1.ศาลฎีกา พิพากษากลับให้ “จตุพร-ณัฐวุฒิ-อริสมันต์” ร่วมกันชดใช้ 19.3 ล้าน ฐานยุเสื้อแดงเผาเมือง!

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะทีมกฎหมาย ปชป. เผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ปชป. ได้มอบหมายให้ตนไปฟังคำพิพากษาแทนเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ในคดีแพ่ง ซึ่งศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา เป็นคดีเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ช่วงระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยมีการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ซึ่งคดีดังกล่าว มีนางนุชทิพย์ บรรจงศิลป์ เป็นโจทก์ที่ 1, นายสิริเชษฐ์ สุขประสงค์ดี โจทก์ที่ 2, นางมนัสนันท์ สุขประสงค์ดี โจทก์ที่ 3 และบริษัท ยูแอลซี ซอฟแวร์ โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลย 11 คน ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, กระทรวงการคลัง, กระทรวงกลาโหม, กองทัพบก, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, นายทักษิณ ชินวัตร, กรุงเทพมหานคร และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
โดยโจทก์ฟ้องว่า ได้รับความเสียหายจากการวางเพลิงเผาอาคารจำนวน 3 คูหา ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนราชปรารถ กรุงเทพมหานคร ในช่วงระยะเวลาที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งสิ้น 385,920,800 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ กทม. ส่วนจำเลยคนอื่นศาลยกฟ้อง ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ นายราเมศเผยถึงคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้ว่า “ศาลฎีกาพิพากษากลับให้นายจตุพร, นายณัฐวุฒิ และ นายอริสมันต์ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 1,347,000 บาท นอกจากนี้ยังให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 12,000,000 บาท และร่วมกันรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 4 เป็นเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากคำพิพากษา พบว่า ศาลฎีกาให้เหตุผลสรุปสาระสำคัญว่า คำพูดของนายจตุพร, นายณัฐวุฒิ และนายอริสมันต์ ล้วนเป็นการปราศรัยที่ยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมร่วมกันแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่”
นายราเมศ กล่าวด้วยว่า ในคำพิพากษายังระบุอีกว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและทรัพย์สินที่ถูกบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช.วางเพลิงเผาทำลายนั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากคำกล่าวปราศรัยของนายจตุพร นายณัฐวุฒิ และนายอริสมันต์ ด้วย โดยเข้าลักษณะเป็นผู้ยุยงส่งเสริมในการทำละเมิดของบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช. ที่ร่วมกันเผาอาคารและทรัพย์สิน จึงเป็นเหตุผลที่ศาลฎีกาได้พิพากษาให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ขณะที่จำเลยคนอื่นๆ ศาลยกฟ้อง และว่า คำพิพากษาศาลฎีกาต้องถือว่าเป็นที่สุด ว่ากันต่อด้วยเรื่องชำระค่าเสียหายให้กับโจทก์ผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อไป ส่วนคดีอื่นๆ ที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ในหลายคดี ก็เชื่อว่าจะมีการนำคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ไปประกอบด้วย เพราะมีรายละเอียดที่น่าสนใจ
อนึ่ง นายอริสมันต์ ปราศรัยกับผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงเมื่อวันที่ 29 ม.ค.2553 ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบกตอนหนึ่งว่า "พี่น้องนัดกันคราวหน้า ถ้ารู้ว่าเขาจะปราบปราม ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก มาด้วยกัน ขวดแก้วคนละใบ มาเติมน้ำมันเอาข้างหน้า บรรจุให้ได้ 75 ซีซี ถึง 1 ลิตร ถ้าเรามา 1 ล้านคนในกรุงเทพมหานคร มีน้ำมัน 1 ล้านลิตร รับรองว่า กทม. เป็นทะเพลิงอย่างแน่นอน"
2.ศาลฎีกา ยกฟ้อง “ทักษิณ” คดีทุจริตปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย ชี้พยานไม่มีน้ำหนักว่า “ซูเปอร์บอส” คือ “ทักษิณ”!

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีนายทักษิณ ชินวัตร ร่วมทุจริตการปล่อยกู้สินเชื่อธนาคารกรุงไทยแก่กลุ่มกฤษฎามหานคร ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อายุ 70 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยที่ 1 และนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 27 ราย (กลุ่มนายวิโรจน์ และผู้บริหาร ธ.กรุงไทยฯ กับ บมจ.กฤษดามหานคร ศาลพิพากษาแล้วเมื่อวันที่ 26 ส.ค.58 จำคุกทั้งสิ้น 24 คน ยกฟ้อง 2 คน) เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502, ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505, ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2555 ว่า ระหว่างวันที่ 8 ก.ย.2546-30 เม.ย.2547 จำเลยได้อนุมัติสินเชื่อธนาคารกรุงไทยให้นิติบุคคลซึ่งเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ นำไปซื้อที่ดินโดยไม่มีการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อ, แหล่งเงินทุนที่จะชำระหนี้ และไม่มีการควบคุมติดตามดูแลสินเชื่อหลังการอนุมัติโดยใกล้ชิด ไม่เรียกหลักประกันให้คุ้มหนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของธนาคารกรุงไทยฯ ผู้เสียหาย โดยพวกจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เป็นเหตุให้ธนาคารกรุงไทยฯ ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 10,054,467,480 บาท
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่จะเริ่มพิจารณาคดี ปรากฏว่า นายทักษิณได้หลบหนีคดี ศาลฎีกาฯ จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนของนายทักษิณออกจากสารบบไว้ชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวกลับมาดำเนินคดี ต่อมาในปี 2560 ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ให้อำนาจศาลพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลยได้ นายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด จึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ เมื่อเดือน พ.ย.2560 ขอให้นำคดีนี้ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วเคราวเฉพาะในส่วนของนายทักษิณ จำเลยที่ 1 ขึ้นมาพิจารณาใหม่ โดยไม่มีตัวจำเลย
สำหรับคดีนี้ นายทักษิณ จำเลยได้มอบอำนาจให้ทนายความร่วมโต้แย้งคดีเป็นสำนวนแรกและสำนวนเดียวที่ได้ถูกยื่นฟ้องคดีในศาลฎีกาฯ ซึ่งทนายความได้มาฟังคำพิพากษาด้วย
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว องค์คณะเสียงข้างมากเห็นว่า ข้อโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายที่นายทักษิณต่อสู้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ไม่มีอำนาจไต่สวนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีอื่น ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ 5/2551 ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ด้วย
ส่วนนายทักษิณ จำเลยที่ 1 กระทำผิดหรือไม่นั้น องค์คณะเห็นว่า พยานฝ่ายโจทก์ คือนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการธนาคารกรุงไทย ผู้เสียหาย เบิกความเกี่ยวกับ “ซูเปอร์บอสหรือบิ๊กบอส” ว่า เห็นชอบและสั่งการให้อนุมัติสินเชื่อให้แก่กลุ่มกฤษฎามหาคร ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนายทักษิณจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพราะนายชัยณรงค์ได้รับฟังมาจากจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ อีกทั้งนายชัยณรงค์เคยให้ถ้อยคำต่อ คตส.ว่า คำว่า “ซูเปอร์บอส” หมายถึง นายทักษิณ จำเลยที่ 1 หรือคุณหญิงพจมาน อันเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกัน และนายชัยณรงค์ก็ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว เพียงแต่อ้างว่า จำเลยที่ 2 โทรศัพท์มาบอกว่า ซูเปอร์บอสตกลงแล้ว อย่าถามข้อมูลมากนัก และขอให้พิจารณาไปโดยเร็ว จึงเป็นการคาดเดาไปตามความเข้าใจของชัยณรงค์เอง พยานปากนี้จึงยังไม่มีน้ำหนักว่า นายทักษิณ จำเลยที่ 1 สั่งการให้จำเลยที่ 2-4 ซึ่งเป็นผู้บริหารธนาคารกรุงไทยที่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มกฤษฎามหานคร จำเลยที่ 19 จึงพิพากษายกฟ้อง และให้เพิกถอนหมายจับนายทักษิณเฉพาะคดีนี้
3. “นายกฯ-ครม.” ซาบซึ้ง “ในหลวง” พระราชทานพระราชดำรัสถวายสัตย์ฯ ด้านผู้ตรวจการฯ มีมติส่งศาล รธน.วินิจฉัยปมถวายสัตย์!

สถานการณ์การเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นรายชื่อ 214 ส.ส. ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป แบบไม่ลงมติ เพื่อซักถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว ขณะที่อีกด้านมีผู้ไปยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยระบุว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ นำ ครม.กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 161 บัญญัติ เข้าข่ายเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองวินิจฉัยนั้น
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำรัส พร้อมลายพระหัตถ์แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2562 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้นำคณะรัฐมนตรีรับพระราชดำรัสพร้อมลายพระหัตถ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อน้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมไว้เป็นสิริมงคล และเป็นเครื่องเตือนใจสืบไป
หลังเสร็จพิธี พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวกับ ครม.ว่า ขอให้ทุกคนยึดมั่นตามกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้ จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นประธานการประชุม ครม.ต่อ
หลังประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ได้อัญเชิญพระราชดำรัสและลายพระหัตถ์ที่ใส่กรอบเรียบร้อยให้สื่อมวลชนได้บันทึกภาพ โดยพระราชดำรัส ความว่า “ขอถือโอกาสนี้ ให้พรให้ท่านมีกำลังใจ ความมั่นใจและความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้ตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขและความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน งานใดๆ ก็ต้องมีอุปสรรค งานใดๆ ก็ต้องมีปัญหา เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องแก้ปัญหาและเข้าหางาน เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามสถานการณ์ โดยแก้ไขให้ตรงเป้าตรงจุด และมีความเข้มแข็งอดทน ก็ขอให้คณะรัฐมนตรีและรัฐบาลได้มีกำลังใจ มีพลังที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีด้วยความถูกต้องต่อไป” ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562
ผู้สื่อข่าวได้ถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า หลังพิธีรับพระราชดำรัสครั้งนี้ จะส่งผลทำให้ปัญหาที่เคยมีการวิพากษ์วิจารณ์จบลงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ผมไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จะสามารถไปจบเรื่องอื่นได้หรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ ครม.ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นเรื่องที่ผมทำเรื่องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไป พระองค์โปรดเกล้าฯ ลงมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นสิ่งที่ ครม.และรัฐมนตรีจะนำไปสู่การปฏิบัติ”
ทั้งนี้ วันเดียวกัน (27 ส.ค.) นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงหลังประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ที่ประชุมมีมติให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 46 พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 เพื่อให้วินิจฉัยว่า การที่นายกรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นผู้ยื่นคำร้องหรือไม่
โดยผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า แม้ พล.อ.ประยุทธ์จะชี้แจงว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว เป็นการกระทำที่ครบถ้วนตามกระบวนการและขั้นตอน ถือว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ปฏิบัติสำเร็จโดยสมบูรณ์ ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยแล้ว แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ระบุว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฏหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้...”
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า เมื่อนายกฯ กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย รวมถึงมีปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของนายภาณุพงศ์ ในฐานะผู้ร้องเรียน เป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนหรือโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส่วนรัฐบาลจะต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา
4.ศาล รธน.ชี้ “นพ.ธีระเกียรติ” พ้นสภาพ รมต.เหตุคู่สมรสถือหุ้นสัมปทานรัฐ เจ้าตัวรีบไขก๊อก ส.ว. รักษามาตรฐานการเมือง!

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) , นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ว. สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง ( 5) หรือไม่ จากกรณีถือครองหุ้นบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ
โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การถือหุ้นอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ไม่รวมถึงการถือหุ้นที่มีมาก่อนการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีของ ม.ล.ปนัดดา และนายไพรินทร์ พบว่า เป็นการถือหุ้นที่มีมาก่อนได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
ส่วนนายสุวิทย์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทแฟมิลี่ บิสสิเนส โซไซตี้ จำกัด โดยมีหุ้นจำนวน 19% ต่อมามีการประชุมผู้ถือหุ้น และมีมติให้จดทะเบียนเลิกบริษัท แต่หลังดำรงตำแหน่งแล้วยังเหลือการชำระบัญชี ศาลเห็นว่า ไม่มีผลกับการดำเนินกิจการใดๆ ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายที่จะสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี
สำหรับ นพ.ธีระเกียรติ พบว่า คู่สมรสถือหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ก่อนเป็นรัฐมนตรี แต่หลังดำรงตำแหน่ง คู่สมรสมีการซื้อหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ เพิ่มเติมจำนวน 800 หุ้น แม้ว่าจะมีการขายทันทีหลังรับทราบข้อกล่าวหา ก็ไม่ได้ลบล้างการกระทำอันเป็นลักษณะต้องห้าม ซึ่งศาลเห็นว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ รับสัมปทานจากรัฐ ทำเหมืองแร่ การที่คู่สมรสซื้อหุ้นเพิ่มเติมหลังจากนายธีระเกียรติดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จึงมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
ส่วนข้อโต้แย้งว่า คู่สมรสไม่มีเจตนา เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ เป็นหุ้นสัมปทาน ศาลเห็นว่า ก่อนการลงทุนผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการทำกำไร ข้อโต้แย้งดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ส่วนที่โต้แย้งว่า จำนวนหุ้นเพียงเล็กน้อย ไม่มีสิทธิร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและไม่มีอำนาจครอบงำกิจการนั้น ศาลเห็นว่า รัฐธรรมนูญเขียนห้ามไว้ชัดเจน ไม่ได้บัญญัติว่า ต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใด ดังนั้นแม้จะมีหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็เป็นการกระทำต้องห้ามตามความหมายของรัฐธรรมนูญแล้ว
ส่วนประเด็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจะสิ้นสุดลงเมื่อไรนั้น ศาลเห็นว่า น.พ.ธีระเกียรติ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. 2562 ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย แต่ก็เป็นคนละเหตุกัน ไม่มีเหตุให้ผลตามคำร้องนี้ต้องระงับไปด้วย ซึ่งการจะวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง จึงวินิจฉัยให้มีความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดผลเฉพาะตัวเป็นเวลา 2 ปี โดยให้นับแต่วันที่ 9 พ.ค.2562 หรือนับตั้งแต่วันที่ลาออก
หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแค่ 1 วัน (28 ส.ค.) นพ.ธีระเกียรติ ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็น ส.ว. ต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ก่อนเผยในเวลาต่อมาว่า เหตุที่ตัดสินใจลาออก เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าตนผิด และเพื่อไม่ให้เกิดการตีความยืดเยื้อต่อไปว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลต่อตำแหน่ง ส.ว.ของตนหรือไม่ “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าผมผิด ต้องยอมรับผิด เพื่อรักษามาตรฐานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ จากนี้ไปผมคงกลับไปเป็นหมอ และทำงานในมูลินิธิ หรือทำงานอย่างอื่นซึ่งผมขอคิดดูก่อน อย่างไรก็ตามช่วงเวลา 3 เดือนที่ได้รับตำแหน่ง ส.ว. ที่ถือว่าเริ่มทำงาน ผมไม่รู้สึกเสียใจหรือเสียดาย เพราะการทำงานอื่นๆ ที่ช่วยเหลือสังคมมีอยู่อีกมาก แม้ไม่มีตำแหน่งใดๆ แล้ว และตอนนี้ผมพอแล้ว”
มีรายงานว่า บุคคลที่จะถูกเลื่อนลำดับขึ้นมาเป็น ส.ว. แทน นพ.ธีระเกียรติ ก็คือ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยขั้นตอนหลังจากนี้ นายพรเพชร ต้องนำรายชื่อ ส.ว.คนใหม่ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
5.ศาลฎีกา พิพากษาแก้จำคุก “คุณหญิงจารุวรรณ” 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี คดีเบิกงบสัมมนามิชอบ!

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อายุ 73 ปี อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และนายคัมภีร์ สมใจ อายุ 73 ปี อดีต ผอ.สำนักบริหารงานและทรัพยากรบุคคล สตง. เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีที่จัดให้มีการสัมมนา ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการสัมมนาจริง แต่จัดสัมมนาเพื่อให้ข้าราชการที่มีรายชื่อเข้าร่วมสัมมนาได้ไปร่วมงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ที่จัดขึ้นในวันเดียวกัน แล้วให้เบิกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในงบเดียวกัน 294,440 บาท ทำให้ สตง.ได้รับความเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดคุณหญิงจารุวรรณ และนายคัมภีร์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2558 ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 157 ให้จำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณและนายคัมภีร์ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์คดี โดยศาลตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท
ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2560 ว่า ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี หนักเกินไป พิพากษาแก้ให้จำคุกคนละ 1 ปี ไม่รอลงอาญา หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองได้รับการประกันตัว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้มีการเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2562 และวันที่ 22 เม.ย.2562 เนื่องจากนายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 มีภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ศาลฎีกาจึงได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนของนายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เนื่องจากจำเลยเสียชีวิตแล้ว ส่วนคุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า พฤติการณ์ในทางนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทราบอยู่แล้วว่าการจัดสัมมนานั้น เป็นเวลาทับซ้อนกับช่วงเวลาที่จะเดินทางไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และผ้ากฐินสามัคคีที่วัดในจังหวัดน่าน 3 แห่ง โดยที่การจัดสัมมนานั้นก็จัดในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นไปตามคำนิยามของการสัมมนาตามระเบียบการคลัง ซึ่งไม่สามารถเบิกเงินที่เป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายได้
แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า ในการจัดทำโครงการดังกล่าว มีเงินคืนหลวงนับแสนบาท ก็ไม่อาจลบล้างความผิดที่ได้มีการเบิกจ่ายเงินซึ่งไม่มีสิทธิ์ได้ ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ตามฟ้อง ฎีกาที่จำเลยต่อสู้คดีฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ขอให้รอการลงโทษนั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย และได้เคยประกอบคุณงามความดี ขณะที่พฤติการณ์ความผิดนี้ แม้จะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมคุณธรรมของเจ้าพนักงานด้วย แต่เมื่อเห็นว่า การเบิกจ่ายเงินนั้น จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง อีกทั้งจำนวนเงินในคดีนี้ก็มีจำนวนไม่มาก และเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก จึงสมควรให้โอกาสจำเลย ในการรอการลงโทษไว้ แต่เห็นควรให้เพิ่มการลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ด้วย
ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่า คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 4 คงจำคุกเป็นเวลา 9 เดือน โดยโทษปรับจำนวน 20,000 บาทนั้น เมื่อลดโทษ 1 ใน 4 แล้ว คงปรับเป็นเงิน 15,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 2 ปี
6.ศาลฎีกา พิพากษาประหารชีวิต “2 พม่า” ข่มขืน-ฆ่านักท่องเที่ยวอังกฤษที่เกาะเต่า ด้านจำเลยเตรียมขออภัยโทษ!

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ศาลจังหวัดนนทบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายซอลิน หรือโซเรน และนายเวพิว หรือวิน อายุ 26 ปี สัญชาติพม่า เป็นจำเลยที่ 1-2 ในคดีฆาตกรรมนายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่า น.ส.ฮานนาห์ วิคตอเรีย วิทเธอริดจ์ อายุ 24 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ที่บริเวณหาดทรายรี ต.เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2557
คดีนี้ ศาลจังหวัดเกาะสมุยพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2558 ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง ให้ลงโทษด้วยการประหารชีวิต หลังจากนั้น จำเลยอุทธรณ์ ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2560 ยืนตามศาลชั้นต้นให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสอง
เมื่อถึงกำหนดศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา (29 ส.ค.) จำเลยทั้งสองได้ถูกเบิกตัวจากเรือนจำกลางบางขวางเพื่อมาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คดีนี้มีพยานหลักฐาน รวมทั้งผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ซึ่งตรงกับจำเลย ขณะเดียวกันคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ มีการตั้งคณะพนักงานสอบสวนเฉพาะกิจขึ้นมา โดยมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ควบคุมอย่างใกล้ชิด มีการตรวจเก็บดีเอ็นเอทั้งคนไทยและต่างชาติที่อาจจะเกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีการใส่ถุงมือป้องกันการปนเปื้อน ใช้น้ำยาตรวจที่มีคุณภาพ เครื่องตรวจอัตโนมัติมีมาตรฐานในการตรวจพิสูจน์ เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการรวบรวมพยานหลักฐาน และพิจารณาประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ทีละประเด็น โดยตัดผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปทีละคนทีละประเด็น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงจำเลย
ซึ่งครั้งแรก จำเลยก็เป็นผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อยังไม่ชัดเจนจึงยังไม่ถูกดำเนินคดี กระทั่งตรวจดีเอ็นเอจากเยื่อบุกระพุ้งแก้มจำเลย ตรงกับการตรวจหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีการจัดเก็บและตรวจพยานวัตถุทุกชิ้นอย่างละเอียดและป้องกันการปนเปื้อน โดยส่งไปตรวจสอบยังหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานที่น่าเชื่อถือของโรงพยาบาลตำรวจ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเครื่องมือที่ได้คุณภาพ การตรวจจึงมีความน่าเชื่อถือ จึงไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำจำเลย เพราะในการสอบสวนต้องใช้เวลา, บุคลากรจำนวนมาก รวมทั้งงบประมาณ หากจะสร้างพยานหลักฐาน คงไม่ต้องให้สิ้นเปลืองทั้งบุคลากรและงบประมาณ พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังได้ปราศจากข้อสงสัย ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสองสถานเดียว
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกระบวนการอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้ว่า เป็นการอ่านคำพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรี ที่มีการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรน มายังศูนย์อำนวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Justice Conference Center) ชั้น 6 อาคารศาลอาญา ที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้จัดให้มีล่ามแปลภาษาพม่า เพื่อให้จำเลยได้ฟังอย่างเข้าใจถึงผลคำพิพากษา
ด้านนายนคร ชมภูชาติ ทนายความจำเลย เผยว่า หลังจากนี้ ทางจำเลยได้แจ้งขอยื่นเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะทีมกฎหมาย ปชป. เผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ปชป. ได้มอบหมายให้ตนไปฟังคำพิพากษาแทนเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ในคดีแพ่ง ซึ่งศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา เป็นคดีเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ช่วงระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยมีการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ซึ่งคดีดังกล่าว มีนางนุชทิพย์ บรรจงศิลป์ เป็นโจทก์ที่ 1, นายสิริเชษฐ์ สุขประสงค์ดี โจทก์ที่ 2, นางมนัสนันท์ สุขประสงค์ดี โจทก์ที่ 3 และบริษัท ยูแอลซี ซอฟแวร์ โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลย 11 คน ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, กระทรวงการคลัง, กระทรวงกลาโหม, กองทัพบก, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, นายทักษิณ ชินวัตร, กรุงเทพมหานคร และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
โดยโจทก์ฟ้องว่า ได้รับความเสียหายจากการวางเพลิงเผาอาคารจำนวน 3 คูหา ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนราชปรารถ กรุงเทพมหานคร ในช่วงระยะเวลาที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งสิ้น 385,920,800 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ กทม. ส่วนจำเลยคนอื่นศาลยกฟ้อง ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ นายราเมศเผยถึงคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้ว่า “ศาลฎีกาพิพากษากลับให้นายจตุพร, นายณัฐวุฒิ และ นายอริสมันต์ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 1,347,000 บาท นอกจากนี้ยังให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 12,000,000 บาท และร่วมกันรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 4 เป็นเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากคำพิพากษา พบว่า ศาลฎีกาให้เหตุผลสรุปสาระสำคัญว่า คำพูดของนายจตุพร, นายณัฐวุฒิ และนายอริสมันต์ ล้วนเป็นการปราศรัยที่ยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมร่วมกันแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่”
นายราเมศ กล่าวด้วยว่า ในคำพิพากษายังระบุอีกว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและทรัพย์สินที่ถูกบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช.วางเพลิงเผาทำลายนั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากคำกล่าวปราศรัยของนายจตุพร นายณัฐวุฒิ และนายอริสมันต์ ด้วย โดยเข้าลักษณะเป็นผู้ยุยงส่งเสริมในการทำละเมิดของบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช. ที่ร่วมกันเผาอาคารและทรัพย์สิน จึงเป็นเหตุผลที่ศาลฎีกาได้พิพากษาให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ขณะที่จำเลยคนอื่นๆ ศาลยกฟ้อง และว่า คำพิพากษาศาลฎีกาต้องถือว่าเป็นที่สุด ว่ากันต่อด้วยเรื่องชำระค่าเสียหายให้กับโจทก์ผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อไป ส่วนคดีอื่นๆ ที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ในหลายคดี ก็เชื่อว่าจะมีการนำคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ไปประกอบด้วย เพราะมีรายละเอียดที่น่าสนใจ
อนึ่ง นายอริสมันต์ ปราศรัยกับผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงเมื่อวันที่ 29 ม.ค.2553 ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบกตอนหนึ่งว่า "พี่น้องนัดกันคราวหน้า ถ้ารู้ว่าเขาจะปราบปราม ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก มาด้วยกัน ขวดแก้วคนละใบ มาเติมน้ำมันเอาข้างหน้า บรรจุให้ได้ 75 ซีซี ถึง 1 ลิตร ถ้าเรามา 1 ล้านคนในกรุงเทพมหานคร มีน้ำมัน 1 ล้านลิตร รับรองว่า กทม. เป็นทะเพลิงอย่างแน่นอน"
2.ศาลฎีกา ยกฟ้อง “ทักษิณ” คดีทุจริตปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย ชี้พยานไม่มีน้ำหนักว่า “ซูเปอร์บอส” คือ “ทักษิณ”!
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีนายทักษิณ ชินวัตร ร่วมทุจริตการปล่อยกู้สินเชื่อธนาคารกรุงไทยแก่กลุ่มกฤษฎามหานคร ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อายุ 70 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยที่ 1 และนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 27 ราย (กลุ่มนายวิโรจน์ และผู้บริหาร ธ.กรุงไทยฯ กับ บมจ.กฤษดามหานคร ศาลพิพากษาแล้วเมื่อวันที่ 26 ส.ค.58 จำคุกทั้งสิ้น 24 คน ยกฟ้อง 2 คน) เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502, ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505, ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2555 ว่า ระหว่างวันที่ 8 ก.ย.2546-30 เม.ย.2547 จำเลยได้อนุมัติสินเชื่อธนาคารกรุงไทยให้นิติบุคคลซึ่งเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ นำไปซื้อที่ดินโดยไม่มีการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อ, แหล่งเงินทุนที่จะชำระหนี้ และไม่มีการควบคุมติดตามดูแลสินเชื่อหลังการอนุมัติโดยใกล้ชิด ไม่เรียกหลักประกันให้คุ้มหนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของธนาคารกรุงไทยฯ ผู้เสียหาย โดยพวกจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เป็นเหตุให้ธนาคารกรุงไทยฯ ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 10,054,467,480 บาท
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่จะเริ่มพิจารณาคดี ปรากฏว่า นายทักษิณได้หลบหนีคดี ศาลฎีกาฯ จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนของนายทักษิณออกจากสารบบไว้ชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวกลับมาดำเนินคดี ต่อมาในปี 2560 ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ให้อำนาจศาลพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลยได้ นายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด จึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ เมื่อเดือน พ.ย.2560 ขอให้นำคดีนี้ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วเคราวเฉพาะในส่วนของนายทักษิณ จำเลยที่ 1 ขึ้นมาพิจารณาใหม่ โดยไม่มีตัวจำเลย
สำหรับคดีนี้ นายทักษิณ จำเลยได้มอบอำนาจให้ทนายความร่วมโต้แย้งคดีเป็นสำนวนแรกและสำนวนเดียวที่ได้ถูกยื่นฟ้องคดีในศาลฎีกาฯ ซึ่งทนายความได้มาฟังคำพิพากษาด้วย
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว องค์คณะเสียงข้างมากเห็นว่า ข้อโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายที่นายทักษิณต่อสู้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ไม่มีอำนาจไต่สวนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีอื่น ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ 5/2551 ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ด้วย
ส่วนนายทักษิณ จำเลยที่ 1 กระทำผิดหรือไม่นั้น องค์คณะเห็นว่า พยานฝ่ายโจทก์ คือนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการธนาคารกรุงไทย ผู้เสียหาย เบิกความเกี่ยวกับ “ซูเปอร์บอสหรือบิ๊กบอส” ว่า เห็นชอบและสั่งการให้อนุมัติสินเชื่อให้แก่กลุ่มกฤษฎามหาคร ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนายทักษิณจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพราะนายชัยณรงค์ได้รับฟังมาจากจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ อีกทั้งนายชัยณรงค์เคยให้ถ้อยคำต่อ คตส.ว่า คำว่า “ซูเปอร์บอส” หมายถึง นายทักษิณ จำเลยที่ 1 หรือคุณหญิงพจมาน อันเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกัน และนายชัยณรงค์ก็ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว เพียงแต่อ้างว่า จำเลยที่ 2 โทรศัพท์มาบอกว่า ซูเปอร์บอสตกลงแล้ว อย่าถามข้อมูลมากนัก และขอให้พิจารณาไปโดยเร็ว จึงเป็นการคาดเดาไปตามความเข้าใจของชัยณรงค์เอง พยานปากนี้จึงยังไม่มีน้ำหนักว่า นายทักษิณ จำเลยที่ 1 สั่งการให้จำเลยที่ 2-4 ซึ่งเป็นผู้บริหารธนาคารกรุงไทยที่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มกฤษฎามหานคร จำเลยที่ 19 จึงพิพากษายกฟ้อง และให้เพิกถอนหมายจับนายทักษิณเฉพาะคดีนี้
3. “นายกฯ-ครม.” ซาบซึ้ง “ในหลวง” พระราชทานพระราชดำรัสถวายสัตย์ฯ ด้านผู้ตรวจการฯ มีมติส่งศาล รธน.วินิจฉัยปมถวายสัตย์!
สถานการณ์การเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นรายชื่อ 214 ส.ส. ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป แบบไม่ลงมติ เพื่อซักถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว ขณะที่อีกด้านมีผู้ไปยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยระบุว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ นำ ครม.กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 161 บัญญัติ เข้าข่ายเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองวินิจฉัยนั้น
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำรัส พร้อมลายพระหัตถ์แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2562 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้นำคณะรัฐมนตรีรับพระราชดำรัสพร้อมลายพระหัตถ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อน้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมไว้เป็นสิริมงคล และเป็นเครื่องเตือนใจสืบไป
หลังเสร็จพิธี พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวกับ ครม.ว่า ขอให้ทุกคนยึดมั่นตามกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้ จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นประธานการประชุม ครม.ต่อ
หลังประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ได้อัญเชิญพระราชดำรัสและลายพระหัตถ์ที่ใส่กรอบเรียบร้อยให้สื่อมวลชนได้บันทึกภาพ โดยพระราชดำรัส ความว่า “ขอถือโอกาสนี้ ให้พรให้ท่านมีกำลังใจ ความมั่นใจและความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้ตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขและความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน งานใดๆ ก็ต้องมีอุปสรรค งานใดๆ ก็ต้องมีปัญหา เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องแก้ปัญหาและเข้าหางาน เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามสถานการณ์ โดยแก้ไขให้ตรงเป้าตรงจุด และมีความเข้มแข็งอดทน ก็ขอให้คณะรัฐมนตรีและรัฐบาลได้มีกำลังใจ มีพลังที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีด้วยความถูกต้องต่อไป” ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562
ผู้สื่อข่าวได้ถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า หลังพิธีรับพระราชดำรัสครั้งนี้ จะส่งผลทำให้ปัญหาที่เคยมีการวิพากษ์วิจารณ์จบลงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ผมไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จะสามารถไปจบเรื่องอื่นได้หรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ ครม.ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นเรื่องที่ผมทำเรื่องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไป พระองค์โปรดเกล้าฯ ลงมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นสิ่งที่ ครม.และรัฐมนตรีจะนำไปสู่การปฏิบัติ”
ทั้งนี้ วันเดียวกัน (27 ส.ค.) นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงหลังประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ที่ประชุมมีมติให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 46 พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 เพื่อให้วินิจฉัยว่า การที่นายกรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นผู้ยื่นคำร้องหรือไม่
โดยผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า แม้ พล.อ.ประยุทธ์จะชี้แจงว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว เป็นการกระทำที่ครบถ้วนตามกระบวนการและขั้นตอน ถือว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ปฏิบัติสำเร็จโดยสมบูรณ์ ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยแล้ว แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ระบุว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฏหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้...”
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า เมื่อนายกฯ กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย รวมถึงมีปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของนายภาณุพงศ์ ในฐานะผู้ร้องเรียน เป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนหรือโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส่วนรัฐบาลจะต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา
4.ศาล รธน.ชี้ “นพ.ธีระเกียรติ” พ้นสภาพ รมต.เหตุคู่สมรสถือหุ้นสัมปทานรัฐ เจ้าตัวรีบไขก๊อก ส.ว. รักษามาตรฐานการเมือง!
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) , นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ว. สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง ( 5) หรือไม่ จากกรณีถือครองหุ้นบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ
โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การถือหุ้นอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ไม่รวมถึงการถือหุ้นที่มีมาก่อนการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีของ ม.ล.ปนัดดา และนายไพรินทร์ พบว่า เป็นการถือหุ้นที่มีมาก่อนได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
ส่วนนายสุวิทย์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทแฟมิลี่ บิสสิเนส โซไซตี้ จำกัด โดยมีหุ้นจำนวน 19% ต่อมามีการประชุมผู้ถือหุ้น และมีมติให้จดทะเบียนเลิกบริษัท แต่หลังดำรงตำแหน่งแล้วยังเหลือการชำระบัญชี ศาลเห็นว่า ไม่มีผลกับการดำเนินกิจการใดๆ ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายที่จะสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี
สำหรับ นพ.ธีระเกียรติ พบว่า คู่สมรสถือหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ก่อนเป็นรัฐมนตรี แต่หลังดำรงตำแหน่ง คู่สมรสมีการซื้อหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ เพิ่มเติมจำนวน 800 หุ้น แม้ว่าจะมีการขายทันทีหลังรับทราบข้อกล่าวหา ก็ไม่ได้ลบล้างการกระทำอันเป็นลักษณะต้องห้าม ซึ่งศาลเห็นว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ รับสัมปทานจากรัฐ ทำเหมืองแร่ การที่คู่สมรสซื้อหุ้นเพิ่มเติมหลังจากนายธีระเกียรติดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จึงมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
ส่วนข้อโต้แย้งว่า คู่สมรสไม่มีเจตนา เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ เป็นหุ้นสัมปทาน ศาลเห็นว่า ก่อนการลงทุนผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการทำกำไร ข้อโต้แย้งดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ส่วนที่โต้แย้งว่า จำนวนหุ้นเพียงเล็กน้อย ไม่มีสิทธิร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและไม่มีอำนาจครอบงำกิจการนั้น ศาลเห็นว่า รัฐธรรมนูญเขียนห้ามไว้ชัดเจน ไม่ได้บัญญัติว่า ต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใด ดังนั้นแม้จะมีหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็เป็นการกระทำต้องห้ามตามความหมายของรัฐธรรมนูญแล้ว
ส่วนประเด็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจะสิ้นสุดลงเมื่อไรนั้น ศาลเห็นว่า น.พ.ธีระเกียรติ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. 2562 ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย แต่ก็เป็นคนละเหตุกัน ไม่มีเหตุให้ผลตามคำร้องนี้ต้องระงับไปด้วย ซึ่งการจะวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง จึงวินิจฉัยให้มีความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดผลเฉพาะตัวเป็นเวลา 2 ปี โดยให้นับแต่วันที่ 9 พ.ค.2562 หรือนับตั้งแต่วันที่ลาออก
หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแค่ 1 วัน (28 ส.ค.) นพ.ธีระเกียรติ ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็น ส.ว. ต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ก่อนเผยในเวลาต่อมาว่า เหตุที่ตัดสินใจลาออก เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าตนผิด และเพื่อไม่ให้เกิดการตีความยืดเยื้อต่อไปว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลต่อตำแหน่ง ส.ว.ของตนหรือไม่ “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าผมผิด ต้องยอมรับผิด เพื่อรักษามาตรฐานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ จากนี้ไปผมคงกลับไปเป็นหมอ และทำงานในมูลินิธิ หรือทำงานอย่างอื่นซึ่งผมขอคิดดูก่อน อย่างไรก็ตามช่วงเวลา 3 เดือนที่ได้รับตำแหน่ง ส.ว. ที่ถือว่าเริ่มทำงาน ผมไม่รู้สึกเสียใจหรือเสียดาย เพราะการทำงานอื่นๆ ที่ช่วยเหลือสังคมมีอยู่อีกมาก แม้ไม่มีตำแหน่งใดๆ แล้ว และตอนนี้ผมพอแล้ว”
มีรายงานว่า บุคคลที่จะถูกเลื่อนลำดับขึ้นมาเป็น ส.ว. แทน นพ.ธีระเกียรติ ก็คือ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยขั้นตอนหลังจากนี้ นายพรเพชร ต้องนำรายชื่อ ส.ว.คนใหม่ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
5.ศาลฎีกา พิพากษาแก้จำคุก “คุณหญิงจารุวรรณ” 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี คดีเบิกงบสัมมนามิชอบ!
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อายุ 73 ปี อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และนายคัมภีร์ สมใจ อายุ 73 ปี อดีต ผอ.สำนักบริหารงานและทรัพยากรบุคคล สตง. เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีที่จัดให้มีการสัมมนา ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการสัมมนาจริง แต่จัดสัมมนาเพื่อให้ข้าราชการที่มีรายชื่อเข้าร่วมสัมมนาได้ไปร่วมงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ที่จัดขึ้นในวันเดียวกัน แล้วให้เบิกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในงบเดียวกัน 294,440 บาท ทำให้ สตง.ได้รับความเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดคุณหญิงจารุวรรณ และนายคัมภีร์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2558 ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 157 ให้จำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณและนายคัมภีร์ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์คดี โดยศาลตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท
ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2560 ว่า ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี หนักเกินไป พิพากษาแก้ให้จำคุกคนละ 1 ปี ไม่รอลงอาญา หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองได้รับการประกันตัว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้มีการเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2562 และวันที่ 22 เม.ย.2562 เนื่องจากนายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 มีภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ศาลฎีกาจึงได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนของนายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เนื่องจากจำเลยเสียชีวิตแล้ว ส่วนคุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า พฤติการณ์ในทางนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทราบอยู่แล้วว่าการจัดสัมมนานั้น เป็นเวลาทับซ้อนกับช่วงเวลาที่จะเดินทางไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และผ้ากฐินสามัคคีที่วัดในจังหวัดน่าน 3 แห่ง โดยที่การจัดสัมมนานั้นก็จัดในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นไปตามคำนิยามของการสัมมนาตามระเบียบการคลัง ซึ่งไม่สามารถเบิกเงินที่เป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายได้
แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า ในการจัดทำโครงการดังกล่าว มีเงินคืนหลวงนับแสนบาท ก็ไม่อาจลบล้างความผิดที่ได้มีการเบิกจ่ายเงินซึ่งไม่มีสิทธิ์ได้ ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ตามฟ้อง ฎีกาที่จำเลยต่อสู้คดีฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ขอให้รอการลงโทษนั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย และได้เคยประกอบคุณงามความดี ขณะที่พฤติการณ์ความผิดนี้ แม้จะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมคุณธรรมของเจ้าพนักงานด้วย แต่เมื่อเห็นว่า การเบิกจ่ายเงินนั้น จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง อีกทั้งจำนวนเงินในคดีนี้ก็มีจำนวนไม่มาก และเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก จึงสมควรให้โอกาสจำเลย ในการรอการลงโทษไว้ แต่เห็นควรให้เพิ่มการลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ด้วย
ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่า คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 4 คงจำคุกเป็นเวลา 9 เดือน โดยโทษปรับจำนวน 20,000 บาทนั้น เมื่อลดโทษ 1 ใน 4 แล้ว คงปรับเป็นเงิน 15,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 2 ปี
6.ศาลฎีกา พิพากษาประหารชีวิต “2 พม่า” ข่มขืน-ฆ่านักท่องเที่ยวอังกฤษที่เกาะเต่า ด้านจำเลยเตรียมขออภัยโทษ!
เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ศาลจังหวัดนนทบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายซอลิน หรือโซเรน และนายเวพิว หรือวิน อายุ 26 ปี สัญชาติพม่า เป็นจำเลยที่ 1-2 ในคดีฆาตกรรมนายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่า น.ส.ฮานนาห์ วิคตอเรีย วิทเธอริดจ์ อายุ 24 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ที่บริเวณหาดทรายรี ต.เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2557
คดีนี้ ศาลจังหวัดเกาะสมุยพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2558 ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง ให้ลงโทษด้วยการประหารชีวิต หลังจากนั้น จำเลยอุทธรณ์ ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2560 ยืนตามศาลชั้นต้นให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสอง
เมื่อถึงกำหนดศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา (29 ส.ค.) จำเลยทั้งสองได้ถูกเบิกตัวจากเรือนจำกลางบางขวางเพื่อมาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คดีนี้มีพยานหลักฐาน รวมทั้งผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ซึ่งตรงกับจำเลย ขณะเดียวกันคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ มีการตั้งคณะพนักงานสอบสวนเฉพาะกิจขึ้นมา โดยมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ควบคุมอย่างใกล้ชิด มีการตรวจเก็บดีเอ็นเอทั้งคนไทยและต่างชาติที่อาจจะเกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีการใส่ถุงมือป้องกันการปนเปื้อน ใช้น้ำยาตรวจที่มีคุณภาพ เครื่องตรวจอัตโนมัติมีมาตรฐานในการตรวจพิสูจน์ เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการรวบรวมพยานหลักฐาน และพิจารณาประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ทีละประเด็น โดยตัดผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปทีละคนทีละประเด็น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงจำเลย
ซึ่งครั้งแรก จำเลยก็เป็นผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อยังไม่ชัดเจนจึงยังไม่ถูกดำเนินคดี กระทั่งตรวจดีเอ็นเอจากเยื่อบุกระพุ้งแก้มจำเลย ตรงกับการตรวจหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีการจัดเก็บและตรวจพยานวัตถุทุกชิ้นอย่างละเอียดและป้องกันการปนเปื้อน โดยส่งไปตรวจสอบยังหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานที่น่าเชื่อถือของโรงพยาบาลตำรวจ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเครื่องมือที่ได้คุณภาพ การตรวจจึงมีความน่าเชื่อถือ จึงไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำจำเลย เพราะในการสอบสวนต้องใช้เวลา, บุคลากรจำนวนมาก รวมทั้งงบประมาณ หากจะสร้างพยานหลักฐาน คงไม่ต้องให้สิ้นเปลืองทั้งบุคลากรและงบประมาณ พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังได้ปราศจากข้อสงสัย ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสองสถานเดียว
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกระบวนการอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้ว่า เป็นการอ่านคำพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรี ที่มีการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรน มายังศูนย์อำนวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Justice Conference Center) ชั้น 6 อาคารศาลอาญา ที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้จัดให้มีล่ามแปลภาษาพม่า เพื่อให้จำเลยได้ฟังอย่างเข้าใจถึงผลคำพิพากษา
ด้านนายนคร ชมภูชาติ ทนายความจำเลย เผยว่า หลังจากนี้ ทางจำเลยได้แจ้งขอยื่นเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป