xs
xsm
sm
md
lg

“ผู้เชี่ยวชาญ” ชี้สงครามการค้า “สหรัฐฯ” เสียเปรียบ “จีน” ทุกประตู

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ผู้เชี่ยวชาญ” ชี้สงครามการค้า “สหรัฐฯ” เสียเปรียบ “จีน” บีบให้ “หัวเว่ย” พัฒนาตัวเองแบบก้าวกระโดดจนอาจเป็นคู่แข่งสำคัญในอนาคต อีกทั้งการแบนทำ “กูเกิล” รายได้มหาศาลหดหายไป ส่วนแรร์เอิร์ธที่อเมริกายังต้องพึ่งนำเข้าจากจีนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นส่วนสำคัญมาก ลั่นไม่ได้มีอะไรส่งผลดีกับอเมริกาเองเลย



วันที่ 21 พ.ค. ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร เกษมสันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “กูเกิล vs หัวเว่ย เกมนี้ใครชนะ ?”

โดย ม.ล.กุลธร กล่าวตอนหนึ่งว่า การที่จีนไม่ยอมแพ้ อาจเกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ถ้าเป็นเช่นนั้นการตัดสินใจของอเมริกาอาจเป็นผลร้ายกับอเมริกาเองมากกว่า เพราะสร้างคู่แข่งของตัวเองขึ้นมาเอง แต่หัวเว่ยอาจประสบปัญหาการเงินได้เหมือนกัน เพราะคนจะหันไปใช้ยี่ห้ออื่นทำให้ยอดขายตกลง

ม.ล.กุลธร กล่าวต่ออีกว่า ส่วนกูเกิลไม่ได้อะไรเลย หัวเว่ยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเขา ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดขายโทรศัพท์อันดับ 2 ของโลก การทำธุรกิจร่วมกันทำรายได้ตรงนี้ของกูเกิลหายไป ไม่สามารถสร้างมาแทนได้ อย่าง ซัมซุงแม้ยอดขายอันดับ 1 ของโลกก็จริง แต่จะขยายลูกค้าซัมซุงให้มากพอทดแทนส่วนของหัวเว่ยก็ยาก แบรนด์อื่นก็เช่นกัน รายรับตรงนี้หายไปเห็นๆ สุดท้ายคงต้องมีการตกลงอะไรกัน แต่ถ้าลงเอยเป็นไปตามที่ทรัมป์ต้องการ กูเกิลประสบปัญหาหนักเหมือนกัน

ม.ล.กุลธร กล่าวอีกว่า กูเกิลเองก็ไม่อยากแบนหัวเว่ย แต่ต้องทำ ส่วนตัวอื่นยังนิ่งอยู่ อย่างไมโครซอฟท์นี่ก็อเมริกาเหมือนกัน ซึ่งหัวเว่ยใช้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ในพวกโน้ตบุ๊ก ก็ไม่สามารถทำการค้าร่วมกับหัวเว่ยได้

ด้านพวกอุปกรณ์ชิป Intel, Qualcomm อาจไม่ส่งให้หัวเว่ย แต่ชิปนี่ขยับยากหน่อย เพราะแค่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เดินทางไปเยี่ยมโรงงานผลิตแร่แรร์เอิร์ธ สหรัฐฯ ก็ยอมผ่อนผันเลื่อนบังคับแบนหัวเว่ยออกไป 90 วัน แรร์เอิร์ธนี่สำคัญมาก ใช้ผลิตชิปเซตต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งอาวุธ ซึ่งตอนนี้สหรัฐฯนำเข้าจากจีนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจีนผลิตแรร์เอิร์ธอยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของโลก

ม.ล.กุลธร กล่าวอีกว่า ถ้าเกิดการบีบให้จีนคิดค้นพัฒนาผลิตเองได้ทุกอย่าง ซึ่งตอนนี้จีนก็ผลิตชิปเซตเองบ้างแล้ว เหมือนสร้างคู่แข่งขันใหม่ ทุกอย่างจะยิ่งไปอยู่ในมือของจีน สหรัฐฯก็ต้องยอมรับ ถ้าวันนึงเกิดการโยกย้ายลูกค้าไปหาจีนมากกว่าในปัจจุบันนี้ การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบจริง ๆ สหรัฐฯค่อนข้างเสียเปรียบ อย่างที่รู้กันตอนนี้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ อย่างผลิตที่จีน ถ้าแตกหักนี่อเมริกางานเข้า สงครามการค้า คนเจ็บน่าจะเป็นอเมริกามากกว่า
คำต่อคำ : "กูเกิล vs หัวเว่ย เกมนี้ใครชนะ ?" : คนเคาะข่าว 21/05/2019

นงวดี- สวัสดีค่ะ ต้อนรับคุณผู้ชมเข้าสู่คนเคาะข่าวนะคะ วันนี้เราอยู่กันคืนวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 กับดิฉันนงดี ถนิมมาลย์ ค่ะ คุณผู้ชมคะ วันนี้เราจะมาคุยกันถึงประเด็นสงครามการค้านะคะ ซึ่งตอนนี้บานปลายมาเป็นสงครามเทคโนโลยีแล้วนะคะ โดยเฉพาะล่าสุดคู่กรณีระหว่างกูเกิล กับ หัวเว่ย นะคะ ซึ่งกูเกิลนั้นก็ได้ประกาศหยุดการทำธุรกิจกับหัวเว่ย ตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐฯ นะคะ ก็เลยเกิดความตระหนกกันเกิดขึ้นกับบรรดาผู้ใช้บริการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย และก็ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายก็จะไม่ลดราวาศอกใส่กัน จนล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ประกาศกลับลำ ยืดเวลาออกไปอีก 90 วัน ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามต้องบอกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เราจะต้องมองไปข้างหน้า คงจะต้องดูค่ะ เพราะว่าตอนนี้เปรียบเสมือนกับว่าสงครามเทคโนโลยีนั้นได้ปะทุขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนะคะ วันนี้เราจะมาวิเคราะห์กันถึงเรื่้องนี้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับผู้ใช้บริการของทั้งกูเกิลและก็หัวเว่ย และเราก็จะคุยกันไปถึง เรื่องของ 5 จี อีกด้วย วันนี้เรามาคุยกันกับ ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร เกษมสันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นะคะ อาจารย์ค่ะ สวัสดีค่ะ

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- สวัสดีครับ

นงวดี- อาจารย์คะ ก่อนจะไปคุยเรื่อง 5 จี ซึ่งต้องดูเหมือนว่ามันจะเป็นจุดอ่อนไหว สำหรับความขัดแย้งทีเกิดขึ้นในสงครามการค้าเนี่ยนะคะ เราคุยกันถึงเรื่องใกล้ตัวก่อนว่าถึงแม้ว่าตอนนี้เขาจะยืดเวลาไป 90 วัน ผู้ใช้บริการของหัวเว่ยทั้งหลายแหล่ยังใช้บริการ ได้ปกติ แต่ว่าผลกระทบที่มันจะเกิดขึ้นได้ มันจะมีอะไรบ้างคะ อาจารย์คะ

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เอ่อ จริงๆ ต้องเรียนอย่างนี้คือ ผลกระทบของผู้ใช้บริการหัวเว่ยหรือลูกค้าของหัวเว่ย ตอนนี้คือ ถ้าเราจะแบ่งออก ตอนนี้มันก็จะมี สองกลุ่มหลักๆ ใช่ไหม กลุ่มหนึ่งคือที่เป็นลูกค้าในปัจจุบันอยู่แล้วที่ใช้หัวเว่ย ผมเองก็ใช้ กับกลุ่มที่เป็นลูกค้าในอนาคต ใช่ไหมครับ จากการประกาศ Exclusive order ของท่านประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่บอกว่า ห้ามไม่ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ใช้อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของบริษัทต่างชาติที่อาจจะก่อให้เกิดภัยคุกคามหรือภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ทีนี้พอมีการประกาศ Exclusive order นี้ออกมา ทางกระทรงพาณิชย์เองก็ต้องเตรียมในรายละเอียด เพื่อที่จะบอกว่าอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้นะครับ ทีนี้ระหว่างนี้เราจะเห็นได้ว่า ตอนช่วงเมื่อวานเอง กูเกิลออกมาบอกว่าจะการให้บริการ แต่ประเทศจีนเองก็มีวิธีการแก้ลำของเขา ด้วยการไปเยี่ยมโรงงานผลิต ทำให้วันนี้เอง กระทรวงพาณิชย์ก็ออกมาบอกว่า จะขยายเวลาให้ซึ่งจริงๆ ถามว่าการขยายเวลามีผลอะไรในเชิงที่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้จริงๆ ไหม คงตอบว่า ไม่ได้ เพราะว่าเมื่อมันออกมาในแนวทางนี้แล้ว ประเทศจีนก็คงหาแนวทางเตรียมรับมือแล้วแหละ จริงๆ ผมว่า ประเทศจีนเขาก็เตรียมรับเหตุการณ์นี้มาอยู่แล้วแหละ ส่วนใหญ่องค์กรใหญ่ๆ ด้านเทคโนโลยี เขาก็จะมีแผนเหล่านี้อยู่แล้ว ก็ต้องใช้เวลา ที่นี้กลุ่มลูกค้าเองที่เป็นลูกค้าหัวเว่ยเนี่ย จริงๆ มันมีสองส่วน เป็นลูกค้าปัจจุบัน แต่คำว่าลูกค้าปัจจุบันมันมีลูกค้าทั้งภายในประเทศจีน และลูกค้าภายนอกประเทศจีน เพราะว่าส่วนแบ่งการตลาด ของหัวเว่ยเองจริงๆ ตอนนี้หัวเว่ยเป็นอันดับสองของโลก อันดับหนึ่งคือซัมซุง อันดับสองก็คือหัวเว่ย อันดับสามก็คือแอปเปิล ฉะนั้นถ้าพูดถึงผลกระทบ ลูกค้าหัวเว่ยในประเทศจีนเองอาจจะกระทบไม่มากนัก เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ที่เขาใช้ ที่เราใช้ๆ กันอยู่เนี่ย เขามีใช้ของเขาเองหมด เราใช้ไลน์ เขาก็มีวีแชต อะไรอย่างนี้ เราใช้ยูทูป เขาก็มียูกู อะไรอย่างนี้ เราใช้ตัวกูเกิลเสิร์ซ เขาก็มี ไบดู คือเขามีของเขาหมดเองเลยแหละ ที่นี้ในประเทศที่มเป็นลูกค้าอย่างเราๆ นี่แหละ ที่เราอาจจะนิยมชื่นชมเทคโนโลยีของหัวเว่ย แต่ในอีกระยะหนึ่งโปรแกรมเรากลับไปนิยมใช้ของฝั่งอเมริกันมากกว่า หรือว่ายุโรป เราจะเห็นว่าแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้จะเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากฝั่งอเมริกามากกว่า แต่ว่าตัวดีไวซ์ เรากลับใช้ของจีน

นงวดี- ของจีนก็ได้

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ทีนี้คนที่ได้รับผลกระทบเนี่ยก็จะเป็นลูกค้า ผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักๆ เลย จะเป็นลูกค้าที่ว่านอกเขตของประเทศจีน ก็คือลูกค้าต่างประเทศทั้งหมด ผมว่าเป็นตัวอย่างง่ายๆ ในประเทศไทยได้รับผลกระทบแน่นอนอยู่แล้วล่ะ แต่พอกูเกิลออกมาบอกว่า โอเค สำหรับโทรศัพท์ที่ได้ติดตั้งโปรแกรมไปแล้ว เขาก็ได้ให้ สามารถยังใช้ได้ปกติอยู่ใช่ไหมครับ แต่ว่า หลังจากนี้ไป ถ้าเป็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ของหัวเว่ยที่จะออกมาทำตลาดปั๊ป ตรงนี้ ถ้าเขายังตกลงกันได้ก็อาจจะมีการกลับไปให้แอนดรอยด์ใหม่ก็ได้ แต่ว่าผมว่าพอมันเดินมาทางนี้แล้วเนี่ย ประเทศจีนเองก็ไม่คิดที่จะเสี่ยงกลับไปใช้ OS แอนดรอยด์ อีกแล้ว ทีนี้มันจะมีผลกระทบหลายๆ อันตามมา เพราะว่าอันที่จริงทางฝั่งกูเกิลเองก็ได้รับรายรับ จากหัวเว่ยเอง จริงๆ ค่อยข้างเยอะ จากการที่ใช้บริการของกูเกิลเอง หรือตัวแอนดรอยด์ ฉะนั้นพอมาอย่างนั้นปั๊ป ลูกค้าก็จะตกใจกันหมด ฝั่งเราจะเป็นอย่าสงไรบ้างไหม เราจะใช้ เพราะว่าคนไทย เราไปกับกูเกิลฟหมดเลย เสิร์ซก็จะกูเกิล เมลก็ใช้จีเมล ยูทูป ยิ่งปัจจุบันจีพีเอส เปิดกูเกิลแมปเลย ทุกอย่างเราไปดีไวซ์บนกูเกิลแพลตฟอร์มหมดเลย ทีนี้ถ้าเกิดเขาปิดการให้บริการจริงๆ มันจะอัปเดตไม่ได้ พอมันอัปเดตไม่ได้ปั๊ป มันก็จะมีปัญหาเรื่องซอฟท์แวร์ ตัวแอปพลิเคชัน มันไม่ทันต่อปัจจุบันละ พอไม่ทันอาจจะมีอะไรที่ มีช่องโหว่ ทำให้เกิดภัยคุกคามได้ทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยของตัวบุคคลแล้วทีนี้ พอไม่อัปเดต แต่พอเขาบอกว่า โอเค ยังอัปเดตได้ ก็โล่งใจไปหน่อยหนึ่งแต่ว่าในอนาคตเอง ผมว่าจีนน่าจะถอยและ ถอยในที่นี้หมายความว่า มองหาทางเลือกที่คิดว่าจะไม่ไปพึ่งพาตัวแอนดรอยด์ เพราะว่ามันก็มีตัวอย่างที่บริษัทเขาไม่ทำเหมือนกันเช่น ที่ไม่ใช้แอนดรอยด์ อย่างเช่นอะแมซอน อะแมซอน เขาก็มีไฟล์ของเขาเองที่เรียกว่าไฟล์ OS ปอะแมซอนใช้ของเขาเองตลอดและเขาก็มี ตัวอะแมซอน แอปสโตร์ ฉะนั้นเขาก็จะใช้ของเขา เพราะถ้ามันเป็นอย่างนี้ต่อไปก็บีบให้ประเทศจีนเริ่มที่สร้าง OS ใหม่ขึ้นมาที่จะใช้ในมือถือ ถ้ามันทำได้เนี่ย มันก็จะกลับออกมาเป็นคู่แข่ง กับฝั่งแอนดรอยด์อีกทีหนึ่ง

นงวดี- ซึ่งตรงนี้น่าสนใจใช่ไหมคะ อาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ และจะต้องอย่าลืมว่าส่วนแบ่งการตลาดของโทรศัพท์เอง อเมริกาเอง หลักๆ คือมีแค่แอปเปิล ก็ใช้ IOS ของเขา ใช่ไหมครับ แต่แอนดรอยด์เองมี่ทั้งฝั่งจีน ฝั่งเกาหลี จีนเองมีทั้งวีโว ออปโป้ เสี่ยวมี่ อะไรพวกนี้ คือเขาก็ใช้ แอนดรอยด์ กันหมด จู่ๆ เขามี OS ของเขาเองได้ เขาแบนจีน บอกว่าเราใช้ OS ของเขาเองหมดอาจจะหงเหมินหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจอาจจะมีอันใหม่อะไรก็ได้ ออกมาอย่างเนี้ย งั้นรายรับตรงนี้ที่เกิดขึ้นทั้งฝั่งอเมริกาเองปีละ สามแสนกว่าล้านมันจะหายไปเลยมันก็เป็นเป็นสงครามการค้าที่ดุเดือด ชิงไหวชิงพริบกัน ก็ต้องมาดูในอนาคตก็ต้องมาดู แต่ในปัจจุบันนักข่าววันนี้ที่เขาแถลงออกมา ผู้ใช้หัวเว่ยยังสามารถใช้งานได้อยู่ สามารถอัปเดตได้อยู่ แต่ก็ต้องรอดูว่า คือมันมีข่าวรายวันเลย ว่าจะตอบโต้ทางกลยุทธ์ยังไง เกี่ยวกับเรื่องของสงครามการค้าครั้งนี้

นงวดี- ที่นี่เดี๋ยวนงไปลงว่า หัวเว่ยจะทำอย่างไร กูเกิลจะทำอย่างไร คือต่างฝ่ายต่างก็ได้รับผลกระทบมีทั้งบวกและลบ อะไรแบบนี้นะคะอาจารย์ เอาที่ใกล้ตัวนิดหนึ่ง คือตอนนี้ผู้ใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์หัวเว่ยยังทำทุกอย่างได้เหมือนเดิม

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เหมือนเดิม

นงวดี- และทุกอย่างก็เหมือนเดิม ก็คือยังเป็นแอนดรอยด์อยู่ แต่ที่นี่สมมุติกรณีที่ว่าเขาแบนจริงๆ อาจารย์ เขาแบน แล้วที่กูเกิลบอกว่าผู้ใช้หัวเว่ยจะไม่สามารถอัพเกรดเวอร์ชันแอนดรอยด์ใหม่ๆ เข้าไปได้ หมายความว่าอัปเดตไม่ได้ แต่ใช้อันเดิมได้ใช่ไหมคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ อัปเดตไม่ได้ แต่ยังใช้ได้

นงวดี- ยังใช้อันเดิมได้ แต่เป็นเวอร์ชันที่เวลามีอัปเดตอันใหม่ ก็อัปเดตต่อไปก็อัปไป แต่เขาไม่เปิดโอกาสให้เราอัปเดต

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ปกติเวลาเราอัปเดตพวกซอฟต์แวร์พวกนี้ มันจะอัปผ่านกูเกิลเพลย์สโตร์บางคนก็ไปติ๊กอัปเดตอัตโนมัติ บางทีเราอาจไม่เห็น แต่มันคอยอัปเดตตลอด เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีตรงนี้ปุ๊ป บางโปรแกรมที่เป็นกูเกิลของเขาเอง มันก็ไม่อัปเดต เอาง่ายๆ เลย แผนที่ที่เราใช้กันทุกวันตอนนี้ อย่างผมมาที่นี่ก็ใช้แผนที่เหมือนกัน

นงวดี- ต้องใช้ กูเกิลแมป

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ต้องเปิด กูเกิลแมป ทุกคนค่อนข้างใช้ติด กูเกิลแมป ที่นี้ถ้าเกิดใช้ไม่ได้ หรือไม่มีโปรแกรมนี้ในอนาคต มันก็เป็นอีกมุมหนึ่งก็ได้ คนที่ยังชอบเทคโนโลยีของหัวเว่ยอยู่ ก็อาจติดตามและไปใช้ก็ได้ แต่ถ้าไม่ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์เกิดขึ้น

นงวดี- เข้าใจละค่ะ ที่นี่ที่เขาบอกว่า แต่ว่ายังใช้โอเพ่นได้เหมือนเดิม หมายความว่าคือในระดับนั้น คือระดับทั่วๆ ไปใช่ไหมคะอาจารย์ ก็ไม่สามารถอัปเดตได้ ที่ยังให้ใช้ได้ก็คือ อันที่ไม่ได้พัฒนามาจากกูเกิล

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ไม่ได้พัฒนาบนพื้นฐานแอนดรอยด์ คือกูเกิลเขาประกาศมาว่า แอนดรอยด์ที่เป็นโอเพ่นซอส เขาเรียกว่า AOSP Android Open Source Project ตัวนี้เหมือนเป็นตัวคอหลักที่ใครก็นำไปสามารถพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชัน ซึ่งกูเกิลเองเขาจะมีตัวที่กูเกิลเพลย์เซอร์วิส พวกกูเกิลเพลย์สโตร์ กูเกิลโมบายเซอร์วิส ถ้าพวกเรื่องเพลย์เซอร์วิส ก็จะเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อระบบอีเมล แอคเคานท์ ที่เราใช้จีเมลผ่านบนมือถือ หรืออาจจะเป็นเรื่องของใช้กูเกิลไดร์ฟ อัปโหลดเรื่องของข้อมูลผ่านไดร์ฟ หรือแม้กระทั่งใช้กูเกิลโฟโต้อันนี้เป็นการเชื่อมต่อผ่านกูเกิลเพลย์เซอร์วิส หรือตัวแมป อย่าง เพลย์สโตร์ ก็เป็นพวกร้านค้าแอปพลิเคชัน หนัง เพลง อีบุ๊ก อะไรต่างๆ ที่สามารถไปเลือกซื้อได้ อันนี้เป็นตัวเพิ่มเติมขึ้นมา เพราะฉะนั้นพวกที่บริการเพิ่มเติมขึ้นมาจากคอหลักพวกนี้ เราใช้ไม่ได้ แต่ว่าพัฒนาอะไรขึ้นมาแล้วเชื่อมกับคอหลักนี้อีกทีหนึ่ง แล้วเรียกของตัวเองเป็นอีกชื่อหนึ่ง ก็ไม่มีปัญหา ก็สามารถทำได้ จริงๆ มันต้องใช้เวลาและเงินทุนมหาศาล ถ้าหัวเว่ยไม่ได้เตรียมตัวมา อาจเป็นปัญหาหลัก แต่ตามข่าวเองที่ออกมาไม่แน่ใจว่าจริงแท้แน่แค่ไหน ที่เขาบอกว่าเขาเตรียม OS ไว้แล้ว มาตั้งแต่ปี 2012 ชื่อตัวหงเหมิน เพราะฉะนั้นตัวนี้จะเป็นตัวหลักที่ออกมารึเปล่า หรืออาจจะมีตัวอื่นก็ได้ แล้วออกมามันสามารถพัฒนาได้ดี มีความเสถียร ก็สามารถใช้งานได้ดี แต่ว่ามันก็มีโปรแกรมอะไรหลายอย่าง คือบางทีมันไม่ใช่กูเกิลอย่างเดียว มันมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ แล้วพัฒนาแพลตฟอร์มอยู่บนตัวของแอนดรอยด์ เราเปิดมาตอนนี้แอปเต็มไปหมด ตัวแอนดรอยด์เป็นตัวหลักพื้นฐาน มันเป็นฟังก์ชั่นของการใช้เครื่องคิดเลข นาฬิกา อันนี้เป็นฟังก์ชั้นพื้นฐานของแอนดรอยด์ แต่ว่าไอ้ตัวเรื่องเพิ่มเติมขึ้นไป มันเป็นเรื่องของแต่ละเจ้าที่จะทำอะไรเพิ่มเติมขึ้นไป งั้นความพิเศษตรงนี้มันขึ้นอยู่กับว่าจีนจะตามทันได้ไหม แต่มันก็มีความมีโอกาสที่เป็นไปได้ ในภาวะกดดันแบบนี้ บางทีมันอาจเกิดก้าวกระโดดอีกครั้งก็ได้ เพราะว่าความที่ไม่ต้องการยอมแพ้ ผมว่าคนจีนเลือดนักสู้ค่อนข้างมาก ค่อนข้างเกินร้อย แล้วเขาเจอภาวะแบบนี้ ก็ไม่ยอมกัน อาจเกิดภาวะอะไรที่พัฒนา

นงวดี- คือบูมเร็วมาก

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ที่ผมเรียนให้ทราบก็คือว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของอเมริกา อาจจะเป็นผลร้ายมากกว่าก็ได้

นงวดี- อาจจะผิดพลาดก็ได้ เพราะตอนนี้ก็อาจมีคนพูดบอกว่า ไปบีบเขา แต่ท้ายที่สุด ผลที่เกิดขึ้นกูเกิ้ลก็คือแอนดรอยด์ก็มีผู้แข่ง

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ เหมือนสร้างคู่แข่งตัวเองขึ้นมา

นงวดี- เพราะตอนนี้ที่เราใช้ก็คือผู้ที่ใช้แอปเปิล ก็เป็น IOS ใช่ไหมคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ แล้วเขาก็จะมีกลุ่มตลาดของเขาอยู่แล้ว แต่กลุ่มตลาดนี้ถ้าเทียบในตลาดโลกเองมันเป็นอันดับ 3 ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่โพรสชันทั้งหมด แล้วเอาในแค่ประเทศจีนสัดส่วนของโทรศัพท์เขาก็สูง สูงมากอยู่แล้ว แล้วก็มีแบรนด์อื่นๆ อีก แต่ที่น่าสนใจคือ หัวเว่ยอาจจะประสบปัญหาทางการเงินได้เหมือนกัน จากการที่เขามีการแบนโดยตรงกับหัวเว่ย ประเทศจีนก็มีบริษัทอื่น หมายถึงโทรศัพท์ยี่ห้ออื่น ซึ่งบริษัทยี่ห้ออื่นใช้แอนดรอยด์ได้นะ

นงวดี- ก็ไปใช้ ไม่ต้องหัวเว่ยแล้ว

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ก็ปกติ

นงวดี- ก็ไปใช้ออปโป้

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ก็ยังใช้กูเกิลได้อะไรเหมือนเดิม สมมุติคนไทยต่อให้มีปัญหา ก็ยังชอบแอนดรอยด์ มีทางเลือกที่เป็นแบรนด์ของจีนเอง ตอนนี้ก็มีมาค่อนข้างเยอะพอสมควร ก็อาจทำให้ยอดขายของหัวเว่ยตกลง ที่นี่มันก็เป็นเรื่องของกลยุทธ์ ราคาแล้ว ช่วงนี้หัวเว่ยอาจจะมีโปรโมชันอะไรมาก็ได้ที่จะให้ตัวโมเดลใหญ่ ที่ไม่ได้โดนกีดกันทางนี้ อยากพวก พี 30 หรืออะไรอย่างอื่น หรืออาจพยายามดึงคนมาซื้อแล้วก็ใช้เพื่อที่จะเอาเงินไปหมุนเวียน

นงวดี- คือตอนนี้ที่คนตัดสินใจอาจจะชะลอนิดนึง ว่าจะซื้อหัวเว่ยดีไหมใน 90 วันเนี่ย อะไรแบบนี้เป็นต้นใช่ไหมคะอาจารย์ นั้นคือผลทางจิตวิทยาเกิดขึ้นแล้ว และมันจะทำให้ยอดขายนี้ลงไปได้

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เพราะว่ามันต้องมองหลายๆ มุมนะ แล้วแต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็อยู่ที่การตัดสินใจของผู้ใช้แล้วว่า จะเลือกอะไรมากกว่ากัน แล้วก็คนที่เลือกหัวเว่ย หลายๆ คนเขาก็ค่อนข้างชัดเจนว่าชอบคุณสมบัติของหัวเว่ยที่มีมากกว่า แล้วแต่ยี่ห้อน่าจะมีจุดเด่นของเขา ว่าคนเลือกเพราะอะไร

นงวดี- อาจารย์มาที่กูเกิลบ้าง กูเกิลมีอะไรที่จะได้จะเสียบ้าง

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ผมมองว่ากูเกิลไม่ได้เลย

นงวดี- ไม่ได้เลยเหรอคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เพราะว่าหัวเว่ยก็เป็นลูกค้ารายใหญ่ของเขานะ แล้วการที่หัวเว่ยเป็นลูกค้ารายใหญ่แล้วขายโทรศัพท์เป็นอันดับ 2 ของโลก คือรายรับที่เกิดขึ้น การทำธุรกิจร่วมกัน หรือวิจัยเชิงลึก จริงๆ ผมว่าเขาก็มีนะ มันทำให้รายได้ตรงนี้หายไป แล้วเขาไม่สามารถไปบิ้วตรงอื่นมาทดแทนได้ เพราะว่าลูกค้ากลุ่มอื่น อย่างซัมซุงอันดับหนึ่ง ใช้แอนดรอยด์ก็จริง แต่จะให้ซัมซุงขยายครอบคลุมลูกค้าหัวเว่ยที่มีทดแทนรายรับต่างๆ เหล่านั้น หรือจะให้ลูกค้าของแบรนด์อื่นในจีนขยายมาใช้มากกว่าหัวเว่ย ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน เพราะฉะนั้นรายรับตรงนี้มันหายเห็นๆ สุดท้ายต้องมีตกลงอะไรกัน ผมว่านะ ถ้ามันเป็นแบบนี้จริงตามที่แบบ President ทรัมป์ ต้องการ ผมว่าเจอภาวะประสบปัญหาหนักเหมือนกัน

นงวดี- คือจริงๆ กูเกิลเรียกว่าเป็นผู้ให้ คืออย่าง หัวเว่ย เรายังพอนึกออกว่ามันยังมีเป็นรูปร่างโทรศัพท์มือถือ อาจจะมีเครื่องหมายอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอื่นๆซึ่งเราพอจะเห็นภาพจับต้องได้ แต่กูเกิล เป็นบริการอะไรบ้างอย่างที่ เป็นแอพพลิเคชั่นอะไรบ้าง

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เป็นแอพพลิเคชั่นมันอยู่ทุกแพลตฟอร์ม IOS หรือแอนดรอย์

นงวดี - ซึ่งเรานึกไม่ออกว่ามันจะมีอะไรมาเป็นทางออก มาเป็นทางเลือกให้กับกูเกิลแบบนั้นใช่ไหมคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ คือมันงดให้บริการเซอร์วิส ของดีไวซ์ที่ใช้แอนดรอย์ ทั้งหมด มันดันยกเลิกให้บริการเฉพาะหัวเว่ย มันคือประเด็น มันเฉพาะแค่นี้ แล้วแต่ว่าหัวเว่ยดันเป็นลูกค้ารายใหญ่ เขาถือควอชั่นลำดับ 2 ของโลก ในอเมริกาเองก็มีลูกค้าหัวเว่ยเยอะ ไม่ใช่ว่าลูกค้าหัวเว่ยมีเฉพาะโซนเอเชีย คือในอเมริกาเองก็มีเยอะ คือผมว่างานนี้ กูเกิลเองไม่ได้อยากออกมาแบนนะ คือมันเป็นการออกมาเพราะต้องทำ แต่ว่ามันก็ยังมีแบรนด์อื่นที่เขายังนิ่งๆ อย่างไมโครซอฟท์เพราะจริงๆมันก็ครอบคลุมเพราะอย่างท่าตัว อุปกรณ์ของหัวเว่ยที่เป็นพวกแท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก มันต้องใช้ OS ที่เป็นไมโครซอฟท์ ก็คือเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของอเมริกา เพราะฉะนั้นอเมริกาเองจริงๆไม่สามารถ ถ้าตามนี้ไม่สามารถทำการรวมกับหัวเว่ยได้เลย เพราะฉะนั้นหัวเว่ยจะใช้ OS หรือไมโครซอฟท์ ไม่ได้เลย

นงวดี- แต่ไมโครซอฟท์ยังไม่ขยับ แต่กูเกิลคือเปรี้ยวก่อนเลย คือขยับก่อนเลยแล้วเป็นกูเกิลด้วย ก็เลยเกิดความสั่นสะเทือนเกิดขึ้น แล้วทีนี้จริงๆจะมีบริษัทอื่นๆด้วย อย่างเช่นผู้ผลิตชิปอะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะอาจารย์ มันจะไปจนถึงขั้นนั้นแล้วมันมี

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- แล้วตอนนี้ฝั่งชิปขยับ อินเทล-ควอลคอมม์ ก็บอกว่าอาจจะไม่ส่งชิปให้กับทางฝั่งหัวเว่ย แต่ผมว่าฝั่งชิปน่าจะขยับยากหน่อย เพราะว่าพอหลังจากประกาศออกมา President สี จิ้นผิง ก็ไปเยี่ยมชมโรงงานดูบริษัทที่เป็น JL mag rare earth ที่ มณฑล เจียงซี ก็เป็นการไปเยี่ยมชมแต่ไม่ ผมว่าเขาสมาร์ทมูฟของจีน เขาก็คิดว่าเป็นยุทธวิธีที่ดีคือก็ไปเยี่ยมชมโรงงานที่ผลิตแร่ ซึ่งแร่นี้เป็นแร่สำคัญที่ใช้ในการผลิตชิปเซตต่างๆ อุปกรณ์ไฮเทค หรือแม้กระทั่งอาวุธ อเมริกาเองนำเข้าแร่ชนิดนี้ จากจีนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นเรื่องที่แปลกคือเรื่องประเด็นตรงนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องมาตรการกีดกันอะไร อเมริกาเองนำเข้าค่อนข้างเยอะแล้วประเทศจีนเป็นแหล่งที่ผลิตแร่ 90 เปอร์เซ็นต์ของโลก

นงวดี- คือมันอยู่ที่จีนแทบจะทั้งหมดเลยใช่ไหมคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ พอประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ไปเยี่ยมชมโรงงานเมื่อวานก็ วันนี้ออกมาขยับก็เราให้ 90 วันไม่ใช่ต้องเดียวนี้เลย กูเกิลยังโอเคยังออกมาอัปเดต

นงวดี- แรร์เอิร์ท ที่ว่ามันสำคัญมากเลยใช่ไหมคะอาจารย์

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- แล้วถ้าสุดท้ายมัน ถ้ามันเกิดการแข่งขันที่เรียกว่าบีบ เกิดการบีบให้ทางจีนเอง เขาคิดค้นหรือพัฒนาเพื่อที่จะตาม คราวนี้มันเหมือนสร้างคู่เเข่งขันขึ้นมาใหม่ จีนก็ไม่ใช่ไม่มีความสามารถในการผลิตชิปเซทเขาก็ผลิตอยู่ แล้วก็เริ่มใช้แล้วด้วยในดีไวท์ๆต่าง โทรศัพท์หัวเว่ยเองบ้างรุ่นก็ใช้อยู่ เพราะฉะนั้นไม่ได้แปลว่าเขาผลิตไม่ได้ แล้วเมื่อใดก็ตามถ้าเขาผลิตทุกอย่างเองหมดแล้วก็ทำได้จริงๆ คราวนี้ทุกอย่างจะยิ่งไปอยู่ในมือเขา ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องยอมรับ ถ้าถึงจุดๆ นั้น ถ้าวันหนึ่งมันเกิดการ โยกย้ายกลุ่มคน ลูกค้าหรืออะไรที่ไปทางนั้นมากกว่าปัจจุบันนี้ ทั้งๆที่ทุกวันนี้เริ่มไปแล้วล่ะ แต่ยอมรับว่าการตัดสินใจครั้งนี้มันส่งผลกระทบจริงๆ ก็คงต้องรอดูต่อไปว่าเขาขยับแค่ไหน เพราะว่าถ้าเอาเขาจริงๆผมว่าอเมริกาค่อนข้างเสียเปรียบเพราะว่าอะไรหลายๆอย่าง ก็ผลิตที่จีน และต้นทุนการผลิตอะไรหลายๆอย่างก็ ที่สินค้าขายอยู่ทุกวันนี้ก็ผลิตจากที่นี้เหมือนกัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดก็ผลิตที่จีนหลายคนก็คงทราบกัน มันถึงขั้นแตกหักอเมริกาเองก็งานเข้าเหมือนกัน

นงวดี- แสดงว่าอาจารย์ฟันธงว่าสงครามที่จุดขึ้นมาในรอบนี้ระหว่างค่ายสหรัฐอเมริกากับจีน บริษัทเทคโนโลยีที่ฟาดฟันกันคนที่เจ็บน่าจะเป็นอเมริกามากกว่า ที่นี้ประเด็นที่จีนเขารู้สึกเหมือนว่าจะพุ่งเป้าไปที่หัวเว่ยมากๆ ก็คือกรณีของ 5 จี หัวเว่ยเป็นภัยคุกคามทางด้านความมั่งคงอะไรแบบนี้ คืออาจารย์เท่าที่อยู่ในแวดวง มันมีหลักฐานพิสูจน์ไหมคะว่ามันเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือว่ามันเป็นไปได้ไหม แค่ไหน

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ถ้าเป็นหลักฐานผมว่าคงไม่มี คืออย่างที่เราทราบกันว่าปีนี้ เทคโนโลยี 5 จี กำลังเริ่ม Implement ในหลายๆ ประเทศก็เริ่ม Implement ไปแล้วเต็มรูปแบบ เกาหลีใต้ใช้ไปแล้ว อเมริกายังไม่ทั้งหมด ที่นี้เทคโนโลยี 5 จี ที่ใช้ในการสื่อสารมันเป็นแบบใหม่ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลได้เร็วขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าจากปัจจุบัน ปัจจุบัน 4 จี หลายๆคนก็บอกรู้สึกดีขึ้น แต่ว่าพอเป็น 5 จี มันอย่างต่ำ 10 เท่ามันจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ นั้นคือสาเหตุว่าทำไมจะเริ่มได้ยินข่าวว่ารถยนต์ขับอัตโนมัต คือเทคโนโลยีพวกนี้มันตามเทคโนโลยีสื่อสารมาเหมือนความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลพวกนี้มา เพิ่มสูงขึ้น เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นความเป็นไปได้ในการที่จะแมชชีน ทู แมชชีน คุยกันมันเกิดขึ้นได้ง่าย ที่นี้พอเริ่มมีการ Implement เทคโนโลยี 5 จี เพื่อใช้ในการสื่อสาร เทคโนโลยีเหล่านี้เวลามันจะสื่อสารได้ มันก็ต้องสื่อสารผ่านอุปกรณ์ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนเสาต่างๆที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณแล้ว ตอนนี้หัวเว่ยเองเข้ามากินส่วนแบ่งการตลาดในการผลิตอุปกรณ์ใช้ในการรับส่งสื่อข้อมูล สื่อสาร 5 จี แล้วหลายๆประเทศที่ติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน 5 จี ที่กำลังเริ่มก็ต้องรับว่าหลายๆคน หลายๆประเทศก็หันไปใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ย ค่อนข้างเยอะ อันนี้พูดในระดับโลกแล้วอเมริกาเองก็เกิดความหวาดกลัว ตระหนกใช่ไหมครับว่า การที่สมมติว่า ทุกประเทศหรือหลายๆ ประเทศส่วนใหญ่ ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลสื่อสาร 5 จี ของหัวเว่ยเนี่ย อาจจะมีการลักลอบเก็บข้อมูลอันนี้เป็นการพูดที่ไม่มีหลักฐานนะครับ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทางหัวเว่ยเขาเอง เพราะว่าเขาบอกแล้วว่ามันไม่มี แล้วก็ไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันหรือพิสูจน์ได้ มันเป็นการเหมือนพูดชี้ป้ายสีเขา ไม่มีหลักฐานไม่มีอะไร ก็แล้วก็มาออก Exclusive order อีก ว่าห้ามใช้อุปกรณ์ที่อาจจะเป็นภัย ต่อความมั่นคงปลอดภัยอะไรอย่างนี้ มันเป็นสงครามเศรษฐกิจที่เรียกว่า ค่อนข้างใส่ร้ายพอสมควร เราต้องให้ความเป็นกลางหน่อยนะครับ ซึ่งมันก็ยากนะครับ ผมว่า คือบริษัทที่ Implement อุปกรณ์มันมีอยู่ไม่กี่เจ้าในโลก ที่เป็นผู้นำมานานก็จะเป็นอิริคสัน

นงวดี- อิริคสัน ซึ่งก็ไม่ใช่ของสหรัฐฯ

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ โนเกีย อะไรอย่างนี้ อิริคสัน โนเกีย และก็มีหัวเว่ย มันยากที่จะบอกว่าเอ้ยห้ามใช้ของเขา เพราะของเขาอย่างนั้น คือมันต้องมาดูกันหน่อย ถ้าไม่แล้วจะเป็นไปในทางไหน เพราะจะมาบอกว่าไม่ให้ใช้ๆ แล้วยังไง และถ้าเกิดเขามาบอกว่าอิริคสันเองก็ไว้ใจไม่ได้ คือทุกอย่าง ณ วันนี้เอง มันมาพูดแบบนั้นไม่ได้ อะไรที่มันออกจากตัวเราไปแล้วมันไม่มีความปลอดภัยหรอก

นงวดี- ถามว่าเป็นไปได้ไหมอาจารย์ ก็คือเป็นไปได้ใช่ไหม

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ถามว่าเป็นไปได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ และมันก็ไม่ได้แปลว่าเป็นไปได้ถูกไหมครับ

นงวดี- เพราะมันก็ไม่มีหลักฐานว่าเป็นแบบนั้น

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เหมือนเราใช้แอปพลิเคชันของเราอยู่ทุกวันนี้ เราใช้เมลของจีเมล องค์กรหลายๆ องค์กรใช้อีเมลของจีเมลด้วยซ้ำ แต่จีเมลก็ทำเป็นชื่อโดเมนให้ เราเอาข้อมูลของเราไปอยู่บนเขาไว้ใจได้อย่างไรว่าเขาไม่ได้เอาข้อมูลของเรามาใช้ประโยชน์ คือทุกอย่างมันอยู่บนความไว้เนื้อเชื่อใจ มันไม่สามารถบอกได้ว่า ได้ไม่ได้ อย่างไร เป็นไปได้ไหม เป็นไปได้ แต่มันไม่ใช่เทคโนโลยีเรา เราต้องยอมรับ ผมว่ามันก็น่ากลัวนะ

นงวดี- ทีนี้เราจะสามารถพูดได้ใช่ไหมคะ ในเรื่องเทคโนโลยี 5 จี จีนเขานำที่สุดละ ก้าวหน้าที่สุดในโลก

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- คงไม่ ในแง่เทคโนโลยี 5 จี เอง ถ้าพูดถึงเรื่องมาตรฐานก็ต้องทั่วโลกร่วมกันแต่ในแง่ของอุปกรณ์บางชนิดเราต้องยอมรับว่าจีนเองเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีความก้าวหน้าในการผลิตด้วยเหมือนกันเพราะหลายๆ เพราะหลายๆบริษัทเองเขาก็จะจัดแตกต่างกัน อย่างเขาเขาเน้นไปด้านนี้ ซึ่งมันจะมีคู่แข่งน้อยรายและเขาทำได้ดี และจะมาบอกว่าสินค้าเขาไม่น่าไว้ใจมันก็ลำบากเหมือนกัน ต้องคอยดู หรืออเมริกาจะออกแบรนด์ใหม่มาว่ากันก็คือมริกาเองก็เคยมีกรณีพิพาทนี้คล้ายๆกันกับ ZTE เมื่อก่อน เป็นบริษัทโทรคมนาคมของจีน ก็ทำให้ ZTE เองก็อยู่ในภาวะลำบาก เหมือนกันคล้ายๆ กัน

นงวดี- นี่คือศพที่ว่า ZTE เหมือนกับจะยอม

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ แต่ความนี้ผมว่าดูไม่น่าจะยอมกันง่ายๆ หัวเว่ยเขาก็คิดว่าเขาเจ๋งพอไม่จำเป็นต้องง้อ เราเองเป็นผู้ใช้คงต้องนั่งเฝ้ารอลุ้นว่าจะออกหัวออกก้อย

นงวดี- อาจารย์คือถ้าวัดกันแล้วเคสของกูเกิลกับหัวเว่ย มันเป็นเคสหนึ่งกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวงสงครามการค้ามันมีสงครามเทคโนโลยีด้วยขึ้นมา ในมุมมองอาจารย์คิดว่าเป้าของสหรัฐฯที่พุ่งมาเรื่องความขัดแย้งทางเทคโนโลยีและบริษัทเทคโนโลยี ของเขา มันอยู่ที่ไหน มันอยู่ตรงจุดไหน อาจารย์คิดว่าตรงไหนเป็นแรงขับสำคัญที่สุด

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ผมว่าแรงขับของเขาหลักๆ คือการเสียดุลการค้าของเขา และตอนนี้จีนในทุกด้านเริ่มขยับมาอยู่เหนืออเมริกาค่อนข้างมาก ทางด้านเทคโนโลยีก็เริ่มที่จะล้ำกว่าแล้วด้วยในบางเรื่อง อย่างจีนเองมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์สูงกว่ามากกว่าอเมริกามาหลายปีแล้ว แซงมาแล้ว เรื่องหุ่นยนต์อะไรต่างๆ เราจะเริ่มเห็นทางฝั่งจีนมากขึ้น

นงวดี- นำทางฝั่งอเมริกามากกว่าด้วยซ้ำ

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ คือ มีหุ่นยนต์ที่ช่วยในการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์รักษาคนเบื้องต้น คือเขาเราจะเริ่มเห็นอะไรแบบนี้ทางฝั่งจีนบ่อยกว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเขามีเทคโนโลยีอะไรต่างๆที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีผู้ใช้ที่เป็นกำลังฐานของเขาค่อนข้างสูง ประชาชนจีนเองก็ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว และการใช้อย่างแพร่หลายมันสามารถเกิดขึ้นๆได้อย่างวงกว้างได้มากขึ้น พอพัฒนาได้ดีขึ้นมันก็ทำให้การขยายตัวของมันเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นด้วย มันเริ่มแค่ไม่ใช่ภายในประเทศมันเริ่มข้ามออกมาข้างนอกด้วย และเริ่มกลืน บรรดาเจ้าที่มีอยู่เดิมให้หายไปๆ แหล่งการตลาดก็ลดลงๆ ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองก็คงยอมไม่ได้ ถ้าพูดถึงตัวเลขเชิงเศรษฐกิจที่เสียหายผมว่าก็คงเยอะ ก็ต้องออกมาหาวิธีที่ต้องบีบให้ทางจีนยอมแต่จีนเองเขาก็ถือว่าเขาก็เจ๋งนะ ไม่ได้เล็กไปกว่าใคร ทำไมต้องมายอม เป้าหลักก็คงต้องดูว่าจีนเขาจะอย่างไรมากน้อยแค่ไหน แต่ว่าคงไม่ยอมอะไรมาก

นงวดี- ไม่ยอมแน่นอน

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- ใช่ๆ

นงวดี- และที่สำคัญคือถ้าดูเรื่องหัวเหว่ย ยังมีประเด็นคดีความที่ลูกสาวของหัวเว่ยด้วย อันนั้นก็ไปเปิดไว้ เป็นคดีก่อนเลยละ มาพร้อมๆกับการกล่าวหาหัวเหว่ยว่ามีการลักลอบเก็บข้อมูลของลูกค้าและมีการไปลอบบี้ประเทศนู้นประเทศนี้ว่าห้ามใช้อุปกรณ์ของทางหัวเว่ย ซึ่งบางประเทศก็ยอมบางประเทศก็ไม่ยอมใช่ไหมอาจารย์ แต่ดูแล้วพัฒนาการเรื่องนี้น่าจะเป็นไปในทิศทางเข้มข้น มากกว่าจะซาหายไปแน่นอน

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- เรื่องเข้มข้นคงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ต้องมาดูว่าใครยอมใครผมคิดว่าถ้ามาจุดนี้จีนคงไม่ยอมแล้วละ และคงได้เห็นผลิตภัณฑ์อะไรของจีนออกมาไม่นานนับจากนี้ ฝั่งในประเทศเขาคงคุ้นเคยกับการใช้อะไรในแบบของเขาอยู่แล้ว เพราะแอปพริเคชันอะไรที่เราใช้กันอยู่ต่างๆ เขาก็มีเป็นของแบรนด์เขา การทรานฟอร์มภายในอาจจะไม่มีผล เขาไม่ได้มาใช้จีเมล ไม่ได้มาใช้เฟซบุ๊ก อินสตราแกรม คือเขามีแอปพลิเคชันของเขา ผมว่าลูกค้าที่เป็ฯฝั่งนอกประเทศที่ไม่ใช่คนจีนได้รับผลกระทบมาก

นงวดี- ซึ่งเราอาจต้องมาเรียนรู้วิธีใช้หงเมิ่ง

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- แต่ว่ามันคงยาก เพราะเราก็ใช้เฟซบุ๊กของเราอยู่เราก็ใช้จีเมลของเราอยู่ แต่ถึงเวลานั้นอาจมีการเชื่อมอะไรบางอย่างมันถามว่าทำได้ไหม มันก็มีทำได้และคือคำว่าไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ คนไทยหัวใสอยู่แล้วอาจมีวิธีแก้นู้นนี่นั่น เป็นอีกเรื่องหนึง ถามว่าผิดที่จ้องไปหาเอาความกันอีกทีหนึง แต่ตามหลักการกันคือเขาห้าม แต่ในแง่ถ้าเรายังในรักหัวเว่ยเพราะกล้องซูมได้ขนาด ก็แล้วแต่คน คนชอบอะไรแบบนี้ ใจอาจชอบเทคโนโยยีนี้ แต่ชอบใช้แอปของฝั่งโน้น ผมว่ามันคงมีวิธีแต่จะเพิ่มความยุ่งยากขึ้นอีกนิดแต่อาจรอได้ ก็คงไม่น่ามีปัญหาอะไร และคงต้องดูว่ามันจะมากน้อยแค่ไหน อยู่จีนอาจทำออกมาได้ดีมากก็ได้ และอาจมีอะไรที่สามารถดึงคนข้างนอกเข้าไปใช้ของตัวเองได้มากขึ้นนั่นเอง ต้องรอดู

นงวดี- ก็อาจเป็นอีกก้าวหนึงของจีนก็ได้ ใช่ไหมคะอาจารย์ เอาละค่ะ ต้องติดตามกันนี่น่าจะเรียกว่าเป็นแค่ปฐมบทก็ว่าได้ สำหรับคู่ขัดแย้งในด้านเทคโนโลยีเราอาจใช้คำว่าสงครามการค้ากลายมาเป็นสงครามเทคโนโลยี บางคนเขาบอกว่านี้ละคือหัวใจหลักของความขัดแย้งของคู่มหาอำนาจนี้มันคือเรื่องของเทคโนโลยีนั่นเอง สหรัฐอเมริกาพอตื่นขึ้นมาก็ถูกจีนแซงไปในหลายๆเรื่องแล้ว เพราะฉะนั้นก็อาจต้องมีวิธีการอะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำแพงภาษี หรือการออกคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีออกมา ห้ามไม่ให้บริษัทอเมริกาไปมีความสัมพันธ์ หรือทำธุรกิจกับบริษัทจีนนั่นเอง ซึ่งก็ต้องรอติดตามนะ ว่าสงครามครั้งนี้คงไม่จบลงง่ายๆ สำหรับวันนี้ต้องขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร- สวัสดีครับ

นงวดี- หมดเวลาแล้วนะคะ คนเคาะข่าวลาไปก่อน เราพบกันทุกคือนวันจันทร์ถึงพฤหัสบดี เวลา 20.45 วันนี้ลาไปก่อนสวัสดีคะ


กำลังโหลดความคิดเห็น