xs
xsm
sm
md
lg

เปิดพอร์ตทำความรู้จัก “ชาร์ต” คนรุ่นใหม่หนึ่งในคณะทำงาน “พรรคกล้า” ที่พร้อมเปลี่ยนการศึกษาไทย เท่าทันต่อโลกอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เชื่อว่าการศึกษาไทยในสมัยนี้ถูกมองได้หลายรูปแบบ ต้องมีความเท่าเทียมถึงจะไม่เกินปัญหา อย่างทำไมเด็กสมัยนี้ถึงเปรียบผู้ใหญ่สมัยนี้เป็น “ไดโนเสาร์” และเด็กในสมัยนี้ทำไมถึงได้เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น พร้อมที่จะหารายได้เองตั้งแต่ตอนเรียน เพราะสองยุคนี้ต่างคนละแบบต่างคนละสไตล์

ทีมข่าว MGR Online ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “ชาร์ต” หรือ “นายสืบศิษฏ์ ศานติศาสน์” เหลนของนายหรน เจริญมิน นักธุรกิจโรงสีข้าวชื่อดังของเมืองมีนบุรี จนตอนนี้กลายเป็นเขตมีนบุรีไปแล้ว และยังเป็นเหลนของพลเรือโท หลวงสมบูรณ์ยุทธวิชา แกเป็นอดีตทูตทหารที่ไปประจำอยู่ประเทศญี่ปุ่น ดีกรีนักเรียนทุน JASSO จากรัฐบาลญี่ปุ่น ของมหาวิทยาลัยโตเกียว และทุนShundoh International Scholarship จากภาคเอกชนญี่ปุ่น ผู้สนใจด้านระบบการศึกษาเป็นพิเศษ ปัจจุบันเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศของธนาคารญี่ปุ่นในประเทศไทย และยังมีธุรกิจส่วนตัวอีกหลายรูปแบบ และได้เข้าร่วมงานกับคณะทำงานการศึกษาของ “พรรคกล้า”


เริ่มต้นฟังคุณชาร์ตเล่าโปรไฟล์ของตนเอง

“สวัสดีครับ ผมชื่อชาร์ต นายสืบศิษฏ์ ศานติศาสน์ อายุ 33 ปี คุณพ่อคือ ศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ คุณพ่อเคยเป็นอาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ แต่ตอนนี้เกษียณแล้ว เป็นอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ แกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องความยากจนและการกระจายรายได้ ส่วนคุณแม่อร่ามศรี ศานติศาสน์ ตั้งแต่มีน้องก็ไม่ได้ทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่บ้าน ผมมีพี่น้องอยู่ 2 คน พี่ชายคือ ผศ.ดร.ศรัณย์ ศานติศาสน์ เป็นอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ส่วนน้องสาว ชื่ออิษฏ์สิรี ศานติศาสน์ ทำงานอยู่วงการแฟชั่นดีไซน์ ในฝั่งคุณพ่อผม ผมเป็นเหลนของในนายหรน เจริญมิน นักธุรกิจชื่อดังของเมืองมีนบุรี สมัยก่อนจะเป็นจังหวัดมีนบุรี ในตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นเขตมีนบุรีในปัจจุบัน คนในมีนบุรีจะรู้จักในนาม นายห้างหรน ธุรกิจโรงสีข้าว เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 บ้านหลังแรก ในฝั่งของคุณแม่ ผมเป็นเหลนของพลเรือตโท หลวงสมบูรณ์ยุทธวิชา แกเป็นอดีตทูตทหารที่ไปประจำอยู่ประเทศญี่ปุ่น ตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือจริงๆ พอผมจบที่ญี่ปุ่น ครอบครัวผมมีความสนิทสนมและผูกพันธ์กับญี่ปุ่น เกิน 100 ปี ตั้งแต่สมัยคุณทวด บ้านผมปลูกฝังเรื่องของการศึกษามาตลอดและเป็นสิ่งที่สำคัญ การศึกษาของผม โดยจริงๆ แล้วผมเกิดที่เมืองไทย พอครบ 1 ขวบ ก็ย้ายไปอยู่ที่ออสเตรเลีย เข้าไปเรียนที่ออสเตรเลียโรงเรียน Hughes School ที่ตอนนั้นไปอยู่เพราะพ่อไปเรียนต่อปริญญาเอกเลยไปอยู่ประมาณ 6 ปี พูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะพ่อกับแม่ใช้ภาษาอังกฤษ พอครบ 7 ขวบก็ย้ายกลับมาที่ไทย แล้วมาเรียนภาษาไทยประมาณครึ่งปี หลังจากนั้นก็เข้าเรียนที่สาธิตจุฬาฯ คุณพ่อเป็นอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เรียนที่สาธิตจุฬาฯ เรียนวิทย์-คณิต ตอน ป.4 ก็เรียนที่ญี่ปุ่นครี่งปี ตอนนั้นตามคุณพ่อไปเพราะพ่อเป็น Vlisiting Professor ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตที่ญี่ปุ่น ไปอยู่ประมาณครึ่งปี เป็นครั้งแรกที่เริ่มได้ไปอยู่ญี่ปุ่น”

“แล้วก็ไปเรียนโรงเรียนประถม เรียนเสร็จปุ๊บก็รู้สึกชอบระบบการศึกษาของญี่ปุ่น เพราะว่าเหมือนเขาไม่เน้นการเรียนในตำรา เน้นกิจกรรมนอกห้องเรียน อย่างเช่นเวลาเราเรียนวิชาสังคม แทนที่เราจะนั่งอ่านหนังสืออย่างเดียว ว่าสังคมเราเป็นอย่างไงบ้าง หลังครึ่งบ่ายหรือเลิกเรียนเขาจะให้เด็กไปลงพื้นที่ชุมชน ไปเดินดูว่ามีคนทำอาชีพอะไรบ้าง ก็คือเป็นการเน้นกิจกรรมนอกห้องเรียน พอได้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นก็ประทับใจ อย่างเช่นตอนเรากลับมาที่เมืองไทยเพื่อนๆ ก็ Farewell รู้สึกว่าชอบระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมีระเบียบ เด็กญี่ปุ่นไปเรียนเองตั้งแต่เล็กๆ เด็กอนุบาลก็เดินไปเอง มีระเบียบในการแยกขยะ เขาฝึกให้เด็กเซอร์วิสคนตั้งแต่เล็กๆ เวลาทานอาหารเที่ยงก็จะมีแม่บ้านคอยตักให้ใช่ไหมครับ แต่ที่ญี่ปุ่นเด็กก็จะผลัดเวียนกันเป็นพนักงานเสริฟ์ เหมือนฝึกให้เด็กเซอร์วิส เราเลยรู้สึกชอบและประทับใจ พอกลับมาอยู่เมืองไทย ตอนแรกอยู่ญี่ปุ่นครึ่งปี เราก็สอบเข้ามหาลัยเกษตรศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์ตอนแรกไปเรียนปริญญาตรี ระหว่างที่เราเรียนก็ฝึกงานเยอะมากเลย ไปฝึกสภาอุตสาหกรรม คือส่วนตัวชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เรารู้สึกว่าเรียน 4 ปี เราได้กระดาษ 1ใบ ก็เหมือนคนอื่นๆ ทำยังไงคนถึงต้องเลือกเรา ถ้าสมมุติผมจบไปผมได้กระดาษ 1 ใบ ไปยื่นกับบริษัท เราก็เลยหาความแตกต่าง เน้นกิจกรรมนอกห้องเรียนทำมาเรื่อยๆ”


สิ่งที่ทำให้คุณชาร์ตกลับไปญี่ปุ่นอีกเพราะ “คิดถึง”

“พอเรียนมาได้ถึงปี 3 เราคิดถึงญี่ปุ่น อยากกลับไปญี่ปุ่น ทางมหาลัยมีให้สอบชิงทุนไปเรียนที่ญี่ปุ่นประมาณ 1 ปี เป็นทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทุน Jasso แล้วก็ไปอยู่ที่มหาลัยซากะ สมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักซากะเลย เป็นมหาลัยทางใต้ชองญี่ปุ่น เป็นเมืองที่ค่อนข้างชนบท จริงๆ สมัยนี้คนไทยเริ่มรู้จักเพราะมีซีรีย์ทางไลน์ ชื่อ Stay saga เมื่อ 2-3 ปีก่อนออกมา คนต่างชาติจะไม่ค่อยรู้จักเพราะเป็นเมืองชนบท เหตุผลที่เลือกไป เพราะเราเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ถ้าเราไปเมืองใหญ่ๆ มองที่ไหนมันก็เหมือนกัน งั้นเราไปที่ชนบท เราอยากไปเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต ก็เลยไปที่ซากะ ไปอยู่ 1 ปี ได้เรียนรู้อะไรเยอะมากเพราะว่าด้วยความที่เขาเป็นสังคมชนบท คนก็ยังมีวิถีชีวิตชนบท ในเมืองเขาเห็นเราเป็นต่างชาติก็ทักทาย เราได้เห็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและสังคม การใช้มารยาทบนโต๊ะอาหาร การพูดคุยกับผู้ใหญ่ มารยาทระเบียบวินัยในชนบทค่อนข้างมีความญี่ปุ่นสูง ตอนนั้นก็ไปอยู่ 1 ปี เราก็กลับ ตอนที่ไปอยู่ที่นั้นมีเรื่องที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน คนญี่ปุ่นจะนิยมทำงานพาร์ทไทม์ระหว่างเรียน ถ้าสมมติไปถามเด็กที่ไปเรียนมหาลัยเธอเคยมีประสบการณ์ทำงานพาร์ทไทม์หรือเปล่า กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่าเคย วันหนึ่งเลิกเรียนก็ได้ชวนเพื่อนไปขี่จักรยาน ร้องคาราโอเกะ แต่เพื่อนบอกว่าต้องไปทำงานพิเศษ เลยรู้สึกว่าเราคนเดียวที่ไม่ทำอะไรเลย เราก็เลยได้ความรู้ว่า วัยรุ่นหาเวลานอกเวลาเรียนให้เป็นประโยชน์ เลยได้เริ่มมาทำงานพิเศษ ซึ่งตอนแรกตามสไตล์เด็กที่ไปเรียนต่างประเทศ ลองไปสมัครงานร้านอาหาร ล้างจาน เสริฟ์อาหาร แต่ว่าเราพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ก็เลยไม่มีใครรับ เลยลองมาในแนวส่วนตัว คือการสอน เลยได้งานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เป็นโรงเรียนเด็กประถมญี่ปุ่นแล้วก็เริ่มสอนเริ่มมีรายได้มีสอนภาษาไทยบ้างนิดหน่อย เป็นจุดเริ่มต้นที่เราเริ่มทำงานพิเศษ”

การสอนภาษาไทยของคุณชาร์ตในช่วงอยู่ที่ญี่ปุ่น และการเริ่มทำงานด้านธนาคาร

“เป็นการสอนให้คนญี่ปุ่นมีอายุนิดนึง ไม่ต้องอายุมากก็ได้ จะเป็นวัยทำงานที่ชอบเมืองไทยเยอะมาก หลายคนที่บินมาไทย มาสปา มาเที่ยวรีสอร์ท มีคนทำธุรกิจที่เมืองไทย คนแบบนี้จะอยากพูดภาษาไทย ก็จะสอนตามร้านกาแฟตัวต่อตัว 2-3 คน พอเรากลับมาเมืองไทยก็มาทำงาน ตอนจบได้เกียรตินิยมอันดับ 2 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วพอเราเรียนจบป.ตรี ตอนนั้นเราก็เข้ามาทำงาน เนื่องจากเราจบสายเศรษฐศาสตร์ก็มาทำงานที่ธนาคาร เป็นธนาคารญี่ปุ่นชื่อ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ จะเป็นแบงก์ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น เราก็จบเข้ามาเป็นสตาฟธรรมดา มาดูในเรื่อง E-Banking ทำงานมาได้สัก 2 ปี รู้สึกว่าต้องเรียนต่อปริญญาโท เหมือนค่านิยมมองว่าปริญญาตรีไม่พอ กลัวไม่ได้ขึ้นตำแหน่งสูงๆ ก็เลยไปเรียน ป.โท ตอนแรกว่าจะเรียนอังกฤษ เพราะว่าเรียน 1 ปีจบ บางคนรีบๆ ก็ 10 เดือนก็จบได้ รอใบรับปริญญาที่เมืองไทยเขาก็ส่งมาให้ เราก็ไม่อยากกวนที่บ้านเยอะเพราะว่าค่าใช้จ่ายสูง เพราะว่าอังกฤษถูกสุดแล้ว หรือจะไปเรียนออสเตรเลียเพราะว่าที่บ้านจบออสเตรเลีย หรือจะไปอเมริกาดี คิดไปคิดมารู้สึกว่าเฮ้ยถ้าเราไปเรียนที่พวกนี้ สุดท้ายเราก็ได้ภาษาอังกฤษกลับมา ซึ่งเราก็พอได้อยู่แล้ว คือเรารู้สึกว่าทุกวันนี้โลกสมัยนี้การพูดภาษาอังกฤษได้ทุกคนควรจะเป็น เพราะฉะนั้นพี่ก็เลยอยากสร้างความแตกต่าง ไปเรียนญี่ปุ่นมาก็ 2 ครั้งละ เราก็ไปญี่ปุ่นนั่นแหละ ภาษาจะได้แน่นด้วยแล้วเผื่อเราจะไปหาธุรกิจอะไรทำที่นั้นด้วย ก็เลยไปสมัครตอนนั้นคือลองเลย มหาลัยที่ยากที่สุดก็คือโตเกียว จริงๆ มหาลัยโตเกียวจะเป็นมหาลัยอันดับ 1ของญี่ปุ่น แล้วก็ในบางสาขาติดท๊อปเป็นอันดับ 1 ของเอเชียในบางสาขา ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็น Harvard เป็น Oxford ของเอเชีย เหตุผลเพราะว่ามันเป็นมหาลัยเก่าแก่คนญี่ปุ่นเชื่อว่าเข้ายากและจบยากมาก ถ้าเราเห็นพวกละครญี่ปุ่นหนังญี่ปุ่นจะมีบทเยอะมากว่าพระเอกอยากจะเข้ามหาลัยโตเกียวตั้งใจสอบเต็มที่มันก็เป็นอยู่ใน Culture เขา เราก็ลองสอบเพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้ทุนอะไร ปรากฏว่าสอบแล้วก็ได้เข้าได้ก็เป็นคณะความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็น 1 ในโครงการเขาเรียกว่าผู้นำนานาชาติของรัฐบาลญี่ปุ่นเป็น 1ในโปรเจกต์ แล้วก็พอเข้าไปเรียนที่นั้นเราก็รู้สึกว่าเกรงใจคุณพ่อคุณแม่ต้องส่งเงินให้เราทุกเดือน เราก็พยายามหาทุนสอบๆ แล้วก็ไม่ได้ จนสอบไป 20-30 ทุน แล้วก็ได้มา 2 ทุน เป็นทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Jasso และก็ทุน Shundoh International Scholarship แล้วก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่ที่จะส่งได้ เราก็ไปเรียนที่นั้นปริญญาโท 2 ปี แต่ว่าตอนที่ไปเรียนปริญญาโทรอบนี้เป็นจุดที่พีคที่สุดในชีวิต”


“เราได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เยอะมากก็คือที่ผมเคยบอกคือผมชอบทำอะไรนอกห้องเรียนใช่ไหมครับ ทีนี่ผมก็ลองลุยงานพิเศษทำตั้งแต่แจกใบปลิว แจกเสร็จก็สอนภาษาไทยสอนภาษาอังกฤษ ไม่พอไปเป็นนักภาคเขียน เพราะว่าในญี่ปุ่นจะมีบริษัทปกติสินค้าในญี่ปุ่นจะมีขายในเมืองไทยเยอะใช่ไหม ก็ต้องทำโฆษณาเป็นภาษาไทย เราก็ไปเป็นนักพากย์เสียง แล้วก็ไปทำงานวงการบันเทิงด้วย เหมือนทางรุ่นผมเขาแนะนำโมเดลลิ่งให้ เราก็ไปลองสมัครดู ปกติผมเป็นคนขี้อายมาก และก็รู้สึกว่าไหนไปเราไปอยู่นู้นแล้วอยากลองหาอะไรใหม่ๆ ทำที่แบบไม่เคยทำก็ลองไปสมัคร ปรากฏว่าฟลุกได้งานแรกคือเป็นงานถ่ายโฆษณาเครือข่ายมือถือ พอถ่ายเสร็จปุ๊บเราก็เริ่มได้ ปกติทีมงานเข้าจะบิ้วอารมณ์ให้ คอยสอนเราว่าต้องทำอะไรบ้าง ก็เลยทำแล้วติดลมแล้วก็ได้ถ่ายมิวสิควีดีโอของนักร้องเครือข่ายเพลงที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แล้วก็มีถ่ายละครสั้นหรือรายการทีวีในญี่ปุ่น เก็บเงินเรื่อยๆ จนเรียนจบปริญญาโท”


งานด้านอาสาและงานเขียนของคุณชาร์ต

“ที่นี้ระหว่างเรียนนอกจากงานของผมเป็นงานพิเศษแล้วก็ยังมีงานอาสาด้วย ตอนผมอยู่ญี่ปุ่นงานอาสาตอนนั้นเราเริ่มไปทำ ASEAN Youth Network in Japan คือเป็นองค์กรที่ร่วมเด็กอาเซียนที่อยู่ในญี่ปุ่นรวมกันมาทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น เพื่อที่จะมาช่วยเหลือคนอาเซียนที่อยู่ในญี่ปุ่น จัดหางาน จัดกีฬาสี แล้วก็มีงานอาสาอื่นๆ อีก อย่างเช่นตอนนั้นก็มีเพื่อนคนเนปาลเขาสนใจเรื่องการศึกษามากเขาอยากจะสร้างโรงเรียนคือเขามาจากชนกลุ่มน้อย เขาอยากจะสร้างโรงเรียนให้เด็กเรียนฟรี แต่ว่าเป็นโรงเรียนระบบญี่ปุ่น พอดีผมไม่มีรูป คือโรงเรียนนี้เด็กจะใส่ชุดเหมือนนักเรียนญี่ปุ่นเลยนะ ระดมทุนกันเพื่อสร้างโรงเรียน บางทีก็ไปช่วยเขาจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อระดมทุนมา ดีมากที่ตอนนี้เราสร้างไปได้แล้ว 2 หลัง มีเด็กเรียนมากกว่า 500 คน ในเนปาล แล้วก็ทุกวันนี้ผมยังเป็นที่ปรึกษาให้กับเขาอยู่ว่าเขาต้องการหาเงินทุน แล้วก็นอกจากนี้ยังไปเป็นยุวทูตของกระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นช่วยโปรโมตในเรื่องของซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) คือการโปรโมตวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น ละคร เกมส์ แอนิเมชัน หนัง ภาพยนตร์ ซึ่งเป็น 1 เรื่องที่ค่อนข้างเน้นเหมือนกัน เพราะว่าเป็นอะไรที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ถ้าให้เห็นภาพน้องต้องนึกถึงเกาหลี เกาหลีเป็นประเทศที่ทำซอฟต์เพาเวอร์ได้ดีมากๆ รู้ไหมว่าจริงๆ ซีรีย์เกาหลีมันแทรกอะไรไว้เยอะแยะมาก อย่างเช่นบางฉากพระเอกชวนนางเอกไปกินไก่ทอดกับเบียร์ บางฉากต้องมานั่งห่อข้าวปั้น หรือบางทีไปเที่ยวที่นู้นที่นี่ พาไปเดท คือจริงๆ แล้วทุกอย่างเขาแทรกซอฟต์เพาเวอร์ ไว้แล้ว เพื่อให้คนดูอินและอยากไปลอง อยากไปอยู่ที่นั่นบ้าง ซึ่งพอเราดูแล้วทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง คือสิ่งเหล่านี้มันสร้างรายได้ได้มหาศาลมาก อย่างเราเอาลงเน็ตฟิก ไม่ใช่แค่คนในประเทศดู คนทั่วโลกก็สามารถดูได้ ไม่ต้องเอาอะไรมาก สมมุติคนประเทศหนึ่งดู 200,000 คน 10 ประเทศ 2,000,000 คือ 1 คนสร้างรายได้เท่าไหร่ มูลค่าเยอะมาก นี่ก็คือเป็นซอฟต์เพาเวอร์ จริงๆ ประเทศไทยก็สามารถโปรโมตได้ อย่างเช่นมวยไทย อาหารไทย คือสิ่งเหล่านี้เราสามารถโปรโมตได้ผ่านสื่อต่างๆ ทำให้คนอื่นสนใจของไทยมากขึ้นได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมเป็นยุวทูตให้ญี่ปุ่น อันนั้นเป็นงานนอกห้องเรียน พอเรากลับมาที่เมืองไทยเราก็มาทำงานอยู่ในแบงก์ ญี่ปุ่นต่อแต่ในรอบนี้เราดูในส่วนของการพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเราช่วยเหลือเราจะเป็นที่ปรึกษาบริษัทตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ที่มีกิจการอยู่ทั่วโลก ช่วยเขาขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฐานการร่วมทุนหรือการควบรวมกิจการหรือเป็นการซื้อขาย อย่างเช่น สินค้าไทยเรารู้สึกว่าสินค้านี้มีศักยภาพเราก็ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เขา ทำให้เขาขยายไปได้ทั่วโลกไปขายที่จีนได้ที่อาหรับได้ญี่ปุ่นได้อะไรประมาณนี้ แล้วก็ในทางกลับกันธุรกิจต่างชาติเราจะเน้นในเรื่องของญี่ปุ่นอาเซียนและก็ไทยสินค้าญี่ปุ่นดีๆ ที่เราเคยไปเจอ มาเป็นที่ปรึกษาให้เขาแล้วก็เอามาลงในตลาดไทยมาขยายธุรกิจ ให้คำปรึกษาในการขยายธุรกิจ ซึ่งที่ผมทำมาก็ร่วมจะ 10 ปี”


“พอเราทำตรงนี้มาก็จะมีความเชี่ยวชาญเคยได้เป็นที่ปรึกษาในโครงการรัฐบาลญี่ปุ่นหรือโครงการของบริษัทญี่ปุ่นใหญ่ๆ เช่น มิตซูบิชิซึ่งเป็นบริษัทอันดับ 1 เราก็มีความถนัดในด้านนี้ ก็คือเป็นงานหลักที่ตอนนี้พี่ยังทำอยู่ ก็คือเป็นในเรื่องของการให้คำปรึกษาในการขยายธุรกิจต่างประเทศ ในขณะเดียวกันผมก็มีทำธุรกิจส่วนตัวบ้างก็มีธุรกิจอาหารเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น มีทำเป็นร้านซักรีด ซักแห้ง สปาสินค้าแบรนด์เนม เป็นธุรกิจของเราที่เราหารายได้เสริมด้วย ที่นี่พอเราได้มีโอกาสได้ไปสอนที่ญี่ปุ่นเราก็รู้สึกว่างานสอนเป็นอะไรที่เราชอบมาก เพราะเรารู้สึกว่าเราไปพูดอะไรไปเราเห็นความชอบในตัวเขา เราเห็นเขาอยากเป็นอะไร เป็นนู้นเป็นนี่ เราก็รู้สึกว่าในเรื่องการศึกษามันสำคัญมาก พอเรากลับมาปุ๊บเราก็เลยไปออกพ็อกเกตบุ๊ก ไปออกในเครือของแจ่มใส่ชื่อ “คู่มือพิชิตทุนเรียนต่อที่ญี่ปุ่น” ทุกวันนี้ก็ยังมีขาย เนื่องจากเราไปเรียนญี่ปุ่นมาหลายรอบมาก แล้วเราได้ไปทำงานพิเศษด้วยอย่างวันหนึ่งได้เงินต่อวันประมาณ 90,000 บาทสูงสุด เรารู้สึกว่าเรารู้วิธีในการหารายได้ในญี่ปุ่น เราเทคนิคในการได้ทุนเลยรวมทุกอย่างลงไปในพ็อกเกตบุ๊กนี้ ให้เด็กๆ ได้อ่านและเอาไปใช้ได้จริง พอเราออกเสร็จปุ๊บเราก็เริ่มไปเป็นวิทยากรอาจารย์พิเศษบ้าง อย่างเช่นปัญญาภิวัฒน์ มหาลัยธรรมศาสตร์แบบนี้ เราก็ไปเล่า เป็นงานด้านการศึกษาที่ผมได้ทำมาเรื่อยๆ”


การเข้าสู่งานด้านการเมืองของคุณชาร์ต และได้ร่วมงานกับคณะทำงานการศึกษาพรรคกล้า

“จนล่าสุดปีที่แล้วผมก็ได้มาร่วมงานกับพรรคกล้า โดยผมจะเป็นคณะทำงานการศึกษา ถามว่าเหตุผลทำไมผมถึงสนใจในเรื่องการศึกษา เวลาผมพูดกับใครว่าผมอยากทำงานการเมืองและสนใจการศึกษา หลายคนชอบบอกผมว่าไปจับทำไมการศึกษามันไม่ค่อยเห็นเป็นรูปธรรม เราทำอะไรแล้วคนไม่ค่อยเห็นภาพหรอกไม่ได้คะแนนหรอก แต่ผมรู้สึกว่าการศึกษานี่แหละจะเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดได้ คุณลองนึกภาพนักการเมืองทั่วไปเขาโฆษณาหาเสียงเขาจะบอกอะไร เดี๋ยวจะเพิ่มรายได้ขั้นต่ำเท่านี้นะ ประกันยางเท่านี้นะ ประกันข้าวเท่านี้นะ ฟังแล้วดูดีเพราะว่าเงินจะขึ้นเลยตอนเขาได้เป็นใช่ไหม แต่รู้ไหมจริงๆ การออกนโยบายเหล่านี้เป็นการเหมือนหลอกเด็กให้เรารู้สึกว่ามันดีแต่จริงๆ แล้ว มันคือการแค่เพิ่มนิดนึงในขณะที่คนอื่นก็ตอบโตได้ เหมือนกับว่าให้คุณอยู่ได้แบบพออยู่พอกัน แต่คุณลืมไปว่าการที่เรามีนโยบายการศึกษาดีๆ แต่คุณอาจจะเปลี่ยนชีวิตได้เลยอย่างเช่น อาจจะมีการได้ไปเที่ยวต่างประเทศได้ ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สะอาดขึ้น อยู่ในสังคมที่ดีขึ้น ซื้อรถได้ซื้ออะไรได้คือพี่มองว่าการมีความฝันเราอยากมีหน้าที่การงาน มีบ้าน มีธุรกิจส่วนตัว เราอยากขยายธุรกิจ มีรถ ทำไมความฝันอันนี้มันถึงจำกัดได้เฉพาะกลุ่มทำไมทุกคนไม่มีโอกาสฝัน ผมไปหาเสียงผมเจอคุยกับชาวบ้านหลายคนเขาบอกว่า อ๋อลุงก็ไม่คิดอะไรหรอกทุกวันนี้ตื่นมาก็กรีดยางและก็ให้ลูกกรีดยางต่อเราก็ทำอยู่แค่นี้พอ ผมก็ถามว่าไม่อยากไปเที่ยวต่างประเทศหรอครับ ลุงไม่อยากมีบ้านใหญ่ๆ อยู่กับลูกกับหลานบ้างหรอครับ หรือลุงไม่อยากมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรอครับ เขาก็บอกว่าลุงไม่กล้าหรอกมันห่างไกลเกินไป ผมเลยรู้สึกว่าทำไมความฝันที่เราจะยกระดับคุณภาพชีวิต ความฝันที่จะมีชีวิตที่ดีมันถึงกลายเป็นของของคนกลุ่มนึงเท่านั้น ทำไมทุกคนถึงไม่มีสิทธิ์ฝัน ฉะนั้น ผมก็เลยอยากทำการศึกษาให้ดีเพื่อที่ว่าเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างโอกาสให้ทุกคนพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะฝันได้เพราะว่าตัวผมเองก็เป็นคนที่มีความฝันตั้งแต่พี่เด็กๆ ผมอยากจะมีงานการที่ดีมีธุรกิจส่วนตัวพี่อยากให้พ่อแม่สบายอยากพาพ่อแม่ไปเที่ยวต่างประเทศอะไรแบบนี้ พี่ก็เลยรู้สึกว่าความฝันเหล่านี้มันไม่ควรที่จะอยู่แค่ในคนกลุ่มนึงเพราะทุกคนก็มีโอกาสที่จะฝันได้ แล้วก็ไม่ใช่แค่มีโอกาสที่จะฝันแต่เขามีโอกาสที่จะสามารถไปถึงจุดนั้นได้ก็คือเราต้องมีการศึกษาที่ดีเพื่อที่จะปูทางให้เขาสามารถไปถึงจุดนั้นได้”


มุมมองการศึกษาของคุณชาร์ต

“ทีนี้พอเรามาพูดเรื่องการศึกษาว่าในมุมของตัวผมเองหรือพรรคกล้าว่าเรามองเห็นอะไรบ้างเรามองเห็นรูป 3 หลัก 3 อย่างหลักๆ อย่างแรกก็คือเรามองว่าทุกวันนี้การศึกษาในเมืองไทยเป็นการศึกษาแบบ “ไขมันส่วนเกิน” เราต้องการ Lean Education ไขมันส่วนเกินนี้หมายความว่ายังไง หมายความว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเราได้เรียนกันอยู่มันตกยุคแล้วมันไม่ต้องเรียนแล้วมันไม่สามารถใช้ได้จริงมันเรียนเยอะเกินไป คุณเชื่อไหมครับว่าประเทศไทยในบางช่วงชั้นเรียนติดอันดับเป็นประเทศที่เรียนหนักที่สุดในโลก แต่การศึกษาคุณภาพดันท้ายอาเซียน เคยเห็นภาพนักเรียนไหมครับแบกกระเป๋าหนักมาก บางคนไม่พอเป็นลากกระเป๋า ตอนสมัยผมเด็กๆ ผมก็อยากได้นะตอนนั้นฮิตมาก ทุกคนต้องมีมันแพงนิดนึงแล้ว ผมก็เกรงใจพ่อแม่ผมรู้สึกว่ามันเรียนเยอะเกินไป คุณลองสังเกตสิว่าเดี๋ยวนี้มีคนเริ่มพูดแล้วเรียนไปไม่เห็นจะใช้อะไรได้ นี่เรียนไปทำไมผมเลยคิดว่าการเรียนของเรามันเป็นไขมันส่วนเกินอยู่ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดวิชาพลศึกษา 1 เทอมเรียน 1 กีฬาสมมุติ ม.1 เทอมต้นเรียนฟุตบอล ม.1 เทอมไปมาเล่นปิงปอง ม.2 เทอมต้นไปเรียนแบบ ม.2 เทอมปลายมาเรียนเทนนิส ม.3 เทอมต้นมาเรียนกระบี่กระบอง ม.3 เทอมปลายมาเรียนเปตอง สิ่งเหล่านี้มันดูเหมือนว่าเราเรียนหลากหลายแต่มันเกิดปัญหาตามมา 2 อย่าง อย่างแรกคือเด็กไม่เก่งสักอย่างหนึ่ง เรียนแป๊บๆ เลิกแล้วเด็กยังไม่ทันรู้ว่าเราไม่ชอบหรือชอบอะไรมันก็ไม่สามารถเป็นงานอดิเรกได้หรือการเป็นกีฬาของเขาได้ อย่างที่สองพ่อแม่มีภาระในด้านค่าใช้จ่าย เดี๋ยวเทอมนี้ต้องซื้อรองเท้าเตะฟุตบอลให้ เดี๋ยวอีกเทอมต้องซื้อไม้ปิงปองให้ อีกเทอมนึงต้องซื้อไม้แบด เราอาจจะมองว่าเป็นเงินที่ไม่มากแต่สำหรับหลายๆ คนถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมีผลกระทบเหมือนกัน อันนี้คือพี่อยากสมมุติง่ายๆ เลยว่าเปลี่ยนใหม่เลยเทอมนี้เรียนนั้น เทอมนี้เรียนนี่ เราอาจจะเปิดโอกาสให้อ่านเทอมแรกคุณ อยากจะลองเรียนอะไรตามที่คุณอยากจะเรียนลองเรียนดูคุณไม่ชอบก็ลองเปลี่ยนได้ แต่ถึงจุดนึงแล้วคุณต้องมีโอกาสมีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนอย่างเช่นสมมุติที่โรงเรียนแล้วเทอม 1 ผมลองเรียนบาสเทอม 2 ผมลองเรียนปิงปองพอดีผมชอบปิงปองมากเลยเพราะเทอม 2 ผมก็เลือกปิงปองอย่างเดียวเอาให้เก่งไปเลยเอาให้เป็นกีฬาได้เลย อันนี้คือเรื่องที่ 1 Lean Education เรื่องที่สองก็คือการอัปสกิลก็คือการเสริมทักษะแล้วก็เป็นทักษะที่เท่าทันต่อโลกอนาคตนะครับอย่างยกตัวอย่างเช่นตอนนี้เราอยู่ในยุคของสังคมดิจิตอลมันมีช่องทางในการมันมีสกิลอะไรใหม่ๆ มากมาย สกิลบางอย่างมันอาจจะไม่มีประโยชน์แล้วอย่างเช่นสมมุติว่าเครื่องพิมพ์ดีดอย่างบางคนอาจจะใช้น้อยลงแล้วแต่ในขณะเดียวกันมันมีสกิลอะไรใหม่ๆ เข้ามาเช่นการขายของออนไลน์ อย่างในประเทศจีนตอนนี้เขาเริ่มมีบรรจุวิชาการขายของออนไลน์โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบทเพื่ออะไรเพื่อที่ว่าเด็กเรียนจบแล้วจะรู้สึกว่าฉันไม่ต้องเข้าไปในเมืองใหญ่แล้วฉันเรียนขายของออนไลน์ฉันอาจจะรู้ได้ว่าในชนบทของฉันมีอะไรดีๆ บ้างที่สามารถนำมาขายของออนไลน์ได้และวิธีการขายนะครับที่จีนโรงเรียนในชนบทบางทีเขาก็จัดแข่งกันด้วยซ้ำ แข่งกันขายของออนไลน์ระหว่างโรงเรียนอันนี้คือเป็นสกิลที่เท่าทันต่อโลกอนาคตซึ่งจะเสริมเข้าไปในวิชาการเรียน เราต้องมาดูกันว่ามีอะไรที่เป็นสกิลที่เราควรจะมีหรือเด็กๆ มองว่าเฮ้ยสมัยนี้มันมีช่องทางการทำเงินเยอะแยะมากมาย อย่างเช่นเราอาจจะต้องรู้ในการถ่ายรูป สกิลในการถ่ายรูป และสกิลการถ่ายทำลงยูทูปเบอร์อะไรต่างๆ ซึ่งมันจะมีสกิลใหม่ๆ อะไรเกิดขึ้นเพิ่มเติมมากมาย”


“ในยุคนี้ควรที่จะได้รับการเข้าไปในระบบการศึกษาเพื่อให้เด็กๆ เท่าทันต่อโลกอนาคตแล้วจริงๆ ควรจะต้องล้ำสมัยขึ้นมาหน่อยนึงเหตุผลเพราะอะไรน้องอย่าลืมว่าการที่เราเป็นเด็กมัธยมตอนนี้นะก็คือเพื่อที่ว่าอีก 5 ปี 10 ปีแล้วออกมาทำงานแล้วออกไปทำธุรกิจใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นเราต้องมองให้มันก้าวหน้ากว่าในสเต็ปผ่านไป 5 ปี 10 ปีในสิ่งเหล่านี้มันอาจจะกลับไปแล้วก็ได้เราก็อาจจะมองว่าอะไรที่มันจำเป็นต่อเด็กในอนาคตให้มันเป็นการศึกษาที่เท่าทันต่อโลกอนาคตแล้ว ข้อที่ 3 “การศึกษาต้องสร้างงานสร้างรายได้” อันนี้เป็นจุดสำคัญมากทุกวันนี้เรามีปัญหาในเยาวชนเกิดการโต้เถียงกันมากมายว่าเด็กมองผู้ใหญ่เป็นไดโนเสาร์ ถามว่าเด็กทำไมถึงมองผู้ใหญ่เป็นไดโนเสาร์ เพราะว่าการหาเงินในยุคของเขามันต่างกัน มันไม่เหมือนกับสมัยพวกเราแล้วที่ว่าทุกวันนี้ บางคนยังเรียนไม่จบแต่สามารถหาเงินได้เยอะมาก ลงทุนไปนิดหน่อยบางคนไม่ทันเข้ามหาลัยแต่มี Facebook Influencer เป็นยูทูปเบอร์สร้างรายได้มากมายในเวลาสั้น แต่สูงกว่าผู้ใหญ่ที่ทำงานทั้งเดือน แล้วคุณคิดดูว่าเขาจะมาเชื่อผู้ใหญ่ได้ยังไงเขาก็ต้องมาเป็นไดโนเสาร์สิ เพราะเขารู้สึกว่าการหารายได้ในโลกยุคของเขาต่างจากในสมัยของผู้ใหญ่แล้ว เพราะฉะนั้นการศึกษาเราต้องปรับใหม่เป็นการศึกษาที่เขาเรียนและความรู้สึกว่า เฮ้ยไอ้สิ่งที่เรียนมามันมีประโยชน์นะมันใช้ได้จริงเอาไปทำงานบริษัทใหญ่ๆ ก็ได้หรือว่าจะมาทำธุรกิจส่วนตัวก็ได้อะไรประมาณนี้ คือถ้าเมื่อไหร่ที่เราปรับตรงนี้ได้นะพี่เชื่อว่าปัญหาของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่ามันจะน้อยลงแน่นอนพี่ก็เลยมองว่าโอเคผมอาจจะเรียกตัวเองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ได้เต็มปากเพราะว่าผมก็ 33 แล้วแต่แต่ผมรู้สึกว่าอายุที่ผมอยู่ตรงกลางระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนเก่าและเราสามารถเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าได้ดีก็เลยอยากที่จะสานและมาช่วยเหลือตรงนี้ด้วยเพราะว่าจริงๆ แล้วคนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน มีจุดแข็งจุดอ่อนต่างกันคนรุ่นใหม่อาจจะมีไอเดียใหม่ๆ อาจจะมีข่าวสารใหม่ๆ มีสกิลใหม่ๆ แต่คนรุ่นเก่าเขามีประสบการณ์ที่ผ่านมาซึ่งต่างๆ ก็ต้องสะสมมาด้วยเวลาด้วยอายุใช่ไหมครับ สิ่งเหล่านี้เมื่อมารวมด้วยกันมันจะเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดและผมมองว่ามันเป็นอะไรที่จะทำให้เติบโตได้ค่อนข้างดี”
เรื่องความเท่าเทียมในโรงเรียนหรือการศึกษาในมุมมองของคุณชาร์ต

“คือทุกวันนี้พอเราพูดเรื่องการศึกษาที่ดีมันต้องมาด้วยความเท่าเทียมด้วย ไม่งั้นมันจะเกิดปัญหา คุณจะเห็นว่าเด็กๆ จากทั่วประเทศไทยกูกันมาสอบโรงเรียนในกรุงเทพฯ สุดท้ายก็มาเจอรถติดต้องเกิดปัญหาห่างไกลครอบครัวความสัมพันธ์ครอบครัวก็แย่ลง ทำไมเขาถึงต้องเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเขารู้สึกว่าโรงเรียนที่อยู่รอบๆ ตัวเขามันไม่ดีพอ ในประเทศที่มีการศึกษาดีๆ อย่างเช่น ฟินแลนด์เขาให้เรียนโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านที่สุดเพราะเขามองว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนโดยเฉพาะผู้สอนให้เท่าเทียมกันให้มากที่สุด มันอาจจะทำได้ไม่มากเท่า 100 เปอร์เซ็นต์หรอก แต่เราต้องทำให้มากที่สุด มันอาจจะคือสมัยก่อนมันอาจมีอุปสรรคเพราะพื้นที่ห่างไกลไปไม่ถึงเราอาจจะส่งคนที่มีคุณภาพไปไม่ได้แต่ว่าเราอย่าลืมว่าทุกวันนี้มันมีการออนไลน์เข้ามาช่วย บางอย่างเราอาจจะใช้อาจารย์ในพื้นที่ได้บางอย่างเราอาจจะต้องการเสริมแล้วก็สอนออนไลน์ก็ได้ทุกวันนี้ไม่ว่าจะไปนั่งอยู่ที่ไหนตรงไหนบนภูเขาก็สามารถเรียนได้เหมือนกันและสามารถเข้าถึงการศึกษาใน level เดียวกันได้ นี่ก็คือหนึ่งคือเสริมเอาเรื่องการศึกษาออนไลน์เข้ามาเสริมด้วย ในขณะเดียวกันพัฒนาคุณภาพบุคลากรในโรงเรียนหรือพื้นที่ห่างไกล แล้วก็อย่างที่ 3 ก็คือเราจะต้องส่งเสริมให้คนที่มีศักยภาพไปทำงานคืนสังคมในสังคมบ้างอย่างเช่น ผมยกตัวอย่างนโยบายอันหนึ่งของท่านนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นซึ่งค่อนข้างดีมาก ก็คือเขาก็มองเห็นปัญหานี้แหละทุกคนที่เป็นระดับมันสมองเก่งๆ เขาก็มาทำงานในเมืองทำงานบริษัทใหญ่ๆ ชนบทก็ถูกทิ้ง เพราะว่าอาจจะด้วยรายได้ด้วยพื้นที่ความเป็นอยู่คนก็ไม่อยากไปเขาก็นึกโครงการขึ้นมา 1 โครงการ เป็นการดึงเยาวชนระดับมันสมองกลับไปทำงานชนบท เขามีการสอบคัดเลือกเลยคัดแต่คนเก่งๆ แล้วก็ให้งบประมาณมา 1 ก้อน อย่างเช่นผมไปอยู่จังหวัดนี้ของญี่ปุ่นให้งบประมาณอันนี้ไปพัฒนาพื้นที่ตรงนี้เลยโดยไอเดียของผมเลย และเขาก็จะมีที่ปรึกษาช่วยเหลือผมยกตัวอย่างเพื่อนคนนึงเขาไปอยู่ในจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภูเขาเขาก็เป็นระดับท๊อปๆ ของมหาลัยโตเกียวเลยเก่งมากได้เป็นตัวแทนของโครงการของนายกรัฐมนตรีอาเบะส่งไปอยู่ที่นั่นเขาก็มีไอเดียอะไรใหม่ๆ เต็มเลยทุกวันนี้เขาโปรโมตหมู่บ้านให้กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้แล้วก็เอาสินค้าชุมชนมาขายไปทั่วญี่ปุ่น สร้างรายได้แล้วก็พัฒนาโรงเรียนให้ดีขึ้นให้ระบบการสอนอะไรต่างๆคือสิ่งเหล่านี้มันต้องทำควบคู่กัน 1 ส่งเสริมให้คนที่มีศักยภาพคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียใหม่ๆ ความคิดดีๆ ส่งไปทำงานที่บ้านเกิดตัวเองนะครับส่งไปพัฒนาชุมชนโดยอาจจะมีรายได้ที่ดึงดูดใจหรืออาจจะให้อำนาจในการตัดสินใจในขณะนี้ก็ออนไลน์เข้ามาเสริมแล้วก็ในขณะนั้นก็พัฒนาบุคลากรคือเราต้องทำสองสามอย่างนี้ควบคู่กันไปน่าจะได้ผลประโยชน์สูงสุด”


ความร่วมมือของคุณชาร์ตและเพื่อนก่อตั้ง องค์กรยุวชนอาเซียน (ASEAN Youth Organization)

“ผมลืมอีกอย่างหนึ่งคือตอนที่ผมกลับมาเมืองไทยใหม่ๆ เราก็มีเพื่อนๆ จากประเทศอาเซียน อาเซียนกำลังบูมแล้วเราก็เป็นคนชอบกิจกรรมเยาวชน เราก็ได้ร่วมกับเพื่อนๆ อาเซียน 10 ประเทศ ก่อตั้งองค์กรยุวชนอาเซียนขึ้นมานะครับทุกวันนี้จดทะเบียนอยู่ที่อินโดนีเซีย แล้วตอนนี้ใหญ่โตมากกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดของเยาวชนในภูมิภาคอาเซียนแล้วก็ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดยสำนักเลขาธิการอาเซียนด้วยชื่อ ASEAN Youth Organization ซึ่งเราจะทำกิจกรรมโปรโมตวัฒนธรรมอาเซียนและความร่วมมือระหว่างเยาวชนในอาเซียนโดยบางทีก็จะมีการจัดทริปไปดูงานบางทีมีการจัดเสวนาต่างๆ ให้โปรโมตให้เยาวชนในอาเซียนรู้จักกันมากยิ่งขึ้น

“วันนี้กลายเป็นองค์กรที่ใหญ่มากเลยครับแล้วก็เรามีเครือข่ายอยู่ในทุกประเทศในอาเซียน อย่างเช่นในเมืองไทยก็จะมี ASEAN Youth Organization Thailand ซึ่งผมเคยเป็นประธานมาก่อนแต่ตอนนี้เราเริ่มจะโตแล้วเราก็ไม่ได้เข้าไปทำเท่าไหร่ แต่ในประเทศแต่ละประเทศเขาก็จะมีสำนักยุวชนอาเซียนทุกประเทศ สมาชิกที่เรามีตอนนี้ในเฟซบุ๊กเครือข่ายเรามีค่อนข้างเยอะ และเกือบทุกประเทศในอาเซียนมีกิจกรรมอยู่เรื่อยๆ ผมจำไม่ได้แล้วว่ากี่แสนคน คือเรามาจับกันตอนที่อาเซียนกำลังบูมพอดี ตอนนี้มีอยู่สองแสนเกือบสามแสนแล้ว บ้านผมเราจะเน้นในเรื่องของการศึกษามากในสมัยคุณปู่คุณย่าของผม ก็ทำธุรกิจกันก็มีล้มลุกคลุกคลานบ้างแต่ว่าไม่ว่าเราจะอยู่ในจุดที่เราสูงสุดหรือต่ำสุดก็ตาม สิ่งที่เราพยายามไม่ขาดเลยคือในเรื่องของการศึกษาเพราะ “การศึกษาสร้างโอกาส พัฒนาชีวิต” ซึ่งเราเน้นย้ำมากตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่าผมก็คือในช่วงที่ธุรกิจเรามีปัญหาแล้วก็อย่างประหยัดในส่วนอื่นแล้วก็พยายามที่จะมาให้ลูกทุกคนได้เรียนนะครับ ในส่วนของบ้านผมเองก็มีคุณพ่อที่เป็นคนที่มีรายได้หลักเพราะคุณแม่ของผมก็ไม่ได้ทำงานหลังจากที่มีน้องแล้วก็เลี้ยงลูก 3 คนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแต่ว่าคุณพ่อผมก็ทำงานหนักมากแล้วก็ส่งลูกเรียนต่างประเทศทั้งสามคนก็เลยอยากจะเน้นนึกถึงว่าเป็นสิ่งที่เราเน้นย้ำมากในเรื่องของการศึกษาเพราะเรามองว่าในระยะยาวมันต่อยอดอะไรได้หลายๆ อย่าง และมันก็ทำให้เราสามารถไปเร็วกว่าคนอื่นได้”


ในอนาคตยังมีการพัฒนาหรือต่อยอดในธุรกิจของคุณชาร์ต

“ส่วนของธุรกิจผม ผมรู้สึกว่าจริงๆ ผมเป็นคนสนใจในเรื่องเงินค่อนข้างน้อยมาก การที่เราทำธุรกิจคือเพื่อให้เรามีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ เพื่อที่เราจะทำในสิ่งที่เราอยากทำ ซึ่งจริงๆ งานที่ผมทำคือเป็นการสอนคือเรารู้สึกว่าเราไปอยู่ต่างประเทศมานานแล้ว เราก็มีโอกาสได้เห็นของดีประเทศโน้นประเทศนี้จริงๆ จุดประเด็นสิ่งที่จุดประกายให้ผมอยากทำงานการเมือง คือตอนนั้นผมกลับมาจากเมืองไทยใหม่ๆ แล้วก็มีการนัดรวมระหว่างเพื่อนๆ ที่จบญี่ปุ่นมาด้วยกัน แต่ละคนก็จะบ่นและว่าทำไมเมืองไทยรถไฟแย่จัง ทำไมรถบัสมันเก่าจังทำไมสกปรกจัง ทำไมคนมารยาทไม่เหมือนที่ญี่ปุ่นไม่เคารพกฎเกณฑ์เลยอะไรอย่างนี้ แต่ทุกคนก็ไปทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นไปทำงานอยู่ที่อื่นพูดอย่างเดียวแต่คนที่เป็นระดับมันสมองกลับไม่ได้ทำอะไรให้กับประเทศเลยพี่ก็เลยรู้สึกว่าเราไม่อยากให้รู้สึกแบบนี้พูดอย่างเดียวต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานเราไปมันก็เหมือนเดิมเพราะเราก็แค่พูดสุดท้ายเราก็ทำงานให้คนอื่น ผมรู้สึกว่ามันเรานี่แหละต้องลงมือทำ เพื่อที่ว่ามันจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตอนผมอยู่ญี่ปุ่นผมมีโอกาสได้ไปคุยกับทางภรรยาท่านนายกรัฐมนตรีอาเบะ แกก็บอกว่าการที่ญี่ปุ่นให้ทุนเขาไม่ต้องการให้คุณมาเรียนจบแล้วก็ทำงาน แต่เขาต้องการให้คุณเป็นสะพานเชื่อมระหว่างไทยญี่ปุ่น ต่อด้วยหลังจากที่เราเรียนจบแล้ว 2 อย่างนี้มันก็เลยมาจุดประกายให้เรารู้สึกว่าเราอยากทำงานการเมืองเพราะว่าเราอยากเอาประสบการณ์ที่เราเจอมาเชื่อมประโยชน์ให้กับคนอื่นอีก”

ท้ายนี้สำหรับผู้สนใจสามารถติดตาม คุณชาร์ต สืบศิษฏ์ ศานติศาสน์ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก สืบศิษฏ์ ศานติศาสน์ - Suebsit Sarntisart


กำลังโหลดความคิดเห็น