xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิเอสซีจี เปิดตัวนวัตกรรมห้องตรวจผู้เสี่ยงติดโควิด-19 แห่งที่ 2 พร้อมมอบระบบ Tele-Monitoring

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มูลนิธิเอสซีจี เปิดตัวนวัตกรรมห้องตรวจผู้เสี่ยงติดโควิด-19 แห่งที่ 2 พร้อมมอบระบบ Tele-Monitoring ช่วยปกป้องบุคลากรการแพทย์ให้ปลอดภัย ตรวจคนไข้ได้เร็วขึ้น ณ รพ.รามาธิบดี


เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง แห่งที่ 2 และระบบ Tele-Monitoring มูลค่ารวม 2.5 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลรามาธิบดี ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 1 วันครึ่ง ทันความต้องการใช้งานในวันทำการ จุดเด่นที่ขนาดกะทัดรัด เหมาะสมกับพื้นที่ ช่วยร่นระยะเวลาและเพิ่มจำนวนคนไข้สำหรับการตรวจในแต่ละรอบได้ ด้วยระบบที่ตอบโจทย์การใช้งานและความปลอดภัย ทั้งการแยกพื้นที่ทีมแพทย์-คนไข้ออกจากกัน และการมีระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม จึงช่วยลดโอกาสติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี




มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Swab Unit) แห่งที่ 2 และระบบติดตามสุขภาพทางไกล (Tele-Monitoring) ที่เอสซีจีร่วมพัฒนา รวมมูลค่า 2.5 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงนี้ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 1 วันครึ่งในช่วงวันหยุด เพื่อให้ทันต่อการเปิดใช้งานในวันทำการของโรงพยาบาล โดยเป็นห้องตรวจที่มีขนาดกะทัดรัด เหมาะสมกับพื้นที่ แต่สามารถรองรับการใช้งานของทีมแพทย์ได้ถึงคราวละ 5 คน และคนไข้อีก 5 คน อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบคัดกรองที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถดำเนินการตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยระบบควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศ ที่ช่วยให้อากาศสะอาด ลดโอกาสติดเชื้อ และระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล ที่ช่วยป้องกันฝุ่น เสียง และอากาศ เข้า-ออกตัวอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับห้องตรวจที่ส่งมอบที่โรงพยาบาลราชวิถีไปแล้ว อีกทั้งจะแยกคนไข้และทีมแพทย์ออกจากกัน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสฟุ้งกระจาย และทีมแพทย์จะดำเนินการเก็บตัวอย่าง (Swab) โดยสอดมือผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่องและมีถุงมือติดไว้ ซึ่งนอกจากจะมีการใช้แสงยูวีเข้มข้นสูงในการฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) ที่ถุงมือและภายในห้องหลังการใช้งานทุกครั้งแล้ว ยังมีถุงมือพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เปลี่ยนสำหรับคนไข้แต่ละคนครอบด้านนอกอีกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ทั้งแพทย์และคนไข้ นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการทั้งหมดยังจะถูกแยกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อแยกปิดได้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดการรั่วระหว่างห้องบุคลากรทางการแพทย์กับห้องผู้เข้ารับการตรวจอีกด้วย




อย่างไรก็ตาม ยังมีโรงพยาบาลทั่วประเทศอีกจำนวนมากที่ต้องการห้องคัดกรองและตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงมีแนวคิดที่จะช่วยเปิดรับบริจาคเงินเพื่อจัดหาห้องคัดกรองและตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงส่งมอบให้โรงพยาบาลที่มีความจำเป็น โดยผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คอลเซ็นเตอร์ โทร. 02-586-2888




ห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Swab Unit) ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
•ห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Swab Unit) เป็นส่วนย่อยหนึ่งของ ห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swab Unit) ที่เอสซีจีออกแบบและจัดทำขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่เสริมสำหรับโรงพยาบาล ด้วยนวัตกรรม Modular System ของ SCG HEIM ช่วยร่นระยะเวลาในการก่อสร้าง และใช้เวลาติดตั้งที่หน้างาน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงแห่งที่ 2 ที่มูลนิธิเอสซีจีส่งมอบ เพียง 1 วันครึ่ง
•ภายในห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง มีระบบที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง ที่ได้ติดตั้งไปแล้วแห่งแรกที่โรงพยาบาลราชวิถี ได้แก่
oระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล (Air tightness) ที่ช่วยป้องกันฝุ่น เสียง และอากาศ เข้า-ออกตัวอาคาร ทำให้ในตัวอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี
oระบบ Smart Indoor Air Quality (IAQ Smart) โดย Living Solution ของเอสซีจี ซึ่งมีระบบควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศที่สะอาด ปลอดภัย
•สำหรับการใช้งานห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงนั้น ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากขณะที่ตรวจ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้ออาจจะไอหรือจามทำให้เชื้อไวรัสฟุ้งกระจายออกมา ดังนั้น การออกแบบห้องตรวจจึงจำเป็นต้องมีความรัดกุม




•บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติงานอยู่ภายในห้องตรวจหาเชื้อ (พื้นที่สีฟ้า) จะถูกปรับความดันอากาศให้เป็นความดันบวก (Positive pressure) ซึ่งเป็นการสร้างให้เกิดแรงดันอากาศภายในห้องที่ผลักอากาศเสียออก และเพิ่ม Bio-polar Ion เพื่อจับเข้ากับโมเลกุลของเชื้อไวรัสที่อาจหลุดรอดเข้ามา
•พื้นที่ของผู้ที่มีความเสี่ยงที่เข้ารับการตรวจ (พื้นที่สีส้ม) จะถูกแยกออกมาและปรับความดันอากาศให้เป็นกึ่งลบ (Semi-Negative Pressure) หรือความดันลบ (Negative Pressure) เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อไวรัส พร้อมเพิ่มการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษเพื่อฆ่าและทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) ทุกครั้งหลังการใช้งานห้อง
•ทีมแพทย์จะดำเนินการเก็บตัวอย่าง (Swab) โดยสอดมือผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่องและมีถุงมือติดไว้ ซึ่งนอกจากจะมีการใช้แสงยูวีเข้มข้นสูงในการฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) ที่ถุงมือและภายในห้องหลังการใช้งานทุกครั้งแล้ว ยังมีถุงมือพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เปลี่ยนสำหรับคนไข้แต่ละคนครอบด้านนอกอีกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ทั้งแพทย์และคนไข้
•ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการทั้งหมดจะแยกเป็นส่วนย่อย ๆ (Cell) เพื่อให้สามารถแยกปิดได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีการรั่วระหว่างห้องบุคลากรทางการแพทย์กับห้องผู้เข้ารับการตรวจอีกด้วย
•จำนวนและขนาดห้อง สามารถปรับได้ เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ และพื้นที่จัดวาง Modular Unit
เรื่อง : อรวรรณ เหม่นแหลม

กำลังโหลดความคิดเห็น