xs
xsm
sm
md
lg

มารู้จักภารกิจและหน้าที่ของ “OTCC” หลังมีข่าวตัดสิทธิ์ผู้เข้าสอบกว่า 200 คน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


หลังเหตุการณ์ กรรมการตัดสิทธิ์ผู้เข้าสอบ กว่า 200 คน เพียงเพราะไม่เซ็นชื่อด้วยตัวบรรจง ในการสอบแข่งขันของ “สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า” จนถูกวิจารณ์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จะพาไปดูว่า “OTCC” มีภารกิจและอำนาจหน้าที่อย่างไร

จากกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “May Kewalee” ได้โพสต์ข้อความลงในโลกโซเชียล ขณะที่ตนเองทำการสอบเพื่อวัดความสามารถเข้าทำงานใน “สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า” แต่ระหว่างสอบคณะกรรมการได้เดินเข้ามาและพูดว่าตนเองถูกตัดสิทธิ์สอบ เนื่องจากการเซ็นชื่อตนเองไม่ได้เซ็นด้วยตัวบรรจง ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่โดนตัดสิทธิ์สอบจากกรณีนี้อีกถึง 200 คน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวถูกแชร์ไปในโลกโซเชียลเป็นจำนวนมาก และต่างวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ “สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า Office of Trade Competition Commission” หรือ “OTCC” จัดตั้งขึ้นตาม “พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560” OTCC อยู่ภายใต้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2560 และบัญญัติให้จัดตั้ง OTCC ขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ ไม่เป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ฐานะเป็นนิติบุคคล คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ 5 คน นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ทั้งหมดจำนวน 7 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ปัจจุบันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กรมการค้าภายใน กระทรวงกระทรวงพาณิชย์ แล้ว เพียงแค่ยังไม่ได้แยกสำนักงานออกไป

วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันทางการค้า อย่างเสรี เป็นธรรมและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน

ภารกิจ เพื่อกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าให้เสรีเป็นธรรมและเป้นไปตามหลักสากล, พัฒนากลไกและเครื่องมือในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าให้เป็นมาตรฐานสากล, พัฒนาความร่วมมือด้านการแข่งขันทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ, เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมและ พัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานสมรรถนะสูงที่มีธรรมาภิบาลและได้รับความเชื่อถือยอมรับจากทุกภาคส่วน

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

2. ติดตามพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และรายงานต่อคณะกรรมการ

3. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับสินค้า การบริการ และพฤติกรรมในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางและให้ ความเห็นในการส่งเสริม พัฒนา และกํากับดูแลการ ประกอบธุรกิจ

4. จัดทําฐานข้อมูลขนาดตลาดสินค้าหรือบริการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการผูกขาดตลาดตามที่คณะกรรมการกําหนด และเผย แพร่ต่อสาธารณชน

5. รับเรื่องรองเรียนที่บุคคลใดอ้างว่าได้มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และ ดําเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องที่ร้องเรียนให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอ เพื่อนําเสนอคณะกรรมการพิจารณา ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

6. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิใดๆ

7. ก่อตั้งสิทธิหรือทํานิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน

8. แลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมดําเนินการในการเจรจา ทําความตกลงและร่วมมือกับ องค์กรหรือหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงาน

9. จัดให้มีหรือให้ความร่วมมือกับองค์กรอื่นในการศึกษาอบรมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า

10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวของ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

11. รับค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในกฎหมาย และค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือ รายได้จากการดําเนินงาน

12. เผยแพร่ผลคําวินิจฉัยของคณะกรรมการต่อสาธารณชน

13. จัดทํารายงานประจําปีแสดงผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานของ คณะกรรมการและสํานักงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อสาธารณชน

14. ปฏิบัติการตามประกาศ ระเบียบ มติของคณะกรรมการ และปฏิบัติการตามที่ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย

15. ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน

เฟซบุ๊ก สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า




กำลังโหลดความคิดเห็น