กรมการแพทย์ โพสต์ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ประชาชนมั่นใจถึงความปลอดภัย และเผยความต่างถึงแนวทางการจัดตั้ง Hospitel และโรงพยาบาลสนาม เพื่อรับมือการกระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่
เมื่อวันที่ 3 ม.ค.เพจ “กรมการแพทย์” ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนถึงแนวทางการจัดตั้ง Hospitel และโรงพยาบาลสนาม เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ประชาชนมั่นใจถึงความปลอดภัยทั้งผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และชุมชน
โดยมีข้อแตกต่างดังนี้
หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel)
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และมีผลภาพถ่ายรังสีปอดคงที่
- ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่องดูแลตนเองได้ดี ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
- ผู้ป่วยไม่มีไข้ กรณีมีโรคประจำตัวต้องควบคุมอาการได้ดี
- ต้องจัดยาให้พร้อม สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตนเองจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
- โรงพยาบาลต้นทางต้องยินดีรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลหากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง
โรงพยาบาลสนามหรือ Field hospital หรือ cohort center
- เป็นการจัดตั้งที่พัก สำหรับการสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย
หรือไม่มีอาการ ในพื้นที่ที่มีการควบคุม
- จะต้องมีการคัดกรอง ไม่รับกลุ่มที่มีอาการ หรือมีความเสี่ยง รวมถึงระบบส่งต่อกรณีที่ต้องการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
- มีระบบดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และระบบสำคัญๆ ของ รพ. โดยเฉพาะระบบการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการระบาด สู่บุคคลภายนอกและชุมชน
ทั้งนี้ Hospitel (ฮอสพิทัล) มาจากคำว่า Hospital บวกกับ Hotel คือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง โดยปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
คลิกโพสต์ต้นฉบับ