จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรมงาน “แต่งงานและจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง” ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรมงาน “แต่งงานและจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง” ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 ในระหว่างวันที่ 13 - 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับเกียรติจาก นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วยนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายกิตติเมศวร์ รุ่งธนเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และ นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานสุรินทร์ เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง มีนักท่องเที่ยวและประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากบรรยากาศยากาศเต็มไปด้วยความชื่นมื่นอบอวลไปด้วยความรัก จากคู่บ่าวสาวจำนวน 60 คู่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ และร่วมอนุรักษ์วิถีชีวิตสืบสานประเพณีการแต่งงานแบบชนพื้นเมืองดั้งเดิมของสุรินทร์ให้คงอยู่สืบไป
โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ททท. ร่วมกับ จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน จัด “พิธีฮาวปลึงจองได” หรือ “พิธีสู่ขวัญ“ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของลาวสุรินทร์ (เชื้อสายเขมร) ถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นการแสดงความชื่นชมยินดีให้กับเจ้าของขวัญ จากคณะญาติมิตรและบุคคลทั่วไป และมีด้ายสำคัญผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการรับขวัญ และเพื่อความเป็นสิริมงคล ภายใต้การจัดงาน “จดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง ประจำปี 2563 ครั้งที่ 13”
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ภายใต้การจัดงานจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง ประจำปี 2563 ครั้งที่ 13 ในปีนี้ได้จัดงาน ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวในการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อการรับรองสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตนเอง สร้างความผูกพันทางจิตใจ ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นพิธีแต่งงานแบบชนพื้นเมือง 3 วัฒนธรรม นำสู่สากล
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ภายใต้การจัดงานจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง ประจำปี 2563 ครั้งที่ 13 ในปีนี้ได้จัดงาน ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวในการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อการรับรองสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตนเอง สร้างความผูกพันทางจิตใจ ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นพิธีแต่งงานแบบชนพื้นเมือง 3 วัฒนธรรม นำสู่สากล
“พิธีฮาวปลึงจองได” หรือพิธีสู่ขวัญของชาวพื้นเมืองสุรินทร์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลก เจ้าบ่าวแต่งกายด้วยการนุ่งโสร่งไหม เสื้อแขนยาวสีขาว ผ้าไหมพาดบ่า เจ้าสาวนุ่งผ้าซิ่นไหมลายกวย เสื้อแขนกระบอกสีอ่อนพาดด้วยสไบสีแดง ซึ่งในปี 2563 เป็นปีแห่งการครบรอบ 60 ปีงานช้างสุรินทร์ โดยมีคู่บ่าวสาวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ จำนวน 60 คู่ด้วยกัน
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึงความสำคัญของช้างและความผูกพันธ์ของคนไทยกับช้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า ช้างไทยมีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะของคนไทยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะช้างไม่ว่าจะเป็นคติความเชื่อในเรื่องศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมงคล
ปัจจุบัน กระแสของโลกเริ่มที่จะมองว่าเราทารุณสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ทุกประภทที่ใช้ขี่ จะเป็นการหมายถึงการทารุณสัตว์ มองในบริบทของทางตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเป็นอยู่จึงจำเป็นที่จะต้องอธิบายชี้จงให้เข้าใจ จึงถือโอกาสในเวทีนี้ทำความเข้าใจกัน ขอรับรองว่าสุรินทร์ไม่ได้เลี้ยงช้างเพื่อเอาไว้ใช้งาน อย่างเช่นการลากซุงเราเลี้ยงช้างเหมือนสมาชิกในครอบครัว แล้วเรื่องการล่าช้างเพื่อเอางาเค้าถือกันมาก เพราะคติความเชื่อที่ว่าการที่ได้งาจากช้างที่ถูกฆ่า ถื่อว่าเป็นงาอัปมงคลซึ่งเขาไม่ทำกัน
จึงอยากจะวิงวอนทุกภาคส่วน ถ้าอยากจะเห็นช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองต่อไปจะทำอย่างไร เราจะได้ช่วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แบ่งเบาภาระคนเลี้ยงช้างให้เขาอยู่ได้ช้างอยู่ได้ และเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม คงความรู้ในการเลี้ยงช้างของเราซึ่งนับวันจะเลือนหายไป ให้มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้นายไกรสร พ่อเมืองจังหวัดสุรินทร์ ยังได้กล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้มาท่องเที่ยวและสัมผัสจังหวัดสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ในช่วงปลายปีนี้ในเดือนพฤศติกายน จะเป็นวันครบรอบ 60 ปีช้างไทย ซึ่งตั้งใจว่าปีนี้จะจัดให้ยิ่งใหญ่ อย่างแรกเป็นการเชิดชูเกียรติคุณช้างไทยว่ามีความสามารถและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เราคนไทยมีความผูกพันธ์กันมาอย่างช้านาน อยากให้พวกเรามาให้กำลังใจช้างไทยและคนเลี้ยงช้าง สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข และสำคัญที่สุดอยากให้ทุกท่านมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์เป็นจังหวัดไม่กี่จังหวัดที่สามารถตอบโจทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปราสาทที่เก่าแก่ เรื่องผ้าไหม เรื่องข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิของสุรินทร์ถือเป็นข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก อยากให้ลองมาสัมผัสสุรินทร์กันดูครับ” นายไกรสร กล่าว
ด้านนางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานสุรินทร์ เผยว่า “การจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างและการประกอบพิธีแต่งงาน แบบชาวกวยหรือ “พิธีซัตเต” ของชาวพื้นเมืองดั้งเดิม ของจังหวัดสุรินทร์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งเดียวในโลก เจ้าบ่าวแต่งกายด้วยการนุ่งโสร่งไหม เสื้อแขนยาวสีขาว ผ้าไหมพาดบ่า ศีรษะสวมด้ายมงคล 3 สี เจ้าสาวนุ่งผ้าซิ่นไหมลายกวย เสื้อแขนกระบอกสีอ่อนพาดด้วยสไบสีแดง และศีรษะสวม “จะลอม” (มงกุฎที่ทำจากใบตาล) เข้าประกอบพิธีตามลำดับความสำคัญ
คือ พิธีสวมด้ายมงคลบ่าว-สาว บายศรีสู่ขวัญ และพิธีถอดคางไก่ทายชีวิตคู่บ่าว-สาวโดยหมอพราหมณ์รวมถึงเลี้ยงอาหารช้างเพื่อความเป็นสิริมงคล และการจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกจากนั้นร่วมบันทึกความหวานเป็นภาพประวัติศาสตร์สุดประทับใจ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ตามแผนตลาดการท่องเที่ยว ปี 2563 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ ตามโครงการ Cool วันธรรมดาน่าเที่ยว @สุรินทร์ – ศรีสะเกษ ททท.สำนักงานสุรินทร์ จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมพิธีแต่งานบนหลังช้างจังหวัดสุรินทร์ “
นอกจากจังหวัดสุรินทร์จะมีแต่งงานและจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างอันยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวในโลกแล้ว จังหวัดสุรินทร์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายให้มาสัมผัส สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0 4451 4447-8 - E-mail : tatsurin@tat.or.th
เรื่อง : อรวรรณ เหม่นแหลม