อาชีพ ‘ครู’ คือความรัก อาชีพ ‘นักร้อง’ คือความหลงใหล ทำให้เธอเลือกที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันให้ออกมาดีที่สุด ปุ้ม-พิมลพรรณ์ วงศ์อร่าม อาจารย์สาวประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักร้องอิสระที่มีผลงานมาแล้วนับไม่ถ้วน
เรียกได้ว่าเป็นคนที่เรียนดี กิจกรรมโดดเด่นไม่เป็นสองรองใครมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการร้องเพลงก็เริ่มมาตั้งแต่จำความได้ หรือแม้แต่ความฝันที่อยากจะเป็นครูก็เริ่มมาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เธอเลือกที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน วันนี้ถือได้ว่าเธอเป็นคนหนึ่งที่ได้ทำตามความฝันและทำในสิ่งที่ตัวเองรักจนประสบความสำเร็จไปแล้ว

• สวมหมวกใบที่หนึ่งกับบทบาทแม่พิมพ์ของชาติ ค้นพบตัวเองว่าอยากเป็น ‘ครู’
อาชีพครู เป็นความฝันแรกของเราเลยค่ะ เพราะเรามีต้นแบบเป็นคุณครูที่เรารัก เราเลยอยากเป็นแบบท่าน อยากทำให้ได้เหมือนที่ท่านทำ อยากรักคนอื่นให้ได้เหมือนกับที่ท่านรัก เราจึงอยากเป็น ‘ครู’
ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี คณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนนั้นอาจารย์ที่เคารพรักท่านหนึ่งก็ถามเราด้วยความห่วงใยว่า “ได้จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือไม่ และตั้งใจจะทำอะไรกับชีวิตก้าวต่อไป’’ ตอนนั้นเส้นทางการทำงานของเราก็ยังไม่แน่นอน ทราบเพียงแต่ว่าเราชอบชวนน้องๆ ในละแวกบ้านมานั่งสอนหนังสือ ไม่ได้เงินก็สอน เพราะเรามีความสุข เราก็เลยตอบอาจารย์ไปว่า “หนูก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่าจบไปแล้วจะเป็นอะไร รู้แค่ว่าหนูรักการสอนหนังสือ และรักการร้องเพลงมากๆ” อาจารย์ท่านก็เลยมอบโอกาสให้ลองสมัครเข้าเป็นอาจารย์สอนพิเศษ ตรงนี้ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตในวันนี้ค่ะ
ณ ตอนนั้นเรายังไม่ได้รับปริญญาแต่ว่าเรียนจบแล้ว ก็มีโอกาสได้ไปสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาศึกษาทั่วไป เรามีความสุขตั้งแต่วันแรกที่ได้สอนเลยนะคะ มีความรู้สึกว่าอยากจะตื่นเช้ามาทำงานจังเลย เราบอกกับตัวเองว่านี่แหละเป็นสิ่งที่เรียกร้องอยู่ข้างใน เราชอบ เรามีความสุข เราดีใจที่เห็นคนที่เราสอนเขาพัฒนาขึ้น ถึงจะดีขึ้นเล็กน้อยก็มีความสุขแล้ว
ระหว่างที่เป็นอาจารย์พิเศษได้ 2 ปี รู้สึกแน่วแน่กับเส้นทางสายวิชาการแล้วก็เลยตัดสินใจสมัครเข้าเรียนปริญญาโทที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาภาษาศาสตร์ แต่กว่าจะได้มาเป็นอาจารย์ประจำก็มีโอกาสไปทำงานในองค์กรเอกชน เพราะอยากจะลองอะไรใหม่ๆ ดูสักตั้งหนึ่ง ตอนนั้นด้วยความที่อายุ 20 ปลายๆ แล้วด้วย ถ้าเราไม่ลองทำงานในองค์กรเอกชน อายุมากขึ้นอาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้วก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเราสอนหนังสืออย่างเดียวมาโดยตลอดเลย เราไม่เคยรู้เลยว่าโลกข้างนอกเป็นยังไง สุดท้ายก็เลยตัดสินใจกราบลาอาจารย์ว่าขอไปลองทำงานในองค์กรเอกชนด้านธุรกิจการเงินดู
จนมีวันหนึ่งได้ทราบข่าวว่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัครตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งคณะฯ ก็เหมือนบ้านเราอีกหลังหนึ่ง เรารักที่นี่อยู่แล้ว วันนั้นที่รู้ใจมันพองโตมากนะคะ รู้สึกว่าอยากไปสอบ ใจตอบทันทีเลยว่าจะไป แต่ก่อนที่จะไปสมัครสอบก็ได้ปรึกษาอาจารย์ที่เราเคารพอีกครั้งว่า “ถ้าหนูจะเป็นอาจารย์ประจำ หนูจะยังร้องเพลงได้อยู่ไหม” อาจารย์ก็ตอบกลับมาว่า “ได้สิ ดีเสียอีกจะได้เป็นแรงผลักดัน เป็นกำลังใจให้เด็กๆ เห็นเป็นตัวอย่าง”
พอเราได้ยินดังนั้น เราไปคุยปรึกษากับหัวหน้างานเพื่อขอลาออกเลยค่ะ เพราะเราหาสิ่งที่ตัวเองรักเจอแล้ว แต่ถ้าวันนั้นไม่ได้ลองไปทำงานเอกชน เราอาจจะไม่รู้ตัวเองจริงๆ ก็ได้ คือเราทำงานเอกชนได้ ทำได้ดีเลย แต่เราไม่ได้รัก แต่การเป็นอาจารย์ถึงจะได้เงินน้อยกว่า แลกมาด้วยความรับผิดชอบที่มากกว่า แต่เรารัก แล้วเราเป็นคนที่เลือกงานประเภทที่ตัวเองรัก ดังนั้นคำตอบของเราจึงง่ายมาก สุดท้ายก็เลยมาสอบบรรจุเป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มาจนวันนี้ค่ะ

• ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
วันนั้นจนถึงวันนี้ ปีนี้ก็เข้าปีที่ 4 แล้วค่ะ ถ้านับการเป็นอาจารย์สอนพิเศษด้วยก็ราวๆ 10 กว่าปีที่ได้เป็นอาจารย์มาค่ะ
ส่วนหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงตอนนี้จะเป็นรายวิชากลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) วิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ (English Phonetics) วิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (ESP) วิชาภาษาอังกฤษในสำนักงาน (English for the Workplace) กลุ่มวิชาวรรณคดีและวัฒนธรรม วิชาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในธุรกิจและองค์กร (Intercultural Communication in Business and Organisations) ค่ะ
• คณะนี้มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้างคะ
ในโลกของยุคโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ที่กำลังมา ทำให้เส้นแบ่งวัฒนธรรมบางขึ้นเรื่อยๆ คนต่างวัฒนธรรมก็ยิ่งโคจรมาเจอกันง่ายขึ้นเรื่อยๆ ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือหลักของมนุษย์ในการติดต่อสื่อสารกัน เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางได้
ฉะนั้น หลักสูตรของเรานอกจากเรื่องทักษะทางวิชาการแล้ว นักศึกษาเอกภาษาอังกฤษ คณะโบราณคดี จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวไปตามบริบททางวัฒนธรรมด้วย เพราะเราไม่ต้องการให้เขาเรียนจบมาแล้วเป็นคนที่พูดเก่ง เขียนเก่งเพียงอย่างเดียว แต่โดยสถิติแล้วนักศึกษาของเราเขาเป็นเด็กที่ค่อนข้างปรับตัวเก่ง อยู่ที่ไหนเขาจะวิเคราะห์และตระหนักได้ว่าในสถานการณ์แบบนี้เราน่าจะต้องทำยังไง อันนั้นคือปลายทางที่เราจะสร้างเด็กคนหนึ่งขึ้นมาค่ะ
นักศึกษาที่จบคณะนี้ไปสามารถไปเป็นอาจารย์ เป็นติวเตอร์ เป็นครูคือใช้ภาษาอังกฤษไปในเชิงสอนหนังสือได้ ส่วนอีกทางหนึ่งก็จะเป็นในองค์กรต่างๆ หรืองานอิสระ เป็นล่าม เป็นไกด์ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาเพื่อไปทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปค่ะ

• แล้วถ้ามีเด็กๆ อยากเรียนคณะนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างคะ
ถ้าอยากเรียนคณะนี้แนะนำว่าต้องมีพื้นฐานมาในระดับหนึ่งก่อนค่ะ คือต้องเข้าใจในหลักสูตรพื้นฐานมาก่อน ครูว่าพื้นฐานต่างๆ จะถูกกรองมาจากระบบการศึกษาก่อนที่จะเข้ามาแล้วส่วนหนึ่ง อย่างคณะนี้เมื่อก่อนจะมีรายวิชาพื้นฐาน แต่เมื่อสอบถามความเห็นของนักศึกษาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรก็ได้ความว่าบางรายวิชาสามารถละได้ สามารถใช้ตัวบทที่สูงขึ้นไปได้เลย เพราะฉะนั้นจึงมีการปรับหลักสูตรตามความต้องการของนักศึกษาด้วยค่ะ
• ในฐานะที่เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คิดว่าภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไรในชีวิตประจำวันบ้างคะ
ภาษาอังกฤษเป็นเหมือนเครื่องมือนะคะ ครูมองว่าภาษาอังกฤษจะเป็นกุญแจที่จะนำคุณไปสู่โลกภายนอก เนื่องจากตอนนี้ภาษาอังกฤษเรียกได้ว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมาก ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารกันได้ ลองนึกถึงเวลาเราเจอคนที่พูดภาษาเดียวกันกับเรา เมื่อคุณพูดภาษาอังกฤษได้ การใช้ชีวิตทุกอย่างจะง่ายขึ้น เปรียบเสมือนเราใส่ภาษาอังกฤษลงไปในกระเป๋าเดินทาง หิ้วติดตัวไปด้วยตลอดเวลาได้
มีหลายประเทศที่มีภาษาของตัวเองและใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ฯลฯ เอาแค่ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ถ้าทุกประเทศมานั่งด้วยกันจะคุยกันยังไง ถ้าไม่มีภาษาอังกฤษจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ต้องมีล่ามเท่านั้นถึงจะสื่อกันเข้าใจ
หรืออยากให้ลองนึกถึงสถานการณ์ว่าวันหนึ่งถ้าเราบังเอิญที่จะต้องคุยกับคนต่างชาติ มีชาวต่างชาติมาถามทาง คุณจะทำยังไง หรือเราอยากให้เขาไปถามคนอื่นแต่เรายังไม่รู้เลยว่าเราจะตอบว่าอะไร เราพูดไม่ได้ เราไม่มีเครื่องมือหรือความรู้ด้านภาษาอังกฤษติดตัวเลย ความลำบากจะเกิดขึ้นนะคะ คุณอาจจะต้องใช้ภาษามือหรือทำอะไรก็ตามเพื่ออธิบายกับเขา หรือคุณจะวิ่งหนีเขาเหรอ ดังนั้นสิ่งนี้มันจึงเป็นเครื่องมือที่จะทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น

ครูมองว่าภาษาอังกฤษสามารถเรียนรู้ได้ค่ะ ส่วนการฝึกฝนของครู จริงๆ ต้องย้อนกลับไปตอนอายุ 5 ขวบ เราเป็นลูกคนเดียว พ่อกับแม่ทำงานนอกบ้าน ตอนนั้นแม่ทำงานโรงแรมต้องใช้ภาษาอังกฤษ เลยมีเทปคาสเส็ตของ follow me ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษตามฉบับ BBC English
ด้วยความที่เราเบื่อการ์ตูนที่ดูอยู่ทุกวันแล้ว เราก็เลยเปลี่ยนไปหยิบเทปของแม่มาใส่เครื่องเล่นเทป ใส่หูฟัง พอเราได้ฟังเราก็ได้ยินเขาพูดอะไรก็ไม่รู้ เราฟังไม่ออกแต่ในเชิงทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่ 2 หรือภาษาต่างประเทศของเด็กเล็ก นักภาษาศาสตร์จิตวิทยาก็ให้ข้อคิดเห็นว่า ยิ่งใส่ Input ทางภาษาเร็วเท่าไหร่ เด็กจะยิ่งจับได้เร็วเท่านั้น
ตั้งแต่นั้นมาเราฟังทุกวันเลยนะคะ เรายังไม่รู้หรอกว่าเขาพูดอะไร รู้แต่ว่าแปลกดี นอกจากการฟังเรายังอาศัยพูดตามเขาไปด้วยทั้งๆ ที่เราไม่รู้ว่ามันคือเสียงอะไร ก็ฟังและฝึกพูดมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยแต่มันคือการฝึกอย่างดีมากๆ ซึ่งมันก็ได้ผล เพราะว่ามีอยู่วันหนึ่งเราก็สามารถที่จะลุกขึ้นมาพูดคำว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่ว่าเราพูดด้วยสำเนียงแบบในเทป เราพูดด้วยทำนองเสียงของเขา เราพูดด้วยจังหวะของภาษาเขา เราจับหน่วยเสียงของเขาได้เพราะมันจะมีหน่วยเสียงที่ไม่ใช่เสียงของภาษาไทยแต่เราพูดได้ จนโตมาถึงได้รู้ว่าสิ่งที่เราฟังมันคือภาษาอังกฤษนะ เวลาที่เราจะพูดภาษาอังกฤษจะต้องเปลี่ยนโหมด เราต้องไม่พูดเหมือนภาษาไทย เราต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกคนโดยสวมเสื้อนั่งเก้าอี้ตัวใหม่เพื่อพูดเสียงนี้ออกมา
เทปคาสเส็ตที่แม่วางไว้ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากนะคะ เราโชคดีมากที่แม่ตั้งเทปภาษาอังกฤษเหล่านั้นทิ้งไว้ เพราะสิ่งนั้นมีผลมากจริงๆ ค่ะ
อีกอย่างเราโชคดีตรงที่หลักสูตรของโรงเรียนที่เรียนมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลายเขาให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษามันเลยทำให้เราไม่ลืม เพราะจะต้องใช้ตลอด อย่างโรงเรียนเขาจะมีวิชาที่ให้นักเรียนออกไปพูดภาษาอังกฤษหน้าชั้นเรียน ก็ได้ออกไปพูด ซึ่งเราก็ต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ตัวเอง ทำให้เต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ตรงนี้ก็เลยทำให้กล้าพูดมากขึ้น ก็ฝึกเรื่อยมา จนชอบภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย

• นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว ยังสวมหมวกอีกหนึ่งใบกับบทบาทอาชีพ 'นักร้องอิสระ' ด้วย
นอกจากการสอนด้านวิชาการแล้ว ครูชอบร้องเพลงด้วยค่ะ เราเริ่มร้องเพลงมาตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบได้ จริงๆ เราไม่รู้ตัวนะคะ แต่เราทำโดยความเป็นตัวเองมากที่สุด แม่ครูเล่าให้ฟังตอนโตว่าตอนเด็กๆ เรากระโดดขึ้นไปบนโต๊ะแล้วร้องเพลงว่า “นกแลก็คือนกแก้ว” (หัวเราะ) ตอนนั้นแม่ก็เลยคิดว่าจะต้องปั้นลูกให้มาทางร้องเพลงให้ได้ เพราะแม่เห็นว่าเรากล้าแสดงออก
พอเข้าโรงเรียนเรียกได้ว่าเราเป็นเด็กกิจกรรมคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ เราจะชอบทำกิจกรรมโรงเรียน พอครูเห็นว่าเรากล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าเต้น กล้าร้องเพลง ทำให้เวลาที่มีการแสดงต่างๆ ของโรงเรียนเราจะได้ไปอยู่แถวหน้าเสมอ ดังนั้น การร้องเพลง การเต้นจะอยู่กับเรามาโดยตลอดเช่นกันค่ะ
ในระหว่างนั้นครูก็ได้ส่งไปประกวดตามที่นั่นที่นี่เยอะมาก มีทั้งประกวดของโรงเรียน ของภูมิภาค ฯลฯ กระทั่งเรามาจริงจังกับการร้องเพลงตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อายุราวๆ 10 ปี ได้ค่ะ พอรู้ว่าเราจะมาทางนี้จริงจังก็ได้ไปสอบเป็นนักร้องในโครงการ Thai Children Chorus (วงนักร้องประสานเสียงเด็กไทย) เราก็สอบผ่านและได้เป็นสมาชิกรุ่นแรกเลยค่ะ
พอได้เข้าไปอยู่ในโครงการ Thai Children Chorus แล้วเป็นสิ่งที่มีความสุขมากๆ เราจะต้องไปซ้อมทุกวันอาทิตย์ ก็ได้ รองศาสตราจารย์จารุณี หงส์จารุ ท่านเป็นคนสอน ท่านจะสอนเกี่ยวกับการวอร์มเสียง อ่านโน้ตเบื้องต้น เราได้ฝึกหู (ear training) ได้ฝึกฟังเสียงเพื่อนข้างๆ และอะไรต่างๆ มากมาย จึงทำให้เรามีวินัยและเข้าใจความสามัคคี และรู้หน้าที่ของตัวเองมากๆ จนทำแบบนั้นเรื่อยมาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และก็ได้มีโอกาสไปร่วมขับร้องในงานเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ค่ะ

ต้องบอกว่าตอนไปประกวดที่ไหน เราก็มีคำว่าแพ้ติดอยู่บนหน้ามาตลอด ไม่เคยชนะเลยนะคะ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจในสิ่งนั้นมากพอก็ได้ค่ะ บางครั้งเราต้องไปร้องเพลงเกี่ยวกับความรัก เกี่ยวกับเพลงอกหักซึ่งเราคงยังไม่เข้าใจ ไม่อินไปกับสิ่งนั้น หรือการโปรเจกต์เสียงที่ต่างกันก็มีส่วนค่ะ มันมีความไม่ลงตัวของอะไรบางอย่าง ทำให้ต้องอยู่กับคำว่าแพ้จนชิน แต่เราไม่ท้อ ไม่เสียใจ คิดแต่ว่าทำไปเถอะวันหนึ่งเดี๋ยวเราก็ทำได้ในสักวัน แค่วันนี้ได้ร้องเพลงแล้วมีความสุขก็พอแล้ว จนชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อเข้ามัธยมปลาย
พอเข้ามัธยมปลายก็ได้ประกวดร้องเพลงอีก ปรากฏว่าชีวิตเราเปลี่ยน เรากลับชนะบ่อย ได้ถ้วยรางวัลต่างๆ เช่น ได้รับพระราชทานรางวัล “ยอดเยี่ยม (Excellence)” จาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการแข่งขันร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสในสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส และได้ร้องเพลงที่ชนะถวายเฉพาะพระพักตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขัน Folk Song Queen’s Cup ครั้งที่ 1 (รางวัลชนะเลิศ : รับตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4) เป็นต้น
พอเราชนะบ่อย อาจารย์สุมิตรา พงศธร ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยที่เราเรียนตอนมัธยมปลาย ท่านมองเห็นแววอะไรบางอย่างในตัวเรา ท่านเลยสนับสนุนและส่งเสริมอยากให้เรามาทางด้านร้องเพลงจริงจัง ท่านก็แนะนำให้ไปลองสอบตรงคณะฯ ที่มีสาขาวิชาดนตรี เอกขับร้อง แต่พอไปสอบแล้วเราไม่ผ่านค่ะ เพราะเราไม่มีพื้นฐานอะไรเลย เราร้องเพลงได้อย่างเดียว แต่อ่านโน้ตไม่คล่อง ทฤษฎีดนตรีอ่อนมากๆ ซึ่งการเรียนดนตรีมันไม่ใช่แค่ร้องเพลงแล้วจบนะคะ แต่เราต้องแม่นทฤษฎีด้วย แต่อาจารย์ก็ไม่ย่อท้อนะคะ เขายังอยากให้เราไปทางสายนี้อยู่ ท่านก็เลยขับรถพาเราไปสมัครเรียนร้องเพลง ออกเงินค่าเรียนให้เราด้วย เพื่ออยากให้เราร้องเพลงจริงจัง จนสุดท้ายครูก็ตัดสินใจสมัครสอบชิงทุนเรียน และได้รับทุนเรียนร้องขับร้องเพลงคลาสสิกเป็นเวลา 1 ปี จากโรงเรียนสอนดนตรี AMA Studio ชื่อทุนหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ณ อยุธยา ค่ะ
หลังจากนั้นก็ยังคงประกวดต่อ ก็มีได้รับรางวัลชนะเลิศจากสมาคมภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย (L’Alliance Francaise) ในการประกวดร้องเพลงภาษาฝรั่งเศส, ได้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงสากล ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฉพาะพระพักตร์ ในโอกาสเสด็จฯ ส่วนพระองค์ ฯลฯ
แต่พอถึงช่วงเข้ามหาวิทยาลัยเราไม่ได้เรียนทางด้านดนตรีนะคะ เพราะเราคิดว่าถ้าเราไม่พร้อมสำหรับการเรียนดนตรี เราก็ไปเรียนสาขาอื่นที่ยังสามารถร้องเพลงได้อยู่ดีกว่า เราเลยเลือกที่จะเรียนคณะโบราณคดี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพราะเราชอบภาษาอังกฤษ และระหว่างนั้นก็ร้องเพลงไปด้วยมาโดยตลอดค่ะ

• ผลงานเพลงที่ผ่านมามีอะไรบ้างคะ
ก่อนหน้านี้เราเคยร้องเพลงป็อปแจ๊ซอยู่ที่โรงแรม Imperial Queen’s Park ช่วงหนึ่งทำให้เราได้รู้จักนักดนตรีแจ๊ซเก่งๆ ระดับประเทศ ซึ่งเราโชคดีมากเลยค่ะ จากนั้นจึงหยุดร้องเพลงประจำไปเพราะเรียนหนักมาก ต่อมาก็มีโอกาสได้ร้องเพลงแนวป็อปแจ๊ซที่ร้านอาหาร Varano Wine Bar and Café จึงทำให้พบกับพี่เฟล็กซ์ พี่ไก่ วรายุฑ
ผลงานการร้องเพลงที่ผ่านมา มีเพลง “ใจเป็นห่วง” ในฉากในละคร เรื่องเจ้าบ้านเจ้าเรือน ของผู้จัดพี่ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา ออกอากาศทางช่อง 3 ร้องเพลงในร้านอาหาร Varano Wine Bar and Café ร้องเพลงตาม Event งานแต่งงาน งานเปิดตัวสินค้า ร้องนำและร่วมออกอัลบั้ม “Mola mola Sunshine!” มีผลงานเพลง “ฉันน่าจะบอกรักไป…..ในวันที่เธอบอกรักมา” เพลง “ช่วยไม่ได้…ไม่ได้ตั้งใจ” ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีผลงานเพลง “โอ้พระคืนสรวง” บทเพลงถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และผลงานเพลง “ดาวพราวฟ้า” เวอร์ชันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำร้อง/ทำนองโดย รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี, ฯลฯ เป็นต้นค่ะ
สืบเนื่องมาจากความโชคดีที่ได้รู้จักและได้ร่วมเล่นดนตรีกับนักดนตรีแจ๊ซฝีมือระดับประเทศหลายท่าน จึงเล็งเห็นว่าเราสามารถทำวงดนตรีที่มีคุณภาพขึ้นมารับงานเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งได้ ครูจึงก่อตั้งวง The Jazz Up Band ขึ้นมา โดยมีผู้จัดการวงและครูกำกับดูแลงานอีกทีค่ะ
ส่วนล่าสุดก็จะเป็นรายการ I Can See Your Voice ที่เรากรอกใบสมัครไปในรายการ I Can See Your Voice ทางทีมงานของรายการก็สนใจ ด้วยความที่เป็นอาจารย์คณะโบราณคดีแต่ร้องเพลงได้นี่ล่ะค่ะ จึงได้มีโอกาสไปออกรายการใน EP.130 เทปที่คุณโอ๊ต ปราโมทย์ ปาทาน มาเป็นแขกรับเชิญ ดีใจมากที่ได้อยู่จนรอบสุดท้ายเพราะนักสืบหลายคนก็บอกว่าเราร้องเพี้ยน สุดท้ายคุณโอ๊ตก็เลือก (หัวไหล่) เรา (หัวเราะ) เขาชมว่าหัวไหล่สวยค่ะ แต่จริงๆ ต้องชื่นชมคุณโอ๊ตนะคะเขาวิเคราะห์เก่งมาก เขาสามารถเดาได้ถูก การได้ไปออกรายการนี้เรียกได้ว่าเป็นความประทับใจที่สุดในรอบปีนี้เลยก็ว่าได้ค่ะ
• แบบนี้ได้นำเทคนิคการร้องเพลงมาใช้กับการสอนหนังสือบ้างหรือเปล่าคะ
ก็จะมีบางคลาสที่จะได้ฟังครูร้องเพลงบ้างนะคะ เช่น ในรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ คือการเรียนรู้หน่วยเสียงที่เล็กที่สุดในภาษา เรียนเกี่ยวกับอวัยวะในการออกเสียง วิธีใช้เสียงแบบต่างๆ บางบทเรียนเราก็จะต้องสาธิตให้เด็กๆ ฟังว่าเสียงที่ออกจากกระบังลมเป็นยังไง เสียงที่ออกจากคอเป็นยังไง เสียงออกจากหัวเป็นยังไง เราก็เลยเอาความเป็นนักร้องเข้ามาใช้กับการเป็นอาจารย์ด้วยค่ะ
• ด้วยความรับผิดชอบทั้งสองหน้าที่กับบริบทการทำงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจารย์ปุ้มคิดว่าจะทำทั้งสองอาชีพควบคู่กันต่อไปเรื่อยๆ เลยไหมคะ
คงจะทำต่อไปเรื่อยๆ นะคะ เพราะดีอย่างคือการเป็นอาจารย์ และส่วนงานวิชาการก็จะทำในเวลาราชการและคำนึงถึงระเบียบราชการเป็นสำคัญลำดับแรกอยู่แล้ว ส่วนนอกเวลาราชการเราสามารถทำวิจัย เขียนตำรา ร้องเพลง หรือทำงานแปลอิสระได้ เวลาไม่ทับซ้อนกันค่ะ เราบริหารเวลา กำหนดวันเวลาชัดเจน
อาชีพครู เป็นความฝันแรกของเรา ส่วนการร้องเพลง มันคือลูกไฟลูกหนึ่งที่อยู่ข้างในตัวเรา เวลาเราหมดแรง เราเหนื่อย เราเครียด เราไปนั่งร้องเพลงอยู่คนเดียวแล้วมันผ่อนคลาย พอเรามาวิเคราะห์ตัวเองก็ได้รู้ว่าอันนั้นคือ Passion หรือความหลงใหลของตัวเองที่อยู่ข้างใน ดังนั้น ชีวิตของเราก็เลยเดินทางมาเป็นคู่ขนานอย่างทุกวันนี้ เราทิ้งทั้งสองอย่างไม่ได้ เพราะสองสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือความสุขทั้งคู่
กว่าครูจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ ที่ผ่านมาถามว่าชีวิตเราเหนื่อยไหม เหนื่อยมากนะคะ แต่มันสนุก มันท้าทาย เราไม่ใช่คนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เราชอบพิสูจน์ตัวเอง เราเลยต้องทำให้ดีทั้งคู่ คือจริงๆ ที่เรามีกำลังใจทำทั้งสองด้านไปพร้อมกัน เพราะส่วนหนึ่ง เป็นเพราะเรามีแม่ที่เป็นเหมือนหัวหน้าฝ่ายกิจกรรม ส่วนพ่อเป็นเหมือนหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เราเลยทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันได้
คือแม่เราสนับสนุนให้ทำกิจกรรมมากๆ ส่วนพ่อจะชอบให้เรียน มีครั้งหนึ่งจำได้ว่าพ่อเคยให้หยุดทำกิจกรรมเพื่อให้เรากลับมาเรียนให้ดี ดีของพ่อคือเราต้องรักษาระดับ แต่พอเราเรียนตกลงไป เขาเลยอยากให้เราหยุดทำกิจกรรมไปก่อน แต่เราก็ไม่ได้หยุดทำนะคะ เราอาศัยการพิสูจน์ให้ท่านเห็นแทนว่าเราทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปได้นะ เราได้ทดสอบกับตัวเอง ไม่ได้ไปสู้กับใคร เราต่อสู้กับตัวเองแบบนั้นมาโดยตลอด ว่าเราจะทำทั้งสองอย่างออกมาให้ดีที่สุดให้ได้

• ถ้ามีน้องๆ ในวัยเรียน อยากเรียนดี กิจกรรมเด่น แบบอาจารย์ปุ้มบ้าง ต้องทำอย่างไร
การแบ่งเวลาสำคัญมากค่ะ จุดแข็งน่าจะเป็นการแบ่งเวลานี่แหละค่ะ เพราะในชีวิตที่ผ่านมา เราต้องทำวิชาการให้เด่น กิจกรรมก็ต้องไม่ให้เสีย เราต้องจัดการบริหารเวลาในชีวิตให้เป็นระบบ ลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วทำตามขั้นตอน
การจะทำอะไรพร้อมกันให้ประสบความสำเร็จทั้งหมด ครูว่าอยู่ที่คนคนนั้นเลยค่ะ เพราะการทำงานหลายอย่างจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่คน อยู่ที่การบริหารเวลา ว่าเขาจะจัดการได้มากน้อยแค่ไหน คุณกำลังทำให้ตัวเองเดือดร้อน หรือกำลังทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ ก็อยู่ที่คุณ
ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ที่การประเมินตัวเองว่าเราสามารถทำได้หรือเปล่า ถ้าไหวก็เริ่มทำเลยค่ะ ครูมีความเชื่อว่าในชีวิตคนเรามักแพ้อย่างเดียวนั่นก็คือ “ความเพียร” ถ้าเรามีความเพียร เราต้องทำได้ในสักวันหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่มีความเพียรต่อให้ทำงานกี่อย่างมันก็หลุดหมด

• ท้ายนี้ฝากถึงคนที่มีความฝันและอยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหน่อยค่ะ
อย่างแรกเลยเราต้องรู้ว่าเรากำลังหาอะไรในตัวเอง เราชอบสิ่งนี้ เราต้องดูด้วยว่าเราจะสามารถอยู่กับมันไปได้ตลอดทั้งชีวิตไหม
เราจะมีเส้นชัยของตัวเองตลอดเวลา เราจะแบ่งเส้นชัยของตัวเองเป็นเส้นเล็กๆ แล้วบอกตัวเองว่าวันนี้จะทำให้ถึงเป้าหมายตรงไหน พอเราทำถึงเป้าหมายแล้วเราจะให้รางวัลแก่ตัวเอง เราสร้างสมดุลในสิ่งที่เรารักจะทำตลอดเวลา เช่น เครียดๆ ก็ไปร้องเพลง หรือไปหาความชอบของตัวเอง ทำแล้วเราก็มีความสุขได้ เราต้องรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก่อน ไม่ต้องไปหาไกลตัว ทุกสิ่งอยู่รอบตัวเรานี่แหละค่ะ ไม่ต้องไปหาไกลเลย เพราะครูมองว่าชีวิตคนเราฝันไกลได้ค่ะ แต่ในฝันไกลเราต้องมีฝันใกล้ก่อน ถ้าเราไปถึงฝันใกล้ๆ แล้ว สักวันหนึ่งเราจะไปถึงความฝันไกลๆ ได้
ส่วนตัวครูเคยฝันว่าอยากจะปฏิรูปการศึกษา มันเป็นความฝันที่ไกลมาก ตัวแปรเยอะมาก ดังนั้น ณ วันนี้เราจึงเริ่มจากความฝันใกล้ๆ ของตัวเองก่อน ก็คือเราเป็นอาจารย์ เรามีหน้าที่สอนให้เด็กนักศึกษาให้เขามีความรู้และความเข้าใจ เพื่อที่จะเอาความรู้ที่ได้รับไปสร้างโลกให้มันดีขึ้นในแบบของเขาต่อไป โลกไม่ได้อยู่ในมือเราอย่างเดียวนะคะ อยู่ในมือพวกเขาด้วย ส่วนการร้องเพลงเราทำแล้วมีความสุขเราก็จะสร้างความสุขให้ตัวเองและคนอื่นแบบนี้ต่อไป...วันนี้เราก็กำลังก้าวเดินตามความฝันของตัวเองไปทีละจุดค่ะ.



Profile
ชื่อ-สกุล : พิมลพรรณ์ วงศ์อร่าม
วันเกิด : 21 มีนาคม ค.ศ. 1984
การศึกษา :
● ปริญญาโท : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต เอกภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ปริญญาตรี : ศิลปศาสตรบัณฑิต เอกภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
● มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนมาแตร์เดอี วิทยาลัย
● ประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนวาสุเทวี
อาชีพ :
● อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ
● อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Bangkok University International (BUI) และ PIM
● นักร้องอิสระ และทำวงดนตรี The Jazz Up Band รับงาน Event แนว Pop-Jazz, R&B, Soul, Funk
● speech therapist & singing coach สำหรับสอนตัวต่อตัว ให้กับนักร้องหรือผู้ที่ต้องใช้ทักษะการออกเสียง
● นักแปลอิสระ แปล subtitles งานโฆษณาให้แก่เอเยนซีหลายแห่ง
● ลงเสียงงานโฆษณาและงานพากย์
คติประจำใจ : ไม่มีคนเพียรคนไหนเป็นผู้แพ้ไปตลอดชีวิต



ติดตามผลงานได้ที่
Youtube: KruPuM
FB: Pum.Molamola
IG: krupum_
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : วชิร สายจำปา
เรียกได้ว่าเป็นคนที่เรียนดี กิจกรรมโดดเด่นไม่เป็นสองรองใครมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการร้องเพลงก็เริ่มมาตั้งแต่จำความได้ หรือแม้แต่ความฝันที่อยากจะเป็นครูก็เริ่มมาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เธอเลือกที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน วันนี้ถือได้ว่าเธอเป็นคนหนึ่งที่ได้ทำตามความฝันและทำในสิ่งที่ตัวเองรักจนประสบความสำเร็จไปแล้ว
• สวมหมวกใบที่หนึ่งกับบทบาทแม่พิมพ์ของชาติ ค้นพบตัวเองว่าอยากเป็น ‘ครู’
อาชีพครู เป็นความฝันแรกของเราเลยค่ะ เพราะเรามีต้นแบบเป็นคุณครูที่เรารัก เราเลยอยากเป็นแบบท่าน อยากทำให้ได้เหมือนที่ท่านทำ อยากรักคนอื่นให้ได้เหมือนกับที่ท่านรัก เราจึงอยากเป็น ‘ครู’
ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี คณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนนั้นอาจารย์ที่เคารพรักท่านหนึ่งก็ถามเราด้วยความห่วงใยว่า “ได้จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือไม่ และตั้งใจจะทำอะไรกับชีวิตก้าวต่อไป’’ ตอนนั้นเส้นทางการทำงานของเราก็ยังไม่แน่นอน ทราบเพียงแต่ว่าเราชอบชวนน้องๆ ในละแวกบ้านมานั่งสอนหนังสือ ไม่ได้เงินก็สอน เพราะเรามีความสุข เราก็เลยตอบอาจารย์ไปว่า “หนูก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่าจบไปแล้วจะเป็นอะไร รู้แค่ว่าหนูรักการสอนหนังสือ และรักการร้องเพลงมากๆ” อาจารย์ท่านก็เลยมอบโอกาสให้ลองสมัครเข้าเป็นอาจารย์สอนพิเศษ ตรงนี้ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตในวันนี้ค่ะ
ณ ตอนนั้นเรายังไม่ได้รับปริญญาแต่ว่าเรียนจบแล้ว ก็มีโอกาสได้ไปสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาศึกษาทั่วไป เรามีความสุขตั้งแต่วันแรกที่ได้สอนเลยนะคะ มีความรู้สึกว่าอยากจะตื่นเช้ามาทำงานจังเลย เราบอกกับตัวเองว่านี่แหละเป็นสิ่งที่เรียกร้องอยู่ข้างใน เราชอบ เรามีความสุข เราดีใจที่เห็นคนที่เราสอนเขาพัฒนาขึ้น ถึงจะดีขึ้นเล็กน้อยก็มีความสุขแล้ว
ระหว่างที่เป็นอาจารย์พิเศษได้ 2 ปี รู้สึกแน่วแน่กับเส้นทางสายวิชาการแล้วก็เลยตัดสินใจสมัครเข้าเรียนปริญญาโทที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาภาษาศาสตร์ แต่กว่าจะได้มาเป็นอาจารย์ประจำก็มีโอกาสไปทำงานในองค์กรเอกชน เพราะอยากจะลองอะไรใหม่ๆ ดูสักตั้งหนึ่ง ตอนนั้นด้วยความที่อายุ 20 ปลายๆ แล้วด้วย ถ้าเราไม่ลองทำงานในองค์กรเอกชน อายุมากขึ้นอาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้วก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเราสอนหนังสืออย่างเดียวมาโดยตลอดเลย เราไม่เคยรู้เลยว่าโลกข้างนอกเป็นยังไง สุดท้ายก็เลยตัดสินใจกราบลาอาจารย์ว่าขอไปลองทำงานในองค์กรเอกชนด้านธุรกิจการเงินดู
จนมีวันหนึ่งได้ทราบข่าวว่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัครตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งคณะฯ ก็เหมือนบ้านเราอีกหลังหนึ่ง เรารักที่นี่อยู่แล้ว วันนั้นที่รู้ใจมันพองโตมากนะคะ รู้สึกว่าอยากไปสอบ ใจตอบทันทีเลยว่าจะไป แต่ก่อนที่จะไปสมัครสอบก็ได้ปรึกษาอาจารย์ที่เราเคารพอีกครั้งว่า “ถ้าหนูจะเป็นอาจารย์ประจำ หนูจะยังร้องเพลงได้อยู่ไหม” อาจารย์ก็ตอบกลับมาว่า “ได้สิ ดีเสียอีกจะได้เป็นแรงผลักดัน เป็นกำลังใจให้เด็กๆ เห็นเป็นตัวอย่าง”
พอเราได้ยินดังนั้น เราไปคุยปรึกษากับหัวหน้างานเพื่อขอลาออกเลยค่ะ เพราะเราหาสิ่งที่ตัวเองรักเจอแล้ว แต่ถ้าวันนั้นไม่ได้ลองไปทำงานเอกชน เราอาจจะไม่รู้ตัวเองจริงๆ ก็ได้ คือเราทำงานเอกชนได้ ทำได้ดีเลย แต่เราไม่ได้รัก แต่การเป็นอาจารย์ถึงจะได้เงินน้อยกว่า แลกมาด้วยความรับผิดชอบที่มากกว่า แต่เรารัก แล้วเราเป็นคนที่เลือกงานประเภทที่ตัวเองรัก ดังนั้นคำตอบของเราจึงง่ายมาก สุดท้ายก็เลยมาสอบบรรจุเป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มาจนวันนี้ค่ะ
• ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
วันนั้นจนถึงวันนี้ ปีนี้ก็เข้าปีที่ 4 แล้วค่ะ ถ้านับการเป็นอาจารย์สอนพิเศษด้วยก็ราวๆ 10 กว่าปีที่ได้เป็นอาจารย์มาค่ะ
ส่วนหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงตอนนี้จะเป็นรายวิชากลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) วิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ (English Phonetics) วิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (ESP) วิชาภาษาอังกฤษในสำนักงาน (English for the Workplace) กลุ่มวิชาวรรณคดีและวัฒนธรรม วิชาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในธุรกิจและองค์กร (Intercultural Communication in Business and Organisations) ค่ะ
• คณะนี้มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้างคะ
ในโลกของยุคโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ที่กำลังมา ทำให้เส้นแบ่งวัฒนธรรมบางขึ้นเรื่อยๆ คนต่างวัฒนธรรมก็ยิ่งโคจรมาเจอกันง่ายขึ้นเรื่อยๆ ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือหลักของมนุษย์ในการติดต่อสื่อสารกัน เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางได้
ฉะนั้น หลักสูตรของเรานอกจากเรื่องทักษะทางวิชาการแล้ว นักศึกษาเอกภาษาอังกฤษ คณะโบราณคดี จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวไปตามบริบททางวัฒนธรรมด้วย เพราะเราไม่ต้องการให้เขาเรียนจบมาแล้วเป็นคนที่พูดเก่ง เขียนเก่งเพียงอย่างเดียว แต่โดยสถิติแล้วนักศึกษาของเราเขาเป็นเด็กที่ค่อนข้างปรับตัวเก่ง อยู่ที่ไหนเขาจะวิเคราะห์และตระหนักได้ว่าในสถานการณ์แบบนี้เราน่าจะต้องทำยังไง อันนั้นคือปลายทางที่เราจะสร้างเด็กคนหนึ่งขึ้นมาค่ะ
นักศึกษาที่จบคณะนี้ไปสามารถไปเป็นอาจารย์ เป็นติวเตอร์ เป็นครูคือใช้ภาษาอังกฤษไปในเชิงสอนหนังสือได้ ส่วนอีกทางหนึ่งก็จะเป็นในองค์กรต่างๆ หรืองานอิสระ เป็นล่าม เป็นไกด์ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาเพื่อไปทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปค่ะ
• แล้วถ้ามีเด็กๆ อยากเรียนคณะนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างคะ
ถ้าอยากเรียนคณะนี้แนะนำว่าต้องมีพื้นฐานมาในระดับหนึ่งก่อนค่ะ คือต้องเข้าใจในหลักสูตรพื้นฐานมาก่อน ครูว่าพื้นฐานต่างๆ จะถูกกรองมาจากระบบการศึกษาก่อนที่จะเข้ามาแล้วส่วนหนึ่ง อย่างคณะนี้เมื่อก่อนจะมีรายวิชาพื้นฐาน แต่เมื่อสอบถามความเห็นของนักศึกษาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรก็ได้ความว่าบางรายวิชาสามารถละได้ สามารถใช้ตัวบทที่สูงขึ้นไปได้เลย เพราะฉะนั้นจึงมีการปรับหลักสูตรตามความต้องการของนักศึกษาด้วยค่ะ
• ในฐานะที่เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คิดว่าภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไรในชีวิตประจำวันบ้างคะ
ภาษาอังกฤษเป็นเหมือนเครื่องมือนะคะ ครูมองว่าภาษาอังกฤษจะเป็นกุญแจที่จะนำคุณไปสู่โลกภายนอก เนื่องจากตอนนี้ภาษาอังกฤษเรียกได้ว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมาก ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารกันได้ ลองนึกถึงเวลาเราเจอคนที่พูดภาษาเดียวกันกับเรา เมื่อคุณพูดภาษาอังกฤษได้ การใช้ชีวิตทุกอย่างจะง่ายขึ้น เปรียบเสมือนเราใส่ภาษาอังกฤษลงไปในกระเป๋าเดินทาง หิ้วติดตัวไปด้วยตลอดเวลาได้
มีหลายประเทศที่มีภาษาของตัวเองและใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ฯลฯ เอาแค่ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ถ้าทุกประเทศมานั่งด้วยกันจะคุยกันยังไง ถ้าไม่มีภาษาอังกฤษจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ต้องมีล่ามเท่านั้นถึงจะสื่อกันเข้าใจ
หรืออยากให้ลองนึกถึงสถานการณ์ว่าวันหนึ่งถ้าเราบังเอิญที่จะต้องคุยกับคนต่างชาติ มีชาวต่างชาติมาถามทาง คุณจะทำยังไง หรือเราอยากให้เขาไปถามคนอื่นแต่เรายังไม่รู้เลยว่าเราจะตอบว่าอะไร เราพูดไม่ได้ เราไม่มีเครื่องมือหรือความรู้ด้านภาษาอังกฤษติดตัวเลย ความลำบากจะเกิดขึ้นนะคะ คุณอาจจะต้องใช้ภาษามือหรือทำอะไรก็ตามเพื่ออธิบายกับเขา หรือคุณจะวิ่งหนีเขาเหรอ ดังนั้นสิ่งนี้มันจึงเป็นเครื่องมือที่จะทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น
ครูมองว่าภาษาอังกฤษสามารถเรียนรู้ได้ค่ะ ส่วนการฝึกฝนของครู จริงๆ ต้องย้อนกลับไปตอนอายุ 5 ขวบ เราเป็นลูกคนเดียว พ่อกับแม่ทำงานนอกบ้าน ตอนนั้นแม่ทำงานโรงแรมต้องใช้ภาษาอังกฤษ เลยมีเทปคาสเส็ตของ follow me ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษตามฉบับ BBC English
ด้วยความที่เราเบื่อการ์ตูนที่ดูอยู่ทุกวันแล้ว เราก็เลยเปลี่ยนไปหยิบเทปของแม่มาใส่เครื่องเล่นเทป ใส่หูฟัง พอเราได้ฟังเราก็ได้ยินเขาพูดอะไรก็ไม่รู้ เราฟังไม่ออกแต่ในเชิงทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่ 2 หรือภาษาต่างประเทศของเด็กเล็ก นักภาษาศาสตร์จิตวิทยาก็ให้ข้อคิดเห็นว่า ยิ่งใส่ Input ทางภาษาเร็วเท่าไหร่ เด็กจะยิ่งจับได้เร็วเท่านั้น
ตั้งแต่นั้นมาเราฟังทุกวันเลยนะคะ เรายังไม่รู้หรอกว่าเขาพูดอะไร รู้แต่ว่าแปลกดี นอกจากการฟังเรายังอาศัยพูดตามเขาไปด้วยทั้งๆ ที่เราไม่รู้ว่ามันคือเสียงอะไร ก็ฟังและฝึกพูดมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยแต่มันคือการฝึกอย่างดีมากๆ ซึ่งมันก็ได้ผล เพราะว่ามีอยู่วันหนึ่งเราก็สามารถที่จะลุกขึ้นมาพูดคำว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่ว่าเราพูดด้วยสำเนียงแบบในเทป เราพูดด้วยทำนองเสียงของเขา เราพูดด้วยจังหวะของภาษาเขา เราจับหน่วยเสียงของเขาได้เพราะมันจะมีหน่วยเสียงที่ไม่ใช่เสียงของภาษาไทยแต่เราพูดได้ จนโตมาถึงได้รู้ว่าสิ่งที่เราฟังมันคือภาษาอังกฤษนะ เวลาที่เราจะพูดภาษาอังกฤษจะต้องเปลี่ยนโหมด เราต้องไม่พูดเหมือนภาษาไทย เราต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกคนโดยสวมเสื้อนั่งเก้าอี้ตัวใหม่เพื่อพูดเสียงนี้ออกมา
เทปคาสเส็ตที่แม่วางไว้ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากนะคะ เราโชคดีมากที่แม่ตั้งเทปภาษาอังกฤษเหล่านั้นทิ้งไว้ เพราะสิ่งนั้นมีผลมากจริงๆ ค่ะ
อีกอย่างเราโชคดีตรงที่หลักสูตรของโรงเรียนที่เรียนมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลายเขาให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษามันเลยทำให้เราไม่ลืม เพราะจะต้องใช้ตลอด อย่างโรงเรียนเขาจะมีวิชาที่ให้นักเรียนออกไปพูดภาษาอังกฤษหน้าชั้นเรียน ก็ได้ออกไปพูด ซึ่งเราก็ต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ตัวเอง ทำให้เต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ตรงนี้ก็เลยทำให้กล้าพูดมากขึ้น ก็ฝึกเรื่อยมา จนชอบภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย
• นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว ยังสวมหมวกอีกหนึ่งใบกับบทบาทอาชีพ 'นักร้องอิสระ' ด้วย
นอกจากการสอนด้านวิชาการแล้ว ครูชอบร้องเพลงด้วยค่ะ เราเริ่มร้องเพลงมาตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบได้ จริงๆ เราไม่รู้ตัวนะคะ แต่เราทำโดยความเป็นตัวเองมากที่สุด แม่ครูเล่าให้ฟังตอนโตว่าตอนเด็กๆ เรากระโดดขึ้นไปบนโต๊ะแล้วร้องเพลงว่า “นกแลก็คือนกแก้ว” (หัวเราะ) ตอนนั้นแม่ก็เลยคิดว่าจะต้องปั้นลูกให้มาทางร้องเพลงให้ได้ เพราะแม่เห็นว่าเรากล้าแสดงออก
พอเข้าโรงเรียนเรียกได้ว่าเราเป็นเด็กกิจกรรมคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ เราจะชอบทำกิจกรรมโรงเรียน พอครูเห็นว่าเรากล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าเต้น กล้าร้องเพลง ทำให้เวลาที่มีการแสดงต่างๆ ของโรงเรียนเราจะได้ไปอยู่แถวหน้าเสมอ ดังนั้น การร้องเพลง การเต้นจะอยู่กับเรามาโดยตลอดเช่นกันค่ะ
ในระหว่างนั้นครูก็ได้ส่งไปประกวดตามที่นั่นที่นี่เยอะมาก มีทั้งประกวดของโรงเรียน ของภูมิภาค ฯลฯ กระทั่งเรามาจริงจังกับการร้องเพลงตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อายุราวๆ 10 ปี ได้ค่ะ พอรู้ว่าเราจะมาทางนี้จริงจังก็ได้ไปสอบเป็นนักร้องในโครงการ Thai Children Chorus (วงนักร้องประสานเสียงเด็กไทย) เราก็สอบผ่านและได้เป็นสมาชิกรุ่นแรกเลยค่ะ
พอได้เข้าไปอยู่ในโครงการ Thai Children Chorus แล้วเป็นสิ่งที่มีความสุขมากๆ เราจะต้องไปซ้อมทุกวันอาทิตย์ ก็ได้ รองศาสตราจารย์จารุณี หงส์จารุ ท่านเป็นคนสอน ท่านจะสอนเกี่ยวกับการวอร์มเสียง อ่านโน้ตเบื้องต้น เราได้ฝึกหู (ear training) ได้ฝึกฟังเสียงเพื่อนข้างๆ และอะไรต่างๆ มากมาย จึงทำให้เรามีวินัยและเข้าใจความสามัคคี และรู้หน้าที่ของตัวเองมากๆ จนทำแบบนั้นเรื่อยมาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และก็ได้มีโอกาสไปร่วมขับร้องในงานเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ค่ะ
ต้องบอกว่าตอนไปประกวดที่ไหน เราก็มีคำว่าแพ้ติดอยู่บนหน้ามาตลอด ไม่เคยชนะเลยนะคะ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจในสิ่งนั้นมากพอก็ได้ค่ะ บางครั้งเราต้องไปร้องเพลงเกี่ยวกับความรัก เกี่ยวกับเพลงอกหักซึ่งเราคงยังไม่เข้าใจ ไม่อินไปกับสิ่งนั้น หรือการโปรเจกต์เสียงที่ต่างกันก็มีส่วนค่ะ มันมีความไม่ลงตัวของอะไรบางอย่าง ทำให้ต้องอยู่กับคำว่าแพ้จนชิน แต่เราไม่ท้อ ไม่เสียใจ คิดแต่ว่าทำไปเถอะวันหนึ่งเดี๋ยวเราก็ทำได้ในสักวัน แค่วันนี้ได้ร้องเพลงแล้วมีความสุขก็พอแล้ว จนชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อเข้ามัธยมปลาย
พอเข้ามัธยมปลายก็ได้ประกวดร้องเพลงอีก ปรากฏว่าชีวิตเราเปลี่ยน เรากลับชนะบ่อย ได้ถ้วยรางวัลต่างๆ เช่น ได้รับพระราชทานรางวัล “ยอดเยี่ยม (Excellence)” จาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการแข่งขันร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสในสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส และได้ร้องเพลงที่ชนะถวายเฉพาะพระพักตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขัน Folk Song Queen’s Cup ครั้งที่ 1 (รางวัลชนะเลิศ : รับตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4) เป็นต้น
พอเราชนะบ่อย อาจารย์สุมิตรา พงศธร ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยที่เราเรียนตอนมัธยมปลาย ท่านมองเห็นแววอะไรบางอย่างในตัวเรา ท่านเลยสนับสนุนและส่งเสริมอยากให้เรามาทางด้านร้องเพลงจริงจัง ท่านก็แนะนำให้ไปลองสอบตรงคณะฯ ที่มีสาขาวิชาดนตรี เอกขับร้อง แต่พอไปสอบแล้วเราไม่ผ่านค่ะ เพราะเราไม่มีพื้นฐานอะไรเลย เราร้องเพลงได้อย่างเดียว แต่อ่านโน้ตไม่คล่อง ทฤษฎีดนตรีอ่อนมากๆ ซึ่งการเรียนดนตรีมันไม่ใช่แค่ร้องเพลงแล้วจบนะคะ แต่เราต้องแม่นทฤษฎีด้วย แต่อาจารย์ก็ไม่ย่อท้อนะคะ เขายังอยากให้เราไปทางสายนี้อยู่ ท่านก็เลยขับรถพาเราไปสมัครเรียนร้องเพลง ออกเงินค่าเรียนให้เราด้วย เพื่ออยากให้เราร้องเพลงจริงจัง จนสุดท้ายครูก็ตัดสินใจสมัครสอบชิงทุนเรียน และได้รับทุนเรียนร้องขับร้องเพลงคลาสสิกเป็นเวลา 1 ปี จากโรงเรียนสอนดนตรี AMA Studio ชื่อทุนหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ณ อยุธยา ค่ะ
หลังจากนั้นก็ยังคงประกวดต่อ ก็มีได้รับรางวัลชนะเลิศจากสมาคมภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย (L’Alliance Francaise) ในการประกวดร้องเพลงภาษาฝรั่งเศส, ได้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงสากล ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฉพาะพระพักตร์ ในโอกาสเสด็จฯ ส่วนพระองค์ ฯลฯ
แต่พอถึงช่วงเข้ามหาวิทยาลัยเราไม่ได้เรียนทางด้านดนตรีนะคะ เพราะเราคิดว่าถ้าเราไม่พร้อมสำหรับการเรียนดนตรี เราก็ไปเรียนสาขาอื่นที่ยังสามารถร้องเพลงได้อยู่ดีกว่า เราเลยเลือกที่จะเรียนคณะโบราณคดี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพราะเราชอบภาษาอังกฤษ และระหว่างนั้นก็ร้องเพลงไปด้วยมาโดยตลอดค่ะ
• ผลงานเพลงที่ผ่านมามีอะไรบ้างคะ
ก่อนหน้านี้เราเคยร้องเพลงป็อปแจ๊ซอยู่ที่โรงแรม Imperial Queen’s Park ช่วงหนึ่งทำให้เราได้รู้จักนักดนตรีแจ๊ซเก่งๆ ระดับประเทศ ซึ่งเราโชคดีมากเลยค่ะ จากนั้นจึงหยุดร้องเพลงประจำไปเพราะเรียนหนักมาก ต่อมาก็มีโอกาสได้ร้องเพลงแนวป็อปแจ๊ซที่ร้านอาหาร Varano Wine Bar and Café จึงทำให้พบกับพี่เฟล็กซ์ พี่ไก่ วรายุฑ
ผลงานการร้องเพลงที่ผ่านมา มีเพลง “ใจเป็นห่วง” ในฉากในละคร เรื่องเจ้าบ้านเจ้าเรือน ของผู้จัดพี่ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา ออกอากาศทางช่อง 3 ร้องเพลงในร้านอาหาร Varano Wine Bar and Café ร้องเพลงตาม Event งานแต่งงาน งานเปิดตัวสินค้า ร้องนำและร่วมออกอัลบั้ม “Mola mola Sunshine!” มีผลงานเพลง “ฉันน่าจะบอกรักไป…..ในวันที่เธอบอกรักมา” เพลง “ช่วยไม่ได้…ไม่ได้ตั้งใจ” ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีผลงานเพลง “โอ้พระคืนสรวง” บทเพลงถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และผลงานเพลง “ดาวพราวฟ้า” เวอร์ชันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำร้อง/ทำนองโดย รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี, ฯลฯ เป็นต้นค่ะ
สืบเนื่องมาจากความโชคดีที่ได้รู้จักและได้ร่วมเล่นดนตรีกับนักดนตรีแจ๊ซฝีมือระดับประเทศหลายท่าน จึงเล็งเห็นว่าเราสามารถทำวงดนตรีที่มีคุณภาพขึ้นมารับงานเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งได้ ครูจึงก่อตั้งวง The Jazz Up Band ขึ้นมา โดยมีผู้จัดการวงและครูกำกับดูแลงานอีกทีค่ะ
ส่วนล่าสุดก็จะเป็นรายการ I Can See Your Voice ที่เรากรอกใบสมัครไปในรายการ I Can See Your Voice ทางทีมงานของรายการก็สนใจ ด้วยความที่เป็นอาจารย์คณะโบราณคดีแต่ร้องเพลงได้นี่ล่ะค่ะ จึงได้มีโอกาสไปออกรายการใน EP.130 เทปที่คุณโอ๊ต ปราโมทย์ ปาทาน มาเป็นแขกรับเชิญ ดีใจมากที่ได้อยู่จนรอบสุดท้ายเพราะนักสืบหลายคนก็บอกว่าเราร้องเพี้ยน สุดท้ายคุณโอ๊ตก็เลือก (หัวไหล่) เรา (หัวเราะ) เขาชมว่าหัวไหล่สวยค่ะ แต่จริงๆ ต้องชื่นชมคุณโอ๊ตนะคะเขาวิเคราะห์เก่งมาก เขาสามารถเดาได้ถูก การได้ไปออกรายการนี้เรียกได้ว่าเป็นความประทับใจที่สุดในรอบปีนี้เลยก็ว่าได้ค่ะ
• แบบนี้ได้นำเทคนิคการร้องเพลงมาใช้กับการสอนหนังสือบ้างหรือเปล่าคะ
ก็จะมีบางคลาสที่จะได้ฟังครูร้องเพลงบ้างนะคะ เช่น ในรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ คือการเรียนรู้หน่วยเสียงที่เล็กที่สุดในภาษา เรียนเกี่ยวกับอวัยวะในการออกเสียง วิธีใช้เสียงแบบต่างๆ บางบทเรียนเราก็จะต้องสาธิตให้เด็กๆ ฟังว่าเสียงที่ออกจากกระบังลมเป็นยังไง เสียงที่ออกจากคอเป็นยังไง เสียงออกจากหัวเป็นยังไง เราก็เลยเอาความเป็นนักร้องเข้ามาใช้กับการเป็นอาจารย์ด้วยค่ะ
• ด้วยความรับผิดชอบทั้งสองหน้าที่กับบริบทการทำงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจารย์ปุ้มคิดว่าจะทำทั้งสองอาชีพควบคู่กันต่อไปเรื่อยๆ เลยไหมคะ
คงจะทำต่อไปเรื่อยๆ นะคะ เพราะดีอย่างคือการเป็นอาจารย์ และส่วนงานวิชาการก็จะทำในเวลาราชการและคำนึงถึงระเบียบราชการเป็นสำคัญลำดับแรกอยู่แล้ว ส่วนนอกเวลาราชการเราสามารถทำวิจัย เขียนตำรา ร้องเพลง หรือทำงานแปลอิสระได้ เวลาไม่ทับซ้อนกันค่ะ เราบริหารเวลา กำหนดวันเวลาชัดเจน
อาชีพครู เป็นความฝันแรกของเรา ส่วนการร้องเพลง มันคือลูกไฟลูกหนึ่งที่อยู่ข้างในตัวเรา เวลาเราหมดแรง เราเหนื่อย เราเครียด เราไปนั่งร้องเพลงอยู่คนเดียวแล้วมันผ่อนคลาย พอเรามาวิเคราะห์ตัวเองก็ได้รู้ว่าอันนั้นคือ Passion หรือความหลงใหลของตัวเองที่อยู่ข้างใน ดังนั้น ชีวิตของเราก็เลยเดินทางมาเป็นคู่ขนานอย่างทุกวันนี้ เราทิ้งทั้งสองอย่างไม่ได้ เพราะสองสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือความสุขทั้งคู่
กว่าครูจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ ที่ผ่านมาถามว่าชีวิตเราเหนื่อยไหม เหนื่อยมากนะคะ แต่มันสนุก มันท้าทาย เราไม่ใช่คนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เราชอบพิสูจน์ตัวเอง เราเลยต้องทำให้ดีทั้งคู่ คือจริงๆ ที่เรามีกำลังใจทำทั้งสองด้านไปพร้อมกัน เพราะส่วนหนึ่ง เป็นเพราะเรามีแม่ที่เป็นเหมือนหัวหน้าฝ่ายกิจกรรม ส่วนพ่อเป็นเหมือนหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เราเลยทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันได้
คือแม่เราสนับสนุนให้ทำกิจกรรมมากๆ ส่วนพ่อจะชอบให้เรียน มีครั้งหนึ่งจำได้ว่าพ่อเคยให้หยุดทำกิจกรรมเพื่อให้เรากลับมาเรียนให้ดี ดีของพ่อคือเราต้องรักษาระดับ แต่พอเราเรียนตกลงไป เขาเลยอยากให้เราหยุดทำกิจกรรมไปก่อน แต่เราก็ไม่ได้หยุดทำนะคะ เราอาศัยการพิสูจน์ให้ท่านเห็นแทนว่าเราทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปได้นะ เราได้ทดสอบกับตัวเอง ไม่ได้ไปสู้กับใคร เราต่อสู้กับตัวเองแบบนั้นมาโดยตลอด ว่าเราจะทำทั้งสองอย่างออกมาให้ดีที่สุดให้ได้
• ถ้ามีน้องๆ ในวัยเรียน อยากเรียนดี กิจกรรมเด่น แบบอาจารย์ปุ้มบ้าง ต้องทำอย่างไร
การแบ่งเวลาสำคัญมากค่ะ จุดแข็งน่าจะเป็นการแบ่งเวลานี่แหละค่ะ เพราะในชีวิตที่ผ่านมา เราต้องทำวิชาการให้เด่น กิจกรรมก็ต้องไม่ให้เสีย เราต้องจัดการบริหารเวลาในชีวิตให้เป็นระบบ ลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วทำตามขั้นตอน
การจะทำอะไรพร้อมกันให้ประสบความสำเร็จทั้งหมด ครูว่าอยู่ที่คนคนนั้นเลยค่ะ เพราะการทำงานหลายอย่างจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่คน อยู่ที่การบริหารเวลา ว่าเขาจะจัดการได้มากน้อยแค่ไหน คุณกำลังทำให้ตัวเองเดือดร้อน หรือกำลังทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ ก็อยู่ที่คุณ
ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ที่การประเมินตัวเองว่าเราสามารถทำได้หรือเปล่า ถ้าไหวก็เริ่มทำเลยค่ะ ครูมีความเชื่อว่าในชีวิตคนเรามักแพ้อย่างเดียวนั่นก็คือ “ความเพียร” ถ้าเรามีความเพียร เราต้องทำได้ในสักวันหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่มีความเพียรต่อให้ทำงานกี่อย่างมันก็หลุดหมด
• ท้ายนี้ฝากถึงคนที่มีความฝันและอยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหน่อยค่ะ
อย่างแรกเลยเราต้องรู้ว่าเรากำลังหาอะไรในตัวเอง เราชอบสิ่งนี้ เราต้องดูด้วยว่าเราจะสามารถอยู่กับมันไปได้ตลอดทั้งชีวิตไหม
เราจะมีเส้นชัยของตัวเองตลอดเวลา เราจะแบ่งเส้นชัยของตัวเองเป็นเส้นเล็กๆ แล้วบอกตัวเองว่าวันนี้จะทำให้ถึงเป้าหมายตรงไหน พอเราทำถึงเป้าหมายแล้วเราจะให้รางวัลแก่ตัวเอง เราสร้างสมดุลในสิ่งที่เรารักจะทำตลอดเวลา เช่น เครียดๆ ก็ไปร้องเพลง หรือไปหาความชอบของตัวเอง ทำแล้วเราก็มีความสุขได้ เราต้องรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก่อน ไม่ต้องไปหาไกลตัว ทุกสิ่งอยู่รอบตัวเรานี่แหละค่ะ ไม่ต้องไปหาไกลเลย เพราะครูมองว่าชีวิตคนเราฝันไกลได้ค่ะ แต่ในฝันไกลเราต้องมีฝันใกล้ก่อน ถ้าเราไปถึงฝันใกล้ๆ แล้ว สักวันหนึ่งเราจะไปถึงความฝันไกลๆ ได้
ส่วนตัวครูเคยฝันว่าอยากจะปฏิรูปการศึกษา มันเป็นความฝันที่ไกลมาก ตัวแปรเยอะมาก ดังนั้น ณ วันนี้เราจึงเริ่มจากความฝันใกล้ๆ ของตัวเองก่อน ก็คือเราเป็นอาจารย์ เรามีหน้าที่สอนให้เด็กนักศึกษาให้เขามีความรู้และความเข้าใจ เพื่อที่จะเอาความรู้ที่ได้รับไปสร้างโลกให้มันดีขึ้นในแบบของเขาต่อไป โลกไม่ได้อยู่ในมือเราอย่างเดียวนะคะ อยู่ในมือพวกเขาด้วย ส่วนการร้องเพลงเราทำแล้วมีความสุขเราก็จะสร้างความสุขให้ตัวเองและคนอื่นแบบนี้ต่อไป...วันนี้เราก็กำลังก้าวเดินตามความฝันของตัวเองไปทีละจุดค่ะ.
Profile
ชื่อ-สกุล : พิมลพรรณ์ วงศ์อร่าม
วันเกิด : 21 มีนาคม ค.ศ. 1984
การศึกษา :
● ปริญญาโท : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต เอกภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ปริญญาตรี : ศิลปศาสตรบัณฑิต เอกภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
● มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนมาแตร์เดอี วิทยาลัย
● ประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนวาสุเทวี
อาชีพ :
● อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ
● อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Bangkok University International (BUI) และ PIM
● นักร้องอิสระ และทำวงดนตรี The Jazz Up Band รับงาน Event แนว Pop-Jazz, R&B, Soul, Funk
● speech therapist & singing coach สำหรับสอนตัวต่อตัว ให้กับนักร้องหรือผู้ที่ต้องใช้ทักษะการออกเสียง
● นักแปลอิสระ แปล subtitles งานโฆษณาให้แก่เอเยนซีหลายแห่ง
● ลงเสียงงานโฆษณาและงานพากย์
คติประจำใจ : ไม่มีคนเพียรคนไหนเป็นผู้แพ้ไปตลอดชีวิต
ติดตามผลงานได้ที่
Youtube: KruPuM
FB: Pum.Molamola
IG: krupum_
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : วชิร สายจำปา