ยามเมื่อเราแหงนหน้าไปบนท้องฟ้า หลายๆ คนก็มักจะมองแต่ดวงดาวที่สวยงาม หรือบางคนก็มองไปมากกว่าสิ่งนั้น อาจจะมีหลากหลายมุมมองแตกต่างกันไป แต่ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่พวกเขาเชื่อว่า ‘บนท้องฟ้ายังมีอะไรมากกว่านั้น’ นั่นจึงเป็นที่มาของเว็บไซต์ spaceth.co เพื่อเชื่อมโยงอวกาศให้ใกล้ขึ้นจนสร้างปรากฏการณ์ของสารบบเว็บไทยให้เป็นที่ยอมรับด้วยกลุ่มคนเหล่านี้ โดยมี เติ้ล-ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ มาเป็นตัวแทนขององค์ความรู้ในอวกาศแบบย่อยง่ายนี้

• ที่มาที่ไปของเว็บไซต์ว่าเป็นอย่างไรครับ
มันเริ่มต้นมาจากที่ว่า ตอนแรกสุดเราก็เป็นแบบเด็กธรรมดาทั่วไปในเจนนี้นี่แหละ ที่พ่อแม่ก็จะเลี้ยงให้อยู่กับบ้าน แล้วพ่อแม่ก็จะออกไปทำงาน ทีนี้สิ่งที่ทำให้เราสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ก็คือ แม่จะชอบซื้อหนังสือที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เอาไว้ให้อ่าน แล้วพอแม่กลับมาท่านก็จะถามเราเสมอว่าวันนี้อ่านหนังสืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง และมานั่งคุยกัน เลยกลายเป็นว่าเรากลายเป็นเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก และติดนิสัยที่เป็นคนชอบเล่าเรื่อง มีอะไรและรู้อะไรก็จะชอบเล่าให้คนอื่นฟัง ชอบเขียนสรุป ชอบเขียนเรื่องพวกนี้ครับ จนนิสัยนี้ก็ติดมาเรื่อยๆ แล้วก็ตอนประมาณ ป.4 เราก็เริ่มหัดทำเว็บไซต์ เพราะเหมือนกับว่าเราก็ชอบทางคอมพิวเตอร์และชอบทางหนังสือมาด้วย คือมันเป็นสองทางที่เราจับมาตั้งแต่เด็ก พอโตมามันก็เหมือนกับเอาสองสิ่งนี้มารวมกัน เริ่มทำ เริ่มเขียน เล่านู่นเล่านี่
จนกระทั่ง ม.3 ก็เริ่มเขียนบล็อกอย่างจริงจังในบล็อกส่วนตัว ตอนนั้นเป็นช่วงที่เป็นยานนิวฮอไรซันส์ของนาซาเดินทางไปสำรวจดาวพลูโตพอดี ประมาณปี 2015 เราก็เขียนบล็อกเล่าเรื่องนี้ แล้วคนก็เข้ามาดูเยอะมาก เยอะจนเว็บล่ม เราก็เลยรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันน่าจะสานต่อไปได้มากกว่านี้ ก็เลยมาเน้นเขียนในเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น จนต้นปี 2017 เราก็เจอ น้องกร (กรทอง วิริยะเศวตกุล) ที่ไปแข่งแฟนพันธุ์แท้ระบบสุริยะมา มันเหมือนกับว่าต่างฝ่ายต่างรู้จักซึ่งกันและกันมานานแล้ว พอได้มาเจอกันจริงๆ ก็คุยกันรู้เรื่อง เลยชวนมาทำเว็บไซต์ด้วยกัน เพราะเรารู้สึกว่าคนที่ชื่นชอบอะไรเหมือนกันแล้วมาเจอกันแล้วมันเกิดเป็นอะไรบางอย่างขึ้นมา แต่ก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเพราะอะไร พอมาคุยกันแล้วมันถูกคอกัน ก็ชอบ ก็เลยชวนมาทำเว็บ แล้วตอนนั้นก็มีเพื่อนที่ชอบทางดาราศาสตร์ที่ชอบเหมือนกันทางเฟซบุ๊ก ตอนนั้นรวมทีมกันได้ 5-6 คน แล้วเริ่มเขียนเว็บกัน

• โดยส่วนตัวของคุณเองเริ่มมาสนใจในเรื่องอวกาศมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ก็ตั้งแต่อ่านหนังสือออก น่าจะประมาณช่วง 4-5 ขวบได้ครับ แล้วตอนนั้นมันมียานมาร์ส เอ็กซ์พลอเรชัน โรเวอร์ 2 ลำ ไปจอดที่ดาวอังคาร แล้วตอนนั้นก็ได้ดูถ่ายทอดสด แล้วก็เป็นอีกอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราว่ามันเจ๋งดีว่ะ ทำได้ยังไง เหตุการณ์นั้นน่าจะเป็นช่วงปี 2003 เพราะเหตุการณ์นี้เรารู้สึกว่ามันเจ๋งดี แล้วเราคิดว่าเด็กก็น่าจะมีความชอบ 2 อย่าง คือ ถ้าไม่ชอบไดโนเสาร์ ก็จะชอบอวกาศ เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัยที่ว่ามันมีจริงหรือ แล้วรู้ได้ยังไง ดาราศาสตร์-อวกาศมันมีจริงเหรอ มันมีดาวดวงนี้ด้วยหรือ แล้ว 2 ความสงสัยนี้มันผูกติดมากับเด็กมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ดูการ์ตูนแล้วมันมีไดโนเสาร์ แล้วมันคืออะไร หรือดูการ์ตูนแล้วมันมีอวกาศ แล้วอวกาศมันคืออะไร มีที่สิ้นสุดมั้ย เราก็เลยเทไปทางอวกาศ เพื่อนบางคนก็จะเทไปทางไดโนเสาร์ อย่างเราก็รู้จักคนที่ไปแข่งแฟนพันธุ์แท้ไดโนเสาร์อยู่เหมือนกัน แต่เราก็ไม่ได้ชอบแบบนั้น เราชอบอวกาศมากกว่า
• พอเริ่มมาสนใจมาทางดาราศาสตร์แล้วทำยังไงกับมันต่อ
ก็อ่านหนังสือ อ่านไปเรื่อยๆ จนอินเทอร์เน็ตก็เริ่มมีการพัฒนาแล้ว เริ่มมีบรอดแบนด์ต่างๆ ที่บ้านก็สมัครอินเทอร์เน็ตให้ แล้วเราก็ได้ดูเว็บต่างๆ แล้วในตอนนั้นภาษาไทยก็ยังไม่ค่อยมี เราก็จะต้องหาอ่านตามเว็บซึ่งตอนแรกก็ยังอ่านไม่ออกหรอกครับ ก็คอยๆ ดูรูปไป ก็มาเริ่มฝึกภาษาอังกฤษจริงจังจนพอภาษาเราดีขึ้น เราก็ได้มาเรื่อยๆ ส่วนความสนใจของเรา เรามองทุกอย่างว่ามันคือธรรมชาติ อย่างบางทีเดินกับเพื่อน ไม่มีอะไรให้คุยเลย ประมาณว่า “มึงๆ ทำไมพระอาทิตย์จึงเป็นสีส้มวะ” เราก็จะเริ่มพูดต่อๆ ไปแล้ว เพื่อนก็จะชอบแกล้งว่า ‘เติ้ล หยิบหินมาก้อนซิ แล้วเชื่อมโยงกับอวกาศหน่อย’ (หัวเราะ) แล้วเราก็จะอธิบายให้เพื่อนฟังว่าหินมันเป็นทรงกลมเพราะว่าอะไร เราก็จะพูดไปเรื่อย

• ในมุมของคุณเองก็มองว่าดาราศาสตร์ก็สามารถมองได้ทุกอย่าง
ใช่ครับ อย่างเวลาที่เราเขียนบทความ เราไม่ได้เอาข้อมูลมาเขียนประมาณว่าดาวดวงนี้เป็นสีนี้ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่านี้ แต่ว่าเราพยายามจะยกเรื่องที่เกี่ยวข้องที่มันเป็นมนุษย์ เช่น ดาวดวงนี้เขาศึกษาว่าทำไมเป็นชื่อนี้ เขามีวิธีการศึกษาอย่างนี้ เขามีการส่องกล้องดูดาว แต่ว่านักวิทยาศาสตร์คนนี้ไม่เชื่อ เขาก็บอกว่ามันต้องเป็นอย่างงี้ เราเลยเน้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่บวกกับความเป็นศิลปะและมนุษย์เข้าไปด้วย คือเราให้ความรู้ในแบบที่ไม่ให้ความรู้สึกแบบให้ความรู้เสียทีเดียว มันให้ชวนคิด-แตกประเด็นไปได้อีก ซึ่งในบทความหนึ่งนั้นในแต่ละบรรทัดก็สามารถเป็นบทความหนึ่งได้นะว่าทำไมเขาพูดอย่างนี้
• บทความแรกสุดที่ทำ จำได้มั้ยครับว่าผลตอบรับเป็นยังไง
ตอนนั้นเราเลือกที่จะเปิดตัวเว็บในช่วงตอนที่ยานแคสสินีพุ่งชนดาวเสาร์ เพราะว่ามันเป็นช่วงท้ายภารกิจแล้ว ตอนนั้นลงไปก็ได้รับความสนใจพอสมควรจากทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ตามมาจากบล็อกของเรามาตั้งแต่แรก และกลุ่มที่เริ่มตามเว็บมาตั้งแต่นั้น แต่ที่ที่เป็นอันแรกสุดเลยคือการเปิดตัว คือ space fact เราก็จะยกข้อที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับอวกาศแล้วก็มาพูด แต่ตอนนั้นทำเป็นเพจลงเฟซบุ๊กก่อน แล้วก็จะยกประเด็น เช่น ไลก้า เป็นสุนัขตัวแรกที่ขึ้นไปอวกาศจริง แต่ไม่ได้กลับมานะ เพราะว่าตายบนอวกาศ หรือว่า สปุคนิค ที่เราเข้าใจว่าเป็นชื่อดาวเทียมดวงแรก แต่จริงๆ มันเป็นแค่คำที่แปลว่าดาวเทียมเฉยๆ เราก็จะเล่าอะไรพวกนี้ จนเหมือนกับว่าเราจะวางตัวเองว่าไม่ได้เป็นนักวิชาการ หรือนักดาราศาสตร์ แต่เราเป็นกลุ่มคนที่สนใจและชื่นชอบเรื่องอวกาศ เราเลยเอามาเล่าให้ฟัง

• แต่ละบทความมีการทำเวลานานมั้ยครับ
อย่างการทำในแต่ละชิ้น ปกติมันจะเป็นก้อนไอเดียมาก่อน เราเริ่มมานั่งคิดและตบตีกับไอเดียตัวเอง เรานึกอะไรอย่างหนึ่ง แล้วเราเอามาเขียน ซึ่งทีมงานทุกคนพกแมคบุ๊กกับกล้องมือถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าถ้านึกอะไรออกก็พิมพ์มาได้เลย จากนั้นก็มาปรึกษาในแชตกลุ่ม แล้วก็พิมพ์บทความได้เลย เหมือนกับแต่ละคนก็จะมีความถนัดต่างกัน อย่างเราเองจะถนัดในเรื่องวิทยาศาสตร์เลย แก่นของศาสตร์นี้คืออะไร และเรื่องมนุษยศาสตร์ ศิลปะ หรืออย่าง กร ก็จะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ของทางวิทย์ เช่นว่า มนุษย์ไปดวงจันทร์มาแล้วกี่ครั้ง ไปทำอะไรมาบ้าง แล้วก็มีน้องที่ชื่อ อิงค์ คนนี้จะแม่นในเรื่องทฤษฎีและนักวิทยาศาสตร์ว่าคนนี้ไปศึกษาเรื่องนี้มาแล้วใช้วิธีการอะไร ทำไมเกิดสิ่งนี้ แล้วทฤษฎีนี้เกิดขึ้นได้ยังไง มีใครมาช่วยบ้าง คือจริงๆ ทีมงานเรามีตั้งแต่อายุ 13-20 ปี
• พอเป็นกลุ่มนักเรียนเล็กๆ ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ในสารบบเว็บไซต์ไทยได้ โดยส่วนตัวคิดว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ได้
สร้าง 2 ปรากฏการณ์เลย อย่างแรกคือ เป็นกลุ่มเด็กที่มารวมตัวกันทำเว็บ อันที่ 2 มาทำเว็บที่คนไม่เชื่อว่าทำแล้วอยู่ต่อได้ จะมีรายได้ จะมีทราฟฟิกต่อเดือน เพราะว่าเป็นเนื้อหาที่เฉพาะตัวมาก ซึ่งอย่างแรกก่อน เรื่องของการที่มารวมตัวในเรื่องของการทำเว็บ เราพยายามก้าวข้ามในข้อจำกัดของการศึกษา เพราะการศึกษาไทยนั้นเขาจะสอนให้เรามีวิธีการคิดว่าทำแบบนี้ แล้วจะต้องเป็นแบบนี้ มันจะคล้ายๆ ว่าเราเขียนโปรแกรมว่าคิดกันเป็นลูป แต่เดี๋ยวนี้มันจะมีแบบสามารถลองผิดถูกแล้วได้วิธีการที่ดีที่สุดออกมา ซึ่งการได้วิธีการที่ดีออกมามันก็ไม่ได้มาจาก process แต่มันได้จากการลองทำแล้วมันพลาด แล้วก็เรียนรู้ใหม่ว่าอย่างงี้ไม่ต้องทำ ทำอย่างงี้ดีกว่า ทำจนกว่าจะได้ แล้วเราไม่เชื่อจากตรงนี้เลย ก็เลยอยากจะลองทำอะไรในที่ไม่เคยทำ ซึ่งก็มีหลายอย่างเลยนะครับที่เราลองผิดลองถูก จนกว่ามันจะได้ แล้วการลองผิดถูกนั้น ในความเป็นมนุษย์ก็มีความคิดนิดนึงหน่อยๆ ว่าบางอย่างก็ไม่ไต้องไปลองทำก็ได้ ถ้าคนอื่นทำมาแล้วมันพลาด มันก็เกิดเป็นองค์ความรู้ที่ส่งต่อมา ฉะนั้น นอกจากลองผิดลองถูกแล้วเราพยายามจะหาพวก case study ว่าเว็บนี้ทำยังไง ทำไมเว็บนี้ทำแล้วถึงดัง ก็เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง แล้วก็มานั่งคุยกัน ซึ่งในทีมงานแต่ละคนจะมีแนวความคิดที่ค่อนข้างดี อย่างเวลาที่เราคุยเรื่องการทำงาน เราจะคุยกันนิดเดียว เพราะว่ารู้กันอยู่แล้ว แต่ส่วนที่เหลือจะคุยเรื่องวิธีคิดล้วนๆ ก็เลยเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามท้าทายข้อจำกัดในการปลูกฝังหรืออะไรที่ tradional มากๆ แล้วผลลัพธ์ก็เลยเป็นเว็บนี้ออกมาก็เลยรู้สึกดีใจ
อย่างที่ 2 ที่เว็บที่เป็นอวกาศ ตอนแรกที่เราพูดว่าอยากทำเว็บอวกาศ คำถามมาเต็มเลย เช่นจะมีคนดูเหรอ จะมีสปอนเซอร์เหรอ จะมีรายได้ยังไง ส่วนนี้มันจะสานต่อมาจากส่วนแรก ก็คือว่า บางอย่างก็ต้องศึกษาจากส่วนอื่น แล้วมาวิเคราะห์ แล้วเราก็สร้างในแบบของเรา อย่างต่างประเทศมันจะมี demand ในเรื่องของคอนเทนต์ทางด้านวิทยาศาสตร์พอสมควร อย่างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น national geographic, science illustrated หรือเว็บไซต์อื่นๆ ทำไมอยู่ได้ คือคนไทยจะมองว่าการอ่านวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นการอ่านรายงาน น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ เราก็เลยเอามุมมองนี้มาส่งต่อ เวลามีการค้นพบใหม่ๆ ก็ไม่ได้จะลงข่าวแบบว่าเขาพบอะไร แต่เราจะบอกว่าทำไมเขาคิดกันแบบนี้-เล่าเรื่อง เราก็เลยเอาเรื่องทักษะของการเล่าเรื่องมาใช้ ซึ่งเรามองว่าในปัจจุบันคอนเทนต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือว่าสื่ออื่นๆ ยังขาดทักษะในการเล่าเรื่องมากๆ แล้วสรุปเราก็ไม่รู้เลยนะว่า 1-2-3 มันเป็นยังไง มันมีแค่ 1-2-3 ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เราอยากทำต่อ

• ในการนำเสนอแต่ละบทความของตัวเว็บแต่ละครั้ง คือให้เข้ากับบริบทต่อสังคมไทย หรือว่าแล้วแต่เรา
เลือกทั้ง 2 เลยครับ ทั้งในแง่นิสัยคนไทยว่าถ้าเป็นเรื่องยากก็จะไม่พยายามมาทำความเข้าใจ ก็จะพยายามว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เราก็จะพูดตรงๆ ด้วยว่าถ้าจะให้เข้าใจได้จริงๆ ก็ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำหรือสองคำ ต้องไปศึกษาเพิ่มนะ มันก็เหมือนเราจริงใจกับผู้อ่านด้วยว่าเรื่องนี้มันยากนะคุณ แต่สิ่งที่เราหยิบยกมามันเป็นพาร์ตที่สนุกของมัน ถ้าเราอยากศึกษาเรื่องนี้ต่อ คุณก็ไปหาอ่านต่อได้ เราจะไม่ชอบที่เป็นแบบว่าวิทยาศาสตร์ง่ายจังเลย แล้วมันมีเพลงขึ้นมา (หัวเราะ) แล้วมีสมการโผล่ขึ้นมา เราคิดว่ามันเข้าใจง่ายตรงไหน น้องกรเคยพูดว่าเราไม่อยากเอาหนังสือเรียนมาระบายสี เพราะมันไม่ทำให้เนื้อหาข้างในง่ายขึ้น เลยทำให้แง่แรกมันจะเป็นเชิงปัจเจกว่าคนมีวิธีคิดยังไง
อย่างที่ 2 คือ ทางด้านสังคม ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่กับความเชื่อและธรรมชาติเยอะ อาจจะเป็นเพราะว่าเราเป็นประเทสที่ทำเกษตรกรรมเยอะ แล้วพอมันไปผุกกับความเชื่อมันก็เลยทำใมห้ไม่เมกเซนส์แล้ว สิ่งที่เราทำได้คือเราค่อยๆ จูนเขากลับมาว่ามันเป็นอย่างงี้นะ ทั้งในแง่ของการมองโลกและการเมือง อย่างตอนเรื่องถ้ำหลวง อย่างสื่อไทยเขาเอามาลงว่าอเมริกามีดาวเทียมที่ส่องไปแล้วเห็นว่าเด็กๆ อยุ่ตรงไหน จริงๆ แล้วมันไม่มีหรอก คุณมั่วไปเอง จริงๆ แล้วมันเป็นแบบนี้ต่างหาก คือคนไทยจะเสพคอนเทนต์เอาสนุก ฉะนั้นพวกแนวนวนิยายจะขายดี เวลาเขียนข่าว ถ้าจะเขียนให้สนุกก็ต้องเขียนแบบฟิกชัน ต้องใส่เรื่องราวลงไปเยอะๆ คนไทยจะชอบข่าวแบบว่าคนนี้ได้กับคนนี้ ซึ่งวิธีการของเราก็คือเราพยายามตบๆ กลับมา คือมันมีเรื่องที่สนุก แต่ว่าต้องมีในแง่ของความเป็นจริง คือถ้าเราอยากให้คนมาสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ คือเราใช้วิธีการเขียนเรื่องราวให้สนุก แต่เราก็ไม่ทิ้งความเป็นจริงด้วยว่ามันเป็นอย่างงี้นะ

• ในมุมหนึ่งถือว่าการมองท้องฟ้าของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงมั้ย
เรารู้สึกว่าการศึกษาธรรมชาติ หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้เราสามารถอธิบายหลายๆ อย่างในโลกนี้ได้ แต่การอธิบายต่างๆ ของเราก็ไม่ได้ทำให้เราตัวใหญ่ขึ้น หรือต้องไปเปลี่ยนแปลงข้อมูละรรมชาติขนาดนั้น เรามองว่ามันเป็นอย่างที่มันเป็นมากกว่า บางอย่างก็ไม่ได้เกิดมาให้ควบคุมหรอก มันเกิดมาเพื่อที่จะให้เราเข้าใจ มนุษย์สามารถประดิษฐ์อะไรต่างๆ ได้ แต่คุณก็ต้องเข้าใจ เรียนรู้ และอยู่ร่วมไปกับมัน
• ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวคนทำและผู้ติดตามยังไงบ้างครับ
ถ้าตอบอย่างง่ายๆ คือมีคนรู้จักเยอะขึ้น ถ้าเวลาไปที่ไหนแล้วมีคนมาอ่านบทความ เขาก็จะมานั่งคุยด้วยว่าชอบที่เราทำ แล้วก็มันทำให้เราเจอคนที่ชอบเรื่องเดียวกันง่ายขึ้น จากเดิมถ้าเราสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเราอยู่ในโลกออนไลน์ของเรา ก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าชอบเรื่องนี้ แต่เราสื่อสารหรือพูดมันออกมา เราสนใจเรื่องนี้ คนบางคนอาจจะมองว่าสนใจแล้วมันได้อะไร แต่เราไม่ต้องไปสนใจเขา เพราะมันเท่ากับศูนย์ แต่กับคนที่สนใจร่วมกัน มันก็เท่ากับบวกหนึ่ง ดังนั้นเวลาที่เราชอบอะไรแล้วเวลาที่พูดกับทีมเสมอเลยว่า เวลาที่จะพูดหรือทำอะไร เขียนลงเฟซฯ ก็ได้หรือบอกเพื่อนก็ได้ แล้วสุดท้ายมันก็จะดึงคนที่ชอบเหมือนกับเราเข้ามา สรุปคือมีการเปลี่ยนแปลงที่ดึงคนที่มาสนใจร่วมกันกับเราเยอะขึ้น ในระดับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน หรือแม้กระทั่งระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือนักวิทยาศาสตร์ที่เขามีผลงานที่เรารู้สึกว่าเราจะได้รู้จักกับเขาเหรอ เราก็ได้คุยและนั่งแลกเปลี่ยนความเห็นกัน

• จากการที่คนไทยมีความผูกพันกับดาราศาสตร์ โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่า ทำให้มีการมองเป็นแบบนี้ในปัจจุบันด้วยมั้ย
คิดว่ามันเป็นกันทั้งโลก เพราะว่าอย่างคนสมัยก่อนไม่มีอะไรทำก็จะมานั่งดูดาว เชื่อมั้ยครับว่าการจดบันทึกที่ละเอียดที่สุด ไม่ใช่มานั่งนับว่าต้นไม้ต้นนี้มีใบไม้กี่ใบ สัตว์ตัวนี้มันเป็นอย่างนี้ แต่สิ่งที่มนุษย์มีการจดบันทึกตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้า ไม่รู้ว่าว่างมาจากไหน อาจจะเป็นเพราะว่าตอนกลางวันเขาทำงานนั่นนี่ ตอนกลางคืนก็มานั่งดูดาว มันกลายเป็นว่าเรื่องดาราศาสตร์มันแฝงอยู่กับความเป็นมนุษย์มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แล้วแต่ละสังคมบริบทมันก็จะชวนตีความให้ต่างออกไป เช่น คนไทยก็จะมีในเรื่องของความเชื่อ ก็จะมีแบบว่าเทพไม่พอใจแน่ๆ หรือว่าสังคมที่เน้นไปในเรื่องเหตุผล เขาก็จะอธิบายในเชิงเหตุผลว่ามันเป็นอย่างนี้
แต่สุดท้ายทุกวันนี้ โลกทั้งโลกมันเหมือนกับเป็นใบเดียวกันแล้ว ทุกอย่างมีการเชื่อมกัน แนวคิดในการใช้เหตุผลคือเข้ามาในสังคมมากขึ้นมันก็เลยชวนให้เรามองในมุมที่ต่างออกไป ซึ่งจริงๆ ว่ามันได้เปรียบซะอีก เพราะว่าถ้าเราศึกษาในเรื่องของความเชื่อ เรื่องตำนาน แล้วมาบวกกับสิ่งที่มันเป็นแนวคิดแบบตรรกะ มันจะทำให้เราเข้าใจนะว่าทำไมมนุษย์สมัยก่อนเขาคิดอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นราหูอมจันทร์ อย่างคนไทยก็จะมีคำพูดที่เป็นดวงดาวเยอะมาก อย่างคำว่า ตะวันอ้อมข้าว มันเป็นเพราะว่าเราปลูกข้าวหรือเปล่า มันจะทำให้เราเชื่อมโยงมากขึ้น ดังนั้น บริบททางสังคมก็จะอีกอย่างหนึ่ง แต่คนที่เอาเรื่องราวของแต่ละบริบทมารวมกัน มันจะทำให้เหนือกว่าคนอื่น คือเราจะสามารถอธิบายได้ทั้ง ความที่เป็นวิทยาศาสตร์และเรื่องความเชื่อ

• กล่าวโดยสรุปคือ ในตัวเว็บไซต์ spaceth.co มันเป็นถ่ายทอดความรู้แบบย่อยง่าย แล้วนำเสนอต่อผู้รับสารให้ง่ายขึ้น
ใช่ครับ เพราะว่าเราไม่สามารถไปทำหน้าที่ให้เขาชอบไม่ได้ แต่ว่าเราเป็นคนนำทางที่ดีได้ ให้นำไปสู่ข้อมูลที่มันน่าสนใจ ไม่ใช่ว่าทำข้อมูลวิชาการที่จ๋าเลย เราให้ความรู้กับคนมากกว่าไม่ได้ชี้นำ คือการศึกษามันเป็น algoritym ที่ดี แต่ว่าสิ่งที่การศึกษาไม่เคยเป็นเลย คือ สภาพแวดล้อมที่ดี คือคนเราจะชอบมองว่าการศึกษามันเป็นการไต่บันไดเพื่อที่จะไปให้สูงที่สุด แต่จริงๆ องค์ความรู้มันเป็น flatland คือเหมือนการเดินตลาดนัด ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ไม่เอา ร้านนี้คนเยอะก็รอ แต่เราชอบเราก็ต่อคิว ในขณะที่บางคนไม่ชอบ ก็ไปกินร้านอื่นดีกว่า เรามองว่าชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้ เพราะว่าสุดท้ายแล้ว การศึกษามันต้องขึ้นสูงสุด พอมาจุดสูงสุดแล้วได้อะไร ก็ไม่ได้อะไร ดังนั้นจงมีความสุขกับสิ่งที่เราศึกษาในการที่เราชอบดีกว่า
• ความคาดหวังในวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ในบ้านเราในอนาคต ในมุมมองของคุณ มันเป็นยังไง
เรามองว่าวิทยาศาสตร์จะไม่ได้เป็นของที่ใดที่หนึ่งอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นองค์ความรู้ของมนุษยชาติ ดังนั้น ในประเทศที่เราภูมิใจว่า เรามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีส่วนร่วมนู่นนี่นั่น เราอยากให้คนไทยหันมาสร้างอนาคตที่มันจะเกิดขึ้นให้มันดีขึ้นทุกด้าน แต่ถ้าคุณภูมิใจว่า รัชกาลที่ 4 ทำนายสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ คุณภูมิใจว่า สมเด็จพระนารยณ์มหาราชเป็นกษัตริย์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาแบบจริงจัง คุณเอาความภูมิใจในอดีตมาช่วยกันสร้างอนาคต สร้างวิทยาศาสตร์ contribute ให้กับโลกให้มันดีขึ้น ไม่ต้องมีผลงานของตัวเองก็ได้ เพียงแต่คุณเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับสังคม แล้วสุดท้ายมันก็จะขับเคลื่อนไปเอง แล้วก็อะไรที่เราศึกษา อย่าคิดว่ามันเป็นวิชา ให้คิดว่ามันเป็นองค์ความรู้ที่เราจะเอาไปใช้ต่อไป อย่างสมมติว่าอันนี้คือวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ เราจะไปจับมันแยกเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง สุดท้ายวัตถุประสงค์ที่หวังก็คืออาจจะไปได้แค่สอบผ่านก็ได้
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย
• ที่มาที่ไปของเว็บไซต์ว่าเป็นอย่างไรครับ
มันเริ่มต้นมาจากที่ว่า ตอนแรกสุดเราก็เป็นแบบเด็กธรรมดาทั่วไปในเจนนี้นี่แหละ ที่พ่อแม่ก็จะเลี้ยงให้อยู่กับบ้าน แล้วพ่อแม่ก็จะออกไปทำงาน ทีนี้สิ่งที่ทำให้เราสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ก็คือ แม่จะชอบซื้อหนังสือที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เอาไว้ให้อ่าน แล้วพอแม่กลับมาท่านก็จะถามเราเสมอว่าวันนี้อ่านหนังสืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง และมานั่งคุยกัน เลยกลายเป็นว่าเรากลายเป็นเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก และติดนิสัยที่เป็นคนชอบเล่าเรื่อง มีอะไรและรู้อะไรก็จะชอบเล่าให้คนอื่นฟัง ชอบเขียนสรุป ชอบเขียนเรื่องพวกนี้ครับ จนนิสัยนี้ก็ติดมาเรื่อยๆ แล้วก็ตอนประมาณ ป.4 เราก็เริ่มหัดทำเว็บไซต์ เพราะเหมือนกับว่าเราก็ชอบทางคอมพิวเตอร์และชอบทางหนังสือมาด้วย คือมันเป็นสองทางที่เราจับมาตั้งแต่เด็ก พอโตมามันก็เหมือนกับเอาสองสิ่งนี้มารวมกัน เริ่มทำ เริ่มเขียน เล่านู่นเล่านี่
จนกระทั่ง ม.3 ก็เริ่มเขียนบล็อกอย่างจริงจังในบล็อกส่วนตัว ตอนนั้นเป็นช่วงที่เป็นยานนิวฮอไรซันส์ของนาซาเดินทางไปสำรวจดาวพลูโตพอดี ประมาณปี 2015 เราก็เขียนบล็อกเล่าเรื่องนี้ แล้วคนก็เข้ามาดูเยอะมาก เยอะจนเว็บล่ม เราก็เลยรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันน่าจะสานต่อไปได้มากกว่านี้ ก็เลยมาเน้นเขียนในเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น จนต้นปี 2017 เราก็เจอ น้องกร (กรทอง วิริยะเศวตกุล) ที่ไปแข่งแฟนพันธุ์แท้ระบบสุริยะมา มันเหมือนกับว่าต่างฝ่ายต่างรู้จักซึ่งกันและกันมานานแล้ว พอได้มาเจอกันจริงๆ ก็คุยกันรู้เรื่อง เลยชวนมาทำเว็บไซต์ด้วยกัน เพราะเรารู้สึกว่าคนที่ชื่นชอบอะไรเหมือนกันแล้วมาเจอกันแล้วมันเกิดเป็นอะไรบางอย่างขึ้นมา แต่ก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเพราะอะไร พอมาคุยกันแล้วมันถูกคอกัน ก็ชอบ ก็เลยชวนมาทำเว็บ แล้วตอนนั้นก็มีเพื่อนที่ชอบทางดาราศาสตร์ที่ชอบเหมือนกันทางเฟซบุ๊ก ตอนนั้นรวมทีมกันได้ 5-6 คน แล้วเริ่มเขียนเว็บกัน
• โดยส่วนตัวของคุณเองเริ่มมาสนใจในเรื่องอวกาศมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ก็ตั้งแต่อ่านหนังสือออก น่าจะประมาณช่วง 4-5 ขวบได้ครับ แล้วตอนนั้นมันมียานมาร์ส เอ็กซ์พลอเรชัน โรเวอร์ 2 ลำ ไปจอดที่ดาวอังคาร แล้วตอนนั้นก็ได้ดูถ่ายทอดสด แล้วก็เป็นอีกอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราว่ามันเจ๋งดีว่ะ ทำได้ยังไง เหตุการณ์นั้นน่าจะเป็นช่วงปี 2003 เพราะเหตุการณ์นี้เรารู้สึกว่ามันเจ๋งดี แล้วเราคิดว่าเด็กก็น่าจะมีความชอบ 2 อย่าง คือ ถ้าไม่ชอบไดโนเสาร์ ก็จะชอบอวกาศ เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัยที่ว่ามันมีจริงหรือ แล้วรู้ได้ยังไง ดาราศาสตร์-อวกาศมันมีจริงเหรอ มันมีดาวดวงนี้ด้วยหรือ แล้ว 2 ความสงสัยนี้มันผูกติดมากับเด็กมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ดูการ์ตูนแล้วมันมีไดโนเสาร์ แล้วมันคืออะไร หรือดูการ์ตูนแล้วมันมีอวกาศ แล้วอวกาศมันคืออะไร มีที่สิ้นสุดมั้ย เราก็เลยเทไปทางอวกาศ เพื่อนบางคนก็จะเทไปทางไดโนเสาร์ อย่างเราก็รู้จักคนที่ไปแข่งแฟนพันธุ์แท้ไดโนเสาร์อยู่เหมือนกัน แต่เราก็ไม่ได้ชอบแบบนั้น เราชอบอวกาศมากกว่า
• พอเริ่มมาสนใจมาทางดาราศาสตร์แล้วทำยังไงกับมันต่อ
ก็อ่านหนังสือ อ่านไปเรื่อยๆ จนอินเทอร์เน็ตก็เริ่มมีการพัฒนาแล้ว เริ่มมีบรอดแบนด์ต่างๆ ที่บ้านก็สมัครอินเทอร์เน็ตให้ แล้วเราก็ได้ดูเว็บต่างๆ แล้วในตอนนั้นภาษาไทยก็ยังไม่ค่อยมี เราก็จะต้องหาอ่านตามเว็บซึ่งตอนแรกก็ยังอ่านไม่ออกหรอกครับ ก็คอยๆ ดูรูปไป ก็มาเริ่มฝึกภาษาอังกฤษจริงจังจนพอภาษาเราดีขึ้น เราก็ได้มาเรื่อยๆ ส่วนความสนใจของเรา เรามองทุกอย่างว่ามันคือธรรมชาติ อย่างบางทีเดินกับเพื่อน ไม่มีอะไรให้คุยเลย ประมาณว่า “มึงๆ ทำไมพระอาทิตย์จึงเป็นสีส้มวะ” เราก็จะเริ่มพูดต่อๆ ไปแล้ว เพื่อนก็จะชอบแกล้งว่า ‘เติ้ล หยิบหินมาก้อนซิ แล้วเชื่อมโยงกับอวกาศหน่อย’ (หัวเราะ) แล้วเราก็จะอธิบายให้เพื่อนฟังว่าหินมันเป็นทรงกลมเพราะว่าอะไร เราก็จะพูดไปเรื่อย
• ในมุมของคุณเองก็มองว่าดาราศาสตร์ก็สามารถมองได้ทุกอย่าง
ใช่ครับ อย่างเวลาที่เราเขียนบทความ เราไม่ได้เอาข้อมูลมาเขียนประมาณว่าดาวดวงนี้เป็นสีนี้ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่านี้ แต่ว่าเราพยายามจะยกเรื่องที่เกี่ยวข้องที่มันเป็นมนุษย์ เช่น ดาวดวงนี้เขาศึกษาว่าทำไมเป็นชื่อนี้ เขามีวิธีการศึกษาอย่างนี้ เขามีการส่องกล้องดูดาว แต่ว่านักวิทยาศาสตร์คนนี้ไม่เชื่อ เขาก็บอกว่ามันต้องเป็นอย่างงี้ เราเลยเน้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่บวกกับความเป็นศิลปะและมนุษย์เข้าไปด้วย คือเราให้ความรู้ในแบบที่ไม่ให้ความรู้สึกแบบให้ความรู้เสียทีเดียว มันให้ชวนคิด-แตกประเด็นไปได้อีก ซึ่งในบทความหนึ่งนั้นในแต่ละบรรทัดก็สามารถเป็นบทความหนึ่งได้นะว่าทำไมเขาพูดอย่างนี้
• บทความแรกสุดที่ทำ จำได้มั้ยครับว่าผลตอบรับเป็นยังไง
ตอนนั้นเราเลือกที่จะเปิดตัวเว็บในช่วงตอนที่ยานแคสสินีพุ่งชนดาวเสาร์ เพราะว่ามันเป็นช่วงท้ายภารกิจแล้ว ตอนนั้นลงไปก็ได้รับความสนใจพอสมควรจากทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ตามมาจากบล็อกของเรามาตั้งแต่แรก และกลุ่มที่เริ่มตามเว็บมาตั้งแต่นั้น แต่ที่ที่เป็นอันแรกสุดเลยคือการเปิดตัว คือ space fact เราก็จะยกข้อที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับอวกาศแล้วก็มาพูด แต่ตอนนั้นทำเป็นเพจลงเฟซบุ๊กก่อน แล้วก็จะยกประเด็น เช่น ไลก้า เป็นสุนัขตัวแรกที่ขึ้นไปอวกาศจริง แต่ไม่ได้กลับมานะ เพราะว่าตายบนอวกาศ หรือว่า สปุคนิค ที่เราเข้าใจว่าเป็นชื่อดาวเทียมดวงแรก แต่จริงๆ มันเป็นแค่คำที่แปลว่าดาวเทียมเฉยๆ เราก็จะเล่าอะไรพวกนี้ จนเหมือนกับว่าเราจะวางตัวเองว่าไม่ได้เป็นนักวิชาการ หรือนักดาราศาสตร์ แต่เราเป็นกลุ่มคนที่สนใจและชื่นชอบเรื่องอวกาศ เราเลยเอามาเล่าให้ฟัง
• แต่ละบทความมีการทำเวลานานมั้ยครับ
อย่างการทำในแต่ละชิ้น ปกติมันจะเป็นก้อนไอเดียมาก่อน เราเริ่มมานั่งคิดและตบตีกับไอเดียตัวเอง เรานึกอะไรอย่างหนึ่ง แล้วเราเอามาเขียน ซึ่งทีมงานทุกคนพกแมคบุ๊กกับกล้องมือถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าถ้านึกอะไรออกก็พิมพ์มาได้เลย จากนั้นก็มาปรึกษาในแชตกลุ่ม แล้วก็พิมพ์บทความได้เลย เหมือนกับแต่ละคนก็จะมีความถนัดต่างกัน อย่างเราเองจะถนัดในเรื่องวิทยาศาสตร์เลย แก่นของศาสตร์นี้คืออะไร และเรื่องมนุษยศาสตร์ ศิลปะ หรืออย่าง กร ก็จะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ของทางวิทย์ เช่นว่า มนุษย์ไปดวงจันทร์มาแล้วกี่ครั้ง ไปทำอะไรมาบ้าง แล้วก็มีน้องที่ชื่อ อิงค์ คนนี้จะแม่นในเรื่องทฤษฎีและนักวิทยาศาสตร์ว่าคนนี้ไปศึกษาเรื่องนี้มาแล้วใช้วิธีการอะไร ทำไมเกิดสิ่งนี้ แล้วทฤษฎีนี้เกิดขึ้นได้ยังไง มีใครมาช่วยบ้าง คือจริงๆ ทีมงานเรามีตั้งแต่อายุ 13-20 ปี
• พอเป็นกลุ่มนักเรียนเล็กๆ ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ในสารบบเว็บไซต์ไทยได้ โดยส่วนตัวคิดว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ได้
สร้าง 2 ปรากฏการณ์เลย อย่างแรกคือ เป็นกลุ่มเด็กที่มารวมตัวกันทำเว็บ อันที่ 2 มาทำเว็บที่คนไม่เชื่อว่าทำแล้วอยู่ต่อได้ จะมีรายได้ จะมีทราฟฟิกต่อเดือน เพราะว่าเป็นเนื้อหาที่เฉพาะตัวมาก ซึ่งอย่างแรกก่อน เรื่องของการที่มารวมตัวในเรื่องของการทำเว็บ เราพยายามก้าวข้ามในข้อจำกัดของการศึกษา เพราะการศึกษาไทยนั้นเขาจะสอนให้เรามีวิธีการคิดว่าทำแบบนี้ แล้วจะต้องเป็นแบบนี้ มันจะคล้ายๆ ว่าเราเขียนโปรแกรมว่าคิดกันเป็นลูป แต่เดี๋ยวนี้มันจะมีแบบสามารถลองผิดถูกแล้วได้วิธีการที่ดีที่สุดออกมา ซึ่งการได้วิธีการที่ดีออกมามันก็ไม่ได้มาจาก process แต่มันได้จากการลองทำแล้วมันพลาด แล้วก็เรียนรู้ใหม่ว่าอย่างงี้ไม่ต้องทำ ทำอย่างงี้ดีกว่า ทำจนกว่าจะได้ แล้วเราไม่เชื่อจากตรงนี้เลย ก็เลยอยากจะลองทำอะไรในที่ไม่เคยทำ ซึ่งก็มีหลายอย่างเลยนะครับที่เราลองผิดลองถูก จนกว่ามันจะได้ แล้วการลองผิดถูกนั้น ในความเป็นมนุษย์ก็มีความคิดนิดนึงหน่อยๆ ว่าบางอย่างก็ไม่ไต้องไปลองทำก็ได้ ถ้าคนอื่นทำมาแล้วมันพลาด มันก็เกิดเป็นองค์ความรู้ที่ส่งต่อมา ฉะนั้น นอกจากลองผิดลองถูกแล้วเราพยายามจะหาพวก case study ว่าเว็บนี้ทำยังไง ทำไมเว็บนี้ทำแล้วถึงดัง ก็เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง แล้วก็มานั่งคุยกัน ซึ่งในทีมงานแต่ละคนจะมีแนวความคิดที่ค่อนข้างดี อย่างเวลาที่เราคุยเรื่องการทำงาน เราจะคุยกันนิดเดียว เพราะว่ารู้กันอยู่แล้ว แต่ส่วนที่เหลือจะคุยเรื่องวิธีคิดล้วนๆ ก็เลยเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามท้าทายข้อจำกัดในการปลูกฝังหรืออะไรที่ tradional มากๆ แล้วผลลัพธ์ก็เลยเป็นเว็บนี้ออกมาก็เลยรู้สึกดีใจ
อย่างที่ 2 ที่เว็บที่เป็นอวกาศ ตอนแรกที่เราพูดว่าอยากทำเว็บอวกาศ คำถามมาเต็มเลย เช่นจะมีคนดูเหรอ จะมีสปอนเซอร์เหรอ จะมีรายได้ยังไง ส่วนนี้มันจะสานต่อมาจากส่วนแรก ก็คือว่า บางอย่างก็ต้องศึกษาจากส่วนอื่น แล้วมาวิเคราะห์ แล้วเราก็สร้างในแบบของเรา อย่างต่างประเทศมันจะมี demand ในเรื่องของคอนเทนต์ทางด้านวิทยาศาสตร์พอสมควร อย่างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น national geographic, science illustrated หรือเว็บไซต์อื่นๆ ทำไมอยู่ได้ คือคนไทยจะมองว่าการอ่านวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นการอ่านรายงาน น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ เราก็เลยเอามุมมองนี้มาส่งต่อ เวลามีการค้นพบใหม่ๆ ก็ไม่ได้จะลงข่าวแบบว่าเขาพบอะไร แต่เราจะบอกว่าทำไมเขาคิดกันแบบนี้-เล่าเรื่อง เราก็เลยเอาเรื่องทักษะของการเล่าเรื่องมาใช้ ซึ่งเรามองว่าในปัจจุบันคอนเทนต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือว่าสื่ออื่นๆ ยังขาดทักษะในการเล่าเรื่องมากๆ แล้วสรุปเราก็ไม่รู้เลยนะว่า 1-2-3 มันเป็นยังไง มันมีแค่ 1-2-3 ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เราอยากทำต่อ
• ในการนำเสนอแต่ละบทความของตัวเว็บแต่ละครั้ง คือให้เข้ากับบริบทต่อสังคมไทย หรือว่าแล้วแต่เรา
เลือกทั้ง 2 เลยครับ ทั้งในแง่นิสัยคนไทยว่าถ้าเป็นเรื่องยากก็จะไม่พยายามมาทำความเข้าใจ ก็จะพยายามว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เราก็จะพูดตรงๆ ด้วยว่าถ้าจะให้เข้าใจได้จริงๆ ก็ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำหรือสองคำ ต้องไปศึกษาเพิ่มนะ มันก็เหมือนเราจริงใจกับผู้อ่านด้วยว่าเรื่องนี้มันยากนะคุณ แต่สิ่งที่เราหยิบยกมามันเป็นพาร์ตที่สนุกของมัน ถ้าเราอยากศึกษาเรื่องนี้ต่อ คุณก็ไปหาอ่านต่อได้ เราจะไม่ชอบที่เป็นแบบว่าวิทยาศาสตร์ง่ายจังเลย แล้วมันมีเพลงขึ้นมา (หัวเราะ) แล้วมีสมการโผล่ขึ้นมา เราคิดว่ามันเข้าใจง่ายตรงไหน น้องกรเคยพูดว่าเราไม่อยากเอาหนังสือเรียนมาระบายสี เพราะมันไม่ทำให้เนื้อหาข้างในง่ายขึ้น เลยทำให้แง่แรกมันจะเป็นเชิงปัจเจกว่าคนมีวิธีคิดยังไง
อย่างที่ 2 คือ ทางด้านสังคม ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่กับความเชื่อและธรรมชาติเยอะ อาจจะเป็นเพราะว่าเราเป็นประเทสที่ทำเกษตรกรรมเยอะ แล้วพอมันไปผุกกับความเชื่อมันก็เลยทำใมห้ไม่เมกเซนส์แล้ว สิ่งที่เราทำได้คือเราค่อยๆ จูนเขากลับมาว่ามันเป็นอย่างงี้นะ ทั้งในแง่ของการมองโลกและการเมือง อย่างตอนเรื่องถ้ำหลวง อย่างสื่อไทยเขาเอามาลงว่าอเมริกามีดาวเทียมที่ส่องไปแล้วเห็นว่าเด็กๆ อยุ่ตรงไหน จริงๆ แล้วมันไม่มีหรอก คุณมั่วไปเอง จริงๆ แล้วมันเป็นแบบนี้ต่างหาก คือคนไทยจะเสพคอนเทนต์เอาสนุก ฉะนั้นพวกแนวนวนิยายจะขายดี เวลาเขียนข่าว ถ้าจะเขียนให้สนุกก็ต้องเขียนแบบฟิกชัน ต้องใส่เรื่องราวลงไปเยอะๆ คนไทยจะชอบข่าวแบบว่าคนนี้ได้กับคนนี้ ซึ่งวิธีการของเราก็คือเราพยายามตบๆ กลับมา คือมันมีเรื่องที่สนุก แต่ว่าต้องมีในแง่ของความเป็นจริง คือถ้าเราอยากให้คนมาสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ คือเราใช้วิธีการเขียนเรื่องราวให้สนุก แต่เราก็ไม่ทิ้งความเป็นจริงด้วยว่ามันเป็นอย่างงี้นะ
• ในมุมหนึ่งถือว่าการมองท้องฟ้าของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงมั้ย
เรารู้สึกว่าการศึกษาธรรมชาติ หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้เราสามารถอธิบายหลายๆ อย่างในโลกนี้ได้ แต่การอธิบายต่างๆ ของเราก็ไม่ได้ทำให้เราตัวใหญ่ขึ้น หรือต้องไปเปลี่ยนแปลงข้อมูละรรมชาติขนาดนั้น เรามองว่ามันเป็นอย่างที่มันเป็นมากกว่า บางอย่างก็ไม่ได้เกิดมาให้ควบคุมหรอก มันเกิดมาเพื่อที่จะให้เราเข้าใจ มนุษย์สามารถประดิษฐ์อะไรต่างๆ ได้ แต่คุณก็ต้องเข้าใจ เรียนรู้ และอยู่ร่วมไปกับมัน
• ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวคนทำและผู้ติดตามยังไงบ้างครับ
ถ้าตอบอย่างง่ายๆ คือมีคนรู้จักเยอะขึ้น ถ้าเวลาไปที่ไหนแล้วมีคนมาอ่านบทความ เขาก็จะมานั่งคุยด้วยว่าชอบที่เราทำ แล้วก็มันทำให้เราเจอคนที่ชอบเรื่องเดียวกันง่ายขึ้น จากเดิมถ้าเราสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเราอยู่ในโลกออนไลน์ของเรา ก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าชอบเรื่องนี้ แต่เราสื่อสารหรือพูดมันออกมา เราสนใจเรื่องนี้ คนบางคนอาจจะมองว่าสนใจแล้วมันได้อะไร แต่เราไม่ต้องไปสนใจเขา เพราะมันเท่ากับศูนย์ แต่กับคนที่สนใจร่วมกัน มันก็เท่ากับบวกหนึ่ง ดังนั้นเวลาที่เราชอบอะไรแล้วเวลาที่พูดกับทีมเสมอเลยว่า เวลาที่จะพูดหรือทำอะไร เขียนลงเฟซฯ ก็ได้หรือบอกเพื่อนก็ได้ แล้วสุดท้ายมันก็จะดึงคนที่ชอบเหมือนกับเราเข้ามา สรุปคือมีการเปลี่ยนแปลงที่ดึงคนที่มาสนใจร่วมกันกับเราเยอะขึ้น ในระดับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน หรือแม้กระทั่งระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือนักวิทยาศาสตร์ที่เขามีผลงานที่เรารู้สึกว่าเราจะได้รู้จักกับเขาเหรอ เราก็ได้คุยและนั่งแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
• จากการที่คนไทยมีความผูกพันกับดาราศาสตร์ โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่า ทำให้มีการมองเป็นแบบนี้ในปัจจุบันด้วยมั้ย
คิดว่ามันเป็นกันทั้งโลก เพราะว่าอย่างคนสมัยก่อนไม่มีอะไรทำก็จะมานั่งดูดาว เชื่อมั้ยครับว่าการจดบันทึกที่ละเอียดที่สุด ไม่ใช่มานั่งนับว่าต้นไม้ต้นนี้มีใบไม้กี่ใบ สัตว์ตัวนี้มันเป็นอย่างนี้ แต่สิ่งที่มนุษย์มีการจดบันทึกตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้า ไม่รู้ว่าว่างมาจากไหน อาจจะเป็นเพราะว่าตอนกลางวันเขาทำงานนั่นนี่ ตอนกลางคืนก็มานั่งดูดาว มันกลายเป็นว่าเรื่องดาราศาสตร์มันแฝงอยู่กับความเป็นมนุษย์มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แล้วแต่ละสังคมบริบทมันก็จะชวนตีความให้ต่างออกไป เช่น คนไทยก็จะมีในเรื่องของความเชื่อ ก็จะมีแบบว่าเทพไม่พอใจแน่ๆ หรือว่าสังคมที่เน้นไปในเรื่องเหตุผล เขาก็จะอธิบายในเชิงเหตุผลว่ามันเป็นอย่างนี้
แต่สุดท้ายทุกวันนี้ โลกทั้งโลกมันเหมือนกับเป็นใบเดียวกันแล้ว ทุกอย่างมีการเชื่อมกัน แนวคิดในการใช้เหตุผลคือเข้ามาในสังคมมากขึ้นมันก็เลยชวนให้เรามองในมุมที่ต่างออกไป ซึ่งจริงๆ ว่ามันได้เปรียบซะอีก เพราะว่าถ้าเราศึกษาในเรื่องของความเชื่อ เรื่องตำนาน แล้วมาบวกกับสิ่งที่มันเป็นแนวคิดแบบตรรกะ มันจะทำให้เราเข้าใจนะว่าทำไมมนุษย์สมัยก่อนเขาคิดอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นราหูอมจันทร์ อย่างคนไทยก็จะมีคำพูดที่เป็นดวงดาวเยอะมาก อย่างคำว่า ตะวันอ้อมข้าว มันเป็นเพราะว่าเราปลูกข้าวหรือเปล่า มันจะทำให้เราเชื่อมโยงมากขึ้น ดังนั้น บริบททางสังคมก็จะอีกอย่างหนึ่ง แต่คนที่เอาเรื่องราวของแต่ละบริบทมารวมกัน มันจะทำให้เหนือกว่าคนอื่น คือเราจะสามารถอธิบายได้ทั้ง ความที่เป็นวิทยาศาสตร์และเรื่องความเชื่อ
• กล่าวโดยสรุปคือ ในตัวเว็บไซต์ spaceth.co มันเป็นถ่ายทอดความรู้แบบย่อยง่าย แล้วนำเสนอต่อผู้รับสารให้ง่ายขึ้น
ใช่ครับ เพราะว่าเราไม่สามารถไปทำหน้าที่ให้เขาชอบไม่ได้ แต่ว่าเราเป็นคนนำทางที่ดีได้ ให้นำไปสู่ข้อมูลที่มันน่าสนใจ ไม่ใช่ว่าทำข้อมูลวิชาการที่จ๋าเลย เราให้ความรู้กับคนมากกว่าไม่ได้ชี้นำ คือการศึกษามันเป็น algoritym ที่ดี แต่ว่าสิ่งที่การศึกษาไม่เคยเป็นเลย คือ สภาพแวดล้อมที่ดี คือคนเราจะชอบมองว่าการศึกษามันเป็นการไต่บันไดเพื่อที่จะไปให้สูงที่สุด แต่จริงๆ องค์ความรู้มันเป็น flatland คือเหมือนการเดินตลาดนัด ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ไม่เอา ร้านนี้คนเยอะก็รอ แต่เราชอบเราก็ต่อคิว ในขณะที่บางคนไม่ชอบ ก็ไปกินร้านอื่นดีกว่า เรามองว่าชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้ เพราะว่าสุดท้ายแล้ว การศึกษามันต้องขึ้นสูงสุด พอมาจุดสูงสุดแล้วได้อะไร ก็ไม่ได้อะไร ดังนั้นจงมีความสุขกับสิ่งที่เราศึกษาในการที่เราชอบดีกว่า
• ความคาดหวังในวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ในบ้านเราในอนาคต ในมุมมองของคุณ มันเป็นยังไง
เรามองว่าวิทยาศาสตร์จะไม่ได้เป็นของที่ใดที่หนึ่งอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นองค์ความรู้ของมนุษยชาติ ดังนั้น ในประเทศที่เราภูมิใจว่า เรามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีส่วนร่วมนู่นนี่นั่น เราอยากให้คนไทยหันมาสร้างอนาคตที่มันจะเกิดขึ้นให้มันดีขึ้นทุกด้าน แต่ถ้าคุณภูมิใจว่า รัชกาลที่ 4 ทำนายสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ คุณภูมิใจว่า สมเด็จพระนารยณ์มหาราชเป็นกษัตริย์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาแบบจริงจัง คุณเอาความภูมิใจในอดีตมาช่วยกันสร้างอนาคต สร้างวิทยาศาสตร์ contribute ให้กับโลกให้มันดีขึ้น ไม่ต้องมีผลงานของตัวเองก็ได้ เพียงแต่คุณเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับสังคม แล้วสุดท้ายมันก็จะขับเคลื่อนไปเอง แล้วก็อะไรที่เราศึกษา อย่าคิดว่ามันเป็นวิชา ให้คิดว่ามันเป็นองค์ความรู้ที่เราจะเอาไปใช้ต่อไป อย่างสมมติว่าอันนี้คือวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ เราจะไปจับมันแยกเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง สุดท้ายวัตถุประสงค์ที่หวังก็คืออาจจะไปได้แค่สอบผ่านก็ได้
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย