‘นักรบแห่งชัมบาลา’ ( Shambala ) ญาณทัศนะอันสำคัญยิ่งในสายธรรมพุทธศาสนาวัชรยานของธิเบต หนึ่งในหนทางอันกล้าหาญศักดิ์สิทธิ์นั้น คือการเคารพในตนเอง, การภาวนาด้วยไมตรี โอบกอดตนเองอย่างเข้าใจและอ่อนโยน, การหวนคืนกลับไปสู่ความทรงจำอันเจ็บปวดในวัยเด็กและโอบรับบาดแผลในใจด้วยความรู้สึกแห่งการปลอบโยน, ปรัชญาแห่งการกล้าที่จะรับผลของสิ่งที่ตนเองเลือกจะทำ ผ่านเรื่องราวเรียบง่ายอย่างการห่อเกี๊ยวกินเองภายในครอบครัว และอีกหลากหลายเรื่องราวอันเปี่ยมล้นด้วยจิตวิญญาณ ปรัชญาชีวิต และหนทางแห่งการภาวนา ถูกถ่ายทอดผ่านผลงานภาพวาดประกอบของ ‘ถิง ชู’ หรือชื่อเต็มคือ ‘ชู ปิ่ง ถิง’ (Chu Ping Ting)

ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ ‘ถิง ชู’ เจ้าของลายเส้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียบง่าย สบายตา ให้ความรู้สึกอบอุ่นสัมผัสใจ
ภาพวาดของถิง ชู ที่เปี่ยมล้นหรือสะท้อนปรัชญาการมองโลกและใช้ชีวิต กระทั่งสื่อนัยถึงประเด็นนามธรรมบนหนทางแห่งการภาวนานั้น ล้วนเป็นการทำงานร่วมกับ ‘สถาบันวัชรสิทธา’ รวมทั้งการนำศิลปะและศาสตร์แห่งจิตวิทยามาเชื่อมโยงกับการภาวนา หรือแม้แต่สตูดิโองานปั้นเซรามิกที่เน้นกระบวนการเพื่อให้ผู้ปั้นได้เรียนรู้และทำความเข้าใจตนเองเป็นหลัก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ถิง ชูปฏิบัติเรื่อยมา ซึ่งสิ่งที่เธอทำ ล้วนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่สะท้อนถึงตัวตนความเป็นเธอผู้พร้อมจะทุ่มเทและทำในสิ่งที่รักได้อย่างเต็มหัวใจ
>>> ‘ถิง ชู’ และ ‘วัชรสิทธา’ เพื่อนร่วมงานบนหนทางธรรม
เนื่องจาก ผลงานของถิง ชู ถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค วัชรสิทธา vajrasiddha โดยมี ‘วิจักขณ์ พานิช’ เป็นผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธา หากกล่าวถึง วิจักขณ์ เขาจบปริญญาโท ด้านประวัติศาสตร์ศาสนา จากมหาวิทยาลัยนาโรปะ รัฐโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา เป็นศิษย์ของสองธรรมาจารย์ชาวอเมริกันผู้เป็นศิษย์รุ่นแรกของ ‘เชอเกียม ตรุงปะ’ คุรุชาวธิเบต ผู้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในโลกตะวันตก อีกทั้งเชอเกียม ยังเป็นผู้เขียน ‘ชัมบาลา หนทางอันศักสิทธิ์ของนักรบ’ นอกจากนี้ วิจักขณ์ ยังเป็นบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ ‘ปลากระโดด’ ด้วย
เหตุที่ต้องระบุถึงวิจักขณ์ เนื่องจากเนื้องานที่ถิง ชูถ่ายทอดผ่านเพจ ‘วัชรสิทธา’ นั้น ถิง ชูบอกกล่าวให้ได้รับรู้ว่า ผลงานแต่ละชิ้นล้วนผ่านกระบวนการพูดคุย หารือ แลกเปลี่ยนความเห็น กระทั่งในบางครั้ง ก็มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขผลงานจากวิจักขณ์ ในฐานะที่เขาเป็น Editor ในแต่ละครั้ง เธอจะส่งต้นฉบับหรือแบบร่างให้วิจักขณ์พิจารณาถึงประเด็นที่ถ่ายทอด จึงอาจกล่าวได้ว่าการทำงานของถิง ชูกับ ‘วัชรสิทธา’ นั้น ราวกับร่ายรำไปด้วยท่วงทำนองดุจเดียวกัน และเนื้องานสำคัญของเธอที่นอกเหนือไปจากการวาดภาพประกอบ ก็แนบแน่นอยู่กับวัชรสิทธาอย่างน่าสนใจ
เมื่อชวนเธอพูดคุย เริ่มต้นถึงเรื่องราวของตนเอง และกระบวนการทำงานที่ทำอยู่ ถิง ชู ตอบว่า ชื่อที่ใช้เป็นชื่อนามสกุลจริง มาจากชื่อภาษาจีน ‘ชู ปิ่ง ถิง’ (Chu Ping Ting) คำว่า ‘ชู Chu’ ตอนเป็นเด็กๆ เรียนนานาชาติ ใช้ชื่อนี้ก็เลยติดมา เหมือนอยากเล่าถึงตัวตนว่าเป็นคนจีน ก็เลยใช้ชื่อนี้เรื่อยมา
เมื่อถามถึงการทำงานกับวัชรสิทธา กระบวนการตีความในภาพแต่ละภาพ มีขั้นตอน วิธีการอย่างไร มีการทำงานร่วมกันยังไง ถิง ชู ตอบว่า เซ็ตที่เป็นการ์ตูนช่อง เกิดขึ้นตอนที่เธอย้ายมากรุงเทพฯแล้ว จากเดิมที่ก่อนหน้านี้อาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ วิจักขณ์ในฐานะบรรณาธิการเนื้อหาวัชรสิทธาจึงเสนอว่า ให้ถิง ชู ลองแชร์เนื้อหาจากการภาวนาหรือการทำงานในแบบของ คาร์ล กุสตาฟ ยุง (Carl Gustav Jung) หรือคาร์ล ยุง นักจิตวิทยาบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสตร์จิตวิทยาที่ถิง ชูสนใจ และให้อธิบายออกมาเป็นประสบการณ์ของตัวเธอเอง

>>> ความกล้าหาญและน้อมรับ บาง ‘ความทรงจำ’ ที่เจ็บปวด
“ตั้ม (วิจักขณ์) ถามว่าอยากลองวาดมันออกมาดูไหม พอเราได้ทำชิ้นสองชิ้นแรก ก็คิดว่าเป็นไปได้ ต่อมาวัชรสิทธามีเวิร์คช้อป ‘ชัมบาลา’ โดย พี่ณัฐฬส วังวิญญู ตั้มเสนอให้เราลองแชร์เนื้อหาที่เรารู้สึกกับกระบวนการนั้นออกมา โดยร่างแล้วให้ตั้มดูก่อนว่าตรงกับที่สิ่งที่วัชรสิทธาต้องการที่จะสื่อไหม มันไม่ใช่แค่ ‘ถิง ชู’ คนเดียว แต่มันคือ ‘ถิง ชู’ สัมพันธ์กับสายปฏิบัติและพื้นที่นี้ และสื่อสารมันออกมา ซึ่งตรงนี้ตอนแรกเรารู้สึกว่ายากมาก เนื่องจาก หลายๆ ประสบการณ์ส่วนตัวของเรายังไม่ได้ตกตะกอน แล้วเราอาจด่วนสรุปคำตอบอะไรออกไป ตรงนี้ ตั้มจะเข้ามาช่วยเสริม ทักท้วง หรือสะท้อนให้เราเห็น” ถิง ชูบอกเล่าถึงภาพกระบวนการทำงาน และกล่าวเพิ่มเติมถึงการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ในอดีต
“งานชิ้นหนึ่งที่เห็นชัดคือ ชุดภาพเรื่องที่เรากระโดดตีลังกาในน้ำ พ่อเราเป็นนักกีฬากระโดดน้ำสมัยมหาวิทยาลัย เขาชอบสอนให้เรากระโดดตีลังกาหน้า ตีลังกาหลัง มีครั้งหนึ่งที่เราตีลังกาพลาด หัวไปกระแทกกับกำแพงสระที่ใต้สระน้ำ มันเจ็บรุนแรงมาก แต่เราไม่กล้าบอกพ่อ พอจะต้องกระโดดอีกครั้งเราก็กระโดดไม่ได้ เหมือนร่างกายมันช็อคไป พ่อก็เหมือนรู้ทัน เรารู้สึกว่าเราทำให้พ่อผิดหวัง พ่อพูดว่า ‘ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีก ให้รีบกระโดดใหม่เลยนะ เพราะว่าร่างกายจะยังไม่จำ’ นั่นคือสิ่งที่พอบอก พอเราเขียนส่งเป็นข้อสรุปในต้นฉบับไป ตั้มก็ทักว่า ‘สื่ออย่างนี้อันตรายนะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ต้องทำอย่างนั้น และก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องถูกกระทำซ้ำกับสิ่งที่ตัวเองเพิ่งเผชิญมา มันจะกลายเป็นความรุนแรงต่อตัวเอง’
“ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่า เขาจะมาเซ็นเซอร์งานเราเหรอ แต่พอได้ทำงานกับตัวเองมากขึ้น เราก็ได้เห็นอีกเนื้อเรื่องหนึ่งที่ซ่อนอยู่ใต้เนื้อเรื่องนี้ เราเห็นว่าเราเคี่ยวเข็ญตัวเองแบบไหน และอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ตัวเองพลาดแบบไหน กลายเป็นเนื้อเรื่องเปลี่ยนไป งานชิ้นนี้แลกกับน้ำตาเลย เพราะทำงานกับตัวเองด้วย กับเนื้อหาด้วย และกับความทรงจำที่มันขึ้นมาผ่านร่างกายของเราด้วย จากนั้นมา เวลาวาดภาพก็ร้องไห้แทบจะทุกชิ้น ต้องเสียน้ำตาตอนละหนึ่งน้ำตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกชิ้นนะคะ เมื่อเร็วๆ นี้ก็ไม่ร้องค่ะ” ถิง ชูบอกเล่าได้อย่างเห็นภาพแจ่มชัดในความทรงจำ

>>> เด็กหญิงที่ไม่กล้ายอมรับในตนเอง สู่ความกล้าที่จะเคารพในตนเอง
เมื่อถามถึง ภาพวาดเรื่อง ‘นักรบ’ ที่สื่อถึง ‘ชัมบาลา’ นักรบบนหนทางธรรม ในภาพวาดที่สื่อถึงเป็นเรื่องของถิง ชู ใช่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของเด็กหญิงที่ไม่กล้าส่องกระจก ไม่กล้ายอมรับในตัวเอง
ถิง ชูตอบว่าตอบว่า “ใช่ค่ะ เราไม่ชอบส่องกระจกตอนเด็ก เพราะหัวเราใหญ่มาก ใหญ่ผิดปกติ เราคิดแบบนั้น ตอนที่เราจะเขียนเรื่อง ‘ชัมบาลา’ ตอนแรกเรากลัวมาก แต่การได้วาดเรื่องนี้ก็ทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองสมัยนั้นด้วย ดังนั้น หลายๆ อย่างที่เราเขียนไป มันเป็นการสารภาพความจริงของตัวเองในพื้นที่สาธารณะด้วย หลายเรื่องที่เขียนไปก็ยังไม่มีคำตอบว่าอะไรถูกผิด มันเป็นตัวกระบวนการ บทความส่งท้ายชุดภาพที่เราเขียนก็เป็นความจริงของเราเท่าที่เราผ่านมาประมาณนี้ เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เราอยากแค่ตั้งคำถาม และชวนคิด หรือแค่บอกว่า เราก็เหมือนเธอนะ” ถิง ชูระบุถึงสิ่งที่เธอค้นพบและถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์จริง
เมื่อถามถึงการวาดรูปให้วัชรสิทธาว่าบ่อยครั้งแค่ไหน
ถิง ชูตอบว่า “จริงๆ แล้ว ควรจะวาดสัปดาห์ละครั้ง แต่ช่วงนี้เงื่อนไขของเราเองค่อนข้างเยอะ เลยวาดไม่ค่อยออก ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราก็ยังอยากวาดอยากแชร์ประสบการณ์ เราดีใจทุกครั้งเมื่อใครสักคนอ่านแล้วเขาบอกว่าเขารู้สึกอย่างไร เรารู้สึกว่าเรากับเขา Connect กัน ทำให้ไม่ค่อยเหงากับสิ่งที่เราเผชิญอยู่ อย่างเรื่องกระโดดน้ำหรือเรื่องชัมบาลา แม้เราไม่ได้มีคำตอบอะไร แต่การที่เขาอ่านแล้วรู้สึกแบบนั้นแบบนี้ เราก็รู้สึกอบอุ่น เหมือนมีเพื่อนเพิ่มขึ้น ทำให้เราอยากทำต่อไป เราจดเนื้อเรื่องเอาไว้หลายเรื่องแล้ว จะค่อยๆส่งให้บรรณาธิการดู ก็หวังว่าจะมีงานชิ้นใหม่ให้ชมเรื่อยๆ ค่ะ” ถิง ชูระบุถึงผู้ที่เฝ้ารอผลงานของเธอผ่านเพจวัชรสิทธา

>>> INNER CHILD เชื่อมสัมพันธ์กับเด็กภายใน ศิลปะกับการภาวนา
นอกจากวาดภาพให้เพจวัชรสิทธาแล้ว ถิง ชู ยังเป็นผู้นำกระบวนกรให้แก่วัชรสิทธาอยู่เรื่อยๆ โดยจัดปีละ 4 ครั้ง ได้แก่ ‘INNER CHILD เชื่อมสัมพันธ์กับเด็กภายใน’ 2 ครั้งและ ‘Drawing Unconscious วาดจิตใต้สำนึก’ 2 ครั้ง โดยทั้งสองกระบวนการเป็นศิลปะกับการทำงานผ่านร่างกาย โดยอิงจากแนวทางจิตวิทยาของ คาร์ล กุสตาฟ ยุง (Carl Gustav Jung) หรือคาร์ล ยุง นักจิตวิทยาบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์
เมื่อขอให้เล่าถึงกระบวนการดังกล่าว ถิง ชูตอบว่า “คอร์ส INNER CHILD คือการที่เราแชร์จากกระบวนการที่เราทำกับตัวเองมา เราติดตามศึกษาแนวทางของ ‘คาร์ล ยุง’ ตั้งแต่ปี 2010 ก่อนหน้านั้น เราเคยลองภาวนามาหลายแบบ แต่ไม่ค่อยเจอที่ถูกจริตกับเรา เรื่องการทำงานผ่านร่างกาย เราก็ไม่คุ้น แต่งาน ‘คาร์ล ยุง’ เข้ามาช่วยตอบหลายๆ อย่างที่เราติดขัดอยู่ เขาพูดถึง archetypes (ต้นแบบ) ที่เราสนใจมากๆ โดยเฉพาะ archetypes ที่เป็นเด็กภายในตัวของเราเอง เราก็เลยลองดูหลายๆ รูปแบบที่คนอื่นนำไปขยายต่อว่าทำยังไงกันบ้าง”
“เราคิดว่าสิ่งที่เราชอบของสาย คาร์ล ยุง หรือ Jungian คือตัวงานวิจัยเขาหรือสิ่งที่เขาอธิบาย มันเปิดพื้นที่ให้เห็นความหลากหลายในตัวเราแต่ละคน และสนับสนุนให้เราน้อมรับความหลากหลายเหล่านั้นอย่างเป็นมิตร ไม่ตัดสิน ดังนั้นสายที่ศึกษาต่อมาจากเขา จึงสามารถใช้ประสบการณ์และความเป็นมนุษย์ของตัวเขาเองเข้าไปสัมพันธ์กับกระบวนการของยุงได้ เรารู้สึกว่ามัน Unique สำหรับแต่ละคน เราจึงไม่รู้สึกผิดถ้าเราจะสร้างกระบวนกทำงานกับภายในของเราที่เหมาะสมกับเราเองขึ้นมา โดยอิงตามแนวทางหรือหลักการของสายยุง เมื่อเราทำงานวาดหรืองานปั้น เราไม่ได้ทำผ่านงานวิชาการที่คนอื่นสอน เราเป็นแนวลองผิดลองถูกอยู่แล้ว เมื่อเราอ่านเกี่ยวกับ archetypes ของยุงแบบนี้ เขาทำ active imagination แบบนี้ เขาอธิบายเรื่อง Psyche แบบนี้เราก็ลองทำในแบบของเราดู แล้วไปเจออะไรหลายอย่างที่น่าสนใจมากจากการลองทำ พอกลับไปอ่านเพิ่มเติมก็พบว่าตรงกันเลยกับสิ่งที่เราเจอ ก็เลยมีความมั่นใจมากขึ้น พอตั้มถามว่า อยากทำเวิร์คช้อปที่วัชรสิทธา เกี่ยวกับ INNER CHILD ไหม เพราะเห็นรูปวาดเราข้องเกี่ยวกับเด็กเยอะดี เราเลยตอบตกลง”
ถิง ชูบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่น่าสนใจ ก่อนระบุเพิ่มเติมว่า ตัวกระบวนการ INNER CHILD เป็นการอนุญาติให้คนเข้าไปสัมพันธ์กับทั้งพลังงานและความทรงจำและความสัมพันธ์ที่เรามีกับเด็กภายในของเรา ที่คงค้างอยู่ในตัวเรา
“พูดง่ายๆ คือ ทุกคนเป็นเด็กมาก่อน ตอนเป็นเด็กเรามีเครื่องไม้เครื่องมือสื่อสารกับโลกภายนอกค่อนข้างจำกัด ทั้งในเชิงภาษา ร่างกาย ความรู้ ทักษะ ต่างๆ ดังนั้น บางสิ่งที่ถาโถมเข้ามาแล้วเราจัดการไม่ได้ เราก็จัดการมันเท่าที่เราทำได้ในตอนนั้น ซึ่งบางครั้งมันกลายเป็นอุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่ฝังไว้ในตัวเราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ได้หมายความว่ามันแย่หรือว่ามันดี เพียงแค่ว่าความจริงสมัยที่เราอายุสามขวบ เจ็ดขวบ ไม่ใช่ความจริงของเราในตอนนี้แล้ว แต่ร่างกายเรายังจำสิ่งนั้นเป็นความจริงอยู่ ดังนั้น เราจะทำยังไง ให้ความจริงของเรา ณ ขณะนี้ สื่อสารไปถึงเด็กภายในของเราได้ แล้วก็เกิดการแปลี่ยนแปลงผ่านร่างกายขึ้นมา
“INNER CHILD ก็คือการทำงานกับพลังงานและความสัมพันธ์ ตัวประสบการณ์ ความทรงจำต่างๆ เหล่านั้นค่ะ” ถิง ชูระบุถึงกระบวนการภายในอย่างละเอียดและกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เธอจะไม่พยายามมีคำตอบตายตัวให้กับผู้มาร่วมคอร์ส แต่ถ้าหากเราได้มีโอกาสสื่อสารกับอะไรบางอย่างในตัวเรา อย่าง INNER CHILD อย่างน้อยมันได้เกิดการเชื่อมต่อกัน
“อย่างน้อยที่สุดนะคะ สองคนนี้หมายถึงเรา กับคนที่อยู่ในตัวเรา จะมีบทสนทนาต่อกันอย่างไร จะไปอย่างไรต่อ ก็คือเรื่องของทั้งสองแล้ว หายไม่หาย ดีขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่เป้าหมายหลัก หลักๆมันคือการสื่อสาร การเชื่อมต่อ และการสร้างมิตรภาพกับตัวเราในทุกสภาพ” ถิง ชู ระบุ

>>> INNER CHILD ทำเองได้
เมื่อถามว่า หากมีผู้สนใจต้องการทำ INNER CHILD คนเดียวตามลำพัง ต้องใช้อะไรบ้าง
ถิง ชูตอบว่า สามารถทำได้ และเตรียมเพียงแค่ไม่กี่อย่าง อันดับแรก คือสถานที่ปลอดภัย เป็นพื้นที่ที่เราไม่ถูกรบกวน หรือตัดสิน ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่คนเดียวก็ได้ ขอแค่ไม่มีใครมารบกวน
อันดับสอง คือทำการสื่อสารผ่านร่างกาย มีเจตจำนงที่ชัดเจนว่าเราจะสื่อสารกับอะไร กับ INNER CHILD ของเรา อนุญาตให้อะไรก็ตามเกิดขึ้น เราแค่นั่งนิ่งๆ อยู่กับตัวเอง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และตั้งเจตจำนงว่าจะสื่อสารกับเด็กภายใน
“วิธีการมีหลายแบบ แต่ที่เราใช้คือให้เขารับรู้ แสง สี เสียง กลิ่น ที่เขารู้สึกขณะนั้น อะไรที่เหมือนพร่ามัว ให้อยู่กับสิ่งนั้น และตามสิ่งนั้นไปเรื่อยๆ จนมันชัดขึ้นเรื่อยๆเอง บางคนเห็นเป็นเด็ก เป็นลูกไฟ เป็นสถานที่ หรือเป็นกลิ่น แล้วก็ถาม สามคำถาม”
“1.เธอชื่ออะไร 2.เธอรู้สึกอะไร 3.มีอะไรที่เราทำได้เพื่อให้เธอรู้สึกดีขึ้นบ้างไหม และให้เข้าหาสิ่งนั้นด้วยความเคารพในพื้นที่ของเขา ไม่ไปจ้องหน้า ไม่ไปคุกคามกดดันเขา ค่อยๆ เพิ่มความคุ้นเคยด้วยความเคารพ เช่น ถามว่า เธอชื่ออะไร ถ้าเขาไม่ตอบ เราก็ไม่เร่งเร้า เรารอได้ หากเขาตอบ เราก็อาจขอให้เขาใช้มือข้างที่ไม่ถนัดของเราขีดเขียนไปบนกระดาษ ถ้าเขาไม่พร้อมจะขีดเขียนก็ไม่เป็นไร เราขอเขาเท่าที่ได้ เขาให้เราเท่าที่เขาให้ได้ ไม่จำเป็นต้องตอบครบทุกคำถาม เพราะคำถามมีไว้เพียงเพื่อใช้เป็นหัวข้อชวนคุย
“พอเสร็จกระบวนการทุกอย่าง เราอาจอ้อยอิ่งกับเขาต่อก็ได้ หรือหยุดก็ได้ เราอนุญาตทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเสร็จกระบวนการ ก็กลับเข้ามาอยู่กับร่างกาย ค่อยๆให้ตัวเองกลับมาสู่โลกภายนอกอีกครั้ง สิ่งนี้สำหรับยุงถือว่าสำคัญมาก การทำงานกับจิตใต้สำนึก ก็คือทำงานกับโลกภายใน หรือ Subconscious ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาลมากเมื่อเทียบ กับโลกภายนอก Conscious ที่เป็นโลกของจิตสำนึกรู้ ดังนั้น เราต้องเชื่อมผ่านสองมิตินี้อย่างเท่าทัน ไม่ติดในส่วนใด หรือตัดส่วนใดออก” ถิง ชู ระบุถึงกระบวนการที่เธอให้ความสำคัญและทำอย่างต่อเนื่อง

>>> ‘Drawing Unconscious’ วาดจิตใต้สำนึก
ถิง ชูกล่าวเพิ่มเติมถึง ‘Drawing Unconscious วาดจิตใต้สำนึก’ อีกหนึ่งกระบวนการศิลปะกับการภาวนา ที่เธอเป็นผู้นำกระบวนกรที่วัชรสิทธาว่าเธอเพิ่งมาค้นพบเมื่อไม่นาน ว่ามีกระบวนการนี้
“ตัวกระบวนการ automatic drawing ได้ค่อยๆ ถือกำเนิดขึ้นหลังสงครามโลก สมัยนั้นคนเริ่มรู้สึกไม่โอเคกับศิลปะที่มีมาตรฐานที่ดูเหมือนบีบรัดกดทับคนสร้างงานอยู่ ซึ่งท่าทีนี้เกิดขึ้นจากระบบทหารในการปกครองของหลายประเทศที่เข้มงวดแข็งทื่อ เขาก็เลยหาอะไรมาคาน โดยใช้วิธีการด้านจิตวิทยาของฟรอยด์ และยุง มาทำกระบวนการ จนก่อเกิดงานพวกแนวเซอเรียลลิสม์ มีสัญญะของความฝันเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะขึ้น การอนุญาตให้เกิดการสื่อสารกับสิ่งที่ไร้เหตุผลมากขึ้น
“เช่นงานของ Salvador Dali หรือต่อมากลายเป็นการสร้างงานที่ไม่ใช้กระบวนการความคิดวางแผนเลย เช่นงานของ Jackson Pollock จะสาดสีอะไร สาดไปเลย จะปาดสียังไง หรือรู้สึกยังไง ไม่ต้องใช้ทฤษฎี แค่สังเกตร่างกายตัวเอง ตอนปาดสี สีทำงานกับเรายังไง เรารู้สึกยังไงตอนเห็นสี จนกกระทั่งมายุคหลังๆที่นักวาดหลายคนใช้การวาดไปเรื่อยเปื่อย ไม่แคร์ทรงไม่แคร์ฟอร์ม ไม่วางแผนหรือคิดว่าวาดอะไรไปบนกระดาษ เพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือเพื่อเสริมสร้างความสร้างสรรค์จากภายใน เราเลยเริ่มรู้จักกับกระบวนการนี้ และรู้สึกสนใจมันขึ้นมา เรารู้สึกมันให้กลิ่นที่คล้ายคาร์ล ยุง มาก และพอสืบค้นที่มา เราก็ไม่ผิดหวังจริงๆ” ถิง ชูระบุ
เมื่อถามว่า จากทั้งสองกระบวนกร เห็นอะไรจากผู้เข้าร่วม
ถิง ชูตอบว่า “ข้อดีที่สุดที่ได้รับมา คือ การที่เราได้มีโอกาสเข้าร่วมและเห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยตาตัวเอง พบว่าหลายๆ คนเต็มไปด้วยปัญญาและแสดงถึงความจริงของธรรมะ ทั้งที่หลายคนไม่เคยภาวนา ไม่เคยเข้าเวิร์คช้อปแบบนี้ ไม่เคยอ่านงานแนวนี้ แต่สิ่งที่พวกเขาสื่อ งานวาดของพวกเขา ซื่อ ใส บริสุทธิ์ สามารถที่จะอธิบายคำยากๆ ได้ ไม่ต่างจากที่เหล่าคุรุทั้งหลายอธิบายไว้
“อันนี้แหละค่ะ ทำให้เราช็อคมาก ว่าการที่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนเป็นอย่างที่เป็นได้ จะทำให้เกิดพื้นที่ทางปัญญามากขนาดนี้ แล้วมันเกิดขึ้นแค่ในเวลาวันสองวัน เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มหัศจรรย์มาก” ถิง ชู ระบุอย่างประทับใจ

>>> จากเชียงใหม่ สู่เมืองกรุงและสตูดิโองานปั้นเซรามิก
ถิง ชูอาศัยและใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่มาโดยตลอด แม้ในขณะที่เริ่มนำกระบวนกร ‘ศิลปะกับการภาวนา’ ให้วัชรสิทธาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ในห้วงนั้น เธอก็ยังอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ปัจจุบัน เธออาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานครแล้ว
ถามว่ามาอยู่กรุงเทพฯ เมื่อไหร่
ถิง ชู ตอบว่า มาอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่ช่วงเมษายน ปีที่แล้ว หลังจากทำสตูดิโองานปั้นกับเพื่อนอย่าง ‘เจิน-กฤชนันท์ ศรีระกิจ’ ผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการนำพาให้ถิง ชูรู้จักและสัมผัสกับงานปั้น กระทั่งเข้าปีที่ห้า เธอก็ตัดสินใจย้ายจากเชียงใหม่ลงมากรุงเทพฯ เพื่อมาทำงานที่เธอรักโดยเฉพาะ
“สตูดิโออยู่ที่บางขุนนนท์ค่ะ เป็นทั้งสตูดิโองานปั้นและวาดภาพพอตเทรต (portrait) และตอนนี้มีฟอร์มทีมขึ้นมาช่วยกัน มีคุณครูสอนปั้นด้วย ตอนแรกไม่ได้ Plan ไว้ก่อนว่าจะมีครูมาสอนเพิ่ม แต่มันเริ่มจากเราทำคนเดียวไม่ไหว และได้พบครูเพชร-ณัฐพล ศรีอภิวัฒน์ กับ ครูเดย์-อุษา นพประเสริฐ ที่เขามีใจรักในการปั้นและอยากถ่ายทอดงานที่ตัวเองรัก เราเลยชวนทั้งสองคนมาร่วมทำงานด้วยกัน พวกเราอยากพูดถึงงานปั้นในมิติที่ว่างานไม่ต้องสวยก็ได้ แต่ให้คนที่มาเรียนได้เห็นกระบวนการของเขา เขาได้อยู่กับดิน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของดิน ซึ่งก็จะสะท้อนไปกับร่างกายเขา ร่างกายเขาก็ตอบสนองไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน และมองเห็นศักยภาพหรือท่าทีที่เขาอาจไม่เคยเห็นมาก่อนในตัวเขาเอง
“เราอยากจะเน้นให้มีเนื้อหาแบบนี้มากขึ้น ไม่ได้อยากให้เป็นงานอดิเรกอย่างเดียว แต่อยากให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เขาสามารถจะผิดพลาดได้ มองตัวเองและสิ่งที่ตัวเองทำอย่างไม่ตัดสินได้ เราก็เลยคิดว่า ถ้าเราอยากทำอย่างนี้เราต้องพร้อม แต่เราไม่มีพลังงานเยอะเท่าไหร่แล้ว เลยดีใจมากที่ได้ศิลปินทั้งสองคนมาร่วมพื้นที่”
ถิง ชู ระบุถึงสตูดิโอของเธอ ที่มีครูสอนปั้นเซรามิกคนอื่นนอกจากเธอด้วย
ถิง ชูกล่าวว่า ถ้าเธอเปิดพื้นที่ ให้กับคนที่เขาต้องการใช้พื้นที่ เช่น น้องๆ ที่เป็นครูที่สตูดิโอของเธอ ตอนแรกพวกเขาตั้งใจไปเปิดสตูดิโอของพวกเขาเอง ซึ่งแทนที่จะให้เขามาจ่ายเงินเรียนหรือเหมาเตาเผากับเธอ เธอเห็นว่าพวกเขากลับมีความสามารถมากกว่าเธอเสียอีก ดังนั้น จึงให้พวกเขาได้ลองสอน เพื่อที่หากเขาจะลองสอนหรือทำงานที่สตูดิโอของตัวเอง พวกเขาจะได้รู้ว่าเขาอยากทำมันออกมาในรูปแบบไหน
สิ่งนี้ทำให้ถิง ชูนึกถึงเมื่อครั้งทำสตูดิโอกับเพื่อนที่เชียงใหม่ ในครานั้น เธอพบเด็กฝึกงานหลายคนที่เขาไม่ไปฝึกที่โรงงาน แต่เลือกมาฝึกกับเธอและเพื่อนเพราะเขาอยากเรียนรู้การทำงานในระดับที่เล็กลงจากระบบอุตสาหกรรม แต่มีความเป็นเอกลักษณ์ในฐานะคนปั้นงานมากขึ้น
“เมื่อพวกเรารู้ว่าเขาจริงจังระดับไหน ก็บอกเขาทุกอย่าง ทั้งเรื่องการจัดการ การวางแผน การเตรียมตัว พวกเราจะให้เขาได้แสดงงานตอนฝึกงานจบ ให้เขาได้เห็นตัวเองในระดับมืออาชีพ ไม่ใช่แค่นักศึกษาแล้ว วิธีคิดนี้ก็เหมือนกับฝังเข้ามาในตัวเรา ศิลปินทั้งสองที่มาสอนที่สตูดิโอเราตอนนี้ ก็เหมือนไม่ได้มาสอนนะ แต่เขามาเป็นตัวของตัวเองที่นี่ มาแบ่งปันสิ่งที่เขามีกับพื้นที่ โดยมีเนื้อหาสำคัญคือการอนุญาตให้คนที่มาเรียน explore ได้ และมีพวกเราคอยโอบอุ้มพื้นที่ให้เขา”
ถิง ชูระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า คนสำคัญที่มีส่วนต่อการตัดสินใจทำให้เธอลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็คือ ตั้ม-วิจักขณ์ พานิช’ ผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธานั่นเอง
“ตอนแรกเราไปฟังเสวนาที่ตั้มจัดเกี่ยวกับวัชรยาน ซึ่งมีเนื้อหาหลายจุดที่ตรงกับคาร์ล ยุง มาก เราเลยประทับใจเสวนาครั้งนั้นสุดๆ ต่อมาเราก็สมัครไปเป็นนักแปลให้กับสำนักพิมพ์ของเขา โดยไม่รู้ว่าคือคนเดียวกันกับคนที่เคยจัดเสวนาครั้งนั้น และเริ่มได้รู้จักเขาในฐานะบรรณาธิการ ซึ่งเป็นบรรณาธิการที่อ่านงานเราได้ขาดและเสริมงานเราได้ตรงจุดมาก เป็นบรรณาธิการที่หายากจริงๆ เราได้วาดให้เขาบางเล่ม แปลหนังสือบางเล่ม เขาก็ตีพิมพ์หนังสือให้เราด้วย
“ดังนั้น ความสัมพันธ์จะเป็นรูปแบบบรรณาธิการเสมอมา เรามีโอกาสได้คุย และรู้จักกับตั้มในฐานะเพื่อนมากขึ้น ก็หลังจากได้มาช่วยสอนที่วัชรสิทธา เขาก็ถามถึงความสนใจของเรา แล้วพอคุยไปคุยมาเขาก็บอกว่าเขามีพื้นที่ว่างอยู่ข้างบ้านเขา ไม่ได้ใช้ทำอะไร สนใจมาใช้พื้นที่นี้ทำสตูดิโอไหม หลังจากที่เขาถามได้ไม่นาน โควิด-19 ก็มาพอดี แม้ใจจะกลัวมากว่าอาจไม่มีใครมาเรียน มันจะมีแต่เจ๊งกับเจ๊งแต่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ย้ายตอนนั้น เราก็อาจจะไม่ได้ย้ายและไม่ได้ลองทำสิ่งที่เราอยากลองเลย เราจึงตัดสินใจว่า ช่วงโควิดก็ไม่เป็นไร ลองดูสักตั้ง” ถิง ชู กล่าวอย่างมุ่งมั่น

>>> การปั้น กับ การภาวนา
ถามว่าเปิดสตูดิโอที่กรุงเทพฯ มานานเท่าไหร่แล้ว ถิง ชูตอบว่า อยู่มาปีกว่าแล้ว และน่ายินดีที่มีนักเรียนต่อเนื่อง
“มันน่าแปลกใจมาก เราไม่รู้ว่าเราไม่ทำบุญที่ไหนมา ไม่ว่าชาติที่แล้ว หรือชาตินี้ ถึงมีคนคอยมาส่งเสริมพื้นที่เราอย่างต่อเนื่อง ตอนแรกเราคิดว่าสามเดือนเราคงเจ๊ง คงได้ไปต่อที่อื่นแล้ว แต่กลายเป็นว่า ผ่านสามเดือนมาหลายระลอกแล้ว ก็ยังมีคนแวะมาเรียนต่อเนื่อง เราเลยรู้สึกว่าอาจเป็นเรื่องที่เราอยู่ถูกที่ถูกเวลาของพื้นที่นี้ ที่มีคนต้องการจะมาทำงานกับตัวเองพอดี” ถิง ชูระบุ และบอกกล่าวว่า สตูดิโอของเธอรับสอนต่อรอบ ไม่เกิน 6 คน และในเดือนหนึ่ง จะเปิดสอนเพียงแค่ 9 วันเท่านั้น
เมื่อถามถึงการปั้นกับการภาวนา ถิง ชูตอบว่า “ตั้งแต่ก่อนที่จะย้ายมากรุงเทพ มันมีอะไรบางอย่างที่เราอยาก explore เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานปั้น ที่ไม่ใช่แค่การผลิตชิ้นงานขายหรือพัฒนาทักษะ แต่ตอนนั้น มันยังดูลางๆ ดูไม่ออกว่าเป็นรูปแบบไหน พอเรามาทำงานปั้นที่กรุงเทพฯ และได้เข้าร่วมสังฆะวัชรปัญญาของวัชรสิทธา ได้แลกเปลี่ยนกับหลายๆคนที่นี่ เราก็เริ่มรู้สึกว่า จริงๆ แล้วการปั้นมันตอบหลายอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำงานอยู่โดยไม่ต้องเป็นคำพูดหรือความคิด มันไม่ต้องมีคำอธิบายเป็นเหตุผลเพื่อให้ใครคนหนึ่งเข้าใจถึงคำว่า ‘ความเคยชินของร่างกาย’ หรือ ‘การเห็นศักยภาพของตัวเอง’ หากเราอยู่กับสิ่งนี้มากพอเราก็จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งนี้ เราจะใช้คำพูดเพื่อให้คนๆ นึง ผ่อนคลายหรือเชื่อมั่นในตัวเขาเองไม่ได้หรอก แต่ ‘ดิน’ และ ‘ร่างกาย’ ของพวกเขาทำได้ เมื่อเขาอยู่กับมันมากพอ”
“การที่มีกลุ่มคนหรือเพื่อนที่มีพื้นฐานการภาวนามาทำงานปั้น มันทำให้เราเห็นท่าทีที่เราไม่ค่อยได้เจอมาก่อน หรือเคยเจอแต่ก็น้อยครั้งมาก เช่นการสังเกตร่างกายตัวเองระหว่างกระบวนการ หรือท่าทีที่ไม่ตัดสินตอนงานพัง ความรู้สึกเพลิดเพลินมีความสุขที่เห็นได้ชัดระหว่างปั้นงาน เราว่ามหัศจรรย์ดี เราเลยรู้สึกว่า ทำไมไม่เน้นประเด็นนี้ให้ชัดๆไปเลย เราก็เลยอธิบายตัวคอร์สว่าเป็นการเฝ้ามองกระบวนการ ไม่ได้เน้นเอาผลงาน แต่ถ้าใครอยากได้ผลงาน ก็มีคอร์ส ‘ปั้นเจาะจง’ ไว้ให้ ส่วนถ้าเป็น ‘ปั้นพื้นฐาน’ จะได้งานหรือไม่ ก็ถือเป็นผลพลอยได้
“สิ่งสำคัญคือ การที่เขาอยู่กับพื้นที่ตรงนั้น อยู่กับดิน ได้อยู่กับตัวเขาเอง เป็นระยะเวลาสามชั่วโมง หากเขาสงสัยอะไร เราก็บอกเขา เราอยู่เป็นพื้นหลังเงียบๆอยู่ตรงนั้นกับเขา ไม่บงการชี้นำเขาว่าสุนทรียะเขาควรเป็นยังไง เราจะเน้นการให้เขาเห็นตัวเองมากกว่า แต่เนื้อหากระบวนการนี้ก็เพิ่งชัดเจนมากขึ้นในใจเราเมื่อช่วงกลางปีนี้เอง”
ถิง ชู ระบุทิ้งท้าย สะท้อนถึงการเดินทางภายในจิตวิญญาณของเธอ ณ ที่ซึ่งบริบทแวดล้อมเปลี่ยนไปจากบ้านหลังเก่าที่คุ้นเคยมานานปี ทว่า หลายสิ่งที่นี่ ก็เอื้ออย่างยิ่งต่อกระบวนการทำงาน ‘ด้านใน’ ทั้งต่อตัวเอง ต่อเพื่อนผู้ร่วมสังฆะและรวมถึงผู้ที่แวะเวียนมาเรียนรู้กระบวนการภาวนาในพื้นที่ของเธอ

…….....................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo ถิง ชู โดย a day BULLETIN, ผลงานวาดภาพประกอบจากเพจ วัชรสิทธา vajrasiddha,
ภาพคอร์สเรียนงานปั้นจากเพจ Ting Chu Studio
ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ ‘ถิง ชู’ เจ้าของลายเส้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียบง่าย สบายตา ให้ความรู้สึกอบอุ่นสัมผัสใจ
ภาพวาดของถิง ชู ที่เปี่ยมล้นหรือสะท้อนปรัชญาการมองโลกและใช้ชีวิต กระทั่งสื่อนัยถึงประเด็นนามธรรมบนหนทางแห่งการภาวนานั้น ล้วนเป็นการทำงานร่วมกับ ‘สถาบันวัชรสิทธา’ รวมทั้งการนำศิลปะและศาสตร์แห่งจิตวิทยามาเชื่อมโยงกับการภาวนา หรือแม้แต่สตูดิโองานปั้นเซรามิกที่เน้นกระบวนการเพื่อให้ผู้ปั้นได้เรียนรู้และทำความเข้าใจตนเองเป็นหลัก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ถิง ชูปฏิบัติเรื่อยมา ซึ่งสิ่งที่เธอทำ ล้วนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่สะท้อนถึงตัวตนความเป็นเธอผู้พร้อมจะทุ่มเทและทำในสิ่งที่รักได้อย่างเต็มหัวใจ
>>> ‘ถิง ชู’ และ ‘วัชรสิทธา’ เพื่อนร่วมงานบนหนทางธรรม
เนื่องจาก ผลงานของถิง ชู ถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค วัชรสิทธา vajrasiddha โดยมี ‘วิจักขณ์ พานิช’ เป็นผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธา หากกล่าวถึง วิจักขณ์ เขาจบปริญญาโท ด้านประวัติศาสตร์ศาสนา จากมหาวิทยาลัยนาโรปะ รัฐโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา เป็นศิษย์ของสองธรรมาจารย์ชาวอเมริกันผู้เป็นศิษย์รุ่นแรกของ ‘เชอเกียม ตรุงปะ’ คุรุชาวธิเบต ผู้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในโลกตะวันตก อีกทั้งเชอเกียม ยังเป็นผู้เขียน ‘ชัมบาลา หนทางอันศักสิทธิ์ของนักรบ’ นอกจากนี้ วิจักขณ์ ยังเป็นบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ ‘ปลากระโดด’ ด้วย
เหตุที่ต้องระบุถึงวิจักขณ์ เนื่องจากเนื้องานที่ถิง ชูถ่ายทอดผ่านเพจ ‘วัชรสิทธา’ นั้น ถิง ชูบอกกล่าวให้ได้รับรู้ว่า ผลงานแต่ละชิ้นล้วนผ่านกระบวนการพูดคุย หารือ แลกเปลี่ยนความเห็น กระทั่งในบางครั้ง ก็มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขผลงานจากวิจักขณ์ ในฐานะที่เขาเป็น Editor ในแต่ละครั้ง เธอจะส่งต้นฉบับหรือแบบร่างให้วิจักขณ์พิจารณาถึงประเด็นที่ถ่ายทอด จึงอาจกล่าวได้ว่าการทำงานของถิง ชูกับ ‘วัชรสิทธา’ นั้น ราวกับร่ายรำไปด้วยท่วงทำนองดุจเดียวกัน และเนื้องานสำคัญของเธอที่นอกเหนือไปจากการวาดภาพประกอบ ก็แนบแน่นอยู่กับวัชรสิทธาอย่างน่าสนใจ
เมื่อชวนเธอพูดคุย เริ่มต้นถึงเรื่องราวของตนเอง และกระบวนการทำงานที่ทำอยู่ ถิง ชู ตอบว่า ชื่อที่ใช้เป็นชื่อนามสกุลจริง มาจากชื่อภาษาจีน ‘ชู ปิ่ง ถิง’ (Chu Ping Ting) คำว่า ‘ชู Chu’ ตอนเป็นเด็กๆ เรียนนานาชาติ ใช้ชื่อนี้ก็เลยติดมา เหมือนอยากเล่าถึงตัวตนว่าเป็นคนจีน ก็เลยใช้ชื่อนี้เรื่อยมา
เมื่อถามถึงการทำงานกับวัชรสิทธา กระบวนการตีความในภาพแต่ละภาพ มีขั้นตอน วิธีการอย่างไร มีการทำงานร่วมกันยังไง ถิง ชู ตอบว่า เซ็ตที่เป็นการ์ตูนช่อง เกิดขึ้นตอนที่เธอย้ายมากรุงเทพฯแล้ว จากเดิมที่ก่อนหน้านี้อาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ วิจักขณ์ในฐานะบรรณาธิการเนื้อหาวัชรสิทธาจึงเสนอว่า ให้ถิง ชู ลองแชร์เนื้อหาจากการภาวนาหรือการทำงานในแบบของ คาร์ล กุสตาฟ ยุง (Carl Gustav Jung) หรือคาร์ล ยุง นักจิตวิทยาบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสตร์จิตวิทยาที่ถิง ชูสนใจ และให้อธิบายออกมาเป็นประสบการณ์ของตัวเธอเอง
>>> ความกล้าหาญและน้อมรับ บาง ‘ความทรงจำ’ ที่เจ็บปวด
“ตั้ม (วิจักขณ์) ถามว่าอยากลองวาดมันออกมาดูไหม พอเราได้ทำชิ้นสองชิ้นแรก ก็คิดว่าเป็นไปได้ ต่อมาวัชรสิทธามีเวิร์คช้อป ‘ชัมบาลา’ โดย พี่ณัฐฬส วังวิญญู ตั้มเสนอให้เราลองแชร์เนื้อหาที่เรารู้สึกกับกระบวนการนั้นออกมา โดยร่างแล้วให้ตั้มดูก่อนว่าตรงกับที่สิ่งที่วัชรสิทธาต้องการที่จะสื่อไหม มันไม่ใช่แค่ ‘ถิง ชู’ คนเดียว แต่มันคือ ‘ถิง ชู’ สัมพันธ์กับสายปฏิบัติและพื้นที่นี้ และสื่อสารมันออกมา ซึ่งตรงนี้ตอนแรกเรารู้สึกว่ายากมาก เนื่องจาก หลายๆ ประสบการณ์ส่วนตัวของเรายังไม่ได้ตกตะกอน แล้วเราอาจด่วนสรุปคำตอบอะไรออกไป ตรงนี้ ตั้มจะเข้ามาช่วยเสริม ทักท้วง หรือสะท้อนให้เราเห็น” ถิง ชูบอกเล่าถึงภาพกระบวนการทำงาน และกล่าวเพิ่มเติมถึงการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ในอดีต
“งานชิ้นหนึ่งที่เห็นชัดคือ ชุดภาพเรื่องที่เรากระโดดตีลังกาในน้ำ พ่อเราเป็นนักกีฬากระโดดน้ำสมัยมหาวิทยาลัย เขาชอบสอนให้เรากระโดดตีลังกาหน้า ตีลังกาหลัง มีครั้งหนึ่งที่เราตีลังกาพลาด หัวไปกระแทกกับกำแพงสระที่ใต้สระน้ำ มันเจ็บรุนแรงมาก แต่เราไม่กล้าบอกพ่อ พอจะต้องกระโดดอีกครั้งเราก็กระโดดไม่ได้ เหมือนร่างกายมันช็อคไป พ่อก็เหมือนรู้ทัน เรารู้สึกว่าเราทำให้พ่อผิดหวัง พ่อพูดว่า ‘ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีก ให้รีบกระโดดใหม่เลยนะ เพราะว่าร่างกายจะยังไม่จำ’ นั่นคือสิ่งที่พอบอก พอเราเขียนส่งเป็นข้อสรุปในต้นฉบับไป ตั้มก็ทักว่า ‘สื่ออย่างนี้อันตรายนะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ต้องทำอย่างนั้น และก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องถูกกระทำซ้ำกับสิ่งที่ตัวเองเพิ่งเผชิญมา มันจะกลายเป็นความรุนแรงต่อตัวเอง’
“ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่า เขาจะมาเซ็นเซอร์งานเราเหรอ แต่พอได้ทำงานกับตัวเองมากขึ้น เราก็ได้เห็นอีกเนื้อเรื่องหนึ่งที่ซ่อนอยู่ใต้เนื้อเรื่องนี้ เราเห็นว่าเราเคี่ยวเข็ญตัวเองแบบไหน และอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ตัวเองพลาดแบบไหน กลายเป็นเนื้อเรื่องเปลี่ยนไป งานชิ้นนี้แลกกับน้ำตาเลย เพราะทำงานกับตัวเองด้วย กับเนื้อหาด้วย และกับความทรงจำที่มันขึ้นมาผ่านร่างกายของเราด้วย จากนั้นมา เวลาวาดภาพก็ร้องไห้แทบจะทุกชิ้น ต้องเสียน้ำตาตอนละหนึ่งน้ำตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกชิ้นนะคะ เมื่อเร็วๆ นี้ก็ไม่ร้องค่ะ” ถิง ชูบอกเล่าได้อย่างเห็นภาพแจ่มชัดในความทรงจำ
>>> เด็กหญิงที่ไม่กล้ายอมรับในตนเอง สู่ความกล้าที่จะเคารพในตนเอง
เมื่อถามถึง ภาพวาดเรื่อง ‘นักรบ’ ที่สื่อถึง ‘ชัมบาลา’ นักรบบนหนทางธรรม ในภาพวาดที่สื่อถึงเป็นเรื่องของถิง ชู ใช่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของเด็กหญิงที่ไม่กล้าส่องกระจก ไม่กล้ายอมรับในตัวเอง
ถิง ชูตอบว่าตอบว่า “ใช่ค่ะ เราไม่ชอบส่องกระจกตอนเด็ก เพราะหัวเราใหญ่มาก ใหญ่ผิดปกติ เราคิดแบบนั้น ตอนที่เราจะเขียนเรื่อง ‘ชัมบาลา’ ตอนแรกเรากลัวมาก แต่การได้วาดเรื่องนี้ก็ทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองสมัยนั้นด้วย ดังนั้น หลายๆ อย่างที่เราเขียนไป มันเป็นการสารภาพความจริงของตัวเองในพื้นที่สาธารณะด้วย หลายเรื่องที่เขียนไปก็ยังไม่มีคำตอบว่าอะไรถูกผิด มันเป็นตัวกระบวนการ บทความส่งท้ายชุดภาพที่เราเขียนก็เป็นความจริงของเราเท่าที่เราผ่านมาประมาณนี้ เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เราอยากแค่ตั้งคำถาม และชวนคิด หรือแค่บอกว่า เราก็เหมือนเธอนะ” ถิง ชูระบุถึงสิ่งที่เธอค้นพบและถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์จริง
เมื่อถามถึงการวาดรูปให้วัชรสิทธาว่าบ่อยครั้งแค่ไหน
ถิง ชูตอบว่า “จริงๆ แล้ว ควรจะวาดสัปดาห์ละครั้ง แต่ช่วงนี้เงื่อนไขของเราเองค่อนข้างเยอะ เลยวาดไม่ค่อยออก ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราก็ยังอยากวาดอยากแชร์ประสบการณ์ เราดีใจทุกครั้งเมื่อใครสักคนอ่านแล้วเขาบอกว่าเขารู้สึกอย่างไร เรารู้สึกว่าเรากับเขา Connect กัน ทำให้ไม่ค่อยเหงากับสิ่งที่เราเผชิญอยู่ อย่างเรื่องกระโดดน้ำหรือเรื่องชัมบาลา แม้เราไม่ได้มีคำตอบอะไร แต่การที่เขาอ่านแล้วรู้สึกแบบนั้นแบบนี้ เราก็รู้สึกอบอุ่น เหมือนมีเพื่อนเพิ่มขึ้น ทำให้เราอยากทำต่อไป เราจดเนื้อเรื่องเอาไว้หลายเรื่องแล้ว จะค่อยๆส่งให้บรรณาธิการดู ก็หวังว่าจะมีงานชิ้นใหม่ให้ชมเรื่อยๆ ค่ะ” ถิง ชูระบุถึงผู้ที่เฝ้ารอผลงานของเธอผ่านเพจวัชรสิทธา
>>> INNER CHILD เชื่อมสัมพันธ์กับเด็กภายใน ศิลปะกับการภาวนา
นอกจากวาดภาพให้เพจวัชรสิทธาแล้ว ถิง ชู ยังเป็นผู้นำกระบวนกรให้แก่วัชรสิทธาอยู่เรื่อยๆ โดยจัดปีละ 4 ครั้ง ได้แก่ ‘INNER CHILD เชื่อมสัมพันธ์กับเด็กภายใน’ 2 ครั้งและ ‘Drawing Unconscious วาดจิตใต้สำนึก’ 2 ครั้ง โดยทั้งสองกระบวนการเป็นศิลปะกับการทำงานผ่านร่างกาย โดยอิงจากแนวทางจิตวิทยาของ คาร์ล กุสตาฟ ยุง (Carl Gustav Jung) หรือคาร์ล ยุง นักจิตวิทยาบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์
เมื่อขอให้เล่าถึงกระบวนการดังกล่าว ถิง ชูตอบว่า “คอร์ส INNER CHILD คือการที่เราแชร์จากกระบวนการที่เราทำกับตัวเองมา เราติดตามศึกษาแนวทางของ ‘คาร์ล ยุง’ ตั้งแต่ปี 2010 ก่อนหน้านั้น เราเคยลองภาวนามาหลายแบบ แต่ไม่ค่อยเจอที่ถูกจริตกับเรา เรื่องการทำงานผ่านร่างกาย เราก็ไม่คุ้น แต่งาน ‘คาร์ล ยุง’ เข้ามาช่วยตอบหลายๆ อย่างที่เราติดขัดอยู่ เขาพูดถึง archetypes (ต้นแบบ) ที่เราสนใจมากๆ โดยเฉพาะ archetypes ที่เป็นเด็กภายในตัวของเราเอง เราก็เลยลองดูหลายๆ รูปแบบที่คนอื่นนำไปขยายต่อว่าทำยังไงกันบ้าง”
“เราคิดว่าสิ่งที่เราชอบของสาย คาร์ล ยุง หรือ Jungian คือตัวงานวิจัยเขาหรือสิ่งที่เขาอธิบาย มันเปิดพื้นที่ให้เห็นความหลากหลายในตัวเราแต่ละคน และสนับสนุนให้เราน้อมรับความหลากหลายเหล่านั้นอย่างเป็นมิตร ไม่ตัดสิน ดังนั้นสายที่ศึกษาต่อมาจากเขา จึงสามารถใช้ประสบการณ์และความเป็นมนุษย์ของตัวเขาเองเข้าไปสัมพันธ์กับกระบวนการของยุงได้ เรารู้สึกว่ามัน Unique สำหรับแต่ละคน เราจึงไม่รู้สึกผิดถ้าเราจะสร้างกระบวนกทำงานกับภายในของเราที่เหมาะสมกับเราเองขึ้นมา โดยอิงตามแนวทางหรือหลักการของสายยุง เมื่อเราทำงานวาดหรืองานปั้น เราไม่ได้ทำผ่านงานวิชาการที่คนอื่นสอน เราเป็นแนวลองผิดลองถูกอยู่แล้ว เมื่อเราอ่านเกี่ยวกับ archetypes ของยุงแบบนี้ เขาทำ active imagination แบบนี้ เขาอธิบายเรื่อง Psyche แบบนี้เราก็ลองทำในแบบของเราดู แล้วไปเจออะไรหลายอย่างที่น่าสนใจมากจากการลองทำ พอกลับไปอ่านเพิ่มเติมก็พบว่าตรงกันเลยกับสิ่งที่เราเจอ ก็เลยมีความมั่นใจมากขึ้น พอตั้มถามว่า อยากทำเวิร์คช้อปที่วัชรสิทธา เกี่ยวกับ INNER CHILD ไหม เพราะเห็นรูปวาดเราข้องเกี่ยวกับเด็กเยอะดี เราเลยตอบตกลง”
ถิง ชูบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่น่าสนใจ ก่อนระบุเพิ่มเติมว่า ตัวกระบวนการ INNER CHILD เป็นการอนุญาติให้คนเข้าไปสัมพันธ์กับทั้งพลังงานและความทรงจำและความสัมพันธ์ที่เรามีกับเด็กภายในของเรา ที่คงค้างอยู่ในตัวเรา
“พูดง่ายๆ คือ ทุกคนเป็นเด็กมาก่อน ตอนเป็นเด็กเรามีเครื่องไม้เครื่องมือสื่อสารกับโลกภายนอกค่อนข้างจำกัด ทั้งในเชิงภาษา ร่างกาย ความรู้ ทักษะ ต่างๆ ดังนั้น บางสิ่งที่ถาโถมเข้ามาแล้วเราจัดการไม่ได้ เราก็จัดการมันเท่าที่เราทำได้ในตอนนั้น ซึ่งบางครั้งมันกลายเป็นอุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่ฝังไว้ในตัวเราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ได้หมายความว่ามันแย่หรือว่ามันดี เพียงแค่ว่าความจริงสมัยที่เราอายุสามขวบ เจ็ดขวบ ไม่ใช่ความจริงของเราในตอนนี้แล้ว แต่ร่างกายเรายังจำสิ่งนั้นเป็นความจริงอยู่ ดังนั้น เราจะทำยังไง ให้ความจริงของเรา ณ ขณะนี้ สื่อสารไปถึงเด็กภายในของเราได้ แล้วก็เกิดการแปลี่ยนแปลงผ่านร่างกายขึ้นมา
“INNER CHILD ก็คือการทำงานกับพลังงานและความสัมพันธ์ ตัวประสบการณ์ ความทรงจำต่างๆ เหล่านั้นค่ะ” ถิง ชูระบุถึงกระบวนการภายในอย่างละเอียดและกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เธอจะไม่พยายามมีคำตอบตายตัวให้กับผู้มาร่วมคอร์ส แต่ถ้าหากเราได้มีโอกาสสื่อสารกับอะไรบางอย่างในตัวเรา อย่าง INNER CHILD อย่างน้อยมันได้เกิดการเชื่อมต่อกัน
“อย่างน้อยที่สุดนะคะ สองคนนี้หมายถึงเรา กับคนที่อยู่ในตัวเรา จะมีบทสนทนาต่อกันอย่างไร จะไปอย่างไรต่อ ก็คือเรื่องของทั้งสองแล้ว หายไม่หาย ดีขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่เป้าหมายหลัก หลักๆมันคือการสื่อสาร การเชื่อมต่อ และการสร้างมิตรภาพกับตัวเราในทุกสภาพ” ถิง ชู ระบุ
>>> INNER CHILD ทำเองได้
เมื่อถามว่า หากมีผู้สนใจต้องการทำ INNER CHILD คนเดียวตามลำพัง ต้องใช้อะไรบ้าง
ถิง ชูตอบว่า สามารถทำได้ และเตรียมเพียงแค่ไม่กี่อย่าง อันดับแรก คือสถานที่ปลอดภัย เป็นพื้นที่ที่เราไม่ถูกรบกวน หรือตัดสิน ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่คนเดียวก็ได้ ขอแค่ไม่มีใครมารบกวน
อันดับสอง คือทำการสื่อสารผ่านร่างกาย มีเจตจำนงที่ชัดเจนว่าเราจะสื่อสารกับอะไร กับ INNER CHILD ของเรา อนุญาตให้อะไรก็ตามเกิดขึ้น เราแค่นั่งนิ่งๆ อยู่กับตัวเอง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และตั้งเจตจำนงว่าจะสื่อสารกับเด็กภายใน
“วิธีการมีหลายแบบ แต่ที่เราใช้คือให้เขารับรู้ แสง สี เสียง กลิ่น ที่เขารู้สึกขณะนั้น อะไรที่เหมือนพร่ามัว ให้อยู่กับสิ่งนั้น และตามสิ่งนั้นไปเรื่อยๆ จนมันชัดขึ้นเรื่อยๆเอง บางคนเห็นเป็นเด็ก เป็นลูกไฟ เป็นสถานที่ หรือเป็นกลิ่น แล้วก็ถาม สามคำถาม”
“1.เธอชื่ออะไร 2.เธอรู้สึกอะไร 3.มีอะไรที่เราทำได้เพื่อให้เธอรู้สึกดีขึ้นบ้างไหม และให้เข้าหาสิ่งนั้นด้วยความเคารพในพื้นที่ของเขา ไม่ไปจ้องหน้า ไม่ไปคุกคามกดดันเขา ค่อยๆ เพิ่มความคุ้นเคยด้วยความเคารพ เช่น ถามว่า เธอชื่ออะไร ถ้าเขาไม่ตอบ เราก็ไม่เร่งเร้า เรารอได้ หากเขาตอบ เราก็อาจขอให้เขาใช้มือข้างที่ไม่ถนัดของเราขีดเขียนไปบนกระดาษ ถ้าเขาไม่พร้อมจะขีดเขียนก็ไม่เป็นไร เราขอเขาเท่าที่ได้ เขาให้เราเท่าที่เขาให้ได้ ไม่จำเป็นต้องตอบครบทุกคำถาม เพราะคำถามมีไว้เพียงเพื่อใช้เป็นหัวข้อชวนคุย
“พอเสร็จกระบวนการทุกอย่าง เราอาจอ้อยอิ่งกับเขาต่อก็ได้ หรือหยุดก็ได้ เราอนุญาตทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเสร็จกระบวนการ ก็กลับเข้ามาอยู่กับร่างกาย ค่อยๆให้ตัวเองกลับมาสู่โลกภายนอกอีกครั้ง สิ่งนี้สำหรับยุงถือว่าสำคัญมาก การทำงานกับจิตใต้สำนึก ก็คือทำงานกับโลกภายใน หรือ Subconscious ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาลมากเมื่อเทียบ กับโลกภายนอก Conscious ที่เป็นโลกของจิตสำนึกรู้ ดังนั้น เราต้องเชื่อมผ่านสองมิตินี้อย่างเท่าทัน ไม่ติดในส่วนใด หรือตัดส่วนใดออก” ถิง ชู ระบุถึงกระบวนการที่เธอให้ความสำคัญและทำอย่างต่อเนื่อง
>>> ‘Drawing Unconscious’ วาดจิตใต้สำนึก
ถิง ชูกล่าวเพิ่มเติมถึง ‘Drawing Unconscious วาดจิตใต้สำนึก’ อีกหนึ่งกระบวนการศิลปะกับการภาวนา ที่เธอเป็นผู้นำกระบวนกรที่วัชรสิทธาว่าเธอเพิ่งมาค้นพบเมื่อไม่นาน ว่ามีกระบวนการนี้
“ตัวกระบวนการ automatic drawing ได้ค่อยๆ ถือกำเนิดขึ้นหลังสงครามโลก สมัยนั้นคนเริ่มรู้สึกไม่โอเคกับศิลปะที่มีมาตรฐานที่ดูเหมือนบีบรัดกดทับคนสร้างงานอยู่ ซึ่งท่าทีนี้เกิดขึ้นจากระบบทหารในการปกครองของหลายประเทศที่เข้มงวดแข็งทื่อ เขาก็เลยหาอะไรมาคาน โดยใช้วิธีการด้านจิตวิทยาของฟรอยด์ และยุง มาทำกระบวนการ จนก่อเกิดงานพวกแนวเซอเรียลลิสม์ มีสัญญะของความฝันเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะขึ้น การอนุญาตให้เกิดการสื่อสารกับสิ่งที่ไร้เหตุผลมากขึ้น
“เช่นงานของ Salvador Dali หรือต่อมากลายเป็นการสร้างงานที่ไม่ใช้กระบวนการความคิดวางแผนเลย เช่นงานของ Jackson Pollock จะสาดสีอะไร สาดไปเลย จะปาดสียังไง หรือรู้สึกยังไง ไม่ต้องใช้ทฤษฎี แค่สังเกตร่างกายตัวเอง ตอนปาดสี สีทำงานกับเรายังไง เรารู้สึกยังไงตอนเห็นสี จนกกระทั่งมายุคหลังๆที่นักวาดหลายคนใช้การวาดไปเรื่อยเปื่อย ไม่แคร์ทรงไม่แคร์ฟอร์ม ไม่วางแผนหรือคิดว่าวาดอะไรไปบนกระดาษ เพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือเพื่อเสริมสร้างความสร้างสรรค์จากภายใน เราเลยเริ่มรู้จักกับกระบวนการนี้ และรู้สึกสนใจมันขึ้นมา เรารู้สึกมันให้กลิ่นที่คล้ายคาร์ล ยุง มาก และพอสืบค้นที่มา เราก็ไม่ผิดหวังจริงๆ” ถิง ชูระบุ
เมื่อถามว่า จากทั้งสองกระบวนกร เห็นอะไรจากผู้เข้าร่วม
ถิง ชูตอบว่า “ข้อดีที่สุดที่ได้รับมา คือ การที่เราได้มีโอกาสเข้าร่วมและเห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยตาตัวเอง พบว่าหลายๆ คนเต็มไปด้วยปัญญาและแสดงถึงความจริงของธรรมะ ทั้งที่หลายคนไม่เคยภาวนา ไม่เคยเข้าเวิร์คช้อปแบบนี้ ไม่เคยอ่านงานแนวนี้ แต่สิ่งที่พวกเขาสื่อ งานวาดของพวกเขา ซื่อ ใส บริสุทธิ์ สามารถที่จะอธิบายคำยากๆ ได้ ไม่ต่างจากที่เหล่าคุรุทั้งหลายอธิบายไว้
“อันนี้แหละค่ะ ทำให้เราช็อคมาก ว่าการที่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนเป็นอย่างที่เป็นได้ จะทำให้เกิดพื้นที่ทางปัญญามากขนาดนี้ แล้วมันเกิดขึ้นแค่ในเวลาวันสองวัน เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มหัศจรรย์มาก” ถิง ชู ระบุอย่างประทับใจ
>>> จากเชียงใหม่ สู่เมืองกรุงและสตูดิโองานปั้นเซรามิก
ถิง ชูอาศัยและใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่มาโดยตลอด แม้ในขณะที่เริ่มนำกระบวนกร ‘ศิลปะกับการภาวนา’ ให้วัชรสิทธาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ในห้วงนั้น เธอก็ยังอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ปัจจุบัน เธออาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานครแล้ว
ถามว่ามาอยู่กรุงเทพฯ เมื่อไหร่
ถิง ชู ตอบว่า มาอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่ช่วงเมษายน ปีที่แล้ว หลังจากทำสตูดิโองานปั้นกับเพื่อนอย่าง ‘เจิน-กฤชนันท์ ศรีระกิจ’ ผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการนำพาให้ถิง ชูรู้จักและสัมผัสกับงานปั้น กระทั่งเข้าปีที่ห้า เธอก็ตัดสินใจย้ายจากเชียงใหม่ลงมากรุงเทพฯ เพื่อมาทำงานที่เธอรักโดยเฉพาะ
“สตูดิโออยู่ที่บางขุนนนท์ค่ะ เป็นทั้งสตูดิโองานปั้นและวาดภาพพอตเทรต (portrait) และตอนนี้มีฟอร์มทีมขึ้นมาช่วยกัน มีคุณครูสอนปั้นด้วย ตอนแรกไม่ได้ Plan ไว้ก่อนว่าจะมีครูมาสอนเพิ่ม แต่มันเริ่มจากเราทำคนเดียวไม่ไหว และได้พบครูเพชร-ณัฐพล ศรีอภิวัฒน์ กับ ครูเดย์-อุษา นพประเสริฐ ที่เขามีใจรักในการปั้นและอยากถ่ายทอดงานที่ตัวเองรัก เราเลยชวนทั้งสองคนมาร่วมทำงานด้วยกัน พวกเราอยากพูดถึงงานปั้นในมิติที่ว่างานไม่ต้องสวยก็ได้ แต่ให้คนที่มาเรียนได้เห็นกระบวนการของเขา เขาได้อยู่กับดิน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของดิน ซึ่งก็จะสะท้อนไปกับร่างกายเขา ร่างกายเขาก็ตอบสนองไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน และมองเห็นศักยภาพหรือท่าทีที่เขาอาจไม่เคยเห็นมาก่อนในตัวเขาเอง
“เราอยากจะเน้นให้มีเนื้อหาแบบนี้มากขึ้น ไม่ได้อยากให้เป็นงานอดิเรกอย่างเดียว แต่อยากให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เขาสามารถจะผิดพลาดได้ มองตัวเองและสิ่งที่ตัวเองทำอย่างไม่ตัดสินได้ เราก็เลยคิดว่า ถ้าเราอยากทำอย่างนี้เราต้องพร้อม แต่เราไม่มีพลังงานเยอะเท่าไหร่แล้ว เลยดีใจมากที่ได้ศิลปินทั้งสองคนมาร่วมพื้นที่”
ถิง ชู ระบุถึงสตูดิโอของเธอ ที่มีครูสอนปั้นเซรามิกคนอื่นนอกจากเธอด้วย
ถิง ชูกล่าวว่า ถ้าเธอเปิดพื้นที่ ให้กับคนที่เขาต้องการใช้พื้นที่ เช่น น้องๆ ที่เป็นครูที่สตูดิโอของเธอ ตอนแรกพวกเขาตั้งใจไปเปิดสตูดิโอของพวกเขาเอง ซึ่งแทนที่จะให้เขามาจ่ายเงินเรียนหรือเหมาเตาเผากับเธอ เธอเห็นว่าพวกเขากลับมีความสามารถมากกว่าเธอเสียอีก ดังนั้น จึงให้พวกเขาได้ลองสอน เพื่อที่หากเขาจะลองสอนหรือทำงานที่สตูดิโอของตัวเอง พวกเขาจะได้รู้ว่าเขาอยากทำมันออกมาในรูปแบบไหน
สิ่งนี้ทำให้ถิง ชูนึกถึงเมื่อครั้งทำสตูดิโอกับเพื่อนที่เชียงใหม่ ในครานั้น เธอพบเด็กฝึกงานหลายคนที่เขาไม่ไปฝึกที่โรงงาน แต่เลือกมาฝึกกับเธอและเพื่อนเพราะเขาอยากเรียนรู้การทำงานในระดับที่เล็กลงจากระบบอุตสาหกรรม แต่มีความเป็นเอกลักษณ์ในฐานะคนปั้นงานมากขึ้น
“เมื่อพวกเรารู้ว่าเขาจริงจังระดับไหน ก็บอกเขาทุกอย่าง ทั้งเรื่องการจัดการ การวางแผน การเตรียมตัว พวกเราจะให้เขาได้แสดงงานตอนฝึกงานจบ ให้เขาได้เห็นตัวเองในระดับมืออาชีพ ไม่ใช่แค่นักศึกษาแล้ว วิธีคิดนี้ก็เหมือนกับฝังเข้ามาในตัวเรา ศิลปินทั้งสองที่มาสอนที่สตูดิโอเราตอนนี้ ก็เหมือนไม่ได้มาสอนนะ แต่เขามาเป็นตัวของตัวเองที่นี่ มาแบ่งปันสิ่งที่เขามีกับพื้นที่ โดยมีเนื้อหาสำคัญคือการอนุญาตให้คนที่มาเรียน explore ได้ และมีพวกเราคอยโอบอุ้มพื้นที่ให้เขา”
ถิง ชูระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า คนสำคัญที่มีส่วนต่อการตัดสินใจทำให้เธอลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็คือ ตั้ม-วิจักขณ์ พานิช’ ผู้อำนวยการสถาบันวัชรสิทธานั่นเอง
“ตอนแรกเราไปฟังเสวนาที่ตั้มจัดเกี่ยวกับวัชรยาน ซึ่งมีเนื้อหาหลายจุดที่ตรงกับคาร์ล ยุง มาก เราเลยประทับใจเสวนาครั้งนั้นสุดๆ ต่อมาเราก็สมัครไปเป็นนักแปลให้กับสำนักพิมพ์ของเขา โดยไม่รู้ว่าคือคนเดียวกันกับคนที่เคยจัดเสวนาครั้งนั้น และเริ่มได้รู้จักเขาในฐานะบรรณาธิการ ซึ่งเป็นบรรณาธิการที่อ่านงานเราได้ขาดและเสริมงานเราได้ตรงจุดมาก เป็นบรรณาธิการที่หายากจริงๆ เราได้วาดให้เขาบางเล่ม แปลหนังสือบางเล่ม เขาก็ตีพิมพ์หนังสือให้เราด้วย
“ดังนั้น ความสัมพันธ์จะเป็นรูปแบบบรรณาธิการเสมอมา เรามีโอกาสได้คุย และรู้จักกับตั้มในฐานะเพื่อนมากขึ้น ก็หลังจากได้มาช่วยสอนที่วัชรสิทธา เขาก็ถามถึงความสนใจของเรา แล้วพอคุยไปคุยมาเขาก็บอกว่าเขามีพื้นที่ว่างอยู่ข้างบ้านเขา ไม่ได้ใช้ทำอะไร สนใจมาใช้พื้นที่นี้ทำสตูดิโอไหม หลังจากที่เขาถามได้ไม่นาน โควิด-19 ก็มาพอดี แม้ใจจะกลัวมากว่าอาจไม่มีใครมาเรียน มันจะมีแต่เจ๊งกับเจ๊งแต่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ย้ายตอนนั้น เราก็อาจจะไม่ได้ย้ายและไม่ได้ลองทำสิ่งที่เราอยากลองเลย เราจึงตัดสินใจว่า ช่วงโควิดก็ไม่เป็นไร ลองดูสักตั้ง” ถิง ชู กล่าวอย่างมุ่งมั่น
>>> การปั้น กับ การภาวนา
ถามว่าเปิดสตูดิโอที่กรุงเทพฯ มานานเท่าไหร่แล้ว ถิง ชูตอบว่า อยู่มาปีกว่าแล้ว และน่ายินดีที่มีนักเรียนต่อเนื่อง
“มันน่าแปลกใจมาก เราไม่รู้ว่าเราไม่ทำบุญที่ไหนมา ไม่ว่าชาติที่แล้ว หรือชาตินี้ ถึงมีคนคอยมาส่งเสริมพื้นที่เราอย่างต่อเนื่อง ตอนแรกเราคิดว่าสามเดือนเราคงเจ๊ง คงได้ไปต่อที่อื่นแล้ว แต่กลายเป็นว่า ผ่านสามเดือนมาหลายระลอกแล้ว ก็ยังมีคนแวะมาเรียนต่อเนื่อง เราเลยรู้สึกว่าอาจเป็นเรื่องที่เราอยู่ถูกที่ถูกเวลาของพื้นที่นี้ ที่มีคนต้องการจะมาทำงานกับตัวเองพอดี” ถิง ชูระบุ และบอกกล่าวว่า สตูดิโอของเธอรับสอนต่อรอบ ไม่เกิน 6 คน และในเดือนหนึ่ง จะเปิดสอนเพียงแค่ 9 วันเท่านั้น
เมื่อถามถึงการปั้นกับการภาวนา ถิง ชูตอบว่า “ตั้งแต่ก่อนที่จะย้ายมากรุงเทพ มันมีอะไรบางอย่างที่เราอยาก explore เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานปั้น ที่ไม่ใช่แค่การผลิตชิ้นงานขายหรือพัฒนาทักษะ แต่ตอนนั้น มันยังดูลางๆ ดูไม่ออกว่าเป็นรูปแบบไหน พอเรามาทำงานปั้นที่กรุงเทพฯ และได้เข้าร่วมสังฆะวัชรปัญญาของวัชรสิทธา ได้แลกเปลี่ยนกับหลายๆคนที่นี่ เราก็เริ่มรู้สึกว่า จริงๆ แล้วการปั้นมันตอบหลายอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำงานอยู่โดยไม่ต้องเป็นคำพูดหรือความคิด มันไม่ต้องมีคำอธิบายเป็นเหตุผลเพื่อให้ใครคนหนึ่งเข้าใจถึงคำว่า ‘ความเคยชินของร่างกาย’ หรือ ‘การเห็นศักยภาพของตัวเอง’ หากเราอยู่กับสิ่งนี้มากพอเราก็จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งนี้ เราจะใช้คำพูดเพื่อให้คนๆ นึง ผ่อนคลายหรือเชื่อมั่นในตัวเขาเองไม่ได้หรอก แต่ ‘ดิน’ และ ‘ร่างกาย’ ของพวกเขาทำได้ เมื่อเขาอยู่กับมันมากพอ”
“การที่มีกลุ่มคนหรือเพื่อนที่มีพื้นฐานการภาวนามาทำงานปั้น มันทำให้เราเห็นท่าทีที่เราไม่ค่อยได้เจอมาก่อน หรือเคยเจอแต่ก็น้อยครั้งมาก เช่นการสังเกตร่างกายตัวเองระหว่างกระบวนการ หรือท่าทีที่ไม่ตัดสินตอนงานพัง ความรู้สึกเพลิดเพลินมีความสุขที่เห็นได้ชัดระหว่างปั้นงาน เราว่ามหัศจรรย์ดี เราเลยรู้สึกว่า ทำไมไม่เน้นประเด็นนี้ให้ชัดๆไปเลย เราก็เลยอธิบายตัวคอร์สว่าเป็นการเฝ้ามองกระบวนการ ไม่ได้เน้นเอาผลงาน แต่ถ้าใครอยากได้ผลงาน ก็มีคอร์ส ‘ปั้นเจาะจง’ ไว้ให้ ส่วนถ้าเป็น ‘ปั้นพื้นฐาน’ จะได้งานหรือไม่ ก็ถือเป็นผลพลอยได้
“สิ่งสำคัญคือ การที่เขาอยู่กับพื้นที่ตรงนั้น อยู่กับดิน ได้อยู่กับตัวเขาเอง เป็นระยะเวลาสามชั่วโมง หากเขาสงสัยอะไร เราก็บอกเขา เราอยู่เป็นพื้นหลังเงียบๆอยู่ตรงนั้นกับเขา ไม่บงการชี้นำเขาว่าสุนทรียะเขาควรเป็นยังไง เราจะเน้นการให้เขาเห็นตัวเองมากกว่า แต่เนื้อหากระบวนการนี้ก็เพิ่งชัดเจนมากขึ้นในใจเราเมื่อช่วงกลางปีนี้เอง”
ถิง ชู ระบุทิ้งท้าย สะท้อนถึงการเดินทางภายในจิตวิญญาณของเธอ ณ ที่ซึ่งบริบทแวดล้อมเปลี่ยนไปจากบ้านหลังเก่าที่คุ้นเคยมานานปี ทว่า หลายสิ่งที่นี่ ก็เอื้ออย่างยิ่งต่อกระบวนการทำงาน ‘ด้านใน’ ทั้งต่อตัวเอง ต่อเพื่อนผู้ร่วมสังฆะและรวมถึงผู้ที่แวะเวียนมาเรียนรู้กระบวนการภาวนาในพื้นที่ของเธอ
…….....................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo ถิง ชู โดย a day BULLETIN, ผลงานวาดภาพประกอบจากเพจ วัชรสิทธา vajrasiddha,
ภาพคอร์สเรียนงานปั้นจากเพจ Ting Chu Studio