กรมอุตุนิยมวิทยา เผยไทยตอนบนฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนัก ส่วนภาคใต้มีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ออกเตือนพายุไซโคลน “อำพัน” ฉบับ 4 ตั้งแต่ 19-21 พ.ค. ให้ด้านตะวันตกของประเทศรับมือฝนตกหนัก คลื่นลมทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
วันนี้ (19 พ.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ มีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
อนึ่ง พายุไซโคลน “อำพัน” (AMPHAN) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง กำลังเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือค่อนตะวันออกเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนและประเทศบังคลาเทศในระยะต่อไป
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันนี้ ถึง 06.00 น.วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) เมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ พายุไซโคลน “อำพัน” บริเวณอ่าวเบงกอล (มีผลกระทบถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2563
เมื่อเวลา 04.00 น. พายุไซโคลน “อำพัน” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 86.6 องศาตะวันออก มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 220 กม./ชม. และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนตะวันออกเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม. โดยจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนและประเทศบังคลาเทศในระยะต่อไป พายุนี้ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ในช่วงวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2563 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของประเทศ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมาทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร เว้นแต่บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือเข้าใกล้พายุ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลานี้ สำหรับประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ตอนบน ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
ในวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2563
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 05.00 น.