xs
xsm
sm
md
lg

“หมอนิธิพัฒน์” ถอดบทเรียนหลังดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทุกระยะ พร้อมเผยความรุนแรงขอโควิดระลอกที่ 3

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล ออกมาโพสต์ข้อความแบ่งปันความรู้ หลังตนเองได้คลุกคลีดูแลผู้ป่วยโควิด-19 มาแล้วในทุกระยะ จึงได้กลั่นกรองข้อมูลเพื่อมาเป็นวิทยาทาน พบเคส Happy Pneumonia ไม่แสดงอาการเหนื่อย หอบ แต่ปอดกลับมีร่องรอยของโรคไปเสียแล้ว

เมื่อวันที่ 25 เม.ย. นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความน่าสนใจลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “นิธิพัฒน์ เจียรกุล” เกี่ยวกับ “ลักษณะทางคลินิกที่น่าสนใจของ โควิด-19 Pneumonia ในการระบาดระลอกที่ 3”

1. พบ Happy Pneumonia บ้าง กล่าวคือ เป็นภาวะของปอดติดเชื้อ แต่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ถ้าอยู่ในช่วงพักหรือออกแรง ก็ไม่พบค่าออกซิเจนต่ำลง ทว่าเมื่อเอกซเรย์ในปอดจะมีร่องรอยของโรคแล้ว ทำให้ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว

2. พบ non-dyspnogenic (happy) hypoxemia ได้บ้าง กล่าวคือ มีสภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำลงได้บ้างขณะที่ไม่ได้ออกแรง แต่อัตราการเต้นของหัวใจกลับไม่สูง ไม่มีหอบเหนื่อย โดยปกตินั้น เมื่อปอดมนุษย์เรามีค่าออกซิเจนในปอดต่ำลง มันควรมีอาการเหนื่อยหรือหายใจถี่ๆ แต่กรณีนี้จะไม่มีการแสดงอาการอะไรออกมา จนกว่าจะได้เอกซเรย์ปอดนั่นเอง เชื่อว่าสาเหตุคือเชื้อผ่านเข้าทางจมูกหรือกระแสเลือด แล้วไปทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง ไม่รับรู้การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติไปแล้ว

3. พบอาการ Sinus bradycardia หรืออาการหัวใจเต้นช้า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

นอกจากนี้ นายแพทย์ นิธิพัฒน์ ได้ระบุถึงการดูแลรักษาผู้ป่วย โควิด-19 Pneumonia ที่มีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรครุนแรง (age > 60, BMI > 30, uncontrolled DM, COPD, CHF, CKD stage > 38, others uncontrolled medical conditions, poor functional status) ควรรีบให้การรักษาด้วยยา favipiravir ตามน้ำหนักตัวตามคำแนะนำของกรมการแพทย์ เป็นเวลานานอย่างน้อย 5 วันถ้าตอบสนองดีและไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือนาน 10 วันถ้าตอบสนองข้าหรือมีปัจจัยเสี่ยง ในกรณี citical (on mechanical ventiation) ให้นาน 15 วัน

ให้ adjunctive corticosteroid ในขนาด oral dexamethasone 4 mg bid or prednisolone 20 mg bid or dexamethasone 4 mg tid or prednisolone 20 mg tid ถ้าน้ำหนักตัวเกิน 90 กก. โดยให้เมื่อมีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่ง คือ

1. Resting room-air Spz < 96%

2. Resting room-air Sp02 2 96% แต่ลดลง 23% (exercise-induced desaturation) จากการทำ sit-to-stand tests หรือวิธีการอื่นที่เทียบเท่า

3. มีไข้สูงเกิน 38.5 *C ติดต่อกันเกิน 48 ชม. หรือมี radiographic progression หรือมีค่า serum CRP > 15 mg/L

สำหรับรายที่มีไข้สูง หรือต้องได้ oxygen therapy ขนาดสูง หรือกินได้น้อย ให้ไช้ IV dexamethasone 5 mg bid or tid ตามขนาดน้ำหนักตัว ส่วนในรายที่เป็น eary pneumonia และได้รับ adjunctive corticostaroid อยู่แล้ว ต่อมาเกิด late pneumonia ให้เปลี่ยนเป็น IV dexamethasone 5 mg tid or qid โดยระยะเวลาการให้

คำแนะนำการรักษาปอดอักเสบโควิด-19

ผู้ป่วยโดวิด-19 พบปอดอักเสบ (COVID-19 pneumonia) ได้ 50-90% แล้วแต่เครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยทางรังสีวิทยา (radiological pneumonia) แต่ที่มี opacies ร่วมกับอาการไข้ ไอ หรือ หอบเหนื่อย (cinical pneumonia) พบได้ 30-50% ขึ้นกับระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์หลังได้รับเชื้อหรือเริ่มมีอาการ โรคพื้นฐานของผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคปอดและโรดหัวไจ และประสบการณ์ของแพทย์ในการอ่านเอกซเรย์ปอด โดยมีลักษณะทางคลินิก 2 รูปแบบ คือ

1. Early pneumonia เชื่อว่เป็นผลจาก direct lung injury from pathogen พบในช่วง 5 วันหลังได้รับเชื้อหรือเริ่มมีอาการ ลักษณะทางคลินิกไม่ต่างจาก community-acquired pneumonia or influenza pneumonia แต่จะมีลักษณะที่พบบ่อย คือ peripheral opacities/consolidations at lower to middle lung zones

2. Late pneumonia เชื่อว่าเป็นผลจาก local and systemic infiammatory syndrome stimulate by pathogen พบในช่วงหลังคือ 6-10 วัน โดยได้รับหรือไม่ได้รับการวินิจฉัย eary pneumonia นำมาก่อน ลักษณะเป็น diffuse multfocal opacities/consolidations ที่อาจลุกลามจาก focal opacities ที่มีเล็กน้อยอยู่เดิม


กำลังโหลดความคิดเห็น