---ราวต้นหญ้าที่ไหวเอนด้วยแรงลม พลิ้วไหวอย่างไร้ทิศทางและกรอบเกณฑ์ใดๆ มากำหนด บางขณะคล้ายมีเรื่องราวที่ไม่อาจเอื้อนเอ่ยปรากฏขึ้นมาในห้วงลึก ก่อนดำดิ่งสู่ความเคลื่อนไหวอันอิสระเสรี ผ่อนคลาย ปล่อยจังหวะให้เลื่อนไหลไปตามเสียงดนตรีที่คลอเคล้า---เพียงมองดู ก็ให้ความรู้สึกสงบอย่างประหลาดล้ำ นี่อาจเป็นมนต์เสน่ห์ของศาสตร์แห่งการบำบัดเยียวยาจิตใจอันน่าสนใจยิ่งของ Dance Movement Psychotherapy

เธอจบปริญญาตรี จากคณะวารสารศาสตร์ เอกสาขาวิทยุและโทรทัศน์ จากรั้วแม่โดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเรียนจบ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกกลุ่มละคร B-Floor Theatre หลังจากนั้น ประมาณ 2 ปี เริ่มสนใจว่าร่างกายกับจิตใจทำงานร่วมกันอย่างไร จึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ Goldsmiths University of London ที่อังกฤษ
เคยทำงานเป็นสหวิชาชีพ ที่คลินิคจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น เป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาด้านการละคร อีกทั้งมีบทบาทสอนเรื่อง Empathic Communication ให้บุคลากรทางการแพทย์ ในเครือ BDMS (เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) ) กระทั่งเป็นผู้ก่อตั้ง Empathy Sauce ที่สร้างพื้นที่ในการเข้าใจตัวเองและพัฒนาตัวเองให้กับผู้สนใจผ่านกระบวนการการรับฟังและศิลปะหลากรูปแบบ ทั้งยังคงทำ Empathic Communication Workshopให้องค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำ Podcast R U OK ที่พูดคุย สร้างการรับรู้ด้านจิตวิทยาได้อย่างน่าสนใจ
‘ผู้จัดการออนไลน์’ สัมภาษณ์พิเศษ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ Dance Movement Psychotherapist คนแรกของเมืองไทย เพื่อเจาะลึกถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวของเธอและกระบวนการในการทำงานอันหลากหลาย ที่ Dance Movement นำพาเธอไปพบเจอ ขยายต่อไปยังงานภาคส่วนต่างๆ ที่ล้วนสัมพันธ์กับการทำความเข้าใจต่อจิตใจที่เชื่อมโยงกับร่างกายอย่างแยกกันไม่ออก

>>> ณ ห้วงขณะ แห่ง Dance Movement
ถามว่า ดุจดาวรู้สึกอย่างไร รู้สึกอะไรตอนที่ Dance Movement เมื่อครู่นี้
ดุจดาวตอบว่า “รู้สึกยังไงเหรอ ดาวว่าดาวอนุญาตให้ร่างกายเคลื่อนไหว อย่างที่อยากจะเคลื่อน ดาวไม่ได้แพลนหรือหวังว่ามันต้องเป็นยังไง ดาวไม่ได้รู้สึกก่อนเคลื่อนไหว แต่เคลื่อนไหวไปแล้ว ดาวจึงเจอกับความรู้สึกต่างๆ มากมายที่มันอยู่ข้างในซึ่งในชีวิตประจำวันไม่มีพื้นที่ให้มันออกมามากนัก แล้วพอได้เคลื่อนไหว แหมือนได้สำรวจเข้าไปข้างใน ความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่าง มันทำให้เจอความรู้สึกหลายอย่างเหมือนกันเมื่อสักครู่” ดุจดาวระบุ
ถามว่า ถ้ามีคนที่อยากทำแบบดุจดาวที่บ้าน หรืออยากเรียนศาสตร์แขนงนี้ ต้องเริ่มจากอะไร
ดุจดาวตอบว่า เราจะแยกก่อนว่า ถ้าอยากเรียนเพื่ออยากจะเป็นนักจิตบำบัดต้องไปเรียนสถานเดียว เรียนตามสถาบันการศึกษา แต่ทว่า ถ้าอยากจะแค่ใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อรู้เท่าทันตัวเอง เข้าใจตัวเองหรือทำงานกับจิตใจตัวเอง แบบนี้ สามารถทำได้เองที่บ้าน เพราะว่าจริงๆ มันเป็นการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ไม่มีแพทเทิร์น
ดุจดาวกล่าวว่า โดยปกติ เมื่อคนพูดถึงแดนซ์ มักต้องมีท่านี้ ท่านั้น ท่าหนึ่ง สอง สาม สี่ ซึ่งการทำแบบนั้นเราจะโฟกัสที่ความถูกต้อง แต่นี่กลับด้านกัน เราจะอนุญาตให้ร่างกายขยับยังไงก็ได้เลย แบบที่เราต้องฟังและเฝ้ามองว่าร่างกายเราขยับแบบไหน
“ร่างกายเราขยับตลอดเวลาอยู่แล้ว เรามีกะพริบตา พยักหน้า หายใจ คือร่างกายเราขยับอยู่แล้ว เราก็แค่หาพื้นที่ หาช่วงเวลาที่เราไม่ต้องกังวลอะไรเลย ไม่ต้องกังวลว่าทำท่านี้ใครจะมาว่า จะมาหัวเราะเยาะยังไง ก็หาพื้นที่ส่วนตัวที่ปลอดภัย หมายถึง ปลอดภัยทางกายและทางใจ
ปลอดภัยทางกายคือไม่ใช่เต้นๆ อยู่ แล้วนิ้วก้อยเท้าไปฟาดขอบเตียง หืม เจ็บ
ปลอดภัยทางใจ ไม่ใช่ว่าเรามูฟไปแล้วมีคนเปิดประตูเข้ามา ทำอะไรน่ะ! เอาที่เซฟค่ะ อาจมีตัวช่วยคือเพลงบรรเลงแบบที่ไม่มีเนื้อร้องช่วยได้ เพลงอะไรก็ได้ที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แล้วเราอนุญาตร่างกายให้เคลื่อนไหวยังไงก็ได้ บางคนถาม เคลื่อนไหวยังไงเหรอ ยืนหายใจอยู่อย่างนั้นก่อนก็ได้ค่ะ แล้วก็ค่อยให้ลมหายใจมันพาไป แล้วค่อยๆ ให้ความรู้สึกมันพาไป สามารถให้ร่างกายปลดปล่อยก่อนแล้วเราก็แค่เฝ้าดู บางคนบอกความรู้สึกบางอย่างมันมาเต็มๆ ก็ Follow ความรู้สึกอันนั้นเลย จับอะไรได้ก่อน Follow อันนั้นเลย ไม่มีกฎ กฎอย่างเดียวคือไม่ทำร้ายตัวเอง” ดุจดาวระบุ
ดุจดาวกล่าวว่า ครั้งแรกๆ อาจรู้สึกสบายใจดีนะ แล้วก็จบ แต่เมื่อเราลองทำไปเรื่อยๆ ระหว่างเคลื่อนไหวลองสังเกตตัวเองไปด้วย หรือสังเกตเรื่องหรือท่าทางในเวลาเราเคลื่อนไหวเรามักมีจินตนาการบางอย่างแว่บเข้ามา เราก็จะค่อยๆ เข้าใจว่าข้างในร่างกายเรามีเรื่องอะไรวนเวียนอยู่ เพราะเมื่อไม่มีโจทย์จากข้างนอก ทุกอย่างที่เราทำ 100% มาจากข้างใน เราจะได้รู้ว่าข้างในเราแบกเรื่องอะไรไว้ แล้วก็อนุญาตให้ตัวเองรู้สึกโดยไม่ตัดสินตัวเอง

>>> เยียวยาด้วยตนเองได้ที่บ้าน
เมื่อถามว่า มีคำกล่าวขานว่าดุจดาวเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่เรียนมาทางด้านการบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว เช่นนั้นแล้ว การเรียนมาโดยตรง กับการทดลองทำเองที่บ้าน ต่างกันอย่างไรบ้าง
ดุจดาวตอบว่า ถ้าเราเรียนมาโดยตรงเราสามารถสร้างกระบวนการนี้ให้กับคนอื่นได้ เพราะเราเรียนมาโดยตรง เรียนเป็นนักจิตบำบัด ซึ่งมันคือกระบวนการเยียวยารักษาจิตใจ สามารถรักษาหรือบำบัดได้เลย เป็นหนึ่งในศาสตร์ของการแพทย์ทางเลือก ปกติแล้ว จิตบำบัดแบบคลาสสิก คือการนั่งพูดคุยกันใช่ไหมคะ แต่ต่อมาก็มีการใช้ศิลปะมาเป็นตัวช่วย แบบวาดรูป ปั้น อะไรก็ว่าไป มีการรักษาแบบใช้ศาสตร์การละครมาช่วย คือ Dramatherapy มีศิลปะทางด้านเสียงเพลง Music therapy มีเรื่องของการเคลื่อนไหว หรือมีการเล่น Play therapy มันมีค่อนข้างเยอะมาก การเยียวยารักษาโดยอิงกับทฤษฎีจิตบำบัด ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้ในงานคลินิกได้ ถ้าเรียนมาก็สามารถทำกระบวนการนี้ได้ แต่ว่าการเต้นมันเป็นการเยียวยาในตัวมันเองอยู่แล้ว เราสามารถทำมันได้ที่บ้าน โดยที่เราไม่ต้องคิดว่าต้องเยียวยาอะไร ไม่ต้องเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 5
คือตั้งแต่เราเป็นยุคชนเผ่าเราก็เต้นกันแล้วน่ะค่ะ เราอยู่ในยุคปัจจุบันแล้ว เราสามารถที่จะใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย ปลดปล่อยอารมณ์บางอย่าง และเข้าใจตัวเองได้เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าสนใจ ว่าอยากไปเรียนก็สามารถไปเรียนมีการเทรนด์อย่างเข้มข้น และสามารถกลับมาเยียวยาใจผู้อื่น ซึ่ง 10 ปีที่แล้ว ดาวอาจจะเป็นคนเดียว ผ่านมา 5-6 ปีก็อาจจะเป็นคนเดียว แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่คนเดียวแล้ว นี่คือข้อดีมาก เริ่มมีคนไปเรียน เริ่มมีคนจบมาแล้วค่ะ กำลังจะมีเพิ่ม มีหลายคนที่ดาวมีโอกาสได้เขียนจดหมายรับรองให้เขาไปเรียน แล้วเขาก็จะจบมาทำแบบนี้มากขึ้น
>>> ภาษาของร่างกาย
ถามว่า ในมุมของจิตวิทยา การเต้นในแง่นี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอย่างไรบ้าง
ดุจดาวตอบว่า ในแง่จิตวิทยา มันมีทฤษฎีของจิตบำบัดอยู่แล้ว ให้เราเข้าใจว่าการที่เรามีพฤติกรรมบางอย่าง ตัดสินใจเลือกทำพฤติกรรมบางอย่าง มันมีที่มา แล้วเราก็มีกระบวนการค้นหาว่ามีอะไรในจิตใต้สำนึก มันมีแพทเทิร์นอะไรที่เรามักจะทำ ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้ภาษาพูดในการทบทวน แต่ศิลปะและตัวของภาษาร่างกายจะถูกนำเข้ามาเพราะว่าจะมีบางคนที่ไม่สามารถใช้ภาษาพูดได้ คือ ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นึกคำไม่ออก บางทีมันยากเหลือเกินสำหรับเขา ซึ่งงานศิลปะมันมาช่วยตรงนี้ งานศิลปะมันเป็นพื้นที่ที่ขยับออกไปอีก มันมีพื้นที่ให้สี ให้อะไรบางอย่างที่เราข้ามตัวหนังสือ ก้าวข้ามตัวภาษาไปเลยแล้วกัน
“ส่วนแดนซ์ มูฟเมนท์ มีคำว่ามูฟเมนท์ คือ มีภาษาที่เราก็ใช้ทุกวันแต่เราไม่ค่อยสนใจคือ ภาษาร่างกาย อวัจนภาษา ซึ่งสิ่งนี้เป็นภาษาแรกของมนุษย์อีก แต่เราไม่ค่อยฟังมัน มันอยู่กับเราตั้งแต่เราเกิดจนทุกวันนี้ เรานั่งแบบนี้ แบบนั้น แบบนี้ คือมันมีเหตุผลของตัวมันเองตลอดแล้วมันก็จัดการตัวมันเองตลอด ศาสตร์นี้คือ ถ้าเราอยากรู้เรื่องในใจ การเข้าใจผ่านภาษาความคิดบางคำทำได้ แต่ถ้าบางคนเป็นเด็กล่ะ แล้วภาษาเขาไม่แข็งแรง หรือแค่ขี้เกียจ สิ่งที่ตรงกว่าคือ ดูผ่านภาษาร่างกาย แล้วมันก็จะมีทฤษฎีบางอย่างเช่น การใช้ภาษาร่างกายแบบนี้ มัน link กับความมั่นใจ อัตลักษณ์ การใช้ภาษาร่างกายบางอย่างมัน link กับอะไร มันก็จะมีเรื่องของการวิเคราะห์ตรงนี้เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เราได้พอส่องเข้าไปใกล้ๆ แล้วได้รู้ว่าลึกๆ ข้างในเราเป็นอย่างไร
และที่ดูภาษาร่างกาย จริงๆ ภาษาร่างกายแทบจะเป็นเพื่อนสนิทที่สุดกับจิตใจเรา มันแยกกันไม่ได้เลย กวนกัน ผสมกันเป็นแยมไปแล้ว การที่เราเคลื่อนไหวร่างกาย ทุกคนลองดูก็ได้ การที่เราเคลื่อนไหวผ่านไปสักพัก เราจะสัมผัสได้ถึงบางอย่างจากข้างในจริงๆ ในช่องท้อง ในกล้ามเนื้อของเรา มันทำให้เราเชื่อมโยงกับจิตใจได้ค่อนข้างมาก แล้วการฟังร่างกายของเรา ทำให้เราได้รู้ว่า อ๋อ เราแบกอะไรอยู่บ้าง” ดุจดาวระบุถึงการทำความเข้าใจเสียงหรือภาษาของร่างกาย

>>> Dance Movement กับการเยียวยาผู้ป่วยจิตเวช
เมื่อถามว่า ดุจดาวเคยทำงานร่วมกับแพทย์ การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการเยียวยาจิตใจนำไปใช้อะไรกับผู้ป่วยบ้าง
ดุจดาวตอบว่า “ตอนนั้นดาวมีคำถามนี้เหมือนกัน ดาวทำงานกับแพทย์ กับผู้ป่วยร่วมกัน ชื่อว่า ‘มีรักคลินิค’ เป็นคลินิคจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น ตอนนั้น ที่นั่นใช้โมเดลที่ว่าผู้ป่วยหนึ่งคนจะเจอสหวิชาชีพที่หลากหลาย ผู้ป่วยจะได้พบแพทย์ อาจจะรักษาเขาได้ไม่รอบด้าน ดังนั้น ดาวเป็นหนึ่งในสหวิชาชีพ ที่จะคอยดูแลคนๆ นั้นร่วมกับจิตแพทย์
สิ่งที่แดนซ์ มูฟเมนท์ ช่วยได้ คือการทำความเข้าใจตัวเองผ่านร่างกาย ในเด็กและวัยรุ่น บางทีการให้นั่งคิด ก็ไม่เอื้อต่อเขา สิ่งนี้ก็ช่วยเขาได้ ตอนนั้นก็ทำงานเกี่ยวกับด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านการเข้าสังคม ควบคู่ไปกับอาการจิตเวชที่เขาพบกับแพทย์ อันนี้คือตอนมีรักคลินิก” ดุจดาวระบุ
ถามว่าการบำบัดผ่านร่างกาย เพื่อให้เขารู้จัก รู้สึกผ่านร่างกายตัวเอง เท่าทันความรู้สึกอย่างนั้นใช่หรือไม่
ดุจดาวตอบว่า “ใช่ค่ะ และเราออกแบบ Exercise ที่เพิ่มศักยภาพให้เขาในการรู้จักอารมณ์ รู้จักตัวเอง รู้จักระบบความคิด การตัดสินใจบางอย่าง แอคชั่น ผ่านมูฟเมนท์ บางทีก็ไม่ได้เต้นอิสระมากอย่างที่ดาวเต้นในคลิปเมื่อครู่ แบบนั้น นั่นคือคนที่สามารถอยู่กับตัวเองได้ ฟังดูเหมือนมันง่าย เต้นอะไรก็ได้ แต่บางทีมันก็ยากเกินไปสำหรับเด็กและวัยรุ่น บางทีเรามีไกด์ไลน์ให้เขา เล่นเป็นเกม ผ่านท่าทาง มันก็ช่วยบอกอะไรเราได้หลายอย่างเหมือนกันค่ะ”

>>> เคยเป็นหนึ่งในสมาชิก B-Floor Theatre
ถามว่า ดุจดาวเคยทำงานละครกับกลุ่ม B-Floor Theatre ด้วย
ดุจดาวตอบว่า “ดาวเป็นสมาชิกกลุ่มบีฟลอร์ตั้งแต่ปี 2002 จริงๆ บีฟลอร์ มาก่อนเลย การทำงานกับบีฟลอร์ ทำให้ดาวอยากไปเรียน Dance Movement Psychotherapy นี่แหละค่ะ คือดาวทำละครเวทีตอนมหาวิทยาลัย คือไม่ใช่แค่ท่องบทให้ได้ เล่นให้ดี แต่ต้องรู้จักร่างกายทุกส่วนเพื่อควบคุมมันให้ได้ เมื่อเรียนจบมาก็ไปเข้ากลุ่มละครบีฟลอร์เธียเตอร์ ที่เขาไม่ค่อยใช้ภาษาพูด เขาใช้ภาษาร่างกายในการสื่อสารซึ่งมันตะโกนได้ดังกว่า ดาวก็ทำการฝึกอย่างหนัก อย่างเข้มข้นกับเขา ประมาณสัก 2 ปี แล้วดาวก็สนใจว่าร่างกายกับจิตใจทำงานยังไง เพราะพอมี Exercise ที่อิมโพรไวส์ด้วยร่างกาย มันเจอความรู้สึกหลายๆ อย่าง ที่อยู่ข้างในตัวเอง ก็เลยอยากรู้ว่าร่างกายกับใจ ใจกับร่างกายมันทำงานสลับไปสลับมายังไง ก็เลย ตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ Goldsmiths University of London ที่อังกฤษ” ดุจดาวย้อนความทรงจำให้ฟัง
>>> สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Dance Movement therapy
ถามว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องแดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราพี ที่อังกฤษ
ดุจดาวตอบว่า “สิ่งที่รู้สึกว่าเปิดโลกมากและใกล้ตัวมาก คือ เราอาจคิดว่าต้องชวนให้คนลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว จริงๆ เรานั่งอยู่เฉยๆ เราก็หายใจแล้ว มีอวัยวะตั้งหลายอย่างที่เคลื่อนไหวตอนหายใจ ดังนั้น แดนซ์มูฟเมนท์ เธอราพี ทำได้กับทุกคนแม้กระทั่งคนที่เป็นอัมพาต ถ้าเขายังหายใจอยู่ คือ มันขยายขอบเขตของคำว่าแดนซ์ สำหรับดาวไปแบบเยอะมาก
การที่เราเดินทางจากบ้านไปรถใต้ดิน ไปเรียน ตลอดทางเราเต้นตลอด เดินๆๆ หลบซ้าย หลบขวาไปอีกทาง มันคือแดนซ์ ทุกคนเต้นอยู่ แล้วแดนซ์ที่เห็นอยู่บนเวทีนั่นก็เหมือนเป็นบทกวี ส่วนมูฟเมนท์ประจำวันเรามาต่อกัน มันไม่ได้ทำให้คนกลัวเต้น เต้นไม่ได้ เต้นไม่เก่ง เป็นมายาคติคนไทยมาก ต้องประดิดประดอย ต้องสวยงามถูกต้อง จริงๆ แดนซ์ คืออะไรก็ได้ แค่คุณขยับร่างกาย
แล้วบางทีใน Session ของ แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราพี บางคนอาจรู้สึก ฉันไม่เห็นได้ลุกขึ้นมาเต้นแบบคุณดุจดาวเลย ฉันไม่เห็นได้แดนซ์ในเธอราพีเลย เค้าลืมไปว่า แค่เค้านั่งคุยกับดาวแบบนี้ เค้าพยักหน้าอยู่ กับวิธีการนั่งของดาว บางทีมันเหมือนเราเต้นด้วยกัน เค้าขยับ ดาวขยับ ดาวขยับ เค้าขยับ เราใช้ภาษาร่างกายคุยด้วยกันตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ดาวเรียนรู้และค้นพบว่า ทฤษฎีจิตบำบัดมันพาเราไปพบความเข้าใจบางอย่างอยู่แล้ว สิ่งที่เคยเกิดกับเราในอดีต มันส่งผลต่อการตัดสินใจ การรับรู้และการมองเห็นอย่างไรในปัจจุบัน
การจะปรับความคิดในปัจจุบัน อาจจะต้องยูเทิร์นถอยไปดูนิดนึงว่าอะไรส่งผลมา ก็สนุกดี ทำให้รู้ว่า ไม่มีหลักคำสอน ความเชื่ออะไร อันหนึ่งอันเดียวที่ ก็ทำให้รู้ว่าถ้าคนๆ นี้ อยากทำอะไรสักอย่างกับตัวเอง คำตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับเธอราพิสท์ เธอราพิสท์เพียงช่วยประคับประคองค้นหาไปด้วยกัน ไม่ให้เคว้ง ไม่ให้หล่น แล้วก็ช่วยกันเฝ้าดูจนกว่าจะพบว่าเขาจะจัดการกับตัวเองยังไง” ดุจดาวระบุได้อย่างเห็นภาพ

>>> ได้รู้จัก Empathy
ดุจดาวกล่าวว่า นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่ได้รับเป็นความรู้ก็คือได้รู้ว่า Empathy หน้าตาแบบไหน การที่ไม่ Judgeหรือตัดสินคน แล้วก็ได้เจอความละเอียดอ่อน เดิมดุจดาวคิดว่าตัวเองเป็นคนละเอียดอ่อนอยู่แล้ว
“แต่ดาวโดนซอยให้ละเอียดลึกลงไปอีกไปอีก แบบว่า พอเราเข้าไปอยู่ห้องบำบัดในฐานะเธอราพิสต์ ถูกสอนว่าไม่มีมูฟเมนท์อันไหนที่เราจะขยับ โดยที่ไม่สอดคล้องไปกับผู้ที่เข้ารับการบำบัด ผู้เข้ารับการบำบัดเขาต้องเป็นเซ็นเตอร์ ความต้องการของเรา มีค่าเท่ากับศูนย์ เราแค่สร้าง Space ให้เขา สร้างกระบวนการให้เขา แล้วให้เขาเดินทางแบบที่เขาไร้กังวลและปลอดภัยที่สุด เพราะฉะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาร่างกายของดาวคือเครื่องมือ เหมือนที่เราไปหานักศิลปะบำบัดแล้วเขาจะยื่นพู่กัน กระดาษ เฟรม แต่ของดาวคือร่างกาย ดังนั้นดาวจะขยับ อะไร ยังไง ไม่ได้ ทุกก้าว ทุกมุม ทุก Quality ที่ดาวจะมี นับแต่เขาเปิดประตูเข้ามา ดาว Observe เริ่มขยับปรับ การเคลื่อนไหวร่างกายให้ Synchronize กับเขา
เขานั่ง เรานั่ง องศาที่เขานั่ง องศาที่เรานั่ง ตอนนี้เขารู้สึกแบบนี้ คือมันมีการประเมินและขยับปรับ ละเอียดมาก และมีแม้กระทั่งการจัดห้อง จำได้ว่าดาวอึ้งไปเลย อยากเรียนบำบัด แต่ต้องเรียนจัดห้องให้ปลอดภัยก่อน จัดเสร็จลองไปเดินเป็นเขาเข้ามาในห้อง มาเจออันนี้มีแง่ง มันทำงานกับใจแบบ Unconscious หรืออันนี้ มันโล่งไป ลองเอาอะไรมาวาง มันละเอียดทุกอย่าง ไม่มีอะไรตามใจเรา แต่ทุกอย่างต้องเอื้อต่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ที่เข้ามารับการบำบัด มันเลยทำให้เรา จากเดิมที่มุ่งหน้าจะเป็นศิลปินมาก่อน เซ็นเตอร์อยู่ที่เรา มันเต็มไปด้วยSelf ของเรา มันเรียนรู้ว่า ผ่านกระบวนการอย่างเดียวกันคือการเคลื่อนไหว แต่เมื่อเราเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ประคับประคอง ผู้ประคับประคอง เราต้อง Selfless มากๆ เราต้องผลักสวิทช์ให้สวิทช์โฟกัสไปที่คนๆ นั้น ไม่มี Self ของเราตั้งอยู่” ดุจดาวระบุ
นอกจากนี้ ดุจดาวได้เรียนรู้ที่จะเท่าทันสิ่งที่เรียกว่า ‘แฟนตาซีของนักบำบัด’ คือบางทีเราเรียนมาเราก็อยากลองของเหมือนคนเรียนถ่ายรูปน่ะ เทคนิคใหม่ กล้องใหม่ เลนส์ใหม่ แล้วขอลองหน่อย แต่นี่เรียนกับคน ทำแบบนั้นไม่ได้เลย
“สมมติเขานั่งอยู่ตรงนี้ เราต้องเอาเขาเป็นที่ตั้ง กระบวนการ เทคนิคที่เอื้อกับเขาก็เป็นเทคนิคพื้นฐาน แล้วบางทีสิ่งที่เมื่อวานซืนเพิ่งเรียนมา อยากใช้มาก แต่ความจริง ผ่านไปปีนึง ยังไม่ได้ใช้เลย แต่การไม่ได้ใช้ และการระงับตัวเองได้ นี่ก็คือการฝึก คือการฝึกวิจารณญาณไปในตัวด้วย ฝึกที่จะเอาเซ็นเตอร์ไปไว้ที่บุคคลอื่น เหมือนเปลี่ยนชีวิตเลยค่ะ”ดุจดาวระบุ

>>> เยียวยาผู้มีบาดแผลทางใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้ใจ
เมื่อถามว่า หากมีผู้ที่มีบาดแผลทางใจ หรือในกรณีที่เขาแหลกสลายทางจิตวิญญาณมาแล้วอยากมาเรียนกับคุณดุจดาว มีวิธีเยียวยาเขาอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า “เรียกว่ามาเข้ากระบวนการก็แล้วกันนะคะ
สเต็ปที่หนึ่ง เราสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย สร้างความไว้ใจ และก็ค่อยๆ เริ่มสร้างความสัมพันธ์ ถ้าทำสามอย่างนี้ยังไม่เสร็จ จะไปไหนไม่ได้เลย บางคนมาถึง มาแบบ เปรี้ยงๆๆๆ เทสิ่งที่อยู่ในใจออกมาเลย โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของนักจิตบำบัดและผู้เข้ารับการบำบัด ไม่ได้มีความไว้อกไว้ใจ เป็นไปได้ว่าระหว่างทางเรามีแนวโน้มจะทำลายเขาเพิ่ม กระบวนการไม่ปลอดภัย ต้องค่อยๆ ทำพื้นฐานให้แน่นหนา จนไว้ใจมากพอ ปลอดภัยมากพอ เขาจะเป็นคนเลือกเอง ว่าจะเริ่มจากอะไร อยากเล่าแค่ไหน และเรามีหน้าที่เคารพ Rhythm หรือจังหวะ เราจะเอาตัวเราไปบีบ ไปเค้นเอาออกมาไม่ได้ เช่นมีคนบอกว่า แหม ดาวต้องเป็นคนที่แงะคนเก่ง แต่จริงๆ แล้ว ไม่มีเลย จะไปแงะเขาทำไมถ้าเขาไม่อยากพูด ถ้าเขาไม่อยากทำงานก็ต้องเคารพ
เราจะเป็นผู้เฝ้ารอ จนกว่าเขาจะไว้ใจเรา จนเปิดเผยว่าเขามีบาดแผลอะไร บางทีการเล่าเรื่องในอดีต ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน เราไม่มีวันรู้
เยียวยายังไง บางทีพอเขาไว้ใจ เริ่มเล่าออกมา เราก็ให้เขาค่อยๆ Hint ค่อยๆ Process ค่อยๆ ย่อยกันอีกครั้ง บางทีถ้าจะเทียบเคียง คล้ายๆ แผลทางร่างกาย บางทีถ้าเรารีบ เร็วๆๆๆ อยากหายโดยไม่ได้ประคบประหงมมันมันก็จะเกิดเป็นเหมือนแผลเป็น ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อมาปะๆๆๆ เป็นเหมือนแผลเป็นนูนๆ ใช่ไหมคะ
ถ้าเราอยากเยียวยาบาดแผล เราต้องค่อยๆ สมาน ก็เหมือนกัน เราค่อยๆ ทำความรู้จักแผลผ่านศิลปะบำบัด ข้อดีของศิลปะบำบัดคือ เรากลับไปพูดถึงความเจ็บปวด ถึงสิ่งที่เราไม่อยากเข้าใกล้มัน เพราะว่าเราเกลียดมัน หรือเราอาจจะไม่อยากมองมัน แต่เมื่อมันถูก Offer ให้ทำงานผ่านกระบวนการศิลปะบำบัด ซึ่งมันมีสุนทรียะด้วยอุปกรณ์ของมัน บางทีเขาจะสามารถเขยิบเข้าไปใกล้มัน เห็นมันในมุมที่เขาอยากจะอยู่ทำงานด้วยนานขึ้น Gentle ขึ้น
หลักการสำคัญคือต้อง Gentle เท่านั้น นี่คือหลักของเธอราพิสต์” ดุจดาวเน้นย้ำถึงกระบวนการที่ควรต้องใช้ความอ่อนโยนอย่างยิ่ง

>>> บทเรียนสำคัญ ที่ทำให้รอบคอบมากขึ้น
ดุจดาวเล่าย้อนให้ฟังว่า “ตอนนั้นเราก็ให้ผู้เข้ารับการบำบัดเอามือถูกันเพื่อเริ่มการวอร์ม เราอยากสร้าง Awareness ปลุกกล้ามเนื้อ ไม่ใช่มาถึง เต้นได้เลย เราก็เริ่ม ท่าแรก ถูมือแค่นี้ 5 วินาทีได้ สมาชิกในกลุ่มดาวคนนึงน้ำตาไหล แล้ววิ่งออกจากห้องไปเลย ตอนนั้นดาวฝึกหัดอยู่ ดาวควรจะมีความสามารถรักษาเขาไว้ในกลุ่ม เขาเป็นอะไร ดาวก็ต้องคิด
พอเราไปปรึกษา Supervisor พูดแล้วขนลุก ซูเปอร์ไวเซอร์บอกว่า ท่านี้ สำหรับคนที่เคยโดน Abuse ทางร่างกายมาก่อน มันคือการ Skin ผิวกับผิว มันดึงความทรงจำออกมาเยอะมาก การที่ใช้มือสัมผัสต่อกัน มันไปปลุก Memory ที่ฝังอยู่ในร่างกายขึ้นมาเยอะมากเกินไป เยอะมากเกินกว่าที่คุณจะเลือกท่านี้มาเป็นท่าวอร์มท่าแรก
มันละเอียดอ่อนขนาดนี้ มันสอนให้ดาวรู้ว่า เอาตัวเองเป็นตัวตั้งไม่ได้เลย จำไว้เลยนะดุจดาว คิดเยอะๆ เอาใจไปไว้ตรงนั้นเยอะๆ คิดเผื่อเค้าเยอะๆ Gentle มากเหลือเกินก็ยังดีกว่า Gentle น้อยเกินไป
เพราะฉะนั้น ก็เรียนรู้ว่า ท่าวอร์มท่าแรกๆ อย่าเพิ่งให้เขาสัมผัสตัวเองสำหรับคนกลุ่มนี้ ตอนจบดาวก็เลยทำธีสิสเรื่องการสัมผัสไปเลย พอทำธีสิสถึงเข้าใจว่าตอนนั้นพลาดจริงๆ” ดุจดาวระบุถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
เมื่อถามว่า ดุจดาวเป็นอาจารย์สอนด้านการละครด้วย สอนเมื่อครั้งเรียนจบโทที่อังกฤษกลับมาใช่หรือไม่
ดุจดาวตอบว่า สอนตอนจบปริญญาโทกลับมาแล้ว
เมื่อถามว่า คุณเรียนด้านจิตบำบัดมา แต่มาสอนด้านการละคร มีการเชื่อมโยงมีจุดเชื่อมต่อกันอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า อันที่จริง เธอคือนักการละคร ที่ไปเรียนเป็นนักจิตบำบัด เพราะฉะนั้น การไปสอนเป็นนักการละครนี่ น่าจะคล่องสำหรับเธอมากกว่าการเป็นนักจิตบำบัด ตอนดาวจบใหม่ๆ เธอไปสอนการใช้ร่างกายในการแสดงและเธียเตอร์ประยุกต์ เพราะฉะนั้น พวก Exercise ก็ให้เข้าใจการใช้ร่างกายตัวเอง และสามารถมองลึกเข้าไปในจิตใจ เพื่อให้เขาเข้าใจมนุษย์มากขึ้น

>>> ไม่ใช่แค่นักจิตบำบัด
ถามว่า ณ ตอนนี้ งานของดุจดาวคือนักจิตบำบัด เรียกอย่างนั้นได้หรือไม่
“คือดุจดาว วัฒนปกรณ์ ที่ทำหลายอย่างค่ะ” เป็นคำตอบของเธอ
เมื่อถามว่า ทำอะไรบ้าง ดุจดาวตอบว่า เธอทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัด, ทำพิธีกร R U OK ซึ่งเป็น Podcast ที่เธอทำร่วมกับ The Standard, เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Empathic Communication ทักษะการสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจ ให้คู่สนทนารู้สึกว่ามีคนเข้าใจ นับเป็นการสื่อสารแบบที่มี Empathy ,เป็นศิลปินด้านการแสดง เป็นผู้ก่อตั้ง Empathy Sauce
เมื่อถามถึงความเป็นมาของ Empathy Sauce ดุจดาวเล่าว่า เดิมที เธอคือ The Workshoppers ผู้ทำเวิร์คช้อปแบบตัวต่อตัวกับผู้รับบริการ
“ดาวเริ่มทำเพราะว่าจะมีกลุ่มคนที่ดาวทำบำบัดกลุ่มจิตเวชและในโรงพยาบาล รวมทั้งมีคนมาสัมภาษณ์เรื่องแดนซ์ เธอราพีบ่อยมาก ซึ่งดาวยินดีและอยากให้ทุกคนได้ไปเรียนรู้เพิ่ม และทุกคนที่มาสัมภาษณ์ 9 ในสิบคนจะพูดว่าอยากลอง ดาวก็บอกว่าได้เลยค่ะ ถ้าอยากลอง ให้ลงทะเบียนมาที่มีรักคลินิค คลินิคเพื่อจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น แล้วเจอกัน ตอนนั้นดาวก็ทำงานวันอาทิตย์ ปรากฏว่าไม่มีใครมาเลยค่ะ เพราะว่า ไม่มีใครอยากลงทะเบียนเป็นคนไข้จิตเวช
เพราะว่าเขาไม่ได้มีอาการ เขาแค่อยากใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อความเข้าใจ แล้วเราก็คุยกัน แล้วดาวก็คุยกับพี่ท่านหนึ่งเป็นนักละครบำบัดชื่อพี่เจีย สฤญรัตน์ โทมัส ทำอยู่มีรักคลินิกด้วยกัน พี่เขาก็โอเค เข้าใจว่ามีคนกลุ่มนึงที่เขาอยากเข้าใจตัวเองผ่านศาสตร์ที่เราสองคนทำได้ แต่เขาไม่กล้าเดินเข้าคลินิก ต้องมีที่ไหนให้เขาสักที่นึงสิ ไม่งั้นมันไม่แฟร์จริงๆ นะ
ไม่ใช่ทุกคนที่อยากมีบัตรคนไข้ หรือว่ามีประวัติคนไข้ เราก็คุยกันว่า งั้นทำเป็นครั้งคราว เราจะไม่เรียกตัวเองว่า Psychotherapy มันฟังดูน่ากลัว เราเรียกตัวเองว่า The Workshoppers ทำเวิร์คช้อป ซึ่งในภาษาอังกฤษผิดหลักการมาก แต่เราก็ตั้ง พอทำเสร็จปุ๊บ รุ่นพี่ท่านนั้นก็ไปอยู่อังกฤษ เพราะมีสามีเป็นคนอังกฤษ ก็กลับไปอยู่บ้าน เราก็แบบ อ้าว ไปแล้ว ทำไมล่ะ ยังทำได้ไม่เท่าไหร่ แต่หลังจากนั้นสักพัก หลังจากเริ่มทำ Podcast R U OK เริ่มรู้สึกว่า เรื่องจิตวิทยา หรือเรื่องนักจิตบำบัดมันไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป คนเริ่มหาว่า พี่ดาวลองหาแบบ Session ที่ไม่ต้องถึงขั้น Psychotherapy มั้ย แค่ซัพพอร์ทจิตใจ เราก็ทำแบบวันออนวัน ดาวว่าดาวทำได้
ดาวก็ทำมาสักพักนึงแล้วก็ตัดสินใจเปิด Empathy Sauce” ดุจดาวบอกเล่าความเป็นมา
หนึ่งส่วนสามของงาน Empathy Sauce คือการทำสิ่งที่เดอะเวิร์คช้อปเปอร์ เคยทำ ดุจดาวทำงานเกี่ยวกับการเยียวยาจิตใจ “therapy ก็ได้ถ้าต้องการ หรือบางคน ขอแค่เป็นเวิร์คช้อปให้เข้าใจตัวเอง พัฒนาตัวเองได้หมด
แต่มี session หนึ่ง ที่ต่อเนื่องมาจากที่ดาวเคยทำเกี่ยวกับเครือของ BDMS (เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) ดาวเคยทำงานเป็นคนสอนเรื่อง Empathic Communication ให้บุคลากรทางการแพทย์ แล้วดาวโฟกัส Empathy ในที่ทำงาน ในสังคม ดาวทำอยู่ 7 ปีครึ่ง แล้วดาวก็ค่อนข้างอินกับมันมากเลย รู้สึกว่า Empathy มันเป็น Gap อยู่ในหลายๆ ที่ ถ้าเจอนะ คือวิธีที่อยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องมาเป็นลูกค้าของเดอะเวิร์คช้อปเปอร์ ถ้าที่ทำงานเราใช้ Empathy มากขึ้น ครอบครัวมี Empathy มากขึ้น คนที่จะ Suffer จากสุขภาพจิตก็อาจจะน้อยลง เราก็ขยับขึ้นมาเป็นพื้นที่ที่เปิดเวิร์คช้อปเกี่ยวกับ Empathic Communication บรรยายในองค์กร เกี่ยวกับ Empathic Communication ให้กับผู้นำองค์กร และผู้คนในที่ทำงาน” ดุจดาวระบุ
อีกสิ่งที่ทำ ก็เป็น Session ที่ช่วยให้ใช้ Empathy ในการเข้าใจแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบริการของเขา หรืออยากเข้าใจในองค์กร ดุจดาวและทีมงาน Empathy Sauce ถนัดในการรับฟัง เธอจะเข้าไปฟังคนในองค์กรคุณให้แล้วจะถอดมาเป็นข้อมูล โดยที่ไม่บอกว่าใครชอบอะไร
“เราจะเอามาเป็นข้อมูลให้กับผู้บริหาร ว่านี่คือเสียงจากองค์กรของคุณหรือบางทีก็บอกว่านี่คือเสียงจากผู้รับบริการจากเซอร์วิสของคุณ เราโปรโมทให้ทุกคนได้รับฟังหรือถูกได้ยินจากกระบวนการ Empathy ดาวทำสามอย่างนี้ ที่ Empathy Sauce” ดุจดาวระบุ

>>> ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ของดุจดาว
เมื่อถามว่า ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ดุจดาวเจอเคสทั้งหมดกี่ราย
ดุจดาวตอบว่า พบเคส 4-5 คนต่อวัน มากสุดคือ 5 Session แต่โดยเฉลี่ยจะเป็น 4 และสัปดาห์หนึ่งดุจดาวทำงานประมาณ 6 วัน
เมื่อถามถึงวิธีดึงตัวเอง หรือคลายตัวเองออกมาจากกระบวนการ ทำอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า “เต้นแบบเมื่อกี้เลยค่ะ เตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อให้เท่าทันการเคลื่อนไหว ให้เท่าทันว่า วันนี้ ดุจดาว วัฒปกรณ์คิดเรื่องอะไรอยู่บ้าง แบกเรื่องอะไรอยู่บ้าง ตอนเย็นจะไปที่ไหน มีเรื่องเยอะเลย ตอนมูฟเราก็จัดเก็บ ระหว่างที่เราเคลื่อนไหวเราก็จัดเก็บ
ดึงสติกลับมาที่ตัวเอง แล้วเราก็เจอคนหนึ่งคน แต่ระหว่างเคลื่อนไหว อย่าลืมว่ามีคนหนึ่งคน ที่เราเอาเรื่องราวของเขาเข้ามา เพราะอย่าลืมว่าตัวเราคืออุปกรณ์นะ อุปกรณ์ของดาวก็ไปซึมซับเอาบางอย่างของเขามาพิจารณา พอเขาออกไป ดาวจะใช้พื้นที่ตรงนี้เคลื่อนไหว แล้วจะพบว่าบางสิ่ง ก่อนทำ Session มันไม่มา แต่ตอนนี้มันมาแล้ว แล้วเราก็ได้ใคร่ครวญว่า อ๋อ เป็นแบบนี้ หรือบางครั้งเราก็เอามูฟเมนท์ที่เขาทำเมื่อสักครู่มาทำซ้ำเพื่อทำความเข้าใจมันอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น เหมือนเราเข้าไปฟังมันอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น พอเราเข้าใจเราก็จัดเก็บตัวเรา ให้พาตัวเองกลับมาอยู่ที่จุดที่เป็นเรา”
>>> Dance Movement ที่สามารถทำได้เอง
เมื่อถามทิ้งท้ายว่า อยากให้คุณดุจดาวฝากถึงผู้ที่สนใจกระบวนการแดนซ์มูฟเมนท์ แต่เขาไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง และมีข้อควรระวังอะไรถ้าจะทำตามลำพัง ต้องใส่ใจอะไรบ้าง และทำได้บ่อยแค่ไหน
ดุจดาวตอบว่า จริงๆ ดาวมักจะเชียร์ทุกคนให้หันกลับมามองเพื่อนสนิท หรือว่าฟังเพื่อนสนิท คือร่างกายของเรา ไม่ใช่วันๆ ใช้เค้าตะบี้ตะบัน ใช้เค้าขับรถ ใช้เค้ายกของ ใช้เค้าทำกับข้าว คือ เราใช้งานเค้าเยอะแล้ว อยากให้ฟังเค้าบ้าง
ดังนั้น ถ้ามีพื้นที่อยากให้เค้าได้ตะโกนในแบบที่เค้าอยากทำ ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ถ้ารู้สึกว่ามันเก้อซะเหลือเกิน ก็ใช้รูปแบบการออกกำลังกายแฝงไปด้วยก็ได้ บางทีการวิ่ง การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิคก็ถือเป็นการเคลื่อนไหว แต่ความต่างคือ เวลาฟังเสียงร่างกายตัวเอง พยายามอย่าตัดสิน และลืมความถูกต้องไปก่อน เอาแค่ไม่ให้ตัวเองบาดเจ็บ ทฤษฎีไม่ต้องเป๊ะๆๆๆ เพราะเราไม่ได้ฝึกฝนไปไหน เราแค่จะฟังมัน
“แต่ถ้าใครอยากลองในแบบที่เป็นการเต้น ขอให้หาพื้นที่ปลอดภัยอย่างที่บอกช่วงต้นค่ะ แล้วก็เรื่องเพลง ที่เหลือก็ปล่อย ปล่อยให้มาก ปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วไม่ต้องมีความหมายมากก็ได้ แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราเจอเราจะเริ่มฟังมันออกขึ้นเรื่อยๆ เรา Connect กับมัน เหมือนภาษาใหม่ เหมือนเราไปต่างประเทศ แรกๆ เราฟังภาษาเขาไม่ออก เหมือนภาษาใหม่ แต่เมื่อเราฟังบ่อยๆ เราจะเจอบางอย่าง คิดว่าน่าสนุกดีเพราะว่า ร่างกายเป็นของคุณ ถ้าคุณไม่เคยฟังเค้าเลย คุณอาจเป็นคนสุดท้ายที่รู้ว่าเค้าแบกอะไรอยู่ก็ได้
แล้วหลายคนที่เริ่มควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หรือเริ่มไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในตัวเอง ดาวว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างคอนเนคชั่น เชื่อมมาที่ร่างกาย
ข้อควรระวังก็คือ ถ้าเดิม มีอาการทางจิตเวช เห็นภาพหลอน หูแว่ว เห็นอะไรที่คนอื่นมักไม่เห็น เวลาเคลื่อนไหว ไม่เชียร์ให้หลับตา นอกนั้นก็ไม่มีอะไรค่ะ ร่างกายเป็นของคุณ” ดุจดาวระบุ
เมื่อถามว่า อาการบาดเจ็บจากบาดแผลทางใจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ในการเคลื่อนไหวเช่นนี้
ดุจดาวตอบว่า ดาวไม่รู้ว่าบางคนเจออะไรมาบ้างในชีวิต เอาเป็นว่า เวลาเราเคลื่อนไหว เราจะปล่อยให้ความคิดเป็นไปอย่างอิสระ ถ้าบางช่วงไปเจออะไรบางอย่างที่เราไปต่อไม่ไหว ก็ไม่ต้องฝืนไปต่อ เพราะบางกระบวนการที่เราจะไปแตะบาดแผลอะไรสักอย่างมันอาจเรียกร้องให้เราต้องไปเจอใครสักคนที่เขาแม่นทางกว่า ที่เขาพร้อมจะจับเราได้ ตอนที่เรากำลังจะร่วงก็ได้ บางคนอาจเคยมีประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดทางร่างกายโดยตรง หรือร่างกายเป็นจุดที่ถูกกระทำบางอย่าง บางทีการใช้ร่างกายแล้วไปเจอจุดบางอย่างที่ทำให้ร่วงลงมา
“เพราะฉะนั้น ค่อยๆ ค่ะ ค่อยๆ เมื่อเจอแล้วก็แตะเบรคแล้วระงับมัน และห้ามหลับตานี่เป็นข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการทางจิตเวชเห็นภาพหลอน ห้ามหลับตา แต่ว่าร่างกายเราก็เป็นของเรา ทำเถอะค่ะ ถ้าไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่มีกฎเกณฑ์อะไร ใช้เวลาเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่เลย” ดุจดาวบอกกล่าวอย่างเรียบง่ายสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวอย่างผ่อนคลายที่เธอได้แสดงให้ชม และสมกับที่เธอเป็น Dance Movement Psychotherapist คนแรกของเมืองไทย
………
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo ธัชกร กิจไชยภณ
เธอจบปริญญาตรี จากคณะวารสารศาสตร์ เอกสาขาวิทยุและโทรทัศน์ จากรั้วแม่โดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเรียนจบ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกกลุ่มละคร B-Floor Theatre หลังจากนั้น ประมาณ 2 ปี เริ่มสนใจว่าร่างกายกับจิตใจทำงานร่วมกันอย่างไร จึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ Goldsmiths University of London ที่อังกฤษ
เคยทำงานเป็นสหวิชาชีพ ที่คลินิคจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น เป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาด้านการละคร อีกทั้งมีบทบาทสอนเรื่อง Empathic Communication ให้บุคลากรทางการแพทย์ ในเครือ BDMS (เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) ) กระทั่งเป็นผู้ก่อตั้ง Empathy Sauce ที่สร้างพื้นที่ในการเข้าใจตัวเองและพัฒนาตัวเองให้กับผู้สนใจผ่านกระบวนการการรับฟังและศิลปะหลากรูปแบบ ทั้งยังคงทำ Empathic Communication Workshopให้องค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำ Podcast R U OK ที่พูดคุย สร้างการรับรู้ด้านจิตวิทยาได้อย่างน่าสนใจ
‘ผู้จัดการออนไลน์’ สัมภาษณ์พิเศษ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ Dance Movement Psychotherapist คนแรกของเมืองไทย เพื่อเจาะลึกถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวของเธอและกระบวนการในการทำงานอันหลากหลาย ที่ Dance Movement นำพาเธอไปพบเจอ ขยายต่อไปยังงานภาคส่วนต่างๆ ที่ล้วนสัมพันธ์กับการทำความเข้าใจต่อจิตใจที่เชื่อมโยงกับร่างกายอย่างแยกกันไม่ออก
>>> ณ ห้วงขณะ แห่ง Dance Movement
ถามว่า ดุจดาวรู้สึกอย่างไร รู้สึกอะไรตอนที่ Dance Movement เมื่อครู่นี้
ดุจดาวตอบว่า “รู้สึกยังไงเหรอ ดาวว่าดาวอนุญาตให้ร่างกายเคลื่อนไหว อย่างที่อยากจะเคลื่อน ดาวไม่ได้แพลนหรือหวังว่ามันต้องเป็นยังไง ดาวไม่ได้รู้สึกก่อนเคลื่อนไหว แต่เคลื่อนไหวไปแล้ว ดาวจึงเจอกับความรู้สึกต่างๆ มากมายที่มันอยู่ข้างในซึ่งในชีวิตประจำวันไม่มีพื้นที่ให้มันออกมามากนัก แล้วพอได้เคลื่อนไหว แหมือนได้สำรวจเข้าไปข้างใน ความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่าง มันทำให้เจอความรู้สึกหลายอย่างเหมือนกันเมื่อสักครู่” ดุจดาวระบุ
ถามว่า ถ้ามีคนที่อยากทำแบบดุจดาวที่บ้าน หรืออยากเรียนศาสตร์แขนงนี้ ต้องเริ่มจากอะไร
ดุจดาวตอบว่า เราจะแยกก่อนว่า ถ้าอยากเรียนเพื่ออยากจะเป็นนักจิตบำบัดต้องไปเรียนสถานเดียว เรียนตามสถาบันการศึกษา แต่ทว่า ถ้าอยากจะแค่ใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อรู้เท่าทันตัวเอง เข้าใจตัวเองหรือทำงานกับจิตใจตัวเอง แบบนี้ สามารถทำได้เองที่บ้าน เพราะว่าจริงๆ มันเป็นการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ไม่มีแพทเทิร์น
ดุจดาวกล่าวว่า โดยปกติ เมื่อคนพูดถึงแดนซ์ มักต้องมีท่านี้ ท่านั้น ท่าหนึ่ง สอง สาม สี่ ซึ่งการทำแบบนั้นเราจะโฟกัสที่ความถูกต้อง แต่นี่กลับด้านกัน เราจะอนุญาตให้ร่างกายขยับยังไงก็ได้เลย แบบที่เราต้องฟังและเฝ้ามองว่าร่างกายเราขยับแบบไหน
“ร่างกายเราขยับตลอดเวลาอยู่แล้ว เรามีกะพริบตา พยักหน้า หายใจ คือร่างกายเราขยับอยู่แล้ว เราก็แค่หาพื้นที่ หาช่วงเวลาที่เราไม่ต้องกังวลอะไรเลย ไม่ต้องกังวลว่าทำท่านี้ใครจะมาว่า จะมาหัวเราะเยาะยังไง ก็หาพื้นที่ส่วนตัวที่ปลอดภัย หมายถึง ปลอดภัยทางกายและทางใจ
ปลอดภัยทางกายคือไม่ใช่เต้นๆ อยู่ แล้วนิ้วก้อยเท้าไปฟาดขอบเตียง หืม เจ็บ
ปลอดภัยทางใจ ไม่ใช่ว่าเรามูฟไปแล้วมีคนเปิดประตูเข้ามา ทำอะไรน่ะ! เอาที่เซฟค่ะ อาจมีตัวช่วยคือเพลงบรรเลงแบบที่ไม่มีเนื้อร้องช่วยได้ เพลงอะไรก็ได้ที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แล้วเราอนุญาตร่างกายให้เคลื่อนไหวยังไงก็ได้ บางคนถาม เคลื่อนไหวยังไงเหรอ ยืนหายใจอยู่อย่างนั้นก่อนก็ได้ค่ะ แล้วก็ค่อยให้ลมหายใจมันพาไป แล้วค่อยๆ ให้ความรู้สึกมันพาไป สามารถให้ร่างกายปลดปล่อยก่อนแล้วเราก็แค่เฝ้าดู บางคนบอกความรู้สึกบางอย่างมันมาเต็มๆ ก็ Follow ความรู้สึกอันนั้นเลย จับอะไรได้ก่อน Follow อันนั้นเลย ไม่มีกฎ กฎอย่างเดียวคือไม่ทำร้ายตัวเอง” ดุจดาวระบุ
ดุจดาวกล่าวว่า ครั้งแรกๆ อาจรู้สึกสบายใจดีนะ แล้วก็จบ แต่เมื่อเราลองทำไปเรื่อยๆ ระหว่างเคลื่อนไหวลองสังเกตตัวเองไปด้วย หรือสังเกตเรื่องหรือท่าทางในเวลาเราเคลื่อนไหวเรามักมีจินตนาการบางอย่างแว่บเข้ามา เราก็จะค่อยๆ เข้าใจว่าข้างในร่างกายเรามีเรื่องอะไรวนเวียนอยู่ เพราะเมื่อไม่มีโจทย์จากข้างนอก ทุกอย่างที่เราทำ 100% มาจากข้างใน เราจะได้รู้ว่าข้างในเราแบกเรื่องอะไรไว้ แล้วก็อนุญาตให้ตัวเองรู้สึกโดยไม่ตัดสินตัวเอง
>>> เยียวยาด้วยตนเองได้ที่บ้าน
เมื่อถามว่า มีคำกล่าวขานว่าดุจดาวเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่เรียนมาทางด้านการบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว เช่นนั้นแล้ว การเรียนมาโดยตรง กับการทดลองทำเองที่บ้าน ต่างกันอย่างไรบ้าง
ดุจดาวตอบว่า ถ้าเราเรียนมาโดยตรงเราสามารถสร้างกระบวนการนี้ให้กับคนอื่นได้ เพราะเราเรียนมาโดยตรง เรียนเป็นนักจิตบำบัด ซึ่งมันคือกระบวนการเยียวยารักษาจิตใจ สามารถรักษาหรือบำบัดได้เลย เป็นหนึ่งในศาสตร์ของการแพทย์ทางเลือก ปกติแล้ว จิตบำบัดแบบคลาสสิก คือการนั่งพูดคุยกันใช่ไหมคะ แต่ต่อมาก็มีการใช้ศิลปะมาเป็นตัวช่วย แบบวาดรูป ปั้น อะไรก็ว่าไป มีการรักษาแบบใช้ศาสตร์การละครมาช่วย คือ Dramatherapy มีศิลปะทางด้านเสียงเพลง Music therapy มีเรื่องของการเคลื่อนไหว หรือมีการเล่น Play therapy มันมีค่อนข้างเยอะมาก การเยียวยารักษาโดยอิงกับทฤษฎีจิตบำบัด ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้ในงานคลินิกได้ ถ้าเรียนมาก็สามารถทำกระบวนการนี้ได้ แต่ว่าการเต้นมันเป็นการเยียวยาในตัวมันเองอยู่แล้ว เราสามารถทำมันได้ที่บ้าน โดยที่เราไม่ต้องคิดว่าต้องเยียวยาอะไร ไม่ต้องเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 5
คือตั้งแต่เราเป็นยุคชนเผ่าเราก็เต้นกันแล้วน่ะค่ะ เราอยู่ในยุคปัจจุบันแล้ว เราสามารถที่จะใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย ปลดปล่อยอารมณ์บางอย่าง และเข้าใจตัวเองได้เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าสนใจ ว่าอยากไปเรียนก็สามารถไปเรียนมีการเทรนด์อย่างเข้มข้น และสามารถกลับมาเยียวยาใจผู้อื่น ซึ่ง 10 ปีที่แล้ว ดาวอาจจะเป็นคนเดียว ผ่านมา 5-6 ปีก็อาจจะเป็นคนเดียว แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่คนเดียวแล้ว นี่คือข้อดีมาก เริ่มมีคนไปเรียน เริ่มมีคนจบมาแล้วค่ะ กำลังจะมีเพิ่ม มีหลายคนที่ดาวมีโอกาสได้เขียนจดหมายรับรองให้เขาไปเรียน แล้วเขาก็จะจบมาทำแบบนี้มากขึ้น
>>> ภาษาของร่างกาย
ถามว่า ในมุมของจิตวิทยา การเต้นในแง่นี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอย่างไรบ้าง
ดุจดาวตอบว่า ในแง่จิตวิทยา มันมีทฤษฎีของจิตบำบัดอยู่แล้ว ให้เราเข้าใจว่าการที่เรามีพฤติกรรมบางอย่าง ตัดสินใจเลือกทำพฤติกรรมบางอย่าง มันมีที่มา แล้วเราก็มีกระบวนการค้นหาว่ามีอะไรในจิตใต้สำนึก มันมีแพทเทิร์นอะไรที่เรามักจะทำ ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้ภาษาพูดในการทบทวน แต่ศิลปะและตัวของภาษาร่างกายจะถูกนำเข้ามาเพราะว่าจะมีบางคนที่ไม่สามารถใช้ภาษาพูดได้ คือ ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นึกคำไม่ออก บางทีมันยากเหลือเกินสำหรับเขา ซึ่งงานศิลปะมันมาช่วยตรงนี้ งานศิลปะมันเป็นพื้นที่ที่ขยับออกไปอีก มันมีพื้นที่ให้สี ให้อะไรบางอย่างที่เราข้ามตัวหนังสือ ก้าวข้ามตัวภาษาไปเลยแล้วกัน
“ส่วนแดนซ์ มูฟเมนท์ มีคำว่ามูฟเมนท์ คือ มีภาษาที่เราก็ใช้ทุกวันแต่เราไม่ค่อยสนใจคือ ภาษาร่างกาย อวัจนภาษา ซึ่งสิ่งนี้เป็นภาษาแรกของมนุษย์อีก แต่เราไม่ค่อยฟังมัน มันอยู่กับเราตั้งแต่เราเกิดจนทุกวันนี้ เรานั่งแบบนี้ แบบนั้น แบบนี้ คือมันมีเหตุผลของตัวมันเองตลอดแล้วมันก็จัดการตัวมันเองตลอด ศาสตร์นี้คือ ถ้าเราอยากรู้เรื่องในใจ การเข้าใจผ่านภาษาความคิดบางคำทำได้ แต่ถ้าบางคนเป็นเด็กล่ะ แล้วภาษาเขาไม่แข็งแรง หรือแค่ขี้เกียจ สิ่งที่ตรงกว่าคือ ดูผ่านภาษาร่างกาย แล้วมันก็จะมีทฤษฎีบางอย่างเช่น การใช้ภาษาร่างกายแบบนี้ มัน link กับความมั่นใจ อัตลักษณ์ การใช้ภาษาร่างกายบางอย่างมัน link กับอะไร มันก็จะมีเรื่องของการวิเคราะห์ตรงนี้เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เราได้พอส่องเข้าไปใกล้ๆ แล้วได้รู้ว่าลึกๆ ข้างในเราเป็นอย่างไร
และที่ดูภาษาร่างกาย จริงๆ ภาษาร่างกายแทบจะเป็นเพื่อนสนิทที่สุดกับจิตใจเรา มันแยกกันไม่ได้เลย กวนกัน ผสมกันเป็นแยมไปแล้ว การที่เราเคลื่อนไหวร่างกาย ทุกคนลองดูก็ได้ การที่เราเคลื่อนไหวผ่านไปสักพัก เราจะสัมผัสได้ถึงบางอย่างจากข้างในจริงๆ ในช่องท้อง ในกล้ามเนื้อของเรา มันทำให้เราเชื่อมโยงกับจิตใจได้ค่อนข้างมาก แล้วการฟังร่างกายของเรา ทำให้เราได้รู้ว่า อ๋อ เราแบกอะไรอยู่บ้าง” ดุจดาวระบุถึงการทำความเข้าใจเสียงหรือภาษาของร่างกาย
>>> Dance Movement กับการเยียวยาผู้ป่วยจิตเวช
เมื่อถามว่า ดุจดาวเคยทำงานร่วมกับแพทย์ การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการเยียวยาจิตใจนำไปใช้อะไรกับผู้ป่วยบ้าง
ดุจดาวตอบว่า “ตอนนั้นดาวมีคำถามนี้เหมือนกัน ดาวทำงานกับแพทย์ กับผู้ป่วยร่วมกัน ชื่อว่า ‘มีรักคลินิค’ เป็นคลินิคจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น ตอนนั้น ที่นั่นใช้โมเดลที่ว่าผู้ป่วยหนึ่งคนจะเจอสหวิชาชีพที่หลากหลาย ผู้ป่วยจะได้พบแพทย์ อาจจะรักษาเขาได้ไม่รอบด้าน ดังนั้น ดาวเป็นหนึ่งในสหวิชาชีพ ที่จะคอยดูแลคนๆ นั้นร่วมกับจิตแพทย์
สิ่งที่แดนซ์ มูฟเมนท์ ช่วยได้ คือการทำความเข้าใจตัวเองผ่านร่างกาย ในเด็กและวัยรุ่น บางทีการให้นั่งคิด ก็ไม่เอื้อต่อเขา สิ่งนี้ก็ช่วยเขาได้ ตอนนั้นก็ทำงานเกี่ยวกับด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านการเข้าสังคม ควบคู่ไปกับอาการจิตเวชที่เขาพบกับแพทย์ อันนี้คือตอนมีรักคลินิก” ดุจดาวระบุ
ถามว่าการบำบัดผ่านร่างกาย เพื่อให้เขารู้จัก รู้สึกผ่านร่างกายตัวเอง เท่าทันความรู้สึกอย่างนั้นใช่หรือไม่
ดุจดาวตอบว่า “ใช่ค่ะ และเราออกแบบ Exercise ที่เพิ่มศักยภาพให้เขาในการรู้จักอารมณ์ รู้จักตัวเอง รู้จักระบบความคิด การตัดสินใจบางอย่าง แอคชั่น ผ่านมูฟเมนท์ บางทีก็ไม่ได้เต้นอิสระมากอย่างที่ดาวเต้นในคลิปเมื่อครู่ แบบนั้น นั่นคือคนที่สามารถอยู่กับตัวเองได้ ฟังดูเหมือนมันง่าย เต้นอะไรก็ได้ แต่บางทีมันก็ยากเกินไปสำหรับเด็กและวัยรุ่น บางทีเรามีไกด์ไลน์ให้เขา เล่นเป็นเกม ผ่านท่าทาง มันก็ช่วยบอกอะไรเราได้หลายอย่างเหมือนกันค่ะ”
>>> เคยเป็นหนึ่งในสมาชิก B-Floor Theatre
ถามว่า ดุจดาวเคยทำงานละครกับกลุ่ม B-Floor Theatre ด้วย
ดุจดาวตอบว่า “ดาวเป็นสมาชิกกลุ่มบีฟลอร์ตั้งแต่ปี 2002 จริงๆ บีฟลอร์ มาก่อนเลย การทำงานกับบีฟลอร์ ทำให้ดาวอยากไปเรียน Dance Movement Psychotherapy นี่แหละค่ะ คือดาวทำละครเวทีตอนมหาวิทยาลัย คือไม่ใช่แค่ท่องบทให้ได้ เล่นให้ดี แต่ต้องรู้จักร่างกายทุกส่วนเพื่อควบคุมมันให้ได้ เมื่อเรียนจบมาก็ไปเข้ากลุ่มละครบีฟลอร์เธียเตอร์ ที่เขาไม่ค่อยใช้ภาษาพูด เขาใช้ภาษาร่างกายในการสื่อสารซึ่งมันตะโกนได้ดังกว่า ดาวก็ทำการฝึกอย่างหนัก อย่างเข้มข้นกับเขา ประมาณสัก 2 ปี แล้วดาวก็สนใจว่าร่างกายกับจิตใจทำงานยังไง เพราะพอมี Exercise ที่อิมโพรไวส์ด้วยร่างกาย มันเจอความรู้สึกหลายๆ อย่าง ที่อยู่ข้างในตัวเอง ก็เลยอยากรู้ว่าร่างกายกับใจ ใจกับร่างกายมันทำงานสลับไปสลับมายังไง ก็เลย ตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ Goldsmiths University of London ที่อังกฤษ” ดุจดาวย้อนความทรงจำให้ฟัง
>>> สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Dance Movement therapy
ถามว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องแดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราพี ที่อังกฤษ
ดุจดาวตอบว่า “สิ่งที่รู้สึกว่าเปิดโลกมากและใกล้ตัวมาก คือ เราอาจคิดว่าต้องชวนให้คนลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว จริงๆ เรานั่งอยู่เฉยๆ เราก็หายใจแล้ว มีอวัยวะตั้งหลายอย่างที่เคลื่อนไหวตอนหายใจ ดังนั้น แดนซ์มูฟเมนท์ เธอราพี ทำได้กับทุกคนแม้กระทั่งคนที่เป็นอัมพาต ถ้าเขายังหายใจอยู่ คือ มันขยายขอบเขตของคำว่าแดนซ์ สำหรับดาวไปแบบเยอะมาก
การที่เราเดินทางจากบ้านไปรถใต้ดิน ไปเรียน ตลอดทางเราเต้นตลอด เดินๆๆ หลบซ้าย หลบขวาไปอีกทาง มันคือแดนซ์ ทุกคนเต้นอยู่ แล้วแดนซ์ที่เห็นอยู่บนเวทีนั่นก็เหมือนเป็นบทกวี ส่วนมูฟเมนท์ประจำวันเรามาต่อกัน มันไม่ได้ทำให้คนกลัวเต้น เต้นไม่ได้ เต้นไม่เก่ง เป็นมายาคติคนไทยมาก ต้องประดิดประดอย ต้องสวยงามถูกต้อง จริงๆ แดนซ์ คืออะไรก็ได้ แค่คุณขยับร่างกาย
แล้วบางทีใน Session ของ แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราพี บางคนอาจรู้สึก ฉันไม่เห็นได้ลุกขึ้นมาเต้นแบบคุณดุจดาวเลย ฉันไม่เห็นได้แดนซ์ในเธอราพีเลย เค้าลืมไปว่า แค่เค้านั่งคุยกับดาวแบบนี้ เค้าพยักหน้าอยู่ กับวิธีการนั่งของดาว บางทีมันเหมือนเราเต้นด้วยกัน เค้าขยับ ดาวขยับ ดาวขยับ เค้าขยับ เราใช้ภาษาร่างกายคุยด้วยกันตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ดาวเรียนรู้และค้นพบว่า ทฤษฎีจิตบำบัดมันพาเราไปพบความเข้าใจบางอย่างอยู่แล้ว สิ่งที่เคยเกิดกับเราในอดีต มันส่งผลต่อการตัดสินใจ การรับรู้และการมองเห็นอย่างไรในปัจจุบัน
การจะปรับความคิดในปัจจุบัน อาจจะต้องยูเทิร์นถอยไปดูนิดนึงว่าอะไรส่งผลมา ก็สนุกดี ทำให้รู้ว่า ไม่มีหลักคำสอน ความเชื่ออะไร อันหนึ่งอันเดียวที่ ก็ทำให้รู้ว่าถ้าคนๆ นี้ อยากทำอะไรสักอย่างกับตัวเอง คำตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับเธอราพิสท์ เธอราพิสท์เพียงช่วยประคับประคองค้นหาไปด้วยกัน ไม่ให้เคว้ง ไม่ให้หล่น แล้วก็ช่วยกันเฝ้าดูจนกว่าจะพบว่าเขาจะจัดการกับตัวเองยังไง” ดุจดาวระบุได้อย่างเห็นภาพ
>>> ได้รู้จัก Empathy
ดุจดาวกล่าวว่า นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่ได้รับเป็นความรู้ก็คือได้รู้ว่า Empathy หน้าตาแบบไหน การที่ไม่ Judgeหรือตัดสินคน แล้วก็ได้เจอความละเอียดอ่อน เดิมดุจดาวคิดว่าตัวเองเป็นคนละเอียดอ่อนอยู่แล้ว
“แต่ดาวโดนซอยให้ละเอียดลึกลงไปอีกไปอีก แบบว่า พอเราเข้าไปอยู่ห้องบำบัดในฐานะเธอราพิสต์ ถูกสอนว่าไม่มีมูฟเมนท์อันไหนที่เราจะขยับ โดยที่ไม่สอดคล้องไปกับผู้ที่เข้ารับการบำบัด ผู้เข้ารับการบำบัดเขาต้องเป็นเซ็นเตอร์ ความต้องการของเรา มีค่าเท่ากับศูนย์ เราแค่สร้าง Space ให้เขา สร้างกระบวนการให้เขา แล้วให้เขาเดินทางแบบที่เขาไร้กังวลและปลอดภัยที่สุด เพราะฉะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาร่างกายของดาวคือเครื่องมือ เหมือนที่เราไปหานักศิลปะบำบัดแล้วเขาจะยื่นพู่กัน กระดาษ เฟรม แต่ของดาวคือร่างกาย ดังนั้นดาวจะขยับ อะไร ยังไง ไม่ได้ ทุกก้าว ทุกมุม ทุก Quality ที่ดาวจะมี นับแต่เขาเปิดประตูเข้ามา ดาว Observe เริ่มขยับปรับ การเคลื่อนไหวร่างกายให้ Synchronize กับเขา
เขานั่ง เรานั่ง องศาที่เขานั่ง องศาที่เรานั่ง ตอนนี้เขารู้สึกแบบนี้ คือมันมีการประเมินและขยับปรับ ละเอียดมาก และมีแม้กระทั่งการจัดห้อง จำได้ว่าดาวอึ้งไปเลย อยากเรียนบำบัด แต่ต้องเรียนจัดห้องให้ปลอดภัยก่อน จัดเสร็จลองไปเดินเป็นเขาเข้ามาในห้อง มาเจออันนี้มีแง่ง มันทำงานกับใจแบบ Unconscious หรืออันนี้ มันโล่งไป ลองเอาอะไรมาวาง มันละเอียดทุกอย่าง ไม่มีอะไรตามใจเรา แต่ทุกอย่างต้องเอื้อต่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ที่เข้ามารับการบำบัด มันเลยทำให้เรา จากเดิมที่มุ่งหน้าจะเป็นศิลปินมาก่อน เซ็นเตอร์อยู่ที่เรา มันเต็มไปด้วยSelf ของเรา มันเรียนรู้ว่า ผ่านกระบวนการอย่างเดียวกันคือการเคลื่อนไหว แต่เมื่อเราเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ประคับประคอง ผู้ประคับประคอง เราต้อง Selfless มากๆ เราต้องผลักสวิทช์ให้สวิทช์โฟกัสไปที่คนๆ นั้น ไม่มี Self ของเราตั้งอยู่” ดุจดาวระบุ
นอกจากนี้ ดุจดาวได้เรียนรู้ที่จะเท่าทันสิ่งที่เรียกว่า ‘แฟนตาซีของนักบำบัด’ คือบางทีเราเรียนมาเราก็อยากลองของเหมือนคนเรียนถ่ายรูปน่ะ เทคนิคใหม่ กล้องใหม่ เลนส์ใหม่ แล้วขอลองหน่อย แต่นี่เรียนกับคน ทำแบบนั้นไม่ได้เลย
“สมมติเขานั่งอยู่ตรงนี้ เราต้องเอาเขาเป็นที่ตั้ง กระบวนการ เทคนิคที่เอื้อกับเขาก็เป็นเทคนิคพื้นฐาน แล้วบางทีสิ่งที่เมื่อวานซืนเพิ่งเรียนมา อยากใช้มาก แต่ความจริง ผ่านไปปีนึง ยังไม่ได้ใช้เลย แต่การไม่ได้ใช้ และการระงับตัวเองได้ นี่ก็คือการฝึก คือการฝึกวิจารณญาณไปในตัวด้วย ฝึกที่จะเอาเซ็นเตอร์ไปไว้ที่บุคคลอื่น เหมือนเปลี่ยนชีวิตเลยค่ะ”ดุจดาวระบุ
>>> เยียวยาผู้มีบาดแผลทางใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้ใจ
เมื่อถามว่า หากมีผู้ที่มีบาดแผลทางใจ หรือในกรณีที่เขาแหลกสลายทางจิตวิญญาณมาแล้วอยากมาเรียนกับคุณดุจดาว มีวิธีเยียวยาเขาอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า “เรียกว่ามาเข้ากระบวนการก็แล้วกันนะคะ
สเต็ปที่หนึ่ง เราสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย สร้างความไว้ใจ และก็ค่อยๆ เริ่มสร้างความสัมพันธ์ ถ้าทำสามอย่างนี้ยังไม่เสร็จ จะไปไหนไม่ได้เลย บางคนมาถึง มาแบบ เปรี้ยงๆๆๆ เทสิ่งที่อยู่ในใจออกมาเลย โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของนักจิตบำบัดและผู้เข้ารับการบำบัด ไม่ได้มีความไว้อกไว้ใจ เป็นไปได้ว่าระหว่างทางเรามีแนวโน้มจะทำลายเขาเพิ่ม กระบวนการไม่ปลอดภัย ต้องค่อยๆ ทำพื้นฐานให้แน่นหนา จนไว้ใจมากพอ ปลอดภัยมากพอ เขาจะเป็นคนเลือกเอง ว่าจะเริ่มจากอะไร อยากเล่าแค่ไหน และเรามีหน้าที่เคารพ Rhythm หรือจังหวะ เราจะเอาตัวเราไปบีบ ไปเค้นเอาออกมาไม่ได้ เช่นมีคนบอกว่า แหม ดาวต้องเป็นคนที่แงะคนเก่ง แต่จริงๆ แล้ว ไม่มีเลย จะไปแงะเขาทำไมถ้าเขาไม่อยากพูด ถ้าเขาไม่อยากทำงานก็ต้องเคารพ
เราจะเป็นผู้เฝ้ารอ จนกว่าเขาจะไว้ใจเรา จนเปิดเผยว่าเขามีบาดแผลอะไร บางทีการเล่าเรื่องในอดีต ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน เราไม่มีวันรู้
เยียวยายังไง บางทีพอเขาไว้ใจ เริ่มเล่าออกมา เราก็ให้เขาค่อยๆ Hint ค่อยๆ Process ค่อยๆ ย่อยกันอีกครั้ง บางทีถ้าจะเทียบเคียง คล้ายๆ แผลทางร่างกาย บางทีถ้าเรารีบ เร็วๆๆๆ อยากหายโดยไม่ได้ประคบประหงมมันมันก็จะเกิดเป็นเหมือนแผลเป็น ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อมาปะๆๆๆ เป็นเหมือนแผลเป็นนูนๆ ใช่ไหมคะ
ถ้าเราอยากเยียวยาบาดแผล เราต้องค่อยๆ สมาน ก็เหมือนกัน เราค่อยๆ ทำความรู้จักแผลผ่านศิลปะบำบัด ข้อดีของศิลปะบำบัดคือ เรากลับไปพูดถึงความเจ็บปวด ถึงสิ่งที่เราไม่อยากเข้าใกล้มัน เพราะว่าเราเกลียดมัน หรือเราอาจจะไม่อยากมองมัน แต่เมื่อมันถูก Offer ให้ทำงานผ่านกระบวนการศิลปะบำบัด ซึ่งมันมีสุนทรียะด้วยอุปกรณ์ของมัน บางทีเขาจะสามารถเขยิบเข้าไปใกล้มัน เห็นมันในมุมที่เขาอยากจะอยู่ทำงานด้วยนานขึ้น Gentle ขึ้น
หลักการสำคัญคือต้อง Gentle เท่านั้น นี่คือหลักของเธอราพิสต์” ดุจดาวเน้นย้ำถึงกระบวนการที่ควรต้องใช้ความอ่อนโยนอย่างยิ่ง
>>> บทเรียนสำคัญ ที่ทำให้รอบคอบมากขึ้น
ดุจดาวเล่าย้อนให้ฟังว่า “ตอนนั้นเราก็ให้ผู้เข้ารับการบำบัดเอามือถูกันเพื่อเริ่มการวอร์ม เราอยากสร้าง Awareness ปลุกกล้ามเนื้อ ไม่ใช่มาถึง เต้นได้เลย เราก็เริ่ม ท่าแรก ถูมือแค่นี้ 5 วินาทีได้ สมาชิกในกลุ่มดาวคนนึงน้ำตาไหล แล้ววิ่งออกจากห้องไปเลย ตอนนั้นดาวฝึกหัดอยู่ ดาวควรจะมีความสามารถรักษาเขาไว้ในกลุ่ม เขาเป็นอะไร ดาวก็ต้องคิด
พอเราไปปรึกษา Supervisor พูดแล้วขนลุก ซูเปอร์ไวเซอร์บอกว่า ท่านี้ สำหรับคนที่เคยโดน Abuse ทางร่างกายมาก่อน มันคือการ Skin ผิวกับผิว มันดึงความทรงจำออกมาเยอะมาก การที่ใช้มือสัมผัสต่อกัน มันไปปลุก Memory ที่ฝังอยู่ในร่างกายขึ้นมาเยอะมากเกินไป เยอะมากเกินกว่าที่คุณจะเลือกท่านี้มาเป็นท่าวอร์มท่าแรก
มันละเอียดอ่อนขนาดนี้ มันสอนให้ดาวรู้ว่า เอาตัวเองเป็นตัวตั้งไม่ได้เลย จำไว้เลยนะดุจดาว คิดเยอะๆ เอาใจไปไว้ตรงนั้นเยอะๆ คิดเผื่อเค้าเยอะๆ Gentle มากเหลือเกินก็ยังดีกว่า Gentle น้อยเกินไป
เพราะฉะนั้น ก็เรียนรู้ว่า ท่าวอร์มท่าแรกๆ อย่าเพิ่งให้เขาสัมผัสตัวเองสำหรับคนกลุ่มนี้ ตอนจบดาวก็เลยทำธีสิสเรื่องการสัมผัสไปเลย พอทำธีสิสถึงเข้าใจว่าตอนนั้นพลาดจริงๆ” ดุจดาวระบุถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
เมื่อถามว่า ดุจดาวเป็นอาจารย์สอนด้านการละครด้วย สอนเมื่อครั้งเรียนจบโทที่อังกฤษกลับมาใช่หรือไม่
ดุจดาวตอบว่า สอนตอนจบปริญญาโทกลับมาแล้ว
เมื่อถามว่า คุณเรียนด้านจิตบำบัดมา แต่มาสอนด้านการละคร มีการเชื่อมโยงมีจุดเชื่อมต่อกันอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า อันที่จริง เธอคือนักการละคร ที่ไปเรียนเป็นนักจิตบำบัด เพราะฉะนั้น การไปสอนเป็นนักการละครนี่ น่าจะคล่องสำหรับเธอมากกว่าการเป็นนักจิตบำบัด ตอนดาวจบใหม่ๆ เธอไปสอนการใช้ร่างกายในการแสดงและเธียเตอร์ประยุกต์ เพราะฉะนั้น พวก Exercise ก็ให้เข้าใจการใช้ร่างกายตัวเอง และสามารถมองลึกเข้าไปในจิตใจ เพื่อให้เขาเข้าใจมนุษย์มากขึ้น
>>> ไม่ใช่แค่นักจิตบำบัด
ถามว่า ณ ตอนนี้ งานของดุจดาวคือนักจิตบำบัด เรียกอย่างนั้นได้หรือไม่
“คือดุจดาว วัฒนปกรณ์ ที่ทำหลายอย่างค่ะ” เป็นคำตอบของเธอ
เมื่อถามว่า ทำอะไรบ้าง ดุจดาวตอบว่า เธอทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัด, ทำพิธีกร R U OK ซึ่งเป็น Podcast ที่เธอทำร่วมกับ The Standard, เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Empathic Communication ทักษะการสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจ ให้คู่สนทนารู้สึกว่ามีคนเข้าใจ นับเป็นการสื่อสารแบบที่มี Empathy ,เป็นศิลปินด้านการแสดง เป็นผู้ก่อตั้ง Empathy Sauce
เมื่อถามถึงความเป็นมาของ Empathy Sauce ดุจดาวเล่าว่า เดิมที เธอคือ The Workshoppers ผู้ทำเวิร์คช้อปแบบตัวต่อตัวกับผู้รับบริการ
“ดาวเริ่มทำเพราะว่าจะมีกลุ่มคนที่ดาวทำบำบัดกลุ่มจิตเวชและในโรงพยาบาล รวมทั้งมีคนมาสัมภาษณ์เรื่องแดนซ์ เธอราพีบ่อยมาก ซึ่งดาวยินดีและอยากให้ทุกคนได้ไปเรียนรู้เพิ่ม และทุกคนที่มาสัมภาษณ์ 9 ในสิบคนจะพูดว่าอยากลอง ดาวก็บอกว่าได้เลยค่ะ ถ้าอยากลอง ให้ลงทะเบียนมาที่มีรักคลินิค คลินิคเพื่อจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น แล้วเจอกัน ตอนนั้นดาวก็ทำงานวันอาทิตย์ ปรากฏว่าไม่มีใครมาเลยค่ะ เพราะว่า ไม่มีใครอยากลงทะเบียนเป็นคนไข้จิตเวช
เพราะว่าเขาไม่ได้มีอาการ เขาแค่อยากใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อความเข้าใจ แล้วเราก็คุยกัน แล้วดาวก็คุยกับพี่ท่านหนึ่งเป็นนักละครบำบัดชื่อพี่เจีย สฤญรัตน์ โทมัส ทำอยู่มีรักคลินิกด้วยกัน พี่เขาก็โอเค เข้าใจว่ามีคนกลุ่มนึงที่เขาอยากเข้าใจตัวเองผ่านศาสตร์ที่เราสองคนทำได้ แต่เขาไม่กล้าเดินเข้าคลินิก ต้องมีที่ไหนให้เขาสักที่นึงสิ ไม่งั้นมันไม่แฟร์จริงๆ นะ
ไม่ใช่ทุกคนที่อยากมีบัตรคนไข้ หรือว่ามีประวัติคนไข้ เราก็คุยกันว่า งั้นทำเป็นครั้งคราว เราจะไม่เรียกตัวเองว่า Psychotherapy มันฟังดูน่ากลัว เราเรียกตัวเองว่า The Workshoppers ทำเวิร์คช้อป ซึ่งในภาษาอังกฤษผิดหลักการมาก แต่เราก็ตั้ง พอทำเสร็จปุ๊บ รุ่นพี่ท่านนั้นก็ไปอยู่อังกฤษ เพราะมีสามีเป็นคนอังกฤษ ก็กลับไปอยู่บ้าน เราก็แบบ อ้าว ไปแล้ว ทำไมล่ะ ยังทำได้ไม่เท่าไหร่ แต่หลังจากนั้นสักพัก หลังจากเริ่มทำ Podcast R U OK เริ่มรู้สึกว่า เรื่องจิตวิทยา หรือเรื่องนักจิตบำบัดมันไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป คนเริ่มหาว่า พี่ดาวลองหาแบบ Session ที่ไม่ต้องถึงขั้น Psychotherapy มั้ย แค่ซัพพอร์ทจิตใจ เราก็ทำแบบวันออนวัน ดาวว่าดาวทำได้
ดาวก็ทำมาสักพักนึงแล้วก็ตัดสินใจเปิด Empathy Sauce” ดุจดาวบอกเล่าความเป็นมา
หนึ่งส่วนสามของงาน Empathy Sauce คือการทำสิ่งที่เดอะเวิร์คช้อปเปอร์ เคยทำ ดุจดาวทำงานเกี่ยวกับการเยียวยาจิตใจ “therapy ก็ได้ถ้าต้องการ หรือบางคน ขอแค่เป็นเวิร์คช้อปให้เข้าใจตัวเอง พัฒนาตัวเองได้หมด
แต่มี session หนึ่ง ที่ต่อเนื่องมาจากที่ดาวเคยทำเกี่ยวกับเครือของ BDMS (เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) ดาวเคยทำงานเป็นคนสอนเรื่อง Empathic Communication ให้บุคลากรทางการแพทย์ แล้วดาวโฟกัส Empathy ในที่ทำงาน ในสังคม ดาวทำอยู่ 7 ปีครึ่ง แล้วดาวก็ค่อนข้างอินกับมันมากเลย รู้สึกว่า Empathy มันเป็น Gap อยู่ในหลายๆ ที่ ถ้าเจอนะ คือวิธีที่อยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องมาเป็นลูกค้าของเดอะเวิร์คช้อปเปอร์ ถ้าที่ทำงานเราใช้ Empathy มากขึ้น ครอบครัวมี Empathy มากขึ้น คนที่จะ Suffer จากสุขภาพจิตก็อาจจะน้อยลง เราก็ขยับขึ้นมาเป็นพื้นที่ที่เปิดเวิร์คช้อปเกี่ยวกับ Empathic Communication บรรยายในองค์กร เกี่ยวกับ Empathic Communication ให้กับผู้นำองค์กร และผู้คนในที่ทำงาน” ดุจดาวระบุ
อีกสิ่งที่ทำ ก็เป็น Session ที่ช่วยให้ใช้ Empathy ในการเข้าใจแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบริการของเขา หรืออยากเข้าใจในองค์กร ดุจดาวและทีมงาน Empathy Sauce ถนัดในการรับฟัง เธอจะเข้าไปฟังคนในองค์กรคุณให้แล้วจะถอดมาเป็นข้อมูล โดยที่ไม่บอกว่าใครชอบอะไร
“เราจะเอามาเป็นข้อมูลให้กับผู้บริหาร ว่านี่คือเสียงจากองค์กรของคุณหรือบางทีก็บอกว่านี่คือเสียงจากผู้รับบริการจากเซอร์วิสของคุณ เราโปรโมทให้ทุกคนได้รับฟังหรือถูกได้ยินจากกระบวนการ Empathy ดาวทำสามอย่างนี้ ที่ Empathy Sauce” ดุจดาวระบุ
>>> ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ของดุจดาว
เมื่อถามว่า ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ดุจดาวเจอเคสทั้งหมดกี่ราย
ดุจดาวตอบว่า พบเคส 4-5 คนต่อวัน มากสุดคือ 5 Session แต่โดยเฉลี่ยจะเป็น 4 และสัปดาห์หนึ่งดุจดาวทำงานประมาณ 6 วัน
เมื่อถามถึงวิธีดึงตัวเอง หรือคลายตัวเองออกมาจากกระบวนการ ทำอย่างไร
ดุจดาวตอบว่า “เต้นแบบเมื่อกี้เลยค่ะ เตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อให้เท่าทันการเคลื่อนไหว ให้เท่าทันว่า วันนี้ ดุจดาว วัฒปกรณ์คิดเรื่องอะไรอยู่บ้าง แบกเรื่องอะไรอยู่บ้าง ตอนเย็นจะไปที่ไหน มีเรื่องเยอะเลย ตอนมูฟเราก็จัดเก็บ ระหว่างที่เราเคลื่อนไหวเราก็จัดเก็บ
ดึงสติกลับมาที่ตัวเอง แล้วเราก็เจอคนหนึ่งคน แต่ระหว่างเคลื่อนไหว อย่าลืมว่ามีคนหนึ่งคน ที่เราเอาเรื่องราวของเขาเข้ามา เพราะอย่าลืมว่าตัวเราคืออุปกรณ์นะ อุปกรณ์ของดาวก็ไปซึมซับเอาบางอย่างของเขามาพิจารณา พอเขาออกไป ดาวจะใช้พื้นที่ตรงนี้เคลื่อนไหว แล้วจะพบว่าบางสิ่ง ก่อนทำ Session มันไม่มา แต่ตอนนี้มันมาแล้ว แล้วเราก็ได้ใคร่ครวญว่า อ๋อ เป็นแบบนี้ หรือบางครั้งเราก็เอามูฟเมนท์ที่เขาทำเมื่อสักครู่มาทำซ้ำเพื่อทำความเข้าใจมันอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น เหมือนเราเข้าไปฟังมันอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น พอเราเข้าใจเราก็จัดเก็บตัวเรา ให้พาตัวเองกลับมาอยู่ที่จุดที่เป็นเรา”
>>> Dance Movement ที่สามารถทำได้เอง
เมื่อถามทิ้งท้ายว่า อยากให้คุณดุจดาวฝากถึงผู้ที่สนใจกระบวนการแดนซ์มูฟเมนท์ แต่เขาไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง และมีข้อควรระวังอะไรถ้าจะทำตามลำพัง ต้องใส่ใจอะไรบ้าง และทำได้บ่อยแค่ไหน
ดุจดาวตอบว่า จริงๆ ดาวมักจะเชียร์ทุกคนให้หันกลับมามองเพื่อนสนิท หรือว่าฟังเพื่อนสนิท คือร่างกายของเรา ไม่ใช่วันๆ ใช้เค้าตะบี้ตะบัน ใช้เค้าขับรถ ใช้เค้ายกของ ใช้เค้าทำกับข้าว คือ เราใช้งานเค้าเยอะแล้ว อยากให้ฟังเค้าบ้าง
ดังนั้น ถ้ามีพื้นที่อยากให้เค้าได้ตะโกนในแบบที่เค้าอยากทำ ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ถ้ารู้สึกว่ามันเก้อซะเหลือเกิน ก็ใช้รูปแบบการออกกำลังกายแฝงไปด้วยก็ได้ บางทีการวิ่ง การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิคก็ถือเป็นการเคลื่อนไหว แต่ความต่างคือ เวลาฟังเสียงร่างกายตัวเอง พยายามอย่าตัดสิน และลืมความถูกต้องไปก่อน เอาแค่ไม่ให้ตัวเองบาดเจ็บ ทฤษฎีไม่ต้องเป๊ะๆๆๆ เพราะเราไม่ได้ฝึกฝนไปไหน เราแค่จะฟังมัน
“แต่ถ้าใครอยากลองในแบบที่เป็นการเต้น ขอให้หาพื้นที่ปลอดภัยอย่างที่บอกช่วงต้นค่ะ แล้วก็เรื่องเพลง ที่เหลือก็ปล่อย ปล่อยให้มาก ปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วไม่ต้องมีความหมายมากก็ได้ แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราเจอเราจะเริ่มฟังมันออกขึ้นเรื่อยๆ เรา Connect กับมัน เหมือนภาษาใหม่ เหมือนเราไปต่างประเทศ แรกๆ เราฟังภาษาเขาไม่ออก เหมือนภาษาใหม่ แต่เมื่อเราฟังบ่อยๆ เราจะเจอบางอย่าง คิดว่าน่าสนุกดีเพราะว่า ร่างกายเป็นของคุณ ถ้าคุณไม่เคยฟังเค้าเลย คุณอาจเป็นคนสุดท้ายที่รู้ว่าเค้าแบกอะไรอยู่ก็ได้
แล้วหลายคนที่เริ่มควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หรือเริ่มไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในตัวเอง ดาวว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างคอนเนคชั่น เชื่อมมาที่ร่างกาย
ข้อควรระวังก็คือ ถ้าเดิม มีอาการทางจิตเวช เห็นภาพหลอน หูแว่ว เห็นอะไรที่คนอื่นมักไม่เห็น เวลาเคลื่อนไหว ไม่เชียร์ให้หลับตา นอกนั้นก็ไม่มีอะไรค่ะ ร่างกายเป็นของคุณ” ดุจดาวระบุ
เมื่อถามว่า อาการบาดเจ็บจากบาดแผลทางใจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ในการเคลื่อนไหวเช่นนี้
ดุจดาวตอบว่า ดาวไม่รู้ว่าบางคนเจออะไรมาบ้างในชีวิต เอาเป็นว่า เวลาเราเคลื่อนไหว เราจะปล่อยให้ความคิดเป็นไปอย่างอิสระ ถ้าบางช่วงไปเจออะไรบางอย่างที่เราไปต่อไม่ไหว ก็ไม่ต้องฝืนไปต่อ เพราะบางกระบวนการที่เราจะไปแตะบาดแผลอะไรสักอย่างมันอาจเรียกร้องให้เราต้องไปเจอใครสักคนที่เขาแม่นทางกว่า ที่เขาพร้อมจะจับเราได้ ตอนที่เรากำลังจะร่วงก็ได้ บางคนอาจเคยมีประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดทางร่างกายโดยตรง หรือร่างกายเป็นจุดที่ถูกกระทำบางอย่าง บางทีการใช้ร่างกายแล้วไปเจอจุดบางอย่างที่ทำให้ร่วงลงมา
“เพราะฉะนั้น ค่อยๆ ค่ะ ค่อยๆ เมื่อเจอแล้วก็แตะเบรคแล้วระงับมัน และห้ามหลับตานี่เป็นข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการทางจิตเวชเห็นภาพหลอน ห้ามหลับตา แต่ว่าร่างกายเราก็เป็นของเรา ทำเถอะค่ะ ถ้าไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่มีกฎเกณฑ์อะไร ใช้เวลาเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่เลย” ดุจดาวบอกกล่าวอย่างเรียบง่ายสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวอย่างผ่อนคลายที่เธอได้แสดงให้ชม และสมกับที่เธอเป็น Dance Movement Psychotherapist คนแรกของเมืองไทย
………
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo ธัชกร กิจไชยภณ