แม้ว่าพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับ “กัญชา” ในทางการแพทย์นั้นคลี่คลายลงไปในระดับหนึ่ง แต่ด้วยความที่เป็นสิ่งสืบเนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าว ทำให้การตั้งไข่ของพืชสมุนไพรชนิดนี้นั้นเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ฉะนั้นจึงถือว่าการปลูกกัญชาทางการแพทย์ก็เป็นการนับหนึ่งด้วยเช่นกัน ซึ่ง นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้บอกว่า นับเป็นก้าวแรกของกัญชากับทางการแพทย์ไทยอย่างแท้จริงก็ว่าได้

ต้องบอกว่ากัญชาในส่วนของการเป็นสารสกัดต้นแบบในกัญชาทางการแพทย์ โดยเนื่องมาจากทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้วที่ท่านรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาตั้งคณะทำงาน 4 ชุด โดยชุดแรกจะเป็นส่วนของการพัฒนาสายพันธุ์ ชุดที่ 2 ก็คือในเรื่องสารสกัด ทั้ง 2 ชุดนี้ทางองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ มีกรรมการจากทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กรมอื่น และมหาวิทยาลัยด้วย ได้มารวมกัน ชุดที่ 3 เป็นเรื่องของการวิจัย ในชุดนี้จะเป็นในส่วนของกรมการแพทย์ และชุดที่ 4 จะเป็นเรื่องของกฎหมาย ทาง อย.ก็จะรับผิดชอบตรงนี้
โดยก็มีการทำงานมาตั้งแต่นั้นกันมาอย่างมีระบบ มีการประชุมหลายๆ ครั้งเป็นระยะ ก็เห็นความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของการใช้กัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มาตั้งแต่ปีที่แล้ว จนกระทั่งรอความชัดเจนของเรื่องกฎหมายที่จะออกมาด้วย เรารอดูในเรื่องของการผ่อนคลายในเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะนำกัญชามาใช้ในประโยชน์ของทางการแพทย์ จนกระทั่งมีความชัดเจนในเรื่องของกฎหมายที่ออกมา และได้เริ่มปลูกกัญชาในจุดประสงค์ดังกล่าวเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นต้นแรกของประเทศไทยและอาเซียน
• แล้วในระหว่างทางตรงนี้ เป็นยังไงบ้างครับ
ในเรื่องของการเตรียมความพร้อม เราก็ดูโมเดลว่ามีโมเดลอะไรที่มาประยุกต์ใช้ในบ้านเราบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ก็มีทีมงานไปดูงานที่ประเทศแคนาดามาก่อน ตั้งแต่ช่วงต้นปี ดูว่าการนำมาใช้เป็นควรจะเป็นอย่างไร คณะทำงานก็ทำงานอย่างขะมักเขม้น หลายๆ ทีมก็มีการก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับ แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก่อนที่กฎหมายจะมีการบังคับใช้ ก็มีการไปดูงานที่เนเธอร์แลนด์กับอิสราเอล ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาทางคณะกรรมการขององค์การเภสัชกรรมและผู้เกี่ยวข้องก็ได้ไปดูงานของทั้งสองประเทศด้วย ก็จะเห็นว่าเราได้ไปดูความพร้อม การเตรียมความพร้อม ตั้งแต่การปลูก การสกัด การเอาไปใช้ทางการแพทย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือการผลิตภัณฑ์จากกัญชา ก็ได้ดูแบบครบวงจรเลย

• ความแตกต่างของทั้งสองพื้นที่ เป็นยังไงบ้างครับ
ผมไปในส่วนของทางเนเธอร์แลนด์ กับอิสราเอล ซึ่งจะเห็นว่าเขามีการพัฒนาตรงนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะทางประเทศแรกเขาจะเริ่มทำมาเกือบจะ 20 ปีแล้ว แทบจะเรียกว่าเป็นรายแรกๆ ของโลกเลย ซึ่งขั้นตอนที่นำมาใช้เป็นยา เราต้องแยกให้ชัดก่อนในเรื่องของกัญชาทางการแพทย์ กับกัญชาในทางสันทนาการ ที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง พอเราได้ไปดูจริงๆ แล้วมันต้องมีความชัดเจนตั้งแต่สายพันธุ์ เนื่องจากกัญชามีความแตกต่างในเรื่องของลักษณะเฉพาะ แต่ละสายพันธุ์ก็มีสารสำคัญไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น ถ้าในเรื่องของความคงตัวเมื่อเรามาทำเป็นยาสูตรตำรับต่างๆ เราก็ต้องบอกว่ากัญชาแต่ละพันธุ์เมื่อนำมาสกัดยามันจะต้องมีความสม่ำเสมอของสารสำคัญ อย่างเช่นทางฮอลแลนด์ เขามีผลิตอยู่ 5 ตำรับ และเขาใช้ต้นพันธุ์ 5 พันธุ์ แล้วเขาไม่ได้ใช้การปลูกเป็นเมล็ดด้วย เพราะจริงๆ พวกนี้เขาต้องการความสม่ำเสมอ ซึ่งทั้งสองประเทศเขาใช้ถึงขั้นที่ว่าทำการโคลนนิ่งเลย ทุกต้นที่นำมาปลูกมาจากการใช้ต้นแม่เพียงต้นเดียวที่มีสารสำคัญที่มาจากต้นแบบ จากนั้นต้นลูกที่ปลูกมา หรือการปลูกแบบ indoor ของอิสราเอล ที่มีการควบคุมความชื้นจากพวกแมลง
แต่ทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นการเพาะมาจากเนื้อเยื่อ เป็นต้นโคลนนิ่งที่เรียกว่าต้นแฝด เป็นล้านๆ ต้นเลย ฉะนั้นเขาจะมีความเป๊ะมากในเรื่องของสูตรยา อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องแยกให้ชัดเจนว่าการมาทำอย่างนั้น เมื่อนำมาทำยาสูตรตำรับนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเรานำมาทำยา แต่ละสาระสำคัญนั้นไม่เหมือนกัน อย่างที่เราปลูกเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาก็มี 3 พันธุ์ ที่มีอัตราส่วน cbd กับ THC 1 ต่อ 1 ใกล้เคียงกัน อีกสูตรหนึ่งจะพูดถึงสาร THC ที่สูงกว่า และอีกตำรับหนึ่งคือ สาร cbd สูงกว่า เราก็ต้องมีความแตกต่าง เพราะฉะนั้นจะต้องแยกตั้งแต่ต้นพันธุ์ การปลูก
การปลูกในโลกนี้จะเป็นการปลูก 3 อย่าง คือ ปลูกใน indoor คือ การปลูกในโรงเรือน ควบคุมตั้งแต่อุณหภูมิ ความชื้น แสง เพื่อให้กระตุ้น พวกนั้นเขาทำเป็นอุตสาหกรรมเลย แต่แบบอิสราเอลเขาจะปลูกในโรงเรือน ในกระโจมขนาดใหญ่ แต่อีกแบบหนึ่งจะเป็นการปลูกในทุ่ง ทำเหมือนธรรมชาติเลย แต่การที่มาทำยานั้น การใช้วิธีนี้มันค่อนข้างจะลำบาก แล้วกัญชาก็จะมีความอ่อนไหวในเรื่องดิน และสารปนเปื้อนต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมของเขา เป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงมากๆ เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางปลูกที่มันได้มาตรฐานของยาจริงๆ

ประมาณนั้นเลย คือเขามองในแต่ละโรค มันใช้สูตรกัญชาในแต่ละสายพันธุ์ มันไม่ใช่มีแค่ตัวสองตัวเท่านั้น แต่มันมีเป็นร้อยๆ สูตรเลย ซึ่งมันมีความคงตัวเฉพาะสายพันธุ์ที่เขาเรียกว่า genetic Line ของเขาเอง ซึ่งมันไม่เหมือนกัน แต่เราจะต้องแยกให้ชัดเจน จะต้องได้คุณภาพของสารสกัด คือเวลาเราปลูกกัญชาเพื่อมาทำยาในแผนปัจจุบันที่ทั่วโลกเขาทำนั้น เขาใช้ช่อดอกแห้ง เอามาอบแห้ง เขาไม่ใช้ใบ ต้น หรือว่าราก แต่ในตำรับแผนไทยจะใช้หมดเลย นั่นก็เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งเราก็มีบริบทของเราอีกต่างหาก แต่ถ้าเราเอาไปใช้ในแบบสากล เขาจะใช้เฉพาะดอกแห้ง พอถึงช่วงอายุของเขาแล้วนำมาเป็นสารสำคัญเพื่อที่เป็นสารสกัดในน้ำมัน คือ ช่อดอก แล้วเขาตัดส่วนนั้นมาเพื่อมาอบแห้ง แล้วเอาช่อแห้งมาเป็นสารสกัด
• จากที่ไปดูงานมาเราก็นำมาประยุกต์กับบ้านเรา แต่การปลูกก็มีความแตกต่างอยู่
มันไม่ได้แตกต่างนะ แต่ที่เราไปดูเพราะว่าต้องการเทคโนโลยีของเขา เรื่องสิ่งแวดล้อม ว่าต้นทางเขาทำอย่างไร ในเรื่องของการนำไปใช้ทางการแพทย์ ซึ่งก็ได้ประสบการณ์ที่ดีมาเยอะครบวงจร ตั้งแต่การปลูกว่าปลูกให้ได้มาตรฐานนั้นเป็นยังไง อย่างในเรื่องของการเตรียมต้นกล้าเขาก็จะมีหน่วยของเขาเลย ซึ่งทั้งสองประเทศนั้นก็มีบริบทที่ต่างกัน แล้วในเรื่องของการควบคุมก็ไม่เหมือนกันด้วย ของอิสราเอลนั้นรัฐมีหน้าที่ควบคุม แต่ให้สัมปทานให้ใบอนุญาต ต้นพันธุ์เป็นบริษัทหนึ่ง แล้วกระจายไปให้ผู้ปลูก แถมผู้ปลูกก็เป็นอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งผู้ปลูกก็มีอยู่ประมาณ 3-4 เจ้า แล้วเขาทำเป็นช่อแห้งสำเร็จรูป จัดเก็บในซองแห้ง แล้วส่งขายให้บริษัทยา เขาก็จะเอาไปทำยา หรือบางบริษัทยาก็จะเอาสายพันธุ์มาปลูกเองก็มี
แต่ในฮอลแลนด์เขาไม่ทำอย่างนั้น หน่วยกลางของเขาจะคุมการผลิตหมดเลย เขาจะเป็นคนทำเอง หาคนปลูกและทำยาให้ และจัดจำหน่ายโดยหน่วยนี้เอง เป็นหน่วยกลางของรัฐบาลเอง งั้นก็จะผูกขาดทำเอง แต่สรุปแล้วมีการควบคุมที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญก็คือต้องมีการติดตาม มีการบันทึกตั้งแต่การปลูกเลย ถึงขนาดที่ว่าต้นกล้าพันธุ์แต่ละต้นงั้นใครเป็นคนปลูกเลย ปลูกแล้วไปบริษัทไหน ไปโรงพยาบาลไหน หมอคนไหนสั่งใช้ ไปถึงมือคนไข้อย่างไร มันจะนำไปสู่การควบคุมและการพัฒนา เรียกว่า Control to Development ครบวงจรเลย ทำให้เราเห็นว่าเขานำไปใช้ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบจริงๆ

• ทำไมถึงเลือกที่นี่เป็นแหล่งเพาะปลูกครับ
อย่างที่เรียนให้ทราบในหลายวิธีว่า ในช่วงการพัฒนาเป็นหลายรูปแบบ เราจะค่อยๆ ทำไป ช่วงแรกจะเป็นเรื่องของภาวะเร่งด่วน นอกจากเราคิดว่าเป็นช่วงที่อยู่ใน lap scale เราใช้เงินประมาณ 10 ล้านเพื่อปลูกในลักษณะนี้ก่อน เราใช้เทคโนโลยีเพื่อนำออกมาได้เป็นของเราเอง ซึ่งเราก็มีสถานที่ที่คลอง 10 เป็นสถานที่ที่เหมาะสม เพราะว่าเป็นสถานที่ของเราเอง เพราะฉะนั้นในช่วงแรกที่เราปลูก เราก็คิดว่าน่าจะได้ประมาณ ดอกแห้ง 25 กิโลกรัมในล็อตแรก แต่ถ้าปลูกใน 4 ครั้งก็จะได้ประมาณ 100 กิโลฯ แต่ถามว่ามันพอเพียงสำหรับพี่น้องประชาชนไหม ผมคิดว่าไม่มีทางแน่ๆ เพราะฉะนั้นเราพูดชัดเจนว่าเราเป็นโครงการพัฒนาต้นแบบ
คือเราไม่ได้คิดว่าเราจะต้องเป็นผู้ผลิตรายเดียว ไม่ได้คิดว่าองค์การจะเอาไปใช้ในทางธุรกิจซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้เอื้ออยู่แล้ว แต่ก็ต้องทำเพื่อให้ตอบโจทย์ว่าเราทำยาแบบนี้ได้ ได้มาตรฐานแบบนี้ ต่อจากนั้นก็จะพัฒนาขึ้นไป ซึ่งระยะที่ 2 กำลังออกแบบอยู่ว่าเราจะทำแบบไหน อย่างการทำ indoor มันดีอย่างหนึ่งตรงที่ต้นทุนสูง แต่คุณภาพของผลผลิต อารมณ์ประมาณเหมือนเลี้ยงไก่ที่มาเป็นล็อตๆ เลย แต่ถ้าไม่ปลูกกลางทุ่งกลางแจ้ง ขึ้นอยู่กับสายลมแสงแดด เชื้อราหรือแมลงที่เยอะมาก การปลูกแบบนั้นอาจจะได้แค่ 1 รอบหรือ 2 รอบ แต่ถ้าเราปลูกในระบบปิดอาจจะได้เป็นรอบๆ ไป ผลผลิตจะได้ชัวร์ตามเวลาเลย เพราะฉะนั้น มันก็ดีอย่างเสียอย่างต่างกัน
แต่ในระยะยาว เราก็มีการวิจัยของเราด้วย อย่างสามสายพันธุ์ที่บอกไปเราอาจจะนำพันธุ์ไทยมาตัดต่อ แล้วพัฒนาเป็นของเราเองหรือเปล่า เราจะลดต้นทุนอย่างไร แล้วเฟส 2 อาจจะทำคล้ายๆ อิสราเอล พยายามสกัดออกมาให้หลายแบบ เพื่อมาดูว่าอะไรที่มันเหมาะสมกับของเรา เพราะผมเชื่อว่าถ้าปลูกกลางแจ้งเราอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมคุณภาพและสารสกัด ผลผลิตอาจจะไม่แน่นอน คือถ้ามีการปนเปื้อนเมื่อไหร่ เรานำมาใช้ไม่ได้เลย
ก็เหมือนกับลูกฝาแฝด ถ้าเราเลี้ยงในบริบทที่ต่างกัน ให้คนแต่ละอาชีพเลี้ยง จะให้เหมือนกันไหมก็ไม่แน่เหมือนกัน การปลูกก็เช่นกันถ้าเราไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ว่าจะเป็นแบบนี้นะ แต่ถ้าผลออกมาแล้วมันไม่ใช่ ก็ไม่สามารถที่จะทำยาได้ เรื่องนี้เลยกลายเป็นข้อจำกัดที่เราต้องพัฒนาต่อ ฉะนั้นการปลูกแบบกลางแจ้ง ถ้าจะให้มาทำยามันก็อาจจะไม่ได้ผล เลยทำให้เป็นข้อกังวลและข้อจำกัดในการที่มาทำยาอย่างหนึ่ง

เราก็วางแผนเป็นขั้นตอนนะครับ เราก็มีผู้เชี่ยวชาญในการปลูก อย่างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เป็นที่ปรึกษาของโครงการก็มาช่วยในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุง แล้วก็มีเภสัชกรที่เชี่ยวชาญทางด้านสารสกัด แต่ผมมองว่าทั้งหลายทั้งปวง เรื่องเทคโนโลยีมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย แต่สิ่งที่เราควรจะเรียนรู้ก็คือ สายพันธุ์ที่เราจะใช้น้ำมันเหมาะกับบริบทสังคมไทยอย่างไร รวมถึงสายพันธุ์ไทยที่เรามาใช้ ในแพทย์แผนโบราณด้วย รวมถึงการให้ยาที่มีคุณภาพที่สม่ำเสมอที่นำไปใช้ในแต่ละโรค เพราะแต่ละโรคที่ใช้ในกลุ่มโรคนี้มันไม่เหมือนกัน เช่น โรคลมชัก ก็ใช้ไปส่วนผสมที่มี cbd เยอะๆ แต่ในกลุ่มของโรคที่มีความเครียด นอนไม่หลับ ก็ต้องใช้ในส่วนของ thc ด้วย แต่ละสูตรก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่ที่เขาบอกว่ารักษามะเร็งก็ยังไม่มีผลวิจัยยืนยัน แต่ว่ามีคนได้ผล ก็สู่กระบวนการวิจัย ชุดที่ 3 ก็ออกแบบการวิจัย
ผมมองว่ามันก็ไม่น่าจะเกินความสามารถของคนไทย เพียงแต่ว่าเราก็พัฒนาให้แนวทางเป็นเหมือนเขาว่าสังคมจะต้องทำความเข้าใจได้เหมือนกัน มันก็มีความยากลำบาก แต่ทุกสังคมก็เป็นแบบนี้ อย่างที่อิสราเอลเขาก็จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจเหมือนกัน แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจเหมือนกันซึ่งเชื่อว่าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ไม่ได้ลำบากใจ แต่จะลำบากใจในเรื่องที่ว่าจะก้าวข้ามในเรื่องของเงื่อนไขของเวลาอย่างไร เพราะบทเฉพาะกาลเขาบอกว่าให้คนไทยตั้งหลักให้ได้ภายใน 5 ปี ในการที่ต้องสร้างทำอะไรมาเอง
ผมว่าถ้าเรามีการเปิดเสรี สามารถนำเข้ายาสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาได้เลย มันก็ได้ แต่ถามว่าเราจะตั้งหลักและผลิตยาเพื่อคนไทยเองได้ไหม ซึ่งเป็นโจทย์ที่รัฐบาลน่าจะเข้าใจ และพยายามจะบอกว่าคนไทยก็รีบตั้งหลักสิ แต่ไม่ใช่ว่าทางองค์การฯ จะทำคนเดียวนะ มันก็มีหลายๆ กลุ่มที่พยายามจะทำ ผมคิดว่าก็ดี เพียงแต่ว่าเอาความรู้มาบูรณาการกัน สร้างตำรับยาที่เป็นมาตรฐานให้สำหรับคนไทย รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานโลกด้วย เพราะระยะยาวมันก็มีระยะอยู่
• การเป็นเจ้าแรกๆ ที่มีการปลูก แน่นอนว่าเป็นความกดดันด้วย ส่วนตรงนี้คุณหมอมองยังไงครับ
ผมว่ามันเป็นความท้าทายมากกว่าว่าคนไทยเองก็มีความรู้ที่สามารถจะทำสิ่งที่ดีและมาตรฐานเทียบเท่ากับนานาชาติได้ มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผมก็อยากให้เราก้าวเดินอย่างถูกต้อง ต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก และพูดความจริงกับพี่น้องประชาชนว่าเรากำลังดำเนินในทิศทางที่เราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสากล แล้วมันจะเป็นความยั่งยืน ตอนนี้เราก็อยู่ในช่วงที่พัฒนาอย่างที่บอก
ฉะนั้น จากที่เราไปดูมาอย่างที่ฮอลแลนด์เขาจะปลูกแบบ hi-end เลย แล้วรัฐบาลเขาก็เป็นผู้ผูกขาดกัญชาระดับโลก แต่ต้นทุนเขาก็สูงเหมือนกัน แล้วเขาก็บอกว่าทำยาเท่านั้นจะไม่ทำอย่างอื่น แต่ในอิสราเอลก็ลดต้นทุนลงมาได้เยอะ แล้วเขาก็มีความเข้มงวดในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกันต้นภูเขาสูงขึ้นเยอะ ถามว่าคนไทยจะเป็นแบบไหน นี่คือโจทย์ที่เราต้องทำ เราต้องออกแบบในหลายๆ แบบและที่เหมาะสมกับเรา

• ความคาดหวังต่อการวิจัยในมุมมองของคุณหมอเอง คิดว่าเป็นยังไงครับ
เราก็อยากจะได้สารสกัดที่มีคุณภาพ เบื้องต้นคงเป็นน้ำมันกัญชาแหละ ให้เพียงพอกับคณะที่ 3 ที่เขามีการเตรียมการไว้แล้วให้กับผู้ป่วย ให้เพียงพอกับคนไข้ที่ได้ยาที่เพียงพอจากเรา แต่อย่างที่บอกว่า เราอยู่ในช่วงแรก เราก็อยากจะได้สารสกัดที่มีคุณภาพด้วย แล้วก็อยากจะมีการพัฒนาในเรื่องที่เราสนองความต้องการ ในปริมาณที่มากขึ้นที่เพียงพอ แล้วที่สำคัญก็จะมี รูปแบบต่างๆ อาจจะเป็นในเรื่องของแคปซูลบ้าง เป็นเม็ดบ้าง เป็นยาเหน็บทวารบ้าง หรือยาสูดดมบ้าง เพราะยาที่มีอาการมากๆ ต่างประเทศเขาจะใช้วิธีสูดดม
แล้วมันจะดีกว่าพวกมอร์ฟีนตรงที่มันไม่ได้ติดแบบนั้น และมันไม่ได้กดอะไร ฉะนั้นคนไข้ก็ไม่ต้องเสียชีวิต เพราะคนไข้ที่มีอาการเรื้อรังมักจะลงท้ายด้วยการติดยาแก้ปวด ตรงนี้มันก็ไม่ค่อยดีนัก แต่ในส่วนของกัญชา เขาก็ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกอยู่แล้ว แต่มันก็เป็นทางออกที่ดีกว่าพวกมอร์ฟีน
ส่วนเรื่องราคา ในฐานะองค์การเภสัชกรรม การเข้าถึงยาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งนี้เป็นพันธกิจของเราว่าประชาชนจะต้องเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้น มันเป็นโจทย์ที่ต้องตอบได้ ยังไงองค์การฯ ก็ต้องขายยาในแบบที่ประชาชนรับได้อยู่แล้ว เช่นเดียวกันการที่จะนำมาทำยาก็ต้องมีคุณภาพ แล้วแต่ระยะยาวเราก็ต้องแข่งขันในระดับสากลได้ด้วย ถ้าพี่น้องมารวมกัน อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ดีและมีการทำเป็นกลุ่มที่กฎหมายบอกว่าทำเป็นวิสาหกิจ และปลูกเพื่อทำยาจริงๆ ผมว่าเป็นทางรอด




เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา และ องค์การเภสัชกรรม
ต้องบอกว่ากัญชาในส่วนของการเป็นสารสกัดต้นแบบในกัญชาทางการแพทย์ โดยเนื่องมาจากทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้วที่ท่านรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาตั้งคณะทำงาน 4 ชุด โดยชุดแรกจะเป็นส่วนของการพัฒนาสายพันธุ์ ชุดที่ 2 ก็คือในเรื่องสารสกัด ทั้ง 2 ชุดนี้ทางองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ มีกรรมการจากทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กรมอื่น และมหาวิทยาลัยด้วย ได้มารวมกัน ชุดที่ 3 เป็นเรื่องของการวิจัย ในชุดนี้จะเป็นในส่วนของกรมการแพทย์ และชุดที่ 4 จะเป็นเรื่องของกฎหมาย ทาง อย.ก็จะรับผิดชอบตรงนี้
โดยก็มีการทำงานมาตั้งแต่นั้นกันมาอย่างมีระบบ มีการประชุมหลายๆ ครั้งเป็นระยะ ก็เห็นความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของการใช้กัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มาตั้งแต่ปีที่แล้ว จนกระทั่งรอความชัดเจนของเรื่องกฎหมายที่จะออกมาด้วย เรารอดูในเรื่องของการผ่อนคลายในเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะนำกัญชามาใช้ในประโยชน์ของทางการแพทย์ จนกระทั่งมีความชัดเจนในเรื่องของกฎหมายที่ออกมา และได้เริ่มปลูกกัญชาในจุดประสงค์ดังกล่าวเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นต้นแรกของประเทศไทยและอาเซียน
• แล้วในระหว่างทางตรงนี้ เป็นยังไงบ้างครับ
ในเรื่องของการเตรียมความพร้อม เราก็ดูโมเดลว่ามีโมเดลอะไรที่มาประยุกต์ใช้ในบ้านเราบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ก็มีทีมงานไปดูงานที่ประเทศแคนาดามาก่อน ตั้งแต่ช่วงต้นปี ดูว่าการนำมาใช้เป็นควรจะเป็นอย่างไร คณะทำงานก็ทำงานอย่างขะมักเขม้น หลายๆ ทีมก็มีการก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับ แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก่อนที่กฎหมายจะมีการบังคับใช้ ก็มีการไปดูงานที่เนเธอร์แลนด์กับอิสราเอล ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาทางคณะกรรมการขององค์การเภสัชกรรมและผู้เกี่ยวข้องก็ได้ไปดูงานของทั้งสองประเทศด้วย ก็จะเห็นว่าเราได้ไปดูความพร้อม การเตรียมความพร้อม ตั้งแต่การปลูก การสกัด การเอาไปใช้ทางการแพทย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือการผลิตภัณฑ์จากกัญชา ก็ได้ดูแบบครบวงจรเลย
• ความแตกต่างของทั้งสองพื้นที่ เป็นยังไงบ้างครับ
ผมไปในส่วนของทางเนเธอร์แลนด์ กับอิสราเอล ซึ่งจะเห็นว่าเขามีการพัฒนาตรงนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะทางประเทศแรกเขาจะเริ่มทำมาเกือบจะ 20 ปีแล้ว แทบจะเรียกว่าเป็นรายแรกๆ ของโลกเลย ซึ่งขั้นตอนที่นำมาใช้เป็นยา เราต้องแยกให้ชัดก่อนในเรื่องของกัญชาทางการแพทย์ กับกัญชาในทางสันทนาการ ที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง พอเราได้ไปดูจริงๆ แล้วมันต้องมีความชัดเจนตั้งแต่สายพันธุ์ เนื่องจากกัญชามีความแตกต่างในเรื่องของลักษณะเฉพาะ แต่ละสายพันธุ์ก็มีสารสำคัญไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น ถ้าในเรื่องของความคงตัวเมื่อเรามาทำเป็นยาสูตรตำรับต่างๆ เราก็ต้องบอกว่ากัญชาแต่ละพันธุ์เมื่อนำมาสกัดยามันจะต้องมีความสม่ำเสมอของสารสำคัญ อย่างเช่นทางฮอลแลนด์ เขามีผลิตอยู่ 5 ตำรับ และเขาใช้ต้นพันธุ์ 5 พันธุ์ แล้วเขาไม่ได้ใช้การปลูกเป็นเมล็ดด้วย เพราะจริงๆ พวกนี้เขาต้องการความสม่ำเสมอ ซึ่งทั้งสองประเทศเขาใช้ถึงขั้นที่ว่าทำการโคลนนิ่งเลย ทุกต้นที่นำมาปลูกมาจากการใช้ต้นแม่เพียงต้นเดียวที่มีสารสำคัญที่มาจากต้นแบบ จากนั้นต้นลูกที่ปลูกมา หรือการปลูกแบบ indoor ของอิสราเอล ที่มีการควบคุมความชื้นจากพวกแมลง
แต่ทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นการเพาะมาจากเนื้อเยื่อ เป็นต้นโคลนนิ่งที่เรียกว่าต้นแฝด เป็นล้านๆ ต้นเลย ฉะนั้นเขาจะมีความเป๊ะมากในเรื่องของสูตรยา อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องแยกให้ชัดเจนว่าการมาทำอย่างนั้น เมื่อนำมาทำยาสูตรตำรับนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเรานำมาทำยา แต่ละสาระสำคัญนั้นไม่เหมือนกัน อย่างที่เราปลูกเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาก็มี 3 พันธุ์ ที่มีอัตราส่วน cbd กับ THC 1 ต่อ 1 ใกล้เคียงกัน อีกสูตรหนึ่งจะพูดถึงสาร THC ที่สูงกว่า และอีกตำรับหนึ่งคือ สาร cbd สูงกว่า เราก็ต้องมีความแตกต่าง เพราะฉะนั้นจะต้องแยกตั้งแต่ต้นพันธุ์ การปลูก
การปลูกในโลกนี้จะเป็นการปลูก 3 อย่าง คือ ปลูกใน indoor คือ การปลูกในโรงเรือน ควบคุมตั้งแต่อุณหภูมิ ความชื้น แสง เพื่อให้กระตุ้น พวกนั้นเขาทำเป็นอุตสาหกรรมเลย แต่แบบอิสราเอลเขาจะปลูกในโรงเรือน ในกระโจมขนาดใหญ่ แต่อีกแบบหนึ่งจะเป็นการปลูกในทุ่ง ทำเหมือนธรรมชาติเลย แต่การที่มาทำยานั้น การใช้วิธีนี้มันค่อนข้างจะลำบาก แล้วกัญชาก็จะมีความอ่อนไหวในเรื่องดิน และสารปนเปื้อนต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมของเขา เป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงมากๆ เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางปลูกที่มันได้มาตรฐานของยาจริงๆ
ประมาณนั้นเลย คือเขามองในแต่ละโรค มันใช้สูตรกัญชาในแต่ละสายพันธุ์ มันไม่ใช่มีแค่ตัวสองตัวเท่านั้น แต่มันมีเป็นร้อยๆ สูตรเลย ซึ่งมันมีความคงตัวเฉพาะสายพันธุ์ที่เขาเรียกว่า genetic Line ของเขาเอง ซึ่งมันไม่เหมือนกัน แต่เราจะต้องแยกให้ชัดเจน จะต้องได้คุณภาพของสารสกัด คือเวลาเราปลูกกัญชาเพื่อมาทำยาในแผนปัจจุบันที่ทั่วโลกเขาทำนั้น เขาใช้ช่อดอกแห้ง เอามาอบแห้ง เขาไม่ใช้ใบ ต้น หรือว่าราก แต่ในตำรับแผนไทยจะใช้หมดเลย นั่นก็เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งเราก็มีบริบทของเราอีกต่างหาก แต่ถ้าเราเอาไปใช้ในแบบสากล เขาจะใช้เฉพาะดอกแห้ง พอถึงช่วงอายุของเขาแล้วนำมาเป็นสารสำคัญเพื่อที่เป็นสารสกัดในน้ำมัน คือ ช่อดอก แล้วเขาตัดส่วนนั้นมาเพื่อมาอบแห้ง แล้วเอาช่อแห้งมาเป็นสารสกัด
• จากที่ไปดูงานมาเราก็นำมาประยุกต์กับบ้านเรา แต่การปลูกก็มีความแตกต่างอยู่
มันไม่ได้แตกต่างนะ แต่ที่เราไปดูเพราะว่าต้องการเทคโนโลยีของเขา เรื่องสิ่งแวดล้อม ว่าต้นทางเขาทำอย่างไร ในเรื่องของการนำไปใช้ทางการแพทย์ ซึ่งก็ได้ประสบการณ์ที่ดีมาเยอะครบวงจร ตั้งแต่การปลูกว่าปลูกให้ได้มาตรฐานนั้นเป็นยังไง อย่างในเรื่องของการเตรียมต้นกล้าเขาก็จะมีหน่วยของเขาเลย ซึ่งทั้งสองประเทศนั้นก็มีบริบทที่ต่างกัน แล้วในเรื่องของการควบคุมก็ไม่เหมือนกันด้วย ของอิสราเอลนั้นรัฐมีหน้าที่ควบคุม แต่ให้สัมปทานให้ใบอนุญาต ต้นพันธุ์เป็นบริษัทหนึ่ง แล้วกระจายไปให้ผู้ปลูก แถมผู้ปลูกก็เป็นอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งผู้ปลูกก็มีอยู่ประมาณ 3-4 เจ้า แล้วเขาทำเป็นช่อแห้งสำเร็จรูป จัดเก็บในซองแห้ง แล้วส่งขายให้บริษัทยา เขาก็จะเอาไปทำยา หรือบางบริษัทยาก็จะเอาสายพันธุ์มาปลูกเองก็มี
แต่ในฮอลแลนด์เขาไม่ทำอย่างนั้น หน่วยกลางของเขาจะคุมการผลิตหมดเลย เขาจะเป็นคนทำเอง หาคนปลูกและทำยาให้ และจัดจำหน่ายโดยหน่วยนี้เอง เป็นหน่วยกลางของรัฐบาลเอง งั้นก็จะผูกขาดทำเอง แต่สรุปแล้วมีการควบคุมที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญก็คือต้องมีการติดตาม มีการบันทึกตั้งแต่การปลูกเลย ถึงขนาดที่ว่าต้นกล้าพันธุ์แต่ละต้นงั้นใครเป็นคนปลูกเลย ปลูกแล้วไปบริษัทไหน ไปโรงพยาบาลไหน หมอคนไหนสั่งใช้ ไปถึงมือคนไข้อย่างไร มันจะนำไปสู่การควบคุมและการพัฒนา เรียกว่า Control to Development ครบวงจรเลย ทำให้เราเห็นว่าเขานำไปใช้ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบจริงๆ
• ทำไมถึงเลือกที่นี่เป็นแหล่งเพาะปลูกครับ
อย่างที่เรียนให้ทราบในหลายวิธีว่า ในช่วงการพัฒนาเป็นหลายรูปแบบ เราจะค่อยๆ ทำไป ช่วงแรกจะเป็นเรื่องของภาวะเร่งด่วน นอกจากเราคิดว่าเป็นช่วงที่อยู่ใน lap scale เราใช้เงินประมาณ 10 ล้านเพื่อปลูกในลักษณะนี้ก่อน เราใช้เทคโนโลยีเพื่อนำออกมาได้เป็นของเราเอง ซึ่งเราก็มีสถานที่ที่คลอง 10 เป็นสถานที่ที่เหมาะสม เพราะว่าเป็นสถานที่ของเราเอง เพราะฉะนั้นในช่วงแรกที่เราปลูก เราก็คิดว่าน่าจะได้ประมาณ ดอกแห้ง 25 กิโลกรัมในล็อตแรก แต่ถ้าปลูกใน 4 ครั้งก็จะได้ประมาณ 100 กิโลฯ แต่ถามว่ามันพอเพียงสำหรับพี่น้องประชาชนไหม ผมคิดว่าไม่มีทางแน่ๆ เพราะฉะนั้นเราพูดชัดเจนว่าเราเป็นโครงการพัฒนาต้นแบบ
คือเราไม่ได้คิดว่าเราจะต้องเป็นผู้ผลิตรายเดียว ไม่ได้คิดว่าองค์การจะเอาไปใช้ในทางธุรกิจซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้เอื้ออยู่แล้ว แต่ก็ต้องทำเพื่อให้ตอบโจทย์ว่าเราทำยาแบบนี้ได้ ได้มาตรฐานแบบนี้ ต่อจากนั้นก็จะพัฒนาขึ้นไป ซึ่งระยะที่ 2 กำลังออกแบบอยู่ว่าเราจะทำแบบไหน อย่างการทำ indoor มันดีอย่างหนึ่งตรงที่ต้นทุนสูง แต่คุณภาพของผลผลิต อารมณ์ประมาณเหมือนเลี้ยงไก่ที่มาเป็นล็อตๆ เลย แต่ถ้าไม่ปลูกกลางทุ่งกลางแจ้ง ขึ้นอยู่กับสายลมแสงแดด เชื้อราหรือแมลงที่เยอะมาก การปลูกแบบนั้นอาจจะได้แค่ 1 รอบหรือ 2 รอบ แต่ถ้าเราปลูกในระบบปิดอาจจะได้เป็นรอบๆ ไป ผลผลิตจะได้ชัวร์ตามเวลาเลย เพราะฉะนั้น มันก็ดีอย่างเสียอย่างต่างกัน
แต่ในระยะยาว เราก็มีการวิจัยของเราด้วย อย่างสามสายพันธุ์ที่บอกไปเราอาจจะนำพันธุ์ไทยมาตัดต่อ แล้วพัฒนาเป็นของเราเองหรือเปล่า เราจะลดต้นทุนอย่างไร แล้วเฟส 2 อาจจะทำคล้ายๆ อิสราเอล พยายามสกัดออกมาให้หลายแบบ เพื่อมาดูว่าอะไรที่มันเหมาะสมกับของเรา เพราะผมเชื่อว่าถ้าปลูกกลางแจ้งเราอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมคุณภาพและสารสกัด ผลผลิตอาจจะไม่แน่นอน คือถ้ามีการปนเปื้อนเมื่อไหร่ เรานำมาใช้ไม่ได้เลย
ก็เหมือนกับลูกฝาแฝด ถ้าเราเลี้ยงในบริบทที่ต่างกัน ให้คนแต่ละอาชีพเลี้ยง จะให้เหมือนกันไหมก็ไม่แน่เหมือนกัน การปลูกก็เช่นกันถ้าเราไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ว่าจะเป็นแบบนี้นะ แต่ถ้าผลออกมาแล้วมันไม่ใช่ ก็ไม่สามารถที่จะทำยาได้ เรื่องนี้เลยกลายเป็นข้อจำกัดที่เราต้องพัฒนาต่อ ฉะนั้นการปลูกแบบกลางแจ้ง ถ้าจะให้มาทำยามันก็อาจจะไม่ได้ผล เลยทำให้เป็นข้อกังวลและข้อจำกัดในการที่มาทำยาอย่างหนึ่ง
เราก็วางแผนเป็นขั้นตอนนะครับ เราก็มีผู้เชี่ยวชาญในการปลูก อย่างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เป็นที่ปรึกษาของโครงการก็มาช่วยในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุง แล้วก็มีเภสัชกรที่เชี่ยวชาญทางด้านสารสกัด แต่ผมมองว่าทั้งหลายทั้งปวง เรื่องเทคโนโลยีมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย แต่สิ่งที่เราควรจะเรียนรู้ก็คือ สายพันธุ์ที่เราจะใช้น้ำมันเหมาะกับบริบทสังคมไทยอย่างไร รวมถึงสายพันธุ์ไทยที่เรามาใช้ ในแพทย์แผนโบราณด้วย รวมถึงการให้ยาที่มีคุณภาพที่สม่ำเสมอที่นำไปใช้ในแต่ละโรค เพราะแต่ละโรคที่ใช้ในกลุ่มโรคนี้มันไม่เหมือนกัน เช่น โรคลมชัก ก็ใช้ไปส่วนผสมที่มี cbd เยอะๆ แต่ในกลุ่มของโรคที่มีความเครียด นอนไม่หลับ ก็ต้องใช้ในส่วนของ thc ด้วย แต่ละสูตรก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่ที่เขาบอกว่ารักษามะเร็งก็ยังไม่มีผลวิจัยยืนยัน แต่ว่ามีคนได้ผล ก็สู่กระบวนการวิจัย ชุดที่ 3 ก็ออกแบบการวิจัย
ผมมองว่ามันก็ไม่น่าจะเกินความสามารถของคนไทย เพียงแต่ว่าเราก็พัฒนาให้แนวทางเป็นเหมือนเขาว่าสังคมจะต้องทำความเข้าใจได้เหมือนกัน มันก็มีความยากลำบาก แต่ทุกสังคมก็เป็นแบบนี้ อย่างที่อิสราเอลเขาก็จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจเหมือนกัน แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจเหมือนกันซึ่งเชื่อว่าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ไม่ได้ลำบากใจ แต่จะลำบากใจในเรื่องที่ว่าจะก้าวข้ามในเรื่องของเงื่อนไขของเวลาอย่างไร เพราะบทเฉพาะกาลเขาบอกว่าให้คนไทยตั้งหลักให้ได้ภายใน 5 ปี ในการที่ต้องสร้างทำอะไรมาเอง
ผมว่าถ้าเรามีการเปิดเสรี สามารถนำเข้ายาสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาได้เลย มันก็ได้ แต่ถามว่าเราจะตั้งหลักและผลิตยาเพื่อคนไทยเองได้ไหม ซึ่งเป็นโจทย์ที่รัฐบาลน่าจะเข้าใจ และพยายามจะบอกว่าคนไทยก็รีบตั้งหลักสิ แต่ไม่ใช่ว่าทางองค์การฯ จะทำคนเดียวนะ มันก็มีหลายๆ กลุ่มที่พยายามจะทำ ผมคิดว่าก็ดี เพียงแต่ว่าเอาความรู้มาบูรณาการกัน สร้างตำรับยาที่เป็นมาตรฐานให้สำหรับคนไทย รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานโลกด้วย เพราะระยะยาวมันก็มีระยะอยู่
• การเป็นเจ้าแรกๆ ที่มีการปลูก แน่นอนว่าเป็นความกดดันด้วย ส่วนตรงนี้คุณหมอมองยังไงครับ
ผมว่ามันเป็นความท้าทายมากกว่าว่าคนไทยเองก็มีความรู้ที่สามารถจะทำสิ่งที่ดีและมาตรฐานเทียบเท่ากับนานาชาติได้ มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผมก็อยากให้เราก้าวเดินอย่างถูกต้อง ต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก และพูดความจริงกับพี่น้องประชาชนว่าเรากำลังดำเนินในทิศทางที่เราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสากล แล้วมันจะเป็นความยั่งยืน ตอนนี้เราก็อยู่ในช่วงที่พัฒนาอย่างที่บอก
ฉะนั้น จากที่เราไปดูมาอย่างที่ฮอลแลนด์เขาจะปลูกแบบ hi-end เลย แล้วรัฐบาลเขาก็เป็นผู้ผูกขาดกัญชาระดับโลก แต่ต้นทุนเขาก็สูงเหมือนกัน แล้วเขาก็บอกว่าทำยาเท่านั้นจะไม่ทำอย่างอื่น แต่ในอิสราเอลก็ลดต้นทุนลงมาได้เยอะ แล้วเขาก็มีความเข้มงวดในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกันต้นภูเขาสูงขึ้นเยอะ ถามว่าคนไทยจะเป็นแบบไหน นี่คือโจทย์ที่เราต้องทำ เราต้องออกแบบในหลายๆ แบบและที่เหมาะสมกับเรา
• ความคาดหวังต่อการวิจัยในมุมมองของคุณหมอเอง คิดว่าเป็นยังไงครับ
เราก็อยากจะได้สารสกัดที่มีคุณภาพ เบื้องต้นคงเป็นน้ำมันกัญชาแหละ ให้เพียงพอกับคณะที่ 3 ที่เขามีการเตรียมการไว้แล้วให้กับผู้ป่วย ให้เพียงพอกับคนไข้ที่ได้ยาที่เพียงพอจากเรา แต่อย่างที่บอกว่า เราอยู่ในช่วงแรก เราก็อยากจะได้สารสกัดที่มีคุณภาพด้วย แล้วก็อยากจะมีการพัฒนาในเรื่องที่เราสนองความต้องการ ในปริมาณที่มากขึ้นที่เพียงพอ แล้วที่สำคัญก็จะมี รูปแบบต่างๆ อาจจะเป็นในเรื่องของแคปซูลบ้าง เป็นเม็ดบ้าง เป็นยาเหน็บทวารบ้าง หรือยาสูดดมบ้าง เพราะยาที่มีอาการมากๆ ต่างประเทศเขาจะใช้วิธีสูดดม
แล้วมันจะดีกว่าพวกมอร์ฟีนตรงที่มันไม่ได้ติดแบบนั้น และมันไม่ได้กดอะไร ฉะนั้นคนไข้ก็ไม่ต้องเสียชีวิต เพราะคนไข้ที่มีอาการเรื้อรังมักจะลงท้ายด้วยการติดยาแก้ปวด ตรงนี้มันก็ไม่ค่อยดีนัก แต่ในส่วนของกัญชา เขาก็ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกอยู่แล้ว แต่มันก็เป็นทางออกที่ดีกว่าพวกมอร์ฟีน
ส่วนเรื่องราคา ในฐานะองค์การเภสัชกรรม การเข้าถึงยาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งนี้เป็นพันธกิจของเราว่าประชาชนจะต้องเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้น มันเป็นโจทย์ที่ต้องตอบได้ ยังไงองค์การฯ ก็ต้องขายยาในแบบที่ประชาชนรับได้อยู่แล้ว เช่นเดียวกันการที่จะนำมาทำยาก็ต้องมีคุณภาพ แล้วแต่ระยะยาวเราก็ต้องแข่งขันในระดับสากลได้ด้วย ถ้าพี่น้องมารวมกัน อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ดีและมีการทำเป็นกลุ่มที่กฎหมายบอกว่าทำเป็นวิสาหกิจ และปลูกเพื่อทำยาจริงๆ ผมว่าเป็นทางรอด
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา และ องค์การเภสัชกรรม