xs
xsm
sm
md
lg

“อ.คมสัน” ลั่นกฎหมายระบุชัดสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ แต่ กกต.กลับตีมึน ชี้สุดท้ายส่งศาล รธน.เลือกตั้งส่อโมฆะ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“อ.คมสัน” ลั่นกฎหมายระบุชัดสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ แต่ กกต.กลับคิดต่างใช้สูตรลดพรรคใหญ่ เพิ่มที่นั่งให้พรรคเล็ก มีผลถึงการจับขั้วรัฐบาล เอื้อประโยชน์ พปชร. ชี้สุดท้ายต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แล้วก็เป็นไปได้ที่เลือกตั้งอาจโมฆะ

วันที่ 2 เม.ย. อาจารย์คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ อดีตกรรมาธิการยกร่างฯ และ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน”

อ.คมสัน กล่าวว่า สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตอนนี้ไม่ว่าไปสูตรไหนก็มีพรรคที่มีส่วนได้ส่วนเสีย สุดท้ายก็ต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ตราบใดที่มีข้อขัดแย้งการคำนวณ แต่ก็เสี่ยงที่เลือกตั้งจะเป็นโมฆะ กกต.ต้องคิดให้ดี

นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้การเลือกตั้งอาจเป็นโมฆะได้อีก คือ บัตรเลือกตั้งที่เกินมา 4 ล้านกว่า ยังไม่ตอบชัด แม้บอกว่าเอาบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรกับเลือกตั้งล่วงหน้ามารวม ก็ยังขาดอยู่อีกล้านกว่า แล้วทำไมไม่นับพร้อมกัน อันนี้ขัดรัฐธรรมนูญ กกต.ปฏิบัติผิดกฎหมาย อีกทั้งการเลือกตั้งล่วงหน้า ที่เจ้าหน้าที่แยกบัตรใส่ถุง ซึ่งตามระเบียบ กกต. ต้องซีลกล่องไม่ให้เปิดได้ ไม่ใช่เปิดก่อนแล้วเอาไป แล้วทำแบบนี้หลายหน่วย ถ้าใครยกเรื่องนี้มาก็เป็นประเด็น รวมถึงกรณีบัตรเลือกตั้งนิวซีแลนด์ ที่ให้เป็นบัตรเสีย ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน

อ.คมสัน กล่าวต่ออีกว่า สูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อยู่ในกฎหมายอยู่แล้ว คือ มาตรา 128 จะไปคิดอะไรอีก สูตรก็คือ ส.ส.พึงมีเท่าไหร่ เอาไปคูณ 150 คือบัญชีรายชื่อที่จะได้ หารด้วยตัวเลข 150 บวกกับจำนวนที่นั่งที่เกิน ยกตัวอย่าง พปชร. ก็เอา 118 คูณ 150 หารด้วย 152 เพราะเกินไป 2 ที่นั่ง ตัวเลขก็จะออกมา ทีนี้ กกต.คูณยังไง พปชร. ยังได้ 118 ทั้งที่มันควรได้ 117 ที่ตอบสูตรคำนวณไม่ได้ แสดงว่าไม่ใช้มาตรา 128 ซึ่งเขียนชัดเจน ไม่ต้องตีความอะไรด้วยซ้ำ

ตอนร่างกฎหมาย คน กกต.ก็ไปนั่งร่วมร่างด้วย จะบอกว่าไม่รู้ได้อย่างไร มันมีสูตรเดียว มันตอบไม่ได้ทำไมบางพรรค ส.ส.ไม่ลด ถ้าคำนวณแบบนี้ต้องลดหนึ่งคนหมดเลย 1 ที่นั่งสำคัญนะ เพราะสูตรนี้ทำให้พรรคเล็กที่ได้คะแนนต่ำกว่า 71,000 ได้กันมา 1 ที่นั่ง ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ขั้วเปลี่ยน เหมือน กกต. จัดสูตรเพื่อตั้งรัฐบาล ตัวเลขถึงออกมาไม่ลงตัว ถ้าแรงจูงใจเป็นตามนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ยังไงก็ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

อ.คมสัน กล่าวอีกว่า การที่พรรคการเมืองเรียกร้องให้โชว์ผลนับคะแนนทุกหน่วย ตนเห็นด้วย เพราะมีข้อสงสัยตั้งแต่การกำหนดให้ผู้สมัครแต่ละพรรคคนละหมายเลขกัน อาจมีการหยอดของพรรคนี้ไปให้อีกพรรคนึง เพราะเลขตรงกัน อันนี้เป็นปัญหาเลย คนเขียนกำหมายไม่รู้หรือว่ามันโกงง่าย


คำต่อคำ

เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับสู่รายการคนเคาะข่าววันอังคารที่ 2 เมษายน 2562 วันนี้เราว่ากันด้วยเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง และทำท่าว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำท่าว่าจะเป็นระเบิดเวลาอีกลูกหนึ่งหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม หรือไม่ ก็คือสูตรการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งวันนี้ล่าสุดเลขาธิการกกต. ยอมรับแล้วว่า กกต.เองก็ยังไม่ฟันธงว่าจะใช้สูตรไหนอย่างไร ต้องมีการพูดคุยกับนักเมือง ต้องมีการพูดคุยกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นี่คือปัญหาที่เราจะมาสนทนากับอาจารย์คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ท่านเป็นอดีตกรรมธิการยกร่าง และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อาจารย์คมสัน โพธิ์คง ครับ สวัสดีครับอาจารย์คมสันครับ

คมสัน- สวัสดีครับ

เติมศักดิ์- อาจารย์คาดการณ์มาก่อนรึเปล่าครับ พอเห็นกฎหมาย พอเห็นรัฐธรรมนูญแล้วว่ามันต้องมีปัญหาแน่ หรือสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์

คมสัน- อ๋อ แน่นอนครับ เห็นตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เห็นกันตั้งแต่การดีไซน์ตั้งแต่เรื่องของระบบที่เขาเรียกว่าจัดสรรปันส่วนผสม ความจริงมันก็คือระบบเยอรมันของบางรัฐเอามาใช้ ซึ่งมันแตกต่างจากระบบที่เยอรมันใช้ สหพันธรัฐใช้ เพียงเรื่องของบัตรเลือกตั้ง แล้วก็มาผสมแบบแนวคิดแบบของเมืองไทยที่พยายามทำให้เขตเลือกตั้งเยอะกว่าบัญชี ซึ่งของเยอรมันเขาจะบาลานซ์ให้เขตเลือกตั้งกับบัญชีไม่เท่ากัน เช่น ส.ส.มี 200 เขตก็จะมี 400 มีบัญชีรายชื่อ 200 เท่าๆ กัน เพราะฉะนั้นระบบตรงนี้ตัวเลขความเพี้ยนของระบบเขตมันจะน้อยกว่า แต่ของเรามันเพี้ยนเยอะ

เติมศักดิ์- 350 กับ 150

คมสัน- มันโอเวอร์เหนือกว่าบัญชีรายชื่อ และข้อสำคัญไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว แล้วไปดีไซน์ให้แต่ละพรรคการเมือง แต่ละเขตเลือกตั้ง คนละหมายเลขหมดเลยทุกเขต พรรคเดียวกันแต่ 350 เขต ก็ 350 หมายเลขก็ไม่ตรงกัน เพราtฉะนั้นระบบแบบนี้มันออกแบบมาคลิกกันง่ายๆ เจตนาจะโกงรึเปล่า จะให้มีการโกงเลือกตั้งรึเปล่า แต่หมายความว่าถ้าจะโกงกันจริงๆ กกต. ต้องรู้ด้วยนะ เพราะว่ามันเป็นประเด็นเรื่องของการหยอดคะแนนของพรรคการเมือง ซึ่งหมายเลขไม่ตรงกันไปใส่ในคะแนนของพรรค ซึ่งมันจะตรงกันหรือหยอดผิด หรือเกิดอะไรขึ้นได้หมด ตามหาล่องรอยไม่เจอด้วย

เติมศักดิ์- ซึ่งเดี๋ยวมาว่ากัน ขอถามในเบื้องต้นก่อน อาจารย์เองก็เอาเครื่องคิดเลขมาคำนวณส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ อาจารย์ได้ 16 พรรค หรือ 27 พรรครับ กำลังถกเถียงกันมากตอนนี้

คมสัน- ผมได้ 16 พรรค

เติมศักดิ์- 16 พรรคนะครับ

คมสัน- ได้ 16 พรรค ตอนแรกที่ตัวเลขยังไม่นิ่งผมคำนวณได้ไม่ถึง 500 ด้วยซ้ำไป รวมแล้วขาด 3 ที่นั่ง อันนี้รวมถึงกรณีที่เพื่อไทยมีตัวเลขของที่นั่งเขตมา 26 ที่นั่งด้วย เกินกว่าที่พึงมี ได้ 497 ขาด 3 แต่ตัวเลขตอนนั้นเข้าใจว่าไม่ใช่ตัวเลขที่กกต. ออกไฟนอลนะ ออกมาเป็น 502 ผมก็ยังไม่ค่อยเชื่อตัวเลขเป็น 502 ผมก็ยังไม่เชื่อว่าตัวเลข 502 ว่ามันเป็นตัวเลขเกิน ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง แต่เมื่อเกิน มันก็เกิน ที่เกินมันไปเกินที่ 2 พรรค 2 ที่นั่ง ก็คืออนาคตใหม่ กับชาติไทยพัฒนา ซึ่งเดิมต้องได้ 57 ที่นั่ง ไปได้ 58 แล้วก็ได้ระบบบัญชีประมาณ 57 ที่นั่ง ระบบเขต 30 ส่วนชาติไทยพัฒนาจากเดิมที่ต้องได้ 4 ได้เป็น 5 เพราะฉะนั้นทำให้ตัวเลขเกิดเพี้ยนเป็น 502 พอเป็น 502 กกต. ก็พยายามบอกว่าใช้การคำนวณตามมาตรา 128(7) ซึ่งถ้าคำนวณออกมาตามสูตรของเขา 150 คะแนนมันจะลง 500 พอดี แต่ว่าจะมีพรรคที่หายไป อย่างเช่น พลังประชารัฐอาจจะเหลือแค่ 117 มันจะมีหลายพรรคที่คะแนนลดลงหายไปเลย แต่มันก็จะกลับไปอีกที่หนึ่ง แต่มันก็จะอยู่ใน 500 พอดี แต่ก็ไม่ตรงสูตรกับที่กกต. คำนวณ

เติมศักดิ์- แต่ในสูตรของอาจารย์คมสัน ซึ่งก็ตรงกับหลายคนที่เห็นว่ามันไม่ควรมีพรรค 11 พรรค ที่ได้พรรคละหนึ่งๆ

คมสัน- ใช่ คือมันต้องเอาส.ส.เต็มคนก่อน จากฐาน 71,057.5 ของกกต. ที่คำนวณจาก 35 ล้านกว่าๆ มันควรจะส.ส. 1 คน เท่ากับ 71,000 กว่าๆ ปัดเศษประมาณ 50 กว่าๆ มันไม่ควรไปถึง 2-3 หมื่น และได้ส.ส.คงไม่ใช่ มันควรจะอยู่ที่ ถ้ามันขาด อย่างที่ผมคำนวณครั้งแรกได้ 497 3 ที่นั่ง ก็ต้องไปเอาที่ใกล้เคียง 71,000 ขึ้นมา 3 ที่นั่งขึ้นมา จาก 16 พรรค ก็จะกลายเป็น 19 พรรค จบแค่ตรงนั้น

เติมศักดิ์- ถ้าเป็น 19 พรรค แต่อาจารย์ได้ 16 ใช่ไหม

คมสัน- ครับๆ ตอนแรกมัน 16 แล้วมันขาด มันต้องใช้มาตรา 128 (6) ก็คือให้ไปเอาพรรคที่คะแนนใกล้เคียงเกือบจะได้ส.ส. 1 คน ให้ได้ส.ส.เพิ่มตามลำดับคำนวณเป๊ะเลยได้ 500 พอดี

เติมศักดิ์- แต่มีคนแย้งว่าพรรคการเมืองใดก็ตามที่ได้คะแนนทั้งประเทศต่ำกว่า 71,000 คือคะแนนต่อส.ส.พึงมี 1 คน เขาต้องไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว

คมสัน- อันนั้นคงเป็นการค้านที่ไม่ค่อยถูก ก็เท่ากับทำให้คะแนนทิ้งน้ำ ก็หมายความว่าถ้าไปดูตัวเลขเหล่านั้น ไอ้ตัวพรรคที่ได้ต้นๆ ก็ทิ้งไปแล้ว ก็คือทิ้ง ที่นี้เมื่อมาตรงนี้เขามีคะแนน ยกตัวอย่างเช่น ประชาภิวัฒน์ได้ 69,000 หรือพลังไทยรักไทยได้ 60,000 พรรคไทยศรีวิไลย์ได้ 60,421 มันใกล้เคียงกับ 71,000 ที่สุด นอกนั้นมันจะไม่ถึง เพราะว่าระบบของมันเป็นลำดับอยู่แล้วตามาตรา 128 (6) เพราะฉะนั้นการโต้แย้งไม่ให้อันนี้ผมว่าไม่ถูก เพราะว่าเขาเขียนในนี้ชัดเจนให้เอาคะแนนเฉลี่ยที่ใกล้ที่สุดขึ้นมาได้อีก 3 ลำดับ

เติมศักดิ์- แต่อาจารย์ก็ได้ผลลัพธ์เท่ากับคนที่เห็นว่าไม่ถึง 71,000 ไม่ควรได้ คนที่บอกว่าไม่ถึง 71,000 ไม่ควรได้ เขาได้ 16 พรรค จะมีพรรคที่ได้อยู่แค่ 1 ที่นั่งอยู่ 3 พรรค คือพรรครักษ์ผืนป่า พลังปวงชนไทย พลังชาติไทย ซึ่ง 3 พรรคนี้มีคะแนนเกิน 71,000 ก็เท่ากับ 16 แต่อาจารย์ คนที่ค้านบอกว่าไม่ถึง 71,000 ไม่ควรได้ ก็เป็นการค้านที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับอาจารย์

คมสัน- ใช่ๆ เพราะว่าอะไรครับ คุณจะกลับไปเฉลี่ยได้ยังไง ยกตัวอย่างเช่น รักษ์ผืนป่าได้ 136,597 ถ้าลบออก 71,000 มันก็จะประมาณ 60,000 กว่าๆ ก็คือตัวเลขมันก็จะน้อยกว่าพลังประชาภิวัฒน์อยู่ดี ถูกไหมครับ

เติมศักดิ์- ที่นี้เรามาไล่กันทีละขั้น ทีละขั้น ตามกฎหมายเลยดีกว่า และก็เอาตัวเลขจริงมาเทียบเคียง เพื่อจะเห็นว่าเอาวิธีคิดของอาจารย์คมสันก่อน

คมสัน- ผมคิดตามกฎหมายนี่แหละ

เติมศักดิ์- คิดตามกฎหมายนี่นะ

คมสัน- ตามกฎหมายเลย ไม่ต้องเอาสูตรกกต. กกต.ก็ต้องเอาสูตรตามนี้ แต่สูตรมันอาจจะมีปัญหาแบบนี้

เติมศักดิ์- อาจารย์คิดว่าถ้าเอาตัวเลขดิบที่ดูเหมือนจะนิ่งแล้ว เอามาใส่สมการแบบที่อาจารย์จะอธิบาย มันต้องได้ตัวเลขเท่ากัน

คมสัน- ตัวเลขเท่ากัน

เติมศักดิ์- งั้นเริ่มกันครับ มาตรา 128

คมสัน- คือมาตรา 28 มันต้องคำนวณหาส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นจะได้ที่นั่งในสภาทั้งหมด คือระบเยอรมันเขาคุมเลือกตั้งทั้งสภา ถ้าหาที่นั่งสภา 500 เขาก็ไปดูว่าพรรคนี้ควรจะมีส.ส.ในสภากี่คน ใช่ไหมครับ อันนี้มันเป็นการผสมระบบกับเขตเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้คะแนนบางส่วนที่ไม่ได้ทิ้งน้ำ ก็เอาตัวนี้มาเป็นการคุมยอดบนไว้ และก็ไปเอาที่นั่งในเขตที่เลือกตั้งเฉพาะเขตมาหารลบออก พอลบออกมันก็จะเลือกระบบบัญชีเติมเข้าไป เป็นไปตามหลักการตรงนี้ ที่นี้พอมาตรงนี้ มาตรา 128 ก็มาหาวิธีคำนวณส.ส.พึงมีก่อน การหาส.ส.พึงมีก็คือเอาคะแนนรวมทั้งหมดของทุกพรรคว่าได้สิทธิผู้มาใช้สิทธิจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขของกกต. ประมาณ 35 ล้านกว่า 35,528,749 ถ้าจำไม่ผิดนะครับ เอาตัวเลขตรงนั้นมาหารด้วยจำนวน 500 พอหารด้วยจำนวน 500 ก็จะได้ฐานการคำนวณ 1 ที่นั่งของจำนวนส.ส.ว่ามันต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 71,057.5

เติมศักดิ์- เพราะฉะนั้นถ้าดูตามกฎหมาย (1) เราได้แล้ว (1) คือเอาคะแนนส.ส.ทุกพรรคได้มาบวกกัน ก็ 35 ล้านเศษๆ หารด้วย 500 เราจะได้ตัวเลขตาม (1) ของมาตรา 128 คือ 71,065.29

คมสัน- พอได้แล้ว ก็เอา (2) มา เอาผลลัพธ์ที่ได้จากเขต เอาจำนวนที่ได้รับถือเป็นจำนวนสมาชิกที่พึงมีในเบื้องต้น ก็คือมันก็จะออกมาตามที่เราเข้าใจว่าบัญชีรายชื่อ

เติมศักดิ์- เพราะฉะนั้นตัวเลขที่บวกด้วยมาตรา (2) ก็คือตัวเลขส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมี

คมสัน- คือ (2) เขาบอกว่าคะแนนมันมาจากการเลือกในเขต

เติมศักดิ์- อ๋อ คะแนนตัวเดียวกับเลขในเขต

คมสัน- ใช่ เอามาบวกกันของพรรคนั้น แล้วก็ไปคำนวณ (3) โดยการเอาลบจากเขตออกก่อน เพราะยังไงเขตก็ไม่เกิน 350 เพราะมันนิ่งแน่ แต่นี่จะมีปัญหาไม่นิ่งคือระบบบัญชี ที่เหลือก็เป็นระบบบัญชี

เติมศักดิ์- งั้นเรายกตัวอย่างทันทีในวงเล็บ (2) เราก็จะได้ อย่างพลังประชารัฐเอา 8,400,000 ไปหาร 71,065.29 ก็จะได้ 118.664 อนาคตใหม่ได้ 6,265,590

คมสัน- ตัวเลขนี้ไม่นิ่งนะ ผมได้เลขกกต. 118.68046

เติมศักดิ์- อ๋อ ทศนิยมไม่เท่ากัน

คมสัน- ไม่เท่ากันมีผลนะ ทศนิยมไม่เท่ากันมันจะมีปัญหา

เติมศักดิ์- เดี๋ยวนะ ในเมื่อเอา 71,065.29

คมสัน- อันนี้เป็นตัวเลขเมื่อไหร่ ตัวเลขวันนี้ใช่ไหมครับ

เติมศักดิ์- ยังไม่ใช่วันนี้ครับ

คมสัน- ของผมเป็นตัวเลขเมื่อ 2-3 วันที่แล้ว ซึ่งกกต. บอกว่าตัวเลขนี้เป็นไฟนอล เป็น 100 แต่ไม่รู้ว่าตัวเลขนี้คตรงกันรึเปล่า เพราะว่าตอนนี้ตัวเลขของกกต. มั่วมาก เลขอะไรเป็นเลขอะไร

เติมศักดิ์- แต่โดยหลักการก็คือว่าเอา 71,065.29 เศษๆ

คมสัน- ก็จะได้ 118 คน

เติมศักดิ์- ไปหารด้วย 8,433,137 ก็จะได้ 118. ของอาจารย์ได้ไหร่นะครับ จุดเทม่าไหร่นะครับ

คมสัน- .6680

เติมศักดิ์- ของผมได้ 6674

คมสัน- ไม่รู้ตัวเลขอะไรกันแน่ แต่ว่าจุดหกมันปัดออกไป มันไม่เต็มก็จะได้ 118 คน

เติมศักดิ์- นี่คือตัวเลข (2) ใน (3) ก็คือเอาส.ส.พึงมี ลบด้วยส.ส.เขต กรณีพลังประชารัฐส.ส.พึงมี 118.66

คมสัน- ก็ต้องคิด 118

เติมศักดิ์- แล้วเอา 97 ลบ

คมสัน- ก็จะได้ 21

เติมศักดิ์- เอาตัวเลขข้างหน้าก่อนนะ 21 เพื่อไทยยี่สิบ อ๋อเกินๆ

คมสัน- ตัวเลขมันสูง เพราะเขาพึงมีมัน 111 แต่ได้เขตมาได้ 117

เติมศักดิ์- ก็ได้เท่ากับลบ 25

คมสัน- เท่ากับลบ 25

คมสัน- ลบ 26

เติมศักดิ์- อนาคตใหม่ 6,200,000 ส.ส.พึงมี 88 ก็เอาไปลบ 30 ก็เหลือ 58 คน

คมสัน- เหลือ 58 คน

เติมศักดิ์- นี่คือ (3) นะครับ ที่นี้พอได้ (3) แล้ว ทำไงต่อครับอาจารย์

คมสัน- พอได้ (3) แล้วก็เอาตัวเลขในแต่ละเขตที่ได้รับเบื้องต้น ตรงนี้บอกตัวเลขพึงมีเบื้องต้นก่อนว่าจะได้เท่าไหร่ในระบบัญชี ที่นี้พอมารวมกันให้จัดสรร ก็เริ่มจัดสรรตามตัวเลขที่ลบออกมา พอลบออกมาตัวเลขมันจะเต็มจำนวนอยู่ที่ 150 เพราะฉะนั้นเมื่อได้ตัวเลขมา ก็จัดสรรเรียงตามจำนวนพึงมีก่อน แล้วดูว่าถึง 150 ตรงไหน ปรากฏว่ามันมีพึงมีเกินในตัวเลขของกกต. เป็นเท่ากับ 152

เติมศักดิ์- ตกลง เมื่อ (3) บวกกันแล้ว ส.ส.บัญชีรายชื่อของ 16 พรรค เกินไป 2 คน เป็น 152 เมื่อได้ 152 มันเกิน 150 ทำยังไงครับอาจารย์

คมสัน- เกินไป 150 มันโดยหลักการ มันต้องไปใช้ (7)

เติมศักดิ์- ข้ามไป (7) เลยหรอครับ

คมสัน- ใช่ เพราะ(6) มันกรณีของการไม่เกิน ซึ่งผมคำนวณไม่เกิน ผมต้องใช้ (6) ตอนแรกผมคำนวณได้ 497

เติมศักดิ์- หายไป 3

คมสัน- หายไป 3 ก็เอาเรียงขึ้นมาจาก 16 พรรค ขึ้นมาเป็น 19 พรรค แต่ฐานแตะ 16 แน่นอนกันหมด แต่ว่าพอคำนวณ (6) วงเล็บหกคือกรณีของการที่ไม่เกิน 500 ไม่เต็มจำนวน ไม่ถึง 150 อันนี้ผมคำนวณหักลบเขตไปเรียบร้อย ผมได้ 497 นะ และก็ถ้าสูตรนี้หมายความว่าใช้ (6) ต่อ มาตรา 128 (6) ก็คือไปเอาพรรคที่จำนวนใกล้เคียงลำดับถัดไป เฉลี่ยขึ้นมา

เติมศักดิ์- ถัดไปก็คือ

คมสัน- ก็จะมีประชาภิวัฒน์ พลังไทยรักไทย และไทยศรีวิไลย์ ขึ้นมาอีก 3 พรรค ได้ส.ส. 1 คน ระบบบัญชีรายชื่อ ถึงไม่ถึง 71,000 ก็ตาม ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุด

เติมศักดิ์- แต่เดี๋ยวลองเอาตุ๊กตาของ 152 ก่อน ในบางสูตรเขาได้ 152

คมสัน- บางสูตรได้ 151

เติมศักดิ์- สมมุติว่า 152 ของ (3) ได้ 152 มันก็ตามข้ามไป (7)

คมสัน- มาที่ 3,4,5 นั้นก็ข้ามไป (7) ถ้าเกินที่เรียกว่าโอเวอร์แฮงก์สูตรคำนวณก็คือเอาตัวเลขที่พรรคนั้นได้พึงมีอย่างเช่นพลังประชารัฐ 118 ให้เอาไปคูณผลลัพธ์ 150 แล้วหารด้วยจำนวนที่เกินก็คือ หารด้วย 152 ซึ่งปรากฎว่ามันต้องได้ 117 แต่กกต.ได้ 118 นี้และคือปัญหาว่าตัวเลขตัวไหน เพราะฉะนั้นสูตรคำนวณมันจะไหลไปอีกประมาณหลายพรรคไม่ได้เปลี่ยนแค่นี้ เพราะว่าแต่ละพรรคจะถูกลดลงไปอย่าง 1 โดยเฉลี่ย เพราะฐานนี้มันจะลด 1 หมดยกเว้นเพื่อไทยพรรคเดียวที่ไม่ลดก็ไปลดที่พรรคอื่นหมด ลด 1 ทุกพรรคมันก็หมายถึงพรรคอนาคตใหม่ลงไปก็จะเหลือ 87 ประชาธิปัตย์ เหลือ 54 ภูมิใจไทยจะเหลือประมาณ 52 หรือราวนี้มันจะลดไปถึงพรรคชาติพัฒนาถ้าผมคำนวณดูมันก็จะมี ส.ส. ประมาณ 10 กว่าที่นั้นและจึงเป็นที่มาของที่บอกว่าไปอีกถึง 20 กว่าพรรคแต่ผมก็ยังคำนวณไปได้ถึง 27 พรรค ก็ไปไม่ถึงไปได้แค่อีกประมาณพรรคที่ 22-23 แต่ตัวเลขพลังประชารัฐ ทุกอันต้องลดหมดแต่อันนี้กลับไม่ลดอันนี้คือปัญหาไม่รู้ว่าคืออะไร

เติมศักดิ์- สูตรที่ได้ถึง 27 พรรคมันมีค่า

คมสัน- ธรรมดาตัวนั้นต้องหายไป 1 โดยหลักการเพราะว่าต้องดูสัดส่วน 150 ไปหาร 152 คูณด้วย 118 คำนวณมายังไงมันก็หายไป 1 มันจะเหลือเศษนิดมันจะได้แค่ 117 ถ้า 117 ก็ต้องตัดทิ้งเพราะถึงว่าไม่เต็มคน

เติมศักดิ์- เขาบอกว่าสูตรที่ได้ 27 พรรคเป็นสูตรที่ กกต.ใช้แต่พอมีเสียงโวยวายขึ้นมาเขาก็เลยยับยั้งเผยแพร่สูตรนี้ออกไปก่อนอาจจะต้องไปตั้งหลักอะไรซักอย่างก่อนเป็นไปได้ไหม

คมสัน- มันต้องโดนคนยั้งแน่ เพราะว่าโดยค่าเฉลี่ยวิธีหารยังไงตัวค่าส.ส. แต่ละพรรคมันจะลดลงแต่นี้กลับกลายเป็นพลังประชารัฐไม่ลดมันเลยกลายเป็นปัญหา

เติมศักดิ์- เมื่อวานนี้พรรคเพื่อไทยเขายกรัฐธรรมนูญมาตรา 91(4) ขึ้นมาแย้งว่าอย่างนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 91(4)บัญญัติว่า "ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ให้พรรคการเมืองนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับ การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ"ในที่นี่คือพรรคเพื่อไทย และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (2) พรรคเพื่อไทยเอามาย้ำว่ามาตรา 91 (4) ตอนท้ายสำคัญเพราะเขาบอกว่า ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ เขาเลยมองว่าพรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่า 71,000 ต้องไม่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เลยแม้แต่คนเดียว เขาเลยไม่เห็นด้วยกับสูตร 27 พรรค ด้วยเหตุผลนี้ด้วยครับอาจารย์

คมสัน- เขาไปดูรัฐธรรมนูญแต่ผมก็ไม่ได้ตีความเป้นเพื่อไทยนะ เพราะว่าพรรคอื่นก็ลงสมัครแบบแบ่งเขตเหมือนกันไม่ใช่ไม่มี ไม่ใช่ว่ายึดเขตอย่างเดียวแล้วคุณจะได้พรรคที่มีเขต พรรคอื่นก็ส่งเขตทั้งนั้นและแต่ว่ามันส่งมากส่งน้อยเท่านั้นเองในความหมายตรง เพราะไม่งั้นมันจะมีคะแนนมาจากไหนเพราะบัตรเลือกตั้งใบเดียว มันก็ต้องส่งแบบเขตด้วยเพราะฉะนั้นการตีความ มันก็ต้องตีพรรคที่ได้คะแนนชนะ คงไม่ใช่เพราะว่าเขาพูดถึงพรรคที่ส่งเขตอันนั้นผมตีคนละแบบแต่ก้ไม่ถึง 27 นะโดยวิธีคิดออกมาก็ไม่ถึง 27

เติมศักดิ์- ดูเหมือนว่าตอนนี้ไม่ว่าจะไปที่สูตรไหนมันก็จะมีพรรคที่มีส่วนได้ ส่วนเสียลดเพิ่ม อาจารย์คิดว่าในที่สุดต้องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความไหมครับ

คมสัน- ยังไงมันก็ต้องไปตราบใดที่มีข้อขัดแย้งแบบนี้ เราก็คำนวณไม่ได้เพราะว่าคำนวณมาแล้วมีความผิดปกติยังไงก็หนีไม่พ้นที่ร้องแล้วก็ต้องไปสู่การวินิจฉัยเรื่องการเลือกตั้งเป็นโมฆะเพราะสูตรการคำนวณผิดหรือเปล่าเพราะว่าถ้าคำนวณผิดมันเท่ากับว่าลมกระดานหมดทั้ง 500 เลย 150 จะหายไปเลย พอหายไปยังไง 95 เปอร์เซ็นท์ที่จะประกาศก็ประกาศไม่ได้ เพราะสูตรมันเป็นปัญหา เพราะฉะนั้นต้องเคลียร์สูตรให้ได้ก่อน เคลียร์สูตรไม่ได้ก็เดินต่อไม่ได้

เติมศักดิ์- มีข่าววันนี้ว่าเลขาธิการกกต.ซึ่งก็แถลงได้ยินกันทั่วว่าเขาจะหารือกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอาจารย์คิดว่าเมื่อหารือแล้วจะได้คำตอบแบบจริงๆไหมครับ บางคนบอกว่า 1.กรธ.ยุบไปแล้วไม่มีองค์กรนี้แล้วคุณจะไปหารือกับเขาในแง่ไหนอย่างไร

คมสัน- ก็คงหารือได้แค่คุณมีชัย

เติมศักดิ์- นั้นก็เป็นส่วนตัว

คมสัน- เป็นส่วนตัวไม่ใช่กรธ.แล้ว ก็เพียงแต่ขอเชิญผู้ที่เคยเป็นกรธ.มาหารือในฐานะผู้เคยร่าง แต่ก็คงเป็นคำตอบที่เป็ฯฐานะองค์กรไม่ได้

เติมศักดิ์- จะเอามาเป็นหลังพิงก็ไม่ได้จะเอามาเป็นหลักในการอ้างอิงอย่างเป็นทางการก็ไม่ได้

คมสัน- อ้างก้อ้างได้ แต่ไม่ชอบธรรมอะไรมากมาย ในแง่ของการที่จะ เพราะว่าเราต้องเข้าใจว่า ตัวพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ มันไม่ได้มีแค่กรธ. เป็นผู้ร่างมันต้องผ่านสนช.มาก่อน

เติมศักดิ์- ใช่ๆที่บอกว่า สนช. กรธ.

คมสัน- ซึ่งตอนนั้นมันยำก็ไม่รู้ว่าใครยำออกมาแบบนั้น คำตอบมันจะแกว่งไปมาสุดท้ายก็ต้องไปองค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญเพราะกรณีเป็นเรื่องปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่า ขัดแย้งรัฐธรรมนูญหรือเปล่า มีสูตรคำนวณที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือเปล่าก็ส่งสารรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลักการมีแค่นั้น

เติมศักดิ์- ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องในทำนองนี้ได้

คมสัน- มีครับ เพราะกกต. เป็นคนส่ง คุณไม่แน่ใจคุณก็ส่งสิแล้วตอนนี้มีคำร้องจากพรรคการเมืองแล้วเรียบร้อยว่ามีพรรคการเมืองก็โต้แย้งกันมาตลอดให้นับคะแนนใหม่ ก็เป็นโอกาสให้คุณส่งเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีการเลือกตั้งตรงนี้ได้ แต่ก็ระวังสิ่งบ้างสิ่งอาจกลายเป็นโมฆะออกมาผลก็กกต.ก็คิดหนักเพราะว่า มีหลาประเด็นด้วย

เติมศักดิ์- โอกาสเลือกตั้งครั้งนี้ที่จะเป็นโมฆะมันมีปัจจัยไหนบ้างนอกจากเรื่องการคำนวณส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่อาจจะเป็นโมฆะ

คมสัน- มันมีคะแนนที่เกินมันยังไม่ตอบตอนนั้นเกินมา 4 ล้านกว่า ยังไม่ตอบตอบมาบอกว่าผลการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรกับการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต รวมแล้วก็ยังขาดอีก 1.8 ล้านประมาณล้านกว่ายังไม่มีคำตอบนะเอาง่ายที่พยายามตอบว่าตอนนั้น 4 ร่วมเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร นอกเขตแล้วมันก็มีปัญหาว่าทำไมคุณไม่นับพร้อมกันซี่งขัดกับรัฐธรรมนูญอยู่ ซึ่งรัฐธรรมนูญให้นับพร้อมกันคุณก็ต้องส่งบัตรไปนับพร้อมกัน เที่จริงไม่นับพร้อมกันมันโผล่มาอีกประมาณ 2 ล้านเกือบ 3 ล้านกว่า คุณบอกว่าตัวเลขนี้ยังไม่ได้นับ แสดงว่ากกต. ปฎิบัติผิดกฎหมายของตัวเอง

เติมศักดิ์- ผิดกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ

คมสัน- ขัดพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ แล้วก็ยังมีประเด็นเรื่องของการเลือกตั้งนอกเขตล่วงหน้าที่เจ้าหน้าที่จากหน่วยแยกบัตรใส่ถุง ถ้าไปอ่านระเบียบของกกต.เองที่ออกมาปี 62 ที่ผ่านมาผมได้เข้าดูแล้ว เขาบอกว่ากล่องต้องซีล ซีลไม่ให้เปิดได้แล้วต้องส่งไปที่ กกต. ไม่ใช่เปิดก่อนแล้วค่อยส่งไปแล้วก็ทำแบบนี้ไม่รู้กี่หน่วยถ้ามีใครยกเรื่องนี้มาก็เป็นประเด็น

เติมศักดิ์- คือกล่องในแต่ละหน่วยต้องส่งไปที่ กกต.

คมสัน- โดยมีการซีลไม่เปิด

เติมศักดิ์- ไม่ใช่เอาไปแยกแล้วค่อยส่งไปที่กกต.

คมสัน- คือกกต.ต้องรับไป แล้วกกต.นั้นและเป็นคนแยกส่งแต่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยที่เขาไปลงคะแนนกันเป็นคนแยก เพราะฉะนั้นในระเบียบ กกต.เองวิธีการแบบนี้ที่ใช้กับหน่วยเลือกตั้งในการเลือกตั้งปกติที่มาใช้กับเลือกตั้งล่วงหน้านี้ก็เป็นประเด็น 2 ล้านกว่าใบ ลองเอา 70,000 หารดู 30 กว่าคนนะ

เติมศักดิ์- กรณีนิวซีแลนด์

คมสัน- นิวซีแลนด์เป็นปัญหาความผิดพลาดกกต.เอง

เติมศักดิ์- ไม่ใช่การบินไทย

คมสัน- ไม่ใช่

เติมศักดิ์- ไม่ใช่กระทรวงการต่างประเทศ

คมสัน- ไม่ใช่ เพราะว่าก็คุณไม่ไปรับแต่คุณจะรวมกันอย่างไรก็แล้วแต่ ทุกฝ่ายต่างโยนหมด กกต.ก็โยนพูดง่ายๆคุณกำลังวินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสียแต่คุณบอกว่าเป็นบัตรที่นับคะแนนไม่ได้มันก็คือบัตรเสีย นับคะแนนไม่ได้แต่คุณก็เล่นคำ เหมือนคุณเฉลิมเล่นคำบางคำไม่รู้ว่าเอามุกนี้มาจากไหนก็คือมันบัตรเสียนั้นและ และกฎหมายเองมันก็วางหลักการว่าวินิจฉัยมันคือพินิจกกต. ว่าจะนับบัตรนั้นหรือไม่นับ กกต.ก็เลือกที่จะไม่นับอันนี้เป็นดุลพินิจ

เติมศักดิ์- โดยใช้มาตรา 114

คมสัน- ราวๆนั้นและซึ่งตรงนั้นไม่ได้เขียนว่าคุณต้องวินิจฉัยเสีย เป็นเรื่องดุลพินิจกกต.ที่จะต้องวินิจฉัยให้บัตรนั้นเสียหรือไม่เสีย

เติมศักดิ์- นี้ก็เป็นกรณีหนึ่งได้เหมือนกัน

คมสัน- ได้เหมือนกันแต่ว่า 1,500 ใบ ถือขนาดไม่ทำให้เสียหรอกแต่ว่ามันก็ส่งผลต่อคะแนนนิดหน่อย แต่ว่ามันเสียตรง 2 ล้านกว่าที่คุณเอาบัตรออกมาแยกอันนั้นและที่เป็นปัญหา

เติมศักดิ์- ประธานกกต.เปรียบเทียบเรื่องนิวซีแลนด์ว่ามันเหมือนชิ้นส่วนชิงโชคที่มาถึงหลังจากที่เขาจับฉลากชิงโชคกันเสร็จแล้ว

คมสัน- เข้าใจ แต่การจับฉลากชิงโชคไปแล้ว เป็นเพราะคุณไม่รับบัตรมาคุณก็รับผิดชอบทางอาญาได้นะ เพราะคนที่นิวซีแลนด์ก็ฟ้องร้องได้ว่าคุณทำให้เขาเสียสิทธิ์ได้เช่นเดียวกันเพราะว่าคุณปฎิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบผิดกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้งเองโทษจำคุก 5 ปีขึ้นไป ตัดสิทธิ์ 10 ปี

เติมศักดิ์- จนกระทั่งมาถึงสูตรปาร์ตี้ลิสต์ที่เราคุยกันมาตั้งแต่ต้น มันเป็นไปได้ยังไงที่กกต. จะมาบอกว่าสูตรการคำนวณเรายังเปิดเผยไม่คือได้ คือพูดทำนองที่ว่ายังไม่รู้จะคิดสูตรยังไงด้วยซ้ำมันจะมีสูตรตั้งแต่แรกเลยใช่ไหมครับ

คมสัน- ก็สูตรมันมีในกฎหมาย 128(7) แล้วก็เอาออกมา มันเขียนสูตรให้แล้วจะไปคิดสูตรไรอีก

เติมศักดิ์- มีสูตรอยู่แล้ว

คมสัน- มีอยู่แล้วในมาตรา 128

เติมศักดิ์- อยู่ในกฎหมายซึ่งออกมาก่อนการเลือกตั้งตั้งนานมันควรจะมีตัวเลข สมมุติไปแล้วใส่เข้าไปคำนวณออกมาได้แล้วใช่ไหมครับ

คมสัน- คือสูตรมันก็ 128 คุณมึงพึงมีเท่าไหร่ เอาไปคูณ 150 คือ 150 คือบัญชีรายชื่อที่จะได้แล้วหารด้วยตัวเลข 150 บวกกับที่เกินก็เท่ากับยกตัวอย่าง พลังประชารัฐ 118 คูณ 150 หารด้วย 152 เพราะมันเกินไป 2 ใบ ตัวเลขมันก็จะออกมา แต่ทีนี้กกต.คูณยังไง พลังประชารัฐ 118 ทั้งทีมันควรจะได้ 117 เพราะส่วนหาร 152 ยังไงต้องลดส่วนลดมาอยู่แล้ว

เติมศักดิ์- หมายความว่ากกต.สามารถให้คำตอบได้เลยใช่ไหมครับว่า สูตรในการคำนวณเป็นอย่างไรคือไม่ต้องรอการไปคุยกับกรธ.

คมสัน- ก็แสดงว่าคุณไม่ได้ใช้ 128(7) คุณถึงตอบไม่ได้

เติมศักดิ์- มันเป็นเรื่องของการตีความหรือเปล่า

คมสัน- จะตีได้ไงในเมื่อ 128 เขียนชัดขนาดนี้ ไม่ต้องตีความแล้วคุณจะตีความคุณต้องตอบมาก่อนว่า สูตรที่คุณคำนวณเป็นไปตามมาตรา 128(7) จริงหรือเปล่า

เติมศักดิ์- เพราะว่าผมฟังการให้สัมภาษณ์เลขาธิการกกต. ฟังอยู่หลายรอบท่านไม่ได้บอกว่าตัวเลขยังไม่นิ่ง เลยคำนวรออกมายังไม่ได้ผลลัพธ์ที่แท้จริง แต่ท่านบอกว่ายังไม่รู้ว่าจะคำนวณยังไง ยังไม่มีคำตอบว่าจะคำนวณยังไงแสดงว่ามันต้องมีวิธีคำนวณหลายแบบทั้งที่กฎหมายล็อกไว้แล้วว่าจริงๆต้องคำนวณ

คมสัน- ร่างกฎหมายคนของกกต.ก็ไปนั่งรวมร่างอยู่ด้วย จะบอกว่าไม่รู้ ผมตั้งคำถามไม่รู้ได้ยังไง 128(7) อ่านยังไงมันก็คือสรุปที่นั่งพึงมีคูณด้วย 150 ที่นั่งของระบบบัญชีหารด้วย 150 บวกที่เกินมาอ่านยังไงก้ได้แบบนี้ คุณเอาสูตรไหนมันมีสูตรเดียว

เติมศักดิ์- หรือว่าผลลัพธ์ที่กกต.ได้มันยังไม่ถูกใจใครบ้างคน ก็เลยอ้างว่ายังไม่รู้ว่าจะคำนวณอย่างไง

คมสัน- มันตอบไม่ได้ว่าทำไมบางพรรคไม่ลดเพราะสูตรคำนวณแบบนี้ทุกพรรคต้องลด 1 คน หมด มันต้องลดหมดเลย แต่ทำไมบางพรรคไม่ลด นี้คือปัญหา ผมก็เลยตั้งคำถาม ตกลงพรรคพลังประชารัฐ 118 หรือ 117 คุณเติมยังบอก 118 ถ้า 118 จริงๆ ถ้าคำนวนโดยสูตรนี้มันต้องเหลือ 117

เติมศักดิ์- อาจารย์ยืนยัน

คมสัน- ยืนยัน

เติมศักดดิ์- ว่าถ้าคำนวนตามสูตร ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 128 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. พลังประชารัฐต้องได้ 117

คมสัน- 117 ไม่ใช่ 118

เติมศักดิ์- ตัวเลข 1 คะแนนเองอาจารย์ 1 ที่นั่ง

คมสัน- 1 ที่นั่ง สำคัญนะ แต่ว่า 1 ที่นั่งที่ว่านี้ไม่ได้ลดพรรคเดียวไง มันลดทุกพรรค

เติมศักดิ์- อนาคตใหม่ก็ต้องเหลือ

คมสัน- เหลือ 57

เติมศักดิ์- แล้วก็รวมกับ 30 เป็น 87 ไม่ใช่ 88

คมสัน- ไม่ใช่ 88 เหลือราวๆนี้ ประมาณนี้ ประชาธิปัตย์ ก็จะลง ภูมิใจไทยก็ต้องลง แต่มันจะลงไปถึงพรรคไหนเพราะว่า ส่วนมันอาจจะต่างนิดเดียว แต่ผมว่ายังไงก็ลง

เติมศักดิ์- หรือถ้าที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ว่า กกต. คำนวนแล้วมีพรรคการเมืองเล็กๆ 11 พรรค ที่ได้คะแนนไม่ถึง 71,000 ได้คนละที่นั่ง

คมสัน- ก็เป็นไปได้ เพราะว่ามันจะมาแบบนี้ไง

เติมศักดิ์- มันทำให้ขั้วนี้เปลี่ยน

คมสัน- ใช่ เพราะเดิมที่มันจัดไม่ได้ มันได้พรรคที่เป็นเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นแต่ละข้าง กลับเข้ามาเสริมทีละ 1 อาจจะ 4 - 5 ที่นั่ง มันก็เหมือน กกต. กำลังจัดสูตร เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ตัวเลขมันถึงออกมาไม่ลงตัว

เติมศักดิ์- ถ้าแรงจูงใจคือเรื่องนั้น เรื่องใหญ่

คมสัน- นี้เรื่องใหญ่ ก็ลงเฉลี่ยลงไป ลงไปถึงพรรค คุณจะเห็นว่า ก็จะมีพรรคที่เป็นสาย คสช. ส่วนหนึ่ง สายเพื่อไทย ส่วนหนึ่ง อยู่ในฐานตรงนี้หมด แต่ว่าพรรคไหนจะได้เท่านั้น

เติมศักดิ์- ครับ แต่ถ้าแรงจูงใจคือการทำให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบ ในการจัดขั้วรัฐบาล

คมสัน- จัดขั้วรัฐบาล อันนี้ถึงตอบสูตรลำบาก แต่ถ้าตอบแบบตรงไปตรงมา 128 (7) มีสูตรเดียว มีสูตรเดียวเลย บอกได้เลยคือที่นั่งพึงมี คูณด้วย 150 ก็คือจำนวนระบบบัญชีที่มีและหารด้วย 150 บวกด้วยจำนวนที่เกิน อย่างนี้คือ เท่ากับว่าตัวเลขพึงมีคูณ 150 หารด้วย 152 สูตรเดียวไม่มีสูตรอื่น เพราะฉะนั้นจะเอาสูตรไหนมา ก็สูตรนี้สูตรเดียวเท่านั้นแหละ

เติมศักดิ์- ต่อให้มี กรธ. ต่อให้มี สนช. มานั่งคุยด้วย คำตอบมันก็ควรจะเป็นอย่างนี้

คมสัน- ก็เป็นสูตรเดียว เพียงแต่ว่าตัวที่จะมาตีความ กรณีมันเหลือเศษ ทศนิยม จะต้องไล่เศษตั้งแต่ตัวต้นมาจนตัวท้ายหรือเปล่า เช่น พลังประชารัฐ ผมปัดตรงนี้เหลือ 117 หาร แล้วมันยังเหลือเศษที่มันใกล้ๆ แต่ตอนนี้ผมดูแล้วมันก็ใช้อย่างนั้นลำบาก เพราะว่ามันใช้ไม่ได้ เพราะมันไม่ได้เอา 71,000 มาเป็นตัวตั้งแล้ว มันใช้สูตรการคำนวนตาม (7) แล้ว ซึ่งถ้า กกต. ไปเอาตัวเลขสูตร 71,000 มา เพื่อจะดูอีกว่าเศษที่เหลือหลังจากเหลือ 117 แล้ว แล้วยังเหลืออีกเท่าไหร่ เพื่อจะให้อีก 1 คน อันนี้มีปัญหาแน่ เพราะในนี้ไม่ได้เขียนให้ทำแบบนั้น

เติมศักดิ์- หรือควรจะคุยกับตัวแทนพรรคการเมืองด้วยครับเรื่องนี้ เขามีส่วนได้ส่วนเสียนะ

คมสัน- ผมว่าส่งศาลรัฐธรรมนูญ ชี้มา

เติมศักดิ์- มันจะทำให้การรับรองผลการเลือกตั้งล่าช้าออกไปอีกหรือเปล่าครับ

คมสัน- แน่นอน แต่อย่าลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญเขาก็วินิจฉัยได้เร็วนะ อย่างกรณีไทยรักษาชาติ ใช้เวลาเพียงแค่ไม่เท่าไหร่ ประมาณสัก 2-3 สัปดาห์เท่านั้นเอง ตอนนี้ก็ยังมีเวลาก่อนจะถึงเดือนพฤษภา ที่จะไปประกาศรับรองผล เมษา ทั้งเดือนครับ

เติมศักดิ์- นอกจากนี้ อาจารย์มองอย่างไรกับข้อเรียกร้องของบางพรรคการเมืองที่ต้องการให้กกต.โชว์ผลคะแนนการนับคะแนนของทุกหน่วย

คมสัน- ผมเห็นด้วยเพราะผมมีข้อสงสัยจากการที่แต่ละพรรคการเมืองมีคนละหมายเลข คือพรรคเดียวกัน ส.ส. 350 เขต มีหมายเลขไม่ตรงกัน การหยอดคะแนนจากหน่วยเป็นต้นมา มันหยอดถูกลงไปในคะแนนบัญชีหรือเปล่าถึงจะกลายป็น ส.ส. พึงมี เพราะว่าถ้าหยอดผิดตัวเลข ส.ส. พึงมี มันจะเปลี่ยนไปเลย หรือเจตนาหยอดไม่ตรง หยอดของพรรคนี้ไปให้อีกพรรคหนึ่งเพราะเลขมันไปตรงกัน อันนี้เป็นปัญหาเลย ในจังหวัดเดียวกันก็ยังเป็นปัญหา

เติมศักดิ์- ซึ่งมันก็คงเป็นข้อสงสัย ของบรรดาพรรคการเมืองที่เขาเรียกร้อง

คมสัน- ผมสงสัยมาแต่ต้นเลย ผมสงสัยตั้งแต่ผมเห็นดีไซน์มาว่า ให้คนละหมายเลข ดีไซน์แบบนี้มัน คนล่างไม่คิดเหรอว่ามันโกงง่าย มันโกงเลขคะแนนง่าย

เติมศักดิ์- ถ้าย้อนไปฟังคำอธิบายของการออกแบบให้แต่ละเขตของพรรคการเมืองมีเบอร์ไม่เหมือนกัน เขาบอกว่าเพื่อป้องกันการสั่งการว่า เลือกเบอร์ 2 ทั้งประเทศ เลือกเบอร์ 3 ทั้งประเทศ ถ้าอย่างนั้นก็ส่งเสาไฟฟ้า เพราะถ้าจำแบบนั้น เขาก็เลยต้องการให้

คมสัน- แล้วเขาเลือกไหมละ ก็เขาเลือก ประชาชนเขาเลือก อันนี้คือเพื่อให้หาร่องรอยการโกงไม่เจอ อันนี้เรื่องใหญ่กว่าไอ้เรื่องส่งเสาโทรเลข สั่งแล้วมันก็รู้ว่าเสาโทรเลข แล้วถ้าเขาชี้นำมาจากต่างประเทศ แล้วเห็น หน้าที่ กกต. คุณก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไปสิ ข้อกฎหมายมันก็มีอยู่แล้ว

เติมศักดิ์- เขาต้องการให้ชาวบ้าน 350 เขต จำให้ได้ ว่าคนที่คุณชอบอยู่พรรคไหน อยู่เบอร์อะไร ใส่ใจหน่อย

คมสัน- ทุกวันนี้ ชาวบ้านเขาไม่ได้จำผู้สมัครเลย เขาจำคนจะเป็นนายก ผมยกตัวอย่างอนาคตใหม่ เด็กรุ่นหลัง ผมถามว่าผู้สมัครในเขต ถามลูกศิษย์เองนะในคลาส คุณเลือกพรรคอะไรกัน ก็ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นอนาคตใหม่ ถามว่าผู้สมัครเขตคุณชื่ออะไร ไม่รู้จักสักคน รู้จักคนเดียวคือธนาธร เขาไม่ได้สนใจผู้สมัครเขตแล้ว เพราะฉะนั้นวิธีคิดที่ กรธ. คิดแบบเดิมมันเพี้ยนไปแล้ว เพราะคุณไปดีไซน์ให้เสนอชื่อนายก พอเสนอนายก คนมุ่งเป้าไปที่จะเลือกนายก เพราะฉะนั้น ส.ส. ที่อยู่ในเขต เพียงแค่ส่วนประกอบ เหมือนกับในการเลือกประธานาธิบดี พอเป็นแบบนั้น คนไม่เคยสนใจว่าไอ้หมอนี้ชื่ออะไรด้วยซ้ำไป

เติมศักดิ์- ผลลัพธ์มันเกิดขึ้นในแบบที่ กรธ. อธิบายว่าไม่อยากให้คนเลือกเสาไฟฟ้า แต่ปรากฎว่าการดีไซน์แบบนี้คือคนไม่สนใจ

คมสัน- คนเลือกเสาไฟฟ้าจริงๆ เพราะว่าเขาต้องการคนเป็นนายก กลับกันกลานเป็นเลือกเสาไฟฟ้ามากกว่าเดิมอีก

เติมศักดิ์- ไม่สนใจว่าอนาคตใหม่ส่งใคร ชื่ออะไร เบอร์อะไร รู้แต่ว่าเลือกอนาคตใหม่ได้ธนาธร เลือกพลังประชารัฐได้บิ๊กตู่ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขตที่ลงเบอรือะไร แค่เห็นโลโก้ก็พอ

คมสัน- แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าผู้สมัครชื่ออะไร ประวัติเป็นมาอย่างไร ส่งมา ส่งหมู อะไร ได้หมด ไม่สนใจด้วยซึ้นว่าคุณสมบัติคนนั้นจะเป็น ส.ส. ได้หรือเปล่า

เติมศักดิ์- สิ่งที่ไม่อยากให้เกิด กลับเกิดเต็มๆเลย คือเสาไฟฟ้าจากระบบนี้

คมสัน- ใช่ เกิดเสาไฟฟ้า เกิดตู้โทรศัพท์ เต็มเลย

เติมศักดิ์- แต่ Hidden agenda ที่อาจารย์กำลังสงสัย คือ

คมสัน- โกง อย่าลืมสิครับว่า อันนี้ผมไม่โทษ กกต. เวลา กกต. จัดการเลือกตั้ง กกต. จังหวัดไม่มีถูกไหมครับ ดังนั้นองคาพยพของ กกต. ใช้ใครในการจัดการเลือกตั้ง ลำพังพนักงานของ กกต. 3,000 - 4,000 คน มันจัดการเลือกตั้งทั้งประเทศไม่ได้ มันก็ต้องอาศัยองคาพยพของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ที่อยู่ในพื้นที่ พูดง่ายๆว่าอาศัยองคาพยพของราชการเป็นหลัก และราชการในการบริหารส่วนภูมิภาคก็ขึ้นอยู่กับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเป็นคนบอกซ้าย ขวา หน้า หลัง อันนี้เราไม่รู้ แต่ก็เกิดขึ้นได้ถูกไหม เพราะทุกครังในการเลือกตั้ง พรรคที่เป็นพรรคเบอร์ 1 เขาก็ต้องเลือกกระทรวงมหาดไทย เพราะเขารู้ว่าการได้กระทรวงมหาดไทยเท่ากับเขาจะได้เปรียบในการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น กกต. อาจจะไม่ได้เป็นคนตั้งใจหยอดคะแนนเหล่านี้ก็ได้ หน่วยอื่นเป็นคนหยอดให้ก็ได้ แค่หยอดคะแนนของหน่วยสลับไป สลับมา ตัวเลขมันก็ดีดขึ้นมาได้เหมือนกัน จึงมีข้อสงสัยว่าคะแนนเกิน 4 ล้านกว่า มันเกินด้วยเหตุ มันหยอดเกินหรือเปล่า หรือมันเพิ่มอะไรขึ้นมา

เติมศักดิ์- ถ้าเปิดคะแนนทุกหน่วยอย่างที่เรียกร้องจริง มันจะมีคำตอบ

คมสัน- พอเห็นคำตอบ จะรู้ว่ามีคำตอบที่แท้จริง คือต้องไปดูคะแนนในกล่องของแต่ละหน่วยจริงๆว่าเป็นอย่างไร แต่พอจะเห็นว่ามันมีอะไรเกิดขึ้น.

เติมศักดิ์- ในรอบหลายวันมานี้ กระแสที่มีต่อ กกต. มันถูกฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายที่มีอำนาจปรามว่า แข่งขันเสร็จแล้ว แพ้ ชนะ ไปตีกรรมการ ทำไมไปโทษกรรมการ ไม่รู้แพ้รู้ชนะเลย ตกลงอาจารย์เห็นด้วยไหมกับกระแสกดดัน กกต. ที่มีอยู่ในขนะนี้

คมสัน- ก็คุณได้เปรียบหนิ คุณเป็นองคาพยพของส่วนที่จะได้รับการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต คุณก็ออกมาพูดปรามเขา แต่ในความเป็นจริงเราก็รู้กันว่าถ้ากรรมการไม่เป็นธรรมหรือกรรมการบกพร่องเรื่องกติกาที่ใช้ มันก็มีปัญหาความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะเรียกร้อง ร้องเรียน หรือจะทำอะไรก็แล้วแต่ รวมทั้งประชาชนเขาก็มีโอกาสที่จะบอกได้ว่า คุณยังไม่แม่นกติกาตัวเองเลย แล้วคุณมาจากการเลือกตั้ง แล้วคุณก็จัดมีปัญหาว่าถูกกติกาหรือเปล่าตลอดเวลา มีข้อสงสัยตลอด ไปว่าเขาก็ไม่ได้

เติมศักดิ์- ตกลงที่เคลื่อนไหวกันอยู่ตอนนี้ ที่สงสัยกันอยู่ตอนนี้เกี่ยวกับ กกต. มันเป็นความชอบธรรมที่เขาจะมีสิทธิสงสัยได้ เพราะพฤติกรรมที่ออกมา

คมสัน- ใช่ เพราะ กกต. วันแรกผมก็ตั้งคำถามมาตลอด ผมเคยพูดมาทุกครังในการเลือกตั้งว่าเลือกตั้งเสร็จวันนั้น ทำไมต้องรู้ผลวันนั้น เพราะการรู้ผลวันนั้นมันเป็นความเสี่ยง ความเสี่ยงก็คือ คะแนนมันผิดพลาดได้ง่าย ทำไมต้องไปกดดันว่าฉันต้องรู้วันนี้ อันนี้ก็ต้องว่าสื่อด้วยนะ ก็คะแนนมันจะใช้เวลาสัก 2 วัน ในการรวบรวมเพราะคะแนนมันเยอะ ก็ต้องให้เวลาเขา แต่ว่าก็ไม่ควรจะนานเกินสมควร อาจจะเป็น 2 วัน หรือ 3 วัน คะแนนสรุปมา แต่นี้ กกต. เร่งแถลง ชั่วโมง คะแนนอันหนึ่ง อีกชั่วโมงคะแนนอันหนึ่ง ข้ามไป 5-6 ชั่วโมง คะแนนอีกอันหนึ่ง แล้วพออีกวันหนึ่งตัวเลขไม่ตรงกันสักวัน

เติมศักดิ์- แล้วผิดกันหมดเลย

คมสัน- ผิดกันหมดเลย คือเครื่องคิดเลขแกไม่มีไง แกก็เลยเกิดปัญหา

เติมศักดิ์- ถ้าเกิดกรณี กกต. ซึ่งคงยาก แต่ว่าเขาก็มองกันว่า ถ้า กกต.ลาออกหรือต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่ เพราะมีการล่าชื่อถอดถอน ไปถึง ปปช. เกิดต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่ขึ้นมา ไม่วุ่นวายหรืออาจารย์

คมสัน- กว่า ปปช. จะชี้ อย่างน้อยก็เป็นเดือน 1 เดือน ชี้แล้วก็ไม่ใช่ว่าพ้นนะ ยังไม่ชี้มูลทันทีนะ เขาชี้แค่รับก่อนนะ แล้วก็ต้องไปตรวจสอบ ถามว่า ปปช. จะไปตรวจ ยังไง ก็ต้องไปตรวจคะแนนอะไรต่ออะไรที่เกิดขึ้น ใช้เวลาอีกหลายเดือน เพราะฉะนั้นการถอดถอนที่ฝันว่า กกต. จะไปเร็ว รอชาติหน้า ไม่เร็วหรอก เพราะว่ากระบวนการมันไม่เร็วอยู่แล้ว มันลัดไม่ได้เพราะว่า ถ้าสงสัยเรื่องคะแนนก็ต้องกลับไปดูคะแนน ปปช.ก็ต้องไปดูคะแนนมันเกิดอะไร จริงไม่จริงอย่างข้อร้องเรียน ต้องไปตรวจสอบลงถึงบัตร ถึงหีบ แม้อำนาจเปิดจะเป็นของ กกต. ก็ตาม แต่ว่า ปปช.ก็ต้องมีอำนาจในกฎหมายเขาที่จะเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้นกว่าจะเสร็จกระบวนการ แค่ดูเรื่องคะแนน 3-4 เดือน ยังไม่รู้จะเสร็จหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งที่มันมีกรอบ 60 วัน ยังไงมันก็จบอยู่ตรงนั้นก่อน

เติมศักดิ์- อาจารย์มองยังไง ถ้าจะมีคนย้อนกลับไปตั้งแต่ที่มาของ กกต. แม่น้ำ 5 สาย มาถึง กกต. มาถึงการทำหน้าที่การเลือกตั้งที่ผู้มีอำนาจมาอยู่ในเกมนี้ด้วย มามีส่วนได้ส่วนเสียด้วย มันผิดทั้งระบบ ทั้งองคาพยพหรือเปล่า

คมสัน- มันมีปัญหาเรื่องการขัดแย้งถึงผลประโยชน์อยู่แล้ว แต่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เขาไม่ได้สนใจเรื่องขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ไง เขาสนใจเพียงจะทำอย่างไร ให้ผู้มีอำนาจในขณะนี้สามารถยังอยู่ใช้อำนาจต่อได้ ในรูปแบบใหม่เท่านั้นแหละ เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ได้สนใจว่ามันควรไหมกับการที่จะทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผลประโยชน์ที่ตัวเคยมีอยู่ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง กกต. เราเคยคุยกันมานานแล้วใช่ไหมครับ ว่า ผมว่าการเลือกตั้ง กกต. มีปัญหา การสรรหามีปัญหา ตั้งแต่การรีบเลือกประธาน ทั้งที่ยังได้องค์ประชุมไม่ครบ

เติมศักดิ์- งั้น พักกันสักครู่หนึ่ง และช่วงหน้ามาว่ากันด้วยการจัดขั้วรัฐบาล โอกาสจะเกิดรัฐบาลแห่งชาติ และอยากให้อาจารย์คอมเมนต์คำว่าฝ่ายค้านอิสระของไอติมหน่อย ซักครู่กลับมานะครับ ความมีพิรุธของ กกต. ว่าด้วยการทำงานของ กกต. จะนำไปสู่การถอดถอนหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งสูตรการคำนวนปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในปัญหาใหญ่ ที่อาจจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ ที่อาจจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะหรือไม่นะครับ ขออนุญาต ทักทายคุณผู้ชมทางเพจ เฟซบุ๊ก นะครับ วันนี้เราไลฟ์สด มีคนถามว่า วันนี้ทำไมมาเร็ว เราเปลี่ยนเวลาการออกอากาศเป็น 20.45 น. จากเดิมเริ่ม 22.00 น. มาเป็นเริ่ม 20.45 น. ถึงประมาณสักใกล้ๆ 22.00 น. อ้าวกรรมการไม่เป็นกลางนิ ก็คงอย่างนั่นละ

คมสัน- คงทำนองนั่น

เติมศักดิ์- คนในหน่วยงานใช้คนราชการเจ้าหน้าที่น้อย แต่ทำไมใช้เงินเยอะ โอ้โห้ 5,800 ล้าน

คมสัน- โอ๊ย จะไปเทียบกับปี 2543 ได้ไง กี่ปีมาแล้ว จะ 20 ปี เงินเฝ้อไปเท่าไหร่ เรามองแง่ดีอย่าไปคิดว่าเขาทำอะไร ใช่ไหม

เติมศักดิ์- อีกท่านบอกว่า แซวๆ ซิกแซ็กขนาดนี้ คะแนนยังออกมาชิวเฉียดเพื่อไทยเลย อาจารย์วิเคราะห์ตัวเลขที่ออกมาภาพรวมได้ไหมครับ บางคนบอกว่ามันก็ยังเป็น 2 นคราอยู่ดีละ ดูดีดีนะ ซีกนี้ครึ่งหนึง อีกซีกนี้ครึ่งหนึง อาจารย์คิดว่าตัวเลขแบบนี้มันบอกอะไรบอกสัญญานอะไรกับสังคมไทย ที่มันขัดแย้งกันมากในรอบ 10 กว่าปี ที่ผ่านมา

คมสัน- ตัวเลขแบบนี้มันก็สะท้อนไปไหน ยังไม่ไปไหน ยกตัวอย่างเราดูตัวเลข 2 พรรคนะ พลังประชารัฐกับเพื่อไทยเป็นตัวตั้ง ถ้าเราดูใก้ดีเราจะรู้ว่าเพื่อไทย 7,900,000 เนี่ย เราต้องไปดูพรรคอื่น ประกอบเขาด้วยนะ เช่นเพื่อชาติ หรือพรรคเสรีรวมไทย อีกหลายพรรค ถ้ารวมตัวเลขเหล่านั้นมาอาจรวมถึงพรรคอนาคตใหม่ด้วยก็ได้ เป็นแนวร่วมกันก็จะพบว่าตัวเลขเขาก็ใกล้ๆ กับของเก่า อาจเสียหายไปประมาณสัก 2 ล้าน หรือ 3 ประมาณ 2 ล้านได้ แต่ว่าตัวเลขก็ใกล้เคียง เพราะมีพรรคเกิดใหม่เยอะ ส่วนพลังประชารัฐก็ตอบได้ตรงๆ เลยตัวเลข 8 ล้านกว่า มันมาจากประชาธิปัตย์ทั้งหมดค่อนข้างครึ่งค่อนเพราะไปดูดเขามาเยอะที่สุดคือ ในบรรดาพรรคทั้งหมดประชาธิปัตย์ค่อนข้างเป็นพรรคที่ได้รับความเสียหายในการเลือกตั้งครั้งนี้สูง โดยฉะเพราะพลังประชารัฐดูดประชาธิปัตย์เยอะมาก ซึ่งฐานที่มาที่ผมยังไม่ค่อยเชื่อเลข 8,000,000 ในพลังเสียงของพลังประชารัฐเท่าไหร่หรอกนะ ไม่เค่อยเชื่อว่ามันเป็นเลขเพียวๆ อย่างนี้หรือเปล่า อันนี้ข้อสงสัยอยู่ในใจเฉยๆ

เติมศักดิ์- มันนิ่งแล้วไม่ใช่หรืออาจารย์

คมสัน- ก็นิ่งแต่ในใจผมว่ามันไม่น่าจะถึง ในความคิดผมนะ แต่ถึงแล้วก็ว่ากันไป ก็พบว่าตัวเลขก็ใกล้เคียงถ้ารวมกับประชาธิปัตย์เดิม 12 ล้านกว่าๆ ประชาธิปัตย์เคยได้ 13-14 ล้านในตอนแรก เลือกตั้งคราวก่อนปี 54 ก็ใกล้เคียง 12 ล้าน แสดงว่าตัวเลขแบ่งออกไป ขั้วก็เป็น 2 ขั้วเหมือนเดิม แต่ว่าอีกขั้วหนึงมีปันใจ ปันใจกัน ต้องยอมรับว่าตอนเป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็ถูกด่า ถูก ว่าเยอะ แต่เป็นฝ่ายค้านที่เจ๋งมาก ต้องยอมรับข้อนี้นะครับ เป็นฝ่ายค้านที่จิกกัดได้ทุกเม็ด ตรวจสอบได้โอเค เพราะฉะนั้นถ้าดูตัวเลขก็จะเป็น 2 ข้างเหมือนเดิม เพียงเปลี่ยนพรรคย้ายพรรคเท่านั้นเองเพราะตัวเลขของพลังประชารัฐเขาเรียกต้องยอมรับความจริงมันเป็นตัวเลขตกใจจากงานแต่งมาด้วย เยอะ

เติมศักดิ์-ฮ่องกงเอฟเฟค

คมสัน- อันนี่มีเยอะ แล้วก็เอฟเฟคไปยังเพื่อไทยลงมาด้วยมันมีเอฟเฟคทั้งคู่

เติมศักดิ์- แต่ตัวเลขแบบนี้ ต่างรัฐบาลก็ยาก ถึงตั้งได้ก็ปริ่มน้ำ ปริ่มน้ำแล้วและจะเต็มไปด้วยการต่อรองผลประโยชน์ เก้าอี้รัฐมนตรี เข้าห้องน้ำทีก็ไม่ได้ เสียงจะหายไปจนไม่มีเสถียรภาพ

คมสัน- เข้าห้องน้ำทีอาจจะหายไปที่อื่นเลย โดนหิ้วไปตรงไหนไม่รู้

เติมศักดิ์- บางคนก็ย้อนไปว่านี่คือผลลัพธ์ที่อยากจะได้จริงๆ หรือ ในการออกแบบกติกาของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง เชิญครับ อาจารย์

คมสัน- เราต้องเข้าใจข้อหนึงของการเลือกตั้งว่าเราอยากได้การเมืองแบบไหนรูปแบบของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นตัวการเลือกตั้งมันเป็นฐานของการนำไปสู่แนวการเมืองนั้น รูปแบบของการได้ไปบริหารของรัฐบาลแบบนั้นเพราะฉะนั้นการดีไซน์เรื่องระบบการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องซีเรียสมาก เอามือสมัครเล่นมาทำเอาคนไม่รู้เรื่องมาทำเอาประเภทจิตนาการอย่างเดียวมาทำมันไม่ได้ มันต้องมันมีองค์ความรู้พอสมควรในการเปรียบเทียบระบบต่างๆ รวมถึงเรื่องของวิธีการนับคะแนนเรื่องของอย่างนี้มันต้องดู ด้วยว่าคุณจะเอาสูตรไหนที่เขามีกันอยู่มันมีสูตรการคิดคำนวนกันหลาย สิบสูตรนะครับ ทุกวันนี้ก็มีการคิดสูตรใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ในอเมริกา สูตรนั้น สูตรนี้ขึ้นมาจะแก้ปัญหาเรื่องไม่เป็นธรรม ที่นี้ไอ้ตอนที่ทำเหล่านี้ โดยระบบของระบบการเลือกตั้งแบบผสมแบบเยอรมนี เขาไม่ต้องการให้มีคะแนนเสียงของรัฐบาลที่เข้มแข็งเกิน เพราะบริบทของเยอรมนีเข้าเจอฮิตเลอร์มา ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้นำเยอรมนีด้วยการชนะการเลือกตั้งประมาณ 3-4 ครั้ง และได้คะแนนที่นั่งเยอะในสภาภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก และก็แก้รัฐธรรมนูญ คนเยอรมนีจึงกลัวฮิตเลอร์จึงไม่ต้องการให้มีพรรคที่มันเข้มแข็งสุดโต่ง ต้องการให้มีลักษณะที่มันไม่แข็งเกิน สามารถตรวจสอบได้ การให้คะแนนมันเกินกว่าครึ่งไปนิดๆ หรือไม่อย่างมากก็รัฐบาลผสมสัก 2 พรรค เขามองว่ามันบาลานซ์ความเป็นเผด็จการของรัฐสภาได้ แต่บ้านเรามันมีโจทย์หลายตัวมันไม่ได้มีเยอรมนีอย่างเดียว ที่เอาระบบแบบนี้มาใช้อย่างเดียว มันต้องไปแก้ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของพรรคการเมืองที่มี รวมดูด รวมอะไรที่มี จริงๆฐานสมาชิกไม่มีฐานอะไรเท่าไหร่ พอแก้ตัวนี้มันตัวเลือกตั้ง ตัวระบบพรรคการเมือง มันก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทุกพรรคก็เป็นแบบเดิม นักการเมืองเดิมๆ ก็มีอำนาจอยู่ในพรรคเหมือนเดิม มันไม่ได้ดีไซนืแก้รัฐบาล หรือแก้พรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย พรรคหน้าตาไม่ต่างจากของเก่า วิธีคิดคือกรรมการบริหารเป็นผู้ชี้นำก็กลายเป็นทุน พรรคจำนวนมากเห็นว่าเป็นทุนชนิดต่างๆ ประกอบกับการดีไซน์ ให้เอาระบบถ่วงที่เอาเขตมากกว่าบัญชีมันทำให้สัดส่วนตรงนี้มันเพี้ยนเยอะ การใช้ระบบผสมสัดส่วนแบบนี้มันเพี้ยนเยอะ ผลการเลือกตั้งก็ออกมาแบบเบี้ยหัวแตกหมด

เติมศักดิ์- มันเหมือนหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่า คือเราหนีเผด็จการรัฐสภามาเจอเบี้ยหัวแตกที่โอ้โห้

คมสัน- มันเป็นรัฐบาลที่ไม่มีความเข้มแข็งเลยอ่อนแอสุดขีด เขาดีไซต์มาเหมือยปี 2521 ,2534 ที่การเลือกตั้งมันเอาเสียงข้างมาก เอาพวงไปผสมระบบพวง 3 คน ซึ่งระบบเสียงข้างมากมันควรใช้ 1 เขต 1 คน กูเอา 3 เข้าไปมั้ง เขตละ 2 มั้ง เพราะฉะนั้นคะแนนแต่ละเขตมันก็ออกมาเป็นเบี้ยหัวแตก นักการเมืองก็ได้แข่งขันตัวบุคคลรัฐบาลอ่อนแอ นี่ปรากฎการณ์แบบนี้เคยเห็นมาแล้ว เพียงแต่วิธีนั้นมันกับมาใช้กับสมัยนี้

เติมศักดิ์- เลยมีคนถามในเฟซบุ๊กไลฟ์ ว่าต้องโทษคนร่างหรือเปล่าที่ตั้งใจให้ออกมาเป็นแบบนี้ เขาร่างออกมาเพื่อสืบทอดอำนาจ

คมสัน- อันนั้นมันเป้ฯความเห็นท่าน ซึ่งผมก็เห็นตรงกับท่าน (ขำ)

เติมศักดิ์- แต่ถ้าตั้งใจร่างเพื่อสืบทอดอำนาจ แต่ได้หน้าตารัฐบาลแบบนี้

คมสัน- ผมว่ามันดีไซน์เขาต้องการให้มันเกิดลักษณะนั้น แต่ว่าระบบที่เขาไปเอามาใหม่เขาไม่เคยทดลองด้วยตัวเองมาก่อน เขาไม่เชี่ยวชาญกับระบบนี้ เขาจึงมีปรากฎการณ์จึงออกแบบนี้ ประกอบกับไปเอาเรื่องการเสนอชื่อนายกฯมา โดยหวังให้ผู็มีอำนาจกลับเข้าไปในฐานะคนนอกและลืมไปว่าสุดท้ายมันได้เสาไฟฟ้ามาเป็นส.ส.ในเขตไปมองตัวคนจะเป็นนายกฯเป็นหลัก มันเลยเกิดปัญหา แบบผิดพลาดอย่างร้ายแรง

เติมศักดิ์- นี่ยังไม่นับงูเห่า

คมสัน- สงสัยเพ่นพ่านทั่วทุกพรรค ไม่เว้นพรรคไหน ทุกพรรคมีแน่ๆ

เติมศักดิ์- แล้วลองคิดดูสิครับว่าราคาของงูเห่าแต่ละตัวคือภาษีเรา

คมสัน- ใช่ๆ

เติมศักดิ์- ถ้าจัดตั้งรัฐบาลแบบนี้

คมสัน- มันเป็นการเลือกตั้งที่ไม่คุ้มค่าเสียเวลา 5 ปี เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญ และได้การเลือกตั้งแบบนี้ มันไม่คุ้ม จะเดินต่อไปก็ได้ ก็ไปแบบอ่อนแอๆ เกิดความขัดแย้งในสภา แล้วก็ลากไปสู่ความขัดแย้งของประชาชนที่เป็นผู้สนับสนุนไปในอนาคต เพราะว่ายิ่งดีไซน์ให้ใกล้กับการเลือกตั้งนายกฯโดยตรงเท่าไหร่ มันคือการเลือกประธานาธิบดี อันตรายมากมากสำหรับประเทศไทยในระบอบรัฐสภา ในระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปเรื่อยๆ ความอ่อนแอทุกระบบจะเกิดขึ้นทันที สุดท้ายก็จบที่รัฐประหารอยู่ดี ความขัดแย้งนี้

เติมศักดิ์- สมมุติว่าถูลู่ถูกังไป เราใช้ทฤษฎี ลุงตู่เป็นต่อ 8 สถานการณ์ลุงตู่เป็นต่อหมดเลย

คมสัน- ถูกลุงตู่เป็นต่อหมดแต่จะอยู่ได้สักกี่เดือน

เติมศักดิ์- ถ้าลุงตู่เป็นต่อจะอยู่ได้สักกี่เดือนครับ

คมสัน- อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะว่าเสียง ส.ว. 250 เสียงมันมาช่วยตอนที่ผ่านงบประมาณในสภาผู้แทนไม่ด้แล้ว มันมาช่วยตอนที่จะเสนอกฎหมายสำคัญๆ ดำเนินการตามนโยบายไม่ได้แล้ว มันอยู่ที่ว่าคุณจะซื้อ ส.ส.แบบไหน ส.ส.ที่เป็นงูเห่ายกพรรค หรือส.ส.ที่กูเป็นฝ่ายค้านหรือเป็นรัฐบาลโดยที่ยังเป็นฝ่ายค้านอยู่

เติมศักดิ์- หรือซื้อเป็นครั้งๆ

คมสัน- สุดท้ายก็จะจบแบบจอมพลถนอมที่จ่ายไม่ไหว ปฏิวัติตัวเองก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

เติมศักดิ์- ปี 2512

คมสัน- ใช่ๆ ปี 2511หรือ 2512 ราวๆ นี้หลังใช้ รัฐธรรมนูญ 11

เติมศักดิ์- นี่หรือสิ่งที่อยากได้จริงๆ อยากถามเขาดังๆนะ

คมสัน- ก็ไม่รู้สิ เขาไปลงประชามติกัน ทั้งที่ผมในฐานะนักวิชาการ ผมก็พูดนะ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหานะ มันไปไม่ได้หรอกระบบเลือกตั้งมันเลวมาก คนก็ประชามติ คนจริงๆ ไม่เอาเยอะกว่า พอไม่เอาขี้เกีจไปก็ไม่ไปในการลงประชามติจะเห็นได้ว่าคะแนนผ่านประชามติมันไม่เยอะแต่มันมีคนไม่ไปใช้สิทธิเยอะมาก ซึ่งถ้าพวกนี้ไปผลเหวี่ยงมันอาจไม่ผ่านก็ได้

เติมศักดิ์- ถ้าถูลู่ถูกังแบบนี้ลุงตู่เป็นต่อไป โครงสร้างแบบนี้

คมสัน- 6 เดือน หรือสมัยเดียว ยุบแล้วเลือกตั้งใหม่ ถ้าไม่ยุบเลือกตั้งใหม่ก็ต้องใช้เงินมหาศาลในการซื้อเสียง เสียงในสภา ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เจ็มที่ในการได้เสียงในสภา

เติมศักดิ์- เละ

คมสัน- ก็กลับไปก่อนรัฐธรรมนูญปี 2534 ก่อนพฤษภาทมิฬ

เติมศักดิ์- เห็น ผบ.ท.บ. ออกมาพูดวันนี้ เห็นศาลนายกฯ 2 ครั้ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 1 ครั้ง ผบ.อภิรัชต์วันนี้มันคือสัญญาณอะไร

คมสัน- ตอบไม่ถูก ว่าสัญญาณอะไร แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่เกิดอะไรขึ้นไง เหมือนกับต่อว่าพวกผมด้วยนะ อาจไม่ใช่ผมหรอก ที่ออกมาพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้อะไร เข้าใจว่าคงเป็นสุดโต่งมากกว่า พวกนั้นมากกว่า

เติมศักดิ์- ซ้ายจัด

คมสัน- ใช่ๆ ซ้ายจัด ติงพวกนั้นมากกว่า สถานการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องล่อแหลมเรื่องของความมั่นคงหลังการเลือกตั้ง

เติมศักดิ์- โอกาสจะเกิดรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อเลี่ยงการเกิดรัฐประหาร เหมือนกับมีเจ้าภาพสักคนที่มีพลังมากๆ

คมสัน- มันก็มีโอกาสไม่ง่ายนะ ต้องอยู่ในภาวะที่สูญญากาศหลายๆอย่าง พอสมควรเหมือนกัน ถึงจะเกิดแบบนั้นๆได้ เช่น 1.คสช.ไม่มี ไม่มีคนใช้อำนาจละ 2.ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ถ้ายืดเยื้อไปเป็นเดือน 2 เดือน ตั้งไม่ได้ ต่อรองไม่ได้ 3.มีการยุบพรรค หลายพรรคเกิดขึ้น ซึ่งมันมีโอกาส 4.กกต.ลาออกยกชุด หรือติดคุกทั้งชุด เหมือนชุดวาสนาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วไม่สามารถสรรหา กกต. เพื่อมาแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว จริงรัฐธรรมนูญฉบับมหาเทพ ต้องคุณสมบัติมหาเทพ กว่าจะหาได้คราวที่แล้วเกือบปี แล้วดูผลลัพธ์สิ ก็ออกมาแบบนี้ อันนี้ถ้ากกต.ไม่มี เลือกไม่ได้ การเลือกตั้งยืดออกไปมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติได้ มีโอกาส เพราะกระแสก็จะหมุนกลับไปที่ พล.อ.ประยุทธ์กับรัฐบาลคสช.ที่จะไปกดดันตรงนั้นให้ออก

เติมศักดิ์- สุดท้ายระหว่างรัฐบาลแห่งชาติ กับรัฐประหาร

คมสัน- ผมเลือกรัฐบาลแห่งชาติมากกว่านะ

เติมศักดิ์- ไม่ใช่เลือกนะครับ โอกาสที่จะเกิด

คมสัน- ถ้าถามแบบนี้ ณ นาที นี่รัฐประหารไม่น่าจะเกิดเร็วหรอก โอกาสเกิดรัฐบาลแห่งชาติก็ยังไม่เร็ว คือมันต้องถูลู่ถูกังไปพักใหญ่ๆ อีกสัก 2 เดือน เราถึงจะรู้ว่าว่าอะไรจะเกิดระหว่างรัฐบาลแห่งชาติ กับรัฐประหาร ตอนนี้เดือนนี้ทั้งเดือนไงก็ไม่เกิดหรอก เพราะว่าตัวเลขยังไม่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ไม่มีปัญหากับความมั่นคง มันยังนิ่งๆ ไม่นิ่งหรอกมันยังกระเพือมๆแบบนี้แต่ไม่ถึงกับเขย่าให้เกิอะไรเกิดขึ้น

เติมศักดิ์- ครับไว้มีโอกาสค่อยมาคุยกันต่อนะ วันนี้ขอบคุณมากนะครับ คนเคาะข่าวลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น