xs
xsm
sm
md
lg

“หมอแล็บแพนด้า” อธิบายชัดถึงค่า Ct ในการตรวจหาเชื้อโควิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ “หมอแล็บแพนด้า” โพสต์อธิบายชัดถึงค่า Ct ในการตรวจ RT-PCR “สารพันธุกรรมของไวรัส” โดยสรุปว่า ค่า Ct น้อยเชื้อมาก ส่วน ค่า Ct มากเชื้อน้อย

วันนี้ (26 ก.ค.) เพจ “หมอแล็บแพนด้า” หรือ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง โพสต์ข้อความอธิบายค่า Ct ในการตรวจ RT-PCR โดยระบุว่า “คืองี้ครับ เวลาที่เราตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดแบบวิธีมาตรฐาน เขาจะตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า RT-PCR วิธีนี้เป็นวิธีตรวจหา “สารพันธุกรรมของไวรัส” ไวรัสตัวนี้มันจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมใช่ปะ ทรงกลมที่ว่านี้คือเปลือกของมัน ถ้าผ่าเปลือกไวรัสออกมา เราจะเจออะไรบางอย่างเป็นสายๆ เส้นๆ นั่นคือ RNA หรือภาษาไทยเรียกว่า “สารพันธุกรรม” นั่นเอง เราจะตรวจหาส่วนนี้ของมัน

วิธีการ RT-PCR เป็นวิธีที่สามารถเอาสารพันธุกรรมของไวรัสมาเพิ่มปริมาณในหลอดทดลอง คือ ถ้าเอาแท่ง swab ไปแตะโดนเชื้อโควิดแค่ตัวเดียว พอเอามาตรวจวิธีนี้ เราจะเพิ่มปริมาณของสารพันธุกรรมได้เป็นล้านเส้นจนสามารถตรวจจับได้

เวลาที่เราเพิ่มสารพันธุกรรม เราจะทำเป็นรอบๆ ทำประมาณ 40 รอบ ค่าที่ตรวจได้จะมีค่าเป็น Ct (Cycle threshold) ยิ่งผลตรวจออกมาได้ค่า Ct น้อยๆ แสดงว่ามีเชื้อไวรัสเยอะ เพราะทำแค่ไม่กี่รอบก็สามารถเพิ่มสารพันธุกรรมจนตรวจเจอได้แล้ว เช่น ยายจิ๋มเป็นโควิด ตรวจ RT-PCR ได้ค่า Ct เท่ากับ 10 แปลว่าทำไปแค่ 10 รอบก็ตรวจเจอตัวเชื้อแล้ว ต่างกับ น.ส.รัตนา ที่มีค่า Ct เท่ากับ 30 แสดงว่ารัตนามีเชื้อน้อยกว่า เพราะทำไป 30 รอบ กว่าจะตรวจเจอเชื้อไวรัส

สรุป Ct น้อยเชื้อมาก แต่ถ้า Ct มากเชื้อน้อย นั่นเองครับ”



กำลังโหลดความคิดเห็น