xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนฟัง “ดินถล่มและระบบเตือนภัยในประเทศไทย” เหตุเกิดจากอะไร ทำไมยังคงมีดินถล่มอีกหลายพื้นที่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ในช่วงนี้ถือได้ว่าเข้าสู่ฤดูเต็มตัวก็ว่าได้ หลายจังหวัดในประเทศไทยมีฝนตกกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ซึ่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ดินถล่มในหลายพื้นที่ โดยพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในที่เกิดเหตุดินถล่ม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดินถล่มดังกล่าวถึง 8 คน อยู่ภายใต้โคลน หลัจากเหตุการณ์ดินถล่มที่อำเภอบ่อเกลือ ก็ยังคงมีหลายพื้นที่ หลายจังหวัดเจอกับเหตุการณ์ดินถล่มเช่นเดียวกัน

โดยเหตุการณ์นี้นักวิชาการได้มีการออกมาแนะถึงการเตือนภัยของดินถล่ม โดยสำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หน่วยวิจัยดินถล่ม ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายนิวัติ บุญนพ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ดร.สุธาสินี อาทิตย์เที่ยง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับดินถล่มในหัวข้อ “ดินถล่มและระบบเตือนภัยในประเทศไทย”



คำต่อคำ

เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2561 คนเคาะข่าววันนี้ให้คุณผู้ชมได้ไปชมการแถลงข่าวดินถล่มและระบบเตือนภัยในประเทศไทย โดยสำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หน่วยวิจัยดินถล่ม ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายนิวัติ บุญนพ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ดร.สุธาสินี อาทิตย์เที่ยง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

สุทธิศักดิ์- สมมติว่าใน 1 ชั่วโมงข้างหน้า เราได้รับการเตือนภัยว่าจะเกิดดินถล่ม เราอยู่ในหมู่บ้านกลางป่า หนีทันไหมครับ ไม่ทันไม่มีทางทัน เพราะฉะนั้นการเตือนภัยล่วงหน้า 15 นาทีไม่มีประโยชน์ การเตือนภัยล่วงหน้า 1 ชั่วโมง ไม่มีประโยชน์ การเตือนภัยล่วงหน้า 3 ชั่วโมง ไม่มีประโยชน์ จริงๆ ต้องเป็นวัน ต้องเป็น 2-3 วัน ดังนั้นการรู้ข้อมูลล่วงหน้า 2-3 วันสามารถใส่ในโมเดล โมเดล 2 โมเดลนี้มีโมเดลละเอียดกับโมเดลหยาบเพื่อใส่ข้อมูลไปและให้ผู้ตัดสินใจเตือนภัยเข้าไปในหมู่บ้าน อันนี้คือตัวอย่างของหมู่บ้านนะครับ เมือ่เตือนภัยเข้าไปแล้ว ล่วงหน้าเข้าไป ทุกวันนี้หลายคนอาจเคยเห็น ข้อความของกรมทรัพยากรธรณีฯ ของกรมอุตุฯ บอกว่าจะเกิดฝนตกหนักบริเวณนั้น บริเวณนี้จะเกิดดินถล่มจากกรมทรัพยากรธรณีฯ นะครับ บริเวณนั้น บริเวณนี้ นั้นคือการเตือนจากโมเดลคือ AP โมเดลที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาให้ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณีฯนี่คือการเตือนภัยล่วงหน้า 3 วัน จากนั้นเป็นเรื่องที่ชุมชนต้องสร้างความเข้มแข็ง ไม่มีใครลงไปอยู่กับชุมชนได้ดังนั้นเมื่องส่งข้อความไป 3 วันล่วงหน้า ซึ่งจริงๆ สักครู่ทางพี่นิวัติ คงพูดเรื่องกระบวนการชุมชนของกรมทรัพยากรธรณีฯเช่นกัน เพราะว่ามีเครือข่ายที่มีการเอากระบอกวัดน้ำฝนไปวัดนั้นคือชาวบ้านวัดกันเองไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ไหนไปวัดให้ และเมื่อถึงเกณฑ์จะออกนอกพื้นที่ไปก็เป็นตัวอย่างที่กระบี่ที่ผมเล่าให้ฟัง เพียงแต่ว่าอันนี้เป็นงานวิจัยนะ โดยผมพยายามเจาะไปว่าเรื่องมือที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง เครื่องมือที่ซับซ้อนวัดความชื้นวัดนู้นวัดนี้ มันไม่เหมาะสมวัดผลนี่ละง่ายสุด AP โมเดล ที่เราใช้ในการเตือนภัยดินถล่มของประเทศบวกับโมเดลของทางกรมทรัพยากรธรณีฯ เข้าใจง่ายๆ คือฝนสะสม 3 วัน และนี้คือฝนวันเดียว คือปริมาณฝนจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเกิดการถล่มหรือไม่ เมื่อใดก็แล้วแต่ที่น้ำฝนสะสมน้ำฝนรายวันเกินเส้นสีแดงขึ้นไป ถล่มหมดทุกกรณี ถามว่าเส้นที่เตือนทั้งประเทศเหมือนกันไม่ ไม่เหมือนกันภาคเหนือภาคใต้ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นงานวิจัย ผมเพิ่งให้นิสิตวิจัยเสร็จไปตัวหนึงนะครับ และนี้คือตัวอย่างฝนที่ได้จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สสนก. ซึ่งไม่ได้ให้แค่ข้อมูลนะครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก สสนก. เอานักวิจัยของเขามาทำงานกับผมมาเขียนโปรแกรมเพื่อให้เข้ากันกับโมเดลของผม พอเข้ากันเราก็วิเคราะห์ได้ ยกตัวอย่าง เช่นเราอยู่วันที่ 3 มันก็จะมีฝนล่วงหน้าไป 4 5 6 7 8 แต่เราจะเอาฝนประมาณนี้ละครับ ประมาณ 3-4 วันนี้ มาใช้ประเมินความปลอดภัย หลังจากที่ใส่ไปโมเดลแล้วเราจะเห็นว่าวันที่ 7 กรกฎาคม จะเกิดดินถล่มขึ้น ณ บริเวณแถบนี้ เห็นไหมครับโมเดลมันก็ประมาณได้ประมาณหนึง ที่เหลือต่อไปต้องไปกระตุ้นเรื่องเฝ้าระวังในชุมชน หลายท่านอาจงงว่าทำไมไม่เตือนเป็นหมู่บ้าน เอาเฉพาะชอบเขตหมู่บ้านอยู่ไหนใครทราบบ้าง ไม่มีนะครับ ไปดูในแผนที่ได้ เราจะมีแต่ขอบเขตตำบลและขึ้นไปเป็นอำเภอ ดังนั้นการเตือนเข้าไปเป็นจุดหมู่บ้านยากมาก เอาแค่นี้ละครับเตือนตรงนี้ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ทางกรมทรัพยากรฯ และทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานร่วมกันมาผมว่าไม่ต่ำกว่า 6-7 ปีนะครับ โมเดลนี้ใช้พัฒนามาเรื่อยๆ เราก็มีการประเมินย้อนหลังนะ มีความเร็จประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ คือมันเกิดและคนก็ออกไปก่อนแล้ว มันเลยไม่เป็นข่าว บ่อเกลือก็เตือนนะ เตือนล่วงหน้าก่อน 3 วัน แต่บังเอิญว่าพอเข้าวันที่ 2 ฝนมันลดพอดีช่วงนั้น ข้อความที่เตือนไปมันเลยไม่แข็งแรงเท่าไหร่แต่เราเตือนล่วงหน้าไปแล้ว อย่างกรณีนี้ที่จังหวัดตาก อันนี้ผมจำปีไม่ได้ละ 2556 มั้ง อันนี้ก็เหมือนกันจากโมเดลออกปุ๊บขึ้นแดง พอเตือนเสร็จปุ๊บก็ถล่มจริงช่วงนั้นอันนี้โมเดลหยาบ ผมมีโมเดลละเอียดอีก ซึ่งไม่อธิบายในโมเดลละเอียดหรอกนะครับ มันละเอียดมากและละเอียดเกินไป ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน ซึ่งตอนนี้ยังไม่เหมาะสมในการพัฒนาไว้เตือนภัยล่วงหน้าไปนานนักและพื้นที่ใหญ่ แต่ที่เราทดลองใช้เราจะใช้ในพื้นที่เล็กๆ อย่างที่ผมเรียนว่าโมเดลมันมีข้อดีคือมันเตือนในภาพกว้างได้ข้อเสียคือเจาะเฉพาะจุดไม่ได้ ดังนั้นเราจึงพัฒนาโมเดลที่ 2 ขึ้นมาเพื่อ โมเดลที่ 1 เตือนตรงนี้แล้วจะมีโมเดลที่ 2 เฉพาะลงไปเจาะบริเวณนี้ ก็จะมีสมการคณิตศาสตร์การไหลซึมการ ดินสไลด์อะไรวุ่นวายเต็มไปหมด มีการเก็บตัวอย่างอย่างน้อยที่เก็บตัวอย่างทั่วประเทศใช้เวลาประมาณ 10 ปีขึ้นไป ผมจำไม่ได้ละประมาณ 10-15 ปี ตัวอย่างมาสัก 500 ตัวอย่าง ถึงทำโมเดลนี้ได้ ผมลืมบอกไปนะครับ AP โมเดลนี้เป็นการเตือนภัยล่วงหน้าผมเข้าใจว่าที่เดียวในเซาท์อีสเอเชียแน่นอนไม่มีที่อื่นแน่นอน แต่ในเอเชียอาจมีที่อื่น ประเทศญี่ปุ่นไม่แน่ใจอาจพอมี แต่ญี่ปุ่นเขาเตือนยากกว่าเราฝนเขามาเร็วไปเร็ว อันนี้คือโมเดลที่ 2 ในหน้าสไลด์โมเดลผมก็เอาไปใช้การทำงานจริง เราใช้ในการวิชาการและอาชีพ ยกตัวอย่างเช่นกรณีนี้เป็นการวางท่อแก๊ซจากพม่าเข้ามาในไทยเราต้องผ่านพื้นที่ดินถล่มบริเวณปิล็อก ท่านจะเห็นว่าดินถล่มเต็มไปหมดเลยเห็นไหม และนี้คือแนวท่อแก๊ซ ซึ่งอันตรายมากถ้าเกิสไลด์แล้วท่อแก๊ซขาดเราก็ไม่มีไฟเพราะเรามีท่อท่อเดียวที่วิ่งมากจากพม่าจาก 3 แหล่งมารวมเป็นท่อเดียว ก็ใช้โมเดลที่เดียวในการไปต่อว่าจะเกิดสไลด์ตรงไหนบ้างและปรับแก้ไปต่อกับของใหม่ตรงไหนมันตรงกันตรงไหนไม่ตรงกัน และอีกอันคือร่วมกับมูลนิธิเพื่อนพึ่งพาฯ ทำต้นแบบในเรื่องการเตือนภับที่อุตรดิตถ์ซึ่งปีนี้ก็จะทำอีกนะครับ ก็สามารถที่จะทำผลล่วงหน้าได้โดยบอกว่าดินถล่มจะเกิดขึ้นตอนไหน อันนี้เป็นตัวที่เราทำความละเอียดสูงทั่วประเทศอันนี้ทำยากมากเพราะปิดเซลคือ 30x30 เมตร นึกภาพนพครับ 30x30 เมตร ตีตารางนี้ทั่วประเทศเลยและวิเคราะห์ใช้เวลาเป็นหลายเดือนเลยก็ทำร่วมกันกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับกรมทรัพยากรธรณีฯ ท่านจะสังเกตได้ว่าอันนี้น่าสนใจมากนะครับที่จังหวัดน่านแดงแจ๋เลย จริงๆมันมี 2 พื้นที่จากงานวิจัยและการทำงานที่ผ่านมาที่ผมกังวลมีจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับจังหวัดน่าน 2 พื้นที่นอกเหนือจากธรรมชาติแล้วก็ยังมีโอกาสเกิดการถล่ม อันที่ 2.เราทำโมเดลศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 50 ปี ซึ่งทำกับกรมทรัพยากรน้ำ อนาคตสถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าแม่ฮ่องสอนคนไม่เยอะแต่น่านมีการเติบโตค่อนข้างชัดเจน และโมเดลเดียวกันนี้ผมเอาไปใช้ที่ปาปัวนิวกินีผมไปทำงานที่ UNExpert landslide เราก็เอาโมเดลนี้ไปใช้ ซึ่งมีเรื่องของการเกิดดินถล่มขึ้แบบนี้ด้วยเหมือนกัน โมเดลที่ปาปัวฯจะยากกว่าเพราะต้องรวมแผ่นดินไหวเข้าไปด้วย เสียดายว่ามันมีแผ่นดินไหวและถล่มแต่บังเอิญมาถล่มที่ที่ผมไม่ได้วิเคราะห์โชคดีไปไม่งั้นอาจไม่ตรง และโมเดลที่ผมใช้คือ Multi-way warning คือไม่มีทางที่แบบจำลองของใครหรือของผมเองจะเป็นฮีโร่โมเดลเดียว โมเดลเรื่องธรรมชาติต้องมีหลายโมเดล สุดท้ายคือมีหลายทาง ทางที่ 1.คือใช้การเตือนภัยล่วงหน้าเข้าไป โมเดลที่ 2 คือเตือนไปแล้วต้องให้ชุมชนเขาอ่านค่าง่ายๆ จากน้ำฝนและเตือนตัวเอง นี่คือเราพยายามให้ชาวบ้านเขาทำก็ต้องลงพื้นที่เป็นพื้นที่ที่พื้นที่เขาพนญเบนจา ที่ห้วยน้ำแก้ว เพราะในพื้นที่นี้มีทั้งไทย-พุทธ ไทย-มุสลิม เวลาคุยจะเขาไปแนะนำเรื่องเตือนภัยก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็สนุกดี ระบบโมเดลล่ามสุดที่เราใช้และร่วงมกัยมูลนิธีเพื่อนพึ่งพาฯ ชื่อกล่องเตือนภัยดินถล่มประจำบ้าน เหมือนยาสามัญประจำบ้านนะครับ แต่เราเรียกว่ากล่องเตือนภัยดินถล่มประจำบ้าน เราไปติดเครื่องวัดน้ำฝนบนภูเขากับเซนเซอร์อีกตัวหนึ่งจะเล่าให้ฟังว่าคืออะไร แล้วส่งสัญญาณจากภูเขาลงมาที่หมู่บ้านปัญหาคือในอดีตเครื่องวัดน้ำฝนอยู่ในหมู่บ้านแต่ฝนมันตกในภูเขาสรุปเราจะเตือนกันได้ไหม มันเตือนไม่ได้ ถ้าถามว่าทำไมไม่ติดในภูเขาถามคนจะเดินปีนไปบอกว่าฝนตกเท่าไหร่แล้วก็ยาก ฝนตกจะมีสัญญาณโทรศัพท์ไม่ได้ไม่มีทาง ตอนนี้ก็เลยพัฒนาเครือ่มือตัวใหม่ซึ่งให้อาจารย์ทางวิศวกรรมไฟฟ้าพัฒนาขึ้นแล้วส่งสัญญาณกันมาได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตรที่ตัวกลุ่มเตือน พอมันเกินเกณฑ์ปุ๊บมันจะระเบิดสัญญาณเป็นสัญญาณวิทยุออกไปยังกล่องต่างๆ นี่คือกล่องตัวเล็กๆ ซึ่ง 1 กล่องจะดังเตือน 10 บ้าน ไม่มีสายคือไร้สายหมด ตูมออกไปปุ๊บก็ดังพร้อมกัน ดังปุ๊บก็หนีเลย คำถามคือทำไมถึงไม่เชื่อเครื่องวัดน้ำฝนที่หมู่บ้านทำไมถึงต้องไปติดบนภูเขา เคยทดลองดูเอาเครื่องวัดน้ำฝนไปติดบนภูเขากลับไปวัดที่หมู่บ้านแล้วเอาข้อมูลมาเทียบกันไม่มีทางเท่ากันหรอกครับ อันนี้คือข้อมูลน้ำฝนสะสมห่างกันประมาณเกือบ 50 มิลิเมตร ซึ่งเยอะมากในเรื่องของดินถล่มหรือน้ำหลาก เพราะฉะนั้นให้เห็นภาพนะครับว่ามันเป็นข้อมจำกัดในบ้านเรายิ่ง ถามว่าต่างประเทศทำอย่างไร เช่น ญี่ปุ่นเขาก็ติดและมีระบบในการเข้าไปดูแลเครื่องวัดน้ำฝนต่างๆ บ้านเราไม่ถึงขนาดนั้นก็อยากกระตุ้นให้มี ครับขณะเป็นห้วยร้ำแก้วที่ผมไปติดเครื่องมือ เครื่องมือชุดที่ 2 อันนี้เป็นหมู่บ้านอันนี้เป็นบ้านนนะครับเห็นไหมครับที่ผมบอกอันนี้คือตำแหน่งบ้านนะครับ ตรงไหรคือขอบเขตหมู่บ้านนะครับไม่มี มันกระจายนะครับ ตัวนี้ก็ใช่ กระจัดกระจายในขอบเขตหมู่บ้าน ในการเตือนภัยลำบากเหมือนกัน อันนี้คือภูเขา น้ำไหลลงภูเขาลงไป ไปอีกชุดหนึ่งเราเรียก เดอะวีโวเซ็นเซอร์ ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นสลิง เป็นลวดเหล็กขวางลำน้ำไว้ ขวางลำน้ำพวกนี้ไว้ พอเกิดการไหล เกิดการบ่า เกิดการไหลของหิน ของดิน มันจะกระตุก ส่งสัญญาณ ลงไปที่กล่องตัวนี้ และกระจายกล่องส่งสัญญาณเตือนภัยมา อันนี้คือตัวแม่ที่เตือนภัย ตัวตัดสินใจ นี้คือตัวลูกที่เรียกว่ากล่องเตือนภัยประจำบ้านนะครับ ตอนแรกออกแบบเป็นนาฬิกา เพราะให้ชาวบ้านใช้ด้วยและเสียบปลั๊กอยู่ตลอด จะได้ใช้งาน อันนี้เป็นตัวสลิงที่ติดตั้งขวางลำน้ำนะครับ เพื่อที่ว่าเวลาน้ำหลากมา หินหลากมา จะกระตุกนะครับ นี้คือนแนวป้องกันภัย ตอนนี้เราทำเป็นแอพฯแล้วนะครับ ทั้งหมดที่พูดมาเมื่อตะกี้นี้ ที่เราไปติดตั้งเครื่องมือไว้ที่ไหน หรือว่ามีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งหมดอยู่ในแอพ Landslides Warning.thai ซึ่งตัวนี้ ณ เวลานี้ดูได้ว่าตอนนี้ในประเทศไทยมีตรงไหนบ้างที่อันตราย จะมีข้อมูลล่วงหน้าว่า 3 วันล่วงหน้าเป็นอย่างไร สามารถที่จะ สมมุติว่าเราอยู่ในหมู่บ้าน เราอยากจะกรอกข้อมูลลงไป เพื่อคำนวณว่าตอนนี้ฝนตกหนัก ฉันกังวลเหลือเกิน กรอกลงไปเลยครับ มันจะเตือนมาให้ ตอนนี้สถานะถึงตอนไหนแล้ว มีให้กรอกข้อมูลน้ำฝน อันนี้เป็นเตือนภัยล่วงหน้า 3-4 วัน สถานีวัดบางสถานีที่ผมมีเครื่องมือเยอะๆ เช่น ดอยช้าง ตอนนี้มีการขยับตัวอยู่ เรามีเครื่องมืออย่างอื่น นอกเหนือกว่าน้ำฝน ส่วนอันนี้สำหรับชาวบ้านนะครับ คีย์เข้าไปเลย แค่เราต้องบอกหน่อยว่าเราอยู่ภาคไหน เพราะเกณฑ์ในการเตือนมันไม่เหมือนกัน อันนั้นคือชุดที่หนึ่ง คือเหตุจากธรรมชาติ ในส่วนที่ 2 ซึ่งจริงๆแล้วสำคัญ และผมอยากเรียนว่าดินถล่มจากธรรมชาติ จริงๆแล้วทั้งประเทศ เทียบจำนวนเหตุการณ์แล้วกันนะครับ เทียบจำนวนแบบนี้ อันนี้ประมาณ 95% จากการตัดถนน การตัดภูเขา ตัดไหล่เขา และทำให้คนเสียชีวิต ยกตัวอย่างเช่นอย่างกรณีนี้นะครับ บ้างก็ไม่เสียชีวิตนะครับ ขอบเขตที่ดินเขาล้ำเข้าไปในตีนเขานิดหนึ่งนะครับ เสร็จแล้วเขาก็ตัดเพื่อจะทำแปลงของเขา ปรากฏว่าฝนตกก็ถล่ม เพราะคุณไปตัดตีนเขา บ้านนี้โชคดี ผมเดินลงไปคุยด้วย เขาไม่ได้กลัวอะไร แต่บางหลังนี่แค่ดินไหลลงมา และดันให้กำแพงบ้านล้ม และคนนอนอยู่ข้างใน ทับตาย ตายง่ายๆ และมีเคสแบบนี้เยอะมาก ดังนั้น ตอนนี้เรากำลังศึกษาร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า เราควรมีระยะเว้นจากตีนตรงนี้เท่าไร ตอนนี้เป็นประเด็นที่ผมอยากรณรงค์ให้ประชาชนพื้นที่ภูเขาช่วยพิจารณาตาม เพราะเดี๋ยวเราออกเป็นกฎหมายแล้วด้วย สักพักจะออก ต้องเว้นระยะ แต่จะเว้นระยะเท่าไร เดี๋ยวลองดูรายละเอียดกัน หลายเคสเลย ดินไหลลงไปกำแพงล้มพัง ไปตัดเอาบ้านเข้าไปอยู่ และมันหลลงมาพังนะครับ หรือตัดถนนแบบนี้นะครับ สักพักหนึ่งมันก็พัง เพราะไม่ได้มีการป้องกัน อันนี้โรงเรียนบ้านแม่สามแลบ ประมาณนั้นนะครับ โรงเรียนพระราชทาน ซึ่งก็ตัดเหมือนกัน แล้วดินก็ไหล ผมมีวิดีโอแต่ไม่มีเวลานะครับ ไหลสักพังลงมาและพัง เขาเสถียรอยู่แล้วไปตัดออกและก็ปลูก ถามว่าทำอย่างนี้ได้ไหม ทำได้ ถ้าเราเกิดป้องกันให้ดีโดยใช้วิธีทางวิศวกรรม แต่มันแพงนะครับ ก็ต้องทำถ้าเกิดว่าเป็นอาคารที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของชีวิต เราเคยได้ยินเคสใช่ไหมครับ ที่มีดินสไลด์ที่ลำปาง เราลองมาดูเคสนี้ที่บ้านห้วยคิง เวลาดินสไลด์ นี้คือทั้งหมดนะครับ เห็นรอยแตกไหม นี้คือรอยแตกที่เกิดขึ้น ดินบ้านทั้งหมดกำลังไหลไปด้านซ้ายล่างของจอ กำลังแตกลงไป เห็นรอยแตกด้านบนใช่ไหมครับ ทุกคนเห็นไหมครับว่าธรรมชาติ ไม่ธรรมชาติ เคสนี้คืออยู่บนยอดเขาแล้วเขาเอาดินไปถมข้างบน ดินถมขึ้นไป พอฝนตกมาชะไปใต้ดินที่ถม ดินที่ถมไหลไปตามภูเขานะครับ อย่างนี้ไม่ใช่เคสธรรมชาติ แต่คนนึกว่าเป็นเคสธรรมชาติ เห็นไหมครับ นี้คือยุบลงไปทั้งพื้นที่ ผมเข้าใจว่ามีสัก 10 หลังนะครับ เกิดการสไลด์ให้ดูสั้นๆนะครับ ต้องมีการป้องกันทางวิศวกรรม ของถูกไม่มีดีนะครับ ของถูกไม่มีปลอดภัยด้วย ถ้าจะทำให้ปลอดภัยต้องทำดีๆ อันนี้ที่ระนองนะครับ ที่แม่สามแลบนะครับ ผมอยากจะเรียนแบบนี้นะครับ เราได้ยินบ่อยๆว่าเวลาหน้าฝนทีไร จะมีเหตุดินไหลปิดไหล่ทาง ก็ต้องเอารถไปเกรดดินไปโน้นนี้ คำถามคือเพราะอะไร ผมเรียนตรงๆคือว่ามาตรฐานนะครับ ซึ่งแก้ยาก เราอนุญาตทางวิศวกรรม เราอนุญาตให้ตัดสโลปดิน ถ้าเกิดเป็นดินนะครับ ตัดได้ 45 องศา สมมุตินี่คือภูเขานะครับ ถ้าเราต้องทำถนนนะครับ ตัดตรงนี้ 45 องศา 45 องศาอันตราย ในกรณีที่ตัดแล้ว เขาเรียกว่ามันแห้ง มันจะไม่พัง แต่ถ้าเกิดฝนตกลงมามันจะชุ่มและสไลด์ลงมา ถ้าตัดแบนกว่านี้ ไม่ได้ครับ ข้างบนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่อุทยานฯ ขอกันได้ไหมครับ ไม่ได้ พอเข้าใจไหมครับ มีเขตทางเขตที่อยู่ ดังนั้นถ้ายังไม่แก้มาตรฐานตัวนี้นะครับ อย่างไรเราก็ได้ยินข่าวนี้ทุกปี นักข่าวจะมีงานทำทุกปี ไปนั่งตามเคสพวกนี้ และที่มันแย่คือว่า พอถ้ามันปิดเข้าไปเอาข้าว เอาอาหารให้เขาไม่ได้ เขาอดอาหารกัน ลำบากนะครับ ถามว่าทำอย่างไรได้บ้าง ก็ตัดแบบนี้ เพียงแต่ต้องใส่อย่างอื่นเข้าไปเพิ่ม ใส่เครื่องมือทางวิศวกรรมให้มันปลอดภัยต่างๆนาๆ ยกตัวอย่างอีกเคสหนึ่ง เพื่อให้เห็นภาพ อันนี้คือเขื่อนแม่มาว ที่ฝ่าง จ.เชียงใหม่ ผมเข้าไปทำการแก้ไข ถนนนี้เป็นถนนที่วิ่งเข้าเขื่อน สร้างมาแล้ว 20 ปี มีการตัดเป็นสเต็ปๆเข้าไป 20 ปี ก็เกิดการสไลด์พัง อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องที่ 2 คือมิติของสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณจะไม่เข้าใจว่า โครงสร้างทางวิศวกรรมมีอายุการใช้งาน และมันต้องบำรุงรักษา ดังนั้นกรณีเคสแบบนี้นะครับ มันจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ คือเมื่อสโลปมันหมดอายุ หินผุพัง มันจะเกิดการสไลด์ลงมาเรื่อยๆ สิ่งที่เราต้องทำคือต้องทำการป้องกัน บำรุงรักษาต่อไป เดี๋ยวให้ดูเคสนี้ ซูมเข้าไปนะครับ ผมข้ามๆไปนะครับ ตอนหลังก็ออกแบบแก้ไข ปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย ตอนนี้อย่างน้อยอยู่ได้อีก 20 ปี มันก็ต้องทำ ส่วนใหญ่เรารอให้มันพังและค่อยมาทำนะครับ อีกเคสหนึ่ง ซึ่งเป็นเคสที่ผมกำลังศึกษาอยู่และยังไม่จบคือ ดอยช้าง จ.เชียงราย มีหมู่บ้าน มีคนอยู่ประมาณ 6,000 คน ตามนี้นะครับ ปรากฏว่าทั้งดอยกำลังขยับตัวลงไปที่ตีนดอย อัตราการขยับตัวปีหนึ่งประมาณ 50 เซนติเมตร เยอะนะครับ 3-4 ปี หน้าบ้านกลายเป็นหลังบ้านมันขยับ ขยับอย่างไรนะครับ คือต้นไม้เอียงแบบนี้เลย ถนนแยก กำแพงแยก มีการขยับตัว อันนี้เราทำการสำรวจค่อนข้างละเอียดมาก พบว่าบริเวณหมู่บ้าน คตรงนี้คือที่สูง ที่ต่ำ น้ำไหลลงนะครับพาเอาบ้านไหลลงไปด้วย ถ้าเราเห็นภาพนี้ง่ายๆนะครับสโลป ที่แปลกมากๆคือพื้นที่นี้สโลปชันแค่ประมาณ 10 องศาเอง 10 องศานี้ไม่ชัน ค่อนข้างลาดมาก แต่ว่ามวลที่เป็นสีเหลืองตรงนี้มันขยับ หนาประมาณ 20 เมตร และมีบ้านอยู่ข้างบน มวลดินนี้นี่คือมวลดินเก่า คือเป็นแลนด์สไลด์เดิม ที่ถล่มมาจากภูเขาข้างบน ภูเขาตรงนี้ถล่มลงมากองตรงนี้ และมันจะไหลต่อ ซึ่งเคสนี้น่าจะตรงกับที่นิวัติเจอที่ภูทับเบิก เดี๋ยวเล่าให้ฟัง จริงๆหมู่บ้านแบบนี้ในประเทศไทยเป็นหมู่บ้านชาวเขาที่อยู่ในกองดินถล่มเดิมมีเยอะนะครับ ดอยปุยก็ใช่ ดอยช้างก็ใช่ เพียงแต่ว่าดอยช้างอันตราย เพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจพิเศษเฉพาะด้วยเพราะเป็นจีโอกราฟฟี่ อินดิเคเตอร์ คือไปปลูกกาแฟนอกเขตดอยช้างนี่ไม่ได้ ไม่นับว่าเป็นดอยช้างแล้ว เป็นพื้นที่สำคัญ ผมทำ Mind Mapping ร่วมกับชาวบ้านนะครับ ให้ชาวบ้านมานั่งแมปว่าบ้านใครขยับ มีรอยเสียหาย เห็นไหมครับ แดงๆคือหมู่บ้าน พื้นที่โซนมีการขยับตัว ไหลลงไปตามสโลป ผมติดเครื่องมือต่างๆเต็มไปหมดเลย และวัดการเคลื่อนตัวด้วยเครื่องมือที่ละเอียดสูง ชัดนะครับ ไหลลงมาตามนี้นะครับ ติดเครื่องมือต่างๆ เกิดการเคลื่อนตัว ผมข้ามไปนะครับและเริ่มพัง ปัญหาคืออะไรนะครับ ปัญหาไม่ใช่เรื่องวิชาการ ปัญหาคือเรื่องกฎหมาย พื้นที่นี้คือพื้นที่ซึ่งอยู่โดยที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถามว่าลองไปแมปดูว่าพื้นที่แบบนี้ในประเทศไทยมีเยอะไหม มีเยอะ ดังนั้น ณ เวลานี้สิ่งที่เราต้องการไม่ว่าต้องการเครื่องมือ ไม่ว่านวัตกรรมทางกฎหมาย ซึ่งงานนี้ผมวิจัยกับท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ซึ่งย้ายไปที่พะเยาแล้ว เราได้เงื่อนไขแล้ว ว่าเราจะแก้ไขอย่างไร ในทางกฎหมาย และในการทางราชการ คือไม่ได้เอาราชการนำ ข้าราชการไม่สามารถใช้เงินในพื้นที่อย่างนี้ได้ เพราะผิดกฎหมาย แต่ใช้องค์กรที่เป็นจีอีโอนำ และราขการสนับสนุนตาม นั้นคือเงื่อนไขที่เราแก้ในปัจจุบัน เราทำแมปพวกนี้มา ถามว่าย้ายได้ไหม ย้ายไม่ได้หรอกครับ บัตรประชาชนมีไหมยังไม่รู้เลย พอนึกออกไหมครับ ซับซ้อนมาก คือวิชาการจบไปนานแล้ว ที่เหลือคือกฎหมายเรื่องสังคม ผมมีไอเดียในเชิงปฏิบัติ คือที่มันขยับพอฝนตกน้ำขังใต้ดินและไหลออก เราเลยคิดนวัตกรรมใหม่คือแก้ภัยแล้ง และดินสไลด์ในเวลาเดียวกัน ไปสนับสนุนให้ชาวบ้านในพื้นที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาและกรองกลายเป็นน้ำดื่มในหน้าแล้ง หมายถึงว่า มันมีพื้นที่ใต้ดิน ซึ่งเป็นช่องว่างของน้ำเวลาฝนตกในหน้าฝนจะลงไปเก็บได้ เหมือนอ่างเก็บน้ำใต้ดินนะครับ คำนวณเป็นเรื่องเป็นราวออกมาเป็นเท่าไร อันนี้กำลังดำเนินการอยู่ ถามว่าประชาชนจะได้อะไรจากการแถลงข่าวครั้งนี้ ผมขออย่างเดียวครับ ดูเรื่องระยะเว้น ไปดูที่บ้านตัวเองนะครับ ผมเดินดินถล่มมาเยอะแล้ว นคร ติดมาหมดแล้ว ไม่มีทาง ทุกบ้านทุกหลังติดหมด แต่เตือนไว้เลยนะครับการถล่มเล็กๆน้อยๆ กำแพงถล่มทับก็ตายได้ ตายมาเยอะแล้วครับ อย่างน้อยตอนนี้ย้ายบ้านไม่ได้ ไม่เป็นไร แต่ย้ายที่อยู่อาศัย ย้ายที่อยู่ ห้องที่นอนให้มันไปไกลผนังดินที่ตัด ถึงแม้ว่าบ้านมี 2 ห้อง 3 ห้อง ห้องที่ติดผนังภูเขา อย่าใช้เป็นห้องนอน ใช้เป็นห้องเก็บของหรือห้องอะไรก็แล้วแต่ ไปใช้ห้องที่อยู่หน้าบ้านบ้างอะไรบ้าง ให้ห่างออกมาหน่อย และจะสร้างบ้านใหม่ให้มีระยะเว้นพอเพียงแค่นั้นก็พอแล้ว ผมเรียนว่าเรื่องนี้ผมพูดมาเป็น 10 ปีแล้ว มันเกิดอยู่เรื่อยๆ

นิวัติ- เป็นโอกาสที่ดี ซึ่งวันนี้จะมาพูดเรื่องของกรณีศึกษา ผมจะเน้นเรื่องของกรณีศึกษา ของพื้นที่ดินถล่มในปัจจุบัน นำเรื่องของดินถล่มเพิ่งเกิดขึ้นไปเมื่อไม่กี่วัน มานำเสนอ ข้อมูลหลายๆอย่าง อาจารย์พูดไปเยอะเลยนะครับ เดี๋ยวผมจะตัดไปในส่วนที่ซ้ำกัน ผมให้แผนที่ธรณีวิทยา อันนี้เป็นแผนที่ธรณีวิทยา อันนี้เป็นพื้นที่ให้ดูลักษณะธรรมชาติของพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะเห็นบนพื้นที่ที่เป็นจะระบายเป็นสีเหลือง คือที่อยู่ที่ตั้งของจังหวัดต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบ ซึ่งตั้งอยู่เป็นแหล่งสะสมตะกอน อยู่ระหว่างภูเขาซึ่งมีความชัน มีความซับซ้อน ซึ่งระบายเป็นสีอื่นๆ ยกเว้นสีเหลืองๆ ที่ราบสำหรับภูเขา เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในธรณีวิทยาของพื้นอยู่แล้วในแม่ฮ่องสอน ที่เป็นอย่างนี้นะครับ ก็คือเป็นอิทธิพลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก จาก 2 แผ่นใหญ่ๆ ที่ปัจจุบันยังต่อสู้กันอยู่ ก็คือแผ่นเปลือกโลกอินเดียกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ประเทศไทยเราตั้งอยู่บนยูเรเซีย อินเดียกับยูเรเซียยังชนกันอยู่ ซึ่งที่เกิดตามมาก็คือเทือกเขาหิมาลัย ในส่วนของประเทศไทยได้รับอิทธิพลต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัยเป็นส่วนหางๆ ของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งจะมีอิทธิพลลงมาถึงภาคเหนือ พม่า ลาว ขึ้นไปถึงภาคเหนือเวียดนามด้วยซ้ำ แล้วก็จีนตอนใต้ แล้วก็ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่เป็นอิทธิพลเกิดขึ้นทั้งหมด ผมขออนุญาตเอารูปแบบมาให้ดูนิดหนึ่ง ลักษณะการเกิดในช่วงแรกก็จะเกิดการดันตัว แผ่นอินเดียที่ชนกับยูเรเซีย ก็จะดันกัน ทำให้แผ่นเปลือกโลกในทางตอนเหนือของอินเดีย รวมทั้งภาคเหนือของปประเทศไทย เกิดการยกตัวขึ้นมา จนกลายเป็นเทือกเขาที่สูงยกขึ้นมาก่อน ในเวลาต่อมาด้วยหลังอิทธิพลของการที่แผ่นอินเดียมีการปรับชุมชน บางช่วงอ่อนแรง บางช่วงแรงมาก แรงน้อย ไม่ต่างกัน ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดลักษณะของสิ่งที่เราระบาย ที่ว่าเป็นพื้นที่ตั้งของจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือขึ้นมา มีการยุบลงไปเป็นที่ราบของภูเขา ซึ่งเราเรียกว่าแหล่งสะสมตะกอนในภาคเหนือ เพราะฉะนั้นพื้นที่ทั้ง 2 ข้าง คือพื้นที่สูง และก็หลายๆ บริเวณ ด้านข้างที่เป็นขอบติดต่อระหว่างแอ่งข้างล่างที่ยุบลงไป กับขอบที่เป็นภูเขาข้าง จะเป็นรอยเลื่อนมีพลังทั้งนั้นเลย โดยส่วนใหญ่ในการเคลื่อนตัวเป็นจังต่อเนื่องกันมา ต่อเนื่องที่ได้รับจากแรงที่ได้รับจากอินเดียที่ชนยูเรเซียกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ในภาคเหนือบ้านเรา เลยเข้าไปในพม่า ในลาวทั้งหมด รอยเลื่อนทั้งหลายเกิดอย่างนี้ แล้วก็มีอิทธิพลถึงปัจจุบัน อันนี้เป็นตัวบังคับที่ทำให้เกิดลักษณะที่ราบที่มีพื้นที่ต่ำลงมา แบบขนาดสูงที่อยู่ข้างๆ อันนี้เป็นภาคบังคับทางธรณีเลย อันนี้ก็คือรยเลื่อนต่างๆ ที่อาจารย์สุทธิศักดิ์ได้พูดไปแล้ว ซึ่งพบว่ามีความสำคัญกับในเรื่องของดินถล่มในส่วนต่างๆ ของประเทศไทย เมื่อไม่กี่วันมีการถล่มของบ่อเกลือใช่ไหมครับ รอยเลื่อนปัวอยู่ตรงนี้ อันนี้น่านนะครับ รอยเลื่อนปัวสีน้ำเงินอยู่ตรงนี้ บ่อเกลือจะอยู่ตรงอีกแนวหนึ่ง เป็นแอ่งสะสมตะกอนเล็กๆ เป็นแนวยาวของจังหวัดน่าน ในแอ่งบ่อเกลือตรงนี้มีรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งเมื่อกี้อาจารย์สุทธิศักดิ์ได้โชว์ไปแล้ว เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังที่ขนานกับรอยเลื่อนปัว แต่ไม่ตั้งชื่อเป็นทางการ เราเรียกกันว่ารอยเลื่อนบ่อเกลือ มีความยาวตั้งแต่บ่อเกลือขึ้นไป จนถึงอำเภอเฉลิมพระเกียรติด้านบน เป็นรอยเลื่อนมีพลังที่มีอิทธิพลต่อ ในเรื่องของการเกิด ไม่ว่าจะเกิดของแผ่นดินไหวหรือว่าดินถล่ม โคลนถล่มอะไรต่างๆ ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา มีตัวหนึ่งที่เป็นอิทธิพลในการกำกับ เราพบว่ามีเหตุการณ์นี้ของภูชี้ฟ้า ก็ประมาณตรงนี้ ของจังหวัดเชียงราย อันนี้เกี่ยวเนื่องกับรอยเลื่อนแม่อิงที่อยู่ใกล้ๆ เราพบว่ามีเหตุการณ์ในเรื่องของดินมีการเตือนในเรื่องของการดินสไลด์ ถล่มลงมา ที่ภูทับเบิก ภูทับเบิกอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ ภูทับเบิกอยู่ตรงบริเวณแถวนี้ แล้วก็เราพบว่าทั้ง 3 กรณี ไม่ว่าจะเป็นที่บ่อเกลือ ที่ภูทับเบิก หรือแม้ที่เชียงรายเอง เราพบว่าซึ่งที่ธรณีเรียกว่า Paleo landslide Paleo แปลว่า โบราณ ก็คือมีกองดินถล่มโบราณ โดยเฉพาะที่ภูทับเบิกดกองใหญ่มาก ใหญ่เป็นภูเขาที่ภูทับเบิกใหญ่มากๆ สิ่งเหล่านี้รวนมีความสำคัญความสัมพัธ์ต่อการเกิดดินถล่ม นอกจากในเรื่องของความชันของพื้นที่ ไม่ว่าในเรื่องของปริมาณน้ำฝน ในเรื่องของป่าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของการตัดถนนหนทาง การปลุกพืชทางการเกษตร การมีชุมชนเข้าไปอาศัยอยู่ ถ้าไม่มีชุมชนเข้าไปอาศัยอยู่ ก็จะไม่เป็นพื้นที่เสี่ยง อันนี้เสี่ยง อันนี้เสี่ยงต่อคนด้วยชีวิต อันนี้คือข้อมูลเบื้องต้น อันนี้เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มที่ทางกรมทรัพยากรธรณีได้ทำออกมา จริงๆ แล้วมีเป็นรายจังหวัด อันนี้เป็นรายภาค พท้นที่สีแดงก็คือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มมากที่สุด รองลงมาเป็นสีเหลือง โอกาสที่มีดินถล่ม มีโอกาสน้อยกว่า ก็คือพื้นที่ที่เป็นสีเขียว อันนี้ก็ที่เราเอามาจัดทำคิดคำนวณว่าที่ไหนจะเป็นเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ประการที่หนึ่งคือลักษณะของหิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หินมีความคงทนต่อการผุกร่อนมากแค่ไหน มีในเรื่องของการใช้ที่ดิน มีในเรื่องของชุมชนอาศัย มีในเรื่องของความลาดชันของพื้นที่ ตั้งแต่ 30 องศา เป็นต้นไป เรากำหนดเป็นพื้นที่เสี่ยงใน 3 บริเวณ 3 สีต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ สิ่งที่เหลือยู่คือปริมาณน้ำฝนเป็นตัวตัดสินใจ หลังจากที่เราใช้เกณฑ์ต่างๆ ปริมาณน้ำฝนหนึ่งร้อยสำหรับพื้นที่สีแดง แค่ปริมาณ 100 มิลลิเมตรต่อวัน ก็ไปแล้ว ถล่มแล้ว พื้นที่สีเหลือง ปริมาณน้ำฝน 200 มิลลิเมตรต่อวัน ถึงจะมีโอกาสถล่ม และพื้นที่สีเขียวต้องถึง 300 มิลลิเมตรต่อวัน ถึงอาจจะถล่ม อันนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทางกรมได้มีการจัดทำ ที่นี้เรามาดู Case study ของ เดี๋ยวก่อนจะไป Case study อันนี้เป็นภาพให้ดูถึงการศึกษาพื้นที่ต้นแบบที่จังหวัดเลย อำเภอด่านซ้าย เคยมีดินถล่มโบราณ ทางกรมได้ไปศึกษาวิจัยที่ต้นแบบ เราผมว่าที่ศึกษาบริเวณอำเภอด่านซ้าย เคยมีแผ่นดินถล่มแถวนี้ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ตามโซนที่เขาลากออกไป ก็มีรอบของการถล่มประมาณ 5 พันปี ก็คือที่อยู่ข้างล่างสุด เป็นชั้นของกองดินถล่มโบราณที่มีอายุมากที่สุด ถัดมา 5 พันปีต่อมา ชั้นที่ 2 ที่ถล่มลงมา ชั้นบนคือชั้นปกติในปัจจุบัน อันนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าหลายๆ พื้นที่ ในประเทศไทย เคยมีการถล่มของแผ่นดิน เคยมีการถล่มของดิน ของหิน จากที่สูงลงมาตามไหล่เขาที่ราบมาสะสม อันนี้เปป็นเรื่องของธรรมชาติ อย่างที่อาจารย์สุทธิศักดิ์พูดไปแล้ว อะไรของการพัฒนาของภูเขา การพัฒนาของเปลือกโลกเรา บริเวณตรงไหนที่เป็นเขาสูง ธรรมชาติก็พยายามที่จะปรับให้เป็นที่ต่ำลงมา อันนี้เป็นการปรับสมดุลตามธรรมชาติ มีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวช่วย ในเวลาผ่านมาก็อาจจะมีการพุพังทลาย โดยฝน โดยลม อะไรก็ว่าไป นอกจากนี้ก็จะมีการถล่มเป็นช่วงๆ โดยธรรมชาติ หรือถ้ามนุษย์ไม่ไปยุ่งกับมัน ไปขวาง ไปบุกกับมัน ก็จะไม่ไปเกี่ยวข้องอะไร ก็จะไม่เป็นอันตรายหรือเสี่ยงภัยอะไร แต่ว่าถ้าคนเราเข้าไป แล้วไปเพิ่มเป็นแรงกระตุ้นเพิ่มเข้าไปอีก จากธรรมชาติที่เคยถล่มลงมาเป็นประจำอยู่แล้ว จากรอบ 5 พันปี ที่เคยถล่ม อย่างตัวอย่างที่อำเภอด่านซ้ายก็อาจจะเร็วขึ้น บางทีก็อาจไปงัดก้อนที่มันบาลานซ์กันอยู่ถล่มวันเดียวเลย อะไรอย่างนี้ เป็นเรื่องที่มนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธรรมชาติมากขึ้นในปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีได้ไปสร้างเครือข่ายเอาไว้ตามจังหวัดต่างๆ ตามข้อมูลของกรมเราที่ทำเอาไว้ เรามีพื้นที่เสี่ยงภัยเกือบดินถล่มทั้งหมด 54 จังหวัด รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,873 ตำบล ประมาณ 5,000 หมู่บ้าน ที่นี้เราพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงแล้ว ในกระบวนต่อมาที่กรมจะทำก็คือในเรื่องของการสร้างเครือข่าย พวกที่อยู่ในพื้นที่ เขาอยู่อาศัยที่นั้น 24 ชั่วโมง ไม่มีใครที่จะเตือนคนที่อยู่ในพื้นที่ได้ดี นอกจากคนที่อยู่ในพื้นที่เอง กรมทรัพยากรธรณีเตือนได้แค่ ประกาศ เวลา ข้อมูลในเรื่องของพายุ ลม ฟ้า อากาศ จากรมอุตุนิยมวิทยา แล้วก็ประกาศเตือน เราได้ทำแผนที่เสี่ยงภัยกำหนดเขตต่างๆ แล้วไว้ให้เป็นพื้นฐาน ได้มีการอบรมข้อมูลในเบื้องต้น เรื่องของอันตราย ของดินถล่ม เราได้มีการซักซ้อมเครือข่าย เราไปสร้างเครือข่ายเอาไว้ตามจังหวัดต่างๆ ปัจจุบันเรามีเครือข่าย 51 จังหวัด ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งหมด 961 ตำบล เสี่ยงภัยทั่วประเทศ 1,873 เราไปสร้างไว้แล้วเกือบเจ็ดร้อย ที่นี้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเนื่องจากภัยพิบัติในเรื่องของดินถล่มมันมา ค่อนข้างรู้สึกว่ามันจะถี่ขึ้นกว่าในปัจจุบัน ในการสังเกตุลม ฟ้า อากาศ เปลี่ยนไปหรือเปล่า หรือว่าเป็นเรื่องของการบุกเข้าไปในพื้นที่ ที่มีความชันมากขึ้น ของชุมชนที่อยู่อาศัยต่างๆ หรือแม้แต่การตัดถนนหนทาง ซึ่งอาจจะในบาง ในหลายๆ บริเวณอาจจะตัดไปก่อนงบประมาณในเรื่องการสร้างสิ่งป้องกันในเชิงวิศวกรรมอาจจะยังรองบประมาณอยู่อาจจะยังไม่สร้าง ก็อาจจะถล่มลงมา อันนี้ก็เป็นไปได้ ทีนี้นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่ต้องทำ แล้วก็ทำแล้วนะครับ หลังจากที่ผมไปประชุมกับทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็คือให้หมู่บ้านทางด้านบนวันปริมาณน้ำฝน โดยใช้กระบอกวัดปริมาณน้ำฝน ให้หมู่บ้านทางด้านล่างที่อยู่ห่างไป 3 กิโล ที่อาจได้รับผลกระทบมีกระบอกวัดน้ำฝน ให้วัดเป็นทุก 24 ชั่วโมง ให้จดบันทึก 24 ชั่วโมง ถ้า 24 ชั่วโมง วัดได้ 100 มิลลิเมตร ให้เก็บข้าวของนะครับ ถ้า 150 มิลลิเมตรต่อ 24 ชั่วโมง ให้ย้ายเลย ให้หนีภัยไปสู่ที่ปลอดภัย ถ้าถึง 180 ที่นี้มีโอกาสถล่มลงมา ถนนตรงนี้กับกองดินถล่มโบราณมีโอกาสถล่มลงมาอย่างแน่นอน ตอนนี้ให้วัดทั้งทางด้านบนและด้านล่างและเอาปริมาณของกระบอกบนกับกระบอกวัดน้ำฝนข้างล่างมาเฉลี่ยกันไม่ใช่เอาปริมาณมารวมกันนะ เอามาเฉลี่ยกันเป็นรายชั่วโมง ราย 24 ชั่วโมง ตอนนี้ได้แจ้งทางจังหวัดแล้วทางจังหวัดได้ซ้อมแล้ว ได้วัดทุกวัน ส่งผลมาให้ผมดูทางไลน์ทุกวัน ทีนี้ในเรื่องของการสัญจรถนนเส้นนี้เป็นถนนหลักของนักท่องเที่ยวขึ้นไปภูทับเบิก ภูทับเบิกอยู่บนนี้นะครับ ต้องไปอีกขึ้นทางข้างบนยอด เมื่ออาทิตย์ที่แล้วหลังจากเกิดปัญหาพบว่ามีรอยร้าว ทางจังหวัด ทางสถานี้ตำรวจภูธรเพชรบูรณ์ ก็ออกประกาศในเรื่องของการห้ามใช้ถนน ห้ามสัญจร เป็นกฎหมาย ก็ปรากฏว่ารถนักท่องเที่ยวขึ้นไปไม่ได้แล้วแต่ยังมีรถของชาวบ้านที่อยู่ด้านบนซึ่งทำเกษตรปลูกผักยังใช้ขนผักอยู่ ตอนที่ผมไปเมื่อ 3 วันที่แล้ว ยังขนผักขึ้น ลง อยู่ เป็นรถปิกอัพขนผักหนักมากเลยนะครับ ปัจจุบันทางจังหวัดก็หาทางที่จะทำอย่างไรไม่ให้กระทบ ก็ไปหาเส้นทาง มีเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมก่อนที่จะมีการสร้างถนนนี้ขึ้นมาเมื่อหลายปีที่แล้วเป็นเส้นทางที่ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ป่าแล้วก็ไม่ใช้แล้วเพราะว่าติดกฎหมายป่าทางจังหวัดก็ไปเจรจากับกระทรวงทรัพย์ฯ เพื่อที่จะขอใช้ชั่วคราวแล้วก็มีทางกองทัพภาคที่ 3 ได้ขึ้นใช้เครื่องมือหนักไปทำทางก็ใกล้จะเสร็จที่มันรกๆ ก็ใช้ชั่วคราวไปก่อนเส้นทางนี้จะห้ามใช้ถาวร ตราบใดที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ วิธีแก้ปัญหาก็คือต้องไปในเรื่องของทางวิศวกรรมโดยตรงเลย จะทำอย่างไรให้ผ่านช่วงที่มีปัญหา 2 กิโลฯ จะทำอย่างไร อันนี้ก็จะเป็นเรื่องของอาจารย์ สุทธิศักดิ์ นะครับ ต้องไปศึกษาด้วยจะทำสะพานแขวนให้ผ่านพ้นไปหรือว่าจะลงเสาเข็ม เนื่องจากถ้าเจาะทะลุลงไปจากบริเวณพื้นถนนด้านบน มันก็จะเป็นกองดินถล่มโบราณซึ่งมีความหนาอยู่พอสมควรต้องไปสำรวจรายละเอียดว่ามันหนาเท่าไหร่ แล้วก็ใต้ชั้นกองดินถล่มมันจะเป็นชั้นหินที่เรียกว่าชั้นหินภูกระดึง ก็ต้องไปตั้งเสาเข็มตรงนั้น ซึ่งงบประมาณก็ต้องไปคำนวนดู แต่สูงมากแน่ๆเลย หรือมิวิธีการอื่นอันนี้ก็ต้องไปคุยกันในด้านวิศวกรรม แต่ว่าผมไม่ทราบว่าทางจังหวัดจะใช้เวลาเท่าไหร่หรือว่าจะให้พ้นหน้าฝน ที่จะมาให้ใช้ถนนเส้นนี้อยู่อีกหรือไม่ผมยังไม่ทราบในรายละเอียด

สุธาสินี- คือ จากที่เราทราบว่าเหตุการณ์ดินถล่มทั้ง 2 ท่าน คือท่านอาจารย์ สุทธิศักดิ์ แล้วก็ท่าน ผอ.นิวัติ ได้อธิบายไปหมดแล้วนะค่ะ จากกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่าแนวโน้มจะเห็นว่าทุกวันนี้มันค่อนข้างจะเกิดมากขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกวัน ทางกรมโยธาธิการในฐานะที่ว่าเราดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในด้านการก่อสร้างอาคารและการขุดดินถมดินนะค่ะ เราก็จะต้องมีการกำหนดมาตรการ โดยความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการ ก็คือจะรับผิดชอบทางด้านกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารแล้วก็กฎหมายว่าด้วยการขุดดินถมดิน ซึ่งจากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ก็ทำให้เกิดเจตนารมณ์ที่เราจะต้องมาดำเนินการเพื่อนำมากำหนดเป็นข้อบังคับหรือมาเป็นร่างกฎหมายในอนาคตหรือเป็นมาตรฐานเพื่อพัฒนาให้ประชาชนมีแนวทางปฎิบัติตามซึ่งทางกรมได้เข้าไปศึกษาวิจัยร่วมกับท่านอาจารย์ สุทธิศักดิ์ ซึ่งอาจารย์ สุทธิศักดิ์ ก็ได้พูดไปคร่าวๆแล้วว่า การก่อสร้างอาคารบนพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มจะต้องมีการเว้นระยะหรือมีระยะที่เหมาะสม ซึ่งจากที่อาจารย์ศึกษามาและจากข้อมุลของกรมทรัพย์ยากรธรณี ทุกอย่างก็จะเป็นข้อมูลในทางวิชิการเบื้องต้นซึ่งเราสามารถนำไปอ้างอิงหรือนำผลการยวิจัยผลทางวิชาการมากำหนดมาตรการในแต่ละพื้นที่ โดยในแต่ละพื้นที่ ที่เราจะกำหนดขึ้นมา เราจะต้องอาศัยแล้วก็อ้างอิงจากกรมทรัพยากรธรณี ในทางด้านว่าจะกำหนดว่าพื้นที่ไหนเป็นบริเวณเสี่ยงภัย ซึ่งพื้นที่จะกำหนดอาจจะกำหนดเป็นระดับละเอียดในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ในมาตรการที่เราจะมากำหนด ก็จะมีมาตรการหลัก 2 แนวทาง คือ มาตรการทางวิศวกรรม และมาตรการทางด้านกฎหมาย มาตรการทางวิศวกรรมก็จะได้แก่ การกำหนดถ้าจะก่อสร้างในบริเวณที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ลักษณะอาคารจะต้องห่างจากบริเวณดินถล่ม มีการสร้างกำแพงกันดิน หรือจะต้องมีระบบปรับปรุงดิน ระบบสร้างค้ำยันต่างๆ อันนี้คือมาตรการทางวิศวกรรม ส่วนมาตรการทางกฎหมายคือ จะต้องมีระยะย่นที่เหมาะสมและกำหนดความลาดชันที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการศึกษาวิจัย โดยที่กำลังจะออกมา ก็จะมีข้อบังคับที่กำลังจะออกมา ซึ่งเราจะไปกำหนดข้อบังคับนี้จะไปกำหนดบริเวณที่ห้ามก่อสร้าง ระยะ หรือระดับระหว่างอาคารกับเขตที่ดินของผู้อื่นในบริเวณลาดเชิงเขาและพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม แล้วก็จะไปกำหนดเป็นข้อบังคับมาตรการการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดินในบริเวณลาดเชิงเขาและพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ซึ่ง 2 ร่างข้อบังคับนี้จะเป็นกฎหมายในอนาคตซึ่งอันนี้จะบอกไม่ได้ว่าจะเสร็จเรียบร้อยเมื่อไหร่ ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร คณะกรรมการขุดดินถมดินแล้วก็เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมาย แต่สิ่งที่เราทำตอนนี้คือเรากำลังจะมีมาตรฐานและคู่มือประกอบที่จำเป็นสำหรับให้ประชาชนปฏิบัติตามได้ก่อนซึ่งอาจจะออกมาเร็วๆ นี้ ก็จะเป็นพวกมาตรฐานการก่อสร้างอาคารบริเวณเชิงเขาซึ่งในมาตรฐานก็จะมีกำหนดว่าถ้าจะเข้าไปก่อสร้างจะต้องมีการคำนวนแล้วออกแบบตามหลักวิศวกรรมให้มีความปลอดภัยอย่างไร มาตรฐานการวิเคราะห์ความมั่นคงของพื้นที่ว่าพื้นที่นี้เหมาะกับการก่อสร้างอาคารหรือไม่ มาตรฐานการป้องกันพังทลายสำหรับลาดเชิงเขา มาตรฐานถมดินและบดอัดดินเพราะว่าการเข้าไปถมดินอย่างที่อาจารย์ สุทธิศักดิ์ ได้อธิบายไปแล้วว่าบางส่วนที่เข้าไปถมดินบริเวณลาดเชิงเขาแล้วบางครั้งไปถมดินบริเวณร่องน้ำก็ทำให้เกิดความเสียหาย มาตรฐานการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และมาตรฐานระบบการเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มว่าเราอาจจะต้องมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์เตือนภัยในพื้นที่ต่างๆ ก็ถ้าเกิดว่ากระบวนการจัดทำร่างนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วผ่านการพิจารณา ก็จะทำให้ประเทศไทยมีข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการก็เป็นแนวทางให้ประชาชนปฎิบัติได้ จะเป็นร่างกฎกระทรวง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างและระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับเขตที่ดินของผู้อื่นบริเวณลาดเชิงเขาและพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม อาจจะยาวนิดหนึ่งแต่ว่า คือร่างนี้อยู่ในขั้นตอนร่างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ อันแรกคือกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างสั้นๆเลย เป็นร่างที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอย่างแรกเลยและร่างที่ 2 ก็คือกำหนดมาตรการการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับการขุดดินหรือถมดิน คือร่างตัวแรกเราจะไปดูการก่อสร้างอาคารบริเวณไหนห้ามหรือบริเวณไหนสร้างได้ แต่ต้องมีระยะเว้นที่เหมาะสม มีการกำหนดความลาดชันที่เหมาะสม ส่วนอีกร่างหนึ่งก็จะดูในเรื่องของการที่เข้าไปขุดดินหรือถมดินในบริเวณลาดเชิงเขา ซึ่งจะต้องมีการบดอัดดินให้มีความเหมาะสมหรือมีการถมดินที่ถูกต้อง บางทีต้องไปกำหนดบริเวณความสูง พื้นที่ ที่จะถม ต้องมีความเหมาะสม ระยะห่างของขอบบ่อ การกำหนดบริเวณเขตที่ดิน ไม่ไปขุดดินใกล้บริเวณของผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายได้ แล้วก็การไปถมดินก็ต้องไม่กีดขวางทางน้ำ ส่วนเนื้อหารายละเอียดในร่าง ทางกรมเองก็ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติตามร่างในวันที่ 29 สิงหาคม ที่โรงแรม มิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น ซึ่งจะเป็นส่วนของ ท่านอาจารย์ สุทธิศักดิ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก จะเป็นผู้นำเสนอสามารถไปให้ข้อคิดเห็นได้ แต่ว่าหลังจากจบตัวนี้ มันก็จะมีขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายต่อๆไป ซึ่งเราก็ต้องนำร่างนี้ไปเสนอกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร และคณะกรรมการขุดดินถมดิน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป ตามขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาสักพักใหญ่ๆ
ภาพเหตุการณ์ดินถล่มที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2561
ภาพเหตุการณ์ดินถล่มที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2561


กำลังโหลดความคิดเห็น