นับตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง คนละวัยอลวน ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2533นั่นก็เป็นผลงานการกำกับหนังเรื่องล่าสุดของ “ไพโรจน์ สังวริบุตร” ซึ่งถ้าไม่ใช่คอหนังแบบจริงจัง ก็คงเชื่อว่าผู้ชายคนนี้เคยทำงานเบื้องหลังมาก่อน เพราะจากภาพจำของคนส่วนใหญ่แล้ว ไพโรจน์มักจะเป็นนักแสดงรุ่นใหญ่ที่ผ่านสายตาจากช่องทางต่างๆ ซะมากกว่า แต่ในเมื่อโปรเจกต์ที่อยากทำมันเรียกร้อง เขาคนนี้ก็กลับมาทำงานหลังกล้องอีกครั้ง กับภาพยนตร์เรื่อง ‘วัยอลวนฮ่า’ จากค่ายเอ็ม พิคเจอร์ส ที่เขาขอสืบทอดตำนานซีรีส์หนังชุดนี้ ให้กลับมามีชีวิตบนจอหนังอีกครั้ง
ที่มาที่ไปของหนังเรื่องนี้ครับว่า มันเริ่มมาจากอะไรครับ
หนังเรื่องนี้ มันก็เป็นหนังที่ถ้าคนทั่วๆ ไป เรียก จะเรียกว่าเป็นหนังภาคต่อ เหมือนกับ เจมส์ บอนส์ หรือ สตาร์วอร์ส ที่จะมีตอนต่อๆ มา ‘ตั้ม-โอ๋’ ก็เกิดมาจากหนังเรื่องแรกก็คือ วัยอลวน เมื่อปี 2519 ซึ่งตัวละครดังกล่าวนี้ ก็ได้ถูกกำเนิดขึ้นมาในโลกภาพยนตร์ ซึ่งชีวิตของพวกเขานั้นก็มาจากเรื่องจริง ของคุณบุญญรักษ์ นิลวงษ์ แล้วก็หลานสาวของเปี๊ยก โปสเตอร์ คือเขาได้พล็อตเรื่องมาจาก 2 คนนี้ แล้วก็ต่อสู้กับญาติๆ เขาว่า มันมีเรื่องราวที่ไม่ธรรมดามาก เขาก็เลยสร้างขึ้นมา ก็เป็นหนังที่ประสบความสำเร็จสูงมากในยุคนั้น เพราะก่อนหน้าที่จะมีหนังเรื่องวัยอลวนนั้น คนไทยจะดูหนังวัยผู้ใหญ่กัน วัยรุ่นไม่ดูหนังไทย ไม่ฟังเพลงไทย เพราะมีความรู้สึกว่ามันเชย และมันไม่มีอะไรที่จะเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณของเขาเลย ยุคนั้น พระเอกจะต้องเป็น สมบัติ เมทะนี กรุง ศรีวิไล ยอดชาย เมฆสุวรรณ ที่จะมีลักษณะผู้ชายล่ำบึ้ก ซึ่งวัยรุ่นเขาก็มีความรู้สึกว่ามันไม่เชื่อมโยงกับพวกเขาเลย พอคุณเปี๊ยก โปสเตอร์ลุกขึ้นมาทำ ก็เอาทั้งไพโรจน์ และ ลลนา ซึ่งผมในตอนนั้นก็อายุประมาณ 20-21 ส่วน ลลนา อายุ 16 หน้าตาเราก็ไม่ได้มีอกาสที่จะเป็นพระเอกในยุคนั้นได้เลย แต่คุณเปี๊ยกก็กล้าที่จะแหวกตลาดมาทำ ซึ่งก็สมใจนึกมาก เพราะทำหนังออกมาเสร็จ หนังขายไม่ได้เลย ไม่มีสายหนังคนไหนมาซื้อหนังเลย เพราะว่ายุคนั้น คนทำหนังตามสายของภาคต่างๆ เขาก็จะซื้อไป ปรากฏว่าขายไม่ได้ซักสายเลย
แต่ก็มีสายหนึ่งที่เราจำได้ไม่ลืมเลย คือเป็นแขกโพกหัวเลย เป็นนักซื้อหนัง ชื่อดีวันจัน ซึ่งตลาดหนังในตอนนั้นจะเป็นหนังบู๊แอ๊คชั่น เขาก็อยากจะได้หนังเรื่อง ‘ชาติผยอง’ ของคุณรุจน์ รณภพ ซึ่งทางค่ายหนังเขาก็ฝากสายจัดจำหน่ายว่า ถ้าจะซื้อหนังเรื่องแรก 8 แสน แต่ต้องซื้อวัยอลวนไปด้วย 2 แสนบาท ทางสายหนังคนนั้นบอก ตกลง แต่ให้เงิน 2 แสน แต่ไม่เอาหนังได้มั้ย (หัวเราะเบาๆ) เพราะว่าถ้าเอาหนังมา เขาก็ต้องไปทำก็อปปี้ฟิล์ม เพื่อที่จะเอาไปฉายต่างจังหวัด ก็จะมีการบุ๊กกิ้งคิวว่าจะเอาไปขายที่ไหน แล้วก็มีทีมงานที่เรียกว่าเซ็คเกอร์ตามไปอีก กลัวจะเจ๊งหนักกว่านั้น ก็เลยไม่เอา ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ผมจำได้
แต่ปรากฎว่าพอหนังออกฉายมันเกิดความพลิกผัน กลายเป็นหนังที่ถูกจดจำในยุคนั้น และทำให้วัยรุ่นหันกลับมาดูหนังและฟังเพลงไทย แล้วก็จับกีต้าร์โฟล์คซอง จนทำให้พัฒนาการต่างๆ มีแต่เด็กดูหนัง สวนทางกับผู้ใหญ่ที่ไม่ดูหนัง เพราะมันไม่ถูกจริต เนื่องจากพอเป็นวัยอลวนมา คนทำหนังก็มาทำหนังแบบคนรุ่นใหม่ จนกระทั่งคนที่สูงอ่ายุนั้น ไม่มีหนังที่ถูกใจเขาเลย นี่คือสิ่งที่ผมนึกอยากจะกลับมาทำวัยอลวนอีกซักภาคะนึง ซึ่งยุคนั้น เปี๊ยก โปสเตอร์ทำไว้ 3 ภาค (วัยอลวน, รักอุตลุต และ ชื่นชุลมุน) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จตั้ง 2 ภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรักอุตลุต ที่สร้างสถิติขึ้นมาด้วย คือไม่เคยมีหนังภาคต่อเรื่องไหนที่ทำเงินมากกว่าภาคแรก เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คุณเปี๊ยก โปสเตอร์ เขาปูทางไว้ให้ผม ผมเลยรู้สึกว่า เอาวัยอลวนมาทำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนที่เป็นแฟนตั้ม-โอ๋ ที่โลดแล่นอยู่ในโลกภาพยนตร์เขาจะมีพัฒนาการยังไงบ้าง พวกเขาในโลกภาพยนตร์จะปรับตัวเข้ากับสังคมในปัจจุบันได้ยังไง อันนี้มันเป็นโจทย์ที่ผมมีความรู้สึกว่า ผมอยากจะตอบให้กับคนที่เขาอยากรู้
ในขณะเดียวกัน มันก็มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่ อยากจะทำหนังที่ให้ดูได้ทุกเพศทุกวันย คืออยากให้พ่อแม่ลูก ได้มาดูหนังร่วมกันอีกซักครั้งหนึ่ง อย่างที่ผมบอกว่า พอคนรุ่นใหม่มาทำหนังแล้วเทใจไปให้คนรุ่นเดียวกัน เลยทำให้คนรุ่นเก่าไม่มีหนังที่ถูกจริต เพราะฉะนั้น มันก็เลยเป็นสังคมที่แปลกแยกกันเลย เด็กก็จะไปดูหนังของเขา ผู้ใหญ่ถ้ามี ก็จะไปดูอีกแบบหนึ่ง มันหาคนยากมากที่จะทำให้คน 2 กลุ่มที่ไปดูด้วยกัน ซึ่งเป็นความคาดหวังที่เราตั้วใจว่า อยากจะให้เป็นหนังที่สามารถดูได้ เหมือนกับหนังของค่ายวอลต์ ดิสนีย์ ซึ่งจะไม่มีเรื่องรุนแรง ความอิจฉาริษยาอาฆาต หรือ ชิงรักหักสวาทก็ไม่เอา ผมว่าอารมณืขันมันมีเยอะแยะเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทย เป็นอารมณ์ขันที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนกับที่วัยอลวนทำมาแล้ว 3 ภาคแรก โดยเฉพาะอย่าง เราเก็บเรื่องราวในสังคม เอามาเล่าในปัญหาที่มันมีอารมณ์ขัน และแก้ด้วยอารมณ์ขัน เป็นหนังที่จะดูแล้วมีความสุข
แน่นอนว่า การกลับมาทำหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์ครั้งแรกในรอบ 31 ปี ในเรื่องนี้มีความยากง่ายยังไงบ้างครับ
ต้องอธิบายให้เด็กรุ่นนี้ฟังซักนิดก่อนว่า ผมทำหนังมาแล้ว 11 เรื่อง เด็กรุ่นนี้อาจจะงงว่า ตั้งแต่เกิดมา ตั้งแต่อายุ 30 ลงมา ก็ไม่เคยทำหนังอะไรเลย อยู่ๆ ก็มาทำหนัง แล้วคงสงสัยว่า ทำเป็นหรือเปล่า ผมอยู่กับตระกูลที่สร้างหนังมาตั้งแต่ยังไม่เกิด ตั้งแต่รุ่นคุณปู่ แล้ว คุณแม่ของผมก็เป็นนางเอกหนัง คุณอาของผมก็เป็นตากล้องรางวัลตุ๊กตาทอง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำละครจักรๆ วงษ์ๆ ในเครือดาราวีดีโอ และ ดีด้า เพรัฉะนั้น ผมอยู่กับความเป็นหนังมาตลอด ถึงแม้ว่าเราจะห่างจากการกำกับหนังไป 30 ปี
แต่ผมกลับมองว่าเป็น 30 ปีที่มันกลับได้เปรียบมากกว่า เพราะทำให้เราได้มีเวลาคิดและวิเคราะห์ 30 ปีที่หายไป ผมไม่ได้หายเข้าไปในป่าลึก ไม่ได้เข้าไปอยู่ในเกาะที่ไหนอยู่โดดเดี่ยว เรายังอยู่กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่กับพัฒนาการของภาพยนตร์ โดยเฉพาะหนังที่เป็นสากล อย่างเช่นหนังฮอลลีวู้ด 30 ปีนี้ เราไม่เคยหยุดที่จะดูหนัง เพราะฉะนั้น เรามีโอกาสที่จะเก็บเรื่องราว เก็บวิธีการ เก็บเทคโนโลยี พัฒนาการในการเล่าเรื่อง ทางภาพ ทางการนำเสนอ หรือทางเสียง มันกลับเป็นข้อมูลที่ทำให้ผมกลับมาทำหนังที่ง่ายขึ้นเยอะ และก็มีเทคโนโลยีที่มาช่วยสนับสนุนเรามากขึ้นอีก อย่างสมมุติว่า สมัยที่เราทำหนังด้วยฟิล์ม เราถ่ายเสร็จ เราก็ต้องส่งฟิล์มไปที่แล็ป และทำการล้างฟิล์ม ล้างเสร็จแล้วทำการปรินส์ถึงจะได้กลับมาดู แต่เดี๋ยวนี้ ถ่ายปั๊บ เห็นปุ๊บ แสงหรือการแสดงดีหรือไม่ดี เห็นกันเดี๋ยวนี้ แก้กันเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ที่ช่วยสนับสนุนให้เราสร้างหนังได้ง่ายขึ้น แล้วทำให้มีคุณภาพดีขึ้น ไม่มีปัญหาอะไรเหลือเลย
มันเหมือนการเก็บรายละเอียดไป หรือเป็นเพราะว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมายังไม่ได้ครับ
มันก็มีหลายมุมนะครับ อย่างสมมุติว่าตอนที่เราเป็นวัยหนุ่ม ตอนที่เราสร้างหนังเรื่องแรก (ไฟในทรวง ปี 2522) เราก็เป็นคนหนุ่มไฟแรง ผมกล้าพูดได้เลยว่า เราเป็นพวกคลื่นลูกใหม่ คือไม่ได้ทำหนังแบบรุ่นเก่า เพราะฉะนั้นมันก็จะมีความมันในอารมณ์ที่อยากจะทำอะไรที่บางทีมันไม่ใช่แนวตลาด หมายถึงว่า เป็นรสนิยมโดยรวมของคนดู เราอยากที่จะทำหนังที่แหวกตลาด แสดงถึงมันสมองที่เรามองไม่เห็นคนอื่น หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายเราในยุคนั้นนะครับ
แต่สุดท้ายแล้ว พอเราอยู่ในโลกภาพยนตร์มานาน เราเปรียบเทียบจากตัวเราเอง สมมุติว่าไพโรจน์เกิดมาในโลกภาพยนตร์ คนเขาชอบเราเล่นหนังในแบบที่มีอารมณ์ขัน ดูแล้วสนุกเฮฮา แต่เราก็หนีไปเล่นหนังชีวิต ดูแล้วใช้อารมณ์ ใช้ความสามารถในการแสดงสูงมาก แต่ปรากฏว่ามันไม่ตอบโจทย์กับคนที่อยากดูเรา อาจจะดี แต่คนดูบอกก็ดี ไม่ได้ว่าอะไร แต่ไม่ชอบ เหมือนกับที่คนๆไทยมีรสนิยมที่ชอบกินน้ำพริก คนอาจจะบอกว่ากินสเต๊กร้านนี้อร่อยมากเลย แล้วมีคุณค่าสูง ราคาแพงกว่าเยอะแยะ ให้กินฟรีด้วย แต่บางคนก็บอกว่า เขาขอกินอย่างเก่าดีกว่า มันไม่ใช่รสนิยม อันนี้คือข้อเปรียบเทียบที่เห็นชัดมาก บางครั้งเราหนีตัวเอง ไปทำในสิ่งที่เขาไม่ชอบ หรือว่ามันเป็นสิ่งที่เขาอยากจะเห็น มันก็ทำให้ผมทำหนังมา 11 เรื่องก็จริง แต่ว่าเรายังไม่ประสบความสำเร็จสูงมากในด้านรายได้ คือได้รับคำชมเยอะ แต่ไม่ตอบโจทย์โดยภาพรวมในที่เขาอยากจะเห็น
เพราะฉะนั้น มาในวันนี้ เราปรับกระบวนยุทธ์ของตัวเอง หมายถึงว่า เรากลับไปทำหนังในแบบที่เขาชอบดีกว่า ทำหนังในแบบที่เขาอยากเห็น ทำอาหารให้มันถูกรสนิยมคนโดยรวม แล้วคนรุ่นใหม่ก็กินได้ สมมุติว่า เราไปร้านอาหารดีๆ ซักร้านในกรุงเทพนะครับ คนไฮโซเขาก็กินน้ำพริก แต่คุณก็ต้องอยู่ในจานที่สวยงาม คุณจะต้องทำแล้วว่ามองเห็นในอนามัยที่ดี ผมว่าเขากินได้หมด อันนี้คือวิธีคิดในการกลับมาทำหนังวัยอลวนฮ่า ในวันนี้ คือทำหนังให้เหมือนเป็นอาหารที่คนทุกชนชั้นเขากินได้ เป็นรสนิยมของคนไทย แต่ต้องมีความทันสมัย มีภาชนะที่สวยงาม มีความเป็นอนามัย อันนี้คือข้อเปรียบเทียบให้ฟัง นี่คือจุดประสงค์ในการทำวัยอลวนฮ่า
ขณะเดียวกันเอง ในแต่ละภาคที่มีตัวเลือกเป็นธีมต่างๆ ในมุมมองของคุณเอง ถือว่าเป็นการสะท้อนสังคมในแต่ละช่วงเวลาด้วยมั้ยครับ
วัยอลวน มันสะท้อนสังคมในแต่ละช่วงเวลา วัยอลวนฮ่า เกิดขึ้นในตอนที่ถ่ายทำคือ 2563 จริงๆ เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 ด้วยซ้ำไป แต่บังเอิญเรามีปัญหาเรื่องโควิด ทำหเราต้องเบรคไป เพราะฉะนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวัยอลวน เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมยุคนี้ มันเป็นการเก็บรวบรวม เหมือนกับเรื่องราวบันทึกขึ้นมาในแง่มุมของอารมณ์ขัน และเป็นแง่คิดที่ดีต่อสังคม อย่างเช่น ตั้มจะไปว่าความคดี ผมก็ให้ตั้มไปว่าความคดีหวย 30 ล้าน ซึ่งทุกคนก็จะรู้เรื่องดีว่าเรื่องราวนี้มันเป็นยังไง แต่สุดท้ายแล้ว ข้อสรุปของเขาจะไม่เหมือนกับข้อสรุปจริงในสังคม แต่เป็นแง่ที่เป็นประโยชน์นำเสนออยู่ในนั้น มันชี้ให้เห็นถึงทางออกที่ดีเป็นต้น
หรือเรื่องที่โอ๋ จะมีปัญหาที่ข้างบ้าน ที่ติดกับอพาร์ทเมนต์ แล้วคนที่มาเช่าอพาร์ทเมนต์เป็นชาวต่างชาติ ก็มาร้องเพลงหนวกหู โอ๋ก็จะไปต่อว่า แต่ปรากฏว่า เจ้าของอพาร์ทเมนต์ คือ ตู้-ดิเรก ก็คอยปกป้อง เพราะว่ามาจีบเด็ก ก็คอยยุยงเด็ก ผมว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นอารมณ์ขัน แล้วก็มันเป็นเรื่องที่เกิดจริงๆ ในสังคม สุดท้ายแล้วโอ๋ก็แก้ปัญหาโดยที่ให้ตั้มไปจัดการ แต่เมื่อผัวจัดการไม่ได้ ก็จัดการเองก็ได้ ในความรู้สึกเขา เพราะฉะนั้นตรงนี้มันเป็น Humor ซึ่งวสิธีการจัดการนั้น ก็นึกถึงเรื่องราวจริงๆ ในสังคมว่ามีหลายๆ เรื่องที่ไม่ได้ถูกแก้ไขซะที จนมีเรื่องในสังคมออนไลน์ ทุกอย่างมันแก้ได้ นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคม แต่เรามานำเสนอในข้อคิดที่ดี ก็เป็นอารมณ์ขัน
หากเปรียบตัวละครระหว่าง ‘ตั้ม-โอ๋’ กับ ‘โต๋-อั้ม’ ถ้าเปรียบในช่วงวเวลาเดียวกัน ในมุมของอาเอ๋เอง คิดว่าทั้งคู่มีความคล้าย หรือ เหมือนกันยังไงครับ
ในแต่ละยุคสมัยบริบทและบรรยากาศมันต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน ก็คือความรู้สึกของความเป็นคนไทย ตั้ม-โอ๋ มันเกิดขึ้นมาจากเรื่องราวของตั้ม ซึ่งเป็นเด็กต่างจังหวัด เป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ต้องการความเจริญให้กับชีวิต ก็เลยเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อที่จะเข้ามาศึกษาต่อ ดดยที่ไม่มีสตางค์ ก็ต้องมาทำงานหาเลี้ยงตัวเอง เพื่อที่จะเอาเงินมาเรียนหนังสือ ในขณะเดียวกัน ก็ไปรับจ้างสอนพิเศษ ซึ่งโอ๋ก็มาเรียนกับตั้ม ซึ่งเป็นลูกของเจ้าของบ้านเช่าที่ตั้มไปเช่าอยู่ ก้ปรากฏว่าหลังจากที่สอนโอ๋ ซึ่งในตอนนั้นก็เป็นคนที่ไม่สนใจในเรื่องการเรียน ตั้มเขาโมโหก็เลยเขกหัวโอ๋ไปหนึ่งที โอ๋เลยงอนแล้วร้องไห้วิ่งกลับบ้าน แล้วตั้มก็เข้าไปในห้องตัวเอง ซึ่งในยุคนั้นเป็นหน้าต่างที่ไม่มีมุ้งลวด เห็นแดดร้อน เขาก็ไปปิด ปรากฏว่า ชาวบ้านมาเห็นว่า ทำไมถึงมาปิดหน้าต่างห้อง แล้วมีหนึ่งในชาวบ้านเห็นว่าโอ๋วิ่งร้องไห้ออกไป เลยคิดว่า นายตั้มคงทำอะไรมิดีมิร้ายแน่ ก็ไปพูดในวงไพ่ จนมาถึงหูของพ่อนางเอก พ่อนางเอกเลยโมโหแล้วไม่ยอมให้ลูกเรียนต่อกับโอ๋ และไล่ตั้มออกจากห้องเช่า แต่ตั้มไม่ยอม เพราะเซ็นสัญญาเช่าบ้านแล้ว ไม่มีสิทธิ์มาทำอย่างงี้ ก็เลยสู้กัน ซึ่งเกิดมาจากความหึงลูกสาว ซึ่งคนดูเขารู้ความจริงว่า ตั้มกับโอ๋ ไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่มันเกิดการปะทะกัน ระหว่าง เด็กกับผู้ใหญ่ คนดูก็เลยจะเชียร์ พระเอก-นางเอก อันนี้ก็เป็นอารมณ์ขัน มันเกิดจากข้อขัดแย้ง ที่มาจากพ่อที่หวงลูกสาว จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ซึ่งเป็นเรื่องแปลก ที่จะมีการพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมมั่นใจว่า พ่อก็ยังหวงลูกสาวเหมือนเดิม อาจจะดีกรีน้อยลง หมายถึงว่า อย่างเวลาที่เตือนลูก อาจจะไม่เข้มข้นเหมือนเมื่อก่อน แต่ผมมั่นใจว่า ในจิตวิญญาณของคนเป็นพ่อ ก็ยังคงหวงลูกสาวอยู่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้น ปัญหาก็จะเริ่มขึ้นมาซ้ำรอย แต่ว่าพฤติกรรม หรือ เรื่องราวต่างๆ มันต่างกัน อย่าง โต๋กับอั้ม ทั้งสองคนมาได้เจอกัน แล้วก็มีเรื่องที่ทำให้พ่อ พยายามที่จะไม่ยอมให้เจอกัน คือเป็นความขัดแย้งทางด้านความรักของพ่อที่มีต่อลูก แล้วก็เลยต้องหวงลูก จนกระทั่งโต๋มาถามว่า ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมคนเป็นพ่อต้องหวงลูกสาวด้วย ซึ่งเราก็อยากจะถามกลับเหมือนกันว่า ทำไมพ่อต้องหวงลูกสาว โต๋ในเรื่องก็ถามเหมือนกันว่า ทำไมต้องหวงลูกสาว แล้วหวงแล้วเอาไปทำอะไร ซึ่งตรงนี้มันเป็นปัญหาเดิม แต่วิธีแก้ปัญหานั้น ต้องไปดูเอา ก็เป็นเรื่องราวที่น่ารัก และน่าจดจำเหมือนเดิม
เช่นเดียวกัน หนังเรื่องนี้ก็ให้ทั้งพ่อ แม่ ลูก มามีความสุขในยุคนี้ ช่วงนี้ด้วยมั้ยครับ
ทุกวันนิ้พ่อแม่ลูก จะถูกแยกไปโดยพฤติกรรมทางสังคม ลูกมาถึง ก็มีโทรศัพท์เครื่องนึง แล้วก็นั่งสังคมก้มหน้าแชทกับเพื่อนต่างๆ หรือบางทีพ่อแม่ก็เอาด้วยเหมือนกัน ต่างคนต่างไป บางทีมันไม่มี moment ที่จะได้มาคุยกัน เพราะมันมีเรื่องราวที่เข้าสู่ชีวิตคนละเรื่องกัน ต่างคน ต่างคนละเรื่องกัน ตอนนี้ผมก็เลยมาคิดว่าตรงนี้ ถ้าเกิดพ่อแม่ลูกได้มาดูหนังด้วยกัน มันจะทำให้คน 2 รุ่น มีช่วงเวลาช่วงหนึ่ง ที่อย่างน้อยสุด ทิ้งโทรศัพท์ตรงนั้น แล้วก็มาดูอะไรที่เป็นเรื่องเดียวกัน พอดูเสร็จแล้วได้กลับคุยในเรื่องเดียวกัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้น ผมก็อยากจะบอกให้กับคนหนุ่มสาวในยุคนี้ว่า อยากจะให้นึกถึงวันที่พ่อแม่เขาพาเราไปดูหนังการ์ตูน เขาจูงมือเราไปที่โรงหนัง แล้วไปซื้อตั๋วดูหนังการ์ตูน รับรู้ไว้เถอะครับว่า บางทีเขาก็ไม่ได้อยากดูหนังการ์ตูนเลย แต่ที่เขาพาเราไปดู เขารู้ว่าเราดูแล้วสนุก เราดูแล้วจะมีความสุข
เพราะฉะนั้นวันนี้ ในวันที่เราโตมาแล้วเป็นหัวหน้าครอบครัว พ่อแม่อาจจะแก่เฒ่า ไม่สะดวกที่จะออกมาดูหนังด้วยตัวเอง เราจะจูงมือพ่อแม่มาดูหนังซักรอบ ผมว่ามันเป็นความสุข ผมว่าการที่จะมาดูหนังพร้อมหน้าพร้อมตา มันเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ มาดูหนังแล้วทุกคนจะมีมุมมองของตัวเองว่าชอบตรงไหนมากกว่ากัน พ่อแม่อาจจะบอกว่า รุ่นพ่อแม่เจ๋งกว่า หรือรุ่นลูกอาจจะบอกว่า พระเอก-นางเอก ภาคนี้เจ๋งกว่า พ่อแม่แก่แล้ว มันจะมีโมเมนต์ที่ทำให้หลังจากดูหนังแล้ว กลับได้มาคุยกัน มันมีโมเมนท์ที่บางทีดูในหนังที่หัวเราะไปแล้ว
แต่ผมบอกเลยว่า หนังเรื่องนี้จะเป็นเรื่องดูและหัวเราะแล้วไม่เลือนหายไปเลย หนังหลายๆ เรื่อง หัวเราะเสร็จก้ทิ้งไว้ตรงนั้นเลย แต่หนังเรื่องนี้ หัวเราะแล้วจะมีการเก็บกลับมาแล้วกลับมาคุยกันต่อว่า ใครขำมากกว่ากันในมุมตรงนี้ มันมีเรื่องราวต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ผมว่าถ้าพ่อแม่ไม่พร้อมที่จะออกไปดู ออกปากกับลูกเลย หนังเรื่องนี้เป็นหนังในดวงใจเลยนะ เรื่องนี้เราไปดูด้วยกันมั้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พอเราเติบโตมาเป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่ เราจะรู้ว่า การที่ได้ไปไหนกับลูก หรือทำอะไรกับลุก มันเป็นความสุขมาก ที่พ่อแม่โหยหา แค่ลูกโทรศัพท์มา ลุกมาเยี่ยม ลูกมาพาไปไหน เขาก็ดีใจ
ซึ่งถ้าเกิดเขาพาลูกไปดูหนัง ผมว่าเขาดีใจมากเลย อย่าว่าอย่างงู้นอย่างงี้เลย แค่ลูกโทรมาขอสตางค์ยังดีใจเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ ไปลองคิดดู ไม่มีหนังที่ support คนได้ 2 รุ่น เหมือนกับหนังเรื่องนี้มานานแล้ว แล้วก็คิดว่าอีกนานกว่าที่จะมีเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นอย่างนี้ ต้องเอาโอกาสนี้แหละ ที่จะได้ดูด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างชวน ไปกินข้าว หรือ ดูหนังซักรอบนึง แล้วเราจะรู้ว่ามันเป็นเวลาที่มีค่ามากกับชีวิต
ส่วนที่คนที่ไม่ทันวัยอลวนนั้น ผมมั่นใจว่า เขาจะได้ยินกิตติศัพท์ของหนังชุดนี้ จริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะไปดูหนังภาคแรกๆ อย่างเช่นว่า ถ้าวันนี้มีหนังเรื่องเจมทส์ บอนด์ ภาคใหม่ฉาย ผมว่าเด็กรุ่นนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะไปไล่ดูตั้งแต่ภาคแรก แต่กิตติศัพท์ของมันต่างหากที่ ถ้าคุณไม่ได้ไปดู คุณจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะฉะนั้น วัยอลวน มันเป็นเรื่องที่คนยุคคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยลืม เพราะฉะนั้น เด็กรุ่นนี้ก็ยังจะได้ยินกิตติศัพท์ของมัน แล้วผมว่า มันก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่ น่าจะเป็นข้อสงสัยว่า มันมีอะไรดีที่เดินทางกันมาถึงวันนี้ได้ 45 ปี ทำไมถึงยังมีคนเอากลับมาทำ และทำไมพ่อแม่ถึงนึกอยากจะดู อันนี้ต่างหากละครับที่เป็นเรื่องสำคัญ
แต่สาระสำคัญที่ทุกคนไปดูหนังเพื่ออะไร อย่างแรกที่สุด ไม่ต้องคิดเยอะลย ดูเพื่อความสุข คนเราทำอะไรทุกอย่างในชีวิต เพื่อความสุขทั้งนั้นเลย เมื่อทำเพื่อความสุขแล้ว ถ้าเผื่อตัวเองยังไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นยังไง แต่ถ้าพ่อแม่ดูหนังแล้วมีความสุข จะไปดูกับพ่อแม่ได้มั้ยล่ะ ผมว่าตรงนี้ต่างหากที่เป็นประเด้น ไม่อยากจะเซอร์ไพรส์พ่อแม่บ้างเหรอ ไปกินข้าวดูหนัง ไม่อยากที่จะแอบมองท่านดูหนังแล้วยิ้มเหรอ แล้วกลับมาแล้วเขาจะคุยด้วยความสุขว่า หนังในตอนนั้น มันยังมีซีนนั้นอยู่เลยนะ จำได้มั้ย ผมว่าตรงนี้ต่างหากที่มันมีคุณค่าต่อชีวิต วึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ ในการที่จะมีหนังที่ support ตรงนี้อย่างที่บอก
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ดรงค์ ฤทธิปัญญา