พระไตรปิฎกอันว่าด้วยพระวินัย “สมันตปาสาทิกา” เล่ม ๒ หน้าที่ ๒๕๗ บรรทัดที่ ๑ กล่าวไว้ว่า
มํเสสุ หิ ทส มนุสฺสหตฺถิอสฺสสุนขอหิสีหพฺยคฺฆทีปิอจฺฉตรจฺฉานํ มํสานิ อกปฺปิยานิฯ
จริงอยู่ บรรดาเนื้อทั้งหลาย เนื้อ ๑๐ อย่าง คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อสิงโต เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เป็น “อกัปปิยะ” คือ ของที่พระภิกษุไม่ควรขบฉัน
ส่วนวินัยมหาวรรค เล่ม ๒ ข้อ ๖๐ หน้า ๗๓ บรรทัด ๗ กล่าวว่า
น ภิกฺขเว มนุสฺสมํสํ ปริภุญฺชิตพฺพํ โย ปริภุญฺเชยฺย อาปตฺติ ถุลลจฺจยสฺสฯ
พระภิกษุใดฉันเนื้อมนุษย์ต้องอาบัติ “ถุลลัจจัย” ซึ่งเป็นอาบัติหนักกว่าฉันเนื้อสัตว์อื่นๆ
วินัย มหาวรรค เล่ม ๒ ข้อ ๖๐ หน้า ๗๓ บรรทัด ๗
น ภิกฺขเว หตฺถิมํสํ ปริภุญฺชิตพฺพํ โย ปริภุญฺเชยฺย อาปตฺติ ทุกกฎสฺสาติฯ
ภิกษุใดบริโภคเนื้อสัตว์อื่นอันมี เนื้อช้าง เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฎเช่นเดียวกัน
“สมันตปาสาทิกา” เล่ม ๓ หน้าที่ ๑๙๓ บรรทัดที่ ๑๓ กล่าวว่า
เอตฺถ จ มนุสฺสมํสํ สชาติกตาย ปฏิกฺขิตฺตํ หตฺถิอสฺสมํสํ ราชงฺคตาย สุนขมํสฺญฺจ
อหิมํสญฺจ ปฏกฺกูลตาย สีหมํสารทินิ ปญฺจ อตฺตโน อนุปทฺทวตฺถายาติฯ
ในเนื้อ ๑๐ อย่างนั้น เนื้อมนุษย์ท่านห้ามเพราะมีชาติเสมอกัน เนื้อช้างและม้า ห้ามไว้เพราะเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เนื้อสุนัขและเนื้องู ห้ามเพราะเป็นสัตว์ที่สกปรก ส่วนเนื้ออีก ๕ ชนิดเนื้อสิงโตเป็นต้น ห้ามไว้เพราะเป็นอันตราย ในการแสวงหา ๑ และเพราะสัตว์ร้ายเหล่านี้เมื่อได้กลิ่นภิกษุที่อยู่ป่าซึ่งกินเนื้อพวกตนแล้ว ย่อมทำอันตราย ๑