xs
xsm
sm
md
lg

“อ.คมสัน” ชี้ “ไพบูลย์” ยุบพรรคซบ พปชร.กฎหมายเปิดช่องแต่ไม่สง่างาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“อ.คมสัน” ชี้ “ไพบูลย์” ยุบพรรคซบ พปชร.กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ แต่ไม่สง่างาม เนื่องจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 91 วรรค 4 ใช้เพื่อคุ้มครองสมาชิกพรรคที่เป็น ส.ส.เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงหัวหน้าพรรค แนะก่อนเลือกตั้งครั้งใหม่ต้องเคลียร์กฎหมายด่วนไม่เช่นนั้นจะเกิดการเสื่อมศรัทธาต่อสภา และ กกต.ไปเรื่อยๆ



วันที่ 29 ส.ค. อาจารย์คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอาอาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน”

โดย อ.คมสันกล่าวช่วงหนึ่งว่า มองเจตนา นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป คงอยากควบรวมกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ข้อกฎหมายตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมันทำไม่ได้ เพราะอยู่ในระหว่างอายุของสภา ก็เลยไปใช้ข้อกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91 (7) ในการยุบพรรค ซึ่งมีเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(10) รองรับ ให้สามารถย้ายพรรคได้ภายใน 60 วัน

สิ่งที่นายไพบูลย์ทำ กฎหมายมันเปิดช่องเพราะว่าความไม่เคลียร์ของรัฐธรรมนูญ อนาคตต่อไปก็จะเห็นพรรคไปรวมพรรคอื่นอีก ทั้งที่เจตนารณ์ของ มาตรา 91 วรรค 4 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมาชิกที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หากเกิดการยุบพรรค แต่การทำแบบนี้ของนายไพบูลย์เหมือนเจตนาไม่บริสุทธิ์ ข้อกฎหมายเปิด แต่การกระทำไม่สง่างาม

อ.คมสันกล่าวอีกว่า หากหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค จู่ๆ อยากทำพรรคสิ้นสภาพ ก็จะได้ให้สมาชิกหาพรรคอื่นได้ แต่ดันเขียนว่า “คุ้มครองสมาชิกที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าการสิ้นสภาพของพรรคการเมืองตามมาตรานี้ เป็นการถูกยุบพรรคการเมือง” ฉะนั้น ก็อยู่ในฐานะสวมหมวกสองใบ อันหนึ่งเป็นหัวหน้าพรรค สองเป็นสมาชิกพรรคเพียงคนเดียวของพรรค ในฐานะสมาชิกพรรคได้รับการคุ้มครองโดยวรรคท้ายของมาตรา 91 วรรค 4 ข้อสำคัญคือการเป็นหัวหน้าพรรค การถูกสิ้นสภาพ ไม่มีผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้ต้องห้าม แต่ถ้ายุบพรรคจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 จะโดนสั่งให้ตัดสิทธิทางการเมืองด้วย

อ.คมสันยังกล่าวอีกว่า กฎหมายเป็นช่องว่างอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงขั้นตั้งใจออกแบบมาให้เป็นแบบนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจ ก่อนเลือกตั้งใหม่ควรเคีลยร์ ทั้งรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป. ไม่เช่นนั้นการตีความแบบนี้ต่อไปจะเกิดการเสื่อมศรัทธาต่อสภา และ กกต.เอง


กำลังโหลดความคิดเห็น