แชมป์-ก่อสกุล บุญกิตติพร หนุ่มเชียงรายวัย 37 ปี เป็นเจ้าของ ผู้ก่อตั้งและเป็น MD ( Managing Director ) หรือกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมงโก้ ครีเอทีฟ จำกัด ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2013
สำหรับผู้เล่นแอพลิเคชั่น Tiktok รวมทั้งผู้ติดตามแฟนเพจเฟซบุ๊คของเขาในนาม Champ Mango รู้จักแชมป์ในฐานะคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่มีไอเดียแปลกใหม่มานำเสนอ แนะแนวทางแก่ผู้ประกอบการรายย่อย อย่าง SME หรือ Start up หรือคนตัวเล็ก ๆ ที่ธุรกิจค้าขายประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงวิกฤติโควิด-19 ไม่ว่าน้ำเต้าหู้ กล้วยปิ้ง ข้าวขาหมู คนขายปู ผลิตภัณฑ์ยาแต้มสิว วุ้นมะพร้าวนมสด และอีกมากมาย ขณะที่แฟนเพจเฟซบุ๊ค Mango Plus นอกจากงานดีไซน์เสื้อผ้าแฟชั่นแล้ว แชมป์ยังสนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้แสดงออกและทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ในนามของแมงโก้
นอกจากนั้น แชมป์ ยังร่วมกับ สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) และ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) รณรงค์ ลดละเลิกแอลกอฮอล์ ผ่านรูปแบบการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ
ด้วยบทบาทที่หลากหลายและได้รับความสนใจอย่างมาก แชมป์จึงเปรียบเสมือน Influencer ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คนที่คอยติดตามไอเดียจากแชมป์
ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษแชมป์ ก่อสกุล ถึงเนื้องานและตัวตนที่แสดงออกได้อย่างชัดแจ้งว่าจะด้วยบทบาทใดก็ตาม สิ่งที่หนุ่มเชียงรายผู้นี้คำนึงถึงอยู่เสมอ ก็คือ ‘สังคม’
กล่าวให้ชัดกว่านั้น คือการช่วยเหลือผู้คนในสังคม ผ่านการคิดไอเดีย คิดคอนเทนต์ให้ผู้ประกอบการรายเล็ก โดยไม่คิดค่าบริการ รวมทั้งรวบรวม ผลักดันเครือข่ายเยาวชนให้มีที่ทางในการแสดงออกอย่างเต็มที่ เหล่านี้คือเรื่องราวของแชมป์ ชายหนุ่มผู้เชิญชวนให้ลอง ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ ในTiktok ของเขา ณ ที่ซึ่งมีแรงบันดาลใจมากมายจะมอบให้
>>> กราฟิกดีไซน์ เพื่อสังคม
ปัจจุบัน แชมป์เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ เปิดบริษัทครีเอทีฟ บริษัทออกแบบสื่อโฆษณา ทำครอบคลุมหลายอย่าง ทั้งคิดแบนเนอร์ คิดคอนเทนต์ ลอนช์แคมเปญ ซึ่งสิ่งที่ทำก็จะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำคอนซัลท์มาร์เก็ตติ้ง หรือการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย
“แชมป์มีความตั้งใจอยากช่วยรายเล็ก ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย ก็ช่วยเข้าไปพัฒนา แชมป์ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ คือถ้ารับงานจากบริษัทใหญ่ก็ดี ตัวผลกำไรก็ค่อนข้างดี แต่ไม่รู้สิครับ แชมป์ชอบเรียนรู้อะไรแบบนี้ สินค้าประเภทเดียวกัน บริบทต่างกัน มันก็ต่างกันไป ความสนุกของอาชีพนี้คือมันได้ไปแก้ตรงนี้ นี่คืออาชีพหนึ่งของแชมป์”
เมื่อถามว่า การที่แชมป์ใช้ความครีเอท ช่วย SME สตาร์ตอัพ หรือผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีแนวทางการช่วยเหลือยังไงบ้าง
แชมป์กล่าวว่า “ไม่ว่าแชมป์จะทำอะไร แชมป์จะโยงกับเรื่องสังคม ตอนแชมป์จบใหม่ ๆ ก็ยอมรับว่า อยากทำงานเก็บเงิน มีบ้าน แต่พอเราโตขึ้นแล้ว มันเริ่มไม่ใช่ เพราะเราพอจะได้สัมผัสความสำเร็จตรงนั้นมาบ้างแล้ว พอโตขึ้น แชมป์จะให้ความสำคัญกับการหาความหมายของชีวิต แชมป์ก็เลยหมกมุ่นกับการหาความหมายเรื่องพวกนี้เหมือนกัน เริ่มไม่ใช่ความสำเร็จที่เป็นบ้าน เป็นรูปธรรม ก็เลยมาหาความหมายว่าอาชีพอะไรก็ดีที่เราสนุก ชอบ และอยู่กับมันได้ ก็เป็นสิ่งที่ดี
“แต่ถึงที่สุดแล้ว ถ้าเรานำเอาอาชีพที่เราเป็น ไปบวกกับคำว่าสังคมมันจะมันส์มากเลยครับ ชีวิตนี้จะสนุกมากเลย เช่น ถ้ามีทนายคนหนึ่ง เปิดสายด่วนให้เข้ามาปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี ผมว่า เขาไม่ใช่แค่ Good ทนาย แต่เขาคือ Great ทนาย สมมติเป็นพระ ถ้ามาทำงานพัฒนาร่วมกับสังคม พัฒนา ก็จะไม่ใช่แค่ Good monk แต่คือ Great Monk” แชมป์กล่าวเปรียบเทียบ
>>> อาชีพที่จัดจ้านด้วยไอเดีย
“เหมือนวันนี้ แชมป์ไม่ได้อยากเป็น Good player แชมป์อยากเป็น Great Player คือพอแตะเรื่องสังคมแล้ว อาชีพเรามันไม่ใช่แค่กลมกล่อม แต่มันจัดจ้าน และสาแก่ใจที่ได้เกิดมา ต้องใช้คำนี้เลย” แชมป์กล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ
เมื่อถามว่า ความสนุกหรือความท้าทายที่ออกแบบหรือช่วยครีเอทไอเดียให้กับธุรกิจ SME หรือสตาร์ทอัพ ในการออกแบบให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ ความท้าทายอยู่ตรงไหน
แชมป์ตอบว่า “มันเป็นเรื่องของการช่วย มีทั้งคนที่ทำธุรกิจ สินค้า บริการ อาหาร เทคโนโลยี ส่วนมากนะจะเป็นคนที่ชอบทำอาหาร หรือเป็นคนสนใจเรื่องโทรศัพท์ เทคโนโลยี แล้วมาเปิดร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือเป็นคนชอบแต่งตัว อยากจะทำร้านเสื้อผ้า ซึ่งส่วนมากเลย ไม่ใช่นักธุรกิจ เขาแค่อยากทำสิ่งที่เขาชอบออกมา ซึ่งนักธุรกิจจะเป็นอีกแบบ เขาจะคิดว่าคนชอบอะไร แล้วต้องการส่วนแบ่งทรัพยากร ผลกำไรเท่าไหร่ แต่คนที่เป็น SME เป็นคนที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องพวกนี้ เป็นคนตัวเล็ก ๆ เป็นวัฏจักรของกิจการที่เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย พูดง่าย ๆ ว่าทำแล้วเจ๊ง ทำแล้วเจ๊ง วนลูป ในช่วงเวลาสั้นๆ และไวมาก แชมป์ก็เลยคิดว่า ถ้าไปช่วยผลักดันน่าจะช่วยได้เยอะ”
>>> ไอเดีย ‘ทางเลือก’ ดูแล้ว ‘ปิ๊ง’ เหมือนป๊อบคอร์นระเบิด
เมื่อถามว่า น้ำหล่อเลี้ยงที่แชมป์ช่วยธุรกิจ SME คือช่วยอะไรบ้าง เป็นงานดีไซน์ใช่หรือไม่
แชมป์ตอบว่า โดยปกติ การช่วยเหลือหรือซัพพอร์ตคนอื่น ๆ เราอาจใช้เม็ดเงิน แชมป์เคยทำแบบนั้น แล้วมีวันหมด แต่เมื่อแชมป์จับทางได้ แชมป์เข้าไปช่วยเขาเรื่องไอเดีย แชมป์รู้สึกว่ามันเวิร์ก เป็นเหมือน Knowhow ให้ความรู้ เป็นไอเดียแบบทางเลือก เช่น ร้านข้าวขาหมู ร้านแกะปู ร้านน้ำเต้าหู้
“อย่างร้านแกะปู เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เราไปส่องโปรไฟล์เขาแล้วก็คิดว่าคนนี้เราต้องช่วยแล้วล่ะ เพราะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว แบบนี้ครับ ลองช่วยสักนิด เดี๋ยวออกแบบโลโก้ให้เลย เราก็เอางานกราฟฟิกดีไซน์ไปช่วย"
เมื่อถามว่า งานดีไซน์ที่ออกแบบให้ร้านแกะปูคิดเงินค่าตอบแทนไหม
แชมป์ตอบว่า “ไม่คิดครับ เพราะเพื่อให้คนอื่นที่ได้ดู เขาก็ได้ความรู้ไปด้วย แม้แต่คนในอาชีพกราฟิกดีไซน์ดูก็จะคิดไปด้วยว่าทำไมต้องใช้ภาพปูนี้ นี่เป็นปูอลาสก้านะ ไม่ใช่ปูไทยนะ ซึ่งเป็นเหมือนการแชร์ความรู้ แชมป์ก็จะคุยกับพี่ที่ขายปูว่าคนข้างนอกเวลาเขาเห็นโลโก้แล้วเขาคิดแบบนี้นะ แนะนำว่าพี่ลองทำแบบนี้ไหม สาธิตว่ามีวิธีแกะปูแบบไหนบ้าง เรื่องข้าวขาหมูก็คิดให้ฟรี”
แชมป์บอกว่า บางทีไปเจอร้านคุณยายขายขนมก็อุดหนุนขนมคุณยาย แล้วก็นำเอาขนมคุณยายมาใส่ไอเดียแล้วห่อเข้าไปใหม่ ใส่นั่นใส่นี่เข้าไป
“แล้วแชมป์ไม่ได้สื่อสารแค่แบรนด์ของคุณยาย แต่สื่อสารว่ามีไอเดียประมาณนี้นะ ซึ่งข้อจำกัดของคุณยายคือแบบนี้นะ เราจะแก้ไขยังไง ถ้าคนที่มีข้อจำกัดแบบคุณยายเขาเก็ตไอเดีย ได้ดูแล้ว เขาอาจรู้สึกปิ๊งๆๆ เหมือนป๊อบคอร์นที่มันระเบิด” แชมป์เปรียบเทียบ
>>> โพสต์ลง Tiktok ไม่น้อยกว่า 100 ไอเดีย
ถามว่าพอจะนับได้ไหมว่า มีกี่เคสที่ทำให้ฟรีแบบนี้
แชมป์ยอมรับว่านับไม่ได้ เพราะทำอยู่เรื่อย ๆ คิดไอเดียช่วย SME หรือวัยรุ่นสร้างตัว เพราะถ้าแชมป์เห็นวัยรุ่นมาขายของ แชมป์ก็จะอยากช่วย
“จริง ๆ แล้ว แชมป์ทำมาเยอะมาก แต่ที่ทำแล้วโพสต์ลงติ๊กต่อก ก็เมื่อปลายปีที่แล้วนี่เอง ช่วงโควิดก็ไม่ค่อยมีงาน ว่าง ก็ทำไอเดียพวกนี้ ก็สนุก มีความสุข น่าจะไม่ต่ำกว่าร้อยไอเดีย” แชมป์ระบุโดยย้ำว่าไอเดียเหล่านี้ แชมป์ไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย
“แต่ถ้าบริษัทใหญ่มาจ้างแชมป์นี่ แชมป์คิดตังค์นะครับ เพราะบริษัทใหญ่เขามีตังค์นี่ครับ รายได้ของแมงโก้ ทุกวันนี้ก็ยังมีคนจ้างแชมป์ออกแบบอยู่”
>>> ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ เพื่อกิจการเล็ก ๆ คนตัวเล็ก ๆ
ถามว่าการออกแบบให้คนตัวเล็ก ๆ กิจการเล็ก ๆ เป็นการทำเพื่อสังคมในแบบของแชมป์ ใช่หรือไม่ แชมป์ตอบว่าใช่ เรียกอย่างนั้นก็ได้ เพราะเป้าหมายแชมป์คือถ้าใครมีลักษณะมีข้อจำกัดคล้ายกับเคสที่แชมป์ทำ ก็สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้
เมื่อถามว่าคนที่แชมป์ออกแบบให้เขา คิดไอเดีย หรือแม้แต่คิดคอนเทนต์ ทำแนวทางให้เขา มีเสียงตอบรับอะไรกลับมาบ้าง
แชมป์ตอบว่า ในรูปแบบของผลประกอบการตอบได้ยาก เพราะยังมีเรื่องต้นทุน เรื่องความกล้าที่ว่าเขากล้าที่จะเปลี่ยนหรือไม่ ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ เขาจะมีแนวคิดคล้าย ๆ กันว่าเขาไม่กล้าเปลี่ยนแปลง แต่ผลพลอยได้ที่แชมป์ได้รับคือ
“ทุกวันนี้ ผมกินแตงโมฟรี กินส้มตำฟรี ไปไหนก็มีแต่คนให้มา อันนี้คงเรียกว่าผลพลอยได้”
ถามว่าอีกบทบาทคือคนมองแชมป์เป็น ‘คอนเทนต์ครีเอเตอร์’ และมีผู้ชมผู้ติดตามในแอปพลิเคชั่นติ๊กต่อกเยอะมาก แชมป์ทำอะไรในติ๊กต่อกบ้าง
แชมป์ตอบว่า “ติ๊กต่อกของแชมป์ แนวทางการทำคืออยากให้เป็นช่องที่เอาไว้ ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ มาหยิบเอาไปใช้เลย ถ้าเขาดูแล้ว เขาเก็ตเอง เข้าใจเอง ก็เหมือนมีน้ำมันไปหยอดให้ขับเคลื่อนได้ง่ายขึ้น ในติ๊กต่อกแชมป์จะช่วย SME คือแจกไอเดียฟรี” แชมป์บอกเล่าถึงแก่นของเนื้อหาในติ๊กต่อกที่มีคนติดตามจำนวนมาก
>>> ช่วยคุณยายขายกล้วยปิ้ง ‘ปักหมุด’ บนโลกออนไลน์
เมื่อถามว่า นับแต่เกิดโควิดระลอกแรก จนถึงวันนี้ ช่วยไปกี่ราย แชมป์ตอบว่า ช่วยในลักษณะการทำติ๊กต่อก โดยคอนเทนต์เน้นเรื่องการทำให้รอดตาย หรือพาธุรกิจไปให้รอดนั่นเอง
“ช่วยให้รอดตายก่อน ยกตัวอย่าง คุณยายขายกล้วยปิ้ง แล้วเป็นช่วงโควิด ไม่มีใครมาซื้อ โจทย์คือ เอากล้วยปิ้งของคุณยายไปขายบนออนไลน์ จะทำยังไงดี ยายบอกยายไม่มีชื่อร้าน โควิดไม่มีคนมากิน แล้วสภาพร้านคุณยายเหมือนยุค 1970 สภาพนั้นเลย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุง”
ถ้าแชมป์จะทำการปรับปรุงพันฒนาโปรดักส์ของคุณยาย คุณยายก็คงไม่สะดวกในการที่จะพัฒนาและปรับเปลี่ยนเพื่อการตลาด และที่สำคัญคุณยายก็ไม่มีอินเทอร์เน็ตที่จะเอากล้วยนี้ไปขายบนออนไลน์ ก็เหมือนกับว่าทางตัน จะทำยังไง
“แชมป์ก็เลยเอาอย่างนี้ ให้คนบนออนไลน์มาหาคุณยาย ก็ใช้แพลตฟอร์ม Google My Business คือ การปักหมุด ให้เสิร์ชหา คนออนไลน์ก็จะมาหา ในกูเกิลก็มีรีวิว ต่อให้คุณยายไม่มีอินเทอร์เน็ต ก็มีการตลาดออนไลน์ได้ คือ คุณยายก็ขายไป แชมป์ก็ไปปักหมุดให้เขา เคสนี้ก็มีคนดูประมาณ 2 ล้านวิว ก็ทัวร์ลงร้านคุณยายเลย คือแชมป์ก็ได้กินกล้วยฟรี มีอีกมากมายที่แชมป์ทำให้แบบนี้ ทำทุกวัน วันละ เคสสองเคส”แชมป์ยกตัวอย่างไอเดียในการช่วยเหลือร้านค้ารายย่อยเพื่อให้ฟันฝ่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วยให้ยังค้าขายต่อไปได้แม้บรรยากาศสังคมจะซบเซา
>>> ทำงานกับเครือข่ายเยาวชน
นอกจากเป็นกราฟิกดีไซเนอร์แล้ว บทบาทอีกด้านของแชมป์คือการทำงานกับกลุ่มเยาวชน ที่มาของการริเริ่มทำงานกับเยาวชนนั้นแชมป์เล่าย้อนกลับไปนับตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาคณะการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
แชมป์เล่าว่าเมื่อครั้งที่แชมป์เป็นวัยรุ่น อยู่มหาวิทยาลัย แชมป์ชอบทำกิจกรรมที่ในชมรมในมหาวิทยาลัยไม่มี แชมป์จึงก่อตั้งชมรมขึ้นมาถึง 4 ชมรม โดยที่ตัวเองเป็นประธาน มีชมรมสเก็ตช์ รวมทั้งการเต้น B-Boy
“มาพูดตอนนี้มันอาจจะดูปกติ แต่คำว่าสเก็ตช์สมัยก่อน มันจะใหม่ แล้วก็บีบอย แล้วก็มีชมรมส่องนก แล้วก็ฟรีรันนิ่ง พวกไต่กำแพง ตอนนั้น สเก็ตช์ การเต้น ผู้ใหญ่มองว่านำไปประกอบอาชีพไม่ได้ มันไม่ตอบโจทย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการผลิตผู้ประกอบการ ต่างจากปัจจุบันนี้ที่เปิดกว้าง”
“เราก็ได้ทำชมรม แต่ไม่มีใครสนับสนุนเลย ต้องไปเรียนรู้การอ๊อกเหล็กเอง การทำสนามเอง คือทำกันเองกับเพื่อน ซื้อไม้เป็นแผ่น ยืมรถมา ก็พอไปได้ ดังนั้น จบมหาวิทยาลัยมา แชมป์ก็ยังมีเครือข่าย ความเข้มข้นของวัยรุ่นมันตราตรึง ต้องบอกอย่างนี้ จบมาใหม่ ๆ แชมป์ก็ทำสมาคม คล้าย ๆ ชมรมหลาย ๆ อัน รวมชมรมทางเลือกที่ผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน แล้วไปจดทะเบียนสมาคม เพื่อไปของบประมาณ แชมป์ก็ทำอยู่พักหนึ่งจน สสส. มาเห็น เขาก็เลยให้แชมป์มาร่วมงานและดูแลภาคเยาวชน ด้วยความที่เครือข่ายเราเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีชุมชนออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตยุคแรก ๆ ยุค msn พูดคุยออนไลน์ ตอนนี้มี เฟซบุ๊ค ตอนนั้นไม่มี แต่แชมป์ก็เปรียบเป็นเจ้าเครือข่ายออนไลน์ เขาก็ให้ผมดูแล ซึ่งเราก็มีเครือข่ายเยาวชนอยู่”
แชมป์เล่าเพิ่มเติมว่าแมงโก้พลัส คือกลุ่มเยาวชน กลุ่มส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนที่เป็นกิจกรรมทางเลือก สีเทาๆ อย่างเช่นกลุ่มแต่งรถ พวกพ่นสีกำแพง หรือกราฟฟิตี้ หรืออาจเรียกได้ว่ากลุ่ม fifth element (องค์ประกอบของวัฒนธรรมฮิพฮอพ) ก่อตั้งขึ้นในปี 2006
“มีแร็ปเปอร์ ที่มีแค่คำว่ากูว่ามึง ก็ถูกแบนแล้ว ผมเคยจัดงานๆ หนึ่งที่มีแร็บเปอร์มาร้อง แล้วมีคำว่ากูว่ามึง ผมก็โดนผู้ใหญ่ในจังหวัดต่อว่า แชมป์ถูกหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในตอนนั้น ลงหน้าหนึ่งว่าเป็นกลุ่มชยะสังคม” แชมป์เล่าพร้อมเสียงหัวเราะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว
แชมป์เล่าว่าสมาคมเพื่อเด็กและเยาวชนเครือข่ายแมงโก้ ขึ้นทะเบียนอยู่ภายใต้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
ส่วนการร่วมงานกับ สสส.เริ่มต้นขึ้นในปี 2011 เป็นการชักชวนเข้าร่วมงานอีเวนท์ แต่เริ่มได้รับงบประมาณจาก สสส. อย่างจริงจังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้เอง
“แต่ก่อนหน้านั้น เราบอกเขาว่าเราเป็นการรวมตัวกันแบบ ‘ออร์แกนิก’ คือเป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ โดยธรรมชาติ” แชมป์ระบุถึงการรวมตัวกับเครือข่ายเยาวชน
>>> เหตุสลด เป็นจุดเปลี่ยนให้หันมาสนใจการรณรงค์งดเหล้า
จุดเริ่มต้น ที่ สสส.สนใจร่วมงานกับแชมป์ มีที่มาจากการที่แชมป์จัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า
แชมป์เล่าว่า “เมื่อก่อนแชมป์ทำอีเวนท์ ทำครีเอทีฟ ทำการตลาดให้เบียร์หลายยี่ห้อ แล้วแชมป์เป็นคนที่รู้จักเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่เยอะ เราก็นำเอาเครือข่ายของเรานี่แหละไปร่วมงาน แล้วมันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าเพื่อนโดนข่มขืน หรือเพื่อนออกจากงานเราไปแล้วประสบอุบัติเหตุคอหักตายคาสะพาน พอทำงานแบบนี้ไปแล้ว เหตุการณ์ไม่ดีเริ่มมีเยอะขึ้นๆ แล้วก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แชมป์คิดว่าแชมป์มีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ มีครั้งหนึ่ง แชมป์เคยคิดว่า ไอ้ความชอบของแชมป์ สิ่งที่แชมป์ทำมันส่งผลรุนแรงได้ขนาดนี้ มีเพื่อนที่พลาดแล้วก็ตั้งครรภ์ แล้วก็ต้องเอาเด็กออกเลย มันมีหลายเหตุการณ์ แต่เหตุการณ์ที่โทษตัวเองน่าจะเหตุการณ์ที่เพื่อนคอหักตาย วันนั้นแชมป์โทษตัวเอง ก็เลยคิดว่าเราน่าจะใช้ศักยภาพของตัวเอง มาทำอีกทางหนึ่ง ก็เลยเริ่มทำเรื่องเลิกแอลกอฮอล์ เริ่มทำช่วงปี 2008-2009
>>> สงกรานต์ปลอดเหล้า จุดเริ่มต้นร่วมงานกับ สสส.
ถามว่า สสส. เห็นศักยภาพเมื่อไหร่ แชมป์เล่าว่า เพราะเขาเห็นแชมป์จัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า ในปี 2010 เนื่องจากเดิมที สงกรานต์ที่เชียงราย เล่นน้ำกันแล้วดื่มกันหนักมาก มีรถมีคน แลกเหล้ากัน เรียกได้ว่าเป็นถนนที่คนปกติหากขับรถผ่านมาถนนเส้นนี้ จะผลิตคนที่สติดี ให้เมาไม่มีสติแล้วปล่อยออกสู่ถนน ไม่ต่างจากสายพานอาหาร
“แชมป์ก็เลยจัดเวทีใหญ่ เป็น มิวสิคเฟส จุดเด่นคือถ้าผ่านมาตรงนี้ไม่มีแอลกอฮอล์นะ มีสระน้ำใหญ่ที่ร่วมกับพวกผู้รับเหมา เขามาเจาะน้ำให้ ทำอลังการมาก มันส์มาก แล้ว สสส. เขามาเห็น คือ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล) ซึ่งเป็นอีกเซคชั่นหนึ่งของ สสส. เขามาเห็น แล้วเขาก็ให้เข้าไปช่วยดูเยาวชนจังหวัดอื่นด้วย เราก็เลยได้ทำเป็นโมเดลที่จัดเหมือนกันทุกจังหวัด คือ โมเดลสงกรานต์ปลอดเหล้า แล้วก็มีเคาต์ดาวน์ปลอดเหล้า ลอยกระทงปลอดเหล้า เพราะ สสส. เขาดูทั่วประเทศ อยู่แล้ว จึงเป็นโมเดลที่เอาไปใช้ทั่วประเทศ”
>>> นวัตกรรมเพื่อเยาวชน
แชมป์เล่าว่า ล่าสุดเขาทำแอพพลิเคชั่น ชื่อ spyn หรือ ‘สภาเยาวชนนอกระบบ’
“คือชมรมที่มีแคมป์ภาคเหนือ ตรงนี้คือสภานอกระบบ ที่ไม่ได้ขึ้นกับ พม.แล้ว เป็นเด็กเลือกกันเอง มีการทำงานกึ่งประชาธิปไตย เลือกกันเข้ามา โหวตกันเข้ามา แล้วเขาก็มีภารกิจคือหาปัญหาและจัดการแก้ไขปัญหากันเอง เช่น ปัญหาเรื่องขยะ เขาก็มาคุยกัน แล้วแก้ไขกัน ไม่ใช่เสนอปัญหาขึ้นไปข้างบนตามระบบ กว่าจะได้รับการแก้ไข กว่าจะมียุทธศาสตร์ มีนโยบาย ใช้เวลาเป็นปี แต่เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงปัญหาได้ทันท่วงที เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมที่ จ.น่าน เด็กกลุ่มนี้ก็เข้าถึงพื้นที่เร็วพอๆ กับเด็กที่ทำเรื่องกู้ภัย น้ำลดแล้ว หน่วยงานราชการเพิ่งมา งานแบบนี้เด็กเขาสนใจ เพราะเขาได้เข้าถึงพื้นที่ เป็นโมเดลที่ภูมิใจเหมือนกัน”
>>> เชื่อมั่นในเยาวชน
เมื่อถามว่า เด็ก ๆ ในนามแมงโก้ รวมตัวทำอะไรกันบ้าง
แชมป์ตอบว่า เรียกว่ารวมตัวแบบธรรมชาติ แบบออร์แกนิค แบบหลวมๆ โดยแชมป์เข้าไปผลักดัน ซึ่งตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้จากเด็ก ๆ ได้แลกเปลี่ยนกัน
แชมป์เล่าว่า ในตอนนี้มีกลุ่มเยาวชนที่น่าเป็นห่วง มีเด็กนอกระบบ เด็กที่อาจถูกเรียกว่าสีเทา เด็กที่อาจถูกมองว่าเป็นเด็กร้ายๆ แว้น ๆ แล้วผู้ใหญ่ปวดหัว ควบคุมยาก แต่แชมป์กลับมองว่า เด็กที่ทำให้รถที่บิดได้แค่ 70-80 หรือ 100 นิด ๆ แต่ด้วยความรู้ที่เขามี เพียงแค่ความรู้เด็กมัธยมปลาย แต่เขาสามารถพัฒนาขีดศักยภาพของเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น เร็วขึ้น แรงกระชากสูงขึ้น สมมติวันนี้ ประเทศเราต้องการวิศวกรรมป้อนอุตสาหกรรมไฮเปอร์ลูป แชมป์มองเห็นว่าคนที่เรียนได้เกรดเฉลี่ยสาม หรือจะเป็นเด็กคนนี้ คนไหนที่เหมาะสมกว่ากัน
“แล้วเรื่องเครื่องยนต์กลไก เด็กคนนี้เขามีความชอบพื้นฐาน เป็นความความหมกมุ่น เป็นความสนใจของเขา และทักษะของเขาเป็นที่ต้องการของประเทศเลย เพียงแต่สภาพแวดล้อมของเขาอาจจะไม่เหมาะ กลับกลายเป็นตกหล่น ถูกขีดเส้น ถูกตราบนหน้าผากว่า ‘เด็กแว้น’ เรารวมเด็กเหล่านี้มาทำกิจกรรมที่แมงโก้ เหมือนกับเราไม่ได้ตัดสินว่า ทำแบบนี้ดีหรือไม่ดี เราดูว่าเขาชอบ อะไร และมันต่อยอดอะไรได้บ้าง แล้วสนับสนุน ทำกิจกรรมกับเด็กกลุ่มนี้ ให้มีพื้นที่ในการแสดงออก
"เช่น เราเคยมี ‘คอนเสิร์ตหูเหล็ก’ ซึ่งเด็กจะร้องเพลงเมทัล เราก็มีกิจกรรมเพื่อเด็กกลุ่มนี้เลย โดยการไปเช่าผับ และให้เด็กเข้า คือขอให้เพื่อนที่เป็นเจ้าของผับนี่แหละ ปิดผับจัดงานเลย แต่ผมให้เด็กเข้าช่วงเช้านะ คือ ปิดผับตั้งแต่ 10 โมงเช้า 5 โมงเย็นงานเลิก ทำรูปแบบเหมือนผับตอนกลางคืนเลย แต่เราไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราก็บอกเด็กว่านี่คือผับนะ แต่ไม่มีแอลกอฮอล์นะ แต่เราก็มาเจอกันได้ คนที่ฟังเพลงแนวเดียวกัน”
คือคำบอกเล่าของแชมป์ถึงกิจกรรมที่ครั้งหนึ่ง จัดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนที่อาจถูกมองข้ามจากผู้ใหญ่และคนในสังคม
นับเป็นตัวตนอีกด้านของกราฟิกดีไซเนอร์มากความสามารถคนนี้ ที่ไม่เพียงสรรหาไอเดียแปลกใหม่เป็นประโยชน์มามอบให้ผู้คน แต่ยังช่วยส่งเสริมเยาวชนให้แสดงออกในพื้นที่ที่เหมาะสมอีกด้วย
สำหรับผู้เล่นแอพลิเคชั่น Tiktok รวมทั้งผู้ติดตามแฟนเพจเฟซบุ๊คของเขาในนาม Champ Mango รู้จักแชมป์ในฐานะคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่มีไอเดียแปลกใหม่มานำเสนอ แนะแนวทางแก่ผู้ประกอบการรายย่อย อย่าง SME หรือ Start up หรือคนตัวเล็ก ๆ ที่ธุรกิจค้าขายประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงวิกฤติโควิด-19 ไม่ว่าน้ำเต้าหู้ กล้วยปิ้ง ข้าวขาหมู คนขายปู ผลิตภัณฑ์ยาแต้มสิว วุ้นมะพร้าวนมสด และอีกมากมาย ขณะที่แฟนเพจเฟซบุ๊ค Mango Plus นอกจากงานดีไซน์เสื้อผ้าแฟชั่นแล้ว แชมป์ยังสนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้แสดงออกและทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ในนามของแมงโก้
นอกจากนั้น แชมป์ ยังร่วมกับ สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) และ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) รณรงค์ ลดละเลิกแอลกอฮอล์ ผ่านรูปแบบการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ
ด้วยบทบาทที่หลากหลายและได้รับความสนใจอย่างมาก แชมป์จึงเปรียบเสมือน Influencer ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คนที่คอยติดตามไอเดียจากแชมป์
ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษแชมป์ ก่อสกุล ถึงเนื้องานและตัวตนที่แสดงออกได้อย่างชัดแจ้งว่าจะด้วยบทบาทใดก็ตาม สิ่งที่หนุ่มเชียงรายผู้นี้คำนึงถึงอยู่เสมอ ก็คือ ‘สังคม’
กล่าวให้ชัดกว่านั้น คือการช่วยเหลือผู้คนในสังคม ผ่านการคิดไอเดีย คิดคอนเทนต์ให้ผู้ประกอบการรายเล็ก โดยไม่คิดค่าบริการ รวมทั้งรวบรวม ผลักดันเครือข่ายเยาวชนให้มีที่ทางในการแสดงออกอย่างเต็มที่ เหล่านี้คือเรื่องราวของแชมป์ ชายหนุ่มผู้เชิญชวนให้ลอง ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ ในTiktok ของเขา ณ ที่ซึ่งมีแรงบันดาลใจมากมายจะมอบให้
>>> กราฟิกดีไซน์ เพื่อสังคม
ปัจจุบัน แชมป์เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ เปิดบริษัทครีเอทีฟ บริษัทออกแบบสื่อโฆษณา ทำครอบคลุมหลายอย่าง ทั้งคิดแบนเนอร์ คิดคอนเทนต์ ลอนช์แคมเปญ ซึ่งสิ่งที่ทำก็จะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำคอนซัลท์มาร์เก็ตติ้ง หรือการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย
“แชมป์มีความตั้งใจอยากช่วยรายเล็ก ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย ก็ช่วยเข้าไปพัฒนา แชมป์ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ คือถ้ารับงานจากบริษัทใหญ่ก็ดี ตัวผลกำไรก็ค่อนข้างดี แต่ไม่รู้สิครับ แชมป์ชอบเรียนรู้อะไรแบบนี้ สินค้าประเภทเดียวกัน บริบทต่างกัน มันก็ต่างกันไป ความสนุกของอาชีพนี้คือมันได้ไปแก้ตรงนี้ นี่คืออาชีพหนึ่งของแชมป์”
เมื่อถามว่า การที่แชมป์ใช้ความครีเอท ช่วย SME สตาร์ตอัพ หรือผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีแนวทางการช่วยเหลือยังไงบ้าง
แชมป์กล่าวว่า “ไม่ว่าแชมป์จะทำอะไร แชมป์จะโยงกับเรื่องสังคม ตอนแชมป์จบใหม่ ๆ ก็ยอมรับว่า อยากทำงานเก็บเงิน มีบ้าน แต่พอเราโตขึ้นแล้ว มันเริ่มไม่ใช่ เพราะเราพอจะได้สัมผัสความสำเร็จตรงนั้นมาบ้างแล้ว พอโตขึ้น แชมป์จะให้ความสำคัญกับการหาความหมายของชีวิต แชมป์ก็เลยหมกมุ่นกับการหาความหมายเรื่องพวกนี้เหมือนกัน เริ่มไม่ใช่ความสำเร็จที่เป็นบ้าน เป็นรูปธรรม ก็เลยมาหาความหมายว่าอาชีพอะไรก็ดีที่เราสนุก ชอบ และอยู่กับมันได้ ก็เป็นสิ่งที่ดี
“แต่ถึงที่สุดแล้ว ถ้าเรานำเอาอาชีพที่เราเป็น ไปบวกกับคำว่าสังคมมันจะมันส์มากเลยครับ ชีวิตนี้จะสนุกมากเลย เช่น ถ้ามีทนายคนหนึ่ง เปิดสายด่วนให้เข้ามาปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี ผมว่า เขาไม่ใช่แค่ Good ทนาย แต่เขาคือ Great ทนาย สมมติเป็นพระ ถ้ามาทำงานพัฒนาร่วมกับสังคม พัฒนา ก็จะไม่ใช่แค่ Good monk แต่คือ Great Monk” แชมป์กล่าวเปรียบเทียบ
>>> อาชีพที่จัดจ้านด้วยไอเดีย
“เหมือนวันนี้ แชมป์ไม่ได้อยากเป็น Good player แชมป์อยากเป็น Great Player คือพอแตะเรื่องสังคมแล้ว อาชีพเรามันไม่ใช่แค่กลมกล่อม แต่มันจัดจ้าน และสาแก่ใจที่ได้เกิดมา ต้องใช้คำนี้เลย” แชมป์กล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ
เมื่อถามว่า ความสนุกหรือความท้าทายที่ออกแบบหรือช่วยครีเอทไอเดียให้กับธุรกิจ SME หรือสตาร์ทอัพ ในการออกแบบให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ ความท้าทายอยู่ตรงไหน
แชมป์ตอบว่า “มันเป็นเรื่องของการช่วย มีทั้งคนที่ทำธุรกิจ สินค้า บริการ อาหาร เทคโนโลยี ส่วนมากนะจะเป็นคนที่ชอบทำอาหาร หรือเป็นคนสนใจเรื่องโทรศัพท์ เทคโนโลยี แล้วมาเปิดร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือเป็นคนชอบแต่งตัว อยากจะทำร้านเสื้อผ้า ซึ่งส่วนมากเลย ไม่ใช่นักธุรกิจ เขาแค่อยากทำสิ่งที่เขาชอบออกมา ซึ่งนักธุรกิจจะเป็นอีกแบบ เขาจะคิดว่าคนชอบอะไร แล้วต้องการส่วนแบ่งทรัพยากร ผลกำไรเท่าไหร่ แต่คนที่เป็น SME เป็นคนที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องพวกนี้ เป็นคนตัวเล็ก ๆ เป็นวัฏจักรของกิจการที่เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย พูดง่าย ๆ ว่าทำแล้วเจ๊ง ทำแล้วเจ๊ง วนลูป ในช่วงเวลาสั้นๆ และไวมาก แชมป์ก็เลยคิดว่า ถ้าไปช่วยผลักดันน่าจะช่วยได้เยอะ”
>>> ไอเดีย ‘ทางเลือก’ ดูแล้ว ‘ปิ๊ง’ เหมือนป๊อบคอร์นระเบิด
เมื่อถามว่า น้ำหล่อเลี้ยงที่แชมป์ช่วยธุรกิจ SME คือช่วยอะไรบ้าง เป็นงานดีไซน์ใช่หรือไม่
แชมป์ตอบว่า โดยปกติ การช่วยเหลือหรือซัพพอร์ตคนอื่น ๆ เราอาจใช้เม็ดเงิน แชมป์เคยทำแบบนั้น แล้วมีวันหมด แต่เมื่อแชมป์จับทางได้ แชมป์เข้าไปช่วยเขาเรื่องไอเดีย แชมป์รู้สึกว่ามันเวิร์ก เป็นเหมือน Knowhow ให้ความรู้ เป็นไอเดียแบบทางเลือก เช่น ร้านข้าวขาหมู ร้านแกะปู ร้านน้ำเต้าหู้
“อย่างร้านแกะปู เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เราไปส่องโปรไฟล์เขาแล้วก็คิดว่าคนนี้เราต้องช่วยแล้วล่ะ เพราะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว แบบนี้ครับ ลองช่วยสักนิด เดี๋ยวออกแบบโลโก้ให้เลย เราก็เอางานกราฟฟิกดีไซน์ไปช่วย"
เมื่อถามว่า งานดีไซน์ที่ออกแบบให้ร้านแกะปูคิดเงินค่าตอบแทนไหม
แชมป์ตอบว่า “ไม่คิดครับ เพราะเพื่อให้คนอื่นที่ได้ดู เขาก็ได้ความรู้ไปด้วย แม้แต่คนในอาชีพกราฟิกดีไซน์ดูก็จะคิดไปด้วยว่าทำไมต้องใช้ภาพปูนี้ นี่เป็นปูอลาสก้านะ ไม่ใช่ปูไทยนะ ซึ่งเป็นเหมือนการแชร์ความรู้ แชมป์ก็จะคุยกับพี่ที่ขายปูว่าคนข้างนอกเวลาเขาเห็นโลโก้แล้วเขาคิดแบบนี้นะ แนะนำว่าพี่ลองทำแบบนี้ไหม สาธิตว่ามีวิธีแกะปูแบบไหนบ้าง เรื่องข้าวขาหมูก็คิดให้ฟรี”
แชมป์บอกว่า บางทีไปเจอร้านคุณยายขายขนมก็อุดหนุนขนมคุณยาย แล้วก็นำเอาขนมคุณยายมาใส่ไอเดียแล้วห่อเข้าไปใหม่ ใส่นั่นใส่นี่เข้าไป
“แล้วแชมป์ไม่ได้สื่อสารแค่แบรนด์ของคุณยาย แต่สื่อสารว่ามีไอเดียประมาณนี้นะ ซึ่งข้อจำกัดของคุณยายคือแบบนี้นะ เราจะแก้ไขยังไง ถ้าคนที่มีข้อจำกัดแบบคุณยายเขาเก็ตไอเดีย ได้ดูแล้ว เขาอาจรู้สึกปิ๊งๆๆ เหมือนป๊อบคอร์นที่มันระเบิด” แชมป์เปรียบเทียบ
>>> โพสต์ลง Tiktok ไม่น้อยกว่า 100 ไอเดีย
ถามว่าพอจะนับได้ไหมว่า มีกี่เคสที่ทำให้ฟรีแบบนี้
แชมป์ยอมรับว่านับไม่ได้ เพราะทำอยู่เรื่อย ๆ คิดไอเดียช่วย SME หรือวัยรุ่นสร้างตัว เพราะถ้าแชมป์เห็นวัยรุ่นมาขายของ แชมป์ก็จะอยากช่วย
“จริง ๆ แล้ว แชมป์ทำมาเยอะมาก แต่ที่ทำแล้วโพสต์ลงติ๊กต่อก ก็เมื่อปลายปีที่แล้วนี่เอง ช่วงโควิดก็ไม่ค่อยมีงาน ว่าง ก็ทำไอเดียพวกนี้ ก็สนุก มีความสุข น่าจะไม่ต่ำกว่าร้อยไอเดีย” แชมป์ระบุโดยย้ำว่าไอเดียเหล่านี้ แชมป์ไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย
“แต่ถ้าบริษัทใหญ่มาจ้างแชมป์นี่ แชมป์คิดตังค์นะครับ เพราะบริษัทใหญ่เขามีตังค์นี่ครับ รายได้ของแมงโก้ ทุกวันนี้ก็ยังมีคนจ้างแชมป์ออกแบบอยู่”
>>> ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ เพื่อกิจการเล็ก ๆ คนตัวเล็ก ๆ
ถามว่าการออกแบบให้คนตัวเล็ก ๆ กิจการเล็ก ๆ เป็นการทำเพื่อสังคมในแบบของแชมป์ ใช่หรือไม่ แชมป์ตอบว่าใช่ เรียกอย่างนั้นก็ได้ เพราะเป้าหมายแชมป์คือถ้าใครมีลักษณะมีข้อจำกัดคล้ายกับเคสที่แชมป์ทำ ก็สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้
เมื่อถามว่าคนที่แชมป์ออกแบบให้เขา คิดไอเดีย หรือแม้แต่คิดคอนเทนต์ ทำแนวทางให้เขา มีเสียงตอบรับอะไรกลับมาบ้าง
แชมป์ตอบว่า ในรูปแบบของผลประกอบการตอบได้ยาก เพราะยังมีเรื่องต้นทุน เรื่องความกล้าที่ว่าเขากล้าที่จะเปลี่ยนหรือไม่ ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ เขาจะมีแนวคิดคล้าย ๆ กันว่าเขาไม่กล้าเปลี่ยนแปลง แต่ผลพลอยได้ที่แชมป์ได้รับคือ
“ทุกวันนี้ ผมกินแตงโมฟรี กินส้มตำฟรี ไปไหนก็มีแต่คนให้มา อันนี้คงเรียกว่าผลพลอยได้”
ถามว่าอีกบทบาทคือคนมองแชมป์เป็น ‘คอนเทนต์ครีเอเตอร์’ และมีผู้ชมผู้ติดตามในแอปพลิเคชั่นติ๊กต่อกเยอะมาก แชมป์ทำอะไรในติ๊กต่อกบ้าง
แชมป์ตอบว่า “ติ๊กต่อกของแชมป์ แนวทางการทำคืออยากให้เป็นช่องที่เอาไว้ ‘ช้อปปิ้งไอเดีย’ มาหยิบเอาไปใช้เลย ถ้าเขาดูแล้ว เขาเก็ตเอง เข้าใจเอง ก็เหมือนมีน้ำมันไปหยอดให้ขับเคลื่อนได้ง่ายขึ้น ในติ๊กต่อกแชมป์จะช่วย SME คือแจกไอเดียฟรี” แชมป์บอกเล่าถึงแก่นของเนื้อหาในติ๊กต่อกที่มีคนติดตามจำนวนมาก
>>> ช่วยคุณยายขายกล้วยปิ้ง ‘ปักหมุด’ บนโลกออนไลน์
เมื่อถามว่า นับแต่เกิดโควิดระลอกแรก จนถึงวันนี้ ช่วยไปกี่ราย แชมป์ตอบว่า ช่วยในลักษณะการทำติ๊กต่อก โดยคอนเทนต์เน้นเรื่องการทำให้รอดตาย หรือพาธุรกิจไปให้รอดนั่นเอง
“ช่วยให้รอดตายก่อน ยกตัวอย่าง คุณยายขายกล้วยปิ้ง แล้วเป็นช่วงโควิด ไม่มีใครมาซื้อ โจทย์คือ เอากล้วยปิ้งของคุณยายไปขายบนออนไลน์ จะทำยังไงดี ยายบอกยายไม่มีชื่อร้าน โควิดไม่มีคนมากิน แล้วสภาพร้านคุณยายเหมือนยุค 1970 สภาพนั้นเลย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุง”
ถ้าแชมป์จะทำการปรับปรุงพันฒนาโปรดักส์ของคุณยาย คุณยายก็คงไม่สะดวกในการที่จะพัฒนาและปรับเปลี่ยนเพื่อการตลาด และที่สำคัญคุณยายก็ไม่มีอินเทอร์เน็ตที่จะเอากล้วยนี้ไปขายบนออนไลน์ ก็เหมือนกับว่าทางตัน จะทำยังไง
“แชมป์ก็เลยเอาอย่างนี้ ให้คนบนออนไลน์มาหาคุณยาย ก็ใช้แพลตฟอร์ม Google My Business คือ การปักหมุด ให้เสิร์ชหา คนออนไลน์ก็จะมาหา ในกูเกิลก็มีรีวิว ต่อให้คุณยายไม่มีอินเทอร์เน็ต ก็มีการตลาดออนไลน์ได้ คือ คุณยายก็ขายไป แชมป์ก็ไปปักหมุดให้เขา เคสนี้ก็มีคนดูประมาณ 2 ล้านวิว ก็ทัวร์ลงร้านคุณยายเลย คือแชมป์ก็ได้กินกล้วยฟรี มีอีกมากมายที่แชมป์ทำให้แบบนี้ ทำทุกวัน วันละ เคสสองเคส”แชมป์ยกตัวอย่างไอเดียในการช่วยเหลือร้านค้ารายย่อยเพื่อให้ฟันฝ่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วยให้ยังค้าขายต่อไปได้แม้บรรยากาศสังคมจะซบเซา
>>> ทำงานกับเครือข่ายเยาวชน
นอกจากเป็นกราฟิกดีไซเนอร์แล้ว บทบาทอีกด้านของแชมป์คือการทำงานกับกลุ่มเยาวชน ที่มาของการริเริ่มทำงานกับเยาวชนนั้นแชมป์เล่าย้อนกลับไปนับตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาคณะการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
แชมป์เล่าว่าเมื่อครั้งที่แชมป์เป็นวัยรุ่น อยู่มหาวิทยาลัย แชมป์ชอบทำกิจกรรมที่ในชมรมในมหาวิทยาลัยไม่มี แชมป์จึงก่อตั้งชมรมขึ้นมาถึง 4 ชมรม โดยที่ตัวเองเป็นประธาน มีชมรมสเก็ตช์ รวมทั้งการเต้น B-Boy
“มาพูดตอนนี้มันอาจจะดูปกติ แต่คำว่าสเก็ตช์สมัยก่อน มันจะใหม่ แล้วก็บีบอย แล้วก็มีชมรมส่องนก แล้วก็ฟรีรันนิ่ง พวกไต่กำแพง ตอนนั้น สเก็ตช์ การเต้น ผู้ใหญ่มองว่านำไปประกอบอาชีพไม่ได้ มันไม่ตอบโจทย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการผลิตผู้ประกอบการ ต่างจากปัจจุบันนี้ที่เปิดกว้าง”
“เราก็ได้ทำชมรม แต่ไม่มีใครสนับสนุนเลย ต้องไปเรียนรู้การอ๊อกเหล็กเอง การทำสนามเอง คือทำกันเองกับเพื่อน ซื้อไม้เป็นแผ่น ยืมรถมา ก็พอไปได้ ดังนั้น จบมหาวิทยาลัยมา แชมป์ก็ยังมีเครือข่าย ความเข้มข้นของวัยรุ่นมันตราตรึง ต้องบอกอย่างนี้ จบมาใหม่ ๆ แชมป์ก็ทำสมาคม คล้าย ๆ ชมรมหลาย ๆ อัน รวมชมรมทางเลือกที่ผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน แล้วไปจดทะเบียนสมาคม เพื่อไปของบประมาณ แชมป์ก็ทำอยู่พักหนึ่งจน สสส. มาเห็น เขาก็เลยให้แชมป์มาร่วมงานและดูแลภาคเยาวชน ด้วยความที่เครือข่ายเราเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีชุมชนออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตยุคแรก ๆ ยุค msn พูดคุยออนไลน์ ตอนนี้มี เฟซบุ๊ค ตอนนั้นไม่มี แต่แชมป์ก็เปรียบเป็นเจ้าเครือข่ายออนไลน์ เขาก็ให้ผมดูแล ซึ่งเราก็มีเครือข่ายเยาวชนอยู่”
แชมป์เล่าเพิ่มเติมว่าแมงโก้พลัส คือกลุ่มเยาวชน กลุ่มส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนที่เป็นกิจกรรมทางเลือก สีเทาๆ อย่างเช่นกลุ่มแต่งรถ พวกพ่นสีกำแพง หรือกราฟฟิตี้ หรืออาจเรียกได้ว่ากลุ่ม fifth element (องค์ประกอบของวัฒนธรรมฮิพฮอพ) ก่อตั้งขึ้นในปี 2006
“มีแร็ปเปอร์ ที่มีแค่คำว่ากูว่ามึง ก็ถูกแบนแล้ว ผมเคยจัดงานๆ หนึ่งที่มีแร็บเปอร์มาร้อง แล้วมีคำว่ากูว่ามึง ผมก็โดนผู้ใหญ่ในจังหวัดต่อว่า แชมป์ถูกหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในตอนนั้น ลงหน้าหนึ่งว่าเป็นกลุ่มชยะสังคม” แชมป์เล่าพร้อมเสียงหัวเราะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว
แชมป์เล่าว่าสมาคมเพื่อเด็กและเยาวชนเครือข่ายแมงโก้ ขึ้นทะเบียนอยู่ภายใต้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
ส่วนการร่วมงานกับ สสส.เริ่มต้นขึ้นในปี 2011 เป็นการชักชวนเข้าร่วมงานอีเวนท์ แต่เริ่มได้รับงบประมาณจาก สสส. อย่างจริงจังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้เอง
“แต่ก่อนหน้านั้น เราบอกเขาว่าเราเป็นการรวมตัวกันแบบ ‘ออร์แกนิก’ คือเป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ โดยธรรมชาติ” แชมป์ระบุถึงการรวมตัวกับเครือข่ายเยาวชน
>>> เหตุสลด เป็นจุดเปลี่ยนให้หันมาสนใจการรณรงค์งดเหล้า
จุดเริ่มต้น ที่ สสส.สนใจร่วมงานกับแชมป์ มีที่มาจากการที่แชมป์จัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า
แชมป์เล่าว่า “เมื่อก่อนแชมป์ทำอีเวนท์ ทำครีเอทีฟ ทำการตลาดให้เบียร์หลายยี่ห้อ แล้วแชมป์เป็นคนที่รู้จักเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่เยอะ เราก็นำเอาเครือข่ายของเรานี่แหละไปร่วมงาน แล้วมันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าเพื่อนโดนข่มขืน หรือเพื่อนออกจากงานเราไปแล้วประสบอุบัติเหตุคอหักตายคาสะพาน พอทำงานแบบนี้ไปแล้ว เหตุการณ์ไม่ดีเริ่มมีเยอะขึ้นๆ แล้วก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แชมป์คิดว่าแชมป์มีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ มีครั้งหนึ่ง แชมป์เคยคิดว่า ไอ้ความชอบของแชมป์ สิ่งที่แชมป์ทำมันส่งผลรุนแรงได้ขนาดนี้ มีเพื่อนที่พลาดแล้วก็ตั้งครรภ์ แล้วก็ต้องเอาเด็กออกเลย มันมีหลายเหตุการณ์ แต่เหตุการณ์ที่โทษตัวเองน่าจะเหตุการณ์ที่เพื่อนคอหักตาย วันนั้นแชมป์โทษตัวเอง ก็เลยคิดว่าเราน่าจะใช้ศักยภาพของตัวเอง มาทำอีกทางหนึ่ง ก็เลยเริ่มทำเรื่องเลิกแอลกอฮอล์ เริ่มทำช่วงปี 2008-2009
>>> สงกรานต์ปลอดเหล้า จุดเริ่มต้นร่วมงานกับ สสส.
ถามว่า สสส. เห็นศักยภาพเมื่อไหร่ แชมป์เล่าว่า เพราะเขาเห็นแชมป์จัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า ในปี 2010 เนื่องจากเดิมที สงกรานต์ที่เชียงราย เล่นน้ำกันแล้วดื่มกันหนักมาก มีรถมีคน แลกเหล้ากัน เรียกได้ว่าเป็นถนนที่คนปกติหากขับรถผ่านมาถนนเส้นนี้ จะผลิตคนที่สติดี ให้เมาไม่มีสติแล้วปล่อยออกสู่ถนน ไม่ต่างจากสายพานอาหาร
“แชมป์ก็เลยจัดเวทีใหญ่ เป็น มิวสิคเฟส จุดเด่นคือถ้าผ่านมาตรงนี้ไม่มีแอลกอฮอล์นะ มีสระน้ำใหญ่ที่ร่วมกับพวกผู้รับเหมา เขามาเจาะน้ำให้ ทำอลังการมาก มันส์มาก แล้ว สสส. เขามาเห็น คือ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล) ซึ่งเป็นอีกเซคชั่นหนึ่งของ สสส. เขามาเห็น แล้วเขาก็ให้เข้าไปช่วยดูเยาวชนจังหวัดอื่นด้วย เราก็เลยได้ทำเป็นโมเดลที่จัดเหมือนกันทุกจังหวัด คือ โมเดลสงกรานต์ปลอดเหล้า แล้วก็มีเคาต์ดาวน์ปลอดเหล้า ลอยกระทงปลอดเหล้า เพราะ สสส. เขาดูทั่วประเทศ อยู่แล้ว จึงเป็นโมเดลที่เอาไปใช้ทั่วประเทศ”
>>> นวัตกรรมเพื่อเยาวชน
แชมป์เล่าว่า ล่าสุดเขาทำแอพพลิเคชั่น ชื่อ spyn หรือ ‘สภาเยาวชนนอกระบบ’
“คือชมรมที่มีแคมป์ภาคเหนือ ตรงนี้คือสภานอกระบบ ที่ไม่ได้ขึ้นกับ พม.แล้ว เป็นเด็กเลือกกันเอง มีการทำงานกึ่งประชาธิปไตย เลือกกันเข้ามา โหวตกันเข้ามา แล้วเขาก็มีภารกิจคือหาปัญหาและจัดการแก้ไขปัญหากันเอง เช่น ปัญหาเรื่องขยะ เขาก็มาคุยกัน แล้วแก้ไขกัน ไม่ใช่เสนอปัญหาขึ้นไปข้างบนตามระบบ กว่าจะได้รับการแก้ไข กว่าจะมียุทธศาสตร์ มีนโยบาย ใช้เวลาเป็นปี แต่เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงปัญหาได้ทันท่วงที เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมที่ จ.น่าน เด็กกลุ่มนี้ก็เข้าถึงพื้นที่เร็วพอๆ กับเด็กที่ทำเรื่องกู้ภัย น้ำลดแล้ว หน่วยงานราชการเพิ่งมา งานแบบนี้เด็กเขาสนใจ เพราะเขาได้เข้าถึงพื้นที่ เป็นโมเดลที่ภูมิใจเหมือนกัน”
>>> เชื่อมั่นในเยาวชน
เมื่อถามว่า เด็ก ๆ ในนามแมงโก้ รวมตัวทำอะไรกันบ้าง
แชมป์ตอบว่า เรียกว่ารวมตัวแบบธรรมชาติ แบบออร์แกนิค แบบหลวมๆ โดยแชมป์เข้าไปผลักดัน ซึ่งตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้จากเด็ก ๆ ได้แลกเปลี่ยนกัน
แชมป์เล่าว่า ในตอนนี้มีกลุ่มเยาวชนที่น่าเป็นห่วง มีเด็กนอกระบบ เด็กที่อาจถูกเรียกว่าสีเทา เด็กที่อาจถูกมองว่าเป็นเด็กร้ายๆ แว้น ๆ แล้วผู้ใหญ่ปวดหัว ควบคุมยาก แต่แชมป์กลับมองว่า เด็กที่ทำให้รถที่บิดได้แค่ 70-80 หรือ 100 นิด ๆ แต่ด้วยความรู้ที่เขามี เพียงแค่ความรู้เด็กมัธยมปลาย แต่เขาสามารถพัฒนาขีดศักยภาพของเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น เร็วขึ้น แรงกระชากสูงขึ้น สมมติวันนี้ ประเทศเราต้องการวิศวกรรมป้อนอุตสาหกรรมไฮเปอร์ลูป แชมป์มองเห็นว่าคนที่เรียนได้เกรดเฉลี่ยสาม หรือจะเป็นเด็กคนนี้ คนไหนที่เหมาะสมกว่ากัน
“แล้วเรื่องเครื่องยนต์กลไก เด็กคนนี้เขามีความชอบพื้นฐาน เป็นความความหมกมุ่น เป็นความสนใจของเขา และทักษะของเขาเป็นที่ต้องการของประเทศเลย เพียงแต่สภาพแวดล้อมของเขาอาจจะไม่เหมาะ กลับกลายเป็นตกหล่น ถูกขีดเส้น ถูกตราบนหน้าผากว่า ‘เด็กแว้น’ เรารวมเด็กเหล่านี้มาทำกิจกรรมที่แมงโก้ เหมือนกับเราไม่ได้ตัดสินว่า ทำแบบนี้ดีหรือไม่ดี เราดูว่าเขาชอบ อะไร และมันต่อยอดอะไรได้บ้าง แล้วสนับสนุน ทำกิจกรรมกับเด็กกลุ่มนี้ ให้มีพื้นที่ในการแสดงออก
"เช่น เราเคยมี ‘คอนเสิร์ตหูเหล็ก’ ซึ่งเด็กจะร้องเพลงเมทัล เราก็มีกิจกรรมเพื่อเด็กกลุ่มนี้เลย โดยการไปเช่าผับ และให้เด็กเข้า คือขอให้เพื่อนที่เป็นเจ้าของผับนี่แหละ ปิดผับจัดงานเลย แต่ผมให้เด็กเข้าช่วงเช้านะ คือ ปิดผับตั้งแต่ 10 โมงเช้า 5 โมงเย็นงานเลิก ทำรูปแบบเหมือนผับตอนกลางคืนเลย แต่เราไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราก็บอกเด็กว่านี่คือผับนะ แต่ไม่มีแอลกอฮอล์นะ แต่เราก็มาเจอกันได้ คนที่ฟังเพลงแนวเดียวกัน”
คือคำบอกเล่าของแชมป์ถึงกิจกรรมที่ครั้งหนึ่ง จัดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนที่อาจถูกมองข้ามจากผู้ใหญ่และคนในสังคม
นับเป็นตัวตนอีกด้านของกราฟิกดีไซเนอร์มากความสามารถคนนี้ ที่ไม่เพียงสรรหาไอเดียแปลกใหม่เป็นประโยชน์มามอบให้ผู้คน แต่ยังช่วยส่งเสริมเยาวชนให้แสดงออกในพื้นที่ที่เหมาะสมอีกด้วย