xs
xsm
sm
md
lg

งามสมบรมราชินี พระราชินี กับฉลองพระองค์ชุดกี่เพ้าในเทศกาลตรุษจีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เนื่องในเทศกาลวันตรุษจีนอันเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวจีนทั่วโลกรวมถึงชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยึดถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ดังนั้นจึงจะเห็นชายไทยเชื้อสายจีนแต่กายด้วยเสื้อสีแดงและสาวชาวไทยเชื้อสายจีนแต่งกายด้วยชุดกี่เพ้าอันเป็นชุดเครื่องแต่งกายสำหรับสตรีชาวจีน มีลักษณะเหมือนเสื้อ มีชายเสื้อยาวปกคลุมท่อนขา ขนาดพอดีตัว ด้านข้างมีตะเข็บผ่าเพื่อให้ก้าวขาได้สะดวก

และเมื่อค่ำคืนของวันที่ 12 ก.พ.64 เวลา 21.08 น. อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน พุทธศักราช 2564 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจึงได้ชื่นชมพระบารมีและพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดกี่เพ้าสีแดง อันเป็นสีมงคลของชาวจีน

โดยก่อนหน้านี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เคยฉลองพระองค์ชุดกี่เพ้า ปักจักรลายดอกท้อ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินยังถนนเยาวราชมาแล้วเมื่อปีที่แล้ว

กี่เพ้า ในภาษาจีนเรียกว่า "ฉีผาว" (旗袍) เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับสตรีชาวจีน มีลักษณะเหมือนเสื้อ มีชายเสื้อยาวปกคลุมท่อนขา ขนาดพอดีตัว ด้านข้างมีตะเข็บผ่าเพื่อให้ก้าวขาได้สะดวก รูปแบบของฉีผาวในปัจจุบัน ได้รับการปรับปรุงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้มีรูปทรงแนบกับสรีระ เพื่อเน้นทรวดทรงของผู้สวมใส่ เป็นแฟชั่นที่นิยมในสังคมคนชั้นสูงของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการดัดแปลงให้ชายฉีผาวสั้นลง ปรับปรุงแบบคอปก และเนื้อผ้าแบบต่างๆ

ฉีผาว เป็นเครื่องแต่งกายของหญิงแมนจูในยุคราชวงศ์ชิงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาจากคำว่า ฉี (旗, ธง) และ ผาว (袍, เสื้อ) ในปี ค.ศ. 1636 ผู้ปกครองจีนในขณะนั้นได้ออกกฎหมายบังคับให้ทุกคน รวมทั้งชาวฮั่นให้แต่งกายและตัดผมแบบแมนจู ในภาษาอังกฤษเรียกเครื่องแต่งกายแบบนี้ว่า Cheongsam มาจากเสียงอ่าน chèuhngsàam ในสำเนียงกวางตุ้ง ของศัพท์เซี่ยงไฮ้คำว่า zǎnze (長衫, 'long shirt/dress') และเรียกเครื่องแต่งกายในลักษณะเดียวกัน สำหรับเพศชายว่า Changshan (長衫; Chángshān) ฉีผาวหรือกี่เพ้าเป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิง กี่เพ้าเป็นเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่างๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน กี่เพ้าเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน

หากดูตามความหมายของตัวอักษรจีน ฉีผาวหรือกี่เพ้านั้นโดยมากมักหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาว เมื่อผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง จึงได้มีการตีความหมายจากตัวอักษรคำว่าฉีผาวว่าหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาวที่ชาวกองธงทั้งชายและหญิงสวมใส่ ("ฉี" แปลว่า ธง "ผาว" แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาว) แต่ชุดกี่เพ้าในยุคต่อมานั้นพัฒนามาจากชุดเสื้อคลุมยาวที่หญิงชาวแปดกองธงสวมใส่ ต่อมาหญิงชาวฮั่นได้แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวแมนจู ในทางกลับกันหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวมองโกลก็แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวฮั่นเช่นกัน การเลียนแบบกันไปมาทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างการแต่งกายของหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวฮั่น การแต่งกายของหญิงสองชนชาติจึงคล้ายคลึงกันมากขึ้นตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นกลายชุดกี่เพ้ายุคแรกที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศจีน ต่อมาเมื่อเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศจีน ก็ได้มีการดัดแปลงชุดกี่เพ้าให้เข้ากับลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตกกลายเป็นชุดกี่เพ้าแบบใหม่ที่เรียบง่ายและแพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น

กี่เพ้า ที่เราเรียกกันติดปากนี้ อ่านออกเสียงในภาษาจีนกลางว่า qípáo (ฉีผาว) หรือ "Cheongsam" ออกเสียงสำเนียงกวางตุ้ง เป็นเดรสชิ้นเดียว สำหรับผู้หญิง ส่วนใหญ่ผลิตจากผ้าไหม ลักษณะของ กี่เพ้า จะรัดตรงทั้งตัว ตั้งแต่ส่วนบนถึงส่วนล่าง หรือ อาจจะบานลงส่วนปลายเล็กน้อย คล้ายๆรูปตัว A และผ่าด้านข้าง เพื่อความสะดวก นอกจาก กี่เพ้า สำหรับผู้หญิงแล้ว ยังมี Changshan ซึ่งใช้สำหรับผู้ชายอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก Hermajestyqueen_suthida(Fanpage)










กำลังโหลดความคิดเห็น