มีการเปิดเผยเอกสารรายชื่อ 85 องค์กร ที่เรียกร้องให้ร่วมหยุดความรุนแรงจากสื่อออนไลน์เพื่อการเล่นเกม ทำชาวเน็ตสงสัยว่าองค์กรต่างๆ เป็นใครมาจากไหน จึงได้รวบรวมรายชื่อทั้ง 85 องค์กรมาเปิดเผย พบว่า มีจำนวนมากที่ไม่เคยได้ยินชื่อ จึงเกิดคำถามว่า องค์กรดังกล่าวมีอำนาจในการผลักดันร่างกฎหมายมากน้อยแค่ไหน
จากกรณี ชาวเกมเมอร์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ หลัง “พี่แว่น” นายชนิกนันท์ ทิพย์ไพโรจน์ ผู้ก่อตั้งทีมอีสปอร์ต MiTH และเจ้าของเว็บไซต์ FPSThailand.com ออกมาเปิดเผยว่า มีองค์กรของทางภาครัฐจำนวนมาก สนับสนุนกฎหมายให้มีการรองรับเกมออนไลน์ โดยหนึ่งในข้อกฎหมายที่สำคัญ คือ การแบนเกมที่มีความรุนแรง เกมประเภท FPS ต้องมีการขออนุญาต หากจะมีการจัดแข่งขัน และสตรีมเมอร์จะต้องสตรีมเกมไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ต้องรอฟังผลสรุปการประชุมในวันที่ 13 ก.ค.
อย่างไรก็ตาม ได้มีการเปิดเผยรายชื่อ 85 องค์กรที่ร่วมผลักดันร่างกฎหมายควบคุมเกม ซึ่งชาวเน็ตจำนวนมากต่างสงสัยว่าทั้ง 85 องค์ ประกอบด้วยหน่วยงานใดบ้าง โดยเมื่อวันที่ 3 ก.ค. “เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร” ส.ส. กทม.พรรคก้าวไกล ได้เปิดเผยรายชื่อทั้ง 85 องค์กร ลงในเฟซบุ๊ก ซึ่งทั้ง 85 องค์กร ประกอบด้วย
1. สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน
2. มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
3. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
4. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
5. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
6. ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
7. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
8. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
9. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
10. มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน
11. เครือข่ายเด็กไทยไม่พนัน
12. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
13. สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย
14. มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา
15. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
16. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
17. มูลนิธิมิตรภาพบำบัด
18. ชมรมผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย
19. มูลนิธิออทิสติกไทย
20. สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
21. เครือข่ายมะเร็งลำไส้ใหญ่แห่งประเทศไทย
22. เครือข่ายคนพิการ 7 ประเภท
23. ชมรมคนพิการรักสุขภาพ
24. ชมรมมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย
25. เครือข่ายผู้ป่วยโรคพบยาก
26. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จังหวัดลำปาง
27. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ จังหวัดลำปาง
28. กลุ่มเยาวชนอาสารถม้าลำปาง
29. เครือข่ายลำปางหนา
30. กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา
31. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
32. เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย
33. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
34. มูลนิธิรักษ์ไทย
35. องค์การช่วยเหลือเด็ก
36. มูลนิธิโรงเรียนแห่งความหวัง
37. องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล
38. มูลนิธิเตรียมชีวิต
39. มูลนิธิสายเด็ก 1387
40. มูลนิธิวันสกาย
41. สหทัยมูลนิธิ
42. ศูนย์เพื่อน้องหญิง
43. มูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก
44. มูลนิธิดวงประทีป
45. มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก
46. มูลนิธิสยาม-แคร์
47. มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
48. สถานสงเคราะห์เด็ก พักพิงคุ้มภัย ชลบุรี
49. มูลนิธิรักษ์เด็ก
50. กลุ่มด้วยใจ
51. มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน
52. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
53. มูลนิธิพิทักษ์สตรี
54. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบาลสังคม แผนกผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง
55. มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
56. ละครชุมชม “กั๊บไฟ”
57. มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา
58. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
59. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
60. มูลนิธิกองทุนการศึกษาพิพพะละ
61. มูลนิธิพัฒนาชุมชมและเขตภูเขา
62. มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ประเทศไทย
63. บ้านสคูล
64. องค์การแตร์เดซอม
65. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง
66. มูลนิธิเอทเวนตี้วัน
67. มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน
68. องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชันแนลประเทศไทย
69. มูลนิธิพร้อมใจพัฒนา
70. มูลนิธิพัฒนานานาเผ่าไร้พรมแดน
71. มูลนิธิอุ่นรักษ์
72. มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
73. สำนักข่าวเด็กและเยาวชนจังงหวัดพะเยา
74. สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมชาวอาข่า
75. มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง
76. สถานสงเคราะห์เด็กบ้านปลาดาว
77. มูลนิธิเออเบิร์น ไลท์ (ประเทศไทย)
78. มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชินูปถัมภ์
79. ชมรมดาวน์เพื่อคนพิการ
80. ชมรมเครือข่ายโรคหัวใจสถาบันโรคทรวงอก
81. เครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม
82. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน จังหวัดอุบลราชธานี
83. องค์กรต้นกล้า (เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว) มุกดาหาร
84. โครงการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น จ.ชัยภูมิ
85. โครงการวิถีถิ่น จ.สุรินทร์
ทำให้เกิดคำถามต่อชาวเกมเมอร์ว่า รายชื่อร่วมผลักดันร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งบางองค์กรก็ไม่เคยได้ยินชื่อ สามารถมีอำนาจผลักดันกฎหมายดังกล่าวให้ออกประกาศใช้ได้จริงหรือ อย่างไรก็ตาม ได้มีตัวแทนจากบางองค์กร ออกมาชี้แจงว่า ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการร่วมผลักดันกฎหมายดังกล่าวและไม่ทราบเหมือนกันว่า มีรายชื่อไปปรากฏในคำแถลงการณ์นี้ได้อย่างไร สุดท้ายแล้ว ก็ต้องรอจนถึงวันที่ 13 ก.ค. ที่จะมีการประชุมเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเกมออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันเกมมีความเกี่ยวพันหลายอย่างโดยเฉพาะกับเยาวชน