อสู้เพื่อรักษาหลักการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งมีหลักการเป็นสากลว่า ผลผลิตของวิทยานิพนธ์ย่อมเป็นความรับผิดชอบของผู้ทำวิทยานิพนธ์นั้น คณะกรรมการผู้ทรงวุฒิได้ใช้เวลาตรวจสอบวิทยานิพนธ์แล้ว และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าวิทยานิพนธ์นี้สอบผ่าน และเป็นวิทยานิพนธ์ดีมาก ซึ่งเป็นงานวิชาการที่เปิดให้มีการโต้เถียงได้โดยเสรี
หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นสถาบันวิชาการในระดับสากล ก็ควรต้องรับรองหลักการดังกล่าวอันเกิดขึ้นภายในสถาบันของตนด้วย และควรต้องมีบทบาทในการปกป้องดิฉันซึ่งทำหน้าที่อันชอบธรรมตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้ยอมรับหรือกระทำตามหลักการที่มีความเป็นสากลนี้ และไม่ได้ดำเนินการปกป้องดิฉันในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งทำหน้าที่ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยอย่างที่ควร แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนบทบาทของดิฉันในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาดังกล่าว และในทางตรงกันข้าม ดิฉันกลับได้รับการสนับสนุน กำลังใจ ไมตรีจิต และความช่วยเหลือจากอาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทน ซึ่งดิฉันขอขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วย”
อ่านโพสต์ต้นฉบับ
อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ออกมาตอบโต้คำแถลงดังกล่าว ระบุว่า “รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 25 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น ดังนั้น รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด พีงเข้าใจ เสรีภาพทางวิชาการ ไม่ได้หมายรวมถึงการอ้างเอกสารเท็จ การปั้นแต่งนิยายทางวิชาการตามอำเภอใจ การใส่ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความเสียหายในชื่อเสียงของผู้อื่นโดยที่ไม่มีมูลความจริง การกระทำที่เป็นภัยความมั่นคง ทั้งหมดนี้แปลว่า อาจารย์กุลลดาบกพร่องในศีลธรรม และต้องได้รับโทษานุโทษตามผลแห่งการกระทำอันสมควรแก่เหตุ
อ่านโพสต์ต้นฉบับ
อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ออกมาตอบโต้คำแถลงดังกล่าว ระบุว่า "รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 25 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ
ประชาชน
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น ดังนั้น รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด พีงเข้าใจ เสรีภาพทางวิชาการ ไม่ได้หมายรวมถึงการอ้างเอกสารเท็จ การปั้นแต่งนิยายทางวิชาการตามอำเภอใจ การใส่ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความเสียหายในชื่อเสียงของผู้อื่นโดยที่ไม่มีมูลความจริง การกระทำที่เป็นภัยความมั่นคง ทั้งหมดนี้แปลว่า อาจารย์กุลลดา บกพร่องในศีลธรรม และต้องได้รับโทษานุโทษตามผลแห่งการกระทำอันสมควรแก่เหตุ
อ่านโพสต์ต้นฉบับ