xs
xsm
sm
md
lg

แม่ใจสลาย! ลูกน้อยวัยขวบเศษเสียชีวิต หลังไปฝากญาติเลี้ยงอ้างท้องเสีย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โซเชียลฯ แห่แชร์กว่า 18,000 ครั้ง แม่แชร์ประสบการณ์ลูกน้อยวัย 1 ขวบเศษเสียชีวิต หลังไปฝากญาติสามีเลี้ยงเพียง 2 คืน 1 วัน โดยอ้างว่าน้องเสียชีวิตด้วยโรคท้องเสีย มีอาการขณะนำส่งโรงพยาบาลชักและตาค้าง ชาวเน็ตแห่แสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Degree Degree” ได้โพสต์เรื่องราวสุดสลดของ “น้องแก้ม” หนูน้อยรายหนึ่งวัย 1 ขวบเศษ เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากแม่ของเด็กนำไปฝากญาติสามีดูแลเพียง 2 คืน 1 วันเท่านั้น เนื่องจากตนต้องดูแลลูกอีกคนที่ป่วย ทางญาติที่ดูแลอ้างว่าน้องแก้มท้องเสีย

ก่อนหน้านี้ ทางแม่จะนำไปฝากเลี้ยงน้องแก้มยังร่าเริง และไม่มีอาการป่วยแต่อย่างใด ซึ่งน้องแก้มเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่ระหว่างทางน้องแก้มมีอาการชัก และตาค้าง หลังจากนั้นญาติของฝั่งแม่พาน้องแก้มไปทำพิธีทางศาสนาที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือวัดมุขธารา แต่ยังไม่ได้คำตอบที่แน่ชัดว่าหนูน้อยรายดังกล่าวเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร

ทั้งนี้ เรื่องราวดังกล่าวได้เผยแพร่สู่โลกออนไลน์ มียอดแชร์กว่า 18,000 ครั้ง และมีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความเสียใจ และให้กำลังใจครอบครัว พร้อมแนะให้แพทย์ชันสูตรศพเพื่อความชัดเจน
โพสต์ต้นฉบับ

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ได้เผยว่า หลักการชันสูตรพลิกศพกรณี การชันสูตรพลิกศพเป็น “ขบวนการ” ที่ต้องกระทำตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148-156 ซึ่งย่อมต้องรวมถึงการที่บุคคลฆ่าตัวตาย (Suicide) และถูกฆ่าตาย (Homicide) ด้วย เรื่องสำคัญในการชันสูตรพลิกศพอยู่ในมาตรา 148 และ 150 ซึ่งโดยพอสรุปได้ดังหัวข้อที่กล่าวต่อไป

ชนิดของการตาย การตายผิดธรรมชาติ มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
การตายผิดธรรมชาติชนิดทั่วไป มีบัญญัติไว้ในมาตรา 148 อนุ (1) ถึง (5) ดังนี้ คือ
(1) ฆ่าตัวตาย
(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (เว้นแต่การตายโดยการถูกประหารชีวิต)
(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
(4) ตายโดยอุบัติเหตุ
(5) ตายโดยยังไม่ปรากฏเหตุ
การตายผิดธรรมชาติชนิดพิเศษ แยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ
(1) ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(2) ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
การตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานในที่นี้ จะหมายถึง การเป็นเจ้าพนักงานที่จะต้องมีหน้าที่เท่านั้น ถ้ามิได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น เป็นพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) แต่ออกเวรแล้วเห็นผู้ร้ายปล้นร้านทองจึงยิงต่อสู้กับผู้ร้ายแล้วผู้ร้ายถึงแก่ความตายเช่นนี้ ตำรวจดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นเจ้าพนักงาน แต่ก็มิได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงไม่ถือว่าเป็นการตายผิดธรรมชาติชนิดพิเศษ (1) จึงเป็นเพียงการตายผิดธรรมชาติชนิดทั่วไป ตามมาตรา 148 (2) สำหรับการตายผิดธรรมชาติชนิดพิเศษโดยเฉพาะการถูกประหารชีวิตตามกฎหมาย แม้ว่าจะ “เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่” ก็ตาม แต่กฎหมายได้ยกเว้นไว้ไม่ต้องชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายนี้ (มาตรา 148 วรรคแรก) ซึ่งในความเป็นจริงอาจมีเพียงแพทย์มาตรวจดูและยืนยันว่าตายแล้วเท่านั้น


กำลังโหลดความคิดเห็น