แชมป์-ศิรเดช โทณวณิก คือหลานชายคนโตของท่านผู้หญิง ชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ที่โรงแรมปิดตัวไปเมื่อ 2 ปีก่อน ทิ้งไว้เพียงตำนานสุดคลาสสิค เพื่อยกระดับใหม่เป็น Mixed-use ที่มีทั้งโรงแรมห้าดาว อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย หวังให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ โดยโครงการใหม่จะเริ่มเผยโฉมในปี 2565

แชมป์ ศิรเดช เป็นบุตรชายคนโตทายาทนายชนินทธ์ โทณวณิก รองประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร ดุสิต อินแตอร์ เนชั่นแนล และนางวิภาดา โทณวณิก รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดซื้อกลุ่มดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล บทบาทของแชมป์ นับเป็นนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยตำแหน่งที่รับผิดชอบในฐานะ Managing Director-Asai Hotels (กรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงแรมอาศัย) Vice President Operations-Dusit International (รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ ดุสิตอินเตอร์เนชั่นแนล) และ Interim Managing Director-Dusit Hospitality Education (รักษาการกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสถาบันการศึกษาของดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล)
ด้วยบทบาท วิสัยทัศน์การบริหาร อีกทั้งหลักการและจุดยืนในการทำงาน รวมถึงความเป็นทายาทดุสิตธานี ผู้จัดการออนไลน์จึงสัมภาษณ์แชมป์ในประเด็นดังกล่าวรวมทั้งสอบถามว่าอะไร คือจิตวิญญาณของดุสิตธานี ที่ยังคงอยู่ แม้ในโลกสมัยใหม่ ซึ่งคำตอบที่ได้นับว่าน่าสนใจไม่น้อย นอกจากนี้ แชมป์ยังบอกเล่าความพิเศษของโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ ที่แชมป์บริหาร และเพิ่งเปิดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีวิธีการที่ให้ความเคารพและอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบ รวมถึงแนวทางและหลักคิดในการพาธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน ก็สามารถจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวคือภรรยาและลูกชายวัย 9 เดือน ได้อย่างลงตัว
>> ทำธุรกิจอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันกลุ่มดุสิตธานี บริหารโรงแรมและรีสอร์ทรวมทั้งหมด 329 แห่ง ใน 16 ประเทศ แบ่งเป็นโรงแรมและรีสอร์ท 44 แห่ง วิลล่าหรูให้เช่า 285 แห่ง โดยโรงแรมที่ ดุสิตธานีเป็นเจ้าของเองโดยตรงมีทั้งหมด 10 แห่ง อยู่ในไทย 8 แห่ง และในต่างประเทศ 2 แห่ง ในไทย ได้แก่
1.อาศัย ไชน่าทาวน์ ซึ่งเพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน กันยายน 2563
2.ดุสิตสวีท ราชดำริ
3.ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ซึ่งเป็น ASQ (Alternative State Quarantine) หรือโรงแรมที่ใช้เป็นพื้นที่กักตัว
4.ดุสิตดีทูเชียงใหม่
5.ดุสิตปริ๊นเซส เชียงใหม่
6.ดุสิตธานีหัวหิน
7.ดุสิตธานีพัทยา
8.ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต
9.ดุสิตธานี มะนิลา (ฟิลิปปินส์)
10.ดุสิตธานี มัลดีฟส์

เมื่อถามว่าในฐานะที่เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของดุสิตธานี ให้คำจำกัดความการบริหารของตนเองว่าอะไร
แชมป์ตอบว่า “ผมจะเน้นที่การทำธุรกิจที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ผมให้ความสนใจและเน้นอย่างมาก เพราะว่ามันไม่ใช่ในแง่ของการทำธุรกิจเท่านั้น แต่มันคือการใช้ชีวิตด้วย มันไม่ใช่แค่ Professional แต่มันคือ Personal ด้วย สิ่งที่เราทำมา เราเปิดโรงแรม แล้ว จะ 1 หรือ 10 โรงแรม แล้วถ้าเพิ่มจาก 100 ห้อง เป็น 1,000 ห้อง ในแง่ตัวเลขมันอาจจะดูดี แต่มันจะไม่มีความหมายอะไรเรา ถ้าเราไม่ได้ทำให้มันมีความหมายและมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อสังคม ต่อธรรมชาติ”
“สิ่งสำคัญ สำหรับผมคือ Meaning of life คืออะไร ไม่ใช่ว่าทำไปเพื่อให้ใหญ่โตเร็วกว่าคนอื่น แต่คือ ทำยังไงให้มันเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นอะไรที่สำคัญสำหรับผมที่สุดแล้ว” แชมป์ระบุ และกล่าวว่านอกเหนือไปจากนั้น การทำธุรกิจ ให้คล่องแคล่ว คล่องตัวมากที่สุดก็เป็นสิ่งสำคัญ “เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องกล้าลอง แล้วเก็บข้อมูล ว่าอะไรเวิร์ค ไม่เวิร์ค แล้วนำมาปรับปรุง แม้ในอนาคต หากโควิดอาจจะไม่มีแล้ว แต่การเป็นธุรกิจ ที่พร้อมปรับตัวได้คล่องแคล่วก็เป็นสิ่งสำคัญมาก” แชมป์ระบุและกล่าวถึงวิกฤติจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยว่า การที่เจอปัญหาโควิด ต้องเปลี่ยนโมเดลการทำงานหลายๆ อย่าง
“ต้องมานั่งดูว่าจะทำอย่างไร ธุรกิจเราถึงจะผ่านช่วงวิกฤติโควิดไปได้ แต่ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงวิกฤติ แม้ในช่วงหลังวิกฤติ ในโลกใหม่ที่จะมาถึง เราก็ต้องเตรียมตัวตัวเองให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิดแม้หลังจากที่มันหมดไปแล้ว หรืออาจจะมีต่อ ทำยังไง ให้เราปรับตัวกับสถานการณ์ได้ดีที่สุด นี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของผม” แชมป์ระบุ

>> จิตวิญญาณดุสิตธานี ในโลกสมัยใหม่
เมื่อถามว่า อะไรคือจิตวิญญาณของโรงแรมดุสิตธานีที่ยังคงอยู่ ขณะเดียวกันก็พร้อมเปิดรับโลกสมัยใหม่ แม้ว่าตัวโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพที่เปิดมานานนับครึ่งศตวรรษจะปิดตัวไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้นี้ตอบว่า “แน่นอน เราใส่ใจเรื่องของการเซอร์วิส เซอร์วิสของเราที่ดุสิต เราอยากให้ทุกคนเป็นแอมบาสเดอร์ (Ambassador) ของประเทศไทย ที่ดุสิตเราก็เลยทำให้พนักงานทุกคนที่อยู่กับเรา เวลาต้อนรับแขก เราต้องให้เขารับรู้ความเป็นไทย ว่าการต้อนรับ หรือเซอร์วิสมายด์ เป็นอะไรที่ยูนีคมากจริงๆ ซึ่งอันนี้เราก็อยากให้ทุกคนรู้ว่าเราเป็นแบรนด์ไทย เรามีความเป็นไทยอยู่เยอะ แต่คราวนี้ พอเป็นโลกสมัยใหม่ เรามีความเป็นไทยอยู่ แต่จะทำยังไงให้สานต่อไปในอนาคตได้ อย่างเช่น การเทรนด์ สตาฟท์ ที่ดุสิต เราจะบอกว่า สตารฟท์ทุกคนเป็น แอมบาสเดอร์ ของ ไทยคัลเจอร์”
แชมป์เล่าถึงการปรับตัวว่า เมื่อมาบริหารโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ การให้พนักงานเป็นแอมบาสเดอร์แค่ไทยคัลเจอร์ไม่พอ แต่ต้องเป็น แอมบาสเดอร์ของ Destination และ Neighborhood ในย่านเยาวราชหรือไชน่าทาวน์ด้วย
“ดังนั้น ในการเทรนนิ่งของสตาฟท์เรา เราจะใส่ความคิด ข้อมูลเหล่านี้ให้พนักงานได้รู้ ว่าเป็นการต้อนรับที่เขาต้องเป็น แอมบาสเดอร์ของโลเคชั่นด้วย เพราะโรงแรมในเครือดุสิต คือการให้แขกได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า” แชมป์ระบุ
>> เมื่อโรงแรม ‘อาศัย’ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน China Town
แชมป์เล่าว่า ก่อนเปิดโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ มีการเทรนนิ่งสตาฟท์ โดยใช้ชื่อว่า ‘ASAI LOCAL DAY’ ให้งบประมาณ ให้พนักงานแบ่งกันเป็นทีม ให้พวกเขาเดินไปรอบๆ ย่านเยาวราช เหมือน รายการ Amazing race asia ในรายการทีวี
“เราจะให้คำถามว่าร้านอาหารนี้ ร้านกาแฟนี้ เปิดมานานแค่ไหนแล้ว เขาก็ต้องไปคุยกับคนท้องถิ่น แล้วก็ไปแนะนำตัว ว่ามาจากโรงแรมอาศัย ให้เขารู้ว่า เราเป็นโรงแรมที่เขาพึ่งพาเราได้ หากอยากให้เราช่วยโปรโมทร้านก็บอกเราได้ เราทำให้ได้ เพราะฉะนั้น ร้านค้าพวกนี้ เข้าก็ให้ข้อมูลเรามาเยอะแยะ สตาฟท์ที่ทำเทรนนิ่งนี้ก็ได้รู้จักคนในย่านนี้มากขึ้น มีอะไร เช่น ถ้า สมมติ อยากดื่มกาแฟพื้นเมือง หรือ ชาจีนออร์แกนิค ต้องไปที่ไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เราก็นำไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ของโรงแรมอาศัยด้วย ในส่วนของ ซิตี้ไกด์จะมีทั้งร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านกาแฟ ต่าง ๆ นานา มีเยอะมากในละแวกนั้น ที่เราเห็นว่า เราเทรนให้สตาฟท์เราภาคภูมิใจกับพื้นที่ที่เขาอยู่ แล้วเราก็ใส่ข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในโลกออนไลน์ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ด้วย” แชมป์บอกเล่าถึงการเทรนพนักงานให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เราไม่ได้ขายโรงแรมอย่างเดียว แต่เราขาย Destination ด้วย อยู่ละแวกนั้นมีอะไรที่น่าสนใจที่เยอะ”
ถึงแม้จะเป็น คนกรุงเทพฯ ที่อยู่ย่านสุขุมวิท ก็อาจไม่รู้จักย่านเยาวราชเลย เพราะที่นั่นมีมุม มีตรอก หลากหลาย แล้วก็ค่อนข้างที่จะมีกลิ่นอายควาสสมัยเก่า ที่ผสมผสานกับความสมัยใหม่อยู่ ค่อนข้างน่าสนใจ จึงต้องให้พนักงานค้นหาข้อมูลเหล่านี้ ไม่ว่า ร้านค้า ร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ อาร์ต แกเลอรี่ ในย่านนั้น ที่ย่านอื่นของกรุงเทพฯ ไม่มี ซึ่งมันเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ มันเป็นแอเรียที่ น่าสนใจมาก ร้านอาหารอร่อยๆ น่านั่งก็เต็มไปหมดเลย ราคาก็ไม่แพง ร้านกาแฟบางร้านเปิดมา 120 ปีแล้ว
“ผมว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ เราก็เลยดึงดูดใจคนไม่ใช่แค่มาเที่ยวโรงแรมอย่างเดียว แต่มาย่านธุรกิจแถวนั้นด้วย แล้วก็การที่มาเราจะได้ซัพพอร์ตธุรกิจท้องถิ่นด้วย เพราะแน่นอนว่าเขาหมดลูกค้าไปค่อนข้างเยอะ เราก็อยากช่วยซัพพอร์ต คนทำธุรกิจแถวนั้นด้วย” แชมป์ระบุ
แชมป์เล่าว่า ช่วงที่โควิดระลอกก่อนหน้านี้เริ่มซาลง ช่วงเดือน มี.ค. ตอนที่ โควิดเริ่มซา ตัวเลขของแขกผู้เข้าพักเริ่มกลับมาดี 17-18% ก็ถือว่าไม่ได้แย่ เหมือนตอนนี้ แต่แน่นอนว่า เมื่อมีโควิดระลอกใหม่ ก็แทบจะล็อคดาวน์กัน คนก็แทบไม่เดินทาง ไม่ออกจากบ้าน แขกก็มาพักน้อย แต่ก็หวังว่า สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น เพราะเวลาสถานการณ์กลับมาดีขึ้น เราก็จะเห็นว่า คนจะออกมาท่องเที่ยวใหม่ ทานข้าวข้างนอก ออกไปเที่ยวใหม่

>> ‘โลเคชั่น’ อีกจุดเด่นของโรงแรม ‘อาศัย ไชน่าทาวน์’
เมื่อถามว่าแขกที่มาพักประทับใจอะไรที่สุด แชมป์เล่าว่า ประการแรก ในแง่ของโลเคชั่นที่อยู่ในใจกลางเมืองของ ไชน่า ทาวน์ ปกติ การจอดรถยาก แต่เรามีที่จอดรถ 200 กว่าคัน ใครมาก็จอดรถได้ง่าย เดินทางสะดวก หรือใครไม่ได้มารถส่วนตัว โรงแรมเราก็อยู่ใกล้ MRT อยู่ติด MRT วัดมังกร อยู่เยื้องกับโรงแรม เดินเพียงแค่ 2 นาทีก็ถึงแล้ว ก็ค่อนข้างสะดวก
“ดังนั้น เรื่องโลเคชั่น เราแน่ใจว่าเราไม่ได้เป็นรองใครในละแวกนั้น แล้วก็ เราคิดว่า คนที่มาอยู่ ไม่ใช่แค่เรื่องโลเคชั่น แต่รวมถึง Destination ด้วย เพราะมันผสมผสาน อย่างที่บอกว่า นั่ง MRT ออกไปหน่อย ก็เจอ Old town เจอท่าเตียน วัดพระแก้ว คนก็ชอบไปเดิน อยู่ระหว่าง ใจกลางของหลายๆ ย่าน นอกจากนี้ ตัวโรงแรมเอง เราออกแบบมาให้อยู่สบาย ถึงแม้จะไม่ใช่โรงแรมหรู แต่ทำอย่างไร ให้ทั้ง 224 ห้อง อยู่สบายมากที่สุด มีทุกอย่าง อาหารเราก็อร่อย เราไม่ได้ ไปแข่งกับคนที่เปิดละแวกนั้น อาหารเรา มิกซ์ กึ่งๆ ไทยกับ ตะวันตก
ร้านอาหารเราชื่อ ‘แจม แจม’ เป็นการผสมผสานตะวันตกกับออกเข้าด้วยกัน ล็อบบี้เราก็เป็น โคเวิร์คกิ้งสเปซ นั่งทำงานด้วยกันได้ ห้องยิมเราก็มี” แชมป์ระบุ ขณะที่บริเวณคอร์ตยาร์ดของโรงแรม ก่อนหน้าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด ที่บริเวณนี้ เคยใช้จัดงานอีเวนท์ มินิคอนเสิร์ต รวมถึงนิทรรศการศิลปะ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนน่าสนใจ
>> ลดการใช้พลาสติกในโรงแรม
นอกจากนี้ แชมป์เล่าว่ายังมีอีกอย่างที่เปรียบโรงแรมในเครือดุสิตธานีทำแบบปิดทองหลังพระนานเสมอมา ซึ่งแชมป์ก็ได้นำเอาแนวคิดนี้มาใช้ที่โรงแรมอาศัยด้วย เช่นการลดใช้ขวดพลาสติก
“เรามีขวดน้ำเหล็กในห้อง ให้แขกไว้ใช้ หากทำได้ต่อเนื่อง เราก็จะสามารถกำจัดขวดพลาสติกไปได้ 4 แสนขวดต่อปี อะไรที่เรียนรู้ที่ดุสิตมานับสิบปี เราก็เอามาปรับใช้กับที่อาศัย ซึ่งก็เป็นอะไรที่ช่วยโลกด้วย” แชมป์ระบุ

>> การรับมือและปรับตัว สถานการณ์ช่วงโควิด
ในช่วงปี 2563 เครือดุสิตธานียื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าปิดโรงแรมชั่วคราว เมื่อถามว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง โรงแรมกลับมาเปิดหรือยัง แชมป์ตอบว่า ตอนนี้ โรงแรมเปิดทุกแห่งแล้ว เนื่องจากประเมินว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ยอมรับว่า วิกฤตโควิดระลอก 3 แย่ที่สุดเท่าที่เคยเจอมาก็ว่าได้
เมื่อถามว่า ย้อนกลับไป ช่วงโควิดระลอกแรก ทั้ง 8 โรงแรมปิดไปนานเท่าไหร่
แชมป์ตอบว่าปิดไปทุกโรงแรม ที่ภูเก็ตปิดถึงราว ๆ ส.ค. ก.ย. แต่ทุกโรงแรมยังให้เงินเดือน พนักงานอยู่ ให้ตามกฎหมาย แต่ก็ต้องบอกเขาว่าสถานการณ์เป็นยังไง เพราะทุกคนก็เข้าใจ เป็นทั่วโลก
จากนั้นบางโรงแรมปิด 3 เดือน ก็กลับมาเปิด ส่วนที่ราชดำริ เป็นเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ แขกอยู่หลายเดือน หรือเป็นปี จึงปิดไม่ได้ ดังนั้น การกลับมาเปิดจึงแล้วแต่สไตล์ของแต่ละแห่ง ซึ่งทุกวันนี้ โรงแรมทั้ง 8 แห่งในไทยที่ดุสิตธานีเป็นเจ้าของ เปิดหมดทุกแห่งแล้ว
“ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ก็ไม่เคยปิด อันนี้เป็น ASQ อยู่ แล้วก็มีที่โรงแรมอาศัย เราเปิด ก.ย.2563 เราก็ยังไม่เคยปิดเลย แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะมีคำสั่งให้ปิดไหม แต่ผมว่าก็ควรนะ มาถึงขั้นนี้แล้ว ยอมกัดฟัน ปิดสัก 2-3 อาทิตย์ ดีกว่า เพราะกลัวเตียงพยาบาลจะไม่พอด้วย” แชมป์ระบุ
>> งานและครอบครัว กับคู่ชีวิตที่ลงตัว
ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่หนาหนัก แต่ยังคงพลังของความสดใสไว้ได้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากชีวิตครอบครัวที่ลงตัว เมื่อถามถึงการใช้เวลาร่วมกับคู่ชีวิต คือ จอย-ณัฐภาณุ์ ศรียุกต์สิริ ภรรยาคนสวย ว่าบริหารเวลาในการทำงานและให้เวลากับครอบครัวอย่างไร แชมป์ตอบว่า
“ผมทำงานตลอดเวลาเลยครับ ตื่นนอนขึ้นมาก็ทำงาน ภรรยาก็ทำงานกับผมด้วย ก็ทำงานอยู่ด้วยกัน แล้วก็คุยกันเรื่องงานตลอด มันก็น่าสนใจดี เราก็คุยกันเยอะ แบ่งปันไอเดียกัน ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะไม่ต้องคิดเรื่องแบ่งปันเวลาเลย เพราะเราอยู่ด้วยกันตลอด ไม่ว่าช่วงล็อคดาวน์ หรือไม่ล็อคดาวน์ก็ไปทำงานด้วยกัน เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยและชินกับมันแล้ว”

>> บทบาทความเป็น ‘พ่อ’ และความห่วงใยต่อเจนเนอเรชั่นรุ่นลูก
เมื่อถามถึงการเลี้ยงดูลูกชายวัย 9 เดือน รวมทั้งความคาดหวังต่อลูก แชมป์กล่าวว่า “ผมเคยคิดว่าถ้ามีลูกก็อยากพาลูกไปนั่นไปนี่ แต่พอเกิดโควิด ไปไหนไม่ได้เลย ช่วงหลังๆ ผมก็เลยไปหัวหินค่อนข้างบ่อย เพราะมีบ้านอยู่ที่นู่น อยากพาเขาไปสัมผัสธรรมชาติด้วย แต่ก็เป็นห่วงเขาเพราะนอกจากโควิดแล้วยังมี PM2.5 อีก ไม่ใช่ห่วงแค่เขา แต่ห่วงเจนเนอเรชั่นเขา ผมคิดว่าโลกเราจะน่าอยู่ขึ้นไหม ผมว่า มันคงไม่น่าอยู่อย่างที่เคยเป็นมาหรอก เพราะสิ่งที่คนทำกับธรรมชาติ ทำมาจนธรรมชาติแทบจะไม่เหลืออะไรแล้ว
“บางทีผมก็คิดหนักว่าจะทำยังไง สิ่งที่ผมทำกับงาน ก็เลยอยากให้ Prople กับ Profit อยู่ด้วยกันได้ Runธุรกิจเรา ให้มีความยั่งยืนได้ ถ้าทำแบบไม่รับผิดชอบ ลูกหลานเราอาจจะไม่เหลืออะไรเลย ไม่ได้ชี้ว่าเป็นความผิดของเจนก่อนๆ นะ เพราะเรื่องการใส่ใจโลก เพิ่งมาใส่ใจกันช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา ก่อนนั้นเป็น Capitalism” แชมป์ระบุ และกล่าวว่า ไม่ว่าโควิด ซาร์ หรือ PM 2.5 จะเกิดจากอะไร มันอาจบ่งบอกเราว่า ที่ผ่านมาคือการส่งสัญญาณเตือน ดังนั้น ในการทำธุรกิจ ส่วนใดที่รับผิดชอบต่อโลกได้
แชมป์ยืนยันว่า “ทุกอย่างที่ทำผมไม่ได้ทำให้แค่ลูกคนเดียว แต่ทำเพื่อเจนเนอเรชั่นเขาด้วย”
>> ไม่กดดันลูกให้เป็น ‘ทายาทรุ่นที่ 4’ ของ ดุสิตธานี
เมื่อถามว่า อยากให้ลูกชายรับช่วงต่อเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของดุสิตธานีหรือไม่
แชมป์ตอบว่า “อยากให้เขาเป็นตัวเขาเอง ถ้าเขาอยากมาทำธุรกิจโรงแรมหรือ ธุรกิจท่องเที่ยว ผมก็ว่าเป็นสิ่งน่าสนใจมาก เพราะสำหรับผมเราไม่ได้แค่ขายห้อง แต่เราขายประสบการณ์ การดีไซน์โปรดักส์ การดีไซน์เซอร์วิส การเข้าถึงลูกค้า เหล่านี้คือประสบการณ์
“ผมจึงมองว่ามันเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ แม้ว่าเราจะเป็นอุตสาหกรรมที่โดนผลกระทบอย่างมาก ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ผมก็ว่ามันเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้าลูกสนใจทางด้านนี้ผมก็จะซัพพอร์ตอยู่แล้ว แต่ถ้าเขาไม่สนใจ ผมก็แฮปปี้ ไม่ได้กดดันให้เขาต้องมาทำ” แชมป์เล่าถึงลูกชายด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ก่อนทิ้งท้ายถึงหนึ่งในงานอดิเรกที่รัก คือการสะสมและฟังแผ่นเสียงที่แชมป์เล่าว่าทุกวันนี้ก็ยังเล่นแผ่นเสียงอยู่ เรื่อย ๆ
“ผมยังชอบฟังเพลงอยู่เรื่อย ๆ เวลาเครียด ๆ ก็ผ่อนคลายดี” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนถึงชีวิตที่สมดุล ทั้งการงาน ครอบครัว และช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายของนักธุรกิจหนุ่มผู้นี้ ที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมรับผิดชอบต่อโลกในอนาคตข้างหน้า

แชมป์ ศิรเดช เป็นบุตรชายคนโตทายาทนายชนินทธ์ โทณวณิก รองประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร ดุสิต อินแตอร์ เนชั่นแนล และนางวิภาดา โทณวณิก รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดซื้อกลุ่มดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล บทบาทของแชมป์ นับเป็นนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยตำแหน่งที่รับผิดชอบในฐานะ Managing Director-Asai Hotels (กรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงแรมอาศัย) Vice President Operations-Dusit International (รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ ดุสิตอินเตอร์เนชั่นแนล) และ Interim Managing Director-Dusit Hospitality Education (รักษาการกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสถาบันการศึกษาของดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล)
ด้วยบทบาท วิสัยทัศน์การบริหาร อีกทั้งหลักการและจุดยืนในการทำงาน รวมถึงความเป็นทายาทดุสิตธานี ผู้จัดการออนไลน์จึงสัมภาษณ์แชมป์ในประเด็นดังกล่าวรวมทั้งสอบถามว่าอะไร คือจิตวิญญาณของดุสิตธานี ที่ยังคงอยู่ แม้ในโลกสมัยใหม่ ซึ่งคำตอบที่ได้นับว่าน่าสนใจไม่น้อย นอกจากนี้ แชมป์ยังบอกเล่าความพิเศษของโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ ที่แชมป์บริหาร และเพิ่งเปิดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีวิธีการที่ให้ความเคารพและอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบ รวมถึงแนวทางและหลักคิดในการพาธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน ก็สามารถจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวคือภรรยาและลูกชายวัย 9 เดือน ได้อย่างลงตัว
>> ทำธุรกิจอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันกลุ่มดุสิตธานี บริหารโรงแรมและรีสอร์ทรวมทั้งหมด 329 แห่ง ใน 16 ประเทศ แบ่งเป็นโรงแรมและรีสอร์ท 44 แห่ง วิลล่าหรูให้เช่า 285 แห่ง โดยโรงแรมที่ ดุสิตธานีเป็นเจ้าของเองโดยตรงมีทั้งหมด 10 แห่ง อยู่ในไทย 8 แห่ง และในต่างประเทศ 2 แห่ง ในไทย ได้แก่
1.อาศัย ไชน่าทาวน์ ซึ่งเพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน กันยายน 2563
2.ดุสิตสวีท ราชดำริ
3.ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ซึ่งเป็น ASQ (Alternative State Quarantine) หรือโรงแรมที่ใช้เป็นพื้นที่กักตัว
4.ดุสิตดีทูเชียงใหม่
5.ดุสิตปริ๊นเซส เชียงใหม่
6.ดุสิตธานีหัวหิน
7.ดุสิตธานีพัทยา
8.ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต
9.ดุสิตธานี มะนิลา (ฟิลิปปินส์)
10.ดุสิตธานี มัลดีฟส์
เมื่อถามว่าในฐานะที่เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของดุสิตธานี ให้คำจำกัดความการบริหารของตนเองว่าอะไร
แชมป์ตอบว่า “ผมจะเน้นที่การทำธุรกิจที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ผมให้ความสนใจและเน้นอย่างมาก เพราะว่ามันไม่ใช่ในแง่ของการทำธุรกิจเท่านั้น แต่มันคือการใช้ชีวิตด้วย มันไม่ใช่แค่ Professional แต่มันคือ Personal ด้วย สิ่งที่เราทำมา เราเปิดโรงแรม แล้ว จะ 1 หรือ 10 โรงแรม แล้วถ้าเพิ่มจาก 100 ห้อง เป็น 1,000 ห้อง ในแง่ตัวเลขมันอาจจะดูดี แต่มันจะไม่มีความหมายอะไรเรา ถ้าเราไม่ได้ทำให้มันมีความหมายและมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อสังคม ต่อธรรมชาติ”
“สิ่งสำคัญ สำหรับผมคือ Meaning of life คืออะไร ไม่ใช่ว่าทำไปเพื่อให้ใหญ่โตเร็วกว่าคนอื่น แต่คือ ทำยังไงให้มันเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นอะไรที่สำคัญสำหรับผมที่สุดแล้ว” แชมป์ระบุ และกล่าวว่านอกเหนือไปจากนั้น การทำธุรกิจ ให้คล่องแคล่ว คล่องตัวมากที่สุดก็เป็นสิ่งสำคัญ “เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องกล้าลอง แล้วเก็บข้อมูล ว่าอะไรเวิร์ค ไม่เวิร์ค แล้วนำมาปรับปรุง แม้ในอนาคต หากโควิดอาจจะไม่มีแล้ว แต่การเป็นธุรกิจ ที่พร้อมปรับตัวได้คล่องแคล่วก็เป็นสิ่งสำคัญมาก” แชมป์ระบุและกล่าวถึงวิกฤติจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยว่า การที่เจอปัญหาโควิด ต้องเปลี่ยนโมเดลการทำงานหลายๆ อย่าง
“ต้องมานั่งดูว่าจะทำอย่างไร ธุรกิจเราถึงจะผ่านช่วงวิกฤติโควิดไปได้ แต่ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงวิกฤติ แม้ในช่วงหลังวิกฤติ ในโลกใหม่ที่จะมาถึง เราก็ต้องเตรียมตัวตัวเองให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิดแม้หลังจากที่มันหมดไปแล้ว หรืออาจจะมีต่อ ทำยังไง ให้เราปรับตัวกับสถานการณ์ได้ดีที่สุด นี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของผม” แชมป์ระบุ
>> จิตวิญญาณดุสิตธานี ในโลกสมัยใหม่
เมื่อถามว่า อะไรคือจิตวิญญาณของโรงแรมดุสิตธานีที่ยังคงอยู่ ขณะเดียวกันก็พร้อมเปิดรับโลกสมัยใหม่ แม้ว่าตัวโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพที่เปิดมานานนับครึ่งศตวรรษจะปิดตัวไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้นี้ตอบว่า “แน่นอน เราใส่ใจเรื่องของการเซอร์วิส เซอร์วิสของเราที่ดุสิต เราอยากให้ทุกคนเป็นแอมบาสเดอร์ (Ambassador) ของประเทศไทย ที่ดุสิตเราก็เลยทำให้พนักงานทุกคนที่อยู่กับเรา เวลาต้อนรับแขก เราต้องให้เขารับรู้ความเป็นไทย ว่าการต้อนรับ หรือเซอร์วิสมายด์ เป็นอะไรที่ยูนีคมากจริงๆ ซึ่งอันนี้เราก็อยากให้ทุกคนรู้ว่าเราเป็นแบรนด์ไทย เรามีความเป็นไทยอยู่เยอะ แต่คราวนี้ พอเป็นโลกสมัยใหม่ เรามีความเป็นไทยอยู่ แต่จะทำยังไงให้สานต่อไปในอนาคตได้ อย่างเช่น การเทรนด์ สตาฟท์ ที่ดุสิต เราจะบอกว่า สตารฟท์ทุกคนเป็น แอมบาสเดอร์ ของ ไทยคัลเจอร์”
แชมป์เล่าถึงการปรับตัวว่า เมื่อมาบริหารโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ การให้พนักงานเป็นแอมบาสเดอร์แค่ไทยคัลเจอร์ไม่พอ แต่ต้องเป็น แอมบาสเดอร์ของ Destination และ Neighborhood ในย่านเยาวราชหรือไชน่าทาวน์ด้วย
“ดังนั้น ในการเทรนนิ่งของสตาฟท์เรา เราจะใส่ความคิด ข้อมูลเหล่านี้ให้พนักงานได้รู้ ว่าเป็นการต้อนรับที่เขาต้องเป็น แอมบาสเดอร์ของโลเคชั่นด้วย เพราะโรงแรมในเครือดุสิต คือการให้แขกได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า” แชมป์ระบุ
>> เมื่อโรงแรม ‘อาศัย’ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน China Town
แชมป์เล่าว่า ก่อนเปิดโรงแรมอาศัย ไชน่าทาวน์ มีการเทรนนิ่งสตาฟท์ โดยใช้ชื่อว่า ‘ASAI LOCAL DAY’ ให้งบประมาณ ให้พนักงานแบ่งกันเป็นทีม ให้พวกเขาเดินไปรอบๆ ย่านเยาวราช เหมือน รายการ Amazing race asia ในรายการทีวี
“เราจะให้คำถามว่าร้านอาหารนี้ ร้านกาแฟนี้ เปิดมานานแค่ไหนแล้ว เขาก็ต้องไปคุยกับคนท้องถิ่น แล้วก็ไปแนะนำตัว ว่ามาจากโรงแรมอาศัย ให้เขารู้ว่า เราเป็นโรงแรมที่เขาพึ่งพาเราได้ หากอยากให้เราช่วยโปรโมทร้านก็บอกเราได้ เราทำให้ได้ เพราะฉะนั้น ร้านค้าพวกนี้ เข้าก็ให้ข้อมูลเรามาเยอะแยะ สตาฟท์ที่ทำเทรนนิ่งนี้ก็ได้รู้จักคนในย่านนี้มากขึ้น มีอะไร เช่น ถ้า สมมติ อยากดื่มกาแฟพื้นเมือง หรือ ชาจีนออร์แกนิค ต้องไปที่ไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เราก็นำไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ของโรงแรมอาศัยด้วย ในส่วนของ ซิตี้ไกด์จะมีทั้งร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านกาแฟ ต่าง ๆ นานา มีเยอะมากในละแวกนั้น ที่เราเห็นว่า เราเทรนให้สตาฟท์เราภาคภูมิใจกับพื้นที่ที่เขาอยู่ แล้วเราก็ใส่ข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในโลกออนไลน์ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ด้วย” แชมป์บอกเล่าถึงการเทรนพนักงานให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เราไม่ได้ขายโรงแรมอย่างเดียว แต่เราขาย Destination ด้วย อยู่ละแวกนั้นมีอะไรที่น่าสนใจที่เยอะ”
ถึงแม้จะเป็น คนกรุงเทพฯ ที่อยู่ย่านสุขุมวิท ก็อาจไม่รู้จักย่านเยาวราชเลย เพราะที่นั่นมีมุม มีตรอก หลากหลาย แล้วก็ค่อนข้างที่จะมีกลิ่นอายควาสสมัยเก่า ที่ผสมผสานกับความสมัยใหม่อยู่ ค่อนข้างน่าสนใจ จึงต้องให้พนักงานค้นหาข้อมูลเหล่านี้ ไม่ว่า ร้านค้า ร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ อาร์ต แกเลอรี่ ในย่านนั้น ที่ย่านอื่นของกรุงเทพฯ ไม่มี ซึ่งมันเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ มันเป็นแอเรียที่ น่าสนใจมาก ร้านอาหารอร่อยๆ น่านั่งก็เต็มไปหมดเลย ราคาก็ไม่แพง ร้านกาแฟบางร้านเปิดมา 120 ปีแล้ว
“ผมว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ เราก็เลยดึงดูดใจคนไม่ใช่แค่มาเที่ยวโรงแรมอย่างเดียว แต่มาย่านธุรกิจแถวนั้นด้วย แล้วก็การที่มาเราจะได้ซัพพอร์ตธุรกิจท้องถิ่นด้วย เพราะแน่นอนว่าเขาหมดลูกค้าไปค่อนข้างเยอะ เราก็อยากช่วยซัพพอร์ต คนทำธุรกิจแถวนั้นด้วย” แชมป์ระบุ
แชมป์เล่าว่า ช่วงที่โควิดระลอกก่อนหน้านี้เริ่มซาลง ช่วงเดือน มี.ค. ตอนที่ โควิดเริ่มซา ตัวเลขของแขกผู้เข้าพักเริ่มกลับมาดี 17-18% ก็ถือว่าไม่ได้แย่ เหมือนตอนนี้ แต่แน่นอนว่า เมื่อมีโควิดระลอกใหม่ ก็แทบจะล็อคดาวน์กัน คนก็แทบไม่เดินทาง ไม่ออกจากบ้าน แขกก็มาพักน้อย แต่ก็หวังว่า สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น เพราะเวลาสถานการณ์กลับมาดีขึ้น เราก็จะเห็นว่า คนจะออกมาท่องเที่ยวใหม่ ทานข้าวข้างนอก ออกไปเที่ยวใหม่
>> ‘โลเคชั่น’ อีกจุดเด่นของโรงแรม ‘อาศัย ไชน่าทาวน์’
เมื่อถามว่าแขกที่มาพักประทับใจอะไรที่สุด แชมป์เล่าว่า ประการแรก ในแง่ของโลเคชั่นที่อยู่ในใจกลางเมืองของ ไชน่า ทาวน์ ปกติ การจอดรถยาก แต่เรามีที่จอดรถ 200 กว่าคัน ใครมาก็จอดรถได้ง่าย เดินทางสะดวก หรือใครไม่ได้มารถส่วนตัว โรงแรมเราก็อยู่ใกล้ MRT อยู่ติด MRT วัดมังกร อยู่เยื้องกับโรงแรม เดินเพียงแค่ 2 นาทีก็ถึงแล้ว ก็ค่อนข้างสะดวก
“ดังนั้น เรื่องโลเคชั่น เราแน่ใจว่าเราไม่ได้เป็นรองใครในละแวกนั้น แล้วก็ เราคิดว่า คนที่มาอยู่ ไม่ใช่แค่เรื่องโลเคชั่น แต่รวมถึง Destination ด้วย เพราะมันผสมผสาน อย่างที่บอกว่า นั่ง MRT ออกไปหน่อย ก็เจอ Old town เจอท่าเตียน วัดพระแก้ว คนก็ชอบไปเดิน อยู่ระหว่าง ใจกลางของหลายๆ ย่าน นอกจากนี้ ตัวโรงแรมเอง เราออกแบบมาให้อยู่สบาย ถึงแม้จะไม่ใช่โรงแรมหรู แต่ทำอย่างไร ให้ทั้ง 224 ห้อง อยู่สบายมากที่สุด มีทุกอย่าง อาหารเราก็อร่อย เราไม่ได้ ไปแข่งกับคนที่เปิดละแวกนั้น อาหารเรา มิกซ์ กึ่งๆ ไทยกับ ตะวันตก
ร้านอาหารเราชื่อ ‘แจม แจม’ เป็นการผสมผสานตะวันตกกับออกเข้าด้วยกัน ล็อบบี้เราก็เป็น โคเวิร์คกิ้งสเปซ นั่งทำงานด้วยกันได้ ห้องยิมเราก็มี” แชมป์ระบุ ขณะที่บริเวณคอร์ตยาร์ดของโรงแรม ก่อนหน้าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด ที่บริเวณนี้ เคยใช้จัดงานอีเวนท์ มินิคอนเสิร์ต รวมถึงนิทรรศการศิลปะ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนน่าสนใจ
>> ลดการใช้พลาสติกในโรงแรม
นอกจากนี้ แชมป์เล่าว่ายังมีอีกอย่างที่เปรียบโรงแรมในเครือดุสิตธานีทำแบบปิดทองหลังพระนานเสมอมา ซึ่งแชมป์ก็ได้นำเอาแนวคิดนี้มาใช้ที่โรงแรมอาศัยด้วย เช่นการลดใช้ขวดพลาสติก
“เรามีขวดน้ำเหล็กในห้อง ให้แขกไว้ใช้ หากทำได้ต่อเนื่อง เราก็จะสามารถกำจัดขวดพลาสติกไปได้ 4 แสนขวดต่อปี อะไรที่เรียนรู้ที่ดุสิตมานับสิบปี เราก็เอามาปรับใช้กับที่อาศัย ซึ่งก็เป็นอะไรที่ช่วยโลกด้วย” แชมป์ระบุ
>> การรับมือและปรับตัว สถานการณ์ช่วงโควิด
ในช่วงปี 2563 เครือดุสิตธานียื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าปิดโรงแรมชั่วคราว เมื่อถามว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง โรงแรมกลับมาเปิดหรือยัง แชมป์ตอบว่า ตอนนี้ โรงแรมเปิดทุกแห่งแล้ว เนื่องจากประเมินว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ยอมรับว่า วิกฤตโควิดระลอก 3 แย่ที่สุดเท่าที่เคยเจอมาก็ว่าได้
เมื่อถามว่า ย้อนกลับไป ช่วงโควิดระลอกแรก ทั้ง 8 โรงแรมปิดไปนานเท่าไหร่
แชมป์ตอบว่าปิดไปทุกโรงแรม ที่ภูเก็ตปิดถึงราว ๆ ส.ค. ก.ย. แต่ทุกโรงแรมยังให้เงินเดือน พนักงานอยู่ ให้ตามกฎหมาย แต่ก็ต้องบอกเขาว่าสถานการณ์เป็นยังไง เพราะทุกคนก็เข้าใจ เป็นทั่วโลก
จากนั้นบางโรงแรมปิด 3 เดือน ก็กลับมาเปิด ส่วนที่ราชดำริ เป็นเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ แขกอยู่หลายเดือน หรือเป็นปี จึงปิดไม่ได้ ดังนั้น การกลับมาเปิดจึงแล้วแต่สไตล์ของแต่ละแห่ง ซึ่งทุกวันนี้ โรงแรมทั้ง 8 แห่งในไทยที่ดุสิตธานีเป็นเจ้าของ เปิดหมดทุกแห่งแล้ว
“ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ก็ไม่เคยปิด อันนี้เป็น ASQ อยู่ แล้วก็มีที่โรงแรมอาศัย เราเปิด ก.ย.2563 เราก็ยังไม่เคยปิดเลย แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะมีคำสั่งให้ปิดไหม แต่ผมว่าก็ควรนะ มาถึงขั้นนี้แล้ว ยอมกัดฟัน ปิดสัก 2-3 อาทิตย์ ดีกว่า เพราะกลัวเตียงพยาบาลจะไม่พอด้วย” แชมป์ระบุ
>> งานและครอบครัว กับคู่ชีวิตที่ลงตัว
ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่หนาหนัก แต่ยังคงพลังของความสดใสไว้ได้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากชีวิตครอบครัวที่ลงตัว เมื่อถามถึงการใช้เวลาร่วมกับคู่ชีวิต คือ จอย-ณัฐภาณุ์ ศรียุกต์สิริ ภรรยาคนสวย ว่าบริหารเวลาในการทำงานและให้เวลากับครอบครัวอย่างไร แชมป์ตอบว่า
“ผมทำงานตลอดเวลาเลยครับ ตื่นนอนขึ้นมาก็ทำงาน ภรรยาก็ทำงานกับผมด้วย ก็ทำงานอยู่ด้วยกัน แล้วก็คุยกันเรื่องงานตลอด มันก็น่าสนใจดี เราก็คุยกันเยอะ แบ่งปันไอเดียกัน ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะไม่ต้องคิดเรื่องแบ่งปันเวลาเลย เพราะเราอยู่ด้วยกันตลอด ไม่ว่าช่วงล็อคดาวน์ หรือไม่ล็อคดาวน์ก็ไปทำงานด้วยกัน เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยและชินกับมันแล้ว”
>> บทบาทความเป็น ‘พ่อ’ และความห่วงใยต่อเจนเนอเรชั่นรุ่นลูก
เมื่อถามถึงการเลี้ยงดูลูกชายวัย 9 เดือน รวมทั้งความคาดหวังต่อลูก แชมป์กล่าวว่า “ผมเคยคิดว่าถ้ามีลูกก็อยากพาลูกไปนั่นไปนี่ แต่พอเกิดโควิด ไปไหนไม่ได้เลย ช่วงหลังๆ ผมก็เลยไปหัวหินค่อนข้างบ่อย เพราะมีบ้านอยู่ที่นู่น อยากพาเขาไปสัมผัสธรรมชาติด้วย แต่ก็เป็นห่วงเขาเพราะนอกจากโควิดแล้วยังมี PM2.5 อีก ไม่ใช่ห่วงแค่เขา แต่ห่วงเจนเนอเรชั่นเขา ผมคิดว่าโลกเราจะน่าอยู่ขึ้นไหม ผมว่า มันคงไม่น่าอยู่อย่างที่เคยเป็นมาหรอก เพราะสิ่งที่คนทำกับธรรมชาติ ทำมาจนธรรมชาติแทบจะไม่เหลืออะไรแล้ว
“บางทีผมก็คิดหนักว่าจะทำยังไง สิ่งที่ผมทำกับงาน ก็เลยอยากให้ Prople กับ Profit อยู่ด้วยกันได้ Runธุรกิจเรา ให้มีความยั่งยืนได้ ถ้าทำแบบไม่รับผิดชอบ ลูกหลานเราอาจจะไม่เหลืออะไรเลย ไม่ได้ชี้ว่าเป็นความผิดของเจนก่อนๆ นะ เพราะเรื่องการใส่ใจโลก เพิ่งมาใส่ใจกันช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา ก่อนนั้นเป็น Capitalism” แชมป์ระบุ และกล่าวว่า ไม่ว่าโควิด ซาร์ หรือ PM 2.5 จะเกิดจากอะไร มันอาจบ่งบอกเราว่า ที่ผ่านมาคือการส่งสัญญาณเตือน ดังนั้น ในการทำธุรกิจ ส่วนใดที่รับผิดชอบต่อโลกได้
แชมป์ยืนยันว่า “ทุกอย่างที่ทำผมไม่ได้ทำให้แค่ลูกคนเดียว แต่ทำเพื่อเจนเนอเรชั่นเขาด้วย”
>> ไม่กดดันลูกให้เป็น ‘ทายาทรุ่นที่ 4’ ของ ดุสิตธานี
เมื่อถามว่า อยากให้ลูกชายรับช่วงต่อเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของดุสิตธานีหรือไม่
แชมป์ตอบว่า “อยากให้เขาเป็นตัวเขาเอง ถ้าเขาอยากมาทำธุรกิจโรงแรมหรือ ธุรกิจท่องเที่ยว ผมก็ว่าเป็นสิ่งน่าสนใจมาก เพราะสำหรับผมเราไม่ได้แค่ขายห้อง แต่เราขายประสบการณ์ การดีไซน์โปรดักส์ การดีไซน์เซอร์วิส การเข้าถึงลูกค้า เหล่านี้คือประสบการณ์
“ผมจึงมองว่ามันเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ แม้ว่าเราจะเป็นอุตสาหกรรมที่โดนผลกระทบอย่างมาก ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ผมก็ว่ามันเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้าลูกสนใจทางด้านนี้ผมก็จะซัพพอร์ตอยู่แล้ว แต่ถ้าเขาไม่สนใจ ผมก็แฮปปี้ ไม่ได้กดดันให้เขาต้องมาทำ” แชมป์เล่าถึงลูกชายด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ก่อนทิ้งท้ายถึงหนึ่งในงานอดิเรกที่รัก คือการสะสมและฟังแผ่นเสียงที่แชมป์เล่าว่าทุกวันนี้ก็ยังเล่นแผ่นเสียงอยู่ เรื่อย ๆ
“ผมยังชอบฟังเพลงอยู่เรื่อย ๆ เวลาเครียด ๆ ก็ผ่อนคลายดี” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนถึงชีวิตที่สมดุล ทั้งการงาน ครอบครัว และช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายของนักธุรกิจหนุ่มผู้นี้ ที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมรับผิดชอบต่อโลกในอนาคตข้างหน้า