xs
xsm
sm
md
lg

เผยผลวิจัย ม.เชียงใหม่ ชี้หน้ากากห้องผ่าตัด เพิ่มผ้าเช็ดหน้า-กระดาษทิชชู่ประกบ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ชี้หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura mask) ลดระดับ PM 2.5 ลงไปได้ปานกลาง แต่แนะเพิ่มผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชู่ยัดลงไป แต่ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้าหรือหน้ากากผ้า ไม่สามารถป้องกันได้

จากกรณีที่มีการถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย ที่จะใช้ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐานและกำลังมีผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในขณะนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า ในโลกโซเชียลได้มีการเผยแพร่รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการพัฒนาชุดความรู้ด้านประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก โดย ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคํานวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร. ขนิษฐา พันธุรี Thaneyhill ภาควิชาเคมีคลีนิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

โดยบทคัดย่อระบุว่า ได้ทําการตรวจประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นต่อการป้องกันอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ใน อากาศ โดยทําการวัดระดับรายวัน (24 ชั่วโมง) ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (PM 2.5) ภายในอาคารและ ภายนอกอาคารในอากาศจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2551 โดยตั้งเครื่องเก็บอากาศ Minival air sampler เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศภายนอกอาคารที่ระเบียงทางเดิน ชั้น 2 ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเก็บตัวอย่างอากาศภายในอาคารในห้องปฏิบัติการ Bioassay Research Laboratory ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดระดับ PM 2.5 ในอากาศทั้งภายนอกและภายใน อาคารได้ประมาณ 87-96 % ส่วนหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura) สามารถลดระดับของ PM 2.5 ได้ประมาณ 48% การใช้ ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูซ้อนอยู่ใน Mask dura สามารถลดระดับ PM 2.5 ได้ดีขึ้น ถึงมากกว่า 75 - 90%

จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนในสารสกัดจากตัวอย่างอากาศที่เก็บโดยการทํา Ames test พบว่าตัวอย่างสารสกัดเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ทําให้เกิดการกลายของหน่วยพันธุกรรมของแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา ชัยฟมิวเรียมสายพันธุ์ TA98 และ TAI00 ในภาวะที่มีการกระตุ้นจากเอนไซม์ (459) ส่วนสารสกัดจากอากาศเตือนอื่น ๆ ไม่พบความเป็นพิษต่อยืน การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนที่ปนเปื้อนในอากาศทั้งภายนอกและภายในอาคารได้

ในด้านความเป็นพิษต่อเซลล์โดยการทดสอบ MTT พบว่าสารสกัดฝุ่นเดือนมกราคม กุมภาพันธุ์ และ พฤษภาคม-มิถุนายน ที่ความเข้มข้น 100 qg/ml มีความเป็นพิษต่อเซลล์ปอด (A549) และเซลล์เม็ดเลือดขาว (1-774.1) สามารถทําให้เซลล์ถุงลมปอด A-549 ตายประมาณ 40% การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด Dura ไม่ สามารถป้องกันอันตรายได้ เพราะจํานวนเซลล์ที่ตายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่มีแนวโน้มว่าหน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A ลดความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ 4-549 ได้ เพราะสาร สกัดจากอากาศที่ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทั้งสองชนิตทําให้เซลล์ A-549 ตายน้อยลงประมาณ 20 % และการ ใส่กระดาษทิชชูซ้อนลงไปในหน้ากากชนิด Durn อาจจะช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์ลงได้ ตัวอย่างอากาศ ทั้งจากภายนอกและภายในอาคารที่เก็บในเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ มีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว 1-774. และฤทธิ์เป็นพิษอย่างรุนแรง เพราะสามารถทําให้เซลล์ตายมากกว่า 80 % และฤทธิ์ทําลายเซลล์นี้ ขึ้นกับความเข้มข้นและเวลาที่ผสม การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทุกชนิดไม่สามารถป้องกันความเป็นพิษต่อ เซลล์ 1-774.1 ได้

คณะผู้วิจัยได้นําหน้ากากป้องกันฝุ่นชนิดต่างๆ มาทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจาก ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ในอากาศ ทําการศึกษา โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศ คือ AIRmetrics MiniVol portable Sampler และเก็บอากาศในช่วงที่อากาศเชียงใหม่มีมลภาวะระดับสูง (เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2551) โดยเปรียบเทียบระดับ 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 ในตัวอย่างอากาศที่เก็บเมื่อมีหน้ากากป้องกันฝุ่น กับ ตัวอย่างอากาศเมื่อไม่มีหน้ากาก จากการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิดต่าง ๆ พบว่ามีหน้ากากบางชนิดสามารถลดระดับ 24 ชั่วโมงของอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ในอากาศได้

ผลจากการวิจัยครั้งนี้มีข้อแนะนําได้ว่า อาจใช้หน้ากากชนิด 3M 8210 หรือ 3M 9002A หรือหน้ากากชนิดที่ใช้ทั่วไปในห้องผ่าตัด (Durat mask) เพราะสามารถลดระดับของอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ได้ โดยหน้ากากชนิด 3M 8210 หรือ 3M 9002A สามารถกรองอนุภาค PM 2.5 ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura mask) ลดระดับ PM 2.5 ลงไปได้ปานกลาง แต่อาจจะเพิ่มขึ้นได้โดยเพิ่มผ้าเช็ดหน้าหรือ กระดาษทิชชูประกบลงไปในหน้ากากชนิดนี้ ส่วนการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้าหรือหน้ากากผ้าที่ประชาชนทําขึ้นมาเอง ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ในอากาศได้

การวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นเพื่อสามารถใช้แนะนําประชาชนที่จะป้องกันตนเองเบื้องต้น เมื่อต้องเผชิญกับระดับอนุภาค PM2.5 หรือ PM10 ในระดับวิกฤต





กำลังโหลดความคิดเห็น