xs
xsm
sm
md
lg

จับชาวบ้านบุกรุกป่าห้วยขาแข้ง ได้ของกลางตะพาบแก้มแดงพร้อมซากปลา

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" เผย จับชาวบ้านในพื้นที่ลักลอบเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แอบล่าสัตว์ป่าพบของกลางเป็นตะพาบแก้มแดง 5 ตัว และซากปลา 23 ซาก นำตัวส่งตำรวจเรียบร้อย

วันนี้ (1 มิ.ย.) เพจ "กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" ได้โพสต์รูปภาพ โดยนายธานี วงศ์นาค หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แจ้งว่าเมื่อเวลา 04.30 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน่วยพิทักษ์ป่าเขาปันโส ออกตรวจตราพื้นที่ป่า พบชายต้องสงสัยขับมาในพื้นที่ บุกรุกเข้าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พร้อมกับของกลางคือ รถจักรยานยนต์ ยีห้อ Honda wave s100 ทะเบียน กพจ 956 อุทัยธานี จำนวน 1 คัน พบ ตะพาบแก้มแดง จำนวน 5 ตัว และซากปลา 23 ซาก ข่องใส่ปลา1อัน

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าผู้กะทำผิดชื่อ "นายประคอง น้ำพุ" อายุ 53 ปี ราษฎรบ้านดง ต.คอกควาย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี อย่างไรก็ตาม นายธานี วงศ์นาค หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และจะนำตัวส่งต่อพนักงานสอบสวน สภ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

"ตะพาบแก้มแดง" (อังกฤษ: Malayan solf-shell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dogania subplana) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก

จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania[2] ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง

ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ"




กำลังโหลดความคิดเห็น