xs
xsm
sm
md
lg

บทสรุปหนุ่มซื้อรถป้ายแดง แต่ได้รถ Test Drive โชว์รูมขอโทษพร้อมรับซื้อคืนเป็นเงินเต็มจำนวน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กลายเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ กรณีหนุ่มซื้อรถยนต์ป้ายแดงมาจากศูนย์จำหน่ายรถด้วยราคาเงินสด 7 แสนบาท กลับได้รถ Test Drive ต่อมา ทางโชว์รูมขอโทษพร้อมรับซื้อคืนเป็นเงินเต็มจำนวน

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Thapapong Trs” เผยคลิปวิดีโอ โดยระบุว่า ตนเองซื้อรถยนต์ป้ายแดงมาจากศูนย์จำหน่ายรถด้วยราคาเงินสด 7 แสนบาท จากนั้นได้นำรถคันใหม่ไปล้าง แต่ปรากฏว่า พบร่องรอยจากสติกเกอร์คำว่า “Test Drive” จึงทำให้ตนเองคิดว่ารถยนต์คันดังกล่าวอาจจะไม่ใช่มือหนึ่งป้ายแดงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตนเองได้ติดต่อทนายความเรียบร้อยแล้ว

อ่านข่าวประกอบ - ย้อมแมว? หนุ่มงงซื้อรถป้ายแดงเกือบล้านได้รถ Test Drive หลังนำไปล้างแล้วรอยสติกเกอร์โผล่

ล่าสุด เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวได้ออกมาโพสต์รายงานเพิ่มเติมถึงกรณีที่เกิดขึ้น ระบุว่า “บทสรุปของเรื่องรถนั้น
1.ทางนิติกรรมและกฎหมาย
2. แนวทางการดำเนินการทางกฎหมายในกรณีคล้ายเคสแบบนี้
3. ผลสรุป

มีดังนี้ ..
(1) เมื่อเราพบความผิดปกติของตัวสินค้าและเป็นความผิดของผู้ค้า เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ารับผิดชอบ อย่างชอบธรรมตามสมควรและต้องเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าด้วย หากผู้ค้าไม่รับยอมผิดชอบหรือปฏิเสธความผิดพลาดนั้น เรามีสิทธิเรียกร้องด้วยการขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง แต่การใช้สิทธิทางศาลนั้น จะต้องใช้เวลาและผลลัพธ์ก็คือการชี้ถูกผิดและชดใช้เป็นตัวเงิน ซึ่งก็ไม่ต่างกับการที่ผู้ค้ายอมชดใช้ก่อนยื่นฟ้องศาล

(2) ในกรณีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดปัญหานั้นคือเรื่องจริง เลขไมล์ก็อาจจะแก้ไขได้ ระบบภายในก็อาจจะแก้ไขได้ เอกสารก็ยังสามารถแก้ไขได้ ถ้าวันที่เราไปซื้อรถแล้วไม่มีรถใหม่ให้เรา ก็ต้องสั่งจองไว้ เช่น สั่งจองเป็นวันที่ 3 แล้ว รับรถวันที่ 20 หมายความว่า รถใหม่ของเราจะต้องมาขนส่งภายในวันที่ 3-20 จะเป็นวันที่ก่อนวันที่ 3 ไม่ได้ แต่ก็อย่างที่กล่าวไว้ว่าเอกชนอาจจะแก้ไขเอกสารก็ได้แล้วทำไงดีหล่ะ
เวลาการมีขนส่งรถใหม่ไปยังศูนย์ตัวแทนจำหน่ายจะต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น เมื่อมีการร้องทุกข์หรือยื่นฟ้องให้ขอเอกสารตรงนี้มาประกอบด้วยว่าความจริงรถคันนี้มีการขนส่งมาจากไหนถึงไหนและเมื่อไหร่

(3) เรื่องนี้จบอย่างนี้ ก่อนโพสต์เรื่องราวนี้ เราได้มีการยื่นเรียกร้องและข้อเสนอกัน แต่ไม่เป็นผล จึงได้ร้องทุกข์ไว้และเตรียมฟ้องร้องทางแพ่ง จนมาเป็นข่าวและโชว์รูมยอมรับข้อเสนอหนึ่งอย่างคือการรับซื้อคืนเป็นเงินเต็มจำนวน แต่ทางเราเห็นว่าเมื่อทางผู้ค้าไม่รับข้อเสนอแต่แรกและเกิดความไม่พอใจบางอย่างเกี่ยวกับการบริการจึงตัดสินว่าจะยื่นฟ้องทางแพ่งแน่นอน แต่พอมาถึงจุดที่พร้อมยื่นฟ้องแล้ว ก็จัดให้มีการยื่นข้อเสนอไป 3 ข้อ
เพราะ
1. ผลลัพธ์ของการฟ้องคือเรียกให้รับผิดชอบและใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่จะต้องใช้เวลานานยิ่งช่วงโควิดด้วยจะนานไปใหญ่ จึงเห็นว่าถ้าผู้ค้ารับข้อเสนอได้ก็จะไม่เสียเวลาฟ้อง
2. เราเห็นว่าปัจจุบัน ทางตัวแทนจำหน่ายก็ได้รับผลในความผิดพลาดครั้งนี้แล้วจากกระแสประชาชนที่ให้ความสนใจ
3. เราได้ยื่นข้อเสนอไปว่า
ข้อหนึ่ง ขายรถคืนเต็มจำนวนที่ซื้อมา
ข้อสอง การเรียกค่าสินไหมทดแทน
ข้อสาม การแถลงข่าวร่วมกันในความผิดพลาดของโชว์รูม
แต่ทางโชว์รูมรับข้อเสนอเพียงข้อสองแรก โดยข้อที่สามทางโชว์รูมไม่ขอร่วมแถลงข่าว แต่ให้ลูกค้าแถลงหรือพูดออกสู่สาธารณชนได้ หากใครสงสัยอะไรให้ไปถามทางโชว์รูมเอง

4. ทางโชว์รูมได้ออกมายอมรับความผิดพลาดและขอโทษต่อเหตุการณ์นี้ และสัญญาว่าจะกลับไปแก้ไขให้เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทั้งนี้ ทางเราอย่างจะบอกว่า รถของซูซูกิเป็นรถที่ดียี่ห้อหนึ่ง แต่มันเกิดความผิดพลาดภายในของโชว์รูม ทางเราหวังว่าโชว์รูมจะจัดการกับบุคคลที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในครั้งนี้และกลับมาเป็นตัวแทนจำหน่ายที่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอีกครั้งหนึ่ง
จริงๆ มันไม่ใช่ความผิดของโชว์รูมหรือแบรนด์รถยนต์หรอก แต่มันเกิดจากคนที่ทำให้เสียหาย จบได้ตามที่คาดหวัง .. ไม่ต้องเสียเวลาขึ้นศาล เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”



กำลังโหลดความคิดเห็น