ปัจจุบันประเทศไทยมี SME รวมกว่า 3 ล้านราย ซึ่งจัดเป็น SME ขนาดเล็กกว่า 99% เลยทีเดียว นับเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นการที่เติบโตและแข็งแกร่งของ SME จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตและยั่งยืน
แล้วการเริ่มต้นธุรกิจ SME สำหรับมือใหม่ต้องทำอย่างไร? อุปสรรคปัญหาในการทำธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง? ต้องรับมืออย่างไรกับสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน?
ร่วมหาคำตอบกับ “ชมภูนุช ปฐมพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า SME TMB ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและสนับสนุนให้ SME ไทยหลุดพ้นจาก 7 หลุมพรางที่ทำให้ธุรกิจ ไปไม่ถึงฝั่งฝัน

• ถามถึงมุมมองต่อธุรกิจ SME ไทยในปัจจุบันหน่อยค่ะ
ทุกวันนี้โลกของการค้าขายมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ซึ่งเชื่อว่า พวกเราก็มองเห็นเหมือนๆ กัน แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะรับมือกันการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่ม SME น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างเมื่อก่อนเวลาเริ่มต้นกิจการ พอเราคิดแล้วว่าเราจะขายอะไร เรามักจะเริ่มจากการมองหาทำเลที่ตั้งร้านค้าก่อน แต่วันนี้สามารถขายของได้ โดยไม่ต้องมีหน้าร้านก็ได้ เช่น e-Commerce, Facebook, LINE, Amazon เป็นต้น
หรือหากจะเริ่มธุรกิจเมื่อก่อนจะต้องมีสินค้า เช่น มีโรงงานเสื้อผ้า โรงงานผลิตอาหาร แต่ปัจจุบันไม่มีก็สามารถทำธุรกิจได้ เช่น Grab เป็นเครือข่ายธุรกิจขนส่งที่ใหญ่ที่สุด โดยที่ไม่มีรถยนต์ รถแท็กซี่เป็นของตัวเองเลย
หรือเมื่อก่อนหากจะเปิดกิจการ เราจะต้องขนส่งสินค้า แต่ปัจจุบันการขนส่งสินค้าไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในกรอบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ร้านอาหารที่อยู่ลึกแค่ไหนก็มีทั้ง LINE MAN, FOOD PANDA, GRAB เข้าไปซื้ออาหารส่งให้ลูกค้าได้ ลูกค้าไม่ต้องไปต่อคิวเอง เป็นต้น
นี่จึงสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้การทำธุรกิจ SME ในทุกวันนี้ ต้องมีความรู้ว่าจะปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดและเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ซึ่ง SME ต้องตื่นตัว และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาค่ะ
• วิสัยทัศน์ของทีเอ็มบีมีการสนับสนุนธุรกิจ SME อย่างไรบ้าง
ประเทศไทยมี SME กว่า 3 ล้านราย และมีสัดส่วน SME ขนาดเล็กถึง 99% ซึ่งตรงนี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก อีกทั้งปัจจุบันก็มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนช่วย ไม่ว่าจะเป็น ตัว SME เอง ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และหน่วยงานเอกชนต่างๆ ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา SME ไทย ซึ่งทางธนาคารทีเอ็มบีก็เช่นกัน
หน้าที่หลักของธนาคารทีเอ็มบี เรายึดมั่นในแนวคิด คือ “เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตดีของคุณดีขึ้น” เรามองว่าธนาคารและ SME จะต้องเติบโตไปด้วยกัน และอยากให้อะไรกับลูกค้า SME มากกว่าแค่การให้แหล่งเงินกู้ ก็จริงอยู่ว่าสถาบันการเงินคือสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME ให้เพียงพอต่อเนื่องตั้งแต่เงินทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ เงินหมุนเวียน และเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจ แต่การให้องค์ความรู้กับ SME ก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นเราจะให้ความรู้ในแง่สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือดิจิทัลที่ทันสมัย ใช้สะดวก เข้าใจง่าย เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้บริหารธุรกิจของตนเอง ให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ

• ปัญหาส่วนใหญ่ของธุรกิจ SME ต้องพบเจอบ่อยมีอะไรบ้างคะ
โดยทุกๆ ปีจะมีธุรกิจ SME เกิดขึ้นกว่าหลายหมื่นราย แต่ผลสำรวจพบว่าภายในปีนั้นๆ ธุรกิจมักจะหายไปเลยเกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งทีเอ็มบี เราได้มีการทำวิจัย TMB SME Insights แล้วพบว่า SME นั้นจะติดที่ 7 หลุมพรางของที่ทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝั่งฝัน
1. เป็นเพราะไม่วางแผนการใช้เงิน พบว่า โดย 84% ของ SME ใช้เงินเก็บส่วนตัวหรือของครอบครัวมาใช้เป็นเงินตั้งต้นธุรกิจ หากธุรกิจผิดพลาด ทั้งตนเองและครอบครัวก็จะได้รับผลกระทบ เงินทั้งหมดจะหายไปกับการลงทุนทันที
2.ทำธุรกิจโดยไม่ใช้แผนธุรกิจ ซึ่งมี SME มากถึง 72% ยอมรับว่าถึงจะมีแผนธุรกิจหรือไม่มีก็ตาม ก็ไม่เคยทำตามแผน โดยการแก้ปัญหาก็คือการทำโมเดลธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้ในอินเทอร์เน็ตมีเครื่องมือเหล่านี้แล้ว สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เพื่อจะทำให้เรามองภาพรวมออกว่าจะต้องวางแผนยังไง
3.ใช้ ‘เงินส่วนตัว’ กับ ‘เงินธุรกิจ’ ปนกัน ทำให้มองไม่เห็นกำไร ไม่เห็นการขาดทุน ไม่มีการวางแผนการเงินที่ดี ดังนั้นควรจะแยกกันให้ชัดเจน
4.ไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง ทำให้บางครั้งขยายสาขาแล้วเกิดขาดทุน เพราะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนให้ครบ คิดค่าต้นทุนไม่หมดทำให้เกิดการขาดทุน โดย 37% ของ SME เคยทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการขายของขาดทุน
5.ไม่ได้ทำการตลาด ผลิตอย่างเดียว ทำให้ไม่สามารถขยายฐานลูกค้าได้ ซึ่ง SME ถึง 87% ไม่มีเวลาให้กับการตลาด ทำให้พลาดในการสร้างจุดเด่นหรือสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
6.ทำธุรกิจคนเดียว ไม่มีคนที่สามารถมาทำแทนได้เมื่อตนไม่อยู่ เพราะไม่ได้สอนงาน ไม่ได้ถ่ายทอด ไม่ได้แชร์ความรู้ของตนเองให้กับคนอื่นเลย ซึ่งมีถึง 70% ของ SME ไทย ไม่สามารถหาบุคคลที่จะมาเป็น 'ตัวตายตัวแทน' ที่ตัดสินใจแทนได้เลย ในขณะที่ 49% ยอมรับว่าพบปัญหาธุรกิจสะดุด หากตนเองไม่ได้อยู่ดูแลหรือขายสินค้าเอง ส่งผลให้ยอดขายลดลง
7.ไม่ได้เตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากข้อมูลพบว่ามี SME 38% ยังไม่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ โดยเหตุผลส่วนใหญ่เกรงว่าจะมีปัญหาในช่วงเริ่มต้นสิ่งใหม่ ไม่มีเวลาหาข้อมูล และมองว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นดีแล้ว จึงไม่สนใจที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ

• ในฐานะที่คุณชมภูนุช เข้ามาบริหารและดูแลลูกค้า SME มองว่า SME ในวันนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้สามารถเติบโตได้ ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
เศรษฐกิจปีนี้เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น และอยู่ในช่วงชะลอตัว ซึ่งเสี่ยงในการสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจเลยทีเดียว แต่ถ้าผู้ประกอบการ SME วางแผนดี เตรียมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสียหายได้ค่ะ
ดิฉันมองว่าถ้าในอนาคตธุรกิจ SME ดีขึ้น จะยิ่งช่วยส่งให้ประเทศดียิ่งขึ้นได้ ฉะนั้นอย่ามองข้ามธุรกิจเล็กๆ ต้องช่วยกันสนับสนุนค่ะ
• ฝากถึงคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ SME
SME เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและท้าทายมาก แต่ก็ต้องอาศัยความอดทน และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวช่วยที่ดีที่คอยให้คำปรึกษา เราในฐานะธนาคารยินดีให้คำปรึกษาตรงนี้ค่ะ ซึ่งทางทีเอ็มบี ก็มีผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้อย่างครบวงจร รวมไปถึง TMB SME Advisory หรือที่ปรึกษาส่วนตัวด้านธุรกิจ SME ลูกค้าสามารถโทร.นัด เพื่อเข้ามาที่สาขา เพื่อปรึกษาการทำธุรกิจ และการวางแผนเรื่องเงินทุน
ท้ายนี้อยากฝากให้นักธุรกิจวางแผนดีๆ เพราะการวางแผนที่ดีจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

7 ข้อแนะนำสำหรับ SME มือใหม่
1. ก่อนอื่นอยากให้เริ่มต้นจากธุรกิจที่ตัวเองถนัด และมีความรู้ก่อน
2. วางแผนธุรกิจคร่าวๆ ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นต้องเลือกเงินทุนและจัดสัดส่วนเงินลงทุนอย่างเหมาะสม ให้คำนึงถึงความเสี่ยงด้วย เพราะปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระ ไม่อยากทำงานออฟฟิศ คิดนอกกรอบอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเองเยอะมาก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากเหมือนกัน
3. แยกกระเป๋าธุรกิจออกให้เป็นสัดส่วนหรือทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เห็นเงินเข้าออกอย่างชัดเจน
4. คิดต้นทุนให้ครบ
5. หาเครื่องทุ่นแรงหรือคนมาช่วยธุรกิจ
6. เริ่มคัดเลือกหรือพัฒนาบุคลากร เพื่อวางรากฐานให้มั่นคง
7. หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดธุรกิจ
แล้วการเริ่มต้นธุรกิจ SME สำหรับมือใหม่ต้องทำอย่างไร? อุปสรรคปัญหาในการทำธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง? ต้องรับมืออย่างไรกับสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน?
ร่วมหาคำตอบกับ “ชมภูนุช ปฐมพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า SME TMB ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและสนับสนุนให้ SME ไทยหลุดพ้นจาก 7 หลุมพรางที่ทำให้ธุรกิจ ไปไม่ถึงฝั่งฝัน
• ถามถึงมุมมองต่อธุรกิจ SME ไทยในปัจจุบันหน่อยค่ะ
ทุกวันนี้โลกของการค้าขายมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ซึ่งเชื่อว่า พวกเราก็มองเห็นเหมือนๆ กัน แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะรับมือกันการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่ม SME น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างเมื่อก่อนเวลาเริ่มต้นกิจการ พอเราคิดแล้วว่าเราจะขายอะไร เรามักจะเริ่มจากการมองหาทำเลที่ตั้งร้านค้าก่อน แต่วันนี้สามารถขายของได้ โดยไม่ต้องมีหน้าร้านก็ได้ เช่น e-Commerce, Facebook, LINE, Amazon เป็นต้น
หรือหากจะเริ่มธุรกิจเมื่อก่อนจะต้องมีสินค้า เช่น มีโรงงานเสื้อผ้า โรงงานผลิตอาหาร แต่ปัจจุบันไม่มีก็สามารถทำธุรกิจได้ เช่น Grab เป็นเครือข่ายธุรกิจขนส่งที่ใหญ่ที่สุด โดยที่ไม่มีรถยนต์ รถแท็กซี่เป็นของตัวเองเลย
หรือเมื่อก่อนหากจะเปิดกิจการ เราจะต้องขนส่งสินค้า แต่ปัจจุบันการขนส่งสินค้าไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในกรอบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ร้านอาหารที่อยู่ลึกแค่ไหนก็มีทั้ง LINE MAN, FOOD PANDA, GRAB เข้าไปซื้ออาหารส่งให้ลูกค้าได้ ลูกค้าไม่ต้องไปต่อคิวเอง เป็นต้น
นี่จึงสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้การทำธุรกิจ SME ในทุกวันนี้ ต้องมีความรู้ว่าจะปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดและเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ซึ่ง SME ต้องตื่นตัว และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาค่ะ
• วิสัยทัศน์ของทีเอ็มบีมีการสนับสนุนธุรกิจ SME อย่างไรบ้าง
ประเทศไทยมี SME กว่า 3 ล้านราย และมีสัดส่วน SME ขนาดเล็กถึง 99% ซึ่งตรงนี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก อีกทั้งปัจจุบันก็มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนช่วย ไม่ว่าจะเป็น ตัว SME เอง ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และหน่วยงานเอกชนต่างๆ ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา SME ไทย ซึ่งทางธนาคารทีเอ็มบีก็เช่นกัน
หน้าที่หลักของธนาคารทีเอ็มบี เรายึดมั่นในแนวคิด คือ “เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตดีของคุณดีขึ้น” เรามองว่าธนาคารและ SME จะต้องเติบโตไปด้วยกัน และอยากให้อะไรกับลูกค้า SME มากกว่าแค่การให้แหล่งเงินกู้ ก็จริงอยู่ว่าสถาบันการเงินคือสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME ให้เพียงพอต่อเนื่องตั้งแต่เงินทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ เงินหมุนเวียน และเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจ แต่การให้องค์ความรู้กับ SME ก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นเราจะให้ความรู้ในแง่สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือดิจิทัลที่ทันสมัย ใช้สะดวก เข้าใจง่าย เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้บริหารธุรกิจของตนเอง ให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ
• ปัญหาส่วนใหญ่ของธุรกิจ SME ต้องพบเจอบ่อยมีอะไรบ้างคะ
โดยทุกๆ ปีจะมีธุรกิจ SME เกิดขึ้นกว่าหลายหมื่นราย แต่ผลสำรวจพบว่าภายในปีนั้นๆ ธุรกิจมักจะหายไปเลยเกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งทีเอ็มบี เราได้มีการทำวิจัย TMB SME Insights แล้วพบว่า SME นั้นจะติดที่ 7 หลุมพรางของที่ทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงฝั่งฝัน
1. เป็นเพราะไม่วางแผนการใช้เงิน พบว่า โดย 84% ของ SME ใช้เงินเก็บส่วนตัวหรือของครอบครัวมาใช้เป็นเงินตั้งต้นธุรกิจ หากธุรกิจผิดพลาด ทั้งตนเองและครอบครัวก็จะได้รับผลกระทบ เงินทั้งหมดจะหายไปกับการลงทุนทันที
2.ทำธุรกิจโดยไม่ใช้แผนธุรกิจ ซึ่งมี SME มากถึง 72% ยอมรับว่าถึงจะมีแผนธุรกิจหรือไม่มีก็ตาม ก็ไม่เคยทำตามแผน โดยการแก้ปัญหาก็คือการทำโมเดลธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้ในอินเทอร์เน็ตมีเครื่องมือเหล่านี้แล้ว สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เพื่อจะทำให้เรามองภาพรวมออกว่าจะต้องวางแผนยังไง
3.ใช้ ‘เงินส่วนตัว’ กับ ‘เงินธุรกิจ’ ปนกัน ทำให้มองไม่เห็นกำไร ไม่เห็นการขาดทุน ไม่มีการวางแผนการเงินที่ดี ดังนั้นควรจะแยกกันให้ชัดเจน
4.ไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง ทำให้บางครั้งขยายสาขาแล้วเกิดขาดทุน เพราะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนให้ครบ คิดค่าต้นทุนไม่หมดทำให้เกิดการขาดทุน โดย 37% ของ SME เคยทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการขายของขาดทุน
5.ไม่ได้ทำการตลาด ผลิตอย่างเดียว ทำให้ไม่สามารถขยายฐานลูกค้าได้ ซึ่ง SME ถึง 87% ไม่มีเวลาให้กับการตลาด ทำให้พลาดในการสร้างจุดเด่นหรือสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
6.ทำธุรกิจคนเดียว ไม่มีคนที่สามารถมาทำแทนได้เมื่อตนไม่อยู่ เพราะไม่ได้สอนงาน ไม่ได้ถ่ายทอด ไม่ได้แชร์ความรู้ของตนเองให้กับคนอื่นเลย ซึ่งมีถึง 70% ของ SME ไทย ไม่สามารถหาบุคคลที่จะมาเป็น 'ตัวตายตัวแทน' ที่ตัดสินใจแทนได้เลย ในขณะที่ 49% ยอมรับว่าพบปัญหาธุรกิจสะดุด หากตนเองไม่ได้อยู่ดูแลหรือขายสินค้าเอง ส่งผลให้ยอดขายลดลง
7.ไม่ได้เตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากข้อมูลพบว่ามี SME 38% ยังไม่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ โดยเหตุผลส่วนใหญ่เกรงว่าจะมีปัญหาในช่วงเริ่มต้นสิ่งใหม่ ไม่มีเวลาหาข้อมูล และมองว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นดีแล้ว จึงไม่สนใจที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ
• ในฐานะที่คุณชมภูนุช เข้ามาบริหารและดูแลลูกค้า SME มองว่า SME ในวันนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้สามารถเติบโตได้ ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
เศรษฐกิจปีนี้เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น และอยู่ในช่วงชะลอตัว ซึ่งเสี่ยงในการสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจเลยทีเดียว แต่ถ้าผู้ประกอบการ SME วางแผนดี เตรียมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสียหายได้ค่ะ
ดิฉันมองว่าถ้าในอนาคตธุรกิจ SME ดีขึ้น จะยิ่งช่วยส่งให้ประเทศดียิ่งขึ้นได้ ฉะนั้นอย่ามองข้ามธุรกิจเล็กๆ ต้องช่วยกันสนับสนุนค่ะ
• ฝากถึงคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ SME
SME เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและท้าทายมาก แต่ก็ต้องอาศัยความอดทน และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวช่วยที่ดีที่คอยให้คำปรึกษา เราในฐานะธนาคารยินดีให้คำปรึกษาตรงนี้ค่ะ ซึ่งทางทีเอ็มบี ก็มีผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้อย่างครบวงจร รวมไปถึง TMB SME Advisory หรือที่ปรึกษาส่วนตัวด้านธุรกิจ SME ลูกค้าสามารถโทร.นัด เพื่อเข้ามาที่สาขา เพื่อปรึกษาการทำธุรกิจ และการวางแผนเรื่องเงินทุน
ท้ายนี้อยากฝากให้นักธุรกิจวางแผนดีๆ เพราะการวางแผนที่ดีจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
7 ข้อแนะนำสำหรับ SME มือใหม่
1. ก่อนอื่นอยากให้เริ่มต้นจากธุรกิจที่ตัวเองถนัด และมีความรู้ก่อน
2. วางแผนธุรกิจคร่าวๆ ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นต้องเลือกเงินทุนและจัดสัดส่วนเงินลงทุนอย่างเหมาะสม ให้คำนึงถึงความเสี่ยงด้วย เพราะปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระ ไม่อยากทำงานออฟฟิศ คิดนอกกรอบอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเองเยอะมาก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากเหมือนกัน
3. แยกกระเป๋าธุรกิจออกให้เป็นสัดส่วนหรือทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เห็นเงินเข้าออกอย่างชัดเจน
4. คิดต้นทุนให้ครบ
5. หาเครื่องทุ่นแรงหรือคนมาช่วยธุรกิจ
6. เริ่มคัดเลือกหรือพัฒนาบุคลากร เพื่อวางรากฐานให้มั่นคง
7. หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดธุรกิจ