จากเด็กหนุ่มผู้ชื่นชอบในการเล่นเกมมาตั้งแต่เยาว์วัย ผ่านประสบการณ์มาหลากหลายผ่านทุกเครื่องเล่น จนเกิดความคิดที่อยากจะเป็นผู้จัดรายการเกมซักครั้ง แต่กลายเป็นว่าต้องมาตกกระไดพลอยโจนด้วยการเป็นนักพากย์เกมไปอย่างไม่ตั้งใจ และจากจุดเริ่มต้นในวันนั้นได้ทำให้ “แชมป์-ตรีภพ เที่ยงตรง” หรือ Xyclopz นักพากย์มือวางอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับ 9 ของโลก ได้เดินทางมาสู่เส้นทางนี้ด้วยเสียงพากย์คาแรกเตอร์กวนๆ ยียวน บนตัวของตัวเอง

• อยากให้ช่วยเล่าพื้นฐานของตัวเองตั้งแต่เด็กหน่อยครับ
ผมเป็นลูกชายคนเดียวของที่บ้าน พ่อผมเป็นทหาร แม่เป็นศิลปินวาดภาพ เราเติบโตมา ด้วยการที่เราเป็นลูกคนเดียว เราก็เป็นเด็กที่ซนตลอดเวลา แล้วด้วยที่เราเป็นเด็กในช่วงทศวรรษที่ 1990 เราก็จะมีความผสมผสานกิจกรรมกันระหว่างการดีดลูกแก้ว หรือว่าไปเล่นซ่อนแอบ กับเครื่องเล่นเกมประเภทต่างๆ ทั้งเครื่อง Famicom, เครื่อง Super Famicom, ไปจนถึงเครื่อง Playstation 1 ชีวิตในช่วงนั้นผมก็เติบโตมากับการวิ่งเล่นนอกบ้านกับเล่นเกม ผมจำได้เลยว่าเริ่มเล่นเกมมาตั้งแต่ ป.2 หลังจากนั้นก็เล่นไม่หยุดเลย มาจนกระทั่งช่วงมัธยม ก็เริ่มเป็นเกมคอมพิวเตอร์แล้ว น่าจะเป็นยุคแรกๆ เลยมั้งนะครับ แต่จำได้เลยว่า ผมเล่น Ragnarok กับเกม Counter Strikes ตั้งแต่ช่วง ม.1 ซึ่งน่าจะเป็นปีแรกๆ ของ 2 เกมนี้ในเมืองไทย แล้วถ้าใครเล่นเกมหลังเก่งนะ จะถูกพูดถึงในโรงเรียนเลย ประมาณว่าอย่าไปเดินใกล้มันนะ มันโหดมาก ประหนึ่งเป็นพวกป็อปในโรงเรียนเลย
• การที่เติบโตมาจากการเล่นเกม นอกจากความบันเทิงแล้ว ได้ให้อะไรเพิ่มเติมมั้ยในตอนนั้น
ให้ความเกรียนอย่างเดียวครับ (หัวเราะ) เพราะว่าพอเริ่มเช้าสู่ช่วงมหาวิทยาลัย ผมก็จะไปร้านเกมร้านหนึ่งตรงย่านแยกเกษตรหลังเลิกเรียนเป็นประจำ ถือว่าเป็นแหล่งนัดเจอเพื่อนด้วย ก็เล่นเกมกันทุกวัน อย่างเพื่อนๆ ที่เล่นเกมกับผมในทุกวันนี้ก็มีอาชีพการงานที่หลากหลายมาก มีทั้งนักบิน ธุรกิจส่วนตัว และก็ด้านเกม รวมทั้งผมก็ยังเกี่ยวข้องในแวดวงเกมด้วย เพื่อนก็ยังมีการถามอยู่เหมือนเดิมว่าทำอะไร จนมาถึงตรงนี้
• เช่นเดียวกัน การที่เป็นยุคแรกในเกมคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีถูกตราหน้าในตอนนั้นด้วยเหมือนกัน
เอาตรงๆ นะครับ สมัยก่อนมันยังไม่รุนแรงเท่าสมัยนี้ด้วยซ้ำ คือเราเคยคิดว่าเมื่อก่อนมันก็รุนแรงมาก จนค่อยๆ ดีขึ้นใช่มั้ยครับ จริงๆ ไม่ใช่เลย คือมันแค่การสังสรรค์ เจอเพื่อนกันธรรมดา แต่ที่มันดูแย่ลงคือการที่เริ่มมีสังคมออนไลน์ เริ่มมีสื่อที่ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เขาอยากจะได้เรตติ้งหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่มีการทำร้ายเกมหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีอะไรที่โทษเกมตลอด ถ้าถามเรา ผมคิดว่าเราเล่นเกมไม่หนักเลย พ่อแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วเราก็ไม่ได้มีการย่ำแย่อะไร เพราะเด็กทุกคนรอบข้างเล่นหมด แต่โดยส่วนตัวเราก็ไม่ได้ใช้เวลาเล่นนานเท่าไหร่ เฉลี่ยประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวันเอง

• พอได้ทำกิจกรรมนี้มากขึ้น เริ่มมีความคิดที่อยากจะทำงานเกี่ยวข้องในด้านนี้?
ไม่มีเลยครับ คือเราเล่นเกมเพื่อผ่อนคลายตัวเอง ไม่ได้มีความคิดอะไร จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งผมเริ่มรู้สึกว่าไปเห็นคนเขาแข่งกัน จนเกิดความรู้สึกว่าทำไมมีการแข่งขันระดับโลกได้ ทำไมมันเจ๋งขนาดนี้ ผมก็เลยเริ่มสนใจ ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2008 ผมก็เริ่มมารู้จักกับคำว่า E-Sport ว่าเป็นยังไง ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ แต่ตอนนั้นก็ยังไม่มีอะไรให้ศึกษาหรอก เพราะว่าเทคโนโลยียังไม่เอื้อขนาดนั้น แต่จำได้ว่าเคยลงแข่งขันแค่ครั้งเดียวในชีวิต ชื่อเกมว่า Sudden Attack เป็นเกมยิงปืน ผมจำได้ว่าเราก็จะต้องศึกษาแผน เราก็ตั้งคำถามว่าจะศึกษายังไง แล้วในช่วงเวลานั้นผมก็ต้องไปเปิดยูทูปเพื่อมานั่งศึกษาจากคลิปเก่าๆ ของการแข่งขันจากที่ต่างๆ เพื่อศึกษาแผน
• พอเริ่มเข้าสู่การเล่นแบบความจริงจังแล้ว ตอนนั้นเป็นยังไง
มันก็เป็นอีกระดับหนึ่งเลยนะครับ จากที่เราเล่นเพื่อความสนุกสนานเฮฮา กลายเป็นว่าต้องมีการนัดซ้อมกับเพื่อน ทุกคนก็จะเริ่มรู้แล้วว่าจะถึงเวลาซ้อม ช่วงเวลานั้นทำให้เรารู้สึกว่าเริ่มมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ถ้าเราขาดซ้อมก็ทำให้ทีมมาซ้อมไม่ได้ นอกจากนี้ก็มีการพูดคุยกันก่อนที่จะเริ่มซ้อมด้วยว่าวันนี้เราจะเริ่มซ้อมอะไร ซ้อมเพื่ออะไร และเราจะซ้อมนานแค่ไหน มันเป็นอีกมิติหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเจ๋งว่ะ ใช้คำนี้เลย เพราะว่าการที่เราชนะในฐานะทีม มันให้ความรู้สึกที่ดีแบบสุดๆ ประมาณว่าคน 5 คน เอาชนะคนอีก 5 คนได้ มันสุดยอด นอกจากนี้ ตอนนั้นก็เริ่มมีการหาอุปกรณ์แล้ว พวกหูฟังซึ่งเป็นอันแรกของเราเลย แล้วก็รู้จักเพื่อนมากขึ้น เขาก็เป็นพวกเกมเมอร์เหมือนกัน เล่นแบบแข่งขันกันจริงจังเลย แล้ววันๆ ก็จะคุยกันประมาณว่าทำแผนอะไรดี แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาเดียวที่เราเป็นนักแข่ง

• หลังจากเรียนจบ เราเริ่มมีความคิดที่จะเข้าสู่วงการเกมรึยัง
ยังไม่มีความคิดเลย แต่ผมจำได้ว่าหลังจากเรียนจบมา ด้วยความที่เราจบมาช้าด้วย เราเลยเลือกขอนอนก่อน นอนอยู่บ้าน 2-3 เดือน ไม่ได้ทำอะไรเลย อีกอย่างเราก็เพิ่งเลิกกับแฟน เลยทำให้ชีวิตเราในตอนนั้นไปสู่อีกโหมดเลย ไม่ทำอะไรเลย นอน ดื่ม จนกระทั่งมันมีเกมใหม่เข้ามา แล้วเราเกิดความเบื่อๆ ก็ลองเล่นเกมนี้สักหน่อย เกมชื่อ DoTa 2 ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2012 ผมก็เลยลองเล่นดู เราก็เล่นไปเพื่อหลีกหนีจากปัญหาที่ว่ามา แล้วเนื่องจากเป็นช่วงแรกของเกมนี้ มันก็ยังไม่มีใครจัดทัวร์นาเมนต์ แล้วผมก็อยากรู้ว่าทีมไหนเก่งที่สุดในอาเซียน แต่ผมไม่มีเงินเลย ผมก็จัดทัวร์นาเมนต์เองเลย จะเรียกว่าทัวร์นาเมนต์ 0 เหรียญ คือชนะเลิศแล้วก็ไม่ได้รางวัลอะไรเลย ได้แค่เสียงปรบมือกันไป การแข่งขันนี้ มันกลายเป็นว่าคนลงสมัครเยอะมาก ผมก็คิดในใจว่า ‘ฉิบหายแล้ว’ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว มันควรที่จะเพิ่มโปรดักชันสักหน่อย ให้มีการถ่ายทอดสดและการพากย์ลงไป เราก็ไปขอร้องคนที่พากย์และคนถ่ายรายการว่ามาช่วยถ่ายและพากย์ให้หน่อย เขาก็ถามกลับมาว่ามีค่าเหนื่อยมั้ย เราก็บอกว่าไม่มี จนสรุปว่าเราหาไม่ได้
จนกระทั่งวันงานมาถึง ผมก็ต้องทำเองทุกอย่าง นี่ก็คือทัวร์นาเมนต์แรกที่ตัวเองพากย์ เราก็ไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยทำ และไม่เคยสนใจมาก่อน คิดแค่ว่าขอแค่สักคนที่เข้ามาพากย์ แต่ก็หาไม่ได้ อย่างตอนแรกสุด เราอยู่ในฐานะผู้จัด ถูกมั้ยครับ แถมเป็นผู้จัดที่ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรเลย ตอนนั้นคิดแค่ว่าเป็นใครก็ได้ ขอแค่เข้าไปพากย์ได้ก็พอ ตอนนั้นคิดแบบผู้จัดเลย แล้วพอผมเข้ามาพากย์ก็มีความรู้สึกว่าความคิดเปลี่ยนหมดเลย ถ้ามีคนบอกว่าหน้าตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ นักพากย์ก็เป็นเหมือนหน้าต่างของการแข่งขันเลย คือภาพลักษณ์ด้วย มันมีความสำคัญที่จะทำให้ทัวร์นาเมนต์นั้นดับหรือเกิดได้ด้วยคำพูดไม่กี่คำ มันกลายเป็น Role ที่ทรงพลังมากๆ
• ความรู้สึกแรกของการพากย์ของเราในตอนนั้น
ผมก็เริ่มด้วยภาษาไทยเลย ทั้งๆ ที่เป็นทัวร์นาเมนต์ที่คนต่างชาติมาร่วมด้วย เอาล่ะสิ (หัวเราะ) แน่นอนว่าผมถูกด่าจากคนดูการแข่งขันที่ไม่ใช่คนไทยว่า จัดการแข่งขันแบบนานาชาติ แต่มาพูดภาษาเอเลี่ยนให้ฟังเนี่ยนะ ไม่รู้เรื่องเลย แต่ผมไม่มีทางเลือก แม้ว่าจะพอมีความรู้ภาษาอังกฤษบ้าง แต่ผมพูดไม่ได้เลย พูดได้แค่เป็นคำๆ แถมตอนนั้นพูดพากย์ไป ก็ได้แต่ไม่กี่คำด้วย มีอะไรเกิดขึ้น ก็โอมายก็อด อย่างเดียวเลย ผมพูดได้แค่นี้ แต่ก็กลายเป็นว่าคนที่เข้ามาดูก็พูดว่า อย่างน้อยมันก็พูดภาษาเรา อย่างน้อยก็มั่วๆ ฮาๆ เพราะว่าเขาเขียนมาบอกเลย นี่คือความแตกต่างระหว่างการพากย์กีฬาจริงกับอีสปอร์ต เพราะว่าคนดูเขามีปฏิกิริยากับเราตลอด เขาพิมพ์โต้ตอบให้เราดูเลยว่าเขาคิดยังไงกับเราบ้าง ผมบอกเลยว่าถ้าจิตใจไม่แข็งพอ ลำบาก

• หลังจากในวันนั้นแล้ว เหมือนว่าเราได้ค้นพบอะไรบางอย่าง
(นิ่งคิด) ผมรู้สึกว่าเวลาที่ผมมาพากย์ วันถัดมามักจะทำได้ดีกว่าวันก่อนหน้าเสมอ นั่นหมายความว่า ผมเริ่มมีการพัฒนาทีละนิด แต่มีการพัฒนาอยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้นเป้าหมายผมในตอนนั้นก็คือ หลีกหนีปัญหาเรื่องความรักอย่างที่บอก ผมเลยพยายามใช้เวลาให้มันหมดไปกับเรื่องนี้ สอง คือ ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นการช่วยให้ผมพูดภาษาอังกฤษได้ ผมก็เลยลองดู เราก็ไปเรื่อยๆ อีกปัจจัยหนึ่ง เราก็มีเพื่อนสนิทสองคนที่คอยให้ทั้งกำลังใจและกระตุ้นผมอยู่เสมอ จำได้เลยว่าทัวร์นาเมนต์แรกที่ผมจัด คือ วันที่ 1 มกราคม 2013 ซึ่งเพื่อน 2 คนนี้เขามีวิสัยทัศนี่ไกลมาก เพราะผมก็ยังไม่คิดเลยว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ แต่เพื่อน 2 คนนี้จะคอยบอกว่าถ้ามึงทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ มึงไปไกลแน่นอน แล้วพวกเขาก็จะคอยพูดอยู่อย่างงี้ไปเรื่อยๆ ในเวลาที่ผมท้อ อย่างประโยคที่ว่ามึงทำมาขนาดนี้แล้ว มึงจะกลับไปทำงานประจำอีกหรือ ตอนนั้นเราก็ยังทำงานประจำด้วย
• หลังจากนั้น คุณจัดการกับตัวเองยังไงต่อ
หลังจากทัวร์นาเมนต์แรก ผมก็ไปเร่หาผู้จัด แล้วบอกกับเขาว่าให้ผมไปพากย์มั้ยครับ ผมพากย์ฟรี ผมเคยพากย์รายการนี้มานะครับ เราทำอยู่อย่างงั้นมาเกือบ 2 ปี ถือว่าอาภัพมาก เพราะว่าอีสปอร์ตก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แล้วผมก็อยู่ในยุคแรกๆ ของนักพากย์ลักษณะนี้ด้วย คนก็ยังไม่เข้าใจว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ทำไมต้องมีคนพากย์ ก็เรียกว่าเร่ร่อนตามที่บอก ผมใช้เวลาหลังเลิกงานประจำ มาซ้อมพากย์ตั้งแต่เลิกงานจนถึง 5 ทุ่ม-เที่ยงคืน ทุกวัน อย่างที่บอกละครับว่าชีวิตในช่วงนั้นเรียกว่ามืดมากๆ แทบมองไม่เห็นอะไรเลย แต่ถามว่าเยียวยาตัวเองด้วยมั้ย ก็ใช่ด้วย เพราะหลังจากผ่านไป 1 ปี แผลในตอนนั้นเริ่มหายสนิทแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามา คือ ผมเริ่มเชื่อต่อสิ่งนี้มากแค่ไหน ถามว่าทำไมเราถึงไม่เอาเวลาไปต่อยอดอย่างอื่น ไปตั้งใจทำงานประจำที่ทำให้ก้าวหน้าได้ ถ้าผมทุ่มเทกับมันเต็มที่ แต่ตอนนั้นก็มีการตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่าจะทำไปถึงเมื่อไหร่ ความเชื่อมั่นที่มีอยู่ก็มาจากตัวเองล้วนๆ เลย เชื่อในสัญชาตญาณ รวมถึงเพื่อน 2 คนนั้นด้วย เพราะว่าทั้งคู่คิดว่าสิ่งนี้มันจะเป็นอะไรสักอย่างได้

• คุณทำสิ่งนี้มาเรื่อยๆ แล้วทัวร์นาเมนต์ไหนที่ทำให้แจ้งเกิดมาได้ครับ
เราทำมันจนกระทั่งเราบอกว่า เราไม่ไหวแล้ว ผมจะพากย์อีกแค่ครั้งเดียว แล้วจะเลิกแล้ว ซึ่งอาทิตย์นั้นเป็นสัปดาห์ที่แย่มากสำหรับผมด้วยนะ ไม่มีอะไรดีเลย จน 2 วันก่อนที่ผมจะเลิก ผมได้รับข้อเสนอจากทัวร์นาเมนต์หนึ่ง ซึ่งรายการนั้นเป็นของสตูดิโอที่ใหญ่ที่สุดในโลกของอเมริกา ซึ่งทางโปรดิวเซอร์เขามาพูดกับเราเลยว่า ลองสนใจจะพากย์ให้รายการเรามั้ย เราให้นายพากย์รายการนี้ ผมก็งงเหมือนกันว่า เขาเจอผมจากที่ไหน แล้วเราก็ยังไม่มีอะไรเลย จนเรามารู้ทีหลังว่า กลายเป็นว่าทุกครั้งที่เราถ่ายทอดสดการพากย์ของเรา ในตัวเลขผู้ชมที่เราเห็นในระหว่างการพากย์ ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าพวกเขาคือใครนั้น เขาก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ชมผมพากย์ ซึ่งเขาติดตามมาดูเรานานแล้ว แต่ผมไม่รู้เลย เพราะว่าเขาก็ไม่เคยพิมพ์ในแชทเหมือนกัน เขามานั่งดูเราพากย์ จนถึงจุดหนึ่งที่น่าจะถึงเวลาที่สมควรแล้วล่ะ ที่จะเชิญนายไปพากย์ให้เราซะที ผมก็ดีใจมาก คือถ้าเปรียบเป็นนักดนตรีเหมือนกับได้ไปเล่นคอนเสิร์ต ผมก็ไปพากย์ในเดือนกันยายน 2014 แล้วแจ้งเกิดเลย
หลังจากนั้น พอผมได้ทำงานใหญ่ขึ้น ผมก็มีผู้ติดตามมากขึ้น แล้วพอมาถึงช่วงคริสมาสต์ อีฟ 2014 อยู่ๆ ก็มีเงินมาเข้าบัญชีผม 1 แสนบาท จากการที่เราทำงานมาตั้งแต่งานแรกมาจนถึงช่วงล่าสุด แต่เขาไม่เคยบอกผมเลยว่ามันจะเป็นเงินอะไร ซึ่งความรู้สึกเราในตอนนั้นคือ เราก็ไม่คิดเหมือนกันว่าเราจะได้ในสิ่งนี้ด้วย เงินก้อนนี้ผมเอาเงินไปให้แม่ พ่อก็กอดผมด้วย ความรู้สึกในตอนนั้นมันดีมากๆ เลย หลังจากนั้นก็มีงานมาตลอด จนถึงทุกวันนี้ คือจากวันนั้นมาก็เดินสายไปที่ต่างๆ เลย
• หลังจากนั้นก็ไปทุกประเทศที่มีวัฒนธรรมการเล่นเกมไปหมด
ไปประเทศต่างๆ เลยครับ ทั้ง บราซิล เยอรมัน แคนาดา ถือว่าเยอะมาก คือมันมี eco system ที่ทุกฝั่งได้ประโยชน์ ไล่มาตั้งแต่แบรนด์เลยว่า ทำยังไงถึงจะได้ให้คนรุ่นใหม่ได้ ประมาณว่า กลุ่มลูกค้าเราเป็นคนรุ่นใหม่เยอะนะ เราน่าจะหาอะไรที่ตรงและเร็วกับคนรุ่นใหม่ นั่นคือ E-Sport พอเขารู้คำตอบแล้ว เขาก้จะไปหาทีมอีเว้นท์และออแกไนซ์ ว่าอยากให้เป็นอย่างงี้ๆ นะ เขาก็รับบรีฟมา แล้วจัดการแข่งเลย เร็ว ชัด แล้วสิ่งที่ต้องการก็คือนักพากย์ ทีมโปรดักชั่น ผู้เข้าแข่งขัน

• ความแตกต่างในการพากย์ลักษณะนี้ กับการพากย์แบบอื่น มันต่างกันยังไง
มันมีความเร็วครับ สามารถโต้ตอบกับคนดูได้ทันที เพราะถ้าเราพูดอะไรผิดเนี่ย เราจะโดนทันทีเลย คือไม่ต้องรอวันรุ่งขึ้นเลยครับ คุณจะโดนในวันนั้นเลย ซึ่งมันหนักกว่าการพากย์แบบธรรมดา ตรงนี้แหละครับ ที่มันพลาดไม่ได้ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่ง ผมคิดว่าน่าจะมีในส่วนของคาแรกเตอร์ของคนพากย์ด้วย คือจริงๆ ผมก็มีการพากย์ในลักษณะนี้มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่มันก็มีคอมเมนท์หนึ่งที่ทำให้เรามีฉุกคิดเหมือนกันว่า ถ้าคุณจะพากย์ด้วยสไตล์อย่างงี้นะ คุณจะไม่ได้พากย์รายการใหญ่ไหนๆ อีกเลย พอผมอ่านจบ มันทำให้เราแอบแกว่งอยู่นะ จนมีคิดว่า หรือเราควรจะเป็นแบบคนอื่นนะ ถึงจะได้เติบโตต่อยอดไป ผมก็เลยลองเปลี่ยนดู ซึ่งการเปลี่ยนนี้มันก็ทำให้เราได้ไปต่อยอดได้จริงๆ แต่ทำได้เดือนเดียว ผมก็รู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ตัวเรา ถึงแม้ว่าจะได้เงินเยอะขึ้น หรือได้ไปรายการที่ใหญ่ขึ้น ท้ายที่สุด เราก็กลับมาพากย์แบบเดิมดู ซึ่งเราก็บอกตัวเองเหมือนกันว่า ไปได้ไกลเท่าที่ตัวเองไปได้แล้วกัน แต่ผมจะไม่ลืมว่าตัวเองเป็นใคร
• อย่างเวลาที่เจอผู้ชมที่มาด่าเราสดๆ หรือคอยมองคุณตลอดเวลา ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยมั้ย
มันไม่ใช่อุปสรรคครับ มันคือเสน่ห์ของการพากย์แบบนี้เลย ผมว่าถ้าเราพูดอะไร หรือ พากย์อะไรที่สนุก คนดูก็จะชมว่าเราพากย์มันว่ะ มันมีส่วนร่วมกันมากกว่าพากย์ฟุตบอลนะ อย่างเวลาที่ทำการพากย์ ภาพก็จะตัดไปที่การแข่งขัน คนดูก็ไม่มีทางที่จะมาดูที่นักพากย์ได้ เราจะเห็นแค่แต่ละหลังพักเบรกแต่ละช่วงแค่นั้นเอง ส่วนการถูกมองนั้น ผมถือว่าสร้างความกดดันระดับหนึ่งครับ อย่างที่บอกว่ามันทั้งเร็วและแรง เพราะว่าคนดูทั่วโลกเขาจะมีพฤติกรรมอย่างงี้ คือถ้าเขาเกลียด เขาจะเกลียดเบอร์แรงเลย แต่ถ้าเขารักเขาจะรักแบบสุดๆ คือเขาจะมีการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าคนไทย
• ด้วยความที่ในโลกออนไลน์เป็นการแสดงออกทางตัวตน มองในมุมหนึ่ง ถือว่าเรากลายเป็นที่รองรับอารมณ์ของพวกเขาด้วยมั้ย
ก็มีบ้างครับ อย่างในทุกวันนี้ เวลาที่ผมพากย์ ก็ยังมีผู้ชมที่ยังมีอารมณ์นั้นมาคอมเมนท์อยู่ว่า ใครวะ โคตรกากเลย เฮงซวย ซึ่งผมก็โดนมาเยอะ แต่เขาก็ทำอะไรผมไม่ได้ (หัวเราะ) แต่ผมก็มีวิธีในการมองส่วนตัวด้วยนะ อย่างผมเองก็มีแอนตีแฟนของตัวเองอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ชอบผมมากๆ เลย เวลาที่ผมไปพากย์ในรายการไหน เขาก็จะพิมม์มาด่าผมตลอดเลย ตอนแรกก็คิดเหมือนกันว่า อะไรกันนักหนานะ เราไปทำอะไรให้
แต่พอเรามีวิธีคิดแบบใหม่ พอเราใส่ใจพวกเขาจนพบว่า เขาเป็นกลุ่มที่ติดตามการพากย์ของผม จริงๆ เขารู้ว่าผมไปพากย์รการไหน กี่โมง แล้วเขาไม่เคยพลาดโชว์ของเราเลย ผมเลยมองว่า อย่างน้อยก็ใช้เวลาด้วยกันละวะ แม้ว่าคุณจะเขามาดูแล้วด่าก็ตาม เราก็แฮปปี้ บางครั้งเราก็มีทักทายบ้างเหมือนกัน ว่าสบายดีนะ ขาประจำนี่ หลังๆ พวกเขาก็เข้ามาดู แต่ด่าน้อยลง ซึ่งถ้าจะให้เปรียบจริงๆ ผมจะเหมือนกับทุเรียน มันจะมีแค่ 2 กลุ่มที่คิดกับทุเรียน คือกลุ่มที่ชอบ กับ ไม่ชอบเลย มันไม่มีคนตรงกลาง แต่อย่างคนที่ชอบนั้น จะไม่มีเลยที่กลับไปไม่ชอบ แต่ถ้าคนที่เริ่มจากไม่ชอบ มันมีโอกาสที่จะทำให้ชอบได้

• เช่นเดียวกัน เรื่องรายได้ คุณก็สามารถอยู่ได้ด้วยการพากย์ลักษณะนี้
ใช่ครับ ผมพอมีรายได้ที่พอเลี้ยงชีพได้ ถือว่าเป็นนักพากย์มืออาชีพอีสปอร์ตไม่กี่คนในเมืองไทย แต่การพากย์แบบนี้มันก็มีการจัดลำดับขั้นด้วย อย่างผมเองจะอยู่ในลำดับ 9 ของโลก และลำดับ 1 ของเอเชีย อย่างการจัดลำดับ คนทั่วไปอาจจะมีการงงว่าเขาจัดลำดับกันยังไง เขาวัดจาก official match ที่เป็นทางการที่เคยพากย์ หมายถึงว่าเป็นการแข่งขันที่มีเงินรางวัลสูงๆ จำนวนที่พากย์แมตช์ใหญ่ เอามาพากย์รวมกัน มันก็เหมือนชั่วโมงบิน เพราะว่านักพากย์มันไม่มี factor อะไรที่ดูว่า คนนี้อันดับดีกว่าคนนี้ เขาวัดจากชั่วโมงบิน นับถึงตอนนี้ ผมน่าจะพากย์ไปประมาณ 900 กว่าแมตช์ น่าจะใกล้ 1 พันแล้ว จากรายการแรก เกือบ 4 ปี
• จากวัฒนธรรมอีสปอร์ตที่คุณไปสัมผัสมาจากที่ต่างๆ ได้เห็นความแตกต่างอะไรบ้าง
ถือว่าไม่ต่างกันมากครับ แต่จะต่างตรงที่สไตล์การเล่นว่าภูมิภาคนี้เล่นแบบไหน อย่างทางฝั่งยุโรปจะมีการเล่นแบบสร้างสรรค์ มีการวางแผนใหม่ๆ ตลอดเวลา จะมีวิธีใหม่ๆ ในการเอาชนะคู่แข่ง และมีไอเทมในเกมใหม่ๆ ส่วนฝั่งเอเชียตะวันออก จะเล่นด้วยความเป็นระเบียบวินัย เล่นด้วยความเคร่งครัด ทุกอย่างต้องเป๊ะตามที่ซ้อมมาตลอด ด้านโซนอาเซียนจะใช้ความรู้สึก และ argrasive ล้วนๆ แบบว่าเน้นโจมตีอย่างเดียว ไม่ต้องคิดเยอะ ภูมิภาคเราจะขึ้นชื่อในเรื่องความก้าวร้าว
• จากการได้เห็นการเล่นที่แตกต่างกัน ในฐานะคนพากย์ คุณได้เห็นอะไรเพิ่มเติมบ้าง
(นิ่งคิด) ถือว่าให้เห็นสะท้อนทางด้านวัฒนธรรม แล้วก็ความก้าวหน้าทางด้านความคิด ผมสังเกตว่าประเทศแถบสแกนิเดเวียเขาจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าแถบเราอยู่ เพราะเขาจะมีวิธีการใหม่มาตลอด ในขณะที่เราเองหลายๆ ครั้งก็เป็นแค่ผู้ตาม คือเราเห็นแผนเขามาแล้วมาปรับใช้ แต่เรายังไม่สามารถสร้าง หรือ invend อะไรขึ้นมาที่มันเกิดมาจากเราก่อน ฉะนั้น เราจะตามเขา 1 ก้าวเสมอ พอเราเป็นอย่างงั้นแล้วเนี่ย วิธีการเล่นก็ต้องสมบูรณ์แบบ แล้วพอเวลาไปเจอทีมที่คิดแผนนี้ขึ้นมา แล้วเราเอาแผนที่เราเอามาจากเขาแล้วเล่นกับเขา แทบไม่ต้องคิดเลยครับว่าผลจะเป็นยังไง เพราะคนคิดแผนเขาก็รู้อยู่แล้วว่าเขาคิดแผนนี้มาเอง ทำไมจะไม่รู้ล่ะ ประมาณนี้ครับ

• การที่คุณเคยบอกว่า การพากย์ลักษณะนี้สามารถต่อยอดไปที่ด้านอื่นได้ ทำไมถึงคิดอย่างงั้น
เพราะว่ามันเกิดกับตัวผมเอง ผมเริ่มจากการพากย์เกมด้วยตัวเอง เริ่มจากเกมแรกจนไปเกมอื่น สักพักก็ได้ไปพากย์ฟุตบอล จนต่อมาก็ได้ไปทำเป็นพิธีกร หรืออย่างไปถ่ายแบบ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะทำได้มั้ย ผมก็ทำได้หมด เพราะว่ามันเริ่มมาจากพื้นฐานในการพากย์ มันเลยต่อยอดไปที่บุคลิก การแต่งกาย มันคือพื้นฐานที่สามารถเอาไปต่อได้เยอะเลยครับ ทุกวันนี้ผมเลยอยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ ลองเข้ามาฝึกพากย์อีสปอร์ตดู เพราะว่าแม้ว่าเราจะไม่มีอันดับโลกยังไง แต่เราก็อาจจะได้ต่อยอดไปด้านอื่นได้ น้องอาจจะได้บุคลิกภาพนะ หรือน้องสามารถพูดพรีเซนต์ได้นะ ผมว่ามีแต่ได้กับได้
• ณ ตอนนี้เป็นนักพากย์อีสปอร์ตมืออาชีพแล้ว ปัจจัยอะไรที่คิดว่าทำให้เราสามารถอยู่ได้
ผมคิดว่าน่าจะเป็นในเรื่องของความพยายาม แล้วก็ความเชื่อ ในความพยายามนั้นผมเริ่มมาจากที่เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แล้วเราก็พยายามด้วยความงูๆ ปลาๆ มาเรื่อยๆ จนผมมาถึงตรงนี้ ความเชื่อก็จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในระยะต่อมาว่าเราไปได้ไกลมากแค่ไหน ถ้าคุณเชื่อในตัวเองมากพอ มันก็จะไม่หมดในความพยายาม แต่ถ้าคุณยังไม่เชื่อมั่น มันก็อาจจะทำให้เราทั้งล้าและท้อได้ แล้วก็กำลังใจจากคนรอบข้างก็มีผลมาก ผมก็พยายามที่จะให้กำลังใจน้องๆ รุ่นใหม่ แล้วก็หยิบยื่นโอกาสให้เขา
• คุณมองนักพากย์อีสปอร์ตไทยสายเลือดใหม่ยังไงบ้าง
ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีเสมอ ผมยังรอน้องรุ่นใหม่อยู่ ผมว่าบ้านเรามีนักพากย์อีสปอร์ตหลายท่านมาก แล้วก็เก่งด้วย เพียงแต่ว่าผมอยากให้มีบุคลากรมากขึ้น แล้วผมอยากมีส่วนให้น้องแล้วมีโอกาสในการพากย์มากขึ้น แล้วผมก็ยังคงรอให้มีนักพากย์ภาษาอังกฤษได้ เพราะว่าตั้งแต่ผมทำมา 5 ปีครึ่งแล้ว ยังมีแค่ผมคนเดียวที่พากย์อังกฤษได้ แล้วก็จะยังมีคำถามต่อมาว่า อย่างงี้ไม่กลัวน้องรุ่นใหม่มาแย่งงานเหรอ ผมคิดว่ามันไม่มีทางที่จะเป็นอย่างงั้นได้ เพราะคนเราทุกคนไม่เหมือนกัน มันไม่มีคนที่เอาคาแรกเตอร์แบบผม แล้วเอางานจากผมไปได้ เพราะฉะนั้น ผู้จัดเขาจะเลือกใคร เขาก็เลือกจากคาแรกเตอร์ ว่ารายการเขาอยากได้คาแรกเตอร์แบบไหน ผมมองว่าไม่ใช่การแย่งงาน
อย่างเด็กรุ่นใหม่มันต้องมีความพยายาม แต่ผมเข้าใจเขานะ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างตอนที่ผมเริ่มใหม่ก็มีความลำบากเหมือนกัน อย่างที่บอกไป แต่พอมาเป็นภาษาอังกฤษแล้ว คู่ต่อสู้มันเยอะมาก คือทั่วโลกเลย ผมบอกเลยว่า พอเป็นระดับโลก คอมเมนเตเตอร์เยอะมาก มันเลยเป็นการแข่งขันที่สูงมาก ก็ค่อนข้างเครียดนิดหนึ่ง น้องรุ่นใหม่อาจจะใช้เวลาพอสมควร กว่าที่จะเอาตัวเองไปจุดนั้น แต่อย่างที่บอก ถ้าผมได้มีโอกาสที่ได้เลือกนักพากย์ก็จะพยายามดูน้องๆ รุ่นใหม่ที่จะไปพากย์
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
• อยากให้ช่วยเล่าพื้นฐานของตัวเองตั้งแต่เด็กหน่อยครับ
ผมเป็นลูกชายคนเดียวของที่บ้าน พ่อผมเป็นทหาร แม่เป็นศิลปินวาดภาพ เราเติบโตมา ด้วยการที่เราเป็นลูกคนเดียว เราก็เป็นเด็กที่ซนตลอดเวลา แล้วด้วยที่เราเป็นเด็กในช่วงทศวรรษที่ 1990 เราก็จะมีความผสมผสานกิจกรรมกันระหว่างการดีดลูกแก้ว หรือว่าไปเล่นซ่อนแอบ กับเครื่องเล่นเกมประเภทต่างๆ ทั้งเครื่อง Famicom, เครื่อง Super Famicom, ไปจนถึงเครื่อง Playstation 1 ชีวิตในช่วงนั้นผมก็เติบโตมากับการวิ่งเล่นนอกบ้านกับเล่นเกม ผมจำได้เลยว่าเริ่มเล่นเกมมาตั้งแต่ ป.2 หลังจากนั้นก็เล่นไม่หยุดเลย มาจนกระทั่งช่วงมัธยม ก็เริ่มเป็นเกมคอมพิวเตอร์แล้ว น่าจะเป็นยุคแรกๆ เลยมั้งนะครับ แต่จำได้เลยว่า ผมเล่น Ragnarok กับเกม Counter Strikes ตั้งแต่ช่วง ม.1 ซึ่งน่าจะเป็นปีแรกๆ ของ 2 เกมนี้ในเมืองไทย แล้วถ้าใครเล่นเกมหลังเก่งนะ จะถูกพูดถึงในโรงเรียนเลย ประมาณว่าอย่าไปเดินใกล้มันนะ มันโหดมาก ประหนึ่งเป็นพวกป็อปในโรงเรียนเลย
• การที่เติบโตมาจากการเล่นเกม นอกจากความบันเทิงแล้ว ได้ให้อะไรเพิ่มเติมมั้ยในตอนนั้น
ให้ความเกรียนอย่างเดียวครับ (หัวเราะ) เพราะว่าพอเริ่มเช้าสู่ช่วงมหาวิทยาลัย ผมก็จะไปร้านเกมร้านหนึ่งตรงย่านแยกเกษตรหลังเลิกเรียนเป็นประจำ ถือว่าเป็นแหล่งนัดเจอเพื่อนด้วย ก็เล่นเกมกันทุกวัน อย่างเพื่อนๆ ที่เล่นเกมกับผมในทุกวันนี้ก็มีอาชีพการงานที่หลากหลายมาก มีทั้งนักบิน ธุรกิจส่วนตัว และก็ด้านเกม รวมทั้งผมก็ยังเกี่ยวข้องในแวดวงเกมด้วย เพื่อนก็ยังมีการถามอยู่เหมือนเดิมว่าทำอะไร จนมาถึงตรงนี้
• เช่นเดียวกัน การที่เป็นยุคแรกในเกมคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีถูกตราหน้าในตอนนั้นด้วยเหมือนกัน
เอาตรงๆ นะครับ สมัยก่อนมันยังไม่รุนแรงเท่าสมัยนี้ด้วยซ้ำ คือเราเคยคิดว่าเมื่อก่อนมันก็รุนแรงมาก จนค่อยๆ ดีขึ้นใช่มั้ยครับ จริงๆ ไม่ใช่เลย คือมันแค่การสังสรรค์ เจอเพื่อนกันธรรมดา แต่ที่มันดูแย่ลงคือการที่เริ่มมีสังคมออนไลน์ เริ่มมีสื่อที่ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เขาอยากจะได้เรตติ้งหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่มีการทำร้ายเกมหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีอะไรที่โทษเกมตลอด ถ้าถามเรา ผมคิดว่าเราเล่นเกมไม่หนักเลย พ่อแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วเราก็ไม่ได้มีการย่ำแย่อะไร เพราะเด็กทุกคนรอบข้างเล่นหมด แต่โดยส่วนตัวเราก็ไม่ได้ใช้เวลาเล่นนานเท่าไหร่ เฉลี่ยประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวันเอง
• พอได้ทำกิจกรรมนี้มากขึ้น เริ่มมีความคิดที่อยากจะทำงานเกี่ยวข้องในด้านนี้?
ไม่มีเลยครับ คือเราเล่นเกมเพื่อผ่อนคลายตัวเอง ไม่ได้มีความคิดอะไร จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งผมเริ่มรู้สึกว่าไปเห็นคนเขาแข่งกัน จนเกิดความรู้สึกว่าทำไมมีการแข่งขันระดับโลกได้ ทำไมมันเจ๋งขนาดนี้ ผมก็เลยเริ่มสนใจ ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2008 ผมก็เริ่มมารู้จักกับคำว่า E-Sport ว่าเป็นยังไง ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ แต่ตอนนั้นก็ยังไม่มีอะไรให้ศึกษาหรอก เพราะว่าเทคโนโลยียังไม่เอื้อขนาดนั้น แต่จำได้ว่าเคยลงแข่งขันแค่ครั้งเดียวในชีวิต ชื่อเกมว่า Sudden Attack เป็นเกมยิงปืน ผมจำได้ว่าเราก็จะต้องศึกษาแผน เราก็ตั้งคำถามว่าจะศึกษายังไง แล้วในช่วงเวลานั้นผมก็ต้องไปเปิดยูทูปเพื่อมานั่งศึกษาจากคลิปเก่าๆ ของการแข่งขันจากที่ต่างๆ เพื่อศึกษาแผน
• พอเริ่มเข้าสู่การเล่นแบบความจริงจังแล้ว ตอนนั้นเป็นยังไง
มันก็เป็นอีกระดับหนึ่งเลยนะครับ จากที่เราเล่นเพื่อความสนุกสนานเฮฮา กลายเป็นว่าต้องมีการนัดซ้อมกับเพื่อน ทุกคนก็จะเริ่มรู้แล้วว่าจะถึงเวลาซ้อม ช่วงเวลานั้นทำให้เรารู้สึกว่าเริ่มมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ถ้าเราขาดซ้อมก็ทำให้ทีมมาซ้อมไม่ได้ นอกจากนี้ก็มีการพูดคุยกันก่อนที่จะเริ่มซ้อมด้วยว่าวันนี้เราจะเริ่มซ้อมอะไร ซ้อมเพื่ออะไร และเราจะซ้อมนานแค่ไหน มันเป็นอีกมิติหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเจ๋งว่ะ ใช้คำนี้เลย เพราะว่าการที่เราชนะในฐานะทีม มันให้ความรู้สึกที่ดีแบบสุดๆ ประมาณว่าคน 5 คน เอาชนะคนอีก 5 คนได้ มันสุดยอด นอกจากนี้ ตอนนั้นก็เริ่มมีการหาอุปกรณ์แล้ว พวกหูฟังซึ่งเป็นอันแรกของเราเลย แล้วก็รู้จักเพื่อนมากขึ้น เขาก็เป็นพวกเกมเมอร์เหมือนกัน เล่นแบบแข่งขันกันจริงจังเลย แล้ววันๆ ก็จะคุยกันประมาณว่าทำแผนอะไรดี แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาเดียวที่เราเป็นนักแข่ง
• หลังจากเรียนจบ เราเริ่มมีความคิดที่จะเข้าสู่วงการเกมรึยัง
ยังไม่มีความคิดเลย แต่ผมจำได้ว่าหลังจากเรียนจบมา ด้วยความที่เราจบมาช้าด้วย เราเลยเลือกขอนอนก่อน นอนอยู่บ้าน 2-3 เดือน ไม่ได้ทำอะไรเลย อีกอย่างเราก็เพิ่งเลิกกับแฟน เลยทำให้ชีวิตเราในตอนนั้นไปสู่อีกโหมดเลย ไม่ทำอะไรเลย นอน ดื่ม จนกระทั่งมันมีเกมใหม่เข้ามา แล้วเราเกิดความเบื่อๆ ก็ลองเล่นเกมนี้สักหน่อย เกมชื่อ DoTa 2 ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2012 ผมก็เลยลองเล่นดู เราก็เล่นไปเพื่อหลีกหนีจากปัญหาที่ว่ามา แล้วเนื่องจากเป็นช่วงแรกของเกมนี้ มันก็ยังไม่มีใครจัดทัวร์นาเมนต์ แล้วผมก็อยากรู้ว่าทีมไหนเก่งที่สุดในอาเซียน แต่ผมไม่มีเงินเลย ผมก็จัดทัวร์นาเมนต์เองเลย จะเรียกว่าทัวร์นาเมนต์ 0 เหรียญ คือชนะเลิศแล้วก็ไม่ได้รางวัลอะไรเลย ได้แค่เสียงปรบมือกันไป การแข่งขันนี้ มันกลายเป็นว่าคนลงสมัครเยอะมาก ผมก็คิดในใจว่า ‘ฉิบหายแล้ว’ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว มันควรที่จะเพิ่มโปรดักชันสักหน่อย ให้มีการถ่ายทอดสดและการพากย์ลงไป เราก็ไปขอร้องคนที่พากย์และคนถ่ายรายการว่ามาช่วยถ่ายและพากย์ให้หน่อย เขาก็ถามกลับมาว่ามีค่าเหนื่อยมั้ย เราก็บอกว่าไม่มี จนสรุปว่าเราหาไม่ได้
จนกระทั่งวันงานมาถึง ผมก็ต้องทำเองทุกอย่าง นี่ก็คือทัวร์นาเมนต์แรกที่ตัวเองพากย์ เราก็ไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยทำ และไม่เคยสนใจมาก่อน คิดแค่ว่าขอแค่สักคนที่เข้ามาพากย์ แต่ก็หาไม่ได้ อย่างตอนแรกสุด เราอยู่ในฐานะผู้จัด ถูกมั้ยครับ แถมเป็นผู้จัดที่ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรเลย ตอนนั้นคิดแค่ว่าเป็นใครก็ได้ ขอแค่เข้าไปพากย์ได้ก็พอ ตอนนั้นคิดแบบผู้จัดเลย แล้วพอผมเข้ามาพากย์ก็มีความรู้สึกว่าความคิดเปลี่ยนหมดเลย ถ้ามีคนบอกว่าหน้าตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ นักพากย์ก็เป็นเหมือนหน้าต่างของการแข่งขันเลย คือภาพลักษณ์ด้วย มันมีความสำคัญที่จะทำให้ทัวร์นาเมนต์นั้นดับหรือเกิดได้ด้วยคำพูดไม่กี่คำ มันกลายเป็น Role ที่ทรงพลังมากๆ
• ความรู้สึกแรกของการพากย์ของเราในตอนนั้น
ผมก็เริ่มด้วยภาษาไทยเลย ทั้งๆ ที่เป็นทัวร์นาเมนต์ที่คนต่างชาติมาร่วมด้วย เอาล่ะสิ (หัวเราะ) แน่นอนว่าผมถูกด่าจากคนดูการแข่งขันที่ไม่ใช่คนไทยว่า จัดการแข่งขันแบบนานาชาติ แต่มาพูดภาษาเอเลี่ยนให้ฟังเนี่ยนะ ไม่รู้เรื่องเลย แต่ผมไม่มีทางเลือก แม้ว่าจะพอมีความรู้ภาษาอังกฤษบ้าง แต่ผมพูดไม่ได้เลย พูดได้แค่เป็นคำๆ แถมตอนนั้นพูดพากย์ไป ก็ได้แต่ไม่กี่คำด้วย มีอะไรเกิดขึ้น ก็โอมายก็อด อย่างเดียวเลย ผมพูดได้แค่นี้ แต่ก็กลายเป็นว่าคนที่เข้ามาดูก็พูดว่า อย่างน้อยมันก็พูดภาษาเรา อย่างน้อยก็มั่วๆ ฮาๆ เพราะว่าเขาเขียนมาบอกเลย นี่คือความแตกต่างระหว่างการพากย์กีฬาจริงกับอีสปอร์ต เพราะว่าคนดูเขามีปฏิกิริยากับเราตลอด เขาพิมพ์โต้ตอบให้เราดูเลยว่าเขาคิดยังไงกับเราบ้าง ผมบอกเลยว่าถ้าจิตใจไม่แข็งพอ ลำบาก
• หลังจากในวันนั้นแล้ว เหมือนว่าเราได้ค้นพบอะไรบางอย่าง
(นิ่งคิด) ผมรู้สึกว่าเวลาที่ผมมาพากย์ วันถัดมามักจะทำได้ดีกว่าวันก่อนหน้าเสมอ นั่นหมายความว่า ผมเริ่มมีการพัฒนาทีละนิด แต่มีการพัฒนาอยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้นเป้าหมายผมในตอนนั้นก็คือ หลีกหนีปัญหาเรื่องความรักอย่างที่บอก ผมเลยพยายามใช้เวลาให้มันหมดไปกับเรื่องนี้ สอง คือ ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นการช่วยให้ผมพูดภาษาอังกฤษได้ ผมก็เลยลองดู เราก็ไปเรื่อยๆ อีกปัจจัยหนึ่ง เราก็มีเพื่อนสนิทสองคนที่คอยให้ทั้งกำลังใจและกระตุ้นผมอยู่เสมอ จำได้เลยว่าทัวร์นาเมนต์แรกที่ผมจัด คือ วันที่ 1 มกราคม 2013 ซึ่งเพื่อน 2 คนนี้เขามีวิสัยทัศนี่ไกลมาก เพราะผมก็ยังไม่คิดเลยว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ แต่เพื่อน 2 คนนี้จะคอยบอกว่าถ้ามึงทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ มึงไปไกลแน่นอน แล้วพวกเขาก็จะคอยพูดอยู่อย่างงี้ไปเรื่อยๆ ในเวลาที่ผมท้อ อย่างประโยคที่ว่ามึงทำมาขนาดนี้แล้ว มึงจะกลับไปทำงานประจำอีกหรือ ตอนนั้นเราก็ยังทำงานประจำด้วย
• หลังจากนั้น คุณจัดการกับตัวเองยังไงต่อ
หลังจากทัวร์นาเมนต์แรก ผมก็ไปเร่หาผู้จัด แล้วบอกกับเขาว่าให้ผมไปพากย์มั้ยครับ ผมพากย์ฟรี ผมเคยพากย์รายการนี้มานะครับ เราทำอยู่อย่างงั้นมาเกือบ 2 ปี ถือว่าอาภัพมาก เพราะว่าอีสปอร์ตก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แล้วผมก็อยู่ในยุคแรกๆ ของนักพากย์ลักษณะนี้ด้วย คนก็ยังไม่เข้าใจว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ทำไมต้องมีคนพากย์ ก็เรียกว่าเร่ร่อนตามที่บอก ผมใช้เวลาหลังเลิกงานประจำ มาซ้อมพากย์ตั้งแต่เลิกงานจนถึง 5 ทุ่ม-เที่ยงคืน ทุกวัน อย่างที่บอกละครับว่าชีวิตในช่วงนั้นเรียกว่ามืดมากๆ แทบมองไม่เห็นอะไรเลย แต่ถามว่าเยียวยาตัวเองด้วยมั้ย ก็ใช่ด้วย เพราะหลังจากผ่านไป 1 ปี แผลในตอนนั้นเริ่มหายสนิทแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามา คือ ผมเริ่มเชื่อต่อสิ่งนี้มากแค่ไหน ถามว่าทำไมเราถึงไม่เอาเวลาไปต่อยอดอย่างอื่น ไปตั้งใจทำงานประจำที่ทำให้ก้าวหน้าได้ ถ้าผมทุ่มเทกับมันเต็มที่ แต่ตอนนั้นก็มีการตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่าจะทำไปถึงเมื่อไหร่ ความเชื่อมั่นที่มีอยู่ก็มาจากตัวเองล้วนๆ เลย เชื่อในสัญชาตญาณ รวมถึงเพื่อน 2 คนนั้นด้วย เพราะว่าทั้งคู่คิดว่าสิ่งนี้มันจะเป็นอะไรสักอย่างได้
• คุณทำสิ่งนี้มาเรื่อยๆ แล้วทัวร์นาเมนต์ไหนที่ทำให้แจ้งเกิดมาได้ครับ
เราทำมันจนกระทั่งเราบอกว่า เราไม่ไหวแล้ว ผมจะพากย์อีกแค่ครั้งเดียว แล้วจะเลิกแล้ว ซึ่งอาทิตย์นั้นเป็นสัปดาห์ที่แย่มากสำหรับผมด้วยนะ ไม่มีอะไรดีเลย จน 2 วันก่อนที่ผมจะเลิก ผมได้รับข้อเสนอจากทัวร์นาเมนต์หนึ่ง ซึ่งรายการนั้นเป็นของสตูดิโอที่ใหญ่ที่สุดในโลกของอเมริกา ซึ่งทางโปรดิวเซอร์เขามาพูดกับเราเลยว่า ลองสนใจจะพากย์ให้รายการเรามั้ย เราให้นายพากย์รายการนี้ ผมก็งงเหมือนกันว่า เขาเจอผมจากที่ไหน แล้วเราก็ยังไม่มีอะไรเลย จนเรามารู้ทีหลังว่า กลายเป็นว่าทุกครั้งที่เราถ่ายทอดสดการพากย์ของเรา ในตัวเลขผู้ชมที่เราเห็นในระหว่างการพากย์ ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าพวกเขาคือใครนั้น เขาก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ชมผมพากย์ ซึ่งเขาติดตามมาดูเรานานแล้ว แต่ผมไม่รู้เลย เพราะว่าเขาก็ไม่เคยพิมพ์ในแชทเหมือนกัน เขามานั่งดูเราพากย์ จนถึงจุดหนึ่งที่น่าจะถึงเวลาที่สมควรแล้วล่ะ ที่จะเชิญนายไปพากย์ให้เราซะที ผมก็ดีใจมาก คือถ้าเปรียบเป็นนักดนตรีเหมือนกับได้ไปเล่นคอนเสิร์ต ผมก็ไปพากย์ในเดือนกันยายน 2014 แล้วแจ้งเกิดเลย
หลังจากนั้น พอผมได้ทำงานใหญ่ขึ้น ผมก็มีผู้ติดตามมากขึ้น แล้วพอมาถึงช่วงคริสมาสต์ อีฟ 2014 อยู่ๆ ก็มีเงินมาเข้าบัญชีผม 1 แสนบาท จากการที่เราทำงานมาตั้งแต่งานแรกมาจนถึงช่วงล่าสุด แต่เขาไม่เคยบอกผมเลยว่ามันจะเป็นเงินอะไร ซึ่งความรู้สึกเราในตอนนั้นคือ เราก็ไม่คิดเหมือนกันว่าเราจะได้ในสิ่งนี้ด้วย เงินก้อนนี้ผมเอาเงินไปให้แม่ พ่อก็กอดผมด้วย ความรู้สึกในตอนนั้นมันดีมากๆ เลย หลังจากนั้นก็มีงานมาตลอด จนถึงทุกวันนี้ คือจากวันนั้นมาก็เดินสายไปที่ต่างๆ เลย
• หลังจากนั้นก็ไปทุกประเทศที่มีวัฒนธรรมการเล่นเกมไปหมด
ไปประเทศต่างๆ เลยครับ ทั้ง บราซิล เยอรมัน แคนาดา ถือว่าเยอะมาก คือมันมี eco system ที่ทุกฝั่งได้ประโยชน์ ไล่มาตั้งแต่แบรนด์เลยว่า ทำยังไงถึงจะได้ให้คนรุ่นใหม่ได้ ประมาณว่า กลุ่มลูกค้าเราเป็นคนรุ่นใหม่เยอะนะ เราน่าจะหาอะไรที่ตรงและเร็วกับคนรุ่นใหม่ นั่นคือ E-Sport พอเขารู้คำตอบแล้ว เขาก้จะไปหาทีมอีเว้นท์และออแกไนซ์ ว่าอยากให้เป็นอย่างงี้ๆ นะ เขาก็รับบรีฟมา แล้วจัดการแข่งเลย เร็ว ชัด แล้วสิ่งที่ต้องการก็คือนักพากย์ ทีมโปรดักชั่น ผู้เข้าแข่งขัน
• ความแตกต่างในการพากย์ลักษณะนี้ กับการพากย์แบบอื่น มันต่างกันยังไง
มันมีความเร็วครับ สามารถโต้ตอบกับคนดูได้ทันที เพราะถ้าเราพูดอะไรผิดเนี่ย เราจะโดนทันทีเลย คือไม่ต้องรอวันรุ่งขึ้นเลยครับ คุณจะโดนในวันนั้นเลย ซึ่งมันหนักกว่าการพากย์แบบธรรมดา ตรงนี้แหละครับ ที่มันพลาดไม่ได้ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่ง ผมคิดว่าน่าจะมีในส่วนของคาแรกเตอร์ของคนพากย์ด้วย คือจริงๆ ผมก็มีการพากย์ในลักษณะนี้มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่มันก็มีคอมเมนท์หนึ่งที่ทำให้เรามีฉุกคิดเหมือนกันว่า ถ้าคุณจะพากย์ด้วยสไตล์อย่างงี้นะ คุณจะไม่ได้พากย์รายการใหญ่ไหนๆ อีกเลย พอผมอ่านจบ มันทำให้เราแอบแกว่งอยู่นะ จนมีคิดว่า หรือเราควรจะเป็นแบบคนอื่นนะ ถึงจะได้เติบโตต่อยอดไป ผมก็เลยลองเปลี่ยนดู ซึ่งการเปลี่ยนนี้มันก็ทำให้เราได้ไปต่อยอดได้จริงๆ แต่ทำได้เดือนเดียว ผมก็รู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ตัวเรา ถึงแม้ว่าจะได้เงินเยอะขึ้น หรือได้ไปรายการที่ใหญ่ขึ้น ท้ายที่สุด เราก็กลับมาพากย์แบบเดิมดู ซึ่งเราก็บอกตัวเองเหมือนกันว่า ไปได้ไกลเท่าที่ตัวเองไปได้แล้วกัน แต่ผมจะไม่ลืมว่าตัวเองเป็นใคร
• อย่างเวลาที่เจอผู้ชมที่มาด่าเราสดๆ หรือคอยมองคุณตลอดเวลา ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยมั้ย
มันไม่ใช่อุปสรรคครับ มันคือเสน่ห์ของการพากย์แบบนี้เลย ผมว่าถ้าเราพูดอะไร หรือ พากย์อะไรที่สนุก คนดูก็จะชมว่าเราพากย์มันว่ะ มันมีส่วนร่วมกันมากกว่าพากย์ฟุตบอลนะ อย่างเวลาที่ทำการพากย์ ภาพก็จะตัดไปที่การแข่งขัน คนดูก็ไม่มีทางที่จะมาดูที่นักพากย์ได้ เราจะเห็นแค่แต่ละหลังพักเบรกแต่ละช่วงแค่นั้นเอง ส่วนการถูกมองนั้น ผมถือว่าสร้างความกดดันระดับหนึ่งครับ อย่างที่บอกว่ามันทั้งเร็วและแรง เพราะว่าคนดูทั่วโลกเขาจะมีพฤติกรรมอย่างงี้ คือถ้าเขาเกลียด เขาจะเกลียดเบอร์แรงเลย แต่ถ้าเขารักเขาจะรักแบบสุดๆ คือเขาจะมีการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าคนไทย
• ด้วยความที่ในโลกออนไลน์เป็นการแสดงออกทางตัวตน มองในมุมหนึ่ง ถือว่าเรากลายเป็นที่รองรับอารมณ์ของพวกเขาด้วยมั้ย
ก็มีบ้างครับ อย่างในทุกวันนี้ เวลาที่ผมพากย์ ก็ยังมีผู้ชมที่ยังมีอารมณ์นั้นมาคอมเมนท์อยู่ว่า ใครวะ โคตรกากเลย เฮงซวย ซึ่งผมก็โดนมาเยอะ แต่เขาก็ทำอะไรผมไม่ได้ (หัวเราะ) แต่ผมก็มีวิธีในการมองส่วนตัวด้วยนะ อย่างผมเองก็มีแอนตีแฟนของตัวเองอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ชอบผมมากๆ เลย เวลาที่ผมไปพากย์ในรายการไหน เขาก็จะพิมม์มาด่าผมตลอดเลย ตอนแรกก็คิดเหมือนกันว่า อะไรกันนักหนานะ เราไปทำอะไรให้
แต่พอเรามีวิธีคิดแบบใหม่ พอเราใส่ใจพวกเขาจนพบว่า เขาเป็นกลุ่มที่ติดตามการพากย์ของผม จริงๆ เขารู้ว่าผมไปพากย์รการไหน กี่โมง แล้วเขาไม่เคยพลาดโชว์ของเราเลย ผมเลยมองว่า อย่างน้อยก็ใช้เวลาด้วยกันละวะ แม้ว่าคุณจะเขามาดูแล้วด่าก็ตาม เราก็แฮปปี้ บางครั้งเราก็มีทักทายบ้างเหมือนกัน ว่าสบายดีนะ ขาประจำนี่ หลังๆ พวกเขาก็เข้ามาดู แต่ด่าน้อยลง ซึ่งถ้าจะให้เปรียบจริงๆ ผมจะเหมือนกับทุเรียน มันจะมีแค่ 2 กลุ่มที่คิดกับทุเรียน คือกลุ่มที่ชอบ กับ ไม่ชอบเลย มันไม่มีคนตรงกลาง แต่อย่างคนที่ชอบนั้น จะไม่มีเลยที่กลับไปไม่ชอบ แต่ถ้าคนที่เริ่มจากไม่ชอบ มันมีโอกาสที่จะทำให้ชอบได้
• เช่นเดียวกัน เรื่องรายได้ คุณก็สามารถอยู่ได้ด้วยการพากย์ลักษณะนี้
ใช่ครับ ผมพอมีรายได้ที่พอเลี้ยงชีพได้ ถือว่าเป็นนักพากย์มืออาชีพอีสปอร์ตไม่กี่คนในเมืองไทย แต่การพากย์แบบนี้มันก็มีการจัดลำดับขั้นด้วย อย่างผมเองจะอยู่ในลำดับ 9 ของโลก และลำดับ 1 ของเอเชีย อย่างการจัดลำดับ คนทั่วไปอาจจะมีการงงว่าเขาจัดลำดับกันยังไง เขาวัดจาก official match ที่เป็นทางการที่เคยพากย์ หมายถึงว่าเป็นการแข่งขันที่มีเงินรางวัลสูงๆ จำนวนที่พากย์แมตช์ใหญ่ เอามาพากย์รวมกัน มันก็เหมือนชั่วโมงบิน เพราะว่านักพากย์มันไม่มี factor อะไรที่ดูว่า คนนี้อันดับดีกว่าคนนี้ เขาวัดจากชั่วโมงบิน นับถึงตอนนี้ ผมน่าจะพากย์ไปประมาณ 900 กว่าแมตช์ น่าจะใกล้ 1 พันแล้ว จากรายการแรก เกือบ 4 ปี
• จากวัฒนธรรมอีสปอร์ตที่คุณไปสัมผัสมาจากที่ต่างๆ ได้เห็นความแตกต่างอะไรบ้าง
ถือว่าไม่ต่างกันมากครับ แต่จะต่างตรงที่สไตล์การเล่นว่าภูมิภาคนี้เล่นแบบไหน อย่างทางฝั่งยุโรปจะมีการเล่นแบบสร้างสรรค์ มีการวางแผนใหม่ๆ ตลอดเวลา จะมีวิธีใหม่ๆ ในการเอาชนะคู่แข่ง และมีไอเทมในเกมใหม่ๆ ส่วนฝั่งเอเชียตะวันออก จะเล่นด้วยความเป็นระเบียบวินัย เล่นด้วยความเคร่งครัด ทุกอย่างต้องเป๊ะตามที่ซ้อมมาตลอด ด้านโซนอาเซียนจะใช้ความรู้สึก และ argrasive ล้วนๆ แบบว่าเน้นโจมตีอย่างเดียว ไม่ต้องคิดเยอะ ภูมิภาคเราจะขึ้นชื่อในเรื่องความก้าวร้าว
• จากการได้เห็นการเล่นที่แตกต่างกัน ในฐานะคนพากย์ คุณได้เห็นอะไรเพิ่มเติมบ้าง
(นิ่งคิด) ถือว่าให้เห็นสะท้อนทางด้านวัฒนธรรม แล้วก็ความก้าวหน้าทางด้านความคิด ผมสังเกตว่าประเทศแถบสแกนิเดเวียเขาจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าแถบเราอยู่ เพราะเขาจะมีวิธีการใหม่มาตลอด ในขณะที่เราเองหลายๆ ครั้งก็เป็นแค่ผู้ตาม คือเราเห็นแผนเขามาแล้วมาปรับใช้ แต่เรายังไม่สามารถสร้าง หรือ invend อะไรขึ้นมาที่มันเกิดมาจากเราก่อน ฉะนั้น เราจะตามเขา 1 ก้าวเสมอ พอเราเป็นอย่างงั้นแล้วเนี่ย วิธีการเล่นก็ต้องสมบูรณ์แบบ แล้วพอเวลาไปเจอทีมที่คิดแผนนี้ขึ้นมา แล้วเราเอาแผนที่เราเอามาจากเขาแล้วเล่นกับเขา แทบไม่ต้องคิดเลยครับว่าผลจะเป็นยังไง เพราะคนคิดแผนเขาก็รู้อยู่แล้วว่าเขาคิดแผนนี้มาเอง ทำไมจะไม่รู้ล่ะ ประมาณนี้ครับ
• การที่คุณเคยบอกว่า การพากย์ลักษณะนี้สามารถต่อยอดไปที่ด้านอื่นได้ ทำไมถึงคิดอย่างงั้น
เพราะว่ามันเกิดกับตัวผมเอง ผมเริ่มจากการพากย์เกมด้วยตัวเอง เริ่มจากเกมแรกจนไปเกมอื่น สักพักก็ได้ไปพากย์ฟุตบอล จนต่อมาก็ได้ไปทำเป็นพิธีกร หรืออย่างไปถ่ายแบบ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะทำได้มั้ย ผมก็ทำได้หมด เพราะว่ามันเริ่มมาจากพื้นฐานในการพากย์ มันเลยต่อยอดไปที่บุคลิก การแต่งกาย มันคือพื้นฐานที่สามารถเอาไปต่อได้เยอะเลยครับ ทุกวันนี้ผมเลยอยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ ลองเข้ามาฝึกพากย์อีสปอร์ตดู เพราะว่าแม้ว่าเราจะไม่มีอันดับโลกยังไง แต่เราก็อาจจะได้ต่อยอดไปด้านอื่นได้ น้องอาจจะได้บุคลิกภาพนะ หรือน้องสามารถพูดพรีเซนต์ได้นะ ผมว่ามีแต่ได้กับได้
• ณ ตอนนี้เป็นนักพากย์อีสปอร์ตมืออาชีพแล้ว ปัจจัยอะไรที่คิดว่าทำให้เราสามารถอยู่ได้
ผมคิดว่าน่าจะเป็นในเรื่องของความพยายาม แล้วก็ความเชื่อ ในความพยายามนั้นผมเริ่มมาจากที่เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แล้วเราก็พยายามด้วยความงูๆ ปลาๆ มาเรื่อยๆ จนผมมาถึงตรงนี้ ความเชื่อก็จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในระยะต่อมาว่าเราไปได้ไกลมากแค่ไหน ถ้าคุณเชื่อในตัวเองมากพอ มันก็จะไม่หมดในความพยายาม แต่ถ้าคุณยังไม่เชื่อมั่น มันก็อาจจะทำให้เราทั้งล้าและท้อได้ แล้วก็กำลังใจจากคนรอบข้างก็มีผลมาก ผมก็พยายามที่จะให้กำลังใจน้องๆ รุ่นใหม่ แล้วก็หยิบยื่นโอกาสให้เขา
• คุณมองนักพากย์อีสปอร์ตไทยสายเลือดใหม่ยังไงบ้าง
ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีเสมอ ผมยังรอน้องรุ่นใหม่อยู่ ผมว่าบ้านเรามีนักพากย์อีสปอร์ตหลายท่านมาก แล้วก็เก่งด้วย เพียงแต่ว่าผมอยากให้มีบุคลากรมากขึ้น แล้วผมอยากมีส่วนให้น้องแล้วมีโอกาสในการพากย์มากขึ้น แล้วผมก็ยังคงรอให้มีนักพากย์ภาษาอังกฤษได้ เพราะว่าตั้งแต่ผมทำมา 5 ปีครึ่งแล้ว ยังมีแค่ผมคนเดียวที่พากย์อังกฤษได้ แล้วก็จะยังมีคำถามต่อมาว่า อย่างงี้ไม่กลัวน้องรุ่นใหม่มาแย่งงานเหรอ ผมคิดว่ามันไม่มีทางที่จะเป็นอย่างงั้นได้ เพราะคนเราทุกคนไม่เหมือนกัน มันไม่มีคนที่เอาคาแรกเตอร์แบบผม แล้วเอางานจากผมไปได้ เพราะฉะนั้น ผู้จัดเขาจะเลือกใคร เขาก็เลือกจากคาแรกเตอร์ ว่ารายการเขาอยากได้คาแรกเตอร์แบบไหน ผมมองว่าไม่ใช่การแย่งงาน
อย่างเด็กรุ่นใหม่มันต้องมีความพยายาม แต่ผมเข้าใจเขานะ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างตอนที่ผมเริ่มใหม่ก็มีความลำบากเหมือนกัน อย่างที่บอกไป แต่พอมาเป็นภาษาอังกฤษแล้ว คู่ต่อสู้มันเยอะมาก คือทั่วโลกเลย ผมบอกเลยว่า พอเป็นระดับโลก คอมเมนเตเตอร์เยอะมาก มันเลยเป็นการแข่งขันที่สูงมาก ก็ค่อนข้างเครียดนิดหนึ่ง น้องรุ่นใหม่อาจจะใช้เวลาพอสมควร กว่าที่จะเอาตัวเองไปจุดนั้น แต่อย่างที่บอก ถ้าผมได้มีโอกาสที่ได้เลือกนักพากย์ก็จะพยายามดูน้องๆ รุ่นใหม่ที่จะไปพากย์
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช