ก่อนจะมาถึงกรณีเฮลิคอปเตอร์ของ “วิชัย ศรีวัฒนประภา” ย้อนรอยอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกในรอบปี 2561 ในส่วนภาคธุรกิจ พบเครื่องบินให้เช่าผลิตรายการเหยี่ยวข่าว 7 สี ตกและไฟไหม้ที่ขอนแก่น เสียชีวิต 4 ราย มาถึง 3 นักธุรกิจชาวไทย พร้อมซีอีโอบริษัทอากาศยานเสียชีวิตจากเครื่องบินตกที่สาธารณรัฐเช็ก
... รายงาน
เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ ยี่ห้ออากัสต้า เวสต์แลนด์ รุ่น AW169 ทะเบียน G-VSKP ของ นายวิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของธุรกิจร้านค้าปลอดภาษี คิง เพาเวอร์ และเจ้าของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ประสบอุบัติเหตุตกและเกิดเพลิงลุกไหม้ เมื่อค่ำวันที่ 27 ต.ค. ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณลานจอดรถข้างสนามคิง เพาเวอร์ สเตเดียม ในเมืองเลสเตอร์ ทางตอนกลางของประเทศอังกฤษ หลังการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก นัดพบกับสโมสรเวสต์แฮม เสมอกันไป 1 ประตูต่อ 1 จบลงไม่นานนัก ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก
ในรอบปี 2561 ที่ผ่านมา ก็เคยเกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ เกิดขึ้นกับนักธุรกิจ รวมทั้งภาคธุรกิจไทยที่ใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นยานพาหนะ กลายเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้วอย่างน้อย 2 เหตุการณ์
วันที่ 18 ก.ค. เฮลิคอปเตอร์ยี่ห้อยูโรคอปเตอร์ รุ่น AH 355 ทะเบียน HS-PNG ของบริษัท เฮลิลักค์ เอวิเอชั่น จำกัด บริเวณบ้านหูลิง ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นเหตุให้นักบิน 2 คน คือ นายเสกสรร วันนา นักบิน, พ.ต.อ.สินสมุทร สินเพทา ผู้ช่วยนักบิน และผู้โดยสาร 2 คน คือ นายรณกฤต เพชรนิล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเกิ้ล นิวส์ เอวิเอชั่น จำกัด ผู้ผลิตคอลัมน์ข่าว เหยี่ยวข่าว 7 สี ให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และ นายสำเนา น้อยสกุล ผู้จัดการทีมถ่ายทำและผลิตรายการ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
ก่อนเกิดเหตุ เฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวบินออกจากสนามบินทานตะวัน ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จะไปรับ นายณัชฐพงศ์ มูฮำหมัด ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และทีมงานรออยู่ที่ท่าอากาศยานขอนแก่น เพื่อไปรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดร้อยเอ็ด นายประวัติ นาครัตน์ ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า ได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์บินวนอยู่ประมาณ 2 รอบ ก่อนที่เสียงใบพัดของเฮลิคอปเตอร์จะเงียบลง ตัวเครื่องเฮลิคอปเตอร์ได้พุ่งลงที่บริเวณทุ่งนา และเสียงคล้ายระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว
วันที่ 6 ก.ย. เฮลิคอปเตอร์ยี่ห้อโรบินสัน รุ่น R44-RAVEN แบบ 4 ที่นั่ง ประสบอุบัติเหตุตกในเขตอุตสาหกรรมย่านชานเมืองของเมืองเปิลเซน (Plzen) ทางตะวันตกของสาธารณรัฐเช็ก ทำให้ นายโมฮัมมิล ดอลเบก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวิร์คเพรส เอวิเอชั่น, นายชนาธิป สุรชัยสิทธิกุล นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (ไทย ซับคอน), น.ส.จันทร์พิมพ์ ศรุตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เมดิกา เทคโนโลยี และ นายเอกรัตน์ เล็กพรประเสริฐ ฝ่ายการตลาด บริษัท ซี.เอส.เอ็นจิเนียริ่ง ออโต้พาร์ต เสียชีวิต
Pár minut před nehodou vrtulníku v Plzni. Může zajímat @CT24zive @Seznam_Zpravy @novinkycz @FilipHorky pic.twitter.com/Lm9OGw9nZF
— Pavel Jursík (@PJursik) September 5, 2018
ก่อนเกิดเหตุ ชาวไทยทั้ง 3 คน มีภารกิจเข้าพบผู้บริหารและเจรจาธุรกิจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานประจำกรุงแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เพื่อเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมอากาศยานและเครื่องมือแพทย์มาลงทุนที่ประเทศไทย โดยเข้าเยี่ยมชมและเจรจาธุรกิจในโรงงานที่ 2 ตามปกติ หลังจากพาคณะเข้าเยี่ยมชมโรงงานเรียบร้อยแล้ว ได้เชิญนายชนาธิป น.ส.จันทร์พิมพ์ และ นายเอกรัตน์ ทดลองนั่งบนเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัว โดย นายโมฮัมมิล เป็นผู้ขับเครื่องบิน ก่อนประสบอุบัติเหตุ
สำหรับ น.ส.จันทร์พิมพ์ เป็นหลานสาวของ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
ทวิตเตอร์ @TransportTH โพสต์ข้อความระบุว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบไม่กี่เดือน ที่เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของนักธุรกิจชาวไทยและทั้งสองครั้งเป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้า การโดยสารเฮลิคอปเตอร์ จัดเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างสะดวกสำหรับคนมีเงิน แต่ด้วยเพดานบินที่ต่ำและมีปัจจัยรบกวนสูง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าเครื่องบิน สถิติการเกิดอุบัติเหตุด้วยเฮลิคอปเตอร์ อยู่ที่ราวๆ 3 ครั้ง ต่อ 1 แสนชั่วโมงบิน และเสียชีวิต 0.5 คน ในขณะที่เครื่องบินใหญ่นั้นมีสถิติการตก 1 ครั้งใน 1.2 ล้านเที่ยวบิน (รวมอุบัติเหตุอื่นๆ) และเสียชีวิต 1 คนต่อ 11 ล้านเที่ยวบิน และยังพบว่า เครื่องบินยิ่งเล็ก ยิ่งมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น
เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกนี้ จะรอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น เพดานบิน พื้นที่ลงจอดฉุกเฉิน ส่วนหนึ่งก็ด้วยทักษะนักบิน และการคาดเข็มขัดนิรภัยก็ช่วยได้มาก จุดเด่นของเฮลิคอปเตอร์ต่างกับเครื่องบินตรงที่ขึ้นลงแนวดิ่ง ใช้พื้นที่น้อยกว่า และมีระบบหมุนอัตโนมัติ (Autorotation) ในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน ทำให้ค่อยๆ ร่อนลงจอดได้ แต่ถ้าเป็นกรณีเครื่องเสียการควบคุม ก็จะเกิดความเสียหายรุนแรงได้มากกว่า และที่เสียชีวิตก็มักจะมาจากสาเหตุนี้
ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบไม่กี่เดือน ที่เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของนักธุรกิจชาวไทยและทั้งสองครั้งเป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้า
— Logistics, Transportation and Road Safety (@TransportTH) October 27, 2018
การโดยสารเฮลิคอปเตอร์ จัดเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างสะดวกสำหรับคนมีเงิน แต่ด้วยเพดานบินที่ต่ำและมีปัจจัยรบกวนสูง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าเครื่องบิน
ฮ. เกิดอุบัติเหตุง่ายแค่ไหน? สถิติอยู่ราวๆ 3 ครั้ง ต่อแสนชั่วโมงบิน และเสียชีวิต 0.5 คน
— Logistics, Transportation and Road Safety (@TransportTH) October 27, 2018
ในขณะที่เครื่องบินใหญ่นั้นมีสถิติการตก 1 ครั้งใน 1.2 ล้านเที่ยวบิน (รวมอุบัติเหตุอื่นๆ) และเสียชีวิต 1 คนต่อ 11 ล้านเที่ยวบิน
จากสถิติพบว่า เครื่องบินยิ่งเล็ก ยิ่งมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น
เหตุการณ์ ฮ.ตกนี่ จะรอดไม่รอดขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น เพดานบิน พื้นที่ลงจอดฉุกเฉิน ทักษะนักบินด้วยส่วนหนึ่ง และการคาดเข็มขัดนิรภัยก็ช่วยได้มาก
— Logistics, Transportation and Road Safety (@TransportTH) October 27, 2018
แอดเคยจะสอบทั้ง CPL และ CPL-helicopter มาเปลี่ยนใจตอนมั่นใจว่าตัวเองกลัวความสูงนี่แหละ ^^"
จุดเด่นของเฮลิคอปเตอร์ต่างกับเครื่องบินตรงที่ขึ้นลงแนวดิ่ง ใช้พื้นที่น้อยกว่า และมีระบบ Autorotation ในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน ทำให้ค่อยๆ ร่อนลงจอดได้
— Logistics, Transportation and Road Safety (@TransportTH) October 27, 2018
แต่ถ้าเป็นกรณีเครื่องเสียการควบคุม ก็จะเกิดความเสียหายรุนแรงได้มากกว่า และที่เสียชีวิตก็มักจะมาจากสาเหตุนี้