1.ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ยุบพรรค ทษช.-ตัดสิทธิ กก.บห.10 ปี ส่งผลผู้สมัคร ส.ส. 282 คนโมฆะ!
เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กรณีเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค เนื่องจากเข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยรัฐธรรมนูญในราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิด หรือโดยแต่งตั้งก็ตาม อยู่เหนือการเมือง อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ระบุในพระราชหัตถเลขาว่า "พระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความที่จะถูกติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นการงานที่จะนำมา ทั้งในทางพระเดชและพระคุณ ย่อมอยู่ในวงอันจะถูกติเตียน อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่น ในเมื่อเวลาทำการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยอันสมัครสมานอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างเจ้านายกับราษฎร ควรถือเสียว่า พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย..."
"ดังนั้น การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติ ในการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในนามของพรรคการเมืองคู่แข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในกระบวนการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นได้ว่า จะส่งผลให้ระบอบการเมือง การปกครองของประเทศไทยแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพการณ์อันเดียวกับระบอบการเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐและมีพระบรมวงศานุวงศ์ทำหน้าที่ใช้อำนาจทางการเมืองในการปกครองประเทศ สภาพการณ์เช่นนี้ ย่อมมีผลให้หลักการพื้นฐานของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงราชย์ แต่มิได้ทรงปกครองต้องถูกเซาะกร่อน ทำลาย บ่อนทำลายให้เสื่อมทรามไปโดยปริยาย"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุด้วยว่า แม้พรรคไทยรักษาชาติจะมีสิทธิและเสรีภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย บัญญัติไว้โดยสมบูรณ์ แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพในการกระทำการใดๆ ของพรรคการเมือง ย่อมต้องอยู่บนความตระหนักว่า การกระทำนั้นจะไม่เป็นการอาศัยสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญ ให้มีผลกระทบย้อนกลับมาทำลายหลักการพื้นฐาน บรรทัดฐาน คุณค่า และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง "เพราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนิติราชประเพณีของไทยนั้น ทรงอยู่เหนือการเมือง จึงต้องทรงเป็นกลางทางการเมือง ทั้งยังทรงต้องระมัดระวังมิให้สถาบันกษัตริย์ของไทย ต้องถูกนำไปเป็นคู่แข่ง หรือฝักใฝ่ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดอย่างเคร่งครัด เพราะหากถูกทำด้วยวิธีการใดๆ ให้เกิดผลเป็นไปเช่นนั้น สภาวะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยย่อมสูญเสียไป เมื่อเสียความเป็นกลางทางการเมือง ก็ย่อมไม่สามารถดำรงพระองค์และปกป้องสถาบันให้ทรงอยู่เหนือการเมืองได้ ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะไม่ทรงอยู่ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของประชาชนชาวไทยอีกต่อไป นั่นย่อมทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย จะต้องเสื่อมโทรมลง หรือต้องสูญสิ้นไป ซึ่งหาควรปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้นไม่"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุต่อไปว่า ถ้าพรรคการเมืองใดมีการกระทำที่เป็นการล้มล้างหรือเพียงอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคการเมืองนั้น รวมทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น ย่อมจะต้องถูกลงโทษทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จะอ้างความไม่รู้ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความเห็น ความเชื่อของตน มาเป็นข้อแก้ตัวให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นไม่ได้ "แม้กฎหมายจะมิได้บัญญัตินิยามศัพท์คำว่า ล้มล้าง และปฏิปักษ์ไว้ แต่ทั้ง 2 คำนั้นก็เป็นคำในภาษาไทยธรรมดาที่มีความหมายตามที่ใช้และรู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งศาลย่อมรู้ด้วยเองว่า ล้มล้าง หมายถึงการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสิ้นสลายหมดไป ไม่ให้ธำรงอยู่ หรือมีอยู่ต่อไปอีก ส่วนคำว่าปฏิปักษ์นั้น ไม่จำเป็นต้องรุนแรงถึงขนาดมีเจตนาจะล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำเป็นต้องถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรูหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแค่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือสกัดกั้นมิให้เจริญก้าวหน้า หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผล เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักษณะของการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว"
สำหรับประเด็นเรื่องเจตนานั้น ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า เมื่อมาตรา 92 วรรค 1(2) บัญญัติชัดเจนว่า เพียงแค่อาจเป็นปฏิปักษ์ก็ต้องห้ามแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือต้องรอให้ผลเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นจริงก่อน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน "เพื่อดับไฟใหญ่ไว้แต่ต้นลม มิให้ไฟกองเล็กกระพือโหมไหม้ลุกลามขยายไป จนเป็นมหันตภัยที่ไม่อาจต้านทานได้ในวาระต่อไป"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุอีกว่า คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติย่อมทราบดีว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งยังเป็นพระเชษฐาภคินี ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว แต่ยังดำรงในฐานะที่เป็นสมาชิกแห่งพระบรมจักรีวงศ์ "การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติเป็นการนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์เป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง ทั้งยังเป็นการกระทำที่วิญญูชนและคนไทยทั่วไปย่อมรู้สึกได้ว่า สามารถทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติต้องถูกนำมาใช้ เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแยบยล ให้ปรากฏผลเหมือนเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง และมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และดำรงความเป็นกลางในการเมือง อันเป็นจุดประสงค์เริ่มต้นของการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง เข้าลักษณะของการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 วรรค 1 (2) อย่างชัดแจ้งแล้ว"
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ และมีมติ 6 ต่อ 3 ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค โดยการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาถึงความพอเหมาะพอควรระหว่างพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำแล้ว รวมทั้งพิจารณาความสำนึกรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคที่ได้น้อมรับพระบรมราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมทันทีหลังจากได้รับทราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยังมีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ นอกจากนี้ศาลฯ ยังมีมติเอกฉันท์ห้ามกรรมการบริหารพรรคการไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองอีกภายใน 10 ปี นับแต่วันที่พรรคถูกยุบ
ทั้งนี้ ผลจากการถูกยุบพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรค ทษช.13 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี ประกอบด้วย 1.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช 2.น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร 3.นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล 4.นายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ รรค 5.นายฤภพ ชินวัตร 6.นายมิตติ ติยะไพรัช 7.นายคณาพจน์ โจมฤทธิ์ 8.นายต้น ณ ระนอง 9.นายวิม รุ่งวัฒนจินดา 10.น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ 11.นายพงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ 12.นางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ 13.นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ส่วน รศ.ดร.รุ่งเรือง พิทยศิริ ได้แจ้ง กกต.และยื่นหลักฐานต่อศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้แล้วว่า ตนได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรค ทษช.ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 62 ไม่ทราบเรื่องที่พรรคจะเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในวันที่ 8 ก.พ.แต่อย่างใด
นอกจากนี้เมื่อพรรค ทษช.ถูกยุบ ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคจำนวน 282 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส.เขต 174 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 108 คน เป็นโมฆะ หากในวันเลือกตั้ง มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครของพรรค ทษช.จะทำให้บัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรเสียทันที
ด้าน ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค ทษช. ให้สัมภาษณ์หลังฟังคำวินิจฉัยด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอว่า ตนและคณะกรรมการบริหารพรรคเสียใจอย่างสุดซึ้ง พร้อมยืนยัน “เราทุกคนปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ไม่มีใครคิดร้าย”
2.“ธนาธร” ส่งสัญญาณให้ “ทักษิณ” ได้กลับบ้าน-คืนความยุติธรรมให้ทักษิณ ด้านเพจ “SaveThanathorn”ประกาศเลิกสนับสนุน!
ความเคลื่อนไหวการเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ต่อมา 8 มี.ค. เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Truth ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ของนายธนาธร โดยตอนหนึ่ง นายธนาธรได้เสนอให้คืนความยุติธรรมให้นายทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดา และหมายจับคดีทุจริตอีกหลายคดี “มันชัดเจนว่าคดีอาญาที่ฟ้องคุณทักษิณทำขึ้นในรัฐบาลทหาร เราจึงขอเสนอว่า เราต้องคืนความยุติธรรมให้เขา เอาทักษิณกลับมา นำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เขาต้องรับผลที่เกิดขึ้น ผมคิดว่าเป็นทางออกเดียว ผู้นำของทั้งสองฝั่งต้องรับผิดชอบ”
เมื่อถามว่า คุณจะทำอะไร หาทางที่จะถอนคดีความ แล้วฟ้องคดีด้วยข้อหาที่โทษน้อยลงเพื่อต้อนรับเขาหรือ? นายธนาธร ตอบว่า “ไม่ รื้อคดีต่างๆ พิจารณาคดีต่างๆ ใหม่ และผู้พิพากษาต้องเป็นกลาง ไม่เหมือนที่ผ่านมาที่เราเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกำจัดคุณทักษิณ เขามีสิทธิที่จะต่อสู้คดีภายใต้กระบวนการและศาลที่เป็นธรรม ผมเชื่ออย่างนั้น”
หลังนายธนาธรส่งสัญญาณให้ทักษิณได้กลับบ้านและคืนความยุติธรรมให้ทักษิณ ปรากฏว่า เฟซบุ๊กเพจ “SaveThanathorn” ผู้สนับสนุน นายธนาธร และพรรคอนาคตใหม่ ได้ประกาศยุติการสนับสนุนพรรค อนค.ทุกช่องทาง เพราะพรรคนี้กำลังถอยหลังสู่การเมืองน้ำเน่า” ระบุว่า “...คุณธนาธรยังพยายามพาพรรคอนาคตใหม่ให้ไปอยู่ในวงจรแห่งความขัดแย้ง ไม่ต่างอะไรกับการเมืองน้ำเน่าในอดีต ทั้งการพาทักษิณ (นายทักษิณ ชินวัตร) กลับบ้าน การดูด ส.ส.ไทยรักษาชาติ เข้ามาร่วมพรรค การออกแถลงการณ์หมิ่นศาลเพื่อหวังคะแนนเสียงจากกลุ่มที่เคยสนับสนุนไทยรักษาชาติ และการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยต่างๆ ภายในพรรค ดังนั้น ทีมแอดมินขอประกาศยุติการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการ"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) พรรคอนาคตใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ทำนองว่า มีการใช้กฎหมายกวาดล้างทางการเมือง "ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นด้วย ...ขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม..."
"พรรคอนาคตใหม่เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ ให้ได้ดุลยภาพ สร้างระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากลและสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้ โดยต้องไม่ตกเป็น “เครื่องมือ” ในการกวาดล้างทางการเมือง..."
3.ศาลยกฟ้อง 21 พันธมิตรฯ ปิดล้อมรัฐสภา 7 ต.ค.51 ชี้ชุมนุมโดยสงบ เหตุไม่สงบเกิดจาก จนท.ยิงแก๊สน้ำตา!
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 70 ปีเศษ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กับพวกรวม 21 คน ซึ่งเป็นอดีตแกนนำและแนวร่วม พธม. เป็นจำเลยที่ 1-21 กรณีกลุ่ม พธม. เคลื่อนการชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาล ไปปิดล้อมรอบอาคารรัฐภา ช่วงวันที่ 7 ต.ค. 2551 ไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ประชุมแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใดอันมิใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกมั่วสุมฯ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216, 309, 310
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การชุมนุมของ พธม. มีแกนนำ พวกจำเลย และวิทยากรต่างๆ ขึ้นปราศรัยให้ความรู้ประชาชน ให้ตระหนักถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตรวจสอบนักการเมือง เมื่อประชาชนรับฟังคำปราศรัยแล้วเห็นด้วยว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องโดยช่วยเหลือนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จากคดีทุจริต, ช่วยเหลือคดียุบพรรคพลังประชาชนที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และกรณีนายสมัคร กับนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ได้เซ็นยินยอมให้ประเทศกัมพูชานำพื้นที่เขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการจ้างวานจูงใจผู้ชุมนุม ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ต่อมาเมื่อนายสมัครพ้นจากตำแหน่ง นายสมชายขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ผู้ชุมนุมเห็นว่านายสมชายเป็นตัวแทนหุ่นเชิดของนายทักษิณ จึงชุมนุมคัดค้านต่อ โจทก์มีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ติดตามการชุมนุม ทั้งดูแลการชุมนุมและแฝงตัวหาข่าวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ต่างเบิกความสอดคล้องกัน ถึงการชุมนุมที่เป็นไปตามปกติ ไม่มีเหตุความรุนแรง มีการ์ดรักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบห้ามนำอาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าพื้นที่ชุมนุม ในวันเกิดเหตุไม่มีผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสภา สอดคล้องกับพยานผู้ชุมนุมที่ยืนยันว่าได้ชุมนุมโดยสงบ และได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา ทั้งนี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำ พธม. ได้ประกาศอยู่ตลอดว่า ห้ามนำอาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าพื้นที่ชุมนุม จึงรับฟังได้ว่าพวกจำเลยชุมนุมโดยสงบ
ศาลยังเห็นว่า การปราศรัยของพวกจำเลยที่กล่าวหานายสมชาย ซึ่งเป็นน้องเขยของนายทักษิณ เป็นตัวแทนนายทักษิณนั้น ก็ไม่เลื่อนลอยปราศจากเหตุผล เนื่องจากมีคดีที่เกี่ยวข้องกับนายทักษิณในเรื่องการทุจริต มีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหลายกรณี การหยิบยกมาปราศรัยและชุมนุมเชิงสัญลักษณ์นับว่าสมเหตุสมผล ชุมนุมโดยสงบปราศจากรุนแรง
เหตุที่ผู้ชุมนุมจำเป็นต้องปักหลักชุมนุมรอบรัฐสภา เนื่องจากสภาเป็นที่ประชุมตามระบอบประชาธิปไตย แม้การชุมนุมจะกีดขวางการจราจรบ้าง เพราะมีผู้ชุมนุมมาก ก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ปรากฏเหตุวุ่นวายที่มาจากผู้ชุมนุม เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่บุกรุกยั่วยุ เหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาจากการสลายการชุมนุม ยิงแก๊สน้ำตาโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้ผู้ชุมนุมไม่ทันหลบหลีกป้องกันตัว ได้รับบาดเจ็บหลายราย เมื่อผู้ชุมนุมรู้สึกโกรธแค้นจึงเกิดความไม่สงบ ใช้สิ่งของขว้างปา เมื่อเห็นตำรวจละเมิดสิทธิก่อน ย่อมเกิดความวุ่นวาย ยากที่แกนนำจะคาดหมายสถานการณ์ ไม่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมทำไป เพราะพวกจำเลยยุยงปลุกปั่น เป็นความวุ่นวายที่เกิดจากคนส่วนน้อย ผู้ชุมนุมทำไปเฉพาะตัว จะถือว่าจำเลยทั้งหมดกับผู้ชุมนุมอื่นชุมนุมไม่สงบไม่ได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 116, 215, 216
ส่วนประเด็นว่าจำเลยทั้งหมดกระทำผิดฐานข่มขืนใจ และหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือไม่ ศาลเห็นว่า โจทก์มีอดีต ส.ว. ผู้เสียหายปากเดียวเป็นพยานเบิกความว่าต้องการเข้าไปประชุมรัฐสภา แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ พบผู้ชุมนุมเดินเข้ามาผลักอก พร้อมถามว่ามาทำไม ทำให้พยานเดินทางกลับ ศาลเห็นว่า ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดอยู่บริเวณดังกล่าว จึงไม่รู้เห็น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ชุมนุมที่ไม่ระงับอารมณ์จากสถานการณ์บีบคั้น
ส่วนที่อดีต ส.ส. ผู้เสียหายรวม 7 คน เบิกความว่า ในช่วงบ่ายไม่สามารถเดินทางออกจากสภาได้ เพราะผู้ชุมนุมปิดล้อมทางเข้าออก นำโซ่ล็อกประตู มีรถบรรทุกจอดขวาง มีผู้ชุมนุมตะโกนว่าฆ่ามันนั้น ศาลเห็นว่า การสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักสากล ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บหลายร้อยรายเป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ ขณะนั้นแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ภายหลังศาลปกครองสูงสุดยังได้พิพากษาให้สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายต่อผู้ชุมนุมด้วย การสลายการชุมนุมดังกล่าวทำให้ผู้ชุมนุมโกรธแค้น เกิดความวุ่นวายเป็นเรื่องธรรมดา ยากที่แกนนำจะควบคุมได้ทุกคน และขณะที่ด้านนอกสภามีการสลายการชุมนุม แต่ ส.ส. และ ส.ว. ประชุมกันตามปกติ ไม่ใยดีความเสียหายของคนไทยด้วยกัน ทำให้ผู้ชุมนุมระบายความรู้สึกด่าทอผู้เสียหายเมื่อประชุมเสร็จ จากข้อเท็จจริงเป็นไปได้ว่า ผู้ชุมนุมมีความคับแค้นจากสถานการณ์พาไป เกิดขึ้นทันด่วน ยากที่แกนนำจะควบคุม ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งหมดมีส่วนยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง มีเพียงการกระทำเฉพาะตัวเฉพาะรายของผู้ชุมนุมเอง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง พิพากษายกฟ้อง
4.ศาลพิพากษาจำคุก “ดิสธร วัชโรทัย” 2 ปี 6 เดือน ปฏิบัติหน้าที่ทุจริต-ฉ้อโกง!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. สำนักข่าวอิศรารายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บชก.) ว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2561 ศาลอาญได้มีคำพิพากษาจำคุกนายดิสธร วัชโรทัย อดีตข้าราชการประจำสำนักพระราชวัง เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ในความผิดข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกันแจ้งข้อความเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และร่วมกันฉ้อโกงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เบื้องต้น ศาลมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักสุด ให้จำคุก 5 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ อัยการมีความเห็นไม่อุทธรณ์คำพิพากษา
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2560 สำนักพระราชวังได้มีคำสั่งลงโทษไล่ นายดิสธร วัชโรทัย ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หลังพบว่ากระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหลายกรณี อาทิ ใช้อำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ แสดงเอกสารรับรองว่าบุคคลภายนอกได้บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เป็นจำนวนเงิน 25 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าตามปกติ ไม่ได้มีการบริจาคเงินดังกล่าวแต่อย่างใด และนายดิสธรยังได้นำเอกสารรับรองการบริจาคดังกล่าวเสนอต่อกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลภายนอก อันเป็นการฉ้อโกงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และนายดิสธร ในฐานะรองเลขาธิการพระราชวัง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลกองพระราชพาหนะ ได้นำรถยนต์ในพระปรมาภิไธยไปใช้จนเกิดอุบัติเหตุ และแอบอ้างพระปรมาภิไธยเพื่อยกเว้นภาษีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ แล้วนำรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศไปใช้ทดแทนรถยนต์คันเดิมที่ประสบอุบัติเหตุ โดยไม่ปรากฏหลักฐานการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถยนต์คันใหม่ และไม่มีหลักฐานการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันเดิมแต่อย่างใด เป็นต้น
5.ศาลพิพากษาจำคุก “ครูจอมทรัพย์” 8 ปี สร้างพยานหลักฐานเท็จรื้อคดีขับรถชนคนตาย!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ศาลจังหวัดนครพนมได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่นางจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร หรือครูจอมทรัพย์ วัย 57 ปี อดีตข้าราชการครูโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร ที่ก่อนหน้านี้เคยถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน คดีขับรถชนคนตาย เมื่อพ้นโทษออกมา ได้ร้องขอความเป็นธรรมให้มีการรื้อฟื้นคดีใหม่ แต่ภายหลัง ศาลยกคำร้อง เนื่องจากพยานหลักฐานต่างๆ ไม่น่าเชื่อถือ ทางตำรวจจึงแจ้งความกลับนางจอมทรัพย์และพวกรวม 8 คน ใน 4 ข้อหา คือ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน, ร่วมกันแจ้งเจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ, ร่วมกันเบิกความเท็จ และซ่องโจร เนื่องจากมีการนำพยานหลักฐานเท็จเบิกความต่อศาลในการพิจารณารื้อฟื้นคดีใหม่
ทั้งนี้ ศาลพิจารณาอ่านคำพิพากษากว่า 300 หน้า โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง โดยพิพากษาจำคุกนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 ปี, นายสุริยา นวนเจริญ หรือครูอ๋อง เพื่อนนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 2 หัวหน้าทีมจ้างพยานเท็จ จำคุก 7 ปี 9 เดือน, นางทัศนีย์ หาญพยัคฆ์ จำเลยที่ 3 จำคุก 2 ปี 19 เดือน,นางทองเรศ วงศ์ศรีชา จำเลยที่ 4 จำคุก 2 ปี 12 เดือน โดยนางทัศนีย์และนางทองเรศ เป็นพยานที่เคยยืนยันว่านางจอมทรัพย์ไม่ได้ขับรถชนคนตาย, นายนิรันดร์ แสนเมืองโคตร อดีตสามีนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 5 จำคุก 2 เดือน และยกฟ้องจำเลยที่ 6-8 คือ นายเสน่ห์ สุพรรณ, นางรจนา จันทรัตน์ เพื่อนนางจอมทรัพย์ และ น.ส.วาสนา เพ็ชรทอง หลานสาวนางจอมทรัพย์ สำหรับคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการลงโทษข้อหาแจ้งความเท็จ ส่วนข้อหาซ่องโจร ศาลยกฟ้อง
หลังศาลอ่านคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นขอประกันตัว ซึ่งศาลอนุญาต โดยตีราคาประกันคนละ 8 แสนบาท แต่นางจอมทรัพย์ และนายสุริยา หลักทรัพย์ไม่พอยื่นประกัน จึงถูกคุมตัวในเรือนจำกลางนครพนม ขณะที่นางทองเรศ และนายนิรันดร์ อดีตสามีนางจอมทรัพย์ ศาลอนุญาตให้ใช้ตำแหน่งประกันตัว
วันต่อมา 7 มี.ค.นายสุริยาได้รับการปล่อยตัว หลังนำเงินสดวางประกันต่อศาล 8 แสนบาท ขณะที่นางจอมทรัพย์ เงินวางประกันยังไม่พอ ขาดดีก 6 แสนบาท จึงต้องถูกคุมตัวในเรือนจำฯ ต่อไป
เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กรณีเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค เนื่องจากเข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยรัฐธรรมนูญในราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิด หรือโดยแต่งตั้งก็ตาม อยู่เหนือการเมือง อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ระบุในพระราชหัตถเลขาว่า "พระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความที่จะถูกติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นการงานที่จะนำมา ทั้งในทางพระเดชและพระคุณ ย่อมอยู่ในวงอันจะถูกติเตียน อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่น ในเมื่อเวลาทำการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยอันสมัครสมานอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างเจ้านายกับราษฎร ควรถือเสียว่า พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย..."
"ดังนั้น การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติ ในการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในนามของพรรคการเมืองคู่แข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในกระบวนการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นได้ว่า จะส่งผลให้ระบอบการเมือง การปกครองของประเทศไทยแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพการณ์อันเดียวกับระบอบการเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐและมีพระบรมวงศานุวงศ์ทำหน้าที่ใช้อำนาจทางการเมืองในการปกครองประเทศ สภาพการณ์เช่นนี้ ย่อมมีผลให้หลักการพื้นฐานของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงราชย์ แต่มิได้ทรงปกครองต้องถูกเซาะกร่อน ทำลาย บ่อนทำลายให้เสื่อมทรามไปโดยปริยาย"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุด้วยว่า แม้พรรคไทยรักษาชาติจะมีสิทธิและเสรีภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย บัญญัติไว้โดยสมบูรณ์ แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพในการกระทำการใดๆ ของพรรคการเมือง ย่อมต้องอยู่บนความตระหนักว่า การกระทำนั้นจะไม่เป็นการอาศัยสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญ ให้มีผลกระทบย้อนกลับมาทำลายหลักการพื้นฐาน บรรทัดฐาน คุณค่า และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง "เพราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนิติราชประเพณีของไทยนั้น ทรงอยู่เหนือการเมือง จึงต้องทรงเป็นกลางทางการเมือง ทั้งยังทรงต้องระมัดระวังมิให้สถาบันกษัตริย์ของไทย ต้องถูกนำไปเป็นคู่แข่ง หรือฝักใฝ่ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดอย่างเคร่งครัด เพราะหากถูกทำด้วยวิธีการใดๆ ให้เกิดผลเป็นไปเช่นนั้น สภาวะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยย่อมสูญเสียไป เมื่อเสียความเป็นกลางทางการเมือง ก็ย่อมไม่สามารถดำรงพระองค์และปกป้องสถาบันให้ทรงอยู่เหนือการเมืองได้ ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะไม่ทรงอยู่ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของประชาชนชาวไทยอีกต่อไป นั่นย่อมทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย จะต้องเสื่อมโทรมลง หรือต้องสูญสิ้นไป ซึ่งหาควรปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้นไม่"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุต่อไปว่า ถ้าพรรคการเมืองใดมีการกระทำที่เป็นการล้มล้างหรือเพียงอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคการเมืองนั้น รวมทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น ย่อมจะต้องถูกลงโทษทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 จะอ้างความไม่รู้ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความเห็น ความเชื่อของตน มาเป็นข้อแก้ตัวให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นไม่ได้ "แม้กฎหมายจะมิได้บัญญัตินิยามศัพท์คำว่า ล้มล้าง และปฏิปักษ์ไว้ แต่ทั้ง 2 คำนั้นก็เป็นคำในภาษาไทยธรรมดาที่มีความหมายตามที่ใช้และรู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งศาลย่อมรู้ด้วยเองว่า ล้มล้าง หมายถึงการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสิ้นสลายหมดไป ไม่ให้ธำรงอยู่ หรือมีอยู่ต่อไปอีก ส่วนคำว่าปฏิปักษ์นั้น ไม่จำเป็นต้องรุนแรงถึงขนาดมีเจตนาจะล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำเป็นต้องถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรูหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแค่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือสกัดกั้นมิให้เจริญก้าวหน้า หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผล เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักษณะของการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว"
สำหรับประเด็นเรื่องเจตนานั้น ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า เมื่อมาตรา 92 วรรค 1(2) บัญญัติชัดเจนว่า เพียงแค่อาจเป็นปฏิปักษ์ก็ต้องห้ามแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือต้องรอให้ผลเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นจริงก่อน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน "เพื่อดับไฟใหญ่ไว้แต่ต้นลม มิให้ไฟกองเล็กกระพือโหมไหม้ลุกลามขยายไป จนเป็นมหันตภัยที่ไม่อาจต้านทานได้ในวาระต่อไป"
ศาลรัฐธรรมนูญระบุอีกว่า คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติย่อมทราบดีว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งยังเป็นพระเชษฐาภคินี ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว แต่ยังดำรงในฐานะที่เป็นสมาชิกแห่งพระบรมจักรีวงศ์ "การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติเป็นการนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์เป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง ทั้งยังเป็นการกระทำที่วิญญูชนและคนไทยทั่วไปย่อมรู้สึกได้ว่า สามารถทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติต้องถูกนำมาใช้ เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแยบยล ให้ปรากฏผลเหมือนเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง และมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และดำรงความเป็นกลางในการเมือง อันเป็นจุดประสงค์เริ่มต้นของการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง เข้าลักษณะของการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 วรรค 1 (2) อย่างชัดแจ้งแล้ว"
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ และมีมติ 6 ต่อ 3 ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค โดยการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาถึงความพอเหมาะพอควรระหว่างพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำแล้ว รวมทั้งพิจารณาความสำนึกรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคที่ได้น้อมรับพระบรมราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมทันทีหลังจากได้รับทราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยังมีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ นอกจากนี้ศาลฯ ยังมีมติเอกฉันท์ห้ามกรรมการบริหารพรรคการไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองอีกภายใน 10 ปี นับแต่วันที่พรรคถูกยุบ
ทั้งนี้ ผลจากการถูกยุบพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรค ทษช.13 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี ประกอบด้วย 1.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช 2.น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร 3.นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล 4.นายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ รรค 5.นายฤภพ ชินวัตร 6.นายมิตติ ติยะไพรัช 7.นายคณาพจน์ โจมฤทธิ์ 8.นายต้น ณ ระนอง 9.นายวิม รุ่งวัฒนจินดา 10.น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ 11.นายพงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ 12.นางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ 13.นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ส่วน รศ.ดร.รุ่งเรือง พิทยศิริ ได้แจ้ง กกต.และยื่นหลักฐานต่อศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้แล้วว่า ตนได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรค ทษช.ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 62 ไม่ทราบเรื่องที่พรรคจะเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในวันที่ 8 ก.พ.แต่อย่างใด
นอกจากนี้เมื่อพรรค ทษช.ถูกยุบ ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคจำนวน 282 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส.เขต 174 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 108 คน เป็นโมฆะ หากในวันเลือกตั้ง มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครของพรรค ทษช.จะทำให้บัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรเสียทันที
ด้าน ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค ทษช. ให้สัมภาษณ์หลังฟังคำวินิจฉัยด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอว่า ตนและคณะกรรมการบริหารพรรคเสียใจอย่างสุดซึ้ง พร้อมยืนยัน “เราทุกคนปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ไม่มีใครคิดร้าย”
2.“ธนาธร” ส่งสัญญาณให้ “ทักษิณ” ได้กลับบ้าน-คืนความยุติธรรมให้ทักษิณ ด้านเพจ “SaveThanathorn”ประกาศเลิกสนับสนุน!
ความเคลื่อนไหวการเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ต่อมา 8 มี.ค. เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Truth ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ของนายธนาธร โดยตอนหนึ่ง นายธนาธรได้เสนอให้คืนความยุติธรรมให้นายทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดา และหมายจับคดีทุจริตอีกหลายคดี “มันชัดเจนว่าคดีอาญาที่ฟ้องคุณทักษิณทำขึ้นในรัฐบาลทหาร เราจึงขอเสนอว่า เราต้องคืนความยุติธรรมให้เขา เอาทักษิณกลับมา นำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เขาต้องรับผลที่เกิดขึ้น ผมคิดว่าเป็นทางออกเดียว ผู้นำของทั้งสองฝั่งต้องรับผิดชอบ”
เมื่อถามว่า คุณจะทำอะไร หาทางที่จะถอนคดีความ แล้วฟ้องคดีด้วยข้อหาที่โทษน้อยลงเพื่อต้อนรับเขาหรือ? นายธนาธร ตอบว่า “ไม่ รื้อคดีต่างๆ พิจารณาคดีต่างๆ ใหม่ และผู้พิพากษาต้องเป็นกลาง ไม่เหมือนที่ผ่านมาที่เราเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกำจัดคุณทักษิณ เขามีสิทธิที่จะต่อสู้คดีภายใต้กระบวนการและศาลที่เป็นธรรม ผมเชื่ออย่างนั้น”
หลังนายธนาธรส่งสัญญาณให้ทักษิณได้กลับบ้านและคืนความยุติธรรมให้ทักษิณ ปรากฏว่า เฟซบุ๊กเพจ “SaveThanathorn” ผู้สนับสนุน นายธนาธร และพรรคอนาคตใหม่ ได้ประกาศยุติการสนับสนุนพรรค อนค.ทุกช่องทาง เพราะพรรคนี้กำลังถอยหลังสู่การเมืองน้ำเน่า” ระบุว่า “...คุณธนาธรยังพยายามพาพรรคอนาคตใหม่ให้ไปอยู่ในวงจรแห่งความขัดแย้ง ไม่ต่างอะไรกับการเมืองน้ำเน่าในอดีต ทั้งการพาทักษิณ (นายทักษิณ ชินวัตร) กลับบ้าน การดูด ส.ส.ไทยรักษาชาติ เข้ามาร่วมพรรค การออกแถลงการณ์หมิ่นศาลเพื่อหวังคะแนนเสียงจากกลุ่มที่เคยสนับสนุนไทยรักษาชาติ และการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยต่างๆ ภายในพรรค ดังนั้น ทีมแอดมินขอประกาศยุติการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการ"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) พรรคอนาคตใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ทำนองว่า มีการใช้กฎหมายกวาดล้างทางการเมือง "ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นด้วย ...ขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม..."
"พรรคอนาคตใหม่เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ ให้ได้ดุลยภาพ สร้างระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากลและสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้ โดยต้องไม่ตกเป็น “เครื่องมือ” ในการกวาดล้างทางการเมือง..."
3.ศาลยกฟ้อง 21 พันธมิตรฯ ปิดล้อมรัฐสภา 7 ต.ค.51 ชี้ชุมนุมโดยสงบ เหตุไม่สงบเกิดจาก จนท.ยิงแก๊สน้ำตา!
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 70 ปีเศษ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กับพวกรวม 21 คน ซึ่งเป็นอดีตแกนนำและแนวร่วม พธม. เป็นจำเลยที่ 1-21 กรณีกลุ่ม พธม. เคลื่อนการชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาล ไปปิดล้อมรอบอาคารรัฐภา ช่วงวันที่ 7 ต.ค. 2551 ไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ประชุมแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใดอันมิใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกมั่วสุมฯ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216, 309, 310
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การชุมนุมของ พธม. มีแกนนำ พวกจำเลย และวิทยากรต่างๆ ขึ้นปราศรัยให้ความรู้ประชาชน ให้ตระหนักถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตรวจสอบนักการเมือง เมื่อประชาชนรับฟังคำปราศรัยแล้วเห็นด้วยว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องโดยช่วยเหลือนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จากคดีทุจริต, ช่วยเหลือคดียุบพรรคพลังประชาชนที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และกรณีนายสมัคร กับนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ได้เซ็นยินยอมให้ประเทศกัมพูชานำพื้นที่เขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการจ้างวานจูงใจผู้ชุมนุม ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ต่อมาเมื่อนายสมัครพ้นจากตำแหน่ง นายสมชายขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ผู้ชุมนุมเห็นว่านายสมชายเป็นตัวแทนหุ่นเชิดของนายทักษิณ จึงชุมนุมคัดค้านต่อ โจทก์มีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ติดตามการชุมนุม ทั้งดูแลการชุมนุมและแฝงตัวหาข่าวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ต่างเบิกความสอดคล้องกัน ถึงการชุมนุมที่เป็นไปตามปกติ ไม่มีเหตุความรุนแรง มีการ์ดรักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบห้ามนำอาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าพื้นที่ชุมนุม ในวันเกิดเหตุไม่มีผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสภา สอดคล้องกับพยานผู้ชุมนุมที่ยืนยันว่าได้ชุมนุมโดยสงบ และได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา ทั้งนี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตแกนนำ พธม. ได้ประกาศอยู่ตลอดว่า ห้ามนำอาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าพื้นที่ชุมนุม จึงรับฟังได้ว่าพวกจำเลยชุมนุมโดยสงบ
ศาลยังเห็นว่า การปราศรัยของพวกจำเลยที่กล่าวหานายสมชาย ซึ่งเป็นน้องเขยของนายทักษิณ เป็นตัวแทนนายทักษิณนั้น ก็ไม่เลื่อนลอยปราศจากเหตุผล เนื่องจากมีคดีที่เกี่ยวข้องกับนายทักษิณในเรื่องการทุจริต มีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหลายกรณี การหยิบยกมาปราศรัยและชุมนุมเชิงสัญลักษณ์นับว่าสมเหตุสมผล ชุมนุมโดยสงบปราศจากรุนแรง
เหตุที่ผู้ชุมนุมจำเป็นต้องปักหลักชุมนุมรอบรัฐสภา เนื่องจากสภาเป็นที่ประชุมตามระบอบประชาธิปไตย แม้การชุมนุมจะกีดขวางการจราจรบ้าง เพราะมีผู้ชุมนุมมาก ก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ปรากฏเหตุวุ่นวายที่มาจากผู้ชุมนุม เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่บุกรุกยั่วยุ เหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาจากการสลายการชุมนุม ยิงแก๊สน้ำตาโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้ผู้ชุมนุมไม่ทันหลบหลีกป้องกันตัว ได้รับบาดเจ็บหลายราย เมื่อผู้ชุมนุมรู้สึกโกรธแค้นจึงเกิดความไม่สงบ ใช้สิ่งของขว้างปา เมื่อเห็นตำรวจละเมิดสิทธิก่อน ย่อมเกิดความวุ่นวาย ยากที่แกนนำจะคาดหมายสถานการณ์ ไม่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมทำไป เพราะพวกจำเลยยุยงปลุกปั่น เป็นความวุ่นวายที่เกิดจากคนส่วนน้อย ผู้ชุมนุมทำไปเฉพาะตัว จะถือว่าจำเลยทั้งหมดกับผู้ชุมนุมอื่นชุมนุมไม่สงบไม่ได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 116, 215, 216
ส่วนประเด็นว่าจำเลยทั้งหมดกระทำผิดฐานข่มขืนใจ และหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือไม่ ศาลเห็นว่า โจทก์มีอดีต ส.ว. ผู้เสียหายปากเดียวเป็นพยานเบิกความว่าต้องการเข้าไปประชุมรัฐสภา แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ พบผู้ชุมนุมเดินเข้ามาผลักอก พร้อมถามว่ามาทำไม ทำให้พยานเดินทางกลับ ศาลเห็นว่า ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดอยู่บริเวณดังกล่าว จึงไม่รู้เห็น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ชุมนุมที่ไม่ระงับอารมณ์จากสถานการณ์บีบคั้น
ส่วนที่อดีต ส.ส. ผู้เสียหายรวม 7 คน เบิกความว่า ในช่วงบ่ายไม่สามารถเดินทางออกจากสภาได้ เพราะผู้ชุมนุมปิดล้อมทางเข้าออก นำโซ่ล็อกประตู มีรถบรรทุกจอดขวาง มีผู้ชุมนุมตะโกนว่าฆ่ามันนั้น ศาลเห็นว่า การสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักสากล ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บหลายร้อยรายเป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ ขณะนั้นแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ภายหลังศาลปกครองสูงสุดยังได้พิพากษาให้สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายต่อผู้ชุมนุมด้วย การสลายการชุมนุมดังกล่าวทำให้ผู้ชุมนุมโกรธแค้น เกิดความวุ่นวายเป็นเรื่องธรรมดา ยากที่แกนนำจะควบคุมได้ทุกคน และขณะที่ด้านนอกสภามีการสลายการชุมนุม แต่ ส.ส. และ ส.ว. ประชุมกันตามปกติ ไม่ใยดีความเสียหายของคนไทยด้วยกัน ทำให้ผู้ชุมนุมระบายความรู้สึกด่าทอผู้เสียหายเมื่อประชุมเสร็จ จากข้อเท็จจริงเป็นไปได้ว่า ผู้ชุมนุมมีความคับแค้นจากสถานการณ์พาไป เกิดขึ้นทันด่วน ยากที่แกนนำจะควบคุม ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งหมดมีส่วนยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง มีเพียงการกระทำเฉพาะตัวเฉพาะรายของผู้ชุมนุมเอง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง พิพากษายกฟ้อง
4.ศาลพิพากษาจำคุก “ดิสธร วัชโรทัย” 2 ปี 6 เดือน ปฏิบัติหน้าที่ทุจริต-ฉ้อโกง!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. สำนักข่าวอิศรารายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บชก.) ว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2561 ศาลอาญได้มีคำพิพากษาจำคุกนายดิสธร วัชโรทัย อดีตข้าราชการประจำสำนักพระราชวัง เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ในความผิดข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกันแจ้งข้อความเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และร่วมกันฉ้อโกงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เบื้องต้น ศาลมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักสุด ให้จำคุก 5 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ อัยการมีความเห็นไม่อุทธรณ์คำพิพากษา
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2560 สำนักพระราชวังได้มีคำสั่งลงโทษไล่ นายดิสธร วัชโรทัย ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หลังพบว่ากระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหลายกรณี อาทิ ใช้อำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ แสดงเอกสารรับรองว่าบุคคลภายนอกได้บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เป็นจำนวนเงิน 25 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าตามปกติ ไม่ได้มีการบริจาคเงินดังกล่าวแต่อย่างใด และนายดิสธรยังได้นำเอกสารรับรองการบริจาคดังกล่าวเสนอต่อกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลภายนอก อันเป็นการฉ้อโกงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และนายดิสธร ในฐานะรองเลขาธิการพระราชวัง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลกองพระราชพาหนะ ได้นำรถยนต์ในพระปรมาภิไธยไปใช้จนเกิดอุบัติเหตุ และแอบอ้างพระปรมาภิไธยเพื่อยกเว้นภาษีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ แล้วนำรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศไปใช้ทดแทนรถยนต์คันเดิมที่ประสบอุบัติเหตุ โดยไม่ปรากฏหลักฐานการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถยนต์คันใหม่ และไม่มีหลักฐานการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันเดิมแต่อย่างใด เป็นต้น
5.ศาลพิพากษาจำคุก “ครูจอมทรัพย์” 8 ปี สร้างพยานหลักฐานเท็จรื้อคดีขับรถชนคนตาย!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ศาลจังหวัดนครพนมได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่นางจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร หรือครูจอมทรัพย์ วัย 57 ปี อดีตข้าราชการครูโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร ที่ก่อนหน้านี้เคยถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน คดีขับรถชนคนตาย เมื่อพ้นโทษออกมา ได้ร้องขอความเป็นธรรมให้มีการรื้อฟื้นคดีใหม่ แต่ภายหลัง ศาลยกคำร้อง เนื่องจากพยานหลักฐานต่างๆ ไม่น่าเชื่อถือ ทางตำรวจจึงแจ้งความกลับนางจอมทรัพย์และพวกรวม 8 คน ใน 4 ข้อหา คือ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน, ร่วมกันแจ้งเจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ, ร่วมกันเบิกความเท็จ และซ่องโจร เนื่องจากมีการนำพยานหลักฐานเท็จเบิกความต่อศาลในการพิจารณารื้อฟื้นคดีใหม่
ทั้งนี้ ศาลพิจารณาอ่านคำพิพากษากว่า 300 หน้า โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง โดยพิพากษาจำคุกนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 ปี, นายสุริยา นวนเจริญ หรือครูอ๋อง เพื่อนนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 2 หัวหน้าทีมจ้างพยานเท็จ จำคุก 7 ปี 9 เดือน, นางทัศนีย์ หาญพยัคฆ์ จำเลยที่ 3 จำคุก 2 ปี 19 เดือน,นางทองเรศ วงศ์ศรีชา จำเลยที่ 4 จำคุก 2 ปี 12 เดือน โดยนางทัศนีย์และนางทองเรศ เป็นพยานที่เคยยืนยันว่านางจอมทรัพย์ไม่ได้ขับรถชนคนตาย, นายนิรันดร์ แสนเมืองโคตร อดีตสามีนางจอมทรัพย์ จำเลยที่ 5 จำคุก 2 เดือน และยกฟ้องจำเลยที่ 6-8 คือ นายเสน่ห์ สุพรรณ, นางรจนา จันทรัตน์ เพื่อนนางจอมทรัพย์ และ น.ส.วาสนา เพ็ชรทอง หลานสาวนางจอมทรัพย์ สำหรับคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการลงโทษข้อหาแจ้งความเท็จ ส่วนข้อหาซ่องโจร ศาลยกฟ้อง
หลังศาลอ่านคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นขอประกันตัว ซึ่งศาลอนุญาต โดยตีราคาประกันคนละ 8 แสนบาท แต่นางจอมทรัพย์ และนายสุริยา หลักทรัพย์ไม่พอยื่นประกัน จึงถูกคุมตัวในเรือนจำกลางนครพนม ขณะที่นางทองเรศ และนายนิรันดร์ อดีตสามีนางจอมทรัพย์ ศาลอนุญาตให้ใช้ตำแหน่งประกันตัว
วันต่อมา 7 มี.ค.นายสุริยาได้รับการปล่อยตัว หลังนำเงินสดวางประกันต่อศาล 8 แสนบาท ขณะที่นางจอมทรัพย์ เงินวางประกันยังไม่พอ ขาดดีก 6 แสนบาท จึงต้องถูกคุมตัวในเรือนจำฯ ต่อไป