1.กกต.มีมติเอกฉันท์ส่งศาล รธน.ฟัน “ธนาธร” ขาดคุณสมบัติลงสมัคร ส.ส.ปมถือหุ้นสื่อ ด้านเจ้าตัวลั่น พร้อมจัดตั้ง รบ.-เป็นนายกฯ!

ความคืบหน้าเรื่องการถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ซึ่งประกอบธุรกิจสื่อ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ที่เจ้าตัวอ้างว่า โอนหุ้นดังกล่าวให้แม่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562 ก่อนหน้าจะลงสมัคร ส.ส.เมื่อเดือน ก.พ. ไม่ใช่โอนหุ้นวันที่ 21 มี.ค. หลังลงสมัคร ส.ส. ตามที่สื่อมวลชนออกมาเปิดเผย ซึ่งหากนายธนาธรโอนหุ้นหลังลงสมัคร ส.ส. จะส่งผลให้ขาดคุณสมบัติในการลงสมัคร ส.ส. โดย กกต.ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามที่มีผู้ยื่นคำร้อง และได้แจ้งข้อกล่าวหานายธนาธร พร้อมให้โอกาสนายธนาธรได้ชี้แจงแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารข่าวว่า กกต.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสี่ กรณีความปรากฏหรือมีเหตุอันควรสงสัยต่อ กกต.ว่า นายธนาธร เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่า จากพยานหลักฐาน บริษัท วี-ลัค มีเดีย เป็นบริษัทที่ระบุวัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากงบการเงินของบริษัทฯ พบว่า มีรายได้จากการขายนิตยสาร ให้บริการโฆษณา ถือเป็นการประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน และยังคงประกอบกิจการอยู่ ไม่มีการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท หรือเสร็จการชำระบัญชีแต่อย่างใด ขณะที่สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นหรือ บอจ.5 ที่ กกต.ได้รับจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ยังปรากฏชื่อนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่ปี 2558 จนถึงวันที่ 21 มี.ค. 62 ดังนั้น เมื่อ กกต.ประกาศเปิดสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.วันที่ 4-8 ก.พ. จึงเท่ากับว่า ขณะที่นายธนาธรยื่นใบสมัครลงรับเลือกตั้ง นายธนาธรยังถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย อยู่ จึงเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 มาตรา 42(3)
สำหรับขั้นตอนหลังจาก กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง กำหนดว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ส.ส.ซึ่งถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ ส.ส. ซึ่งถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมีรายงานว่า กกต.ได้ยื่นคำร้องถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวว่า กกต.ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรกรณีถือครองหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ปรากฏว่า นายธนาธรได้ออกมาอ้างว่า การที่ กกต.ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามของ คสช.ที่จะสกัดกั้นพรรค อนค. โดยเริ่มที่การกำจัดตนก่อน แล้วค่อยกำจัดพรรค อนค.
นอกจากกล่าวหา คสช.แล้ว นายธนาธรยังได้ลุกขึ้นมาแถลงความพร้อมในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายธนาธรอ้างเหตุผลในการประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่า เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช.และหยุดยั้งความคลุมเครือของสถานการณ์ในขณะนี้ “ขอจัดตั้งรัฐบาลเอง หากพรรค อนค.สามารถรวบรวมเสียงจนจัดตั้งรัฐบาลได้ ผมนายธนาธรพร้อมเป็นนายกฯ เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช. หลังจากนี้จะเดินทางไปพบนายอนุทิน หัวหน้าพรรค ภท., นายจุรินทร์ หัวหน้าพรรค ปชป., น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และนายวราวุธ แกนนำ ชทพ. เพื่อบอกทุกคนว่า ถึงเวลาแล้วที่พรรคการเมืองจะมาทำงานร่วมกัน เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช.”
2.“จุรินทร์” ชนะขาด ได้นั่งหัวหน้า ปชป.คนใหม่ ยังไม่ตัดสินใจร่วม พปชร.ตั้ง รบ.หรือไม่ ด้าน ภท.เคาะ 20 พ.ค.!

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสยังจับจ้องอยู่ที่การจัดตั้งรัฐบาลว่า ขั้วไหนจะจัดตั้งได้สำเร็จ ขั้วพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หรือขั้วพรรคเพื่อไทย (พท.) ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค. พรรคใหม่พรรคเล็ก 11 พรรค ที่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคละ 1 คน คือ พรรคพลังชาติไทย, พรรคประชาภิวัฒน์, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคพลังไทยรักไทย, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชานิยม,พรรคประชาธรรมไท, พรรคพลเมืองไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทรักธรรม ได้จับมือแถลงจุดยืนของ 11 พรรคว่า สนับสนุนพรรค พปชร.จัดตั้งรัฐบาล และผลักดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค พปชร.และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค ร่วมรับหนังสือแสดงจุดยืนของ 11 พรรคดังกล่าว
ทั้งนี้ นายอุตตมได้ขอบคุณ 11 พรรคที่ตกลงใจจะมาร่วมงานกับพรรค พปชร.จัดตั้งรัฐบาล เพื่อนำพาประเทศไปข้างหน้า ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำหน้าที่รับใช้ประเทศชาติและพี่น้องประชาชน ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพรรคภูมิใจไทย (ภท.) จะมาร่วมกับพรรค พปชร.หรือไม่ นายอุตตมกล่าวว่า ต้องให้เกียรติทุกพรรคที่แต่ละพรรคจะมีกระบวนการภายใน หวังอย่างยิ่งว่าทุกพรรคจะเห็นตรงกันในการที่จะมาพูดคุยกัน เพราะวันนี้พี่น้องประชาชนคนไทยต้องการเห็นประเทศเดินหน้าได้
วันเดียวกัน (13 พ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พร้อมด้วยแกนนำพรรค ได้เข้ารับหนังสือรับรองความเป็น ส.ส.ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า จะขอฟังเสียงประชาชนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จะทราบความเห็นของประชาชน หลังจากนั้นจะมาประชุม ส.ส.ของพรรควันที่ 20 พ.ค. เนื่องจากพรรคทำงานเป็นทีม ส.ส.ของพรรคจึงต้องมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางของพรรค ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยใดๆ กับ 2 พรรคการเมืองใหญ่
เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) ได้เดินทางมารับหนังสือรับรองความเป็น ส.ส.จาก กกต.เช่นกัน ซึ่งหลังจากรับหนังสือรับรอง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้พูดโน้มน้าวให้นายอนุทินจับมือกับฝ่ายพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาล โดยนำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาล่อใจนายอนุทิน “ยังไงท่านอนุทิน ท่านชัย (ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ภท.) ไปอยู่ฝั่งประชาธิปไตยด้วยกันนะ ไปทางโน้นเขาไม่ให้อะไรคุณหรอก แต่มาทางนี้ได้เป็นนายกฯ ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย คุณต้องการอะไร พรรคเพื่อไทยเขาให้หมด ถ้ามาทางนี้ ผมพร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่ โอเคไหม อยากให้ร่วมกับฝ่ายประชาธิปไตยไหม อยากร่วมไหม ตกลงนะ” แต่นายอนุทินพยายามหลีกเลี่ยงไม่ตอบปฏิเสธหรือตกลงใดๆ
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อวันที่ 15 พ.ค. พรรคได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยแคนดิเดตหัวหน้าพรรคคนใหม่มี 4 คน คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรค, นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้าพรรค, นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตรองหัวหน้าพรรค และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค
ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมเปิดให้แคนดิเดตหัวหน้าพรรคทั้ง 4 คนได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ผลการลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคใหม่ ปรากฏว่า นายจุรินทร์ได้คะแนนมากที่สุด 50.5995 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยนายพีระพันธุ์ 37.216 เปอร์เซ็นต์ นายกรณ์ 8.4881 เปอร์เซ็นต์ นายอภิรักษ์ 3.6965 เปอร์เซ็นต์ ถือว่านายจุรินทร์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ปชป.คนที่ 8
หลังจากนั้นได้ประชุมเลือกรองหัวหน้าพรรคแต่ละภาค และรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจอีก 8 คน ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้เป็นเลขาธิการพรรค มีรองเลขาธิการพรรค 6 คน, เหรัญญิกพรรค, นายทะเบียนพรรค ส่วนโฆษกพรรค คือ นายราเมศ รัตนเชวง
นายจุรินทร์กล่าวกับที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ตนเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองยาวนานที่สุดอย่างน้อย 3 ปี และว่า “นับจากนี้ต่อไป พรรค ปชป.จะก้าวจากยุคอุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในอดีต พวกเราจะร่วมมือร่วมใจกันเดินไปสู่ยุคอุดมการณ์ทันสมัยด้วยกัน นำพรรค ปชป.ไปสู่ความเป็นหนึ่งในหัวใจของประชาชน”
ส่วนท่าทีของพรรค ปชป.ต่อการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลนั้น นายจุรินทร์กล่าวในเวลาต่อมาว่า ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะหารือกันวันไหน เพราะพรรคต้องแจ้งรายชื่อกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ไปยังนายทะเบียนพรรคการเมือง กกต.ให้รับทราบและรอหนังสือตอบก่อน กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จึงจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการประชุมร่วมของกรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.ที่จะตัดสินใจทิศทางการทำงานในสภา
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้มีการประชุม ส.ส.และอดีต ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศเมื่อวันที่ 16 พ.ค. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า หวังว่าจะได้มาช่วยกันรักษาระบอบประชาธิปไตย สร้างความเข้มแข็งให้ประชาธิปไตย ส่วนข่าวที่พรรค พท.จะยกเก้าอี้ให้พรรคภูมิใจไทยและพรรค ปชป.หากมาร่วมงานกับพรรค พท.นั้น คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้คุยกันเลย ขณะนี้พรรค พท.เตรียมความพร้อมเสนอเป็นประธานสภาไว้ระดับหนึ่งเท่านั้น
3.โปรดเกล้าฯ 250 ส.ว.แล้ว / “ในหลวง” เสด็จฯ เปิดสภา 24 พ.ค. คาดโหวตเลือกนายกฯ ได้ภายในเดือนนี้!

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส.ว.ตามมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 250 คน
สำหรับ ส.ว.250 คนนี้ มาจาก 3 ทาง 1.การสรรหาแบบไขว้ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 200 รายชื่อ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดให้เหลือ 50 รายชื่อ 2.คณะกรรมการสรรหาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.เลือกจาก 400 คน ให้เหลือ 194 คน โดยคณะกรรมการสรรหา มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน 3.ส.ว.ที่มาโดยตำแหน่ง 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง จึงไม่จำเป็นต้องลาออกจากราชการแต่อย่างใด
ทั้งนี้ รายชื่อผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็น ส.ว.ได้แก่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้า คสช., พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, นายสม จาตุศรีพิทักษ์ พี่ชายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม น้องชายนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ยังมีอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับบุคคลในแวดวงตำรวจที่ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา อดีตรอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อดีตรอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข อดีต ผบช.ปส., พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร อดีต ผบช.น. พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ อดีต ผบช.สตม., พล.ต.ท.สมบัติ มิลินทจินดา อดีต จตร.(สบ 8), พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตทันตแพทย์ (สบ 2) โรงพยาบาลตำรวจ
ส่วนอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช., นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช., นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช., นายสมชาย แสวงการ, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์, นายเจตน์ ศิรธรานนท์, นายตวง อันทะไชย, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายวันชัย สอนศิริ, พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ฯลฯ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาวันเดียวกัน (14 พ.ค.) ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ.2562 ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป (ส.ส.) เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 แล้ว และรัฐธรรมนูญมาตรา 121 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. โดยให้ถือวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 121, 122 และ 175 ของรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2562 เป็นต้นไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า หลังมีการประกาศรายชื่อ ส.ว.และ พ.ร.ฎ.เรียกประชุมรัฐสภา 22 พ.ค. ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 15 วัน หลังประกาศรายชื่อ ส.ส. ได้ทราบมาว่า ทางสภาจะจัดพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสภาในวันที่ 24 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาจะเกิดขึ้นเมื่อใด นายวิษณุกล่าวว่า แล้วแต่ทางสภากำหนด แต่ส่วนตัวมองว่าควรเร็วที่สุด คงเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากเปิดสภา และเห็นว่า ควรเลือกทั้งประธาน ส.ส.และประธาน ส.ว.ในวันเดียวกัน เมื่อได้ประธานและรองประธานของทั้ง 2 สภาแล้ว จะมีการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งลงมา ประธานสภาสามารถเรียกประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ทุกอย่างจะเกิดขึ้นภายในเดือนนี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ถ้าดูตามขั้นตอนดังกล่าว ก็น่าจะได้ในเดือนนี้
4. ศาลฎีกาฯ สั่งยึดทรัพย์ “หมอโด่ง” อดีตเลขาฯ “บุญทรง” เกือบ 900 ล้าน เหตุร่ำรวยผิดปกติ!

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลพิพากษาให้ทรัพย์สินของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ หรือหมอโด่ง จำเลยร่วมคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งเป็นอดีตเลขานุการของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 896,554,760 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
คดีนี้ อัยการสูงสุดยื่นคำร้องว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ผู้ถูกกล่าวหา เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและข้าราชการการเมืองอื่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการของนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการของนายบุญทรง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2558 ชี้มูลความผิด พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ว่า ร่วมกับนายบุญทรง กับพวกรวม 113 คน ทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและการระบายข้าว
ต่อมา วันที่ 2 มิ.ย.2558 คณะกรรมการ ป.ป.ช มีมติว่า กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว ร่ำรวยผิดปกติ จึงได้แต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง หลังไต่สวน ปรากฏหลักฐานว่า ระหว่างที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ เป็นผู้ช่วยเลขานุการของนายภูมิ และเป็นเลขานุการของายบุญทรง มีทรัพย์สินเป็นเงินฝากธนาคาร, เงินลงทุนในหลักทรัพย์, ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะ มูลค่ามากเกินกว่าฐานะและรายได้ที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ แจ้งต่อกรมสรรพากร และมากกว่ารายได้ที่แสดงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. โดย พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ยักย้ายถ่ายเท ซุกซ่อน นำทรัพย์สินของตน ให้บุคคลใกล้ชิด 6 คน ครอบครองแทน
ซึ่งอนุกรรมการไต่สวนชั้น ป.ป.ช. ให้ผู้ถูกกล่าวหาและผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง แต่ผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่มีชื่อถือครองทรัพย์ฯ ไม่ชี้แจงเหตุผลใด มีเพียงหลานของอดีตภรรยาที่ชี้แจง แต่คำชี้แจงไม่อาจรับฟังได้ ต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นของอนุกรรมการไต่สวนว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ร่ำรวยผิดปกติ รวมมูลค่า 896,554,760 บาท และอัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาฯ พิพากษาให้ทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมดอกผลนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ทั้งนี้ ศาลฎีกาฯ พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ยื่นไว้ต่อ ป.ป.ช. ประกอบด้วย ที่ดิน, รถยนต์, หลักทรัพย์ และบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ ของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ, ญาติและคนสนิทของผู้ถูกกล่าวหา มีมูลค่าสูง ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้เป็นภาระของผู้ถูกกล่าวหา ต้องพิสูจน์ว่า ทรัพย์สินที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์สินที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือไม่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ แต่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ไม่มาพิสูจน์
ศาลจึงฟังพยานของอัยการสูงสุด ผู้ร้อง และหลักฐานของ ป.ป.ช. เห็นว่า ทรัพย์สินทุกรายการตามฟ้องเป็นทรัพย์สินของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงให้ทรัพย์สินดังกล่าวรวมมูลค่า 896,554,760 บาท พร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดิน หากไม่อาจบังคับคดีเอาทรัพย์สินตามที่วินิจฉัยได้ทั้งหมดหรือได้แต่บางส่วน ให้บังคับคดีเอาทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาได้ภายในอายุความ 10 ปี แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วย ป.ป.ช.
สำหรับ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ หรือหมอโด่งนั้น ตกเป็นจำเลยร่วมกับนายบุญทรง คดีทุจริตระบายข้าวแบบจีทูจี แต่ระหว่างดำเนินคดี พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ได้หลบหนีไป ศาลฎีกาฯ จึงออกหมายจับให้ตามตัวกลับมาดำเนินคดีไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวมา กระทั่งเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังโดยไม่มีตัวจำเลยได้ อัยการสูงสุดจึงได้ยื่นคำร้องขอให้นำคดีอาญาในส่วนของหมอโด่งขึ้นมาพิจารณาใหม่โดยไม่มีตัวจำเลย ซึ่งขณะนี้คดีอาญาดังกล่าว อยู่ระหว่างการไต่สวนพยานของศาลฎีกาฯ
5.ศาลพิพากษาจำคุก “อดีตพระพรหมดิลก” 6 ปี คดีทุจริตฟอกเงินทอนวัด ส่วน “อดีตพระอรรถกิจโสภณ” โดน 3 ปี!

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปราบการทุจริต 1 ได้ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตพระพรหมดิลก อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ อดีตพระอรรถกิจโสภณ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเลขาฯ เจ้าคณะกรุงเทพ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานฯ, ร่วมกันฟอกเงินอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีร่วมกันฟอกเงินจากการทุจริตจัดสรรเงินงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ปี 2557 ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งที่ไม่มีการดำเนินโครงการ โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยานำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นตั้งแต่แรก
ทั้งนี้ อดีตพระทั้งสองได้สึกจากความเป็นพระและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ถูกฝากขังในชั้นสอบสวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค.2561 เมื่อถึงกำหนดที่ศาลนัด ศาลได้เบิกตัวจำเลยทั้งสองที่สวมชุดสีขาวมาฟังคำพิพากษา
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อปี 2556-2557 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีการอนุมัติเงินเบิกจ่ายให้แก่วัด 9 วัด จำนวน 72 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ โดยวัดสามพระยาได้รับเงินจำนวน 5 ล้านบาท ในการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่วัดสามพระยาไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแต่อย่างใด จำเลยควรนำเงินดังกล่าวคืน พศ. แต่กลับนำเงินไปก่อสร้างอาคารร่มธรรมและบูรณะอาคารพักสงฆ์ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ในการมอบเงินของ พศ. ทั้งที่ก่อนหน้านั้นในปี 2556 พศ.เคยมอบเงินเพื่อเป็นการบูรณะอาคารร่มธรรมและอาคารพักสงฆ์แก่วัดสามพระยา แต่จำเลยทั้งสองกลับนำเงินไปฝากเพื่อรับดอกเบี้ยจากธนาคาร แล้วนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมไปเป็นเงินในการบูรณะก่อสร้างอาคารแทน
ส่วนที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเงินดังกล่าวเป็นการอนุมัติตามที่เคยมีหนังสือ 2 ฉบับ ของบประมาณในการก่อสร้างอาคารร่วมธรรมฯ และอาคารสงฆ์นั้น ศาลเห็นว่า จากการตรวจสอบเอกสารของบจาก พศ. ไม่ได้มีการลงเลขรับจากหน้าห้องนายนพรัตน์ อดีต ผู้อำนวยการ พศ. อย่างถูกต้อง มีฉบับเดียวที่ถูกต้องที่ของบก่อสร้างอาคารพักสงฆ์ และยังได้ความจากเจ้าหน้าที่ พศ. ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกันไว้เป็นพยานว่า งบที่จัดสรรนั้น ยังมีในส่วนของวัดอื่น โดยก่อนหน้าวัดสามพระยา ก็มีการจัดสรรให้วัดอีก 2 แห่ง ที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองรู้ดีอยู่แล้วว่า งบดังกล่าวเป็นงบเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม ดังนั้นที่จำเลยอ้างว่าเป็นเพียงการใช้งบที่ผิดวัตถุประสงค์ รับฟังไม่ได้ เพราะงบดังกล่าววัดสามพระยาไม่ได้รับตั้งแต่แรก หากเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ งบที่ได้มานั้นก็ต้องได้มาตามสิทธิ์ที่ถูกต้องด้วย
พยานหลักฐานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนัก และรับฟังได้ว่า เงินดังกล่าวมาจากการทุจริตจัดสรรงบของ พศ. ซึ่งจำเลยทั้งสองรู้ดีว่าเงินที่ได้มาใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปกครองวัด จึงจะต้องได้รับโทษเป็นสองเท่า
เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์คดีนี้แล้วเห็นว่า มีการเบิกเงินในบัญชี 3 ครั้ง รับฟังได้ว่า เป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณดังกล่าว โดยมีการเบิกเข้าบัญชีนางวิภาพร และไปฝากบัญชีเงินฝากประจำชื่อบัญชีของวัด จนได้รับดอกเบี้ยเป็นเงิน 8 ล้าน แล้วถอนเงินดังกล่าวไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมฯ และอาคารพักสงฆ์ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรับโอนเงิน และเปลี่ยนสภาพจากการกระทำผิด ความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 5 (1) (2), 60 ประกอบประมวลกฎหมายมาตรา 83
ส่วนที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือโดยทุจริต และฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายมาตรา 157 ศาลเห็นว่า จะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติโดยตรง แต่เหตุที่เกิดขึ้นเป็นการมอบอำนาจเบิกเงินจากบัญชี ไม่ใช่อำนาจโดยตรง จึงไม่มีความผิดในข้อหานี้
พิพากษาว่า กระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายมาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทงๆ ละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา รวมจำคุก 6 ปี และให้จำคุกนายสมทรง อดีตพระอรรถกิจโสภณ 2 กระทงๆ ละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
หลังฟังคำพิพากษา นายโกศล ใสสุวรรณ ทนายความอดีตพระพรหมดิลก จำเลยที่ 1 เผยว่า จะอุทธรณ์สู้คดีแน่นอน เพราะเห็นว่าอัตราโทษที่ศาลพิพากษา สามารถรอลงอาญาได้ และเตรียมขอยื่นประกันตัวอดีตพระทั้งสองในสัปดาห์หน้า
ความคืบหน้าเรื่องการถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ซึ่งประกอบธุรกิจสื่อ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ที่เจ้าตัวอ้างว่า โอนหุ้นดังกล่าวให้แม่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562 ก่อนหน้าจะลงสมัคร ส.ส.เมื่อเดือน ก.พ. ไม่ใช่โอนหุ้นวันที่ 21 มี.ค. หลังลงสมัคร ส.ส. ตามที่สื่อมวลชนออกมาเปิดเผย ซึ่งหากนายธนาธรโอนหุ้นหลังลงสมัคร ส.ส. จะส่งผลให้ขาดคุณสมบัติในการลงสมัคร ส.ส. โดย กกต.ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามที่มีผู้ยื่นคำร้อง และได้แจ้งข้อกล่าวหานายธนาธร พร้อมให้โอกาสนายธนาธรได้ชี้แจงแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารข่าวว่า กกต.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสี่ กรณีความปรากฏหรือมีเหตุอันควรสงสัยต่อ กกต.ว่า นายธนาธร เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่า จากพยานหลักฐาน บริษัท วี-ลัค มีเดีย เป็นบริษัทที่ระบุวัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากงบการเงินของบริษัทฯ พบว่า มีรายได้จากการขายนิตยสาร ให้บริการโฆษณา ถือเป็นการประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน และยังคงประกอบกิจการอยู่ ไม่มีการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท หรือเสร็จการชำระบัญชีแต่อย่างใด ขณะที่สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นหรือ บอจ.5 ที่ กกต.ได้รับจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ยังปรากฏชื่อนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่ปี 2558 จนถึงวันที่ 21 มี.ค. 62 ดังนั้น เมื่อ กกต.ประกาศเปิดสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.วันที่ 4-8 ก.พ. จึงเท่ากับว่า ขณะที่นายธนาธรยื่นใบสมัครลงรับเลือกตั้ง นายธนาธรยังถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย อยู่ จึงเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 มาตรา 42(3)
สำหรับขั้นตอนหลังจาก กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง กำหนดว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ส.ส.ซึ่งถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ ส.ส. ซึ่งถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมีรายงานว่า กกต.ได้ยื่นคำร้องถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าวว่า กกต.ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรกรณีถือครองหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ปรากฏว่า นายธนาธรได้ออกมาอ้างว่า การที่ กกต.ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามของ คสช.ที่จะสกัดกั้นพรรค อนค. โดยเริ่มที่การกำจัดตนก่อน แล้วค่อยกำจัดพรรค อนค.
นอกจากกล่าวหา คสช.แล้ว นายธนาธรยังได้ลุกขึ้นมาแถลงความพร้อมในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายธนาธรอ้างเหตุผลในการประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่า เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช.และหยุดยั้งความคลุมเครือของสถานการณ์ในขณะนี้ “ขอจัดตั้งรัฐบาลเอง หากพรรค อนค.สามารถรวบรวมเสียงจนจัดตั้งรัฐบาลได้ ผมนายธนาธรพร้อมเป็นนายกฯ เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช. หลังจากนี้จะเดินทางไปพบนายอนุทิน หัวหน้าพรรค ภท., นายจุรินทร์ หัวหน้าพรรค ปชป., น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และนายวราวุธ แกนนำ ชทพ. เพื่อบอกทุกคนว่า ถึงเวลาแล้วที่พรรคการเมืองจะมาทำงานร่วมกัน เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช.”
2.“จุรินทร์” ชนะขาด ได้นั่งหัวหน้า ปชป.คนใหม่ ยังไม่ตัดสินใจร่วม พปชร.ตั้ง รบ.หรือไม่ ด้าน ภท.เคาะ 20 พ.ค.!
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสยังจับจ้องอยู่ที่การจัดตั้งรัฐบาลว่า ขั้วไหนจะจัดตั้งได้สำเร็จ ขั้วพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หรือขั้วพรรคเพื่อไทย (พท.) ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค. พรรคใหม่พรรคเล็ก 11 พรรค ที่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคละ 1 คน คือ พรรคพลังชาติไทย, พรรคประชาภิวัฒน์, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคพลังไทยรักไทย, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชานิยม,พรรคประชาธรรมไท, พรรคพลเมืองไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทรักธรรม ได้จับมือแถลงจุดยืนของ 11 พรรคว่า สนับสนุนพรรค พปชร.จัดตั้งรัฐบาล และผลักดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค พปชร.และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค ร่วมรับหนังสือแสดงจุดยืนของ 11 พรรคดังกล่าว
ทั้งนี้ นายอุตตมได้ขอบคุณ 11 พรรคที่ตกลงใจจะมาร่วมงานกับพรรค พปชร.จัดตั้งรัฐบาล เพื่อนำพาประเทศไปข้างหน้า ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำหน้าที่รับใช้ประเทศชาติและพี่น้องประชาชน ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพรรคภูมิใจไทย (ภท.) จะมาร่วมกับพรรค พปชร.หรือไม่ นายอุตตมกล่าวว่า ต้องให้เกียรติทุกพรรคที่แต่ละพรรคจะมีกระบวนการภายใน หวังอย่างยิ่งว่าทุกพรรคจะเห็นตรงกันในการที่จะมาพูดคุยกัน เพราะวันนี้พี่น้องประชาชนคนไทยต้องการเห็นประเทศเดินหน้าได้
วันเดียวกัน (13 พ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พร้อมด้วยแกนนำพรรค ได้เข้ารับหนังสือรับรองความเป็น ส.ส.ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า จะขอฟังเสียงประชาชนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จะทราบความเห็นของประชาชน หลังจากนั้นจะมาประชุม ส.ส.ของพรรควันที่ 20 พ.ค. เนื่องจากพรรคทำงานเป็นทีม ส.ส.ของพรรคจึงต้องมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางของพรรค ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยใดๆ กับ 2 พรรคการเมืองใหญ่
เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) ได้เดินทางมารับหนังสือรับรองความเป็น ส.ส.จาก กกต.เช่นกัน ซึ่งหลังจากรับหนังสือรับรอง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ได้พูดโน้มน้าวให้นายอนุทินจับมือกับฝ่ายพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาล โดยนำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาล่อใจนายอนุทิน “ยังไงท่านอนุทิน ท่านชัย (ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ภท.) ไปอยู่ฝั่งประชาธิปไตยด้วยกันนะ ไปทางโน้นเขาไม่ให้อะไรคุณหรอก แต่มาทางนี้ได้เป็นนายกฯ ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย คุณต้องการอะไร พรรคเพื่อไทยเขาให้หมด ถ้ามาทางนี้ ผมพร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่ โอเคไหม อยากให้ร่วมกับฝ่ายประชาธิปไตยไหม อยากร่วมไหม ตกลงนะ” แต่นายอนุทินพยายามหลีกเลี่ยงไม่ตอบปฏิเสธหรือตกลงใดๆ
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อวันที่ 15 พ.ค. พรรคได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยแคนดิเดตหัวหน้าพรรคคนใหม่มี 4 คน คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรค, นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้าพรรค, นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตรองหัวหน้าพรรค และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค
ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมเปิดให้แคนดิเดตหัวหน้าพรรคทั้ง 4 คนได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ผลการลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคใหม่ ปรากฏว่า นายจุรินทร์ได้คะแนนมากที่สุด 50.5995 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยนายพีระพันธุ์ 37.216 เปอร์เซ็นต์ นายกรณ์ 8.4881 เปอร์เซ็นต์ นายอภิรักษ์ 3.6965 เปอร์เซ็นต์ ถือว่านายจุรินทร์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ปชป.คนที่ 8
หลังจากนั้นได้ประชุมเลือกรองหัวหน้าพรรคแต่ละภาค และรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจอีก 8 คน ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้เป็นเลขาธิการพรรค มีรองเลขาธิการพรรค 6 คน, เหรัญญิกพรรค, นายทะเบียนพรรค ส่วนโฆษกพรรค คือ นายราเมศ รัตนเชวง
นายจุรินทร์กล่าวกับที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ตนเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองยาวนานที่สุดอย่างน้อย 3 ปี และว่า “นับจากนี้ต่อไป พรรค ปชป.จะก้าวจากยุคอุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในอดีต พวกเราจะร่วมมือร่วมใจกันเดินไปสู่ยุคอุดมการณ์ทันสมัยด้วยกัน นำพรรค ปชป.ไปสู่ความเป็นหนึ่งในหัวใจของประชาชน”
ส่วนท่าทีของพรรค ปชป.ต่อการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลนั้น นายจุรินทร์กล่าวในเวลาต่อมาว่า ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะหารือกันวันไหน เพราะพรรคต้องแจ้งรายชื่อกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ไปยังนายทะเบียนพรรคการเมือง กกต.ให้รับทราบและรอหนังสือตอบก่อน กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จึงจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการประชุมร่วมของกรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.ที่จะตัดสินใจทิศทางการทำงานในสภา
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้มีการประชุม ส.ส.และอดีต ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศเมื่อวันที่ 16 พ.ค. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า หวังว่าจะได้มาช่วยกันรักษาระบอบประชาธิปไตย สร้างความเข้มแข็งให้ประชาธิปไตย ส่วนข่าวที่พรรค พท.จะยกเก้าอี้ให้พรรคภูมิใจไทยและพรรค ปชป.หากมาร่วมงานกับพรรค พท.นั้น คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้คุยกันเลย ขณะนี้พรรค พท.เตรียมความพร้อมเสนอเป็นประธานสภาไว้ระดับหนึ่งเท่านั้น
3.โปรดเกล้าฯ 250 ส.ว.แล้ว / “ในหลวง” เสด็จฯ เปิดสภา 24 พ.ค. คาดโหวตเลือกนายกฯ ได้ภายในเดือนนี้!
เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส.ว.ตามมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 250 คน
สำหรับ ส.ว.250 คนนี้ มาจาก 3 ทาง 1.การสรรหาแบบไขว้ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 200 รายชื่อ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดให้เหลือ 50 รายชื่อ 2.คณะกรรมการสรรหาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.เลือกจาก 400 คน ให้เหลือ 194 คน โดยคณะกรรมการสรรหา มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน 3.ส.ว.ที่มาโดยตำแหน่ง 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง จึงไม่จำเป็นต้องลาออกจากราชการแต่อย่างใด
ทั้งนี้ รายชื่อผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็น ส.ว.ได้แก่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้า คสช., พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, นายสม จาตุศรีพิทักษ์ พี่ชายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม น้องชายนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ยังมีอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับบุคคลในแวดวงตำรวจที่ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา อดีตรอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อดีตรอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข อดีต ผบช.ปส., พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร อดีต ผบช.น. พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ อดีต ผบช.สตม., พล.ต.ท.สมบัติ มิลินทจินดา อดีต จตร.(สบ 8), พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตทันตแพทย์ (สบ 2) โรงพยาบาลตำรวจ
ส่วนอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ได้เป็น ส.ว.ได้แก่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช., นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช., นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช., นายสมชาย แสวงการ, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์, นายเจตน์ ศิรธรานนท์, นายตวง อันทะไชย, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายวันชัย สอนศิริ, พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ฯลฯ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาวันเดียวกัน (14 พ.ค.) ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ.2562 ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป (ส.ส.) เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 แล้ว และรัฐธรรมนูญมาตรา 121 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. โดยให้ถือวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 121, 122 และ 175 ของรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2562 เป็นต้นไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า หลังมีการประกาศรายชื่อ ส.ว.และ พ.ร.ฎ.เรียกประชุมรัฐสภา 22 พ.ค. ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 15 วัน หลังประกาศรายชื่อ ส.ส. ได้ทราบมาว่า ทางสภาจะจัดพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสภาในวันที่ 24 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาจะเกิดขึ้นเมื่อใด นายวิษณุกล่าวว่า แล้วแต่ทางสภากำหนด แต่ส่วนตัวมองว่าควรเร็วที่สุด คงเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากเปิดสภา และเห็นว่า ควรเลือกทั้งประธาน ส.ส.และประธาน ส.ว.ในวันเดียวกัน เมื่อได้ประธานและรองประธานของทั้ง 2 สภาแล้ว จะมีการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งลงมา ประธานสภาสามารถเรียกประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ทุกอย่างจะเกิดขึ้นภายในเดือนนี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ถ้าดูตามขั้นตอนดังกล่าว ก็น่าจะได้ในเดือนนี้
4. ศาลฎีกาฯ สั่งยึดทรัพย์ “หมอโด่ง” อดีตเลขาฯ “บุญทรง” เกือบ 900 ล้าน เหตุร่ำรวยผิดปกติ!
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลพิพากษาให้ทรัพย์สินของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ หรือหมอโด่ง จำเลยร่วมคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งเป็นอดีตเลขานุการของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 896,554,760 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
คดีนี้ อัยการสูงสุดยื่นคำร้องว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ผู้ถูกกล่าวหา เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและข้าราชการการเมืองอื่น ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการของนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการของนายบุญทรง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2558 ชี้มูลความผิด พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ว่า ร่วมกับนายบุญทรง กับพวกรวม 113 คน ทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและการระบายข้าว
ต่อมา วันที่ 2 มิ.ย.2558 คณะกรรมการ ป.ป.ช มีมติว่า กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว ร่ำรวยผิดปกติ จึงได้แต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง หลังไต่สวน ปรากฏหลักฐานว่า ระหว่างที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ เป็นผู้ช่วยเลขานุการของนายภูมิ และเป็นเลขานุการของายบุญทรง มีทรัพย์สินเป็นเงินฝากธนาคาร, เงินลงทุนในหลักทรัพย์, ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะ มูลค่ามากเกินกว่าฐานะและรายได้ที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ แจ้งต่อกรมสรรพากร และมากกว่ารายได้ที่แสดงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. โดย พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ยักย้ายถ่ายเท ซุกซ่อน นำทรัพย์สินของตน ให้บุคคลใกล้ชิด 6 คน ครอบครองแทน
ซึ่งอนุกรรมการไต่สวนชั้น ป.ป.ช. ให้ผู้ถูกกล่าวหาและผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง แต่ผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่มีชื่อถือครองทรัพย์ฯ ไม่ชี้แจงเหตุผลใด มีเพียงหลานของอดีตภรรยาที่ชี้แจง แต่คำชี้แจงไม่อาจรับฟังได้ ต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นของอนุกรรมการไต่สวนว่า พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ร่ำรวยผิดปกติ รวมมูลค่า 896,554,760 บาท และอัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาฯ พิพากษาให้ทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมดอกผลนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ทั้งนี้ ศาลฎีกาฯ พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินที่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ยื่นไว้ต่อ ป.ป.ช. ประกอบด้วย ที่ดิน, รถยนต์, หลักทรัพย์ และบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ ของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ, ญาติและคนสนิทของผู้ถูกกล่าวหา มีมูลค่าสูง ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้เป็นภาระของผู้ถูกกล่าวหา ต้องพิสูจน์ว่า ทรัพย์สินที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์สินที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือไม่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ แต่ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ไม่มาพิสูจน์
ศาลจึงฟังพยานของอัยการสูงสุด ผู้ร้อง และหลักฐานของ ป.ป.ช. เห็นว่า ทรัพย์สินทุกรายการตามฟ้องเป็นทรัพย์สินของ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงให้ทรัพย์สินดังกล่าวรวมมูลค่า 896,554,760 บาท พร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดิน หากไม่อาจบังคับคดีเอาทรัพย์สินตามที่วินิจฉัยได้ทั้งหมดหรือได้แต่บางส่วน ให้บังคับคดีเอาทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาได้ภายในอายุความ 10 ปี แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วย ป.ป.ช.
สำหรับ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ หรือหมอโด่งนั้น ตกเป็นจำเลยร่วมกับนายบุญทรง คดีทุจริตระบายข้าวแบบจีทูจี แต่ระหว่างดำเนินคดี พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ ได้หลบหนีไป ศาลฎีกาฯ จึงออกหมายจับให้ตามตัวกลับมาดำเนินคดีไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวมา กระทั่งเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังโดยไม่มีตัวจำเลยได้ อัยการสูงสุดจึงได้ยื่นคำร้องขอให้นำคดีอาญาในส่วนของหมอโด่งขึ้นมาพิจารณาใหม่โดยไม่มีตัวจำเลย ซึ่งขณะนี้คดีอาญาดังกล่าว อยู่ระหว่างการไต่สวนพยานของศาลฎีกาฯ
5.ศาลพิพากษาจำคุก “อดีตพระพรหมดิลก” 6 ปี คดีทุจริตฟอกเงินทอนวัด ส่วน “อดีตพระอรรถกิจโสภณ” โดน 3 ปี!
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปราบการทุจริต 1 ได้ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตพระพรหมดิลก อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ อดีตพระอรรถกิจโสภณ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเลขาฯ เจ้าคณะกรุงเทพ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานฯ, ร่วมกันฟอกเงินอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีร่วมกันฟอกเงินจากการทุจริตจัดสรรเงินงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ปี 2557 ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งที่ไม่มีการดำเนินโครงการ โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยานำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นตั้งแต่แรก
ทั้งนี้ อดีตพระทั้งสองได้สึกจากความเป็นพระและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ถูกฝากขังในชั้นสอบสวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค.2561 เมื่อถึงกำหนดที่ศาลนัด ศาลได้เบิกตัวจำเลยทั้งสองที่สวมชุดสีขาวมาฟังคำพิพากษา
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อปี 2556-2557 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีการอนุมัติเงินเบิกจ่ายให้แก่วัด 9 วัด จำนวน 72 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ โดยวัดสามพระยาได้รับเงินจำนวน 5 ล้านบาท ในการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่วัดสามพระยาไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแต่อย่างใด จำเลยควรนำเงินดังกล่าวคืน พศ. แต่กลับนำเงินไปก่อสร้างอาคารร่มธรรมและบูรณะอาคารพักสงฆ์ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ในการมอบเงินของ พศ. ทั้งที่ก่อนหน้านั้นในปี 2556 พศ.เคยมอบเงินเพื่อเป็นการบูรณะอาคารร่มธรรมและอาคารพักสงฆ์แก่วัดสามพระยา แต่จำเลยทั้งสองกลับนำเงินไปฝากเพื่อรับดอกเบี้ยจากธนาคาร แล้วนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมไปเป็นเงินในการบูรณะก่อสร้างอาคารแทน
ส่วนที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเงินดังกล่าวเป็นการอนุมัติตามที่เคยมีหนังสือ 2 ฉบับ ของบประมาณในการก่อสร้างอาคารร่วมธรรมฯ และอาคารสงฆ์นั้น ศาลเห็นว่า จากการตรวจสอบเอกสารของบจาก พศ. ไม่ได้มีการลงเลขรับจากหน้าห้องนายนพรัตน์ อดีต ผู้อำนวยการ พศ. อย่างถูกต้อง มีฉบับเดียวที่ถูกต้องที่ของบก่อสร้างอาคารพักสงฆ์ และยังได้ความจากเจ้าหน้าที่ พศ. ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกันไว้เป็นพยานว่า งบที่จัดสรรนั้น ยังมีในส่วนของวัดอื่น โดยก่อนหน้าวัดสามพระยา ก็มีการจัดสรรให้วัดอีก 2 แห่ง ที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองรู้ดีอยู่แล้วว่า งบดังกล่าวเป็นงบเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม ดังนั้นที่จำเลยอ้างว่าเป็นเพียงการใช้งบที่ผิดวัตถุประสงค์ รับฟังไม่ได้ เพราะงบดังกล่าววัดสามพระยาไม่ได้รับตั้งแต่แรก หากเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ งบที่ได้มานั้นก็ต้องได้มาตามสิทธิ์ที่ถูกต้องด้วย
พยานหลักฐานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนัก และรับฟังได้ว่า เงินดังกล่าวมาจากการทุจริตจัดสรรงบของ พศ. ซึ่งจำเลยทั้งสองรู้ดีว่าเงินที่ได้มาใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปกครองวัด จึงจะต้องได้รับโทษเป็นสองเท่า
เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์คดีนี้แล้วเห็นว่า มีการเบิกเงินในบัญชี 3 ครั้ง รับฟังได้ว่า เป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณดังกล่าว โดยมีการเบิกเข้าบัญชีนางวิภาพร และไปฝากบัญชีเงินฝากประจำชื่อบัญชีของวัด จนได้รับดอกเบี้ยเป็นเงิน 8 ล้าน แล้วถอนเงินดังกล่าวไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมฯ และอาคารพักสงฆ์ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรับโอนเงิน และเปลี่ยนสภาพจากการกระทำผิด ความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 5 (1) (2), 60 ประกอบประมวลกฎหมายมาตรา 83
ส่วนที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือโดยทุจริต และฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายมาตรา 157 ศาลเห็นว่า จะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติโดยตรง แต่เหตุที่เกิดขึ้นเป็นการมอบอำนาจเบิกเงินจากบัญชี ไม่ใช่อำนาจโดยตรง จึงไม่มีความผิดในข้อหานี้
พิพากษาว่า กระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายมาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทงๆ ละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา รวมจำคุก 6 ปี และให้จำคุกนายสมทรง อดีตพระอรรถกิจโสภณ 2 กระทงๆ ละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
หลังฟังคำพิพากษา นายโกศล ใสสุวรรณ ทนายความอดีตพระพรหมดิลก จำเลยที่ 1 เผยว่า จะอุทธรณ์สู้คดีแน่นอน เพราะเห็นว่าอัตราโทษที่ศาลพิพากษา สามารถรอลงอาญาได้ และเตรียมขอยื่นประกันตัวอดีตพระทั้งสองในสัปดาห์หน้า