xs
xsm
sm
md
lg

“จ่าภิญโญ” แนะอีกครั้งเวลาถูกงูกัด แนะห้ามขันชะเนาะ-ห้ามดูดพิษงู ชี้ไม่ทำให้อาการดีขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“จ่าภิญโญ” หนุ่มดับเพลิงกู้ภัยบางเขน ผู้เชี่ยวชาญในการจับงู แนะวิธีปฐมพยาบาลเวลาถูกงูกัด ล้างแผลให้สะอาด เคลื่อนไหวบริเวณงูกัดให้น้อยที่สุด แล้วรีบไปพบแพทย์ อย่าเชื่อขันชะเนาะ หรือ รัดแบบแน่นๆ และไม่ควรดูดพิษงู เพราะไม่มีอะไรดีขึ้น

วันนี้ (31 ธ.ค.) จ.ส.ต.ภิญโญ พุกภิญโญ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญการ สำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ประจำสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวให้คำแนะนำกรณีถูกงูกัด หลังชาวบ้านรายหนึ่งแจ้งว่า มารดาถูกงูกัดรอยลากยาว 2 จุด กระทั่งมาถึงที่เกิดเหตุ ทำการค้นหา พบเป็นงูเขียวหางไหม้บริเวณไม้เลื้อยริมหน้าต่าง โดยแพทย์ทำการให้เซรุ่มจนอาการดีขึ้น

“อยากจะฝากถึงการปฐมพยาบาล กรณีถูกงูกัดไว้ 3 ข้อที่สำคัญ คือ ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ, เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด เพื่อลดการดูดซึมพิษงู และไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด แค่นี้ก็ปลอดภัยแล้ว”

จ.ส.ต.ภิญโญ กล่าวว่า สิ่งที่ไม่ควรทำเลย คือ “ห้ามขันชะเนาะหรือรัดแบบแน่นๆ” ไม่มีการคลาย ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันมาแบบผิดๆ แต่โบราณ ไม่อย่างนั้น อาจจะถูกตัดอวัยวะ เนื่องจากเลือดไม่ไปเลี้ยง ส่วนงูที่จับได้เอาไปด้วยก็ดี แต่ไม่เจอตัวไม่ต้องเสียเวลาหา ไปโรงพยาบาลก่อนดีกว่า เพราะแพทย์มีแนวทางการรักษา อีกอย่างการดูด กรีด รีดบาดแผล ไม่ช่วยอะไรดีขึ้น พิษงูไม่ออกมา แถมอาจจะทำให้ติดเชื้ออีกต่างหาก

ที่สำคัญ ควรหาข้อมูลว่า โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่ไหน การจราจรติดมากหรือไม่ และที่สำคัญ โรงพยาบาลที่จะไปมีเซรุ่มหรือไม่ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่หลายคนมองข้าม จะได้ไม่เสียเวลาวิ่งไปมาหาโรงพยาบาล ซึ่งหลายคนคิดว่าทุกโรงพยาบาลต้องมีเซรุ่มพร้อม ความจริงแล้วไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล


กำลังโหลดความคิดเห็น