xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตหนัก? ทางออกค่าเงินตุรกี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นตัวเชื่อมโยง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ประเทศตุรกี กำลังรับผลกระทบค่าเงิน ซึ่งอาจจะวิกฤตมากไปกว่าเดิม ยังไม่แน่ชัด คล้ายวิกฤตต้มยำกุ้งในประเทศไทยหรือไม่ สถานการณ์ตอนนี้ วิกฤตค่าเงินในตุรกียังไม่เลวร้าย เรื่องการแก้ปัญหามี 2 ด้าน เรื่องเศรษฐกิจทางการเงิน กับ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงการใช้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ซึ่งนักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ จะมาขยายความค่าเงินตุรกี หรือ “ลีรา” ที่ตกอยู่ในช่วงวิกฤตมาก ผ่านรายคนเคาะข่าว ในหัวข้อเรื่อง “ทางออก วิกฤตค่าเงินตุรกี?”



คำต่อคำ

นงวดี- สวัสดีค่ะคุณผู้ชม ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันนี้เราอยู่กันคืนวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2561 กับดิฉันนงวดี ถนิมมาลย์ คุณผู้ชมค่ะ วันนี้เราจะมาวิเคราะห์กันถึงเรื่องของวิกฤติค่าเงินตุรกีนะคะ ซึ่งอัปเดตล่าสุดของวิกฤติในครั้งนี้ ก็ดูเหมือนว่าตุรกียังไม่สามารถที่จะหาทางออกได้ โดยค่าเงินลีราของตุรกีก็ยังคงอ่อนอยู่ แล้วก็ตั้งแต่ช่วงต้นปี จนถึงตอนนี้ อ่อนไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แล้วนะคะ คำถามตอนนี้ก็คือ ตุรกีมีทางออกที่จะช่วยกอบกู้วิกฤติค่าเงินของตัวเองอย่างไรบ้าง รวมถึงอีกแง่มุมหนึ่งที่เราจะพูดถึงกัน ก็คือเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะอย่าลืมว่าประเทศตุรกีเป็นหนึ่งในสมาชิกเนโทอีกด้วย วันนี้เราจะมาพูดคุยกันกับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ นะคะ อาจารย์ค่ะ สวัสดีค่ะ

สมชาย- ครับ สวัสดีครับ

นงวดี- อาจารย์ค่ะ อัปเดตล่าสุดตอนนี้ก็คือว่าตุรกียังไม่มีทางออกสำหรับเรื่องของเศรษฐกิจ และล่าสุดก็คือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ ปรับลดระดับความเชื่อถือของตุรกีลง จาก BA2 ลงมาอีก เป็น BA3 นะคะอาจารย์

สมชาย- เป็นจั้งเลยนะครับ

นงวดี- เป็นจั้งเลยนะคะ อ๋ออันนี้เรียกว่า จั้ง เลยนะอาจารย์ ที่นี่มันจะมีโอกาสที่จะกลับฟื้นคืนมาได้รึเปล่า ตอนนี้ตุรกีมีทางเลือกอะไรบ้างคะอาจารย์

สมชาย- ทุกอย่างในโลกนี้มันฟื้นได้ทั้งนั้น ประเทศต่างๆ เพียงแต่จะฟื้นเร็ว ฟื้นช้า เพียงแต่ว่าในแง่ตุรกีจริงสถานการณ์ มันไม่ควรรุนแรงถึงขนาดนี้ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจการเงินอย่างเดียวนะ แต่ว่าที่มันรุนแรงมากขึ้นไป กว่าระดับหนึ่ง ก็มีเพียงความสำคัญเรื่องเกี่ยวข้องของการเมืองทั้งในประเทศ และต่างประเทศด้วย ที่นี้ถามว่าตุรกีอยู่ในสภาพยังไงบ้างมาจนถึงทุกวันนี้ หนึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง มากที่สุด 46-47 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปถึง 7 ลีรา แต่ตอนนี้ 6 กว่า ก็ยังย่ำแย่อยู่นะครับ อันที่สองมีเงินเฟ้อสูงกว่า 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ตัวเลขผมไม่อยากจะบอกเพราะว่า บางฉบับบอก 14-15 IMF ก็บอกว่าถึงปลายปีก็ 11 เปอร์เซ็นต์ ก็ตีว่า 10 กว่าเปอร์เซ็นต์แหละกัน มีหนี้ในสกุลต่างประเทศ ถ้าเงินดอลลาร์ที่ว่าสูงมากเลยก็คือเท่ากับกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตัวเลข 49,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าเราดูในบางฉบับ เขาบอกว่า 5.4 วันนี้ผมดูอีกฉบับหนึ่งการขาดดุล 7 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ซึ่งก็ใกล้เคียงกับไทยเราเมื่อ 1997 ตอนนั้นเราขาด 7.8 , 7.9 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นมองจากสภาพนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าตุรกีตอนนี้ก็ยังอยู่ในสภาพที่วิกฤตอยู่ ที่นี้ถามๆ ก็คือทางออกคืออะไร ผมขอเรียนอย่างนี้ครับ ทางออกจริงๆ แล้ว มันจะง่ายกว่านี้มากเลย จะไม่มีปัญหาซับซ้อนในเรื่องต่างประเทศ ทางออกที่หนึ่งคือเข้าโปรแกรม IMF อันนี้เป็นตัวอย่างเห็นชัดนะครับว่า ประเทศที่เกิดวิกฤตขนาดนี้ แล้วถูกการแผ่จากตุรกีด้วย ตัวเขาเองก็เป็นด้วย อาร์เจนตินาก็เข้าสู่โปรแกรม IMF เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับการช่วยเหลือจาก IMF 50 ล้าน ตอนที่ไทยเราเจอวิกฤติต้มยำกุ้งเราขอ 17,200 ล้าน แล้วใช้ไม่หมด เพราะฉะนั้นถือว่าขอเยอะนะครับ ที่เยอะเพราะว่า IMF ภายใต้ประธานาธิบดีมาครี ซึ่งก็เป็นประธานาธิบดี ซึ่งพูดง่ายอเมริกาก็มีอิทธิพลแฝงตัวช่วยเหลือได้เต็มที่ และก็เป็นประเทศที่ได้รับการยกเว้นทุกเล่ม งานภาษีนำเข้าเหล็กกับอะลูมิเนียมด้วย คือ อันนี้เป็นกรณีพิเศษนะครับ เพราะฉะนั้นตอนนี้สถานการณ์ของอาร์เจนตินา พูดง่ายๆ คือ ยังมีปัญหา แต่รุนแรงน้อยไปทุกที่ ของตุรกีจะเจอปัญหาว่า เขาบอกว่าขอความช่วยเหลือจาก IMF จริงๆ แล้วตุรกีเคยล้มละลายทีหนึ่งแล้ว เมื่อประธานาธิบดีเอดวน 2002 ก็เขาสู่โปรแกรม แล้วเราจะได้ในตัว IMF แต่ประธานาธิบดีเอดวน เขาบอกว่า เขารอดมาได้เพราะตัวเขาเอง อันนี้ผ่านมารอบหนึ่งแล้วครับ แต่รอบนี้เขาบอกว่า เขาไม่รับการช่วยเหลือ เหตุผลเพราะว่า เขารู้ว่า IMF อยู่ภายใต้อิทธิพลของอเมริกา และหนึ่ง อาจจะมีปัญหาเหมือนกัน จะขอ IMF ก็อาจจะไม่ให้ เพราะว่าอเมริกาจะดูอยู่ ที่สอง โปรแกรม IMF เพราะฉะนั้นเป็นโปรแกรมที่เจ็บปวดมาก ตรงข้ามกับเขา เพราะฉะนั้นโปรแกรม IMF ต้องมีการรัดเข็มขัดเป็นอย่างมาก แล้วก็อาจจะมีการกำหนดเรื่องของ เร่องดอกเบี้ย เรื่องอะไรต่างๆ แต่เขาประกาศว่าตัวเขาเอง ในตอนแรกเลย เขาได้คะแนนเสียงท่วมท้นในการเลือกตั้งเดือนมิถุนาฯ ที่ผ่านมา ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น จนถึงขั้นปรับรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนจากรัฐสภามาเป็นระบบประธานาธิบดี พูดง่ายๆ เป็นเผด็จการคุมทุกด้านเลย เพราะฉะนั้นคะแนนเสียงที่ได้มาจากเขา กระตุ้นเศรษฐกิจ อัตราการเติบโตสูงมาก ปีที่แล้ว 7 เปอร์เซ็นต์ มีอยู่บางตัว 11 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเกิดวิกฤต เขายังได้ 7 เปอร์เซ็นต์ ที่เขาทำแบบนี้เพราะ 1.ดอกเบี้ยต่ำ 2.กู้เงินจากต่างประเทศเพราะว่าผลจาก QE เงินจากอเมริกา จากยุโรป เข้ามายังประเทศเกิดใหม่เยอะมาก 1 ในประเทศนั้นก็เคยเข้าสู่ตุรกี ดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องเยอะ เพราะฉะนั้น รัฐบาลชุดนี้ก็มีความสุข อัตราการเจริญเติบโต คะแนนเสียงพุ่งมหาศาล แต่ผลรับก็คือมีหนี้ต่างประเทศ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐสูงมาก อย่างที่บอกคำนวณได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นพอดอกเบี้ยมันเยอะขึ้น เงินไกลออก พอไกลออก อัตราแลกเปลี่ยนมันก็แข็งขึ้น ตั๋วก็อ่อนลง แต่อ่อนลงไปมาก ก็เพราะว่าอะไรครับ ก็เพราะว่าบัญชีหนี้ต่างประเทศเยอะ แล้วก็เงินสำรองมีไม่พอ อันต่อไปก็คือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินหมายความว่า ใช้จ่ายเกินควร ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นเยอะ เพราะฉะนั้นพอเป็นแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาลำบากมาก ก็คือเขาบอกว่า เขาจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย บอกว่าดอกเบี้ยคือศัตรูของเขา แล้วบอกว่าดอกเบี้ยเป็นผลมาจาก การใช้เงินต่างประเทศ กำลังเร่งงานเขา ตรงทำให้การแก้ไขลำบาก เพราะว่าคุณมีปัญหาวิกฤตแบบนี้ หนึ่งในนั้นต้องขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อคุณสูง คุณดูอย่างกรณีอาร์เจนตินา เงินเฟ้อ 4 จุดกว่าเปอร์เซ็นต์ ขึ้นดอกเบี้ย 4 จุดกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าด้วยความเคารพ ตอนนี้ประธานาธิบดีกลืนน้ำลายแล้ว เมื่อสักอาทิตย์ที่แล้ว เริ่มปล่อยให้ดอกเบี้ย เป็นนโยบายที่สูงขึ้น ตอนแรกไม่ยอม อันนี้โอเคนะ อันต่อไป เส้นทางในการแก้ไขปัญหา อันต่อไป อันที่จะต้องมีการแก้ บางเรื่องเขาก็แก้ บางเรื่องเขาก็ไม่แก้ มีอยู่ 2 เรื่องแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเขาทำยังไรครับในการแก้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงตรงนี้ อันแรกคือหันไปช่วยเหลือจากที่อื่น 1 ในนั้นของกาตาร์ 15,000 ล้าน ถามว่าทำไมกาตาร์ช่วย เราต้องดู เมื่อประมาณปี สองปี กาตาร์เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของ เกาคูเปอร์เรย์ชั่น ซึ่งซาอุดีฯ คูเวต ปรากฏว่าถูกยกเลิกความสัมพันธ์ระดับประเทศ ถูกบีบ ปรากฏว่าตุรกีเป็นประเทศที่ให้ความช่วย เพราะฉะนั้น

นงวดี- มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

สมชาย- มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะฉะนั้นก็ช่วย 15,000 ล้าน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง อันที่สองก็พยายามหาความช่วยเหลือ ขณะนี้ก็เดินทางไปยังตะวันออกกลาง ก็จะดูว่ามีการช่วยเหลือ ทดแทนในตัว IMF ได้ยังไง ทาง IMF ก็เข้าหาทางปูติน การเข้าหานั้นต้องยอมรับว่า ผู้ที่อยู่ในข้อหา sanction ตัวเองยังเอาไม่ค่อยรอดเลย เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือทางด้านนี้ ไม่ใช่ของง่ายนัก แต่มันเป็นสัญลักษณ์ตัวดีอย่างหนึ่ง ที่จะบอกว่าตะวันตก อเมริกา ผมเป็นนาโต้ ผมเข้าหา เหตุการณ์คล้ายๆ ตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว เพระฉะนั้นอีกทางที่เขาใช่ แล้วก็ช่วยแก้ไขได้บ้าง มีอีกวิธี คือใช้วิธีผ่อนปน หนี้ของเอกชนที่กู้ในเงินอัตราต่างประเทศ แล้วคุณจำหน่าย มีแบงก์ของรัฐของเอกชน เป็นผู้ที่ปล่อยกู้ ถึงกำหนด ปรากฏว่า ทางด้านแบงก์ชาติให้ธนาคารพาณิชย์ผ่อนปน พูดง่ายๆ ให้ต่ออายุได้ อันที่สองสามารถใช้สินทรัพย์มาค้ำประกันได้ อันที่สามทางแบงก์ก็ปล่อยสภาพคล่อง เพื่อให้มันมีสภาพคล่องมากขึ้น ในขณะที่เกิดวิกฤตมีข้อแข็งอยู่ ตุรกียังมีประเด็นที่จุดแข็งอยู่นะครับ หนึ่ง เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ของธนาคารพาณิชย์สูงมาก อยู่ที่ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์กว่า อันนี้เข้มแข็ง อันที่สอง NPL แค่ 3 เปอร์เซ็นต์กว่า อันนี้ดี เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ใช้กรอบอันนี้ในการที่จะลด ครั้งต่อไปลงโทษผู้ที่ช็อตเซริ่ง ซึ่งอันนี้ก็ช่วยลดในการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ใช้กลไกกลหนึ่งนะ ที่จะทำให้การช็อตเซริ่งมันยาก อีกอันหนึ่งก็คือ นอกจากดอกเบี้ยที่ผมบอกแล้ว ก็มีการดำเนินมาตราการ เขาเรียกว่า มีการคุมเรื่องการใช้จ่าย เพื่อจะลดในเรื่องของ พูดง่ายๆ การนำเข้าอะไรต่างๆ เหล่านี้ อีกอันหนึ่งก็คือยิงได้นก 2 ตัวเลย ตอบโต้อเมริกา ขณะเดียวการใช้จ่าย ขึ้นภาษนำเข้าจากภาษีอเมริกา อันที่หนึ่งรถยนต์เก็บภาษีอีก 120 เปอร์เซ็นต์ เรื่องอีกตัวหนึ่งคือเหล้า 140 ข้าวที่นำเข้าจากอเมริกาเกือบ 50 และอีกอันหนึ่งบอกว่าอะไรครับ sanction ถ้าใครไปซื้อซากอิเล็กทรอนิกส์อาณาจักรนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วกระทบไม่มากด้วย ยังไงมันแพงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นนี่ก็คือความพยายาม แต่ถ้ามองจากนักลงทุนทั่วไป สิ่งที่เขาทำๆ พวกนี้ ตราบใดที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้กับอเมริกา และอเมริกากำลังขู่จะ sanction อีกรอบหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นทำให้คนไม่มั่นใจนักว่าสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของตุรกีครั้งนี้อยู่ในสภาพง่อนแง่น แต่ว่าอยู่ในสภาพที่รอดูว่าทางออกเป็นยังไงบ้าง แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ประมาณสักปลายปีนี้ ที่เขาติดหนี้อยู่ มันจะมาสู่ถึงกำหนดที่ชำระ ถามเลยเงินสำรองที่เขามีอยู่ไม่พอ พ้นจากนี้ไปต้องทำไงบ้าง เพราะฉะนั้นขณะนี้ปัญหาที่ทำให้สถานการณ์ทางการเงินเศรษฐกิจมันไม่ควรรุนแรงไป ยังขึ้นอยู่กับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระหว่างทางด้านตุรกีกับทางทรัมป์ แต่ว่าขณะนี้ถ้าพูดกันไปแล้ว ทางตุรกีเริ่มอ่อนข้อลงนะครับ เอาเฉพาะตรงนี้ก่อนล่ะกัน ก็คือว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกกระทบกันประมาณนี้ ก็มาจากอันแรกเลย ตุรกีไม่พอใจอเมริกาเมื่อปี 2016 พอเกิดวิกฤติเรื่องจะมีการเขาเรียกว่าอะไร ทำรัฐประหาร

นงวดี- รัฐประหาร

สมชาย- ปรากฏว่าอเมริกาเฉยเลย เห็นกับส่งสัญญาณว่าเห็นด้วยทางด้านรัฐประหาร อย่างนี้พอจะเข้าใจได้ ประธานาธิบดีคนนี้ค่อนข้างจะแข็งข้อ แล้วหันมาเน้นลักษณะของความเป็นอิสลามมากขึ้น แล้วก็มีหลายอย่างที่เขาแข็งข้อ ทั้ง EU กับทั้งอเมริกา เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ ที่ทำให้อเมริกาไม่พอใจ กับอีกส่วนคือเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะฉะนั้นพออกมาปั๊ป พอเขาชนะ ซึ่งผิดกลับปูติน ตอนที่เขากำลังย่ำแย่เขาโทรไปปลอบใจ อันนี้ได้คะแนนเสียงเยอะมาก เพราะฉะนั้นพอชนะ ทางด้านนี้ทั้งอเมริกาและ EU ไม่พอใจ เพราะคุณหันมาเล่นงานผม ไม่พอใจนะครับ พอไม่พอใจสิ่งที่ตาม เขาก็จับพวกที่ก่อการร้ายเข้าคุกเยอะมาก แล้วก็เล่นงานเยอะมาก ฝ่ายตรงข้ามอะไรต่างๆ ซึ่งก็ไปกระทบกับอเมริกา EU เพราะอเมริกาบอกว่าอันนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรอบที่ 2 นะ รอบที่ 3 ในกลุ่มเดียวกันทางด้านของประธานาธิบดีเอดวน สั่งให้อเมริกาส่งอิมาม ซึ่งอิมามที่มีอิทธิพลมากในตุรกี มีผู้ติดตามเป็นล้านๆ คน โดยกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการรัฐประหาร ให้ส่งกลับเพนซิลเวเนีย แต่อเมริกาไม่ส่งกลับ เพราะฉะนั้นมีปัญหา 3-4 เรื่องแล้วนะครับ ที่กระทบกับอเมริกา เพราะฉะนั้นในกรณีนี้อเมริกาทำยังไงครับ ก็มีประเด็นปัญหาหนึ่ง ทางตุรกีทำไงครับ ก็ได้จัดบาทหลวงแอนดรูว์ บรุนสัน ซึ่งศาสนา เป็นศาสนาเดียวกับท่านรองประธานาธิบดี แล้วก็กล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการร้าย คือพูดง่ายๆ คือพวกสนับสนุนพวกก่อการร้ายและรัฐประหาร และอยู่เบื้องหลังของกลุ่มเคิร์ฟ ที่ต้องการเรียกเอกราช ที่ต้องการเป็นศัตรูของตุรกี ตอนนี้ถูกจับอยู่ 22 เดือน เพราะฉะนั้นทรัมป์บอกว่าอย่างนี้เขาไม่ผิดอะไรเลย ต้องคืนเขา ตุรกีไม่ยอมคืน ก็บาดหมาง พอบาดหมางสิ่งที่ตามมาอีกอันหนึ่งก็คืออเมริกาทำไงครับ ก่อนหน้านี้ก็มีการขึ้นภาษีเหล็กกับอลูมิเนียม ภาษีเหล็กกับอลูมิเนียมขึ้นเดือนมีนา เราก็โดน ทุกประเทศโดน ยกเว้นบางประเทศที่ยอมอเมริกาก็ได้รับการผ่อนปน เพราะฉะนั้นตุรกีก็ไม่พอใจ ตามมาด้วยอะไรครับ อเมริกาก็แก้เผ็ดด้วยการไม่ยอมคืนบาทหลวงแอนดรูว์ บรุนสัน ก็มีการแช่แข็งทรัพย์สินที่อยู่ในอเมริกาของรัฐมนตรี 2 ท่าน ท่านหนึ่งก็คือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยกับท่านรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม อันนี้ก็เป็นการแก้เผ็ด สิ่งที่ตามมาอีกคืออะไรครับ ทางด้านของอเมริกายังไม่ได้ผล ตอนนี้ฟางเส้นสุดท้ายประกาศเมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้วจะขึ้นภาษีเหล็กจาก 25 เป็น 50 สำหรับตุรกีประเทศเดียว จากขึ้นภาษีอลูมิเนียมจาก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 20 นั่นแหละครับที่ทำให้ตลาดโลกปั่นป่วนไปหมด เพราะว่ามันมีปัญหาเศรษฐกิจการเงิน แล้วขณะเดียวกันทางด้านของตุรกีก็ตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีที่ผมบอก รถยนต์ แต่ที่นี้สถานการณ์เริ่มจะเห็นท่าว่าตุรกีเริ่มอ่อนตัว เพราะในทรัมป์ประกาศต่อผมจะเล่น sanction คุณเพิ่ม ซึ่งตุรกีขณะนี้อยู่ในสถานะจะขอความช่วยเหลือจากใคร จากหลายประเทศไม่ใช่ของง่าย เพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนกับอะไรที่คุณยังไม่แก้ที่สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นตอนตุรกีทำยังไงครับ ก็มีการส่งคนไปทีอเมริกา แล้วก็มีการเจรจา หลังสุดเราได้ยินวันนี้ ทางตุรกีบอกว่าแลกกับการคืนบาทหลวง ก็คือมีการขอให้หยุดการพิจารณาลงโทษแบบแบงก์รัฐอันหนึ่ง แบงก์รัฐอเมริกากำลังสอบสวนเรื่องงาน เพราะให้ความช่วยเหลือกับทางด้านอิหร่าน เพราะทางอเมริกาได้ประกาศว่าจะมี sanction อิหร่าน มันเริ่มอ่อนตัวลงแล้ว จริงๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญนะ แต่มาแลกด้วยลักษณะนี้ ผมคิดว่าปูตินกับสหรัฐฯ อ่อนตัวลง อ่อนตัวลงในแง่มุมการเมืองคุณไม่ต้องกลัว บางทีคุณปากแข็ง พอเข้าสู่ชะตาลำบาก เปลี่ยนได้ยาก ดูอย่าง คิม จอง อึน เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของความสัมพันธ์ทางทูต อย่างประธานาธิบดีท่านนี้ ยิงเครื่องบินรัสเซียตก 2 ปีแล้ว พอถูก sanction รัสเซียอยากคืนดีได้เลย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในแง่นี้ ในแง่ของส่วนนั้น กำลังแสดงทีท่าที่อ่อนตัวไปมาก แต่ทางอเมริกาเห็นความอ่อนโยน เรื่องนี้ไม่ต้องคุย มันคนละเรื่อง แต่ผมคิดว่าอันนี้อาจเป็นสัญญาณเห็นขัดว่าทางฝ่ายหนึ่งเริ่มอ่อนตัวลง ถึงจุดหนึ่งอาจหาทางพยายามที่จะลดไอ้ตัวนี้ เพราะตัวนี้เป็นทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ถูกกระทบกับทางด้านนี้ สถานการณ์ตอนนี้ วิกฤติในตุรกียังไม่เลวร้าย แต่ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ ต้องอยู่เรื่องการแก้ปัญหา 2 เรื่อง ด้านหนึ่งเรื่องเศรษฐกิจทางการเงิน กับอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นงวดี- คือดูเหมือนว่าตุรกีกำลังยืนอยู่ตรงทางแยกนะอาจารย์ คือตัวเองก็มีปัญหาเศรษฐกิจตัวเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แล้วก็เพื่อนที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน อเมริกาเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน

สมชาย- ยุโรปก็มีปัญหากับตุรกี

นงวดี- ตุรกี แต่กลับกลายเป็นว่าพอเกิดเหตุอะไร สหรัฐอเมริกากลับไม่เห็นตุรกีเป็นมิตร ตุรกีก็เลยจะหันเอียงไปทางพันธมิตรใหม่อย่างรัสเซีย หรือทางฟากฝั่งจีนแบบนี้ แต่เป็นเช่นนั้นก็เหมือนกันยิ่งเติมเชื้อไฟ ทำให้อเมริกา ใช้วิธีทางเศรษฐกิจเข้ามาบีบ แล้วทำให้ตุรกีต้องตัดสินใจใช่ไหมคะอาจารย์ ว่าตกลงแล้ว จะยังอยู่กับอเมริกาหรือไม่ หรือถ้าเช่านั้นเศรษฐกิจอาจจะพังพลาดไปก็ได้ หรือจะน้อมเอียงไปอีกฝั่งหนึ่ง แล้วก็นั่นมันมีความหมายคือทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะตุรกีเป็นสมาชิกเนโต้ด้วย ตรงนี้เป็นการตัดสินใจค่อนข้างยากเหมือนกันใช่ไหมคะ อาจารย์ค่ะ

สมชาย- ใช่ครับ ที่นี้ อย่างนี้ มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง หลายเรื่อง คือตุรกีภายใต้เอดวนไม่ใช่ตุรกีธรรมดาแล้วนะ ตุรกียุคนี้เป็นตุรกีที่เขาคิดว่าเขายิ่งใหญ่มาก เขามีประชากร 80 ล้านคน แล้วที่สำคัญก็คืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะหลังเขามีมาก เขาเป็นหนึ่งในประเทศที ทวิตตี้ แล้วเป็นตัวเชื่อมโยงตะวันออกกับทางด้านยุโรป เพราะในทางยุทธศาสตร์อะไรต่างๆ เหล่านี้สำคัญมาก เพราะนาโต้จึงต้องพึ่ง (มีต่อ...)


กำลังโหลดความคิดเห็น