จากจุดเริ่มต้นของความชอบในการเล่นเกมทที่เหมือนกันได้นำพาให้ทั้งหมด ได้มาฟอร์มทีมเพื่อเล่นเกมทั้งคลายเครียดและการแข่งขัน ซึ่งทีม “RRQ Athena” ที่มีสมาชิกประกอบไปด้วย บวรชัย ฮัน (D2E), ประชาชัย ฮัน (G9), ณัฏฐ์ สวัสดิ์พรปิติ (Plz) และ นาวิน พรมพิทักษ์ (Senior) ก็ได้ประกาศศักดานักเล่นเกมสายเลือดไทย ด้วยการคว้าแชมป์โลกในรายการ PUBG Mobile Star Challenge 2018 ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยได้อีกครั้ง

• จุดเริ่มต้นของการรวมทีมกันมันมาจากอะไร
บวรชัย : จุดเริ่มมาจาก G9 ก่อนครับก็คือที่เป็นคนเริ่มเล่นเกมนี้คนแรก แล้วเขามีชื่อเสียงในช่วงแรกๆมากเพราะว่า เพราะว่าเขาทำคะแนนเป็นอันดับ 1 จากเซิฟเวอร์ทั่วโลก หลังจากนั้นผมก็ตามมาเล่นเกมนี้ ซึ่งเราสองคนเลยคิดว่ามาตั้งทีมกันไหม เพราะเรามั่นใจว่าเรามีฝีมือในระดับหนึ่ง สามารถเอาชนะคนอื่นได้ มันทำให้เรามีความมั่นใจที่จะตั้งทีมขึ้นมา จนกระทั่ง Plz เข้ามาเป็นคนที่ 3 จากนั้น Senior ก็เข้ามาคนที่ 4 และ i2 ก็เป็นคนที่ 5 ที่เข้ามาในเกม แม้ว่า i2 เขาจะเข้ามาทีหลัง แต่การเล่นของเขาหรือว่าโดดเด่น เลยทำให้เขาเป็นตัวหลักของทีมได้ เลยทำให้มีทีมหลักก็คือ G9 D2E Plz และ i2 หลังจากนั้นมาเราก็มีทำการฝึกในเรื่องความคิดและความกดดัน รวมถึงเรื่องแผนการณ์เล่นเกมต่างๆ

• แล้วการเล่นเกมในลักษณะนี้แต่ละคนมีการจัดการวางแผนยังไงบ้าง
บวรชัย : แต่ละคนมีหน้าที่ที่เรียกว่าตำแหน่งดีกว่าครับ แล้วก็มีการเล่นที่ไม่เหมือนกันด้วยครับ เพราะว่าการที่สมาชิก 1 คนทำหน้าที่มากกว่า 1 ตำแหน่งมันจะทำให้ดูเหนื่อยและเสี่ยงเกินไป เลยทำให้มีหน้าที่ที่แยกกันออกไป โดยผมจีนาย ทำหน้าที่เป็น สเกาท์หมายถึงว่าคอยตรวจเดินนำร่องให้เพื่อน จะเช็คว่าทางนี้มันปลอดภัยหรือเปล่า
อย่างตำแหน่งของผมก็ต้องดูด้วยว่าเรามีโอกาสได้ช่วยเพื่อนกี่เปอร์เซ็นต์ จะช่วยเพื่อนก่อนหรือว่าทำหน้าที่สนับสนุนเพื่อน แม่อยากหน้าที่ของผมในเกมก็คือการเป็นสเกาท์ ก็ต้องรู้ด้วยว่าหน้าที่เราจะทำอะไรก่อน สมมุติว่าเพื่อนล้มเราจะทำหน้าที่ช่วยชีวิตเพื่อนหรือเปล่า หรือว่าทำหน้าที่คอยส่องเพื่อนล่วงหน้าไม่ให้ผู้ต่อสู้ทำเข้ามา
ณัฎฐ์ : ส่วนผมจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุน หมายถึงว่าตำแหน่งนี้จะเป็นการเสริมให้กับเพื่อน หรือว่าเดินซ้อนเพื่อน อย่างเวลาเพื่อนในทีมเพลี้ยงพล้ำให้คู่ต่อสู้ เราก็จะคอยปาระเบิดใส่คู่ต่อสู้เพื่อที่จะรักษาชีวิตเพื่อนไว้ในเกม และก็คอยล็อคเป้าหมายให้กับเพื่อนได้ยิงผู้ต่อสู้ในเกมได้ง่ายๆ
ประชาชัย : ส่วนผมก็จะทำหน้าที่เป็นผู้นำและหน่วยโจมตี หน้าที่ผมในเกมก็คือเป็นผู้นำในเกมแล้วก็หน่วยยิงสนับสนุน G-9 อีกทีหนึ่ง เนื่องจากทีใดจะเป็นคนเดินนำคนแรก หน้าที่ของอบในเกมก็คือคอยสั่งแผนการต่อสู้ร่วมกับ G-9

• แน่นอนว่าความกดดันย่อมมีแน่นอน แต่ละคนในทีมรับมือกับมันยังไงบ้าง
บวรชัย : เรามีการฝึกซ้อมและพัฒนาตนเองครับ เริ่มจากที่เราพ่ายแพ้ในการเล่นเกมมาตลอด เราก็ทำการปรับปรุงให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ เราลดเรื่องความกดดันในการเล่นลงเพื่อป้องกันความผิดพลาด และไม่ให้มันซีเรียสจนเกินไป และไม่เล่นให้เครียดจนเกินไป ซึ่งก่อเกิดความเครียดในการเล่นแล้วเราจะไปหาอะไรอย่างอื่นทำก่อน เพื่อผ่อนคลายในเรื่องของร่างกาย แล้วเราค่อยมาคุยกันต่อว่า ในการเล่นครั้งต่อไปของพวกเรานั้นจะเล่นการยังไงและไปในทิศทางไหน เราควรทำอะไรประมาณนี้
• ความกดดันในแต่ละครั้งถือว่าหนักไหมครับ
ประชาชัย : หนักครับ โดยเฉพาะการแข่งขันระดับโลก บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวหรอกครับ แต่เราจะรู้สึกได้หลังจากที่การแข่งขันจบลงแล้ว
บวรชัย : อย่างรายการเล็กเราจะมีความรู้สึกว่าไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อที่จะชนะการแข่งขัน แต่เมื่อมาเล่นในระดับที่สูงขึ้น ความมุ่งหมายของเราก็คือแน่นอนว่าจะต้องชนะให้ได้ การที่เราคิดอย่างนั้นมันทำให้เรามีแรงกดดันมากขึ้นในตัว โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวครับ

• พอทีมไปได้แชมป์โลกมา คนรอบข้างเขาว่ายังไงบ้าง
ประชาชัย : ของผมเอง ที่บ้านเขาก็ดีใจด้วยแต่ว่าไม่อยากมุ่งเน้นในเรื่องของการเล่นเกมมากเกิน ก็ยังแบ่งเวลาในการเล่นเกมเหมือนเดิม แล้วก็มีส่วนของการเปลี่ยนแปลงก็คือ เราจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น อย่างเวลาที่เราทำอะไรมันก็จะส่งผลตามมา
บวรชัย : เหมือนกับที่ G9 บอกครับว่าเดินไปทางไหนคนที่เล่นเกมส์เขาก็รู้จักเรามากขึ้น แล้วในเรื่องของการไปสตรีมเมอร์เกมมันเหมือนกับเป็นการเปิดเส้นทางให้กับเราแล้วด้วย ทำให้เราโอกาสมันมาได้ มันต่างจากการเป็นสตรีมเมอร์เกมใหม่ๆที่คนอาจจะยังไม่รู้จักมากเท่าที่ควร ผมมองว่าการที่ไปคว้าแชมป์โลกมาได้ทำให้โอกาสเข้ามาง่ายขึ้นอย่างที่บอก
ณัฏฐ์ : ส่วนของผมก็จะเป็นเรื่องของพ่อครับ จากที่เมื่อก่อนท่านไม่สนับสนุนผมในเรื่องการเล่นเกมเลย นอกจากเขายังห่วงเรื่องการเรียนของผมอยู่ เขาอยากให้เราเรียนให้จบก่อน แต่พอเราไปคว้าแชมป์โลกมาเขาก็เห็นว่าเราสามารถทำเป็นอาชีพได้ ทำให้เขาเปิดใจยอมรับมากขึ้น แต่ท่านก็ยังมีความห่วงเรื่องการเรียนของผมครับ

• แน่นอนว่าการคว้าแชมป์โลกของทีมนั้น ส่งผลต่อภาพรวมของเกมเมอร์ไทยด้วย คิดว่าในภาพรวมควรแก้ตรงไหนบ้าง
บวรชัย : ในภาพรวมผมรู้สึกได้ว่าเกมเมอร์ไทยสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับตัวเอง คือถ้าเรามีสปอนเซอร์ก็จริง แต่ว่าเรายังไม่ดังก็ไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับเรามากมาย อยากให้คนไทยมองว่าการมีสปอนเซอร์คือการที่เขามาสนับสนุนเรามากกว่า ไม่ได้มองว่ามาจ่ายเงินเดือนเรา เงินเดือนเราจะเพิ่มตามชื่อเสียงของเรา ส่วนการเล่นโดยรวมของเกมเมอร์ไทย ต้องบอกว่าคนไทยเล่นเกมมือถือเก่งครับ แต่ ทั้งการวางแผนแล้วก็สไตล์การเล่นก็จะแตกต่างจะทุกชาติอยู่แล้ว บางทีก็ทำให้เราไม่ได้ศึกษาว่าการเล่นของแต่ละชาติและเป็นยังไง ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
• จุดเริ่มต้นของการรวมทีมกันมันมาจากอะไร
บวรชัย : จุดเริ่มมาจาก G9 ก่อนครับก็คือที่เป็นคนเริ่มเล่นเกมนี้คนแรก แล้วเขามีชื่อเสียงในช่วงแรกๆมากเพราะว่า เพราะว่าเขาทำคะแนนเป็นอันดับ 1 จากเซิฟเวอร์ทั่วโลก หลังจากนั้นผมก็ตามมาเล่นเกมนี้ ซึ่งเราสองคนเลยคิดว่ามาตั้งทีมกันไหม เพราะเรามั่นใจว่าเรามีฝีมือในระดับหนึ่ง สามารถเอาชนะคนอื่นได้ มันทำให้เรามีความมั่นใจที่จะตั้งทีมขึ้นมา จนกระทั่ง Plz เข้ามาเป็นคนที่ 3 จากนั้น Senior ก็เข้ามาคนที่ 4 และ i2 ก็เป็นคนที่ 5 ที่เข้ามาในเกม แม้ว่า i2 เขาจะเข้ามาทีหลัง แต่การเล่นของเขาหรือว่าโดดเด่น เลยทำให้เขาเป็นตัวหลักของทีมได้ เลยทำให้มีทีมหลักก็คือ G9 D2E Plz และ i2 หลังจากนั้นมาเราก็มีทำการฝึกในเรื่องความคิดและความกดดัน รวมถึงเรื่องแผนการณ์เล่นเกมต่างๆ
• แล้วการเล่นเกมในลักษณะนี้แต่ละคนมีการจัดการวางแผนยังไงบ้าง
บวรชัย : แต่ละคนมีหน้าที่ที่เรียกว่าตำแหน่งดีกว่าครับ แล้วก็มีการเล่นที่ไม่เหมือนกันด้วยครับ เพราะว่าการที่สมาชิก 1 คนทำหน้าที่มากกว่า 1 ตำแหน่งมันจะทำให้ดูเหนื่อยและเสี่ยงเกินไป เลยทำให้มีหน้าที่ที่แยกกันออกไป โดยผมจีนาย ทำหน้าที่เป็น สเกาท์หมายถึงว่าคอยตรวจเดินนำร่องให้เพื่อน จะเช็คว่าทางนี้มันปลอดภัยหรือเปล่า
อย่างตำแหน่งของผมก็ต้องดูด้วยว่าเรามีโอกาสได้ช่วยเพื่อนกี่เปอร์เซ็นต์ จะช่วยเพื่อนก่อนหรือว่าทำหน้าที่สนับสนุนเพื่อน แม่อยากหน้าที่ของผมในเกมก็คือการเป็นสเกาท์ ก็ต้องรู้ด้วยว่าหน้าที่เราจะทำอะไรก่อน สมมุติว่าเพื่อนล้มเราจะทำหน้าที่ช่วยชีวิตเพื่อนหรือเปล่า หรือว่าทำหน้าที่คอยส่องเพื่อนล่วงหน้าไม่ให้ผู้ต่อสู้ทำเข้ามา
ณัฎฐ์ : ส่วนผมจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุน หมายถึงว่าตำแหน่งนี้จะเป็นการเสริมให้กับเพื่อน หรือว่าเดินซ้อนเพื่อน อย่างเวลาเพื่อนในทีมเพลี้ยงพล้ำให้คู่ต่อสู้ เราก็จะคอยปาระเบิดใส่คู่ต่อสู้เพื่อที่จะรักษาชีวิตเพื่อนไว้ในเกม และก็คอยล็อคเป้าหมายให้กับเพื่อนได้ยิงผู้ต่อสู้ในเกมได้ง่ายๆ
ประชาชัย : ส่วนผมก็จะทำหน้าที่เป็นผู้นำและหน่วยโจมตี หน้าที่ผมในเกมก็คือเป็นผู้นำในเกมแล้วก็หน่วยยิงสนับสนุน G-9 อีกทีหนึ่ง เนื่องจากทีใดจะเป็นคนเดินนำคนแรก หน้าที่ของอบในเกมก็คือคอยสั่งแผนการต่อสู้ร่วมกับ G-9
• แน่นอนว่าความกดดันย่อมมีแน่นอน แต่ละคนในทีมรับมือกับมันยังไงบ้าง
บวรชัย : เรามีการฝึกซ้อมและพัฒนาตนเองครับ เริ่มจากที่เราพ่ายแพ้ในการเล่นเกมมาตลอด เราก็ทำการปรับปรุงให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ เราลดเรื่องความกดดันในการเล่นลงเพื่อป้องกันความผิดพลาด และไม่ให้มันซีเรียสจนเกินไป และไม่เล่นให้เครียดจนเกินไป ซึ่งก่อเกิดความเครียดในการเล่นแล้วเราจะไปหาอะไรอย่างอื่นทำก่อน เพื่อผ่อนคลายในเรื่องของร่างกาย แล้วเราค่อยมาคุยกันต่อว่า ในการเล่นครั้งต่อไปของพวกเรานั้นจะเล่นการยังไงและไปในทิศทางไหน เราควรทำอะไรประมาณนี้
• ความกดดันในแต่ละครั้งถือว่าหนักไหมครับ
ประชาชัย : หนักครับ โดยเฉพาะการแข่งขันระดับโลก บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวหรอกครับ แต่เราจะรู้สึกได้หลังจากที่การแข่งขันจบลงแล้ว
บวรชัย : อย่างรายการเล็กเราจะมีความรู้สึกว่าไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อที่จะชนะการแข่งขัน แต่เมื่อมาเล่นในระดับที่สูงขึ้น ความมุ่งหมายของเราก็คือแน่นอนว่าจะต้องชนะให้ได้ การที่เราคิดอย่างนั้นมันทำให้เรามีแรงกดดันมากขึ้นในตัว โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวครับ
• พอทีมไปได้แชมป์โลกมา คนรอบข้างเขาว่ายังไงบ้าง
ประชาชัย : ของผมเอง ที่บ้านเขาก็ดีใจด้วยแต่ว่าไม่อยากมุ่งเน้นในเรื่องของการเล่นเกมมากเกิน ก็ยังแบ่งเวลาในการเล่นเกมเหมือนเดิม แล้วก็มีส่วนของการเปลี่ยนแปลงก็คือ เราจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น อย่างเวลาที่เราทำอะไรมันก็จะส่งผลตามมา
บวรชัย : เหมือนกับที่ G9 บอกครับว่าเดินไปทางไหนคนที่เล่นเกมส์เขาก็รู้จักเรามากขึ้น แล้วในเรื่องของการไปสตรีมเมอร์เกมมันเหมือนกับเป็นการเปิดเส้นทางให้กับเราแล้วด้วย ทำให้เราโอกาสมันมาได้ มันต่างจากการเป็นสตรีมเมอร์เกมใหม่ๆที่คนอาจจะยังไม่รู้จักมากเท่าที่ควร ผมมองว่าการที่ไปคว้าแชมป์โลกมาได้ทำให้โอกาสเข้ามาง่ายขึ้นอย่างที่บอก
ณัฏฐ์ : ส่วนของผมก็จะเป็นเรื่องของพ่อครับ จากที่เมื่อก่อนท่านไม่สนับสนุนผมในเรื่องการเล่นเกมเลย นอกจากเขายังห่วงเรื่องการเรียนของผมอยู่ เขาอยากให้เราเรียนให้จบก่อน แต่พอเราไปคว้าแชมป์โลกมาเขาก็เห็นว่าเราสามารถทำเป็นอาชีพได้ ทำให้เขาเปิดใจยอมรับมากขึ้น แต่ท่านก็ยังมีความห่วงเรื่องการเรียนของผมครับ
• แน่นอนว่าการคว้าแชมป์โลกของทีมนั้น ส่งผลต่อภาพรวมของเกมเมอร์ไทยด้วย คิดว่าในภาพรวมควรแก้ตรงไหนบ้าง
บวรชัย : ในภาพรวมผมรู้สึกได้ว่าเกมเมอร์ไทยสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับตัวเอง คือถ้าเรามีสปอนเซอร์ก็จริง แต่ว่าเรายังไม่ดังก็ไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับเรามากมาย อยากให้คนไทยมองว่าการมีสปอนเซอร์คือการที่เขามาสนับสนุนเรามากกว่า ไม่ได้มองว่ามาจ่ายเงินเดือนเรา เงินเดือนเราจะเพิ่มตามชื่อเสียงของเรา ส่วนการเล่นโดยรวมของเกมเมอร์ไทย ต้องบอกว่าคนไทยเล่นเกมมือถือเก่งครับ แต่ ทั้งการวางแผนแล้วก็สไตล์การเล่นก็จะแตกต่างจะทุกชาติอยู่แล้ว บางทีก็ทำให้เราไม่ได้ศึกษาว่าการเล่นของแต่ละชาติและเป็นยังไง ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย