“เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เผยข้อมูลโรงพยาบาลเอกชนโขกค่ายาแพงกว่ารัฐ 70-400 เท่า กรณีต้อกระจก 11.7 เท่า ไส้ติ่ง 8.3 เท่า เสนอควบคุมค่ารักษาโดยอ้างอิงราคาจาก “สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน” ซึ่งทุกโรงพยาบาลเอกชนเสนอมาเอง เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ภาวะวิกฤตแล้วไปเบิกกับรัฐ มั่นใจไม่ขาดทุนแน่นอนเพราะคนจะเข้าใช้บริการมากขึ้น
วันที่ 28 ม.ค. 62 น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอาอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน” ภายใต้หัวข้อ “เปิดสูตร คุมค่ายา-ค่ารักษาฯ รพ.เอกชน” โดยกล่าวว่า ค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริงสำหรับโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงบริการ และทำให้ได้รับการรักษาเกินพอดี ยกตัวอย่างมีกรณีถูกมีดบาดมือ 1 เซนติเมตร ถูกเข้าห้องผ่าตัดหมดเงินไป 6 หมื่นกว่าบาท ล่าสุดพบเคสผ่าตัดสมองค่าใช้จ่าย 8 แสนบาท บางรายพุ่งไปถึง 40 ล้านบาท นี่คือข้อมูลที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับร้องเรียนมา แต่ทำอะไรไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีหลักเกณฑ์ พอร้องมาก็ให้โรงพยาบาลไปตรวจสอบแล้วก็เงียบไป และที่หนักสุดคือคนไข้พอไม่มีเงินจ่ายก็ถูกโรงพยาบาลฟ้องคดี
น.ส.สารีกล่าวอีกว่า โรงพยาบาลเอกชนอยากทำเพียงแค่แจ้งราคา ซึ่งราคามันเป็นเรื่องของแต่ละโรงพยาบาล เช่นผ่าตัดสมองจากเส้นเลือดในสมองแตก กรณีฉุกเฉินจ่ายผ่านระบบยูเซป (UCEP) เอกชนจะสามารถเบิกได้ 2 แสนนิดๆ โดยคนไข้ไม่ต้องเสียเงิน แต่กรณีที่โดน 8 แสนบาทถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น ก็ต้องมาดูว่าเป็นธรรมหรือไม่เมื่อเทียบเคียงกับราคา 2 แสนกว่า หรือบัตรทองจ่ายอยุ่ที่ 5 หมื่น - 1 แสนบาทเท่านั้นเอง ซึ่งเราอยากเห็นการกำกับค่ารักษาพยาบาลโดยมีราคาอ้างอิง เทียบกับสิงคโปร์ก็ได้ โรงพยาบาลเอกชนต่างจากรัฐบาล 2.5 เท่า เท่านั้นเอง ซึ่งราคา 2 แสนนี้โรงพยาบาลไม่ขาดทุน เพราะเป็นราคาที่โรงพยาบาลเอกชนทุกโรงพยาบาลร่วมกันคิด
ถ้าโรงพยาบาลเอกชนมีเป้าหมายเพื่อลดความหนาแน่นของโรงพยาบาลรัฐ มันไม่ควรแพงถึงขั้นค่ายาต่างกัน 70-400 เท่า กรณีต้อกระจก 11.7 เท่า กรณีไส้ติ่ง 8.3 เท่า
น.ส.สารีกล่าวด้วยว่า เสนอควรใช้แนวทางที่เอกชนยอมรับในทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นต้นแบบ แล้วมาดูกันว่าในภาวะปกติจะให้คิดแพงกว่ากี่เท่า แต่ต้องเป็นธรรม ซึ่งมีลิสต์อยู่แล้ว 2,000 รายการ ว่ากรณีฉุกเฉินนี้ราคาเท่าไหร่ แล้วไม่ควรแพงถึงขั้นที่ชนชั้นกลางยังไม่สามารถใช้ได้ แล้วที่ผ่านมาขึ้นราคาแบบไม่เคยสอดคล้องดัชนีผู้บริโภคเลย
เลขาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า หมอในโรงพยาบาลเอกชนทุกคนก็ใช้เงินประเทศ เพราะมีระบบงบประมาณสนับสนุนในการผลิตแพทย์ สิ่งเหล่านี้ต้องมีส่วนเข้ามาช่วยผ่อนปรนภาระให้โรงพยาบาลรัฐ แล้วที่อ้างว่าประชาชนมีตัวเลือกให้ไปใช้บัตรทอง อันนี้ไม่จริงเลย เพราะเมื่อไหร่ที่เอกชนแพงก็จะเกี่ยงไม่รับบัตรทอง ขอลาออก มันก็กระทบงบทุกส่วนของแผ่นดิน ตนไม่เชื่อว่าโรงพยาบาลเอกชนจะขาดทุน เพราะหากค่าบริการลด คนเข้าใช้มากขึ้น กำไรก็ไม่ได้ลดลง
คำต่อคำ
นงวดี- สวัสดีค่ะคุณผู้ชม ขอต้อนรับเข้าสู่รายคนเคาะข่าว วันนี้เราอยู่กันยคือนวันจันทร์ ที่ 28 มกราคม 2562 กับดิฉัน นงวดี ถนิมมาลย์ คุณผู้ชมคะ วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องใหญ่กันนะคะ เป็นเรื่องใกล้ตัว นั่นก็คือกรณีที่ ครม. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไฟเขียวตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์โดยคณะกรรมการว่าด้วยสินค้าและบริการที่เสนอให้ ครม. ให้นำค่ายาและค่าแพทย์ เข้าไปอยู่ในรายการบัญชีสินค้าที่จะต้องสามารถถูกควบคุมดูแลได้ ที่นี้ขั้นตอนต่อไปก็ต้องดูว่าท้ายที่สุดแล้วจะมีกลไกออกมาอย่างไรรึเปล่า ที่จะทำให้รัฐเข้าไปดูแลค่ารักษาพยาบาล และก็ค่ายา มีเสียงสะท้อนมาจากประชาชนมากมาย ว่าเข้าโรงหมอทีหนึ่ง กลับออกมาจะหายป่วย แต่ว่าก็กระเป๋าแฟบไปด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องนี้ ทั้งน่าตาและแนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยข้อเสนอทางฝั่งประชาชนหรือผู้บริโภค มันจะมีแนวทางอะไรบ้างที่อยากให้ภาครัฐยำไปพิจารณา และหลังจากนี้หลายคนก็ตั้งคำถามว่าจะเข้าไปดูแลไม่จริงๆ หรอ เรื่องค่ารักษาพยาบาล ทั้งค่ายา และค่าคุณหมอ ด้วยนะคะ วันนี้เราจะคุยกันในหลายแง่มุม กับ คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สวัสดีค่ะ
สารี- สวัสดีค่ะคุณนง
นงวดี- ก่อนอื่นเลย ก่อนที่เราจะไปคุยเรื่องแนวทาง คุณสารีช่วยเล่าให้ฟังก่อน เอาชัดๆ ว่ามติที่มีออกมา ตกลงเขาคุมค่าอะไรบ้างคะ สำหรับเรื่องค่าแพทย์ ค่ายา
สารี- ก็ต้องบอกว่าจริงๆ เรื่องนี้ไม่ใช่อยู่ดีๆ มติครม. มันลอยมา ก็เริ่มที่มีกลุ่มผู้ป่วยไปทำงาน แล้วก็เข้าชื่อกัน คิดว่าได้กว่า 5 หมื่นชื่อ ในการที่จะให้มีการกำกับเรื่องค่ารักษาพยาบาล แล้วองค์กรผู้บริโภคเอง เราก็ไปที่กระทรวงพาณิชย์ไม่น้อยกว่า 3-4 ครั้ง เพื่อคิดว่าจะมีมาตรการในการคุมอย่างไร จนกระทั่งนำมาซึ่งการพบกันระหว่างรัฐมนตรีและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องเรียนว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตอนปลายปีที่แล้ว แล้วก็จนกระทั่งวันนั้นได้ข้อสรุปรวมกันว่าเราจะให้มีการกำกับค่ายา และค่าวัสดุทางการแพทย์ สอง ก็คือให้ค่าบริการทางการแพทย์เป็นบริการที่ควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.ที่ว่าด้วยสินค้าและบริการ แล้วก็อันที่สามให้มีเรียกว่าคณะอนุกรรมการที่จะทำรายละเอียดและกำกับยังไง และตอนนั้นเราก็คุยร่วมกันว่าเราน่าจะให้ความสำคัญกับกรณีที่ฉุกเฉินเป็นเบื้องต้น ก็ 3 ประเก็น เสร็จก็ไปเข้า กกร. เมื่อวันที่ 9 เสร็จแล้วก็มาเข้า ครม. เมื่อวันที่ 22 ซึ่งครม. วันที่ 22 ต้องเรียนว่าจริงไปตามมติ กกร. ก็คือ 1.ให้ยา วัสดุทางการแพทย์เป็นสินค้าควบคุม ซึ่งต้องเรียนว่าจริงๆ ยาควบคุมมานานแล้ว แต่ทำเพียงการให้โรงพยาบาลแจ้งราคา ห้ามขายเกินสฉลากของกล่อง ซึ่งพบว่าโรงพยาบาลติดฉลากยังไงก็ได้ เพราะฉะนั้นกำกับไม่ได้ แต่เที่ยวนี้เพิ่มวัสดุทางการแพทย์ วัสดุทางการแพทย์ก็หมายความว่าสมมุติหัวเข่าเทียม ข้อเข่าเทียม เข้าไปด้วย วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหลายในทางการแพทย์ ส่วนอันที่ 2 ก็คงเป็นประเด็นเรื่องค่าบริการทางการแพทย์ที่เดี๊ยนก็คิดว่าเรียกว่ามันแพง ไม่สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดผู้บริโภคล่ะกัน หรือไม่สอดคล้องกับรายได้ของผู้บริโภคที่ถูกปรับขึ้นเลย เพราะฉะนั้นมันก็ทำให้คน เรียกว่าเข้าไม่ถึงโรงพยาบาลเอกชน แล้วก็ส่วนที่ 3 เรียกว่าให้มีคณะอนุกรรมการที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการกำกับราคาสินค้าหรือบริการ มีคณะทำงานจากองค์ประกอบจากทุกฝ่ายมาทำงานกัน ซึ่งทราบว่าจะประชุมเร็วๆ นี้
นงวดี- ตั้งแต่หลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ก็แสดงว่าเร็วเหมือนกันนะคะ
สารี- ก็ต้องถือว่ารัฐมนตรีได้ทำตามที่ตกลงกับทุกฝ่าย
นงวดี- แสดงว่าข้อมูลมูลนิธิของผู้บริโภคหรือว่าทางประชาชนที่ร้องเรียนเข้าไป คือพอที่นักแน่นพอสมควรไหมคะ มีเคสอะไรที่ดูแล้วทำไมค่ายา ค่าแพทย์ ที่บ้านเรามันแพงขนาดนี้ คือเคสที่ร้องเรียนเข้าไปมันขนาดไหนคุณสารีคะ
สารี- คือก็ต้องเรียนว่ามันเกิดจาก 3 ส่วนกับผู้บริโภค คือ 1.แน่นอนคือเข้าไม่ถึงบริการ ซึ่งตรงนี้ก็ชัดเจน ส่วนที่ 2 เราพบว่าประชาชนได้รับการรักษาที่มันอาจจะเรียกว่าเกินพอดี อย่างเช่น เดี๊ยนยกตัวอย่างนะเรื่องหนึ่งที่ร้องเรียนก็คือ ถูกมีดบาด 1 เซนฯ ที่ฝ่ามือด้านซ้าย ถูกนำเข้าห้องผ่าตัด หมดเงินไป 60,821 บาท
นงวดี- มีดบาด
สารี- มีดบาด
นงวดี- หกหมื่นกว่าบาท
สารี- ประตูหนีบ ถ้าเขายังขืนรักษาก็ตกประมาณสัก 6 หมื่นบาท เพราะต้องผ่าตัดเหมือนกัน แต่ว่าไปอีกที่หนึ่งก็หมดไป 3 พันกว่าบาท ซึ่งอันที่ 3 ล่าสุดเลยนะคะ อันนี้ก่อนหน้านี้ก็มีผ่าตัดไส้ติ่งแสนสอง แสนสี่ หรือผ่าตัดหลังสี่แสนกว่าบาท แล้วปรากฎว่าคนไข้เกิดแพ้ยาขึ้นมา ก็ปาไปเจ็ดแสน ซึ่งตอนนี้คนไข้พูดฟ้อง สิ่งที่คนไข้เดือดร้อนก็คือว่า พอไม่มีเงินจ่าย คนไข้ก็ถูกฟ้องกันอีก เพราะฉะนั้นนี่คือเรื่องจริงที่เกิด เราจึงคิดว่ามันก็จำเป็นที่ต้องมาคุย ว่าถ้าจะคิดจำเป็นต้อง จริงๆ ราคาเท่าไหร่ถึงเป็นธรรม อย่างเช่นล่าสุดที่เราพบแปดแสน ผ่าตัดสมอง หรือบางรายหมดไปเรียกว่าเป็นหนึ่งล้านบาท เดี๊ยนคิดว่าต่ำมากนะคะ บางรายที่ร้องเรียนมี 23 ล้าน หรือบางคนบ่นเลยว่าไม่รู้จะมีเงินให้ลูกรึเปล่า หมดไปเกือบ 40 ล้าน เพราะฉะนั้นนี่ก็คือข้อมูลที่มูลนิธิมีจริงๆ คือเรื่องร้องเรียนของมูลนิธิอาจจะไม่เยอะมาก เรามีเรื่องร้องเรียนอยู่ 3 ปี ก็ต้องบอกว่าประมาณ 186 เรื่อง เกือบ 200 เรื่อง แต่ว่าอยู่อันดับ 2 ของเรื่องร้องเรียนที่เข้าไปที่ด้านบริการสุขภาพ แต่จริงๆ ต้องบอกว่าเราทำอะไรไม่ค่อยได้ พอร้องไปมันก็ไม่มีหลักเกณฑ์อย่างมาก เขาก็ให้โรงพยาบาลตรวจสอบ พอตรวจสอบแล้วก็เงียบ แต่วันนั้นกระทรวงสาธารณสุขเขาพูดเองนะคะว่ามีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด เป็นเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพราะฉะนั้นตรงนั้นมันชัดเจนแน่นอนว่าเราเข้าไม่ถึง ทำให้เราเรียกว่าหมดเงิน หมดทอง ทั้งๆ ที่มันไม่ควรแพงขนาดนี้ แล้วอีกอันหนึ่งที่หนักสุด ถูกฟ้องคดีการที่ไม่มีเงินจ่าย
นงวดี- ที่นี้ข้อเสนอที่เราเตรียมไว้จากทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นฝั่งของประชาชน ฝั่งของผู้ป่วย เราเตรียมชมข้อเสนออะไรไว้บ้างที่คิดว่าท้ายที่สุด เรื่องทั้งค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และค่าบริการทางการแพทย์ จะสามารถปรับลงมา ให้มันมีความสมเหตุสมผลได้บ้างนะคะ
สารี- คือสิ่งที่เราไม่เห็นด้วยนะคะ เราคิดว่าต้องมีมาตรการ คือหมายถึงว่าฟังดูเขาทำกันเพียงแค่การแจ้งราคา ซึ่งเราคิดว่าการแจ้งราคามันเป็นเรื่องของแต่ละโรงพยาบาล ถูกไหมคะ เพราะฉะนั้นมันออกมาหลายราคาอยู่ดี แล้วก็อย่างผู้บริโภคบอกว่าแพง เดี๊ยนยกตัวอย่างผ่าตัดสมองที่เดี๊ยนบอกแปดแสน แปดแสนบาทจริงๆ แล้วมันแพง มันถูก มันเป็นธรรม มันคืออะไร ซึ่งเราก็พบว่าแปดแสนของโรงพยาบาลเอกชน ถ้าสมมุติว่าคุณเส้นเลือดในสมองแตกฉุกเฉิน จริงๆ โรงพยาบาลเอกชนจะได้เงินประมาณ 2 แสนบาทนิดหน่อย ประมาณ 2 แสนบาท
นงวดี- จากแปดแสน
สารี- คือปกติที่จ่ายจาก ที่เรียกว่า ยูเซป กรณีฉุกเฉินทุกคนไปที่ไหนก็ได้ โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนรักษาฟรี ไม่คิดเงิน แล้วก็ไม่เบิกเงินกับสำนักงานกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน ถ้าเบิกในระบบนี้ จริงๆ เส้นเลือดสมองแตกมันก็เป็นกรณีฉุกเฉินอยู่แล้วนะคะ เขาไม่ควรจะต้องเสียเงิน แต่ในกรณีนี้ต้องบอกว่ามันซับซ้อนนิดหน่อย เขาไปที่โรงพยาบาลของเขาเองที่ต่างจังหวัด แล้วปรากฏว่าโรงพยาบาลเขาไม่ทำอะไร เขาก็บอกลูกเขาว่า ถ้าเขายังอยู่ที่นี้ เขาตายแน่ ลูกก็พาไปโรงพยาบาลเอกชน ก็ทำ CT สแกน ก็พบว่าเส้นเลือดในสมองแตก 2 เส้น โรงพยาบาลนั้นไม่มีศักยภาพในการผ่า ย้ายไปอีกโรงพยาบาลหนึ่งที่กรุงเทพฯ พอมองกรุงเทพฯ โรงพยาบาลที่ผ่าคิด 8 แสนบาท เพราะฉะนั้นต้องมาดูว่า 8 แสน จริงๆ แพงเกินไปไหม มันเป็นธรรมไหม นี่ยังไม่ได้บอกว่าเขามีสิทธิ์ที่ได้รับการรักษาฟรีรึเปล่า แต่ว่าแน่นอน 8 แสน แพงไม่แพง เราก็เอามาเทียบเคียงว่า กรณีฉุกเฉินแบบนี้ คุณได้ไปเลย 2 แสนบาท หรือว่าระบบบัตรทองจ่ายกันอยู่ที่ประมาณ 50,000-100,000 บาท เท่านั้น เพราะฉะนั้นเดี๊ยนคิดว่านี่คือสิ่งที่อยากจะเห็นว่าสิ่งที่จะทำเรื่องกำกับค่ารักษาพยาบาล มันควรจะมีราคาอ้างอิง ถ้าคุณไม่ชอบเพดานราคานะ ก็คือต้องมีราคาอ้างอิง เดี๊ยนเทียบเคียงกับสิงคโปร์ เดี๊ยนคิดว่าโมเดลสิงคโปร์ก็อาจคล้ายบ้านเรา ก็คือมีโรงพยาบาลเอกชน และเน้นที่เป็นเรียกว่าศูนย์กลางการแพทย์ของอาเซียน พอๆ กับบ้านเรา เขาแข่งกับบ้านเราอยู่ เพราะฉะนั้นบ้านเราก็เป็นศูนย์กลางการแพทย์มาก เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ว่ากันอีกทีหนึ่ง แต่เมื่อเป็นแบบนี้ สิงคโปร์ก็กำกับ ขนาดราคาเขาต่างกันเพียง 2.5 เท่า เท่านั้นเอง แล้วเขาก็ทำสิ่งที่เรียกว่าทำราคาหรือแนวทางราคา หรือว่าถ้าโรงพยาบาลที่แพงกว่านี้ ไม่มีเหตุผล ต้องคืนเงินให้ผู้บริโภค เพราะฉะนั้นเราก็อยากเห็นว่า 8 แสน ในกรณีผ่าตดสมอง มันเป็นธรรมกับผู้บริโภคไหม จริงๆแล้วถ้าเทียบเคียงกับ 200,000 ที่โรงพยาบาลได้ แล้วต้องบอกว่า 200,000โรงพยาบาลไม่ได้ขาดทุนเพราะว่าคาที่ ทุกโรงพยาบาลเอกชนร่วมกันคิดเป็นราคา แต่ว่าคุณอาจไม่เป็นราคาเงินสด ไม่ได้เป็นราคาประกันสุขภาพชั้น1 แต่ว่ายังไงก็ตามไม่เป็นราคาที่โรงพยาบาลขาดทุนเพราะว่าเป็นโรงพยาบาลขาดทุนโรงพยาบาลที่อยู่ในประกันสังคมทำไมถึงผ่าตัดได้ในราคา 100,000บาท เพราะฉะนั้นสองแสนก็ถือว่า 2 เท่าของบัตรทองหรือ 2 เท่า อาจไม่ถึง 2 เท่าของประกันสังคมเพราะฉะนั้นราคาเท่าไหร่ที่มันควรมีความพอดีไม่ทำให้เขาไปใช้บริการครั้งเดียวในกรณีที่มันเกี่ยวข้องในชีวิตเขาแล้วเขาต้องเป็นหนี้เป็นสิ้น หรือเขาไม่มีเงินถูกฟ้องคดี หรืออาจจะเรียกว่าบางคนเขาอาจไม่ล้มละลายแต่ว่าอาจจะเรียกว่าไม่มีเงิน มีปัญหาทางการเงินในครอบครัวเพราะฉะนั้นคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณา ฉะนั้นสิ่งที่เราอยากเห็น ยกตัวอย่างให้เห็นว่ามันกี่เท่า การผ่าตัดสมองในกรณีฉุกเฉิน ทุกโรงพยาบาลทำให้มีมาตรฐานเพราะฉะนั้นถ้ามีมาตรฐานเหมือนกันทำไมราคาถึงแตกต่างกันมาก ปัจจัยที่มันเกินมาตรฐานไปมันคืออะไร เพราะฉะนั้นเราอยากเห็นตรงนี้ แต่ที่เกิน 800,000ปรากฎว่าไม่ใช่เรื่องมาตรฐานการรักษา เป็นเรื่องการค่าห้อง เป็นเรื่องความสะดวกสบาย คิดว่าก็แยกตรงนั้นให้ชัดเจนเพราะว่ามันเรื่องความสะดวกสบายถ้าใครเลือกที่จะสะดวกสบาย คุณก็ต้องจ่ายแพงมากหน่อย แต่คิดว่ามันเรื่องมาตรฐานการผ่าตัด มันก็ไม่ควรจะต่างกัน เพราะทุกโรงพยาบาลเพราะทุกคนควรได้รับมาตรฐานการรักษาที่เหมือนกันที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานที่เหมือนกัน
นงวดี- ซึ่งตรงนี้ทางโรงพยาบาลเขาอธิบายมาบ้างไหมค่ะ ว่าต่างกันที่แพง หรือว่าจริงๆแล้วมาตรฐานยการผ่าเคส เคสหนึ่งมันอยู่ที่ตรงไหน คือมีคำอธิบายไว้บ้างไหมค่ะ
สารี- เราพบว่าค่ารักษาที่แพงส่วนใหญ่ เป็นค่าวิชาชีพอย่างเช่นกรณีที่เรามีกรณีที่ถูกฟ้องคดีจากการผ่าตัด เป็นการผ่ากระดูกบริเวณสันหลัง เรียกว่ากระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนต้นใกล้ๆคอก็ใน 430,000 ที่โรงพยาบาลตกลงกับคนไข้ 170,000 บาท เป็นค่าวิชาชีพเพราะฉะนั้นลองคิดดูนะว่าถ้าผ่าตัดอาทิตย์เดียว วันละเคส ก็เกือบล้านบาท หมายถึงว่ารายได้เพราะฉะนั้นสัปดาห์เดียวนะ จึงคิดว่ามันก็อาจจะต้องมาดูกันว่าจริงๆราคาที่มันในแพงมาก มันอยู่ในส่วนไหนอย่างไร แล้วก็เชื่อว่าทุกระบบที่มีการรรักษากันอยู่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานของราชวิทยาลัยทั้งที่เกี่ยวข้องกับการรรักษาพยาบาล เพระาฉะนั้นเราอยากเห็นว่ามาตรฐานราคาตรงนี้ จริงๆแล้วมันควรทำให้คนสามารถใช้บริการแล้วในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งแรกๆข้อเสนอของกลุ่มประชาชน เราคิดว่าคนจะเริ่มกำกับจากกรณีฉุกเฉินด้วยซ้ำไปอย่างเช่นกรณียกตัวอย่างกรณีโรงพยาบาลพระราม 2 ก็ได้ว่าเขาไป ซึ่งเขาคิดว่าการที่เขาถูกสาดน้ำกรดฉุกเฉิน สำหรับเขาแต่ว่าทางโรงพยาบาลบอกว่าไม่ฉุกเฉิน เขาไปอีกทีหนึ่ง เขาเสียชีวิตเพราะฉะนั้นความรับผิดมันอยู่ตรงไหน ยังไง แล้วจริงๆประเด็นฉุกเฉินไม่ฉุกเฉินคุณจะดูเฉพาะความรู้สึกตัวของเขาไม่ได้ ควรจะให้ความสำคัญกับความฉุกเฉินของคนไข้ด้วย คืออย่างเช่นสมมุติว่าใครที่มีลุกเกิดลุกป่วยหนักมาก ไข้สูง ยังไงก็ฉุกเฉินสำหรับครอบครัวหรือความฉุกเฉินมันคงไม่ได้ดูอุณหภูมิ ดูความรู้สึกตัว ดูความดันอย่างเดียว แต่ว่ามันมันมีหลายองค์ประกอบแบบนี้เราเรียกร้องว่า ถ้าคุณไปแล้วไม่สีแดงคือสีแดงมันฟรี แต่เป็นสีเหลือง สีเขียว คนไข้ต้องจ่ายตังค์ก็ขอให้คิดในอัตราแบบฉุกเฉินคือเขาก็ยังพอจะจ่ายได้ถ้าคนที่ไป นั้นก็คือที่เราบอกว่าราคาเป็นธรรม ซึ่งหากเทียบเคียงกับ 2,000 รายการในกรณีฉุกเฉินถ้าไม่มีก็มาดูกันว่าจะเอากี่เท่าที่กำหนดไว้ในบัตรทองหรือประกันสังคมคือตัวเลขพวกนี้จริงๆมันก็มีอยู่แล้ว แต่ว่าอาจจะต้องมาตัดสินใจว่ามันจะกี่เท่าหรืออย่างเช่น กรณียกตัวอย่างบางทีดุเหมือนประเทศเราจะมีเตียงนอนเยอะ แต่บางทีเราก็มีปัญหาเหมือนกันว่าหาเตียงให้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนไข้ที่รักษาฟรี 72 ชั่วโมงเขาก็ไม่สามารถที่จะหาเตียงได้ เพระาฉะนั้นเมื่อเข้าหาเตียงไม่ได้ เขาจะต้องจ่ายในอัตราเงินสดหรือเขาควรต้องจ่ายในอัตราที่แบบฉุกเฉินซึ่งเราก็ขอว่า เห็นแก่คนที่หาเตียงไม่ได้เถอะ ขอให้ใช้อัตราแบบฉุกเฉินคิดเงินกับเขาจริงๆคุณก็ได้เงินมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราก็คิดว่าวิน-วิน ถ้าคุรลดค่ารักษาพยาบาลไปไม่เชื่าอว่าโรงพยาบาลจะเจ๊ง แต่ว่าคุณอาจจะมีคนไข้ไปรักษามากขึ้นทำให้กำไรคุณเท่าเดิมด้วยซ้ำไปถ้ามีคนไข้ไปรักษามากขึ้น เพราะฉะนั้นคิดว่าเราอยากเห็นความเป็นธรรมในเหล่านี้ว่า 800,000 ที่พูดกันมันเกินพอดีไหม มันไม่เป็นธรรมไหมมันทำให้ครอบครัวหนึ่งซึ่งเขาอาจจะไม่เคยป่วยเลย แล้วเขาก็รู้ว่าครั้งเดียว แต่เขาคิดว่าเป็นหนี้มันเกินไปไหม สิ่งเหล่านี้ที่เราอยากเห็นว่าเพราะฉะน้ันถ้าบอกว่าแจ้งราคา แต่ถ้าไปฉุกเฉินถูกส่งตัวไปไม่ได้มีโอกาสดูราคา เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้นมันก็เป็นแบบนี้ยกเว้นว่า อยากจะไปผ่าเข่า ซึ่งมันรอได้เราสามารถเลือกได้เองอันนี้ถือเป็นทางเลือก แต่ถึงเป็นทางเลือกยังไงคิดว่าถ้าโรงพยาบาลเอกชน เรามีเป้าหมายถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนเพื่อลดภาวะงานของภาครัฐ ลดความหนาแน่นของภาครัฐมันก็ไม่ควรจะแพงจนกระทั่งเรียกว่าค่ายา 70-400 เท่า มันก็เกินไปหรืออย่างเช่นยกตัวอย่างถ้าผ่าตัดสมอง หรืองานของทีดีอาร์ไอ บอกว่าแพงกัน 10 เท่า 11 เท่าในกรณีของเรียกว่าต้อกระจก 11.7 เท่า ไส้ติ่ง 8.3 เท่า เพราะฉะนั้นก็ต้องทบทวน เพราะว่าสิงคโปร์ 2.5 เท่าเขายังทบทวน
นงวดี- 2.5 เท่าในที่นี้ของสิงคโปร์หมายความว่า ความแตกต่างกันการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐและของโรงพยาบาลเอกชน คือห่างกันแค่ 2.5 เท่า แต่ของเรามีเป็น 400 เท่าก็มีหรือว่าบางเคสก็อาจ 10 กว่าเท่า 70 เท่าก็ยังมี
สารี- คือเราอยากให้มันชัดเจนอย่างเช่นบางประเทศไม่ได้ต่างกันเลย สิงคโปร์ แคนาดาหรือสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาล่าสุดเขาออกกฎหมายมาตัวหนึ่งเลยเห็นจากโอบาม่าแชร์เรียกว่าไพร์สซิ่ง ซึ่งเรียกว่าสมมุติไม่มีประกันสุขภาพซึ่งทุกคนในอเมริกาต้องมีประกันสุขภาพแล้วประกันสุขภาพก็จะเป็นคนจ่ายเขาใช้ระบบประกันสุขภาพกับค่ารักษาพยาบาล แต่บ้านเราวันนั้นสมาคมประกันชีวิตพูดชัดว่าขณะนี้ไม่สามารถมีแพคเกจประกันสำหรับเด็กต่ำกว่า 10 ขวบได้ ไม่มีเหตุผลอื่นเลยมีเหตุผลเดียวคือค่ารักษาพยาบาลแพงเพราะฉะนั้นบริษัทประกันชีวิตไม่สามารถมีแพคเกจประกันสุขภาพได้เพราะค่ารักษาพยาบาลแพง
นงวดี- หมายถึงว่าคุณพ่อคุณแม่ที่ซื้อประกันให้กับเด็กด้านสุขภาพอาจ
สารี - ถ้าต่ำกว่า 10 ขวบไม่มีทาง
นงวดี- ถ้ามีคือมันจะแพงมาก
สารี - ไม่มีแพคเกจแบบทั่วไปไม่มีแพคเกจขายพูดง่ายๆ ที่ตัวแทนประกันชีวิตพูดเพราะฉะนั้นในอเมริกา ถ้าใครไม่มีเงินซื้อประกันในขณะนี้จริงๆแล้วโรงพยาบาลอาจจะต้องรักษาฟรี หรือรัฐจ่าย หรือถ้าคนนั้นจ่าย จ่ายเท่ากับบริษัทประกันจ่ายหรือรัฐบาลจ่าย หรือในแคนาดาเขาก็มีblueprintกันอยู่แล้ว พอพวกเราทำเรื่องนี้ก็มีคนส่งข้อมูลมาให้เยอะมาก แล้วก็ในอเมริกาเขาก็บอกว่ามีblueprintที่เรียกว่าการคิดราคาเลย เราคิดตรงนี้ไม่ได้ ผิดกฎหมายหรือแม้กระทั่งสิงคโปร์ที่ดิฉันยกตัวอย่างก็ถ้าคิดเกินนี้ไม่มีเหตุผล ต้องคืนเงินผู้บริโภคอย่างเดียว ถ้าร้องเรียนเพราะฉะนั้นถ้ากระทรวงพาณิชย์บอกว่า เราจะขอเเจ้งราคาในเว็บไซต์ก็ดี แจ้งราคาในแฟ้มของโรงพยาบาลก็ดีดิฉันคิดว่าไม่พอ เพราะเวลาเขาร้องเรียนไปว่า 800,000 คุณใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าแพงหรือถูกหรือเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเราคิดว่าแนวทางแน่นนอนมันต้องหาแนวทางที่มันพอดี ซึ่งดิฉันเสนอขณะนี้มันควรจะใช้แนวทางที่โรงพยาบาลเอกชนยอมรับยูเซป หรือทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นต้นแบบแล้วก็ดูว่าในภาวะปกติเราจะให้โรงพยาบาลคิดแพงมากไปกว่ายูเซป อีกกี่เท่าก็ตกลง ยูเซป อาจจะรู้สึกว่านี้เป็นหน้าที่ของเขาตามกฎหมายพ.ร.บ. สถานพยาบาลเพราะฉะนั้นเขาไม่มีได้มีกำไรมากแต่ไม่ได้ขาดทุน แต่ว่าในปกติที่เขาจะต้องคิดต้นทุนทุกอย่างแล้วก็มีกำไรกี่เปอร์เซ็นต์มันควรจะคิดราคาซักเท่าไหร่แต่ดิฉันคิดว่ามันควรยังเป็นราคาที่เป็นธรรม
นงวดี- แสดงว่าอย่างยูเซปก็มีข้อมูลหรือมีตัวเลขอยู่แล้วว่า ถ้าเจ็บป่วย ฉุกเฉิน โรคนี้ราคาประมาณนี้เขาจะมีลิสต์ 2,000 รายการอยู่แล้ว ซึ่งพี่สารีคิดว่าตรงนี้จะเป็นเบนซ์มาร์คให้บ้านเราได้
สารี - คือหมายถึงว่าเบนซ์ มาร์คในกรณีฉุกเฉิน แล้วก็ถ้าไม่ฉุกเฉินที่เป็นทางเลือก
นงวดี- จะบวกอีกกี่เปอร์เซ็นต์
สารี - เพราะว่าแน่นอนดิฉันคิดว่าผ่าตัดเข่า ถ้ามันเส้นเลือดมันไม่ได้แตกแล้วก็เข่าเสื่อมมันไม่ฉุกเฉินมันปวดแต่ว่ามันก็รอได้ ทานยาแก้ปวดแต่ถ้าในกรณีฉุกเฉินอย่าเช่น เส้นเลือดฉีกขาด มันอาจจะเป็นเรื่องเพราะฉะนั้นถ้าไม่ฉุกเฉิน แต่ว่ามันก็ไม่ควรที่จะทำให้แม้กระทั่งคนชั้นกลางก็ยังเข้าไปใช้บริการไม่ได้ หรือทุกปีราคาของคุณที่ขึ้นไปเรียกว่าไม่เคยล้อดัชนีผู้บริโภคดิฉันคิดว่า หรืออย่างเช่นถ้าเราเขาบอกว่าถ้ามันทำให้หุ้นตกก็มีโอกาสไปดูหุ้นก็พบว่าบางโรงพยาบาลที่พบว่าของคุณตกจริงๆเดิมก่อนหน้านี้คุณเคยตกมากกว่านี้อีก สารี- บางโรงพยาบาลที่บอกว่าคนตก จริงๆเดิมก่อนหน้านี้คุณเคยตกมากกว่านี้อีก อย่างเช่น 15-16 บาท จากเดิมคุณเคยอยู่ถึง 6 บาท คือดิฉันคิดว่ามันไม่ใช่ปัจจัยเหล่านี้หรอก หรือว่า อีกวันหนึ่งก็มีข่าวว่าอีกเจ้าหนึ่งซื้อของอีกเจ้าหนึ่งไป 13,000 ล้าน อันนั้นหรือเปล่าที่ทำให้หุ้นตก หรือมันสมควรไหมที่กำไรถึง 33.7 เปอร์เซ็นต์ 3 ไตรมาส เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ซึ่งเรียกว่าธุรกิจที่จำเป็นต่อชีวิตก็แล้วกัน ธุรกิจยา บริษัทยาหรือธุรกิจอาหารที่เราต้องทานกันทุกวันหรือแม้กระทั่งน้ำมัน ดิฉันคิดว่ากำไรมันสูงเกินไป ที่เพดานมันเป็นเพดานที่เรารับไม่ได้ แล้วก็ถ้าเราไปดูโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วรับใช้ระบบรับประกันสุขภาพ เขาก็อยู่ที่ 4,5,6, เปอร์เซ็นต์ แล้วเขาก็ขยายตึกของเขาได้ เเพราะนั้นดิฉันคิดว่า มันตรงไหน ยังไง คือรัฐบาลจะบอกว่าจะไม่ทำให้โรงพยาบาลเอกชนเดือดร้อน ซึ่งดิฉันคิดว่าแน่นอนโรงพยาบาลเอกชนย่อมไม่ต้องการให้ควบคุมราคาอยู่แล้ว แต่ว่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องทำให้บริการสุขภาพทุกคนต้องเข้าถึงได้ แล้วก็ด้วยราคาที่เป็นธรรม ถึงแม้ว่าบางอย่างคุณอาจจะมองว่าเป็นทางเลือก แต่ก็มันควรจะผ่อนปรนภาระของโรงพยาบาลของรัฐบาลด้วย
นงวดี- ค่ะ ทีนี้อาจจะต้องมาคุยกัน ซึ่งไม่รู้ว่าท่าทีของโรงพยาบาลเท่าที่พี่สารี ได้คุยกันกับหลายๆส่วน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือหลักการมันตรงกันหรือเปล่า อย่างเช่นว่า ที่เรากำลังพูดว่า โรงพยาบาลเอกชนน่าจะมีบทบาทหน้าที่ส่วนหนึ่งในการ ลดภาระงาน ภาคบริการการแพทย์ของภาครัฐ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าฟังสะท้อนมุมมองจากทางฝั่งโรงพยาบาลเอกชนก็บอกว่า จริงๆเขาก็มีต้นทุนแล้วก็จริงๆ ประชาชนมีทางเลือก ที่จะไปบัตรทอง ไปนู้น ไปนี่ 30 บาท อะไรก็ว่ากันไป สวัสดิการสังคม อะไรแบบนี้ก็มี คือดูเหมือนว่าหลักการจะไม่ค่อยตรงกันหรือเปล่าค่ะ หรือว่ามีคุยอะไรกันในเรื่องนี้อย่างไรไหมค่ะ
สารี- จริงๆ ก็มีโอกาสได้คุยตอนที่ 2 ครั้ง ที่ท่านรัฐมนตรีเรียกไปคุยนั้นแหละค่ะ แต่ดิฉันคิดว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องหาข้อตกลง แต่ดิฉันคิดว่าภาครัฐเองจะมีส่วนสำคัญมาก ว่าคุณ เราไม่ได้ต้องการแค่แจ้งราคาเพราะฉะนั้นเนี่ย เราต้องการให้กำกับราคาแล้วตรวจสอบได้ ดิฉันต้องยืนนะค่ะว่า ต้องตรวจสอบได้ว่า ที่ดิฉันบอกว่า 8 แสน เนี่ย มันแพงไปไหมต้องตรวจสอบได้และถ้าแพงไปคุณก็ต้องคืนเงินให้ผู้บริโภคหรือคุณก็ต้องลดราคา อย่าพูดว่าคืนเงินเลย พูดว่าคืนเงินมันอาจจะดูรุนแรงไป แต่ว่าถ้ามันเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรม แต่ว่าถ้าคุณบอกว่าราคาที่เป็นธรรม ถ้าคุณไม่มีเบนซ์ มาส ดิฉันคิดว่าเราไม่มีทางออก เพราะฉะนั้น ถ้าโรงพยาบาลเอกชนบอกว่าผมเป็นทางเลือก เราผู้บริโภคเราก็จะได้ไปรณรงค์ว่าต่อไปนี้คุณไม่ต้องไปใช้โรงพยาบาลเอกชน ถูกไหม เพราะว่าคุณต้องรู้นะถ้าคุณไปใช้โรงพยาบาลเอกชนหมดตัว ไม่มีใครช่วยอะไรคุณได้เลยนะ ถ้ารัฐบาลบอกว่าต้องการแค่แจ้งราคา อันนี้ผู้บริโภคก็ต้องรู้นะเพราะฉะนั้นเราต้องไปทำโรงพยาบาลรัฐให้ดี แต่ดิฉันคิดว่าจริงๆ การเกิดของโรงพยาบาลเอกชนมันต้องการลดภาระในหน่วยงานของรัฐ และเพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน แล้วก็ต้องไม่ลืมนะคะว่าหมอที่อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดจริงๆก็ใช้เงินของประเทศ เพราะว่าทุกคนเรียกว่ามีระบบงบประมาณสนับสนุนการผลิตแพทย์ทุกคน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันก็ต้องมีส่วนในแง่ของการที่จะเรียกว่าผ่อนปรนภาระ แล้วอย่างที่ดิฉันเรียนว่าสิ่งที่เราอยากเห็นมากก็คือ ถ้าโรงพยาบาลเอกชน ที่หลายคนก็บอกว่า ถ้าเขาแพงก็ไม่เห็นกระทบอะไรกับคุณถ้าคุณไปใช้บัตรทอง ไม่จริงนะ เพราะว่าเมื่อไหร่ที่โรงพยาบาลเอกชนแพง ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนก็เกี่ยงที่จะอยู่ในระบบบัตรทอง คุณก็จะลาออก คุณบอกว่าจ่ายคุณน้อย จ่ายคุณน้อยบ้าง คุณไม่พอนู้น นี่ นั้น เพราะพอมันแพงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราไม่มีอะไรที่กำกับเลยว่าเท่าไหร่มันถึงพอดี เพราะฉะนั้นมันทำให้โรงพยาบาลที่อยู่ในบัตรทองหวั่นไหว แล้วพอหวั่นไหว แน่นอนถ้าคุณเพิ่มเพดานโดยที่คุณไม่รู้ว่าเท่าไหร่คือความพอดี มันก็กระทบต่องบประมาณของบัตรทอง กระทบต่องบประมาณของทุกส่วน นั้นก็คือกระทบต่องบประมาณของแผ่นดินโดยภาพรวม แล้วจริงๆก็ทำให้เกิดการกระจายของแพทย์ หรือเรียกว่า สมองไหลอย่างแพทย์ก็ได้ ไปสู่โรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น เราก็ต้องยอมรับสภาพว่าเราก็ต้องรักษากับแพทย์ที่จบใหม่หรือแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่า แต่ในขณะที่ก็ต้องบอกว่าเราเป็นคน ส่วนใหญ่ 40 เรียกว่า 47 ล้าน บวก ประกันสังคมแรก 11 ล้าน ข้าราชการอีก 5 ล้าน เพราะฉะนั้นคือ คนเหล่านี้ก็ควรได้รับการบริการที่ดีสมกับประเทศเราผลิตหมอออกมามากมายถูกไหม เพราะฉะนั้นเนี่ยดิฉันคิดว่าตรงนี้ก็ต้องตอบคำถามกันทั้งหมด แล้วก็ตรงไหนที่เรียกว่ามันพอดี คือเราก็คิดว่าการเรียกร้องของพวกเราไม้ได้หมายให้โรงพยาบาลเอกชนขาดทุน ดิฉันไม่เชื่อว่าเราจะทำให้เขาขาดทุน แต่เราทำให้เขาคิดทำแล้วมีคนไปใช้บริการ เราเชื่อว่าถ้าเขาคิดค่าบริการที่เป็นธรรม มีคนไปใช้บริการของเขามากขึ้น สุดท้ายกำไรเขาก็ไม่ได้ลดลง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าตรงนี้มันเป็นเรื่องที่ต้องการการกำกับ ดิฉันก็มักพูดเสมอว่าถ้าเราอยากให้เกิดการกำกับแน่นอนขณะนี้กระทรวงพาณิชย์เห็นด้วยกับเราแล้วว่าคุยกับโรงพยาบาลเอกชนอย่างเดียวไม่ได้เพราะว่าเขาคงไม่อยากลดราคา ถูกไหมคะ เวลาเราจะคุมน้ำมัน ราคาน้ำมันเนี่ย บริษัทน้ำมันไม่อยากให้คุมหรอก ซึ่งก็เหมือนกันกับโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลเอกชนก็ไม่อยากให้คุมหรอก แต่รัฐต้องมีหน้าที่ในการกำกับค่ารักษาพยาบาลที่มันไม่มีเหตุผลไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ดิฉันคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานแล้วก็จริงๆ กกล. ทบทวนได้ทุกปีถ้าเรากำกับแล้วตรึงไป อย่างเช่น ดิฉันยกตัวอย่าง ยูเซป บอกว่าผ่าตัดสอมงคุณ 200,000 โรงพยาบาลเอกชนบอกว่าถ้าเขาผ่าเขาขอเพิ่มกว่านี้อีกเท่าหนึ่ง สมมุติ 400,000 ดิฉันก็คิดว่ามันยังถูกกว่า 800,000 ที่ถูกเรียกเก็บ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการอะไรที่เขาไม่ขาดทุนแต่ว่ามันพอดีที่คนสามารถจะจ่ายได้แล้วเขาไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินสิ่งนี้คือสิ่งที่เราอยากเห็นแล้วเราคิดว่ารัฐบาลต้องทำไปให้ถึงตรงนั้น ตอนนี้ดิฉันก็ ต้องเรียนคุณนงวดี ว่า เราก็เรียกร้องให้ประชาชนร้องเรียน คือถ้าคุณรู้สึกว่าคุณเป็นหวัด คุณมีประกันสุขภาพแล้ว คุณไปแล้วยังต้องเสียเงินเพิ่มเพราะอะไร เพราะจริงๆแล้วก็ต้องบอกว่าประกันสุขภาพก็พยายามที่จะโคฟเวอร์ ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นจริงๆนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องหนึ่งเลยที่อาจจะเป็นแนวทางว่า ถ้าดิฉันมีประกันเอกชนไม่ควรที่จะเรียกเงินดิฉันเพิ่มน่าจะพอ อันนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งง่ายๆ หรือถ้าประชาชนรู้สึกว่าการไปอยู่เป็นคนไข้นอก เราควรจะมีสิทธิ์ไปซื้อยาข้างนอกได้ ขณะนี้ถึงแม้บอกว่าเรามีสิทธิ์ กระทรวงสาธารณสุขพูดชัดว่าไม่ได้ห้ามเลยที่ประชาชนจะไปซื้อยาข้างนอก ไม่มีกฎหมายอะไรห้าม แต่ถ้าถามว่ามีคนสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำได้น้อยมาก ยกเว้นคุณไปหาจนสนิทกับคุณหมอ แล้วคุณก็บอกกับคุณหมอว่า หมอขอโทษนะเราไม่มีเงินเลย เราเคยพูดแบบนี้นะ คือป้าเราเนี่ยรักษาอยู่โรงพยาบาลเอกชนที่หนึ่ง แต่ไม่ได้รักษาอะไรมาก เพราะแกไม่ได้มีโรคอะไร 80 กว่า 90 เนี่ย ไปทุกครั้งเราคิดว่า ถ้าครั้งละ 1,000 กว่าบาท 2 - 3 พัน เราก็พอรับได้นะ เราก็บอกหมอว่าคุณป้าเขาไม่มีลูก เพราะฉะนั้นเราเป็นญาติเราก็ต้องดูแล เราขอไปซื้อยาข้างนอก เราทำได้ แต่ว่ามันมีคนไข้อีกน้อยมาก ต้องบอกว่าอำนาจต่อรองมันต่ำมาก ยกตัวอย่างกรณีที่เราเกิดขึ้นเมื่อคนไข้เสียชีวิต เป็นเพราะเราไม่มีอำนาจต่อรองกับโรงพยาบาลเลย เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ตรงนี้ให้ชัด ประชาสัมพันธ์เลย ว่าถ้าคนไข้นอก คนไข้มีสิทธิ์ไปซื้อแน่นอน แต่ถ้าคนไข้ในก็คงยาก แล้วจริงๆเหตุยาที่แพงเนี่ยส่วนหนึ่งก็เป็นคนไข้ในด้วยที่แพง แต่คนไข้นอกก็แพง เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้นอกรู้สึกว่าแพงก็มีสิทธิ์ไปซื้อข้างนอก ดิฉันคิดว่ามันก็ต้องมีแนวทาง ทางออกให้กับคนที่มาใช้บริการบ้าง แล้วก็ถ้าเขารู้สึกว่าเขาก็อยากลดความหนาแน่นของโรงพยาบาลรัฐ เพราะฉะนั้นเขาก็ไปใช้ทรัพย์พยากรณ์ที่อื่นยกเว้นกรณีที่มันต้องผ่าตัดเยอะ เขาก็อาจไปใช้โรงพยาบาลรัฐ เพราะอันนี้มันก็ลดภาระโรงพยาบาลรัฐไปด้วย เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าตรงนี้ก้ต้องมาช่วยกันคิดว่าแล้วยังไงที่มันไม่เป็นภาระของฝั่งผู้บริโภค
นงวดี- แล้วในปาร์ตี้ที่จะอยู่ในคณะอนุกรรมการที่ว่านี้นะค่ะ พี่สารีประเมินดูแล้วคือ น่าจะมีหลายหน่วยงานเหมือนกันใช่ไหมค่ะ จะคุยกันลงไหมค่ะ มีประกัน มีอะไรอย่างนี้ด้วย โรงพยาบาลอะไรอย่างนี้่ด้วย คือจะอยู่ในคณะกรรมการด้วยกันทั้งหมด
สารี- ดิฉันคิดว่า ถ้าดู โรงพยาบาลเอกชนที่อาจจะเป็นเจ้าเดียวที่อาจจะไม่เห้นด้วยกับการมีราคาอ้างอิง คือเขาบอกว่าขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข มีแนวทางให้เขาแล้ว แต่ต้องเรียนว่าแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขออก กระทรวงสาธารณสุขเป็นคนบอกกระทรวงพาณิชย์เอง ว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีอำนาจในการกำกับเรื่องราคา แต่แนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขบอกเป็นเพียงแนวทางการคิดราคาไม่ใช่แนวทางการกำกับราคา อย่างเช่นยกตัวอย่างว่าให้น้ำเกลือ มันมีทั้งน้ำเกลือ เข็มฉีดยา มีสายน้ำเกลือ และมีคนแทงเข็ม ไม่ได้ให้คุณแยกคิดว่าน้ำเกลือราคาหนึง สายราคาหนึง เข็มราคาหนึง คือต้องคิดเป็นชุดของการให้บริการอันนั้นคือแนวทางการคิดราคาแต่ไม่ใช่ราคาอ้างอิงที่ดิฉันเรียนคุณนงวดีว่าราคาอ้างอิงเหมือนอย่างที่ ที่ดิฉันตั้งคำถามว่ายูเซปผ่าตัดสมอง 200,000 บาท บัตรทองกับประกันสังคม 50,000 - 100,000 บาท เพราะฉะนั้น 800,000 บาท ราคาอ้างอิงเราจะใช้เท่าไหร่ นี่คือสิ่งที่ดิฉันคิดว่าประชาชนอยากเห็น และก็อาจไม่ตึงมากกับโรงพยาบาลเอกชนแต่ต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภค แต่ดิฉันคิดว่ามันไม่ควรเป็น 800,000 บาท ถ้าอย่างนี้เราต้องไปตั้งคำถามว่าบัตรทองผ่าตัดสมองไม่มีมาตรฐานหรือ ถึงจ่ายราคานี้กรณียูเซปคุณผ่าตัดสมองแล้วไม่มีมาตรฐานหรือ นี่ของโรงพยาบาลเอกชนเองนะ มันก็ไม่ใช่ถูกไหม เพราะดิฉันคิดว่ามาตรฐานการรักษาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยเขาดูแลอยู่ภายใต้มาตรฐานทั้งหมด แต่อย่างที่บอกถ้า 800,000 บาท เป็นค่าห้องสักเท่าไหร่ ซึ่งอันนี้อาจเป็นเรื่องของความ luxury ของคุณ หรือมีทีวีจอแบบใหญ่ๆ อะไรอย่างนี้ แต่เชื่อว่าโดยแนวทางมาตรฐานการผ่ามันไม่แตกต่างกัน เพระาฉะนั้นการคิดราคามันไม่ควรห่างกันมาก หรือเราจะเอาแบบสิงคโปร์ก็ได้นะ 2.5 เท่า
นงวดี- กำหนดเท่าไปเลย ว่าไม่ควรเกินนี้ ประมาณนี้ถึงโอเค
สารี- 2.5 เท่านะ แบบสิงคโปร์เลยก็ได้ แต่ไม่ใช่ 70-400 เท่า หรือ 11 เท่า 14 เท่า คิดว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็นมันสร้างภาระให้ผู้บริโภคมากเกินไป
นงวดี- ขอถามแบบนี้คะ พี่สารี จุดที่เป็นราคาทั่วไปทั้งหมด จุดที่เซนซิทีฟคิดว่าเป็นค่าแพทย์ไหม เพราะหลายมุมมองมันก็คิดลำบากเหมือนกัน เพราะว่าคุณหมอระดับอาจารย์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อีก ใช้ตรงนี้มาเป็นประเด็นด้วยไหม
สารี- คือจริงๆ ถ้าเราดูมันไม่ได้เป็นประเด็นมากนะ เพราะว่าอย่างคนไข้บัตรทองคนไข้ประกันสังคมหรือยูเซป จริงๆการผ่าตัดสมองก็ต้องใช้ระดับอาจารย์แพทย์กันทั้งนั้น ในบางประเทศเขาก็มีแนวทางที่ยกตัวอย่างไป พูดเยอะคือสิงคโปร์แต่มีบางประเทศนะที่เขาคิดค่ารักษาพยาบาลตามน้ำหนักโรค หรือ DRG ตามกลุ่มโรคอะไรทั้งหลาย ซึ่งอันนี้ของบัตรทองเขาให้น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 8,500 บาท ปีนี้จะเป็น 8,700 บาท ประกันสังคมอยู่ที่ 10,000 บาทนิดๆ เพราะฉะนั้นของโรงพยาบาลเอกชนคุณจะเอาแบบไหน ในกรณีฉุกเฉินยูเซปเขาใช้วิธีจ่ายตามการรักษาเลย ซึ่งคล้ายกับสวัสดิการค่าราชการคือรักษาเท่าไรห่จ่ายเท่านั้น ซึ่งเหมือนที่ยูเซปที่เราเห็นว่ากรณีฉุกเฉินเราต้องช่วยชีวิตก่อน ข้อดีของ DRG คือว่ากรณี 1 เซนติเมตร อย่างโดนมีดปอดผลไม้ไม่เกิดแน่นอน ความเป็นเหตุเป็นผลมันจะมากขึ้นหลายคนก็เชียร์แบบนี้ ว่าเพื่อที่จะลดการรักษาที่ไม่มีความจำเป็น และเราก็มีเรื่องร้องเรียนนะ อย่างเช่นคนไข้ไปนอนโรงพยาบาลวันหนึ่งมีหมอมาเยี่ยมทุกความเชี่ยวชาญไปหมด ซึ่งแบบนั้นเราก็ต้องจ่ายค่าแพทย์ ซึ่งมันควรดูว่าเราไปด้วยโรคอะไร มันต้องดูความเชี่ยวชาญด้านนั้นอย่างเดียวก็พอ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ขณะนี้มันกำกับได้ ไม่ใช่วันหนึ่งเราไปนอนอยู่แล้วมีคนบอกว่า ต้องเสียค่าหมอ 32 คน ที่ประมาณ 1 เดือนที่เขาไปนอนอยู่ที่โรงพยาบาล คือก็ไม่น้อย หรือในอเมริกาค่าแพทย์เขาคิดตามความยากง่ายของการรักษาโรค แน่นอนว่าอย่างโรคง่ายๆ อย่างท้องเสียค่าแพทย์ก็ต้องน้อยกว่าโรคผ่าตัดสมองแน่นอน ของเขาเบ็ดเสร็จใน 28 วัน คุณจะคิดว่าแพทย์เพิ่มอีกไม่ได้เลย อย่างเช่น เราผ่าตัดเสร็จเราไปติดตามอาการภายใน 28 วัน คุณจะคิดว่าแพทย์เพิ่มอีกไม่ได้อีกแล้วเพระาถือว่ารวมอยู่ในการคิดเงินครั้งแรก มันมีหลายวิธีแต่คิดว่าทั้งหมดมันมีเพดาน แม้กระทั่งแคนาดา ญี่ปุ่นจ่ายเท่ากันเลย ซึ่งทำให้ดิฉันเชื่อว่าโรงพยาบาลรัฐเราจะเป็นที่พึ่งได้มากขึ้นมันหมายถึงว่าเราต้องมีเงินที่เพิ่มให้กับโรงพยาบาลรัฐ อย่างเช่นบางพรรคขณะนี้มีนโยบายเลยว่าเขาจะจ่ายให้ 4,000 บาท ซึ่งตอนนี้มันอยู่ที่ 3,000 กว่าบาท ซึ่งคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันกำกับ โอเคเราอาจไม่ได้มีเงินมากแต่เราสร้างระบบหลักประกันได้ ถ้าเราทำได้ เราต้องทำให้ดีถูกไหม แล้วโรงพยาบาลเอกชนก็จะกลายเป็นทางเลือกจริงๆ ขณะที่ยกตัวอย่างความสมบูรณ์เวลาเราเลือกโรงพยาบาล นึกถึงเราอยู่หนองจอกเขาต้องมาเลือกโรงพยาบาลในเมืองโอกาสที่เขาจะมาใช้ก็ยากแล้ว ยกเว้นกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรครักษายากหรือมะเร็ง อย่างเส้นรามคำแหงไม่มีโรงพยาบาลรัฐบาลเลย บริบทการกระจายตัวของโรงพยาบาลเหล่านี้มันก็เป็นอะไรที่ไม่ใช่เป็นเรื่องทางเลือก และที่ยกตัวอย่างชัดเจนอย่างกรณีฉุกเฉินคิดว่าตรงนี้เราก็อยากเห็นความเป็นเหตุเป็นผลในแง่ของการกำกับของรัฐที่ต้องทำไม่อย่างนั้นจะส่งผลกระทบต่อระบบใหญ่ระบบสุขภาพ
นงวดี- คือต้องมีบ้างอย่างการกำกับดูแล ซึ่งที่ผ่านมาจะบอกว่าไม่มีเลยก็ไม่น่าจะผิดสักเท่าไหร่ ซึ่งสามารถคิดค่าบริการหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือค่าแพทย์ก็ตาม คือประชาชนป่วยก็เข้าโรงพยาบาลบิลออกมาแค่ไหนก็แค่นั้น ยาจ่ายแค่ไหนก็ประมาณนั้น
สารี- หรืออย่างบางประเทศถ้าเขาดูราคาเขาก็ดูแค่ไหนก็แค่นั้น แม้กระทั่งดูอาหารบางอย่างเทียบเคียงรายได้ ซึ่งของเราก็ควรเหมือนกันถูกไม่ อย่างเขาดูบิ๊กแมคชิ้นหนึ่งกับรายได้ขั้นต่ำของเราก็ควรเหมือนกัน พอคุณพูดว่าทางเลือกแสดงว่าคุณปิดทุกคนเลยแต่จริงๆแล้วบริการอะไรก็ตามถ้าประชาชนเข้าไม่ถึงก็ไม่มีความหมาย โดยคิดว่ามันควรเป็นหลักการว่าการเข้าถึงบริการจำเป้นขั้นพื้นฐาน คุณจะบอกว่ามีหน่วยบริการแล้วและต้องยอมรับว่า ขณะนี้ไปใช้บริการในฉุกเฉินยังไม่ฉุกเฉินเลยหรือการเลือกหน่วยบริการ และโดยเฉพาะที่ดิฉันคิดว่าที่เป็นปัญหามากที่สุดคือกรุงเทพฯ เพราะต่างจังหวัดเขามีหน่วยบริการที่เขาสามารถเลือกได้ใกล้บ้าน อย่างเราอยู่อนุสาวรีย์ชัยบางทีเรายังเลือกโรงพยาบาลใกล้อนุสาวรีย์ชัยไม่ได้เลยเพราะมันเต็ม เพราะฉะนั้นมันมีปัจจัยเยอะที่มันจะเลือกและบางทีโรงพยาบาลใหญ่ก็ไม่เปิดรับ คือคิดว่าถ้าเราทำทุกอย่างให้สมบูรณ์เขาจะเลือกโรงพยาบาลเอกชนน้อยที่สุดอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้มันยังไม่เป็นแบบนั้น และเมื่อมันยังไม่เป็นแบบนั้นคิดว่ามันมีความสำคัญที่ต้องกำกับดูแล
นงวดี- เอาละคะ ก็เป็นเรื่องที่ถ้าเป็นไปได้จริงๆ และทำได้จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดงเลย สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และเรากำลังจะมีการเลือกตั้งแล้วด้วย และเราสามารถผลักดันออกมาได้ก่อน ก็เชื่อว่าจะเป็นเรื่องหลักที่มีน้ำหนักที่ได้ใจประชาชน และหวังว่าการประชุมคณะอนุกรรมการครั้งแรกใช่ไหม พี่สารี
สารี- ใช่คะ
นงวดี-ในเดือนมกราคม ภายในสัปดาห์นี้และเรารอดูว่าหน้าตาออกมาจะเป็นอย่างไร จะมีความหวังหรือเปล่าว่าจะได้มีการเข้าไปกำกับดูแลค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมไปถึงค่าบริการทางการแพทย์ด้วยให้ออกมาโดยเร็วที่สุดคะ สำหรับวันนี้ต้องขอบคุณมากค่ะหมดเวลาแล้วนะคะคนเคาะข่าวลาไปก่อน เราพบกันทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี นะคะ วันนี้สวัสดีค่ะ