1.“กรณ์” หลั่งน้ำตาอำลา ปชป. ด้าน “อรรถวิชช์” ลาออกตาม จับมือตั้งพรรคใหม่ ขณะที่ “จุรินทร์” ปัดขัดแย้ง “กรณ์” !
เมื่อเย็นวันที่ 14 ม.ค. กลุ่ม ส.ส.และอดีต ส.ส. รวมถึงกลุ่มที่ใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้จัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้นายอภิสิทธิ์ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน เช่น นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข,นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค, น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม, นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ฯลฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ไม่ได้เดินทางมาร่วมงานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ นายกรณ์ได้คุยส่วนตัวกับ ส.ส.ที่มาร่วมงานดังกล่าวถึงการตัดสินใจลาออกจากการ ส.ส.และสมาชิกพรรค ปชป. โดยจะยื่นหนังสือลาออกในวันที่ 15 ม.ค. ในงาน นายกรณ์ได้ร้องเพลง รักเธอเสมอ โดยบางช่วงถึงกับหลั่งน้ำตา ทำให้เพื่อน ส.ส.หลายคนร้องไห้ตามไปด้วย ด้านนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถึงกับเอ่ยปากว่า พรรคเราเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เมื่อนายกรณ์ร้องเพลงจบ นายอภิสิทธิ์ได้เดินเข้าไปสวมกอด เพื่อให้กำลังใจนายกรณ์ด้วย
หลังข่าวนายกรณ์จะลาออกจาก ส.ส.และสมาชิกพรรค ปชป. มีรายงานว่า นายกรณ์จะไปตั้งพรรคใหม่ และเตรียมเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งนายกรณ์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันต่อมา (15 ม.ค.) ว่า “ขอบคุณ ปชป. ผมทำงานภาคเอกชนสายการเงินอยู่เกือบ 20 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือ ประธานธนาคาร JP Morgan (ประเทศไทย) ผมลาออกตอนอายุ 39 เพื่อมาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด ปชป. ที่ลาออกตอนนั้นเพราะอิ่มตัวกับการทำงานหาเงินสร้างเนื้อสร้างตัว และอยากจะทำหันมาทำงานรับใช้บ้านเมือง ปชป.ได้ให้โอกาสผมตลอดมา โดยโอกาสที่สำคัญที่สุดคือ การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง และด้วยเหตุนี้ ความผูกพันที่ผมมีกับพรรค และเพื่อนร่วมพรรค จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่กับผมตลอดไป เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ร่วมพิจารณาอนุมัติงบประมาณแผ่นดินจนเสร็จเรียบร้อย หมายความว่า รัฐบาลสามารถเดินหน้าได้เต็มที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของพรรคที่ผมได้ช่วยร่างไว้ในฐานะ (อดีต) ประธานนโยบาย ผมจึงคิดว่าผมได้ทำภารกิจที่พรรคได้มอบหมายไว้จนครบถ้วนหมดแล้ว ผมจึงได้ยื่นใบลาออกตามที่ตั้งใจไว้”
นายกรณ์ระบุด้วยว่า “ผมจากพรรคไปแต่จะยังคิดถึงเพื่อนๆ ทุกคน...ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้โอกาสทำงานเพื่อบ้านเมือง ผมไม่มีวันลืมทุกคะแนนที่ให้ผมตั้งแต่ปี 2548 ในฐานะผู้สมัคร ปชป. ผมมีความฝันที่จะอยากจะสร้างการเมืองแห่งความเปลี่ยนแปลง... เป็นการเมืองที่จะชวนผู้คนในสังคมไทยที่มีศักยภาพ มาร่วมกันออกแบบและขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน... ทุกๆ ก้าวต่อไป ผมตั้งใจจะเดินไปพร้อมกับพี่น้องประชาชนทุกคน”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ปชป. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กขอบคุณนายกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของตนและพรรค ปชป.มาโดยตลอด พร้อมอวยพรให้นายกรณ์ “เมื่อเพื่อนตัดสินใจที่จะเดินไปบนเส้นทางใหม่ ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังและตั้งใจที่จะทำให้กับส่วนรวม ความเป็นเพื่อนยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้า ปชป. ยืนยันว่า ไม่ได้มีปัญหากับนายกรณ์ และว่า นายกรณ์ทำหน้าที่ ส.ส.ในสภา แต่ไมได้เป็นกรรมการบริหารพรรค นายจุรินทร์ยังกล่าวด้วยว่า ปชป.อยู่มา 73 ปี มีคนเข้าและออกในทุกยุคทุกสมัย อีกทั้งเร็วๆ นี้ จะมีการเปิดตัวผู้ที่จะเข้ามาช่วยงานและผู้ให้การสนับสนุน ปชป.
สำหรับผู้ที่ได้ขึ้นมาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อแทนนายกรณ์ที่ลาออก คือ นายจักรพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ หรือ ส.จ.เข้ม เป็นอดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส อบจ.) เขต อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
หลังนายกรณ์ลาออกได้ 1 วัน วันต่อมา (16 ม.ค.) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม.พรรค ปชป. ได้ประกาศลาออกจาก ปชป.เช่นกัน โดยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ขอบคุณพรรค ปชป.และพี่น้องประชาชนที่เคยสนับสนุนผมทุกท่าน วันนี้ผมได้ยื่นหนังสือลาออกจากพรรค ปชป. และได้ไปกราบลานายชวน คนที่ผมเคารพรักเมื่อวานนี้ จะระลึกถึงคำสอนอยู่เสมอครับ เป็นการตัดสินใจที่ยาก ที่ต้องจากพรรคการเมืองที่ดี...การเมืองที่ผมอยากเห็นคือ การเมืองที่กระชับ ชัดเจน รองรับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อนำประเทศเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ เป็น Startup ทางการเมืองที่จะฉีกกรอบแนวคิด การบริหารราชการแผ่นดินอย่างสร้างสรรค์ อยากเห็นคนจริง คนทำงานในหลากหลายอาชีพมาช่วยกันขับเคลื่อน พลิกโฉมประเทศไทย ผมกับนายกรณ์ ตกลงกันว่า ได้เวลาลงมือทำ ถึงไหนถึงกัน สร้างการเมืองที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณธรรม และอยากชวนทุกคนมาร่วมทางเดิน ลุยไปทำในสิ่งที่เชื่อกัน”
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เคาะว่า พรรคที่จะตั้งจะใช้ชื่ออะไร ส่วนที่มีชื่อพรรคออกไปว่า พรรคขับเคลื่อนไทย นั้น เป็นเพียง 1 ในชื่อที่มีการพูดคุยกัน ขณะนี้กำลังประชุมผู้ร่วมก่อตั้ง เบื้องต้นให้นายกรณ์เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนจะมีใครบ้าง จะเปิดตัวอย่างไร คงต้องรอขั้นตอนทางกฎหมายก่อน
2.อนค.ปัดแกล้ง ไม่ตัดชื่อ 4 ส.ส.ถูกขับ ส่งผลรายชื่อซ้ำซ้อน 2 พรรค แถมมีปัญหาองค์ประชุมครบ-ไม่ครบ ด้าน 4 ส.ส.ลุ้นหนัก!
ความเคลื่อนไหวกรณีพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) มีมติขับ ส.ส.พ้นพรรค 4 คน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เช่น แสดงตนในการประชุมสภาฯ เพื่อให้ครบองค์ประชุม ซึ่งถูกมองว่าเป็นการช่วยรัฐบาล และโหวตเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ซึ่งทั้ง 4 คนที่ถูกขับออก ประกอบด้วย นางศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่, พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี, นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี และ น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี นั้น
ปรากฏว่า ล่าสุด ยังมีปัญหาว่า ทั้ง 4 ส.ส.พ้นสภาพการเป็นสมาชิกพรรค อนค.แล้วหรือยัง เนื่องจากทางพรรคอ้างว่า การประชุมกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 16-17 ธ.ค.ที่มีมติขับทั้ง 4 คนออกจากพรรค อาจมีปัญหาว่าองค์ประชุมครบหรือไม่ ซึ่งทางพรรคยังไม่ได้ส่งเอกสารให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยืนยันมติพรรคและการตัดรายชื่อ ส.ส.ทั้ง 4 คนออกจากพรรค โดยอ้างว่า ติดขัดเรื่องธุรการ และพรรคมีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ซึ่งการทำงานที่ล่าช้าของพรรค อนค.อาจส่งผลต่อสมาชิกภาพ ส.ส.ของทั้ง 4 คนได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เมื่อ ส.ส.ถูกขับออกจากพรรคใด ต้องหาพรรคใหม่สังกัดภายใน 30 วัน หรือภายในวันที่ 16 ม.ค. ไม่เช่นนั้นต้องพ้นสภาพการเป็น ส.ส.
ส่งผลให้นางศรีนวลต้องเข้าร้องเรื่องนี้ต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งต่อมา นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผย (14 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติรับคำร้องที่นางศรีนวล ร้องขอให้พิจารณาและเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไต่สวนกรณีพรรค อนค.มีมติขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค แต่กลับไม่มีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้อาจไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคอื่นได้ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 16 ม.ค. ซึ่งมีผลต่อสมาชิกภาพ ส.ส.เขียงใหม่ไว้พิจารณา แต่ไม่แน่ใจว่า จะพิจารณาทันวันที่ 16 ม.ค.หรือไม่
นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่า น.ส.กวินนาถ และนายจารึก 2 ใน 4 ส.ส.อนค.ที่ถูกขับพ้นพรรค และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคท้องถิ่นไทแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. และ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา หากรายชื่อทั้งสองยังไม่ถูกตัดออกจากพรรค อนค. จะทำให้ทั้งสองมีชื่อเป็นสมาชิกทั้ง 2 พรรค จะส่งผลให้พ้นสภาพการเป็น ส.ส.หรือไม่
ซึ่ง น.ส.กวินนาถและนายจารึกได้เข้าหารือเจ้าหน้าที่ กกต.ว่าการกระทำของพรรค อนค.ถือเป็นการกลั่นแกล้ง ส.ส.ทั้ง 4 คนหรือไม่ ที่ยังไม่ส่งเอกสารแจ้งมติพรรคมายัง กกต. ซึ่งพรรค อนคต.มีมติขับทั้ง 4 คนออกจากพรรคเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. หากทั้ง 4 คนไม่สามารถสังกัดพรรคใหม่ได้ภายใน 30 วัน หรือ 16 ม.ค. เพราะพรรค อนค.ส่งเอกสารให้ กกต.ล่าช้า จะส่งผลให้ทั้ง 4 คนพ้นสภาพ ส.ส.หรือไม่ ซึ่งอาจมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
ล่าสุด 17 ม.ค. สำนักงาน กกต.ได้รับเอกสารรายงานการเพิ่ม-ลด จำนวนสมาชิกของพรรค อนค.ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 คือ ตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค. 2562 ซึ่งจัดส่งมาทางไปรษณีย์ ประทับตราวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามที่กฎหมายกำหนดให้จัดส่ง พบว่า ไม่มีการแจ้งการลดลงของจำนวนสมาชิก โดย ส.ส. ทั้ง 4 คน คือ นางศรีนวล, น.ส.กวินนาถ, นายจารึก และ พ.ต.ท.ฐนภัทร ที่พรรค อนค.ระบุว่ามีมติขับพ้นสมาชิกพรรค ยังมีชื่อเป็นสมาชิกพรรคอยู่
ขณะที่พรรคท้องถิ่นไทยได้มีการแจ้งเอกสารรายงานการเพิ่มลดสมาชิกของพรรคในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ให้ กกต.แล้ว โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้น คือ มีชื่อของ น.ส.กวินนาถและนายจารึก เป็นสมาชิกพรรค
ทั้งนี้ ทางสำนักงาน กกต.จะรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ และรอการรายงาน เรื่องมติขับ 4 ส.ส.ที่ทางพรรค อนค.ระบุว่า ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบองค์ประชุมใหญ่วิสามัญสมาชิกพรรค และประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทั้งหมดที่มีมติขับ 4 ส.ส.ในวันที่ 16 ธ.ค. และ 17 ธ.ค. ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ และจะมีการแจ้ง กกต.ในสัปดาห์หน้า
ซึ่งต้องลุ้นว่า หากพรรค อนค.รายงานว่า องค์ประชุมของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.ของพรรคไม่ครบถ้วน ทำให้มติขับ 4 ส.ส.ไม่ถูกต้อง จะทำให้ น.ส.กวินนาถและนายจารึก ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไทแล้ว กลายเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซ้ำซ้อน 2 พรรค จะมีผลทำให้ต้องสิ้นสภาพการเป็น ส.ส.หรือไม่ หรือหากพรรค อนค.รายงานว่า มติพรรคและองค์ประชุมครบถ้วนถูกต้องแล้ว จะส่งผลให้นางศรีนวลและ พ.ต.ท.ฐนภัทร ที่ยังไม่ได้สมัครสมาชิกพรรคใดภายในวันที่ 16 ม.ค. ต้องสิ้นสุดการเป็น ส.ส.หรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค. น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรค อนค. กล่าวถึงการตรวจสอบความชัดเจนเกี่ยวกับองค์ประชุมที่ใช้ขับ 4 ส.ส.ออกจากพรรคว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนและดำเนินการส่งเอกสารให้กับสภาผู้แทนราษฎร และ กกต. พร้อมอ้างว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะพรรค อนค.มีคดีที่ต้องดำเนินการเตรียมข้อต่อสู้จำนวนมากถึง 30 คดี ประกอบกับทีมกฎหมายของพรรคมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ นอกจากนี้ น.ส.พรรณิการณ์ ยังอ้างด้วยว่า เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ (ส.ส.) ทั้ง 4 คนจะต้องรู้ว่า ตนเองมีสถานะทางการเมืองและกฎหมายอย่างไร ไม่ใช่หน้าที่ของพรรคที่จะให้ใครพ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ไม่มีเหตุผลที่จะยื้อ ส.ส.ทั้ง 4 คนเอาไว้ เพราะเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ส.ส.ทั้ง 4 คนนี้ก็ไม่ได้ลงมติไปในทางเดียวกับพรรค อนค.อยู่แล้ว
3."ปิยบุตร" อ้าง หากยุบพรรค อนค. เท่ากับนำสถาบันฯ มาทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ด้าน "ศรีสุวรรณ" ชี้ ยุบ อนค.เท่ากับปกป้องสถาบันฯ !
ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรค ให้พรรค อนค.กู้เงิน 191 ล้าน เนื่องจากกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 72 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว และยังมีคดีล้มล้างการปกครองที่ศาลฯนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 21 ม.ค.นี้นั้น
เมื่อวันที่ 14 ม.ค. นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อนค.ได้แถลงที่รัฐสภาว่า กกต.ควรชี้แจงให้สิ้นสงสัยกรณีมีเอกสารหลุดเกี่ยวกับการสอบสวนคดียุบพรรค อนค.ในชั้นคณะอนุกรรมการของ กกต.ที่มีการยกคำร้องเรื่องนี้แล้ว พร้อมชี้ว่า การที่ กกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค อนค.ตามมาตรา 72 นั้น กกต.ไม่เคยเรียกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเหรัญญิกพรรคไปให้ข้อมูล เหมือนที่เคยเรียกไปให้ข้อมูลตามมาตรา 66 แต่อย่างใด แต่เวลายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กลับยื่นตามมาตรา 72 อนค.จึงมีสิทธิตั้งคำถามว่า เมื่อ กกต.ต้องการดำเนินการให้เป็นไปตามธงที่ตั้งไว้ตามมาตรา 66 แต่พอไม่ตรงธง จึงมาดำเนินการตามมาตรา 72 เช่นนี้ ถือว่าเป็นการตั้งธงหรือไม่
นายปิยบุตร ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อ 17 ม.ค.ด้วยว่า หากศาลสั่งยุบพรรคจริง ตนก็ไม่คิดว่า ตนหรือนายธนาธรและพลพรรคอนาคตใหม่จะได้รับผลร้ายอะไร เพราะพวกเราก็ยังคงเดินหน้าทำงานการเมืองต่อไป แต่ผลร้ายจะเกิดขึ้นกับสังคมใน 3 ด้านใหญ่ๆ ก็คือ 1.การยุบพรรคอนาคตใหม่ คือการทำลายความหวังและความฝันของคนไทยทั้งประเทศ ที่อยากเห็นการเมืองที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ 2.เกิดการแบ่งแยกกันของช่วงวัย ช่วงอายุของคนในสังคม หรือที่เรียกว่า “Clash of Generations” ที่จะแตกแยกขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นไปอีก และ 3.ที่สำคัญที่สุด นี่จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรานำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างศัตรูทางการเมือง คุณกำลังจะผลักไสกลุ่มคนจำนวนมากในสังคม ให้ไปอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างนั้นหรือ??? นี่คืออันตรายที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจรู้แต่ไม่สนใจก็ไม่ทราบ
อย่างไรก็ตาม นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันนี้ (18 ม.ค.) โดยมองตรงข้ามกับนายปิยบุตร โดยระบุว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ จะเกิดผลต่อสังคมไทยใน 3 ประการ คือ 1.การยุบพรรคอนาคตใหม่ จะทำลายความหวังและความฝันของคณะกรรมการบริหารพรรคนี้ทั้งหมด เพราะต้องถูกเว้นวรรคทางการเมืองไปหลายปี ส.ส. และนักการเมืองในพรรคจะมีโอกาสขึ้นมานำพรรคได้บ้าง และทำให้นักการเมืองระมัดระวังตนเองมากขึ้น ไม่ให้ซ้ำรอยเดิม
2.เกิดความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ไม่มีใครมายุแยงแบ่งแยกกันของช่วงวัย ช่วงอายุของคนในสังคมเกิดการผสมผสานระหว่างวัยมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Combination of ages” ที่จะลดความแตกแยกขัดแย้งกันลงมาได้ และ 3.ที่สำคัญที่สุด นี่จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ จะถูกปกป้องโดยศาลและประชาชน ที่จะมิให้ผู้ใดนำมาเป็นเครื่องมือกล่าวหาในทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากในสังคมที่เคารพรักเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ได้คลายความกังวลลงอย่างมาก นี่คือผลดีที่บางคนไม่รู้ตัว หรืออาจรู้แต่ไม่สนใจก็ได้
ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ซึ่งสนับสนุนและร่วมวิ่งไล่ลุงกับแนวร่วมพรรค อนค.ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กทำนองตั้งคำถามว่า พรรคการเมืองกู้เงินไม่ได้จริงหรือ โดยยกตัวอย่างว่า มีหลายพรรคเคยกู้เงิน โดยบอก จากเอกสารงบการเงิน ลงวันที่ 31 ธ.ค.2561 ที่พรรคการเมืองทุกพรรคนำส่ง กกต.ภายในเดือน พ.ค.2562 มีพรรคการเมืองถึง 18 พรรค (รวมพรรคอนาคตใหม่) ที่ปรากฏรายการเงินกู้ในเอกสารงบการเงินดังกล่าว พร้อมชี้ว่า หากการกู้เงินดังกล่าวเป็นความผิด แล้ว กกต.ไม่ดำเนินการ นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ และ กกต.อาจต้องร่วมรับผิดในฐานะไม่กำกับดูแลให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากบอกว่าไม่ผิด การชงเรื่องเงินกู้พรรค อนค.ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.5 ใน 7 ที่ลงมติส่งฟ้องยุบพรรค อนค.ต่อศาลรัฐธรรมนูญ คงต้องรับผิดชอบต่อมติที่ตนเองลงด้วย
ด้านนายอรัญ พันธุมจินดา รองผู้อำนวยการพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) เผยว่า ตามที่มีข่าวว่า พรรค ชพน.กู้ยืมเงินและเป็นหนี้ 2 ล้านบาทนั้น ขอเรียนว่า ภาระหนี้ดังกล่าวของพรรคเกิดขึ้นในปี 2554 ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่า และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้เป็นการกู้ยืมเงินภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 แต่อย่างใด และปัจจุบันพรรค ชพน.ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
4.“เสรีพิศุทธ์” ไม่สนสถานะ ส.ส.-ผู้หญิง ด่าปารีณา “เสือก-คุณมันต่ำ” พร้อมท้า ไม่พอใจไปฟ้อง ไม่ถอนคำพูด!
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) เป็นประธาน ซึ่งได้เกิดวิวาทะกับ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กมธ.ชุดดังกล่าว
เหตุเกิดหลังจาก น.ส.ปารีณา ทวงถาม พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กรณีไม่บรรจุเรื่องที่ตนและนายสนธิญา สวัสดี สมาชิกพรรค พปชร.ยื่นเรื่องตรวจสอบ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จำนวน 7 ประเด็น ซึ่งทางสำนักเลขาธิการสภาส่งเรื่องดังกล่าวมายังคณะ กมธ.แล้ว ซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ตอบ น.ส.ปารีณาว่า เหตุที่ยังไม่พิจารณา เพราะไม่มีลายเซ็นของผู้ร้อง ด้าน น.ส.ปารีณา ยืนยันว่า ได้ลงลายมือชื่อเรียบร้อย แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยังยืนยันคำเดิม จึงเกิดการโต้เถียงกัน โดยช่วงหนึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า “อย่ามาเสือกพูดจาแบบนี้กับผม” ด้าน น.ส.ปารีณา จึงตอบโต้ว่า “อย่ามาพูดจาต่ำๆ แบบนี้กับดิฉัน” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จึงพูดสวนกลับว่า “ก็คุณมันต่ำ” จากนั้นที่ประชุมได้สั่งพักการประชุม เนื่องจากที่ประชุมสภาเรียกสมาชิกให้มาลงคะแนนตามวระการประชุม
ต่อมา เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีกครั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้กล่าวยอมรับว่า เอกสารคำร้องได้ลงนามถูกต้อง พร้อมตำหนิเจ้าหน้าที่ว่า ไม่ยอมแจ้งให้ทราบ ทาง น.ส.ปารีณา จึงได้ขอให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำว่า “เสือก” แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันไม่ถอน และท้าให้ไปฟ้อง พร้อมไล่ น.ส.ปารีณาออกจากห้องประชุม รวมทั้งสั่งตำรวจสภาหญิง 2 คน นำตัว น.ส.ปารีณาออกจากห้องประชุม จากนั้นได้สั่งปิดการประชุมทันที
อย่างไรก็ตาม ก่อนสั่งปิดการประชุม นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรค พปชร. ซึ่งเข้ามาร่วมประชุมรอบหลัง ได้ให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำว่า “เสือก” เพราะเป็นคำไม่สุภาพที่จะใช้กับผู้หญิง อีกทั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษนาแก จึงไม่สมควรที่จะพูดคำนี้กับผู้หญิง ด้าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า “คุณมาทำตัวแบบนี้ วันหนึ่งมาไหว้ วันหนึ่งก็มาว่า” ด้านนายสิระกล่าวว่า “ไม่เกี่ยวกัน” พร้อมยืนยันให้ถอนคำพูด แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไม่สน ก่อนเดินออกจากห้องประชุม พร้อมบอกว่า จะลงมาแถลงข่าว ด้านนายสิระกล่าวไล่หลังว่า “ท่านอย่ารับเงินเดือน เพราะท่านเห็นว่า การยื่นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะหากรับเงินเดือน เท่ากับว่าร่วมกระทำความผิดด้วย”
ทั้งนี้ ก่อนหน้าจะเกิดวิวาทะระหว่าง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กับ น.ส.ปารีณา ส.ส.พรรค พปชร. ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน, นายสิระ เจนจาคะ และนายสุทา ประทีป ณ ถลาง ได้ร่วมกันแถลงเพื่อยื่นญัตติด่วน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ปลด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์พ้นจากตำแหน่งประธาน กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ส.ส.รับรองญัตตินี้ 52 คน ตามข้อบังคับการประชุมสภา พ.ศ.2562 ข้อ 108(5)
โดยนายไพบูลย์กล่าวว่า เนื่องจากการประชุมคณะ กมธ.เมื่อวันที่ 15 ม.ค.มีการพิจารณาเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณของ พล.อ.ประยุทธ์ โดย กมธ.เสียงข้างมากจำนวน 8 คน จากทั้งหมด 15 คน มีมติให้ยุติการตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์กลับละเลยมติเสียงข้างมาก โดยอ้างข้อบังคับการประชุมสภา พร้อมกับอ้างความเป็นประธาน กมธ.เพื่อไม่ถือตามมติเสียงข้างมาก เป็นผลให้ กมธ.เสียงข้างมากจะต้องดำเนินการกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ในสภาต่อไป
5.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก “พ.ต.ท.ไวพจน์” 4 ปี คดี นปช.ล้มประชุมอาเซียน ด้านเจ้าตัวหนี ศาลสั่งออกหมายจับ!
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ศาลจังหวัดพัทยาได้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่ 13 นปช. ร่วมกันชุมนุมบุกโรงแรม รอยัลคลิฟ บีช พัทยา ก่อความวุ่นวายขัดขวางการประชุมอาเซียน ซัมมิท เมื่อปี 2552 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง กับพวกรวม 18 คนเป็นจำเลย
คดีนี้ ระหว่างการพิจารณา มีจำเลยหลบหนี 3 คน ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยจำนวน 13 คน เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และพิพากษายกฟ้อง 2 คน คือ นายธรชัย ศักดิ์มังกร จำเลยที่ 8, พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ จำเลยที่ 14 ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำคุกจำเลยจำนวน 13 คน เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนในชั้นฎีกา ศาลยกฟ้อง 1 คน คือนายสมญศฆ์ พรมภา จำเลยที่ 4
สำหรับคดีนี้ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562 แต่ปรากฎว่า วันดังกล่าว มีจำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษาเพียงคนเดียว คือ นายศักดา นพสิทธิ์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ ซึ่งเป็นจำเลยที่ 10 นายศักดาจึงเป็นคนแรกที่ต้องเข้าเรือนจำตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ขณะที่จำเลยบางส่วน เช่น พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ อดีตแกนนำ นปช.และ ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จำเลยที่ 3 อ้างว่า ไม่ได้รับหมายเรียกจากศาลให้มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงนัดให้มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 ต.ค. แต่เมื่อถึงกำหนด พ.ต.ท.ไวพจน์ ยื่นขอถอนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงนัดให้ฟังคำสั่งในวันที่ 3 ธ.ค. แต่วันที่ 3 ธ.ค. พ.ต.ท.ไวพจน์ ก็ได้เดินทางไปศาล โดยอ้างว่า เป็น ส.ส. อยู่ระหว่างประชุม ซึ่งศาลระบุว่า แม้จำเลยจะเป็น ส.ส. แต่คดีนี้การพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 125 ศาลจึงได้ออกหมายจับ พร้อมนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 ม.ค.2563
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด (15 ม.ค.) ปรากฏว่า พ.ต.ท.ไวพจน์ ก็ไม่เดินทางมาศาล มีเพียงทนายความเดินทางมา เมื่อศาลออกหมายจับครบ 1 เดือนแล้วยังไม่ได้ตัวมาศาล ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย โดยพิพากษายืน จำคุก พ.ต.ท.ไวพจน์ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และปรับ 200 บาท พร้อมสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ไวพจน์ เพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาต่อไป โดยหมายจับมีอายุ 10 ปีในการติดตามตัว
ส่วนนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ และนายสุรชัย แซ่ด่าน ที่หลบหนีคดีไปก่อนหน้านี้ ศาลได้ออกหมายจับไปแล้วเช่นกัน และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวมาดำเนินคดี
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสมาชิกภาพ ส.ส.ของ พ.ต.ท.ไวพจน์ ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา และเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งซ่อมที่เขต 2 จ.กำแพงเพชร ได้เลย
เมื่อเย็นวันที่ 14 ม.ค. กลุ่ม ส.ส.และอดีต ส.ส. รวมถึงกลุ่มที่ใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้จัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้นายอภิสิทธิ์ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน เช่น นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข,นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค, น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม, นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ฯลฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ไม่ได้เดินทางมาร่วมงานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ นายกรณ์ได้คุยส่วนตัวกับ ส.ส.ที่มาร่วมงานดังกล่าวถึงการตัดสินใจลาออกจากการ ส.ส.และสมาชิกพรรค ปชป. โดยจะยื่นหนังสือลาออกในวันที่ 15 ม.ค. ในงาน นายกรณ์ได้ร้องเพลง รักเธอเสมอ โดยบางช่วงถึงกับหลั่งน้ำตา ทำให้เพื่อน ส.ส.หลายคนร้องไห้ตามไปด้วย ด้านนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถึงกับเอ่ยปากว่า พรรคเราเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เมื่อนายกรณ์ร้องเพลงจบ นายอภิสิทธิ์ได้เดินเข้าไปสวมกอด เพื่อให้กำลังใจนายกรณ์ด้วย
หลังข่าวนายกรณ์จะลาออกจาก ส.ส.และสมาชิกพรรค ปชป. มีรายงานว่า นายกรณ์จะไปตั้งพรรคใหม่ และเตรียมเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งนายกรณ์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันต่อมา (15 ม.ค.) ว่า “ขอบคุณ ปชป. ผมทำงานภาคเอกชนสายการเงินอยู่เกือบ 20 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือ ประธานธนาคาร JP Morgan (ประเทศไทย) ผมลาออกตอนอายุ 39 เพื่อมาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด ปชป. ที่ลาออกตอนนั้นเพราะอิ่มตัวกับการทำงานหาเงินสร้างเนื้อสร้างตัว และอยากจะทำหันมาทำงานรับใช้บ้านเมือง ปชป.ได้ให้โอกาสผมตลอดมา โดยโอกาสที่สำคัญที่สุดคือ การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง และด้วยเหตุนี้ ความผูกพันที่ผมมีกับพรรค และเพื่อนร่วมพรรค จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่กับผมตลอดไป เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ร่วมพิจารณาอนุมัติงบประมาณแผ่นดินจนเสร็จเรียบร้อย หมายความว่า รัฐบาลสามารถเดินหน้าได้เต็มที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของพรรคที่ผมได้ช่วยร่างไว้ในฐานะ (อดีต) ประธานนโยบาย ผมจึงคิดว่าผมได้ทำภารกิจที่พรรคได้มอบหมายไว้จนครบถ้วนหมดแล้ว ผมจึงได้ยื่นใบลาออกตามที่ตั้งใจไว้”
นายกรณ์ระบุด้วยว่า “ผมจากพรรคไปแต่จะยังคิดถึงเพื่อนๆ ทุกคน...ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้โอกาสทำงานเพื่อบ้านเมือง ผมไม่มีวันลืมทุกคะแนนที่ให้ผมตั้งแต่ปี 2548 ในฐานะผู้สมัคร ปชป. ผมมีความฝันที่จะอยากจะสร้างการเมืองแห่งความเปลี่ยนแปลง... เป็นการเมืองที่จะชวนผู้คนในสังคมไทยที่มีศักยภาพ มาร่วมกันออกแบบและขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน... ทุกๆ ก้าวต่อไป ผมตั้งใจจะเดินไปพร้อมกับพี่น้องประชาชนทุกคน”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ปชป. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กขอบคุณนายกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของตนและพรรค ปชป.มาโดยตลอด พร้อมอวยพรให้นายกรณ์ “เมื่อเพื่อนตัดสินใจที่จะเดินไปบนเส้นทางใหม่ ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังและตั้งใจที่จะทำให้กับส่วนรวม ความเป็นเพื่อนยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้า ปชป. ยืนยันว่า ไม่ได้มีปัญหากับนายกรณ์ และว่า นายกรณ์ทำหน้าที่ ส.ส.ในสภา แต่ไมได้เป็นกรรมการบริหารพรรค นายจุรินทร์ยังกล่าวด้วยว่า ปชป.อยู่มา 73 ปี มีคนเข้าและออกในทุกยุคทุกสมัย อีกทั้งเร็วๆ นี้ จะมีการเปิดตัวผู้ที่จะเข้ามาช่วยงานและผู้ให้การสนับสนุน ปชป.
สำหรับผู้ที่ได้ขึ้นมาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อแทนนายกรณ์ที่ลาออก คือ นายจักรพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ หรือ ส.จ.เข้ม เป็นอดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส อบจ.) เขต อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
หลังนายกรณ์ลาออกได้ 1 วัน วันต่อมา (16 ม.ค.) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม.พรรค ปชป. ได้ประกาศลาออกจาก ปชป.เช่นกัน โดยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ขอบคุณพรรค ปชป.และพี่น้องประชาชนที่เคยสนับสนุนผมทุกท่าน วันนี้ผมได้ยื่นหนังสือลาออกจากพรรค ปชป. และได้ไปกราบลานายชวน คนที่ผมเคารพรักเมื่อวานนี้ จะระลึกถึงคำสอนอยู่เสมอครับ เป็นการตัดสินใจที่ยาก ที่ต้องจากพรรคการเมืองที่ดี...การเมืองที่ผมอยากเห็นคือ การเมืองที่กระชับ ชัดเจน รองรับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อนำประเทศเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ เป็น Startup ทางการเมืองที่จะฉีกกรอบแนวคิด การบริหารราชการแผ่นดินอย่างสร้างสรรค์ อยากเห็นคนจริง คนทำงานในหลากหลายอาชีพมาช่วยกันขับเคลื่อน พลิกโฉมประเทศไทย ผมกับนายกรณ์ ตกลงกันว่า ได้เวลาลงมือทำ ถึงไหนถึงกัน สร้างการเมืองที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณธรรม และอยากชวนทุกคนมาร่วมทางเดิน ลุยไปทำในสิ่งที่เชื่อกัน”
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เคาะว่า พรรคที่จะตั้งจะใช้ชื่ออะไร ส่วนที่มีชื่อพรรคออกไปว่า พรรคขับเคลื่อนไทย นั้น เป็นเพียง 1 ในชื่อที่มีการพูดคุยกัน ขณะนี้กำลังประชุมผู้ร่วมก่อตั้ง เบื้องต้นให้นายกรณ์เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนจะมีใครบ้าง จะเปิดตัวอย่างไร คงต้องรอขั้นตอนทางกฎหมายก่อน
2.อนค.ปัดแกล้ง ไม่ตัดชื่อ 4 ส.ส.ถูกขับ ส่งผลรายชื่อซ้ำซ้อน 2 พรรค แถมมีปัญหาองค์ประชุมครบ-ไม่ครบ ด้าน 4 ส.ส.ลุ้นหนัก!
ความเคลื่อนไหวกรณีพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) มีมติขับ ส.ส.พ้นพรรค 4 คน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เช่น แสดงตนในการประชุมสภาฯ เพื่อให้ครบองค์ประชุม ซึ่งถูกมองว่าเป็นการช่วยรัฐบาล และโหวตเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ซึ่งทั้ง 4 คนที่ถูกขับออก ประกอบด้วย นางศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่, พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี, นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี และ น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี นั้น
ปรากฏว่า ล่าสุด ยังมีปัญหาว่า ทั้ง 4 ส.ส.พ้นสภาพการเป็นสมาชิกพรรค อนค.แล้วหรือยัง เนื่องจากทางพรรคอ้างว่า การประชุมกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 16-17 ธ.ค.ที่มีมติขับทั้ง 4 คนออกจากพรรค อาจมีปัญหาว่าองค์ประชุมครบหรือไม่ ซึ่งทางพรรคยังไม่ได้ส่งเอกสารให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยืนยันมติพรรคและการตัดรายชื่อ ส.ส.ทั้ง 4 คนออกจากพรรค โดยอ้างว่า ติดขัดเรื่องธุรการ และพรรคมีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ซึ่งการทำงานที่ล่าช้าของพรรค อนค.อาจส่งผลต่อสมาชิกภาพ ส.ส.ของทั้ง 4 คนได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เมื่อ ส.ส.ถูกขับออกจากพรรคใด ต้องหาพรรคใหม่สังกัดภายใน 30 วัน หรือภายในวันที่ 16 ม.ค. ไม่เช่นนั้นต้องพ้นสภาพการเป็น ส.ส.
ส่งผลให้นางศรีนวลต้องเข้าร้องเรื่องนี้ต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งต่อมา นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผย (14 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติรับคำร้องที่นางศรีนวล ร้องขอให้พิจารณาและเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไต่สวนกรณีพรรค อนค.มีมติขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค แต่กลับไม่มีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้อาจไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคอื่นได้ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 16 ม.ค. ซึ่งมีผลต่อสมาชิกภาพ ส.ส.เขียงใหม่ไว้พิจารณา แต่ไม่แน่ใจว่า จะพิจารณาทันวันที่ 16 ม.ค.หรือไม่
นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่า น.ส.กวินนาถ และนายจารึก 2 ใน 4 ส.ส.อนค.ที่ถูกขับพ้นพรรค และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคท้องถิ่นไทแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. และ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา หากรายชื่อทั้งสองยังไม่ถูกตัดออกจากพรรค อนค. จะทำให้ทั้งสองมีชื่อเป็นสมาชิกทั้ง 2 พรรค จะส่งผลให้พ้นสภาพการเป็น ส.ส.หรือไม่
ซึ่ง น.ส.กวินนาถและนายจารึกได้เข้าหารือเจ้าหน้าที่ กกต.ว่าการกระทำของพรรค อนค.ถือเป็นการกลั่นแกล้ง ส.ส.ทั้ง 4 คนหรือไม่ ที่ยังไม่ส่งเอกสารแจ้งมติพรรคมายัง กกต. ซึ่งพรรค อนคต.มีมติขับทั้ง 4 คนออกจากพรรคเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. หากทั้ง 4 คนไม่สามารถสังกัดพรรคใหม่ได้ภายใน 30 วัน หรือ 16 ม.ค. เพราะพรรค อนค.ส่งเอกสารให้ กกต.ล่าช้า จะส่งผลให้ทั้ง 4 คนพ้นสภาพ ส.ส.หรือไม่ ซึ่งอาจมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
ล่าสุด 17 ม.ค. สำนักงาน กกต.ได้รับเอกสารรายงานการเพิ่ม-ลด จำนวนสมาชิกของพรรค อนค.ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 คือ ตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค. 2562 ซึ่งจัดส่งมาทางไปรษณีย์ ประทับตราวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามที่กฎหมายกำหนดให้จัดส่ง พบว่า ไม่มีการแจ้งการลดลงของจำนวนสมาชิก โดย ส.ส. ทั้ง 4 คน คือ นางศรีนวล, น.ส.กวินนาถ, นายจารึก และ พ.ต.ท.ฐนภัทร ที่พรรค อนค.ระบุว่ามีมติขับพ้นสมาชิกพรรค ยังมีชื่อเป็นสมาชิกพรรคอยู่
ขณะที่พรรคท้องถิ่นไทยได้มีการแจ้งเอกสารรายงานการเพิ่มลดสมาชิกของพรรคในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ให้ กกต.แล้ว โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้น คือ มีชื่อของ น.ส.กวินนาถและนายจารึก เป็นสมาชิกพรรค
ทั้งนี้ ทางสำนักงาน กกต.จะรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ และรอการรายงาน เรื่องมติขับ 4 ส.ส.ที่ทางพรรค อนค.ระบุว่า ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบองค์ประชุมใหญ่วิสามัญสมาชิกพรรค และประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทั้งหมดที่มีมติขับ 4 ส.ส.ในวันที่ 16 ธ.ค. และ 17 ธ.ค. ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ และจะมีการแจ้ง กกต.ในสัปดาห์หน้า
ซึ่งต้องลุ้นว่า หากพรรค อนค.รายงานว่า องค์ประชุมของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.ของพรรคไม่ครบถ้วน ทำให้มติขับ 4 ส.ส.ไม่ถูกต้อง จะทำให้ น.ส.กวินนาถและนายจารึก ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไทแล้ว กลายเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซ้ำซ้อน 2 พรรค จะมีผลทำให้ต้องสิ้นสภาพการเป็น ส.ส.หรือไม่ หรือหากพรรค อนค.รายงานว่า มติพรรคและองค์ประชุมครบถ้วนถูกต้องแล้ว จะส่งผลให้นางศรีนวลและ พ.ต.ท.ฐนภัทร ที่ยังไม่ได้สมัครสมาชิกพรรคใดภายในวันที่ 16 ม.ค. ต้องสิ้นสุดการเป็น ส.ส.หรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค. น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรค อนค. กล่าวถึงการตรวจสอบความชัดเจนเกี่ยวกับองค์ประชุมที่ใช้ขับ 4 ส.ส.ออกจากพรรคว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนและดำเนินการส่งเอกสารให้กับสภาผู้แทนราษฎร และ กกต. พร้อมอ้างว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะพรรค อนค.มีคดีที่ต้องดำเนินการเตรียมข้อต่อสู้จำนวนมากถึง 30 คดี ประกอบกับทีมกฎหมายของพรรคมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ นอกจากนี้ น.ส.พรรณิการณ์ ยังอ้างด้วยว่า เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ (ส.ส.) ทั้ง 4 คนจะต้องรู้ว่า ตนเองมีสถานะทางการเมืองและกฎหมายอย่างไร ไม่ใช่หน้าที่ของพรรคที่จะให้ใครพ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ไม่มีเหตุผลที่จะยื้อ ส.ส.ทั้ง 4 คนเอาไว้ เพราะเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ส.ส.ทั้ง 4 คนนี้ก็ไม่ได้ลงมติไปในทางเดียวกับพรรค อนค.อยู่แล้ว
3."ปิยบุตร" อ้าง หากยุบพรรค อนค. เท่ากับนำสถาบันฯ มาทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ด้าน "ศรีสุวรรณ" ชี้ ยุบ อนค.เท่ากับปกป้องสถาบันฯ !
ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรค ให้พรรค อนค.กู้เงิน 191 ล้าน เนื่องจากกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 72 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว และยังมีคดีล้มล้างการปกครองที่ศาลฯนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 21 ม.ค.นี้นั้น
เมื่อวันที่ 14 ม.ค. นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อนค.ได้แถลงที่รัฐสภาว่า กกต.ควรชี้แจงให้สิ้นสงสัยกรณีมีเอกสารหลุดเกี่ยวกับการสอบสวนคดียุบพรรค อนค.ในชั้นคณะอนุกรรมการของ กกต.ที่มีการยกคำร้องเรื่องนี้แล้ว พร้อมชี้ว่า การที่ กกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค อนค.ตามมาตรา 72 นั้น กกต.ไม่เคยเรียกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเหรัญญิกพรรคไปให้ข้อมูล เหมือนที่เคยเรียกไปให้ข้อมูลตามมาตรา 66 แต่อย่างใด แต่เวลายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กลับยื่นตามมาตรา 72 อนค.จึงมีสิทธิตั้งคำถามว่า เมื่อ กกต.ต้องการดำเนินการให้เป็นไปตามธงที่ตั้งไว้ตามมาตรา 66 แต่พอไม่ตรงธง จึงมาดำเนินการตามมาตรา 72 เช่นนี้ ถือว่าเป็นการตั้งธงหรือไม่
นายปิยบุตร ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อ 17 ม.ค.ด้วยว่า หากศาลสั่งยุบพรรคจริง ตนก็ไม่คิดว่า ตนหรือนายธนาธรและพลพรรคอนาคตใหม่จะได้รับผลร้ายอะไร เพราะพวกเราก็ยังคงเดินหน้าทำงานการเมืองต่อไป แต่ผลร้ายจะเกิดขึ้นกับสังคมใน 3 ด้านใหญ่ๆ ก็คือ 1.การยุบพรรคอนาคตใหม่ คือการทำลายความหวังและความฝันของคนไทยทั้งประเทศ ที่อยากเห็นการเมืองที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ 2.เกิดการแบ่งแยกกันของช่วงวัย ช่วงอายุของคนในสังคม หรือที่เรียกว่า “Clash of Generations” ที่จะแตกแยกขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นไปอีก และ 3.ที่สำคัญที่สุด นี่จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรานำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างศัตรูทางการเมือง คุณกำลังจะผลักไสกลุ่มคนจำนวนมากในสังคม ให้ไปอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างนั้นหรือ??? นี่คืออันตรายที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจรู้แต่ไม่สนใจก็ไม่ทราบ
อย่างไรก็ตาม นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันนี้ (18 ม.ค.) โดยมองตรงข้ามกับนายปิยบุตร โดยระบุว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ จะเกิดผลต่อสังคมไทยใน 3 ประการ คือ 1.การยุบพรรคอนาคตใหม่ จะทำลายความหวังและความฝันของคณะกรรมการบริหารพรรคนี้ทั้งหมด เพราะต้องถูกเว้นวรรคทางการเมืองไปหลายปี ส.ส. และนักการเมืองในพรรคจะมีโอกาสขึ้นมานำพรรคได้บ้าง และทำให้นักการเมืองระมัดระวังตนเองมากขึ้น ไม่ให้ซ้ำรอยเดิม
2.เกิดความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ไม่มีใครมายุแยงแบ่งแยกกันของช่วงวัย ช่วงอายุของคนในสังคมเกิดการผสมผสานระหว่างวัยมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Combination of ages” ที่จะลดความแตกแยกขัดแย้งกันลงมาได้ และ 3.ที่สำคัญที่สุด นี่จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ จะถูกปกป้องโดยศาลและประชาชน ที่จะมิให้ผู้ใดนำมาเป็นเครื่องมือกล่าวหาในทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากในสังคมที่เคารพรักเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ได้คลายความกังวลลงอย่างมาก นี่คือผลดีที่บางคนไม่รู้ตัว หรืออาจรู้แต่ไม่สนใจก็ได้
ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ซึ่งสนับสนุนและร่วมวิ่งไล่ลุงกับแนวร่วมพรรค อนค.ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กทำนองตั้งคำถามว่า พรรคการเมืองกู้เงินไม่ได้จริงหรือ โดยยกตัวอย่างว่า มีหลายพรรคเคยกู้เงิน โดยบอก จากเอกสารงบการเงิน ลงวันที่ 31 ธ.ค.2561 ที่พรรคการเมืองทุกพรรคนำส่ง กกต.ภายในเดือน พ.ค.2562 มีพรรคการเมืองถึง 18 พรรค (รวมพรรคอนาคตใหม่) ที่ปรากฏรายการเงินกู้ในเอกสารงบการเงินดังกล่าว พร้อมชี้ว่า หากการกู้เงินดังกล่าวเป็นความผิด แล้ว กกต.ไม่ดำเนินการ นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ และ กกต.อาจต้องร่วมรับผิดในฐานะไม่กำกับดูแลให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากบอกว่าไม่ผิด การชงเรื่องเงินกู้พรรค อนค.ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.5 ใน 7 ที่ลงมติส่งฟ้องยุบพรรค อนค.ต่อศาลรัฐธรรมนูญ คงต้องรับผิดชอบต่อมติที่ตนเองลงด้วย
ด้านนายอรัญ พันธุมจินดา รองผู้อำนวยการพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) เผยว่า ตามที่มีข่าวว่า พรรค ชพน.กู้ยืมเงินและเป็นหนี้ 2 ล้านบาทนั้น ขอเรียนว่า ภาระหนี้ดังกล่าวของพรรคเกิดขึ้นในปี 2554 ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่า และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้เป็นการกู้ยืมเงินภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 แต่อย่างใด และปัจจุบันพรรค ชพน.ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
4.“เสรีพิศุทธ์” ไม่สนสถานะ ส.ส.-ผู้หญิง ด่าปารีณา “เสือก-คุณมันต่ำ” พร้อมท้า ไม่พอใจไปฟ้อง ไม่ถอนคำพูด!
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) เป็นประธาน ซึ่งได้เกิดวิวาทะกับ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กมธ.ชุดดังกล่าว
เหตุเกิดหลังจาก น.ส.ปารีณา ทวงถาม พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กรณีไม่บรรจุเรื่องที่ตนและนายสนธิญา สวัสดี สมาชิกพรรค พปชร.ยื่นเรื่องตรวจสอบ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จำนวน 7 ประเด็น ซึ่งทางสำนักเลขาธิการสภาส่งเรื่องดังกล่าวมายังคณะ กมธ.แล้ว ซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ตอบ น.ส.ปารีณาว่า เหตุที่ยังไม่พิจารณา เพราะไม่มีลายเซ็นของผู้ร้อง ด้าน น.ส.ปารีณา ยืนยันว่า ได้ลงลายมือชื่อเรียบร้อย แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยังยืนยันคำเดิม จึงเกิดการโต้เถียงกัน โดยช่วงหนึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า “อย่ามาเสือกพูดจาแบบนี้กับผม” ด้าน น.ส.ปารีณา จึงตอบโต้ว่า “อย่ามาพูดจาต่ำๆ แบบนี้กับดิฉัน” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จึงพูดสวนกลับว่า “ก็คุณมันต่ำ” จากนั้นที่ประชุมได้สั่งพักการประชุม เนื่องจากที่ประชุมสภาเรียกสมาชิกให้มาลงคะแนนตามวระการประชุม
ต่อมา เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีกครั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้กล่าวยอมรับว่า เอกสารคำร้องได้ลงนามถูกต้อง พร้อมตำหนิเจ้าหน้าที่ว่า ไม่ยอมแจ้งให้ทราบ ทาง น.ส.ปารีณา จึงได้ขอให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำว่า “เสือก” แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันไม่ถอน และท้าให้ไปฟ้อง พร้อมไล่ น.ส.ปารีณาออกจากห้องประชุม รวมทั้งสั่งตำรวจสภาหญิง 2 คน นำตัว น.ส.ปารีณาออกจากห้องประชุม จากนั้นได้สั่งปิดการประชุมทันที
อย่างไรก็ตาม ก่อนสั่งปิดการประชุม นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรค พปชร. ซึ่งเข้ามาร่วมประชุมรอบหลัง ได้ให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำว่า “เสือก” เพราะเป็นคำไม่สุภาพที่จะใช้กับผู้หญิง อีกทั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษนาแก จึงไม่สมควรที่จะพูดคำนี้กับผู้หญิง ด้าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า “คุณมาทำตัวแบบนี้ วันหนึ่งมาไหว้ วันหนึ่งก็มาว่า” ด้านนายสิระกล่าวว่า “ไม่เกี่ยวกัน” พร้อมยืนยันให้ถอนคำพูด แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไม่สน ก่อนเดินออกจากห้องประชุม พร้อมบอกว่า จะลงมาแถลงข่าว ด้านนายสิระกล่าวไล่หลังว่า “ท่านอย่ารับเงินเดือน เพราะท่านเห็นว่า การยื่นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะหากรับเงินเดือน เท่ากับว่าร่วมกระทำความผิดด้วย”
ทั้งนี้ ก่อนหน้าจะเกิดวิวาทะระหว่าง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กับ น.ส.ปารีณา ส.ส.พรรค พปชร. ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน, นายสิระ เจนจาคะ และนายสุทา ประทีป ณ ถลาง ได้ร่วมกันแถลงเพื่อยื่นญัตติด่วน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ปลด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์พ้นจากตำแหน่งประธาน กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ส.ส.รับรองญัตตินี้ 52 คน ตามข้อบังคับการประชุมสภา พ.ศ.2562 ข้อ 108(5)
โดยนายไพบูลย์กล่าวว่า เนื่องจากการประชุมคณะ กมธ.เมื่อวันที่ 15 ม.ค.มีการพิจารณาเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณของ พล.อ.ประยุทธ์ โดย กมธ.เสียงข้างมากจำนวน 8 คน จากทั้งหมด 15 คน มีมติให้ยุติการตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์กลับละเลยมติเสียงข้างมาก โดยอ้างข้อบังคับการประชุมสภา พร้อมกับอ้างความเป็นประธาน กมธ.เพื่อไม่ถือตามมติเสียงข้างมาก เป็นผลให้ กมธ.เสียงข้างมากจะต้องดำเนินการกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ในสภาต่อไป
5.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก “พ.ต.ท.ไวพจน์” 4 ปี คดี นปช.ล้มประชุมอาเซียน ด้านเจ้าตัวหนี ศาลสั่งออกหมายจับ!
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ศาลจังหวัดพัทยาได้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่ 13 นปช. ร่วมกันชุมนุมบุกโรงแรม รอยัลคลิฟ บีช พัทยา ก่อความวุ่นวายขัดขวางการประชุมอาเซียน ซัมมิท เมื่อปี 2552 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง กับพวกรวม 18 คนเป็นจำเลย
คดีนี้ ระหว่างการพิจารณา มีจำเลยหลบหนี 3 คน ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยจำนวน 13 คน เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และพิพากษายกฟ้อง 2 คน คือ นายธรชัย ศักดิ์มังกร จำเลยที่ 8, พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ จำเลยที่ 14 ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำคุกจำเลยจำนวน 13 คน เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนในชั้นฎีกา ศาลยกฟ้อง 1 คน คือนายสมญศฆ์ พรมภา จำเลยที่ 4
สำหรับคดีนี้ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562 แต่ปรากฎว่า วันดังกล่าว มีจำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษาเพียงคนเดียว คือ นายศักดา นพสิทธิ์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ ซึ่งเป็นจำเลยที่ 10 นายศักดาจึงเป็นคนแรกที่ต้องเข้าเรือนจำตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ขณะที่จำเลยบางส่วน เช่น พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ อดีตแกนนำ นปช.และ ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จำเลยที่ 3 อ้างว่า ไม่ได้รับหมายเรียกจากศาลให้มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงนัดให้มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 ต.ค. แต่เมื่อถึงกำหนด พ.ต.ท.ไวพจน์ ยื่นขอถอนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงนัดให้ฟังคำสั่งในวันที่ 3 ธ.ค. แต่วันที่ 3 ธ.ค. พ.ต.ท.ไวพจน์ ก็ได้เดินทางไปศาล โดยอ้างว่า เป็น ส.ส. อยู่ระหว่างประชุม ซึ่งศาลระบุว่า แม้จำเลยจะเป็น ส.ส. แต่คดีนี้การพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 125 ศาลจึงได้ออกหมายจับ พร้อมนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 ม.ค.2563
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด (15 ม.ค.) ปรากฏว่า พ.ต.ท.ไวพจน์ ก็ไม่เดินทางมาศาล มีเพียงทนายความเดินทางมา เมื่อศาลออกหมายจับครบ 1 เดือนแล้วยังไม่ได้ตัวมาศาล ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย โดยพิพากษายืน จำคุก พ.ต.ท.ไวพจน์ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และปรับ 200 บาท พร้อมสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ไวพจน์ เพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาต่อไป โดยหมายจับมีอายุ 10 ปีในการติดตามตัว
ส่วนนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ และนายสุรชัย แซ่ด่าน ที่หลบหนีคดีไปก่อนหน้านี้ ศาลได้ออกหมายจับไปแล้วเช่นกัน และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวมาดำเนินคดี
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสมาชิกภาพ ส.ส.ของ พ.ต.ท.ไวพจน์ ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา และเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งซ่อมที่เขต 2 จ.กำแพงเพชร ได้เลย