“สุรทิน ชัยชมพู” หรือ “ขวัญ” หนุ่มใหญ่วัย 50 กลางๆ สูงราว 170 เซนติเมตร เจ้าของบริษัท สยามบาดาล ทำงานเป็นนักขุดเจาะน้ำเพื่อบรรเทาทุกข์ภัยแล้งทางภาคเหนือ มีครอบครัว ภรรยาและลูกๆ อาศัยอยู่ที่บ้านท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลคร่าวๆ ที่เราอาจจะทราบหรือรับรู้สำหรับคนพื้นถิ่นมิตรสหายของหมู่บ้าน ตำบล กระทั่งคนว่าจ้างงานขุดเจาะ ก่อนวันที่ 23 มิ.ย. 2561 ที่ผ่านมาของเหตุการณ์ 13 ชีวิตเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีพลัดติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน หนึ่งในนั้นที่เป็นจิตอาสาช่วยเหลือในทันใด คือ สุรทินแห่งสยามบาดาล ที่อาสาลงทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์จนลุล่วงสำเร็จ

ในวันนี้สุรทินมีเรื่องราวมากมายที่เราควรรู้เกี่ยวกับตัวเขาทั้งในแง่งามชีวิต แง่ประสบการณ์ รวมไปถึงมุมมองความคิดของคนที่เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่เคยเห็นหน้า อะไรที่ผลักดันให้เขาทำเช่นนั้น Manager online ในบรรทัดถัดไป...มีคำตอบ

(1)
หนึ่งชีวิตไซร้ล้วนคุณค่าอนันต์ต่าง
“เราต้องช่วยเด็กให้ได้ ถ้าถ้ำถล่มผมรับผิดชอบเอง ให้ประหารชีวิตก็ได้” หนุ่มใหญ่ชายวัยกลางคน กล่าวเปิดเรื่องสนทนาในช่วงวินาทีเวลาของวันที่ 23 มิ.ย. 2561 ที่เด็กๆ ทั้ง 13 คนติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
เปรียบเปรยความรู้สึกของเขาในเวลานั้นถึง “เหตุผล” อาจจะฟังดูเป็นสิ่งเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ ในสถานการณ์ที่ต่างออกไป เช่นหัวอกคนเป็น “พ่อ” แค่ลูกไม่สบายกล้าขับรถฝ่าไฟแดงหรือไม่ คำตอบคือ “กล้า” อย่างไม่ต้องสงสัย และมันจะแปลกอะไรต่อการที่เขากล้าที่จะเสี่ยงทำเช่นนั้น แม้จะมีความผิดเป็นชนักติดหลังกระทั่งเสี่ยงชีวิตสิ้นลมหายใจ…
“ตอนที่รู้เรื่อง ตอนนั้นจริงๆ อยู่ที่ปากช่อง ไปงานบวชของลูกชายคณะกรรมการสมาคม กำลังคุยกันสัพเพเหระก็ได้ยินพรรคพวกบอก “นายกๆ เด็กติดในถ้ำ” เขาว่าน้ำมันเยอะจนเด็กออกไม่ได้ เราก็คิดในใจว่าสักพักดูดน้ำให้แห้งก็คงออกมาได้ คือตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าถ้ำมันจะมีอะไรซับซ้อนขนาดนั้น ก็ไม่ได้คิด เด็กอาจจะไปติดน้ำอยู่กลางถ้ำ ดูดน้ำให้ลดก็คงเดินออกมาได้
แต่ผ่านไป 2-3 วันยังเงียบ ได้ข่าวฟังมาอีกว่าถ้ำมันยาว 2-3 กิโลเมตร ก็เอะใจแล้วว่าถ้ำอะไรมันจะยาวขนาดนั้น ถ้ามันยาวขนาดนั้นปั๊มน้ำมันจะส่งได้ไกลหรือ ก็คุยกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ โดยโพสต์เฟซบุ๊กถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ของกรมฯ มีศักยภาพแล้วไม่ส่งเครื่องไม้เครื่องมือเข้าไป สเมิร์ฟปั๊มสูบน้ำได้ไกลเป็นกิโลเมตรสองกิโลเมตร แป๊บเดียวมันก็แห้ง เขาก็เอาไป แต่ปรากฏว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น มันสูบน้ำไม่ได้ด้วยความลึกของถ้ำ ได้ยินอย่างนั้นตกเย็นก็เดินทางไปเลย พร้อมกับโทร.สั่งออฟฟิศให้ขนอุปกรณ์และบอกกล่าวในสมาคมฯ เพื่อไปปรับปรุงให้สามารถสูบน้ำได้ กว่าจะปรับปรุงได้มันก็ผ่านไป 2 วัน วันที่ 2 พอเริ่มทำได้สเมิร์ฟก็มีปัญหาเพราะตู้ไฟชื้น ตัวโหลดในตู้ควบคุมก็ช็อตทำงานไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขกันอีก ติดตั้งได้ 3 ตัว ตัวที่ 4 กับตัวที่ 5 ใช้การไม่ได้เนื่องจากกำลังไฟไม่พอ พอดีหน่วยงานที่ทำการช่วยเหลือมีเครื่องคล้ายไดโวก็ติดตั้งช่วยกันนำน้ำในโถง 3 เพื่อให้พัทยาบีชมันทรุดตัวได้ไวแล้วมุดเข้าไปได้”
ท่ามกลางความหวังที่ก่อประกายมากขึ้นในขณะนั้น ปรากฏว่าสวนทางกับความสภาวะทางอากาศของฝนที่ตกลงมาและความไม่รู้ถึงแนวภูมิศาสตร์ใต้พื้นพิภพ ‘น้ำ’ ยังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นจนน่าใจหาย
“ในระหว่างที่เราสูบน้ำออกและคิดหาทางที่จะทำให้ได้ไวที่สุด น่าจะช่วยเหลือน้องๆ ทั้ง 13 คนได้แล้วแน่นอน ก็พักหลับหลังจากที่ไม่ได้นอนติดต่อกัน ก็เดินไปแจ้งบอกพี่ๆ หน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ทั้งหน่วยซีล ว่าผมขอพักแป๊บนะพี่ มีอะไรก็เรียกใช้ได้ตลอดเวลา (ยิ้ม) ก็นอนในโถงถ้ำ มันกว้างเป็นไร่สองไร่ สักราวๆ 1-2 ชั่วโมงเห็นจะได้ ตื่นขึ้นมาเพราะเสียงน้ำดังมาก คิดว่าเขาระบายน้ำกันได้ดีก็ดีใจก็ยังเผลอหลับไปอีกหน่อย แต่คราวนี้ก็สงสัยว่าทำไมเสียงต่างๆ มันเงียบลง คนในถ้ำ 40-50 คน พยุงกายลุกขึ้นมาเห็นน้ำในถ้ำระบายน้ำออกมาปิดปากถ้ำหรืออย่างไร แล้วเราจะออกกันยังไง

และไม่มีใครสักคน ทีนี้ก็รีบเลยเดินไปกดโทร.วิทยุของทหารก็บอกว่า มีคนอยู่โถง 3 นะครับ ราวๆ 15 นาที ไม่มีใครตอบแถมไฟดับลงมาอีก ก็คุยกันเอายังไงดี ดำได้หรือไม่ แรกๆ ก็คิดว่าได้เพราะมันแค่ 4 เมตร ความลึก แต่มันไกลเป็น 10 เมตร แล้วมันเป็นช่องแคบๆ ผมก็อาสาเป็นคนแรก เอาขวดน้ำคนละขวดเทน้ำทิ้ง ไขควงเจาะให้มันเป็นรูและปิดปากมันเพื่อจะดำ พอดำลงไปก็ถูกน้ำที่ปากถ้ำดูดให้ติดหิน ก็มานั่งคิดกันต่อ น้องๆ ทีมงานเราก็ร้องไห้ เราก็ปลอบว่ามันขึ้นได้มันก็ต้องแห้งได้ น้ำฝนตกแค่นี้”
ผ่านไป 2-3 ชั่วโมงระดับน้ำกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ จากระดับ 100 คิว มา 300-400 คิว จากความสูงเดิมของถ้ำ 20 กว่าเมตร บัดนี้เหลือเพียงแค่ 9 เมตรเท่านั้น
“มันต้องตายแน่ๆ พ่อ (หัวเราะ) ไอ้น้องๆ ทีมงานระงมพูดกัน เราก็บอกนอนพักผ่อนเอาแรง จะตายได้อย่างไร เสบียงอาหารอยู่ได้เป็นเดือนที่เขาสต๊อกไว้เป็นฐานบัญชาการ มันก็ใจชื้นกันขึ้น พอมีกำลังใจก็ช่วยกันเก็บขยะ เก็บชูชีพ เพราะกลัวมันจะไปปิดปากถ้ำแล้วน้ำมันจะไหลไม่ได้ ติดอยู่ในถ้ำราววันหนึ่งก็ได้ยินเสียงคล้ายกับมีคนเคาะจากอีกฟากหนึ่งก็ตกใจเพราะหลับๆ ตื่นๆ ก็รีบเอาไฟฉายส่องปากถ้ำให้คนข้างนอกเขารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ คิดว่าเขาจะหาทางเข้ามานั้นแหละ พร้อมกับโยนหินลงไป ตูมแรกเงียบ ตูมที่สองก็เงียบ กลับมาใจไม่ดีอีกแล้ว แต่ครั้งนี้สักพักมันมีแสงไฟฉายใต้น้ำ พอมันมีเราก็เริ่มดีใจ ตะโกนบอกมีคนมาๆ
พอเขาโผล่มา เราก็พูดว่านึกว่าทิ้งกันซะแล้วหนอยแน่ะ (หัวเราะ) ไม่บอกกันนะ เขาก็ตอบโนๆ ยู คัมแบ็ก ก็ยังสงสัยคนไทยทำไมไม่พูดภาษาไทย ก็ถึงบางอ้อเขาเป็นทีมช่วยเหลือจะพาเราออกไป เราก็เตรียมตัวดำน้ำ ก็เอาออกซิเจนมาเช็ก ปรากฏว่ามันหายใจได้ คนแรกตื่นเต้นหายใจไม่ได้ ครั้งที่ 2-3 ถึงจะได้ ก็บอกว่าพอไปแล้วกระตุกเชือกบอกด้วยนะ ก็กระตุกเชือกตอบตลอด แต่พอได้ 2 นาที เชือกมันก็หยุด ผมกระตุกก็ไม่มีคำตอบ เราก็ตกใจลูกหลานเราจะเป็นอะไรหรือไม่ สักพัก 3 นาทีก็มีเชือกตอบกับมา ทีมช่วยเหลือคนเดิมขึ้นมาจากน้ำก็ยังพอชื่นใจ แต่ก็ยังคาใจหวั่นใจเพราะแต่ละคนที่ไปเหมือนกันเลยเชือกดิ้นแป๊บเดี๋ยวแล้วก็เงียบ เราก็คิดว่าไม่ดีแล้ว เราก็เตรียมขวดใส่อากาศไปเพิ่มสำรอง เราก็ดำเกาะเอวเขา สักพักคอผมดันไปติดกับสายไฟเมาส์อากาศก็หลุดจากปาก เกือบตายวินาทีนั้น สำลักน้ำ คว้าเมาส์ได้เมาส์ก็มีแต่น้ำ ก็ต้องรีบดูดน้ำออกเพื่อเอาอากาศออกซิเจน
ผมอยู่นิ่งๆ เลยวินาทีนั้น แล้วก็ดำต่อ หัวก็ไปกระทกหิน หัวแตกอีก พอไปได้สักระยะ เขาดึงเมาส์ออก วินาทีนั้นผมคิดว่าเอาเรามาฆ่าแน่ๆ ไอ้นี่ มิน่าไอ้สามคนลูกน้องผมไม่ตอบ เสร็จยังไม่ทันได้ทันทำอะไร เขาก็ดันตัวผมให้ขึ้นไปข้างบนก็มองเห็นแสงและมือก็คว้าอากาศได้ก็รีบขึ้นเลย เลยรู้คำตอบว่าไม่ใช่อย่างที่เราคิด น้องๆ ลูกๆ ที่ไม่กระตุกเชือกจนทำให้เราหวั่นใจนั้นเกิดจากเชือกมันอยู่ข้างล่าง มันขึ้นไปแล้วเลยลงมากระตุกเชือกตอบไม่ได้ข้างล่าง โล่งใจได้แป๊บหนึ่ง ก็มาตกใจอีกรอบ”
หนุ่มใหญ่นักเจาะบาดาลกล่าวแบบนี้เนื่องจากพ้นวินาทีชีวิต เดินออกมาจากปากถ้ำสังเกตเห็นปริมาณน้ำแห้งขอดในฝั่งโถงของถ้ำอีกซีกหนึ่ง ทำให้ฉุกคิดถึงสภาพภูมิทัศน์ของถ้ำจากความชำนิชำนาญในสายงาน เริ่มจากเหตุเพราะน้ำที่ออกจากปากถ้ำระดับสูงเกือบ 30 เมตร แสดงว่าถ้ำนี้เชื่อมอยู่กับน้ำบาดาล เราต้องเจาะบาดาลเพื่อให้น้ำบาดาลทรุดตัวเป็นการยักย้ายถ่ายเทให้น้ำบาลดาลทะลุถึงฝั่งโน้นไหลออกมาฝั่งนี้ แบบการเจาะตุ่ม 5 ใบ เจาะทะลุทุกตุ่มในแนวเดียวกัน น้ำทุกตุ่มจะเสมอกัน ตุ่มใบใกล้ก็จะแห้งก่อน ตุ่มที่ 2-3-4 ก็จะตามมา

“เราก็เจาะวันนั้นเลย 5 บ่อ น้ำออกมาสองวัน น้ำมันลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ก็นั่งคุยนั่งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ น้ำในถ้ำไหลเป็นพันๆ คิวได้ ทำไมมันไหลอย่างกับลำห้วย คิดว่ามันไม่ใช่ธรรมดา แสดงว่ามันต้องมีน้ำแถวนี้มันมีเข้าที่ไหน มีทะลุไปลำธารไหม เพราะไม่เคยเห็นน้ำในถ้ำไหลขนาดนี้ ก็ได้รู้จากชาวบ้านว่าประมาณ 1 กิโลเมตร ติดกับน้ำแม่สายฝั่งประเทศพม่าเพื่อนบ้าน น้ำในนั้นมันต้องสูงกกว่าน้ำในถ้ำมันถึงทะลุมาได้ ฝนหยุดตกแล้วแต่ทำไมยังมีน้ำทะลักเข้ามา ก็ต้องเจาะบาดาลควบคู่ไปกับปิดน้ำบนเขา ตรงไหนที่มีรอยแตกเยอะก็ได้พี่ๆ ทหาร เจ้าหน้าที่กรมอทุยานฯ ไปดำเนินการปิด ควบคู่กับเราและหน่วยงานทางด้านหน้าที่เร่งระบายน้ำออก ช่วยกันทั้งหมดแล้วมาทิ้งกันเป็นทอดๆ ระบายออกไปในไร่นาชาวบ้าน
ทั้งหมดทั้งมวลผมก็มั่นใจว่าเราทำได้ ทำถูก ไม่มีอะไรเสียหายหรือถ้ำถล่มแน่นอน แต่คนภายนอกเขาไม่รู้ ผมก็แค่ถูกด่า แต่ถ้าทำได้แล้วผลลัพธ์คือเขาปลอดภัย มันคนละอย่าง ต้องคิดกลับ ทุกวันนี้ทำได้ก็หาว่าผมดรามา มันแล้วแต่ความคิดคน ผมถึงได้กล้าเอาหัวเป็นประกัน และที่สำคัญกว่านั้นเด็กๆ รอการช่วยเหลือ นี่คือเรื่องที่สำคัญที่สุด ชีวิตคนคนหนึ่งมันมีค่าจนหาอะไรมาเทียบแทนไม่ได้”

(2)
ชีพมลายมิวางวายกายา
ขอศรัทธาที่ตั้งมั่นพ้องสยามสุขนิรันดร์
“มันเป็นความสามารถทางวิชาชีพทุกอาชีพที่สร้างขึ้นมาด้วยสมองคน อาชีพเจาะบาดาลก็เช่นกัน แถมอาชีพเจาะบาดาลไม่ใช่แค่ว่าเจาะ แต่ยังต้องมีความรู้ในเรื่องช่างเชื่อม นักธรณี ช่างกล ก่อสร้าง 4-5 แผนกรวมกันเป็นช่างเจาะน้ำบาดาล”
สุรทินเผยความรู้สึกเสริมทับความหนักแน่น เพราะนอกจากวินาทีเฉียดตายในถ้ำที่ทำให้หยั่งรู้ความเป็นไปของสถานการณ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการลดระดับน้ำเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ประสบการณ์กว่า 29 ปี ในการเดินสายอาชีพเจาะบาดาลแทบทั่วทุกหมู่บ้านในเขตภาคเหนือ
“ถ้านับจริงๆ มันก็เริ่มตั้งแต่ 8-9 ขวบเลยด้วยซ้ำนะเรื่องการเจาะบาดาล เนื่องจากสมัยก่อนคุณพ่อก็รับเจาะบ่อบาดาลควบคู่ไปกับรับราชการ แต่เจาะมือไม่ได้ใช้เครื่อง เราก็มีความคุ้นชินในระดับหนึ่งของการเป็นลูกมือท่านในช่วงวันหยุดที่ไปช่วยงาน แต่ความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในภาคเหนือรู้หมดน้ำอยู่ชั้นไหน หินเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งแผนที่กรมทรัพย์เพราะเราเป็นคนรายงานเข้าไป เริ่มช่วงอายุ 26-27 ช่วงปี พ.ศ. 2532 จบมาใหม่ๆ จากช่างยนต์ก็ไปทำงานอู่ เราก็ไม่ชอบเพราะจะบวกค่าเครื่อง 400-500 อัปค่าอะไหล่ นิสัยผมไม่ชอบอย่างนั้น เพราะนิสัยเราเป็นคนตรงๆ ก็ไปเป็นทหารเกณฑ์ ต่อจากนั้นไปเป็นทหารพราน รับราชการเงินเดือนตอนนั้นมันก็ 2,000 บาท ทีนี้มันมีความอยากได้ (หัวเราะ) อยากได้รถตามประสาวัยรุ่นชาย แต่ราคามัน 80,000 กว่าบาทเงินสด พอมาคำนวณกับเงินเดือนของเรามันซื้อไม่ได้ ทีนี้ก็หางานออกจากทหารไปทำงานหลายๆ ที่ ประจวบเหมาะไปอยู่ที่เหมืองทำหน้าที่บัญชี มันมีงานขุดเจาะบาดาลจำได้แม่นเลย ชื่อ เพชรบาดาล”

“ก็ได้ยินว่าเขาเจาะกันบ่อละแสนกว่าบาท เราก็ตกใจเลยเพราะมันต่างจากสมัยช่วยพ่อเจาะมือลิบลับ ทำไมมันแพงจัง ก็คุยกันไปคุยกันมาก็เป็นพวกๆ เพื่อนๆ สมัยเรียนหนังสือด้วยกันมา ก็อยากได้มั่ง นั่งคุยกินเหล้ากัน เขาก็บอกว่าต้องกล้าหน่อย ต้องทำเครื่องจักรขึ้นมาอะไรขึ้นมาเอง เครื่องเจาะเราต้องคิดรูปแบบเอง กำลังอะไรก็ตามความชำนาญว่าจะต้องมีแรงเท่าไหร่ยังไง เราก็ไปดูเครื่องจักรเขามาแล้วก็ไปหลอกเป็นคนงานเขา คือเราอยากได้ความรู้ว่าเครื่องจักรเป็นอย่างไร ก็ไปบอกว่ากระเป๋าเงินหาย ขอทำงานแลกข้าวเพื่อรอคนมารับ ก็ได้จดจำความรู้มา ทั้งเรื่องการซักผ้า (ยิ้ม) รถอะไรเสียก็ไปบอกว่ามีความรู้ขอซ่อมให้เขาหมด เพื่อที่เราจะดูอะไหล่เขา ต้นกำลังมันมายังไง เฟืองมันใช้ยังไง
“ประมาณ 11-12 วัน เราเรียนรู้เสร็จก็เขียนจดหมายให้เพื่อนมารับ เขาก็จะจ้างต่อก็อ้างว่าจะไปดูแม่ที่บ้านแล้วเดี๋ยวจะกลับมานะครับ ก็ต้องขอบพระคุณ อาจารย์พัฒน์ ที่ได้ประสบการณ์และความรู้จากท่าน ไม่อย่างนั้นเครื่องจักรก็ดี ดีไซน์ก็ดี เจาะอย่างนี้เจาะอย่างนั้น ทำยังไงให้มันลงได้อะไรได้ เราก็คงไม่มีวิชา เราก็เลยต้องไปดูงานของจริงคนที่เขาทำว่าเขาทำเครื่องจักรอย่างไร มันก็เป็นการทำดีไซน์เมดอินไทยแลนด์ เนื่องจากจะไปสั่งซื้อจากต่างประเทศนำเข้ามาของยี่ห้อ ‘โทนี่’ มันแพง หลายล้านบาท จากนั้นกลับมาก็เริ่มตั้งกับเพื่อนๆ ได้มา 6-7 คน เป็น ‘สยามบาดาล’ เจาะที่ 80-90 เมตร ได้เงินหลายหมื่นบาทก็ดีใจมาก เราจะซื้อรถได้”
แต่ทำไปทำมามันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน
สุรทินกล่าวด้วยรอยยิ้มพลางเว้นวรรค นั่นเพราะหลังจากหมดความยากในการที่จะได้รถเป็นของเราสักคัน การทำอาชีพเจาะบาดาลมันเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในชีวิต ด้วยความยากของงานที่การเจาะที่มีหลากหลายที่ต้องใช้ให้เหมาะสมจากความชำนาญและความรู้ อาทิ เจาะโพเคชัน เจาะกระแทก เจาะแอร์ ที่มีความแตกต่างในหน้างานอันเป็นอุปสรรค บางชั้นหินร่วง หินสไลด์ นึกภาพตามหนังระดับโลกฮอลลีวูดเรื่อง Armageddon วันโลกาวินาศ แต่เปลี่ยนจากน้ำมันเป็นน้ำบาดาลบริสุทธิ์

“คือถ้าเราไม่ทำ ชาวบ้านก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพราะหน่วยงานของรัฐ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือบรรเทาเหตุภัยพิบัติ หน่วยงานของรัฐก็ออกมาช่วย แต่พอถามว่าเดือดร้อนกันจริงๆ หน่วยงานก็ไม่สามารถเข้าไปถึงได้ทุกจุด ก็เกิดการกระทบกระทั่งกันบ้าง ปรับรถจับรถยึดเครื่องจักร แล้วเครื่องจักรตัวหนึ่งเป็นล้าน คือพื้นที่ในการขออนุญาตเจาะต้องใช้โฉนดหรือ น.ส.3 หรือ ส.ป.ก. นอกนั้นที่ไม่มีเจาะไม่ได้ ทว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือมีโฉนดเจาะได้เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า ป่าที่รัฐสามารถให้ชาวบ้านที่ไร้ที่อาศัยทำกินเหล่านี้เข้าไปอาศัยได้ เป็นเขตอนุโลม แต่เจาะบ่อบาดาลไม่ได้เพราะไม่ถูกข้อกฎหมาย ให้เขาอยู่แต่เขาก็อยู่ไม่ได้เพราะไม่มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ
เราก็อย่างที่บอก ต้องทำผิดบ้างอะไรบ้าง ในตอนนั้นก็พูดคุยกันกับเจ้าหน้าที่ก็อะลุ้มอล่วย เพราะสายตาของชาวบ้านเวลาที่เราเข้าไปเจาะช่วยภัยแล้งเรารับรู้ได้ทันทีว่าเขารู้สึกอย่างไร เขาจะถามตลอดจะเสร็จเมื่อไหร่ เสร็จช้าก็มีมาโวยวายเราบ้าง แต่ก็เพราเขาเดือดร้อน เราเป็นหนึ่งในความหวัง ย่อมกดดันกันเป็นธรรมดา แต่เห็นเขาดีใจหลังขุดเจาะได้ เราก็ภูมิใจได้ช่วยเหลือประเทศ ช่วยเหลือประชาชน มันก็พอให้เรามีกำลังใจในการทำอยู่ตรงนี้”

(3)
สุขด้วยใจเป็นพลังต่อเติมชีวา
แม้นไม่พบจักหน้าค่าควรคู่ไม่เปลี่ยนแปลง
“เป็นรอยยิ้มแบบเดียวกัน เสียงดีใจแบบเดียวกัน”
นายกสมาคมน้ำบาดาลไทยสมัยที่ 7 กล่าวย้ำอย่างเนิบช้าเมื่อพูดถึงความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งในฟันเฟืองการช่วยเหลือเบื้องหลัง เฉกเช่นบ่อดินแห้งขอดที่คอยน้ำผุดซึมเป็นน้ำของชาวบ้านที่รอความหวังและทีมหมูป่าน้องๆ ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากถ้ำสำเร็จ
“สุดยอดของความสุขที่เรามีและเราสำเร็จ สุดๆ ของชีวิตผมที่ทำมาทั้งชีวิต เหมือนเราซื้อหวยถูก ใครจะไม่ดีใจ นี่ก็เหมือนกัน พอเด็กออกมาก็ย้ายรถมาไปจอดที่หน้าถ้ำทรายทอง และฉลองกันเงียบๆ หลังเทรลเลอร์ ไม่ได้ไปเจอหน้าน้องๆ แต่เราดีใจสุดๆ ที่คนที่ไม่รู้จักปลอดภัย (ยิ้ม)”

“คือภารกิจเสร็จสิ้น ทหารรับจ้างรบเสร็จศึกก็กลับ ล้างโคลนเสร็จก็แทบจะไม่มีใครจำได้แล้ว ไม่สนใจเขาจะมีผลงานอย่างไร รายงานอย่างไร ได้คำชมอย่างไร เราต้องยอมรับว่าทหารรับจ้างรบมันเป็นอย่างนี้”
17 วันเต็มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2561 ที่ 13 ชีวิตติดถ้ำจนถึงวันแรกในการพบและดำเนินการช่วยเหลือนำเด็กๆ เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี สยามบาดาลก็กลับมาซ่อมแซมอุปกรณ์เพื่อเดินหน้าในสายงานอาชีพบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ร้องขอในการขุดเจาะน้ำบาลดาลโดยไม่พักผ่อน
“เป้าหมายเราคือเด็ก 13 คน ไม่เรียกร้องอะไรจากใคร ขอค่าเหนื่อยแค่เด็ก 13 คน นี่คือสิ่งที่เราตั้งใจในภารกิจนี้”
สิ้นเสียงหนุ่มใหญ่ เดินจากไปเบื้องหน้าโดยไม่หันหลัง หลงเหลือเพียงเงาที่ยังคงทอดยาวบังแสงแดดให้คนข้างหลังเฉกเช่นเรื่องราวของเขาที่เป็นภาพข้างหลังของความสำเร็จในการช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทนในฐานะนักขุดเจาะบาดาล
และนี่ก็คือเรื่องราวของหนึ่งในฮีโร่ชาวไทยที่นามย่อชื่อ ‘ขวัญ’ ที่สร้างขวัญความหวังจนสำเร็จลุล่วงแก่ชาวไทย
คือญาติผู้ใหญ่คุณอาหรือคุณลุงหนึ่งในศักดิ์และศรีที่เรากล้าเรียกได้เต็มปากประหนึ่งญาติมิตรที่เจอปัญหาปรึกษาได้
คือ ‘สุรทิน ชัยชมพู’ ชายผู้สูงไม่มากน้อยเกินกว่า 170 เซนติเมตร แต่แค่นี้ก็เกินพอแล้ว

เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เฟซบุ๊กสุรทิน ชัยชมพู
ในวันนี้สุรทินมีเรื่องราวมากมายที่เราควรรู้เกี่ยวกับตัวเขาทั้งในแง่งามชีวิต แง่ประสบการณ์ รวมไปถึงมุมมองความคิดของคนที่เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่เคยเห็นหน้า อะไรที่ผลักดันให้เขาทำเช่นนั้น Manager online ในบรรทัดถัดไป...มีคำตอบ
(1)
หนึ่งชีวิตไซร้ล้วนคุณค่าอนันต์ต่าง
“เราต้องช่วยเด็กให้ได้ ถ้าถ้ำถล่มผมรับผิดชอบเอง ให้ประหารชีวิตก็ได้” หนุ่มใหญ่ชายวัยกลางคน กล่าวเปิดเรื่องสนทนาในช่วงวินาทีเวลาของวันที่ 23 มิ.ย. 2561 ที่เด็กๆ ทั้ง 13 คนติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
เปรียบเปรยความรู้สึกของเขาในเวลานั้นถึง “เหตุผล” อาจจะฟังดูเป็นสิ่งเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ ในสถานการณ์ที่ต่างออกไป เช่นหัวอกคนเป็น “พ่อ” แค่ลูกไม่สบายกล้าขับรถฝ่าไฟแดงหรือไม่ คำตอบคือ “กล้า” อย่างไม่ต้องสงสัย และมันจะแปลกอะไรต่อการที่เขากล้าที่จะเสี่ยงทำเช่นนั้น แม้จะมีความผิดเป็นชนักติดหลังกระทั่งเสี่ยงชีวิตสิ้นลมหายใจ…
“ตอนที่รู้เรื่อง ตอนนั้นจริงๆ อยู่ที่ปากช่อง ไปงานบวชของลูกชายคณะกรรมการสมาคม กำลังคุยกันสัพเพเหระก็ได้ยินพรรคพวกบอก “นายกๆ เด็กติดในถ้ำ” เขาว่าน้ำมันเยอะจนเด็กออกไม่ได้ เราก็คิดในใจว่าสักพักดูดน้ำให้แห้งก็คงออกมาได้ คือตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าถ้ำมันจะมีอะไรซับซ้อนขนาดนั้น ก็ไม่ได้คิด เด็กอาจจะไปติดน้ำอยู่กลางถ้ำ ดูดน้ำให้ลดก็คงเดินออกมาได้
แต่ผ่านไป 2-3 วันยังเงียบ ได้ข่าวฟังมาอีกว่าถ้ำมันยาว 2-3 กิโลเมตร ก็เอะใจแล้วว่าถ้ำอะไรมันจะยาวขนาดนั้น ถ้ามันยาวขนาดนั้นปั๊มน้ำมันจะส่งได้ไกลหรือ ก็คุยกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ โดยโพสต์เฟซบุ๊กถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ของกรมฯ มีศักยภาพแล้วไม่ส่งเครื่องไม้เครื่องมือเข้าไป สเมิร์ฟปั๊มสูบน้ำได้ไกลเป็นกิโลเมตรสองกิโลเมตร แป๊บเดียวมันก็แห้ง เขาก็เอาไป แต่ปรากฏว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น มันสูบน้ำไม่ได้ด้วยความลึกของถ้ำ ได้ยินอย่างนั้นตกเย็นก็เดินทางไปเลย พร้อมกับโทร.สั่งออฟฟิศให้ขนอุปกรณ์และบอกกล่าวในสมาคมฯ เพื่อไปปรับปรุงให้สามารถสูบน้ำได้ กว่าจะปรับปรุงได้มันก็ผ่านไป 2 วัน วันที่ 2 พอเริ่มทำได้สเมิร์ฟก็มีปัญหาเพราะตู้ไฟชื้น ตัวโหลดในตู้ควบคุมก็ช็อตทำงานไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขกันอีก ติดตั้งได้ 3 ตัว ตัวที่ 4 กับตัวที่ 5 ใช้การไม่ได้เนื่องจากกำลังไฟไม่พอ พอดีหน่วยงานที่ทำการช่วยเหลือมีเครื่องคล้ายไดโวก็ติดตั้งช่วยกันนำน้ำในโถง 3 เพื่อให้พัทยาบีชมันทรุดตัวได้ไวแล้วมุดเข้าไปได้”
ท่ามกลางความหวังที่ก่อประกายมากขึ้นในขณะนั้น ปรากฏว่าสวนทางกับความสภาวะทางอากาศของฝนที่ตกลงมาและความไม่รู้ถึงแนวภูมิศาสตร์ใต้พื้นพิภพ ‘น้ำ’ ยังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นจนน่าใจหาย
“ในระหว่างที่เราสูบน้ำออกและคิดหาทางที่จะทำให้ได้ไวที่สุด น่าจะช่วยเหลือน้องๆ ทั้ง 13 คนได้แล้วแน่นอน ก็พักหลับหลังจากที่ไม่ได้นอนติดต่อกัน ก็เดินไปแจ้งบอกพี่ๆ หน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ทั้งหน่วยซีล ว่าผมขอพักแป๊บนะพี่ มีอะไรก็เรียกใช้ได้ตลอดเวลา (ยิ้ม) ก็นอนในโถงถ้ำ มันกว้างเป็นไร่สองไร่ สักราวๆ 1-2 ชั่วโมงเห็นจะได้ ตื่นขึ้นมาเพราะเสียงน้ำดังมาก คิดว่าเขาระบายน้ำกันได้ดีก็ดีใจก็ยังเผลอหลับไปอีกหน่อย แต่คราวนี้ก็สงสัยว่าทำไมเสียงต่างๆ มันเงียบลง คนในถ้ำ 40-50 คน พยุงกายลุกขึ้นมาเห็นน้ำในถ้ำระบายน้ำออกมาปิดปากถ้ำหรืออย่างไร แล้วเราจะออกกันยังไง
และไม่มีใครสักคน ทีนี้ก็รีบเลยเดินไปกดโทร.วิทยุของทหารก็บอกว่า มีคนอยู่โถง 3 นะครับ ราวๆ 15 นาที ไม่มีใครตอบแถมไฟดับลงมาอีก ก็คุยกันเอายังไงดี ดำได้หรือไม่ แรกๆ ก็คิดว่าได้เพราะมันแค่ 4 เมตร ความลึก แต่มันไกลเป็น 10 เมตร แล้วมันเป็นช่องแคบๆ ผมก็อาสาเป็นคนแรก เอาขวดน้ำคนละขวดเทน้ำทิ้ง ไขควงเจาะให้มันเป็นรูและปิดปากมันเพื่อจะดำ พอดำลงไปก็ถูกน้ำที่ปากถ้ำดูดให้ติดหิน ก็มานั่งคิดกันต่อ น้องๆ ทีมงานเราก็ร้องไห้ เราก็ปลอบว่ามันขึ้นได้มันก็ต้องแห้งได้ น้ำฝนตกแค่นี้”
ผ่านไป 2-3 ชั่วโมงระดับน้ำกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ จากระดับ 100 คิว มา 300-400 คิว จากความสูงเดิมของถ้ำ 20 กว่าเมตร บัดนี้เหลือเพียงแค่ 9 เมตรเท่านั้น
“มันต้องตายแน่ๆ พ่อ (หัวเราะ) ไอ้น้องๆ ทีมงานระงมพูดกัน เราก็บอกนอนพักผ่อนเอาแรง จะตายได้อย่างไร เสบียงอาหารอยู่ได้เป็นเดือนที่เขาสต๊อกไว้เป็นฐานบัญชาการ มันก็ใจชื้นกันขึ้น พอมีกำลังใจก็ช่วยกันเก็บขยะ เก็บชูชีพ เพราะกลัวมันจะไปปิดปากถ้ำแล้วน้ำมันจะไหลไม่ได้ ติดอยู่ในถ้ำราววันหนึ่งก็ได้ยินเสียงคล้ายกับมีคนเคาะจากอีกฟากหนึ่งก็ตกใจเพราะหลับๆ ตื่นๆ ก็รีบเอาไฟฉายส่องปากถ้ำให้คนข้างนอกเขารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ คิดว่าเขาจะหาทางเข้ามานั้นแหละ พร้อมกับโยนหินลงไป ตูมแรกเงียบ ตูมที่สองก็เงียบ กลับมาใจไม่ดีอีกแล้ว แต่ครั้งนี้สักพักมันมีแสงไฟฉายใต้น้ำ พอมันมีเราก็เริ่มดีใจ ตะโกนบอกมีคนมาๆ
พอเขาโผล่มา เราก็พูดว่านึกว่าทิ้งกันซะแล้วหนอยแน่ะ (หัวเราะ) ไม่บอกกันนะ เขาก็ตอบโนๆ ยู คัมแบ็ก ก็ยังสงสัยคนไทยทำไมไม่พูดภาษาไทย ก็ถึงบางอ้อเขาเป็นทีมช่วยเหลือจะพาเราออกไป เราก็เตรียมตัวดำน้ำ ก็เอาออกซิเจนมาเช็ก ปรากฏว่ามันหายใจได้ คนแรกตื่นเต้นหายใจไม่ได้ ครั้งที่ 2-3 ถึงจะได้ ก็บอกว่าพอไปแล้วกระตุกเชือกบอกด้วยนะ ก็กระตุกเชือกตอบตลอด แต่พอได้ 2 นาที เชือกมันก็หยุด ผมกระตุกก็ไม่มีคำตอบ เราก็ตกใจลูกหลานเราจะเป็นอะไรหรือไม่ สักพัก 3 นาทีก็มีเชือกตอบกับมา ทีมช่วยเหลือคนเดิมขึ้นมาจากน้ำก็ยังพอชื่นใจ แต่ก็ยังคาใจหวั่นใจเพราะแต่ละคนที่ไปเหมือนกันเลยเชือกดิ้นแป๊บเดี๋ยวแล้วก็เงียบ เราก็คิดว่าไม่ดีแล้ว เราก็เตรียมขวดใส่อากาศไปเพิ่มสำรอง เราก็ดำเกาะเอวเขา สักพักคอผมดันไปติดกับสายไฟเมาส์อากาศก็หลุดจากปาก เกือบตายวินาทีนั้น สำลักน้ำ คว้าเมาส์ได้เมาส์ก็มีแต่น้ำ ก็ต้องรีบดูดน้ำออกเพื่อเอาอากาศออกซิเจน
ผมอยู่นิ่งๆ เลยวินาทีนั้น แล้วก็ดำต่อ หัวก็ไปกระทกหิน หัวแตกอีก พอไปได้สักระยะ เขาดึงเมาส์ออก วินาทีนั้นผมคิดว่าเอาเรามาฆ่าแน่ๆ ไอ้นี่ มิน่าไอ้สามคนลูกน้องผมไม่ตอบ เสร็จยังไม่ทันได้ทันทำอะไร เขาก็ดันตัวผมให้ขึ้นไปข้างบนก็มองเห็นแสงและมือก็คว้าอากาศได้ก็รีบขึ้นเลย เลยรู้คำตอบว่าไม่ใช่อย่างที่เราคิด น้องๆ ลูกๆ ที่ไม่กระตุกเชือกจนทำให้เราหวั่นใจนั้นเกิดจากเชือกมันอยู่ข้างล่าง มันขึ้นไปแล้วเลยลงมากระตุกเชือกตอบไม่ได้ข้างล่าง โล่งใจได้แป๊บหนึ่ง ก็มาตกใจอีกรอบ”
หนุ่มใหญ่นักเจาะบาดาลกล่าวแบบนี้เนื่องจากพ้นวินาทีชีวิต เดินออกมาจากปากถ้ำสังเกตเห็นปริมาณน้ำแห้งขอดในฝั่งโถงของถ้ำอีกซีกหนึ่ง ทำให้ฉุกคิดถึงสภาพภูมิทัศน์ของถ้ำจากความชำนิชำนาญในสายงาน เริ่มจากเหตุเพราะน้ำที่ออกจากปากถ้ำระดับสูงเกือบ 30 เมตร แสดงว่าถ้ำนี้เชื่อมอยู่กับน้ำบาดาล เราต้องเจาะบาดาลเพื่อให้น้ำบาดาลทรุดตัวเป็นการยักย้ายถ่ายเทให้น้ำบาลดาลทะลุถึงฝั่งโน้นไหลออกมาฝั่งนี้ แบบการเจาะตุ่ม 5 ใบ เจาะทะลุทุกตุ่มในแนวเดียวกัน น้ำทุกตุ่มจะเสมอกัน ตุ่มใบใกล้ก็จะแห้งก่อน ตุ่มที่ 2-3-4 ก็จะตามมา
“เราก็เจาะวันนั้นเลย 5 บ่อ น้ำออกมาสองวัน น้ำมันลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ก็นั่งคุยนั่งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ น้ำในถ้ำไหลเป็นพันๆ คิวได้ ทำไมมันไหลอย่างกับลำห้วย คิดว่ามันไม่ใช่ธรรมดา แสดงว่ามันต้องมีน้ำแถวนี้มันมีเข้าที่ไหน มีทะลุไปลำธารไหม เพราะไม่เคยเห็นน้ำในถ้ำไหลขนาดนี้ ก็ได้รู้จากชาวบ้านว่าประมาณ 1 กิโลเมตร ติดกับน้ำแม่สายฝั่งประเทศพม่าเพื่อนบ้าน น้ำในนั้นมันต้องสูงกกว่าน้ำในถ้ำมันถึงทะลุมาได้ ฝนหยุดตกแล้วแต่ทำไมยังมีน้ำทะลักเข้ามา ก็ต้องเจาะบาดาลควบคู่ไปกับปิดน้ำบนเขา ตรงไหนที่มีรอยแตกเยอะก็ได้พี่ๆ ทหาร เจ้าหน้าที่กรมอทุยานฯ ไปดำเนินการปิด ควบคู่กับเราและหน่วยงานทางด้านหน้าที่เร่งระบายน้ำออก ช่วยกันทั้งหมดแล้วมาทิ้งกันเป็นทอดๆ ระบายออกไปในไร่นาชาวบ้าน
ทั้งหมดทั้งมวลผมก็มั่นใจว่าเราทำได้ ทำถูก ไม่มีอะไรเสียหายหรือถ้ำถล่มแน่นอน แต่คนภายนอกเขาไม่รู้ ผมก็แค่ถูกด่า แต่ถ้าทำได้แล้วผลลัพธ์คือเขาปลอดภัย มันคนละอย่าง ต้องคิดกลับ ทุกวันนี้ทำได้ก็หาว่าผมดรามา มันแล้วแต่ความคิดคน ผมถึงได้กล้าเอาหัวเป็นประกัน และที่สำคัญกว่านั้นเด็กๆ รอการช่วยเหลือ นี่คือเรื่องที่สำคัญที่สุด ชีวิตคนคนหนึ่งมันมีค่าจนหาอะไรมาเทียบแทนไม่ได้”
(2)
ชีพมลายมิวางวายกายา
ขอศรัทธาที่ตั้งมั่นพ้องสยามสุขนิรันดร์
“มันเป็นความสามารถทางวิชาชีพทุกอาชีพที่สร้างขึ้นมาด้วยสมองคน อาชีพเจาะบาดาลก็เช่นกัน แถมอาชีพเจาะบาดาลไม่ใช่แค่ว่าเจาะ แต่ยังต้องมีความรู้ในเรื่องช่างเชื่อม นักธรณี ช่างกล ก่อสร้าง 4-5 แผนกรวมกันเป็นช่างเจาะน้ำบาดาล”
สุรทินเผยความรู้สึกเสริมทับความหนักแน่น เพราะนอกจากวินาทีเฉียดตายในถ้ำที่ทำให้หยั่งรู้ความเป็นไปของสถานการณ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการลดระดับน้ำเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ประสบการณ์กว่า 29 ปี ในการเดินสายอาชีพเจาะบาดาลแทบทั่วทุกหมู่บ้านในเขตภาคเหนือ
“ถ้านับจริงๆ มันก็เริ่มตั้งแต่ 8-9 ขวบเลยด้วยซ้ำนะเรื่องการเจาะบาดาล เนื่องจากสมัยก่อนคุณพ่อก็รับเจาะบ่อบาดาลควบคู่ไปกับรับราชการ แต่เจาะมือไม่ได้ใช้เครื่อง เราก็มีความคุ้นชินในระดับหนึ่งของการเป็นลูกมือท่านในช่วงวันหยุดที่ไปช่วยงาน แต่ความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในภาคเหนือรู้หมดน้ำอยู่ชั้นไหน หินเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งแผนที่กรมทรัพย์เพราะเราเป็นคนรายงานเข้าไป เริ่มช่วงอายุ 26-27 ช่วงปี พ.ศ. 2532 จบมาใหม่ๆ จากช่างยนต์ก็ไปทำงานอู่ เราก็ไม่ชอบเพราะจะบวกค่าเครื่อง 400-500 อัปค่าอะไหล่ นิสัยผมไม่ชอบอย่างนั้น เพราะนิสัยเราเป็นคนตรงๆ ก็ไปเป็นทหารเกณฑ์ ต่อจากนั้นไปเป็นทหารพราน รับราชการเงินเดือนตอนนั้นมันก็ 2,000 บาท ทีนี้มันมีความอยากได้ (หัวเราะ) อยากได้รถตามประสาวัยรุ่นชาย แต่ราคามัน 80,000 กว่าบาทเงินสด พอมาคำนวณกับเงินเดือนของเรามันซื้อไม่ได้ ทีนี้ก็หางานออกจากทหารไปทำงานหลายๆ ที่ ประจวบเหมาะไปอยู่ที่เหมืองทำหน้าที่บัญชี มันมีงานขุดเจาะบาดาลจำได้แม่นเลย ชื่อ เพชรบาดาล”
“ก็ได้ยินว่าเขาเจาะกันบ่อละแสนกว่าบาท เราก็ตกใจเลยเพราะมันต่างจากสมัยช่วยพ่อเจาะมือลิบลับ ทำไมมันแพงจัง ก็คุยกันไปคุยกันมาก็เป็นพวกๆ เพื่อนๆ สมัยเรียนหนังสือด้วยกันมา ก็อยากได้มั่ง นั่งคุยกินเหล้ากัน เขาก็บอกว่าต้องกล้าหน่อย ต้องทำเครื่องจักรขึ้นมาอะไรขึ้นมาเอง เครื่องเจาะเราต้องคิดรูปแบบเอง กำลังอะไรก็ตามความชำนาญว่าจะต้องมีแรงเท่าไหร่ยังไง เราก็ไปดูเครื่องจักรเขามาแล้วก็ไปหลอกเป็นคนงานเขา คือเราอยากได้ความรู้ว่าเครื่องจักรเป็นอย่างไร ก็ไปบอกว่ากระเป๋าเงินหาย ขอทำงานแลกข้าวเพื่อรอคนมารับ ก็ได้จดจำความรู้มา ทั้งเรื่องการซักผ้า (ยิ้ม) รถอะไรเสียก็ไปบอกว่ามีความรู้ขอซ่อมให้เขาหมด เพื่อที่เราจะดูอะไหล่เขา ต้นกำลังมันมายังไง เฟืองมันใช้ยังไง
“ประมาณ 11-12 วัน เราเรียนรู้เสร็จก็เขียนจดหมายให้เพื่อนมารับ เขาก็จะจ้างต่อก็อ้างว่าจะไปดูแม่ที่บ้านแล้วเดี๋ยวจะกลับมานะครับ ก็ต้องขอบพระคุณ อาจารย์พัฒน์ ที่ได้ประสบการณ์และความรู้จากท่าน ไม่อย่างนั้นเครื่องจักรก็ดี ดีไซน์ก็ดี เจาะอย่างนี้เจาะอย่างนั้น ทำยังไงให้มันลงได้อะไรได้ เราก็คงไม่มีวิชา เราก็เลยต้องไปดูงานของจริงคนที่เขาทำว่าเขาทำเครื่องจักรอย่างไร มันก็เป็นการทำดีไซน์เมดอินไทยแลนด์ เนื่องจากจะไปสั่งซื้อจากต่างประเทศนำเข้ามาของยี่ห้อ ‘โทนี่’ มันแพง หลายล้านบาท จากนั้นกลับมาก็เริ่มตั้งกับเพื่อนๆ ได้มา 6-7 คน เป็น ‘สยามบาดาล’ เจาะที่ 80-90 เมตร ได้เงินหลายหมื่นบาทก็ดีใจมาก เราจะซื้อรถได้”
แต่ทำไปทำมามันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน
สุรทินกล่าวด้วยรอยยิ้มพลางเว้นวรรค นั่นเพราะหลังจากหมดความยากในการที่จะได้รถเป็นของเราสักคัน การทำอาชีพเจาะบาดาลมันเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในชีวิต ด้วยความยากของงานที่การเจาะที่มีหลากหลายที่ต้องใช้ให้เหมาะสมจากความชำนาญและความรู้ อาทิ เจาะโพเคชัน เจาะกระแทก เจาะแอร์ ที่มีความแตกต่างในหน้างานอันเป็นอุปสรรค บางชั้นหินร่วง หินสไลด์ นึกภาพตามหนังระดับโลกฮอลลีวูดเรื่อง Armageddon วันโลกาวินาศ แต่เปลี่ยนจากน้ำมันเป็นน้ำบาดาลบริสุทธิ์
“คือถ้าเราไม่ทำ ชาวบ้านก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพราะหน่วยงานของรัฐ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือบรรเทาเหตุภัยพิบัติ หน่วยงานของรัฐก็ออกมาช่วย แต่พอถามว่าเดือดร้อนกันจริงๆ หน่วยงานก็ไม่สามารถเข้าไปถึงได้ทุกจุด ก็เกิดการกระทบกระทั่งกันบ้าง ปรับรถจับรถยึดเครื่องจักร แล้วเครื่องจักรตัวหนึ่งเป็นล้าน คือพื้นที่ในการขออนุญาตเจาะต้องใช้โฉนดหรือ น.ส.3 หรือ ส.ป.ก. นอกนั้นที่ไม่มีเจาะไม่ได้ ทว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือมีโฉนดเจาะได้เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า ป่าที่รัฐสามารถให้ชาวบ้านที่ไร้ที่อาศัยทำกินเหล่านี้เข้าไปอาศัยได้ เป็นเขตอนุโลม แต่เจาะบ่อบาดาลไม่ได้เพราะไม่ถูกข้อกฎหมาย ให้เขาอยู่แต่เขาก็อยู่ไม่ได้เพราะไม่มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ
เราก็อย่างที่บอก ต้องทำผิดบ้างอะไรบ้าง ในตอนนั้นก็พูดคุยกันกับเจ้าหน้าที่ก็อะลุ้มอล่วย เพราะสายตาของชาวบ้านเวลาที่เราเข้าไปเจาะช่วยภัยแล้งเรารับรู้ได้ทันทีว่าเขารู้สึกอย่างไร เขาจะถามตลอดจะเสร็จเมื่อไหร่ เสร็จช้าก็มีมาโวยวายเราบ้าง แต่ก็เพราเขาเดือดร้อน เราเป็นหนึ่งในความหวัง ย่อมกดดันกันเป็นธรรมดา แต่เห็นเขาดีใจหลังขุดเจาะได้ เราก็ภูมิใจได้ช่วยเหลือประเทศ ช่วยเหลือประชาชน มันก็พอให้เรามีกำลังใจในการทำอยู่ตรงนี้”
(3)
สุขด้วยใจเป็นพลังต่อเติมชีวา
แม้นไม่พบจักหน้าค่าควรคู่ไม่เปลี่ยนแปลง
“เป็นรอยยิ้มแบบเดียวกัน เสียงดีใจแบบเดียวกัน”
นายกสมาคมน้ำบาดาลไทยสมัยที่ 7 กล่าวย้ำอย่างเนิบช้าเมื่อพูดถึงความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งในฟันเฟืองการช่วยเหลือเบื้องหลัง เฉกเช่นบ่อดินแห้งขอดที่คอยน้ำผุดซึมเป็นน้ำของชาวบ้านที่รอความหวังและทีมหมูป่าน้องๆ ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากถ้ำสำเร็จ
“สุดยอดของความสุขที่เรามีและเราสำเร็จ สุดๆ ของชีวิตผมที่ทำมาทั้งชีวิต เหมือนเราซื้อหวยถูก ใครจะไม่ดีใจ นี่ก็เหมือนกัน พอเด็กออกมาก็ย้ายรถมาไปจอดที่หน้าถ้ำทรายทอง และฉลองกันเงียบๆ หลังเทรลเลอร์ ไม่ได้ไปเจอหน้าน้องๆ แต่เราดีใจสุดๆ ที่คนที่ไม่รู้จักปลอดภัย (ยิ้ม)”
“คือภารกิจเสร็จสิ้น ทหารรับจ้างรบเสร็จศึกก็กลับ ล้างโคลนเสร็จก็แทบจะไม่มีใครจำได้แล้ว ไม่สนใจเขาจะมีผลงานอย่างไร รายงานอย่างไร ได้คำชมอย่างไร เราต้องยอมรับว่าทหารรับจ้างรบมันเป็นอย่างนี้”
17 วันเต็มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2561 ที่ 13 ชีวิตติดถ้ำจนถึงวันแรกในการพบและดำเนินการช่วยเหลือนำเด็กๆ เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี สยามบาดาลก็กลับมาซ่อมแซมอุปกรณ์เพื่อเดินหน้าในสายงานอาชีพบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ร้องขอในการขุดเจาะน้ำบาลดาลโดยไม่พักผ่อน
“เป้าหมายเราคือเด็ก 13 คน ไม่เรียกร้องอะไรจากใคร ขอค่าเหนื่อยแค่เด็ก 13 คน นี่คือสิ่งที่เราตั้งใจในภารกิจนี้”
สิ้นเสียงหนุ่มใหญ่ เดินจากไปเบื้องหน้าโดยไม่หันหลัง หลงเหลือเพียงเงาที่ยังคงทอดยาวบังแสงแดดให้คนข้างหลังเฉกเช่นเรื่องราวของเขาที่เป็นภาพข้างหลังของความสำเร็จในการช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทนในฐานะนักขุดเจาะบาดาล
และนี่ก็คือเรื่องราวของหนึ่งในฮีโร่ชาวไทยที่นามย่อชื่อ ‘ขวัญ’ ที่สร้างขวัญความหวังจนสำเร็จลุล่วงแก่ชาวไทย
คือญาติผู้ใหญ่คุณอาหรือคุณลุงหนึ่งในศักดิ์และศรีที่เรากล้าเรียกได้เต็มปากประหนึ่งญาติมิตรที่เจอปัญหาปรึกษาได้
คือ ‘สุรทิน ชัยชมพู’ ชายผู้สูงไม่มากน้อยเกินกว่า 170 เซนติเมตร แต่แค่นี้ก็เกินพอแล้ว
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เฟซบุ๊กสุรทิน ชัยชมพู