xs
xsm
sm
md
lg

สำเร็จอย่างงดงาม! “BAB 2018” เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติครั้งแรกของเมืองไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

มูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Beyond BAB” สรุปภาพรวมของการแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในช่วงที่ผ่านมา พร้อมทั้งสัมมนาวิชาการในรูปแบบ Symposium ณ BAB Box ถนนวิทยุ

ภายในงานมีการเสวนาเกี่ยวกับภาพรวมของโครงการที่เกิดขึ้นในตลอดช่วงของการจัดงานที่ผ่านมา โดยทีมภัณฑารักษ์นานาชาติของเทศกาลดังกล่าว ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่, อาจารย์ลักขณา คุณาวิชยานนท์ อดีตผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ศาสตราจารย์ Patrick Flores ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาศิลปะจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ฟิลิปปินส์ และ ดร. Adele Tan ภัณฑารักษ์อาวุโสแห่งหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ ที่มาร่วมสรุปถึงการดำเนินงานในการร่วมสร้างประสบการณ์ทางด้านศิลปะในกรุงเทพมหานคร ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา โดยมีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการจัดงานเทศกาลดังกล่าวนี้

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาของทาง กลุ่ม Friends of BaB ที่ร่วมกันจัดงานนี้ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น โดยผู้ร่วมเสวนาได้แก่ คุณ Vanessa Silvy ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรม สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, คุณ Maren Niemeyer ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ประจำประเทศไทย, คุณ Norihiko Yoshioka ผู้อำนวยการมูลนิธิญี่ปุ่นกรุงเทพ และคุณ Patricia The’ry-Hart ผู้แทนจากสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ร่วมด้วย คุณ Philip Cornwel-Smith นักเขียนและคอลัมนิสต์ เจ้าของผลงาน ‘Very Thai’ และคุณ David Robertson ผู้แทนจากย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง หรือ Charoenkrung Creative District
คุณ Norihiko Yoshioka ผู้อำนวยการมูลนิธิญี่ปุ่นกรุงเทพ
ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าวมีการแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญ นอกจากภาพรวมของเทศกาลศิลปะที่สร้างความตื่นตัวให้วงการศิลปะไทยแล้ว ยังทำให้ชาวต่างชาติทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจงานศิลปะได้รู้จักว่ากรุงเทพมหานครก็เป็นอีกหนึ่งเมืองแห่งศิลปะร่วมสมัยอีกเช่นกัน รวมไปถึงมีการฟังข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อที่จะนำไปปรับปรุง เพื่อที่จะนำไปพัฒนาในส่วนของงาน Bangkok Art Biennale 2020 ในคราวถัดไป

สำหรับในภาพรวมของการเสวนานั้น ทางกลุ่มได้เห็นถึงความตั้งใจของศิลปินไทยทุกคนๆ ที่พยายามจะสื่อออกมาให้สังคมได้รับรู้ถึงอนาคตของโลกผ่านงานศิลปะ โดยรวมแล้วทุกอย่างถือว่าดีมากสำหรับการจัดครั้งแรก อีกทั้งได้เห็นภาพปัญหาของโลกในปัจจุบันผ่านงานศิลปะ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของโลก อีกทั้งงานศิลปะในงานนี้ก็ถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีมาก และไม่น่าเชื่อว่านี่คือผลงานของศิลปินที่อายุน้อย และการจัดงานในครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ศิลปินจะได้แสดงผลงานและทำความรู้จักกับศิลปินท่านอื่นๆ อีกทั้งได้ค้นพบศิลปินพรสวรรค์สูงอีกหลายคน รวมไปถึงยังมีหลายๆ งานที่ดูดี มีอนาคตซึ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ และมีความประทับใจหลายอย่างจากผลงานของศิลปิน ฉะนั้นควรมีการจัดแสดงอีกในปีต่อๆ ไป
คุณ Patricia The’ry-Hart ผู้แทนจากสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ
David Robertson : “ผมดีใจมากที่ได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง แล้วการมางานศิลปะในครั้งนี้ผมได้เห็นถึงความตั้งใจของศิลปินทุกท่านที่พยายามจะสื่อปัญหาและสภาพสังคมในปัจจุบันสู่สายตาชาวโลกผ่านงานศิลปะ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของโลกเป็นอย่างมาก แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าศิลปินเหล่านี้ยังเด็กอยู่ พวกเขาทำผลงานศิลปะเหล่านี้ออกมาได้ดีมากจริงๆ”

Philip Cornwel-Smith : “ในภาพรวมของงานดังกล่าวนี้ โดยส่วนตัวของผมรู้สึกว่าทุกอย่างดูดีมาก ผมชอบผลงานหลายชิ้น โดยเฉพาะเรื่องของ Population on the river หรือมีผลงานศิลปะหลายๆ ชิ้นที่สื่อถึงปัญหาของโลกในปัจจุบันได้ดี มีประโยชน์อย่างมาก และมีการสร้างสรรค์ผลงานที่ดี อีกทั้งก็ไม่น่าเชื่อว่านี่คือผลงานของศิลปินที่มีอายุน้อยด้วยเช่นกัน”

Maren Niemeyer : “ดิฉันได้มีโอกาสไปนิทรรศการศิลปะมาทั่วโลก แต่เพิ่งจะได้มาชมที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก และรู้สึกทึ่งกับผลงานหลายๆ ชิ้นเป็นอย่างมาก งานนี้ถือเป็นงานที่ดีที่ศิลปินจะได้มีโอกาสแสดงไอเดียและแนวคิดเปลี่ยนโลกผ่านทางงานศิลปะ”
คุณ Vanessa Silvy ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรม สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และ คุณ Maren Niemeyer ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ประจำประเทศไทย
ขณะเดียวกัน ในแง่ของการจัดงาน Bangkok Art Biennale 2018 ที่มีการจัดงานตลอดทั้ง 4 เดือนที่ผ่านมา นอกจากการแสดงผลงานที่ถือว่ามีความหลากหลายอย่างชัดเจนในงานดังกล่าวนี้แล้ว วิทยากรที่มาร่วมเสวนายังแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการตอบโจทย์ของงานศิลปะต่อผู้ชมในงานดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจในภาพรวม ที่จะส่งผลดีต่ออนาคตของงานศิลปะในแต่ละชิ้นต่อไป

Ms.Vanessa Silvy : “งานศิลปะในภาคปกติ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสังคมที่ดีขึ้นในอนาคต และงานนี้ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี งานนี้ยังเป็นโอกาสดีที่ทำให้ศิลปินได้นำเสนอผลงานของตัวเอง รวมถึงได้เจอ Connection ใหม่ๆ มากมาย ควรจะมีการจัดงานแบบนี้ไปอีกเรื่อยๆ”

Patricia Théry-Hart : “ดิฉันรู้สึกทึ่งกับโปรเจกต์ศิลปะของงานนี้มากๆ นี่ถือว่าเป็นงานที่รวบรวมผลงานของศิลปินเก่งๆ หลายคนไว้ด้วยกัน ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่พวกเขาจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”

Mr.Norihiko Yoshioka : “ผมมีความรู้สึกประทับใจอะไรหลายๆ อย่างจากผลงานของศิลปินทุกคนในเทศกาลศิลปะนี้ เพราะว่าเราได้เห็นถึงเบื้องหลังของงานศิลปะชิ้นต่างๆ แล้วหลายๆ งานนี้ก็ถือได้ว่าดูดีมีอนาคตเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถพัฒนาชิ้นงานศิลปะดังกล่าวในครั้งต่อไปได้อย่างเรื่อยๆ โดยส่วนตัวของผมนั้นก็อยากให้ศิลปินได้ถ่ายทอดผลงานที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องของสังคมผ่านงานศิลปะให้มากขึ้นกว่านี้”
คุณ David Robertson ผู้แทนจาก ย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง หรือ Charoenkrung Creative District และ คุณ Philip Cornwel-Smith นักเขียนและคอลัมนิสต์ เจ้าของผลงาน ‘Very Thai’
แต่อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า โดยภาพรวมของงานก็ยังมีจุดบกพร่องเล็กน้อยในเรื่องความสะดวกในการเดินรอบได้ทั่วงาน และการเสวนาในครั้งนี้เห็นว่าควรมีการจัดสรรปันส่วนให้ดีกว่านี้ อีกทั้งเวลาในการจัดงานนั้นมีเวลาน้อยไป อยากจะให้การจัดงานใครั้งต่อไปควรมีการจัดงานให้นานกว่านี้ รวมไปถึงแนะนำให้เสนอไอเดียเกี่ยวกับ International Environment กับ Population around the world ให้มากขึ้นในอนาคต

ขณะเดียวกัน ในการจัดงานครั้งต่อไปทางกลุ่มมีการแนะนำให้ลองเสนอเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพิ่มลงไปด้วย เพราะถือว่าเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย เป็นการโฆษณาการท่องเที่ยวไทยไปในตัว และมีการแนะนำให้เสนอที่เข้าใจง่ายมากกว่านี้เพื่อที่เด็กๆ จะได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของงานศิลปะ, งานศิลปะสะท้อนการเมือง และงานศิลปะสะท้อนสังคม เนื่องจากบางผลงานนั้นผู้เข้าชมที่เป็นเยาวชนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงการสื่อถึงความหมายในแต่ละผลงานดังกล่าว

Ms. Vanessa Silvy : “ฉันอยากให้มีการจัดสรรพื้นที่ภายในงานให้ดีกว่านี้ เพราะว่าในการจัดงานดังกล่าวก็ยังมีข้อผิดพลาดและจุดบกพร่องอยู่บ้าง ทำให้การเดินภายในงานไม่สะดวกเท่าที่ควร สถานที่จัดงานในแต่ละที่ควรมีทางเดินที่สะดวกสบายมากกว่านี้ อีกส่วนหนึ่งก็คืออยากให้จัดงานให้ดูเรียบง่ายกว่านี้ เพื่อที่ผู้เข้าชมงานที่เป็นเด็กๆ จะได้เข้าใจงานศิลปะได้ง่ายขึ้น”

Ms. Maren Niemeyer : “ส่วนความเห็นของดิฉันที่เกี่ยวกับงานนี้ โดยรวมถือเป็นงานที่ดี แต่มีเวลาน้อยไปหน่อย ทำให้คนที่มีเวลาไม่มาก ไม่สามารถเดินชมงานศิลปะอย่างทั่วถึงได้ ควรจัดงานให้นานกว่านี้อีกสักนิด”

ขณะเดียวกัน ในส่วนของทางวิทยากรของการเสวนาในครั้งนี้ นอกจากที่จะพูดถึงในแง่ของการแสดงผลงานเพื่อส่งเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วนั้น ทางผู้เสวนาบางรายยังได้เสนอความคิดในเรื่องที่ว่า อยากให้มีการที่มีภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมต่อเทศกาลศิลปะครั้งนี้ด้วย เพื่อต่อยอดและยกระดับให้แก่งานแสดงศิลปะดังกล่าวให้มีการพัฒนาต่อขึ้นไปอีกขั้นนั่นเอง

Philip Cornwel-Smith : สำหรับผมก็อยากแนะนำให้คิดไอเดียเกี่ยวกับ International Environment และในส่วนของ Public around the world เพื่อที่จะทำให้งานดูมีความเป็นสากลมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็คืออยากให้เน้นเกี่ยวกับ Tourism and People ด้วย เพราะจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยไปในตัวด้วยเช่นกัน

David Robinson : ผมอยากให้การจัดงานมีความหลากหลายกว่านี้เพื่อยกระดับไปสู่ระดับนานาชาติ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีเป็นหอแสดงงานศิลปะประจำชาติไปเลย เพื่อที่จะให้ส่งเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยวไปในตัว

Norihiko Yoshioka : ผมขอเสนอว่าอยากให้ยกระดับงานนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครไปในตัว รวมถึงอยากให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการยกระดับเทศกาลดังกล่าวนี้
(จากซ้ายไปขวา) ศาสตราจารย์ Patrick Flores ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาศิลปะจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ฟิลิปปินส์, ดร. Adele Tan ภัณฑารักษ์อาวุโสแห่งหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์, ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ และ อาจารย์ลักขณา คุณาวิชยานนท์ อดีตผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ หลังจากที่การเสวนาสิ้นสุดลง ทางผู้จัดงานได้เปิดโอกาสให้มีการสอบถามจากผู้เข้าร่วมเสวนาต่อวิทยากรในงาน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แสดงความคิดเห็นว่า การจัดงานดังกล่าวนี้ควรที่จะคลอบคลุมในเรื่องของสถานที่จัดงานให้มากกว่านี้ รวมไปถึงการเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่ถือว่ามีความสนใจที่มางานดังกล่าวเป็นจำนวนหนึ่ง แต่การทราบข้อมูลในวงกว้างถือได้ว่ายังไม่ทราบถึงการมีอยู่ของงานมากนัก จึงทำให้หลายคนยังไม่ทราบถึงการมีอยู่ของงานดังกล่าว

ขณะเดียวกัน หนึ่งในวิทยากรของการเสวนา อย่าง David Robinson ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมในช่วงดังกล่าวด้วยว่า ศิลปินยุคใหม่ต้องคิดให้ทันโลก มีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเสนอว่างานในครั้งหน้าให้ลองคิดถึงวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แล้วมานำเสนอเพิ่มเติมในงานศิลปะ

ส่วนในเรื่องของการแสดงผลงานศิลปะจากความเห็นของผู้ชมนั้น โดยภาพรวมได้แสดงความเห็นว่าเทศกาลนี้ถือว่าเป็นงานที่ดีและมีความรู้สึกประทับใจมากที่มีคนรุ่นใหม่ๆ ในให้ความสนใจที่มาร่วมชมผลงานดังกล่าวงานนี้ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้เข้าชมงานทั้งคนรุ่นใหม่และคนทั่วไปได้มีการสนในจงานศิลปะมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โจทย์การแสดงผลงานศิลปะ คือ จะทำอย่างไรให้งานในครั้งต่อไป ที่งานศิลปะที่จะมาแสดงในครั้งถัดไป ผลงานดังกล่าวนั้นจะสามารถให้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้


กำลังโหลดความคิดเห็น