แม้ว่าโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ที่ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดทำเมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จะมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ทั้งจากภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าภาครัฐยังต้องคอยแก้ไขอยู่ นั่นคือ ‘ภาคการศึกษา’ ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญที่ถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ของภาครัฐที่จะต้องแก้ไขให้ได้ เพื่อความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน

สถานการณ์ความไม่สงบ
ส่งผลต่อตัวผู้เรียนในพื้นที่
หากพูดถึงในเรื่องการศึกษาในพื้นที่จังหวัดปัตตานีแล้ว ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบนี่เอง ที่ทำให้การเรียนในพื้นที่นั้นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.) ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้เองที่คอยฉุดรั้งถึงเรื่องคุณภาพของการศึกษาในพื้นที่ และทำให้กลายเป็นโจทย์หลักที่ต้องแก้ไขในภาพรวม
“สำหรับประเด็นแรกที่จะพูดคุยกันในเรื่องการศึกษา ทางฝ่ายการศึกษาโดยการบูรณาการของกระทรวงศึกษาธิการที่มีส่วนร่วมในการศึกษาไทยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้วางแนวการทำงานอย่างไรบ้าง แล้วก็สามารถไปบูรณาการต่อไปยังเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการมั่นคงได้ ดูปริมาณงานก่อนในชายแดนภาคใต้ของเรานี้นะครับ
เรามีสถานศึกษาทั้งสิ้น 5,747 แห่ง มีผู้เรียน 946,746 คน มีผู้สอน 75,744 คน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ก็ตกอยู่ในราว 1,028,237 คน นี่คือภาระงานที่รัฐบาลได้มอบหมายงานให้ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้เป็นโหมดบริหารแล้วก็ประสานร่วมกับโรงเรียนทั้งหมดที่ว่ามา อย่างโรงเรียนตาดีกาที่อยู่ที่นี่ทั้งหมด 2,103 แห่ง ถือว่าเยอะมาก แล้วก็มีผู้เรียนที่อยู่ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดประมาณ 204,550 คน มีผู้สอนอยู่ประมาณ 14,343 คน

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การทำงานให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องแล้วตัดเป็นตัวเลขกลมๆ จะต้องวางยุทธศาสตร์กัน ผมจะฉายภาพยุทธศาสตร์ง่ายๆ คือ เราน้อมนำงานที่เป็นพระบรมราโชวาท ว่างานการศึกษาเป็นงานที่สำคัญที่สุด นำมาซึ่งความเจริญ เราจะยึดหลักตรงนี้ เสร็จแล้วในการจัดตั้งหน่วยประสาน 1 หน่วย เพื่อทำหน้าที่เป็นกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าเพื่อที่จะดูแล จากนั้นก็น้อมนำถึงการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ของพระองค์ท่านมาใช้เป็นหลัก
ถ้ามาดูภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลักจะเห็นว่า เรามียุทธศาสตร์และเป้าหมายที่ชัดเจนว่านโยบาย Education for All ซึ่งเป็นการศึกษาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และที่นี่จะมีความเป็นพิเศษก็คือว่า จะต้องน้อมนำในเรื่องการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาใช้ โดยถ้าไม่มีความไว้วางใจก็จะไม่มีความสงบ พอไม่มีความสงบ สมาธิในการเรียนและเวลาเรียนก็จะน้อยลงซึ่งก็จะเป็นปัญหาของที่นี่
แล้วปัญหาที่ว่านี้ 1. คือเรื่องของสถานการณ์และความสงบ เป็นยาขมหม้อใหญ่ที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ 2. เรื่องยาเสพติด เพราะว่าเรามีเยาวชนในพื้นที่กว่า 1 ล้านคน ย่อมที่จะมีสิ่งเหล่านี้ผ่านเข้ามา เราก็ต้องเฝ้าระวังป้องกัน คัดกรองกันอย่างเต็มที่ ส่วนปัญหาที่ 3 คือ เรื่องเรียน ปัญหาของคุณภาพของผู้เรียนและผลการเรียน เราจะเห็นว่าเวลาที่มีการจัดอันดับในส่วนของการศึกษาโดยภาพรวมที่ออกมาแล้ว ของเราทั้งภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ จะสู้ส่วนกลางไม่ได้ นี่คือ 3 ปัญหาใหญ่ที่เราต้องเข้าใจในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา แล้วก็ทำงานกันอย่างแน่นแฟ้นในทุกส่วน ทุกโรงเรียนทุกรูปแบบ”

ปรับเปลี่ยนแนวคิด
เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน
สำหรับปัจจัยหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาหลักของภาครวม คือ แนวความคิดที่แตกต่างที่เผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่น นับว่าเป็นปัญหาอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่จะต้องทลายกำแพงไปให้ได้ ตรงนี้ พล.ต.จตุพร กลัมพสุต ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี (ผบ.ฉก.ปัตตานี) ได้เปิดเผยในภาครวมว่ายังมีความกังวลอยู่พอสมควร แต่จะต้องให้แนวคิดที่แตกต่างหมดลงไปได้ในสักวัน
“ในมิติของความมั่นคงโดยเฉพาะในปัตตานี เรามองที่การจัดลำดับความเร่งด่วนของงาน นั่นคือการจัดการในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ 1 ก่อน การควบคุมพื้นที่ เนื่องจากรักษาสถานการณ์ไว้ให้ได้ ใช้ในการก่อเหตุ ถ้าเรามาไล่จับ หรือทำร้ายอย่างเดียว มันไม่ทันและไม่พอ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าในด้านการพัฒนาการของเราทำให้เราสามารถจับกุมได้เร็วขึ้น
อย่างกรณีของระเบิด ภายใน 1 สัปดาห์เราสามารถจับได้แล้ว และในอีกสัปดาห์ต่อมา เราสามารถจับได้ทั้งขบวนการจนสามารถดำเนินคดี จากเมื่อก่อนที่ใช้เวลานานมากกว่าที่จะจับคนร้ายได้ นี่คือความร่วมมือของประชาชน ถามว่าเรื่องมาจากสาเหตุใด ก็เกิดมาจากความเข้าใจของประชาชนว่าเข้าใจในเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าใจในเรื่องของการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทีนี้สิ่งที่เรายังกังวลอยู่ก็คือจำนวนมันไม่ได้ลดลง
ใน 14 ปีที่เราดำเนินการทางกฎหมายมา เราดำเนินคดีต่อผู้ก่อเหตุไปประมาณ 500 เราวิสามัญฯ ไป 200 ส่วนที่เหลือดำเนินคดี แต่มันก็จะมีหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ทีนี้ประเด็นที่เรากังวลก็คือ หน้าใหม่ๆ มันเกิดมาจากการสร้างขึ้นมาใหม่ ตอนนี้ที่เราศึกษามีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความคิดความเชื่อเดิม กับเรื่องที่เรากังวลมากที่สุด คือ การเข้ามาของแนวคิดรุนแรงที่มาจากข้างนอก จากสื่อในออนไลน์

ฉะนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชนของเราเป็นเรื่องสำคัญครับ การเข้ายึดฐานปฏิบัติการที่บ้านไอกิส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 เรายึดโทรศัพท์มือถือได้ 24 เครื่อง จาก 10 เครื่องในจำนวนนี้เราพบว่ามีการโหลดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ในนั้นมีเรื่องของการแพร่กระจายแนวคิดของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม อันนี้เรากังวลว่าเราจะสร้างคุ้มกันเยาวชนอย่างไรเพื่อไม่ให้การเข้ามาของสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของความมั่นคงทั้งปัจจุบันและอนาคต
สิ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า พยายามแก้ปัญหาก็คือ 1. ให้ความรู้อย่างเพียงพอ คือ เขาสามารถจะแยกแยะว่าอะไรถูก-ผิด ควร-ไม่ควร หรือไม่ใช่ มันมีเส้นบางๆ ระหว่างความเชื่อกับความจริง คือสรุปว่าเราต้องการให้เด็กของเรามีความรู้และมีคุณธรรม การดำเนินการในการเรียนทางศาสนา คนในท้องถิ่นเชื่อว่ามีความจำเป็น แต่ขณะเดียวกัน ความรู้ทางศาสนาเหล่านี้กลับถูกใช้ประโยชน์ในเรื่องของความรุนแรง อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงกำลังมองหา
หรือวิธีการใดๆ หรือกระบวนการใดๆ ที่เราสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนของเรา ที่เขาเปิดคลิปในโลกออนไลน์ อะไรใช่ อะไรควร หรืออะไรที่เสพอย่างระมัดระวัง เพราะว่าปัจจุบันนี้ในสิ่งที่เราพบ หลักฐานที่เราพบ จากการดำเนินการของเราทั้งในเรื่องของการติดตามในสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลาย การติดตามจากเอกสารหลักฐาน การซักทางผู้ก่อเหตุรุนแรง และหลักฐานที่ได้จากการติดตามจับกุม เราค่อนข้างกังวล ค่อนข้างกังวลในความรู้ที่เด็กจะต้องมี
ในขณะเดียวกัน เรามองไปอีก 10 ปีข้างหน้า เราทำงานร่วมกันกับเลขาธิการส่วนหน้า เรียกร้องในเรื่องของการปรับโครงสร้างทางการศึกษา ให้มีวิชาการ วิชาสามัญเพิ่มมากขึ้น แล้วก็ให้มีครูที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าในสิ่งที่เราพบในขณะนี้คือครูที่ไม่มีวุฒิ แล้วเข้ามาถ่ายทอดแนวความคิดที่ทำให้เยาวชนของเรานั้น มองในเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่เขาควรทำ นี่คือปัญหา ทำเพื่ออะไรไม่ใช่ปัญหา จะทำอย่างไรว่าความศรัทธาควรจะเป็นคนดี แต่ความศรัทธาเพื่อศาสนา อันนี้คืออันตราย
ฉะนั้น เรามองไปอีก 10 ปี ในเยาวชนล้านกว่าคนตามที่คุณศรีชัยบอกที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คำถามจะสะท้อนกลับ ในเมื่อประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอ ไปทำงานอะไรก็ไม่ได้ เราพัฒนาในเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อีก 3 ปีข้างหน้าเราต้องการแรงงานอีกประมาณ 3 หมื่นกว่าคน ทิศทางของเยาวชนของเราที่จะมีคุณวุฒิ-คุณสมบัติเข้าไปในรายงานเหล่านั้น เพียงพอหรือไม่ และต้องมีฝีมือด้วย ถ้าไม่เพียงพอก็จำเป็นจะต้องนำเข้าแรงงานจากข้างนอกซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของแรงงานแน่นอน อันนี้ผมก็หารือกันแล้วสรุปว่าให้เร่งรัดในการเรียนภาษาไทย เร่งรัดในการเรียนอาชีวะเพื่อให้ประชาชนมีงานทำ เมื่อพวกเขามีงานแล้วก็สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วเราเชื่อว่ามีความรู้ มีอาชีพ มีรายได้ ก็จะมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะแยกแยะว่าเรื่องใดที่เขาจะทำ อันนี้คือเรื่องที่เรียนให้ทราบว่าเรากำลังกังวลในเรื่องของสื่อ สังคมที่เข้ามาแล้วก็แทรกในเยาวชนของเรา เราจะสร้างภูมิคุ้มกันสิ่งเหล่านี้ยังไง นี่คือสิ่งที่เราจะต้องทำงานต่อไป”

หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข
สร้างกิจกรรมลดความระแวง
“สิ่งหนึ่งที่ทางภาครัฐได้ดำเนินการในพื้นที่ นั่นคือการตั้ง หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างกิจกรรมให้คนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะเป้าหมายไปที่โรงเรียนต่างๆ ได้ร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งทาง พ.อ.อิศเรศ พุ่มมาก ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจสันติสุข (ผบ.ฉก.สันติสุข) ก็ได้กล่าวโดยเบื้องต้นว่าจะเสริมสร้างให้เยาวชนในพื้นที่ได้ทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้อง ลดอคติ และหันมาร่วมมือกับทางภาครัฐมากยิ่งขึ้น และได้เข้าใจถึงหลักการทางศาสนาอย่างถูกต้องและแท้จริง
ในส่วนของหน่วยเฉพาะกิจสันติสุขเองก็ขึ้นตรงต่อกองบังคับภาค 4 ส่วนหน้า เป็นหน่วยหนึ่งที่มีลักษณะของการต่อสู้ทางด้านความคิด คืองานด้านการเมือง หมายความว่าเราพยายามสร้างความคิดและความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมายที่เราเข้าไปทำมีทัศนคติในเชิงบวก ยอมรับในเรื่องที่รัฐเข้าไปในพื้นที่ ผมว่ามันเป็นงานยุทธศาสตร์ที่ต้องทำค่อนข้างยาวนาน โดยในส่วนของภารกิจเองไม่ใช่แค่เรื่องเข้าสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว เราก็ยังทำเรื่องของการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้านเป้าหมายที่หน่วยรับผิดชอบ มีอยู่ 14 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่เสริมสร้างความมั่นคง ในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการก่อเหตุรุนแรง แล้วก็หมู่บ้านรอบสถานศึกษาที่เราเข้าไปดำเนินการ
ในส่วนหนึ่งของอีกหน่วยหนึ่ง คือ เรามีสถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ เรื่องของการปฏิบัติการจิตวิทยาประชาสัมพันธ์ให้แก่สื่อให้แก่มวลชนในพื้นที่ได้รับทราบเกี่ยวกับงานในส่วนของงานที่มีทั้ง 3 หน่วย มีชุดควบคุม 951, 93 และ 94 แต่ละกลุ่มก็รับผิดชอบในแต่ละจังหวัด แล้วก็กระจายกันรับผิดชอบ ผมโฟกัสไปที่โรงเรียนนะครับ คือทั้งปอเนาะ หรือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ที่ กอ.รมน.รับผิดชอบ 60 โรง และเพิ่มเติมจาก ศอ.บต.อีก 30 โรง รวมเป็น 90 โรง ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว โรงเรียนในพื้นที่นี่โดยเฉพาะสถาบันปอเนาะ ผมว่าไม่ต่ำกว่า 400-500 แห่ง แล้วก็โรงเรียนสอนศาสนามีประมาณ 300-400 แห่ง แต่เราก็รับผิดชอบแค่นิดหน่อยเท่านั้นเอง ถือว่าค่อนข้างจะมีความคิดเห็นที่ต่างกัน ทางเราก็คอยดำเนินการ ในการดำเนินการก็จะมีแผนงานเข้าไป ในส่วนที่เราทำก็จะมีในแผนงานเรื่องการศึกษา เรื่องของแผนงานในการมีส่วนร่วมของการขยายโอกาสในสถานศึกษา การที่เราเข้าไปในสถานศึกษา อาจจะเห็นว่าในหลายๆ โรงเรียนก็ยังมีการขาดโอกาสอยู่

สำหรับกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนที่เราเข้าไปดำเนินการ ผมขออนุญาตแบ่งกลุ่มเป้าหมายแบบชัดๆ นะครับ กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน คือ มี บาบอ เจ้าของโรงเรียน ผู้จัดการ และ ผอ. กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มครูสายสามัญ และอุสตาซ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มนักเรียน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ของโรงเรียน จะมีการหมุนเวียนตามห้วงเวลา ในส่วนของสองกลุ่มแรก ค่อนข้างอยู่กับที่และนิ่ง ในการดำเนินการเราทำทั้ง 3 กลุ่มในลักษณะของความร่วมมือในการทำ
ในส่วนกิจกรรม เราต้องเรียนให้ทราบว่าจะเข้าไปพัฒนาสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี 2556 ที่ทางหน่วยตั้งขึ้นมา และดูแลเรื่องดังกล่าว นับถึงตอนนี้ก็ 5 ปีแล้ว ตอนที่เข้าไปแรกๆ นั้นก็มีการปรากฏในเรื่องไม่ต้อนรับ และตอบรับในเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไป แต่ในตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ดีขึ้นตามลำดับ ดีขึ้นเพราะว่าเราพยายามที่จะสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบดำเนินการผ่านทางกิจกรรม เช่น เราเข้าไปในกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยใช้ลักษณะของกีฬา โดยสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือการมอบอุปกรณ์ทั้งตู้ยา หรือกีฬา ให้มีความเข้าใจในเรื่องความคิด เมื่อเราเข้าไปแล้วเราก็จะมีในเรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
หน่วยสันติสุขไม่ใช่แค่ทำงานหน่วยงาน แต่ก็มีหลายหน่วยงานที่เข้าไป ผมเชื่อมั่นว่าองค์กรที่เข้าไปคือตัวแทนของรัฐที่เข้าไปสู่โรงเรียน เรามีหลายๆ กลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มสานฝัน กลุ่มลูกเหรียง กลุ่มกิจกรรมคลื่นลูกใหม่ชายแดนใต้ เป็นกลุ่มที่เราฝึกและดำเนินการ กลุ่มนี้ก็เป็นเหมือนตัวแทนขยายผลความเข้าใจความรู้สึกที่ดีของน้องๆ ต่าง โดยใช้สื่อ การพบปะ และการประชาสัมพันธ์ แล้วก็รูปแบบที่เราเข้าไปทำก็มีหลายๆ ส่วนด้วยกัน เราทำงานกับ ศอ.บต. เช่น กิจกรรมโครงการคำสอนพ่อสู่การเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งโครงการนี้เราทำงานในลักษณะเชิญผู้บริหารของโรงเรียน และครูอุซตาด เราทำมา 4-5 รุ่น ซึ่งเราพยายามทำความเข้าใจที่ดี
เช่นเดียวกัน กลุ่มเด็กและเยาวชน เราก็เข้าไปทำ บางครั้งเราอาจจะได้รับการตอบรับที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แล้ว ทุกอย่างค่อนข้างที่จะไปได้ด้วยดี และก็เด็กเยาวชนให้ความร่วมมือ เราสังเกตจากกรที่เราเข้าไปจากตัวชี้วัดว่าค่อนข้างชัดเจนที่มีความพึงพอใจ ท่าทีจากทัศนคติที่มีสองกลุ่ม คือ กลุ่มครู และนักเรียน ซึ่งผลตอบรับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หมายถึงว่าผลตอบรับในเรื่องของกิจกรรม และจากก่อนหน้านี้ที่ไม่มีรอยยิ้มเลย ขอถ่ายรูปก็หันหลังกลับ คือแจกของก็ทิ้ง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่มากขึ้น เช่น กอดคอคุยกัน ถ่ายรูปร่วมกัน มีโครงการเปิดโลกทัศน์ ทำให้เด็กได้เขียนข้อมูลในสิ่งที่ถูกต้อง โดยกิจกรรมที่เข้าไปจัดในแต่ละพื้นที่ก็ไม่ต่ำกว่า 50 กิจกรรม ซึ่งเราก็พยายามสร้างความเข้าใจและสร้างความรู้สึกที่ดี และให้รู้หลักคิดในเรื่องศาสนาที่ถูกต้อง ผมยืนยันว่าในปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในเรื่องของการสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่ ก็ยังมีการประเมินมา เรียกว่าเป็นรายบุคคลดีกว่าที่เป็นส่วนน้อย แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นสิ่งที่ดี
ฉะนั้น ในการสร้างความเข้าใจในหลักศาสนา ผมยืนยันว่าในพื้นที่นั้นเน้นในเรื่องศาสนาเป็นหลักในการดำรงชีวิต เมื่อเราให้ศาสนาที่ถูกต้องแล้ว รวมถึงในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา ต้องให้ศึกษาเหมือนกันครับ ไม่ใช่ว่ากีดกัน ต้องให้น้องๆ เข้าใจในเรื่องดังกล่าว น้องๆ ก็จะคลายในเรื่องที่ไม่เข้าใจออกมา ความจริงเหนือความจริง ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง และในเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปดำเนินการ แล้วสิ่งหนึ่งที่ต้องมีนั้น คือ ความมั่นคงในเรื่องความคิด เราจะต้องสร้างความคิกให้กับนักเรียนได้คิดบวกก่อน ไม่ใช่แค่เรามุ่งเน้นในเรื่องการศึกษาและศาสนาที่ให้เคร่งอย่างเดียว แต่ให้เน้นเรื่องอุดมการณ์ เราต้องให้น้องๆ คิดว่า เขาคือคนไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ ให้เกิดความภาคภูมิใจ
ที่ทุกหน่วยงานพูดตรงกันว่าตรงนี้มีมิติที่ดีแล้ว ในปีต่อไปเราจะมีลักษณะของการสร้างความมั่นคงในกิจกรรม เรื่องของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรามีกิจกรรมอาสา เรามีกิจกรรมการเรียน การเคารพธงชาติ หลายๆ โรงเรียนที่เข้าไปครั้งแรก ร้องเพลงชาติไม่ได้เลยนะ น้องก็ร้องผิด ต้องใช้เทป แต่ปัจจุบันนี้ก็ดีขึ้น หมายความว่าร้องเพลงชาติได้ชัดขึ้น เพราะฉะนั้นเป็นอุดมการณ์ที่ต้องปลูกฝัง รวมถึงการมีรอยยิ้มกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้เข้าไป การยกมือไหว้ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ชุดสันติสุขที่เข้าไปในโรงเรียน ก็พยายามที่จะบอกน้องๆ และครูอุสตาซว่ามันเป็นประเพณี ไม่ผิดหลักศาสนา การยกมือไหว้เป็นสิ่งที่ดี และเป็นลักษณะในการทักทาย เราจะเห็นว่าในหลายโรงเรียนก็ดีขึ้น สรุปคือ ในการทำงานผมว่าเป็นยุทธศาสตร์ในเรื่องความคิดที่ดี เพราะเด็กจะต้องเติบโตไปสถาบันการศึกษา ถ้าเขามีความคิดดี อุดมการณ์ดี เขาจะต้องเป็นคนดีแน่นอน เพียงแต่ว่าเราต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ก็ค่อนข้างใช้เวลานิดหนึ่งครับ”

6 ยุทธศาสตร์หลัก
เพื่อการศึกษาในพื้นที่
จากความตั้งใจในเรื่องของการยกระดับในเรื่องการศึกษาในพื้นที่นี่เอง ทำให้ทาง ผอ. ศปบ.ได้เปิดเผยถึง 6 ยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียน ให้สอดคล้องและทัดเทียมเท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศไทย โดยมีความคาดหวังว่าเด็กนักเรียนจะมีความภาคภูมิใจทั้งในพื้นที่และมีการพัฒนาทางการศึกษาไปพร้อมๆ กัน
“ในการดำเนินการในยุทธศาสตร์ 6 ด้านนะครับ เพื่อให้เห็นว่าปัญหาที่เราเผชิญอยู่และแนวทางที่เรากำลังแก้นั้นจะไปในทิศทางอย่างไร เรื่องของ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง นี่คือการดำเนินการที่ตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรเราจะธำรงไว้ซึ่งสันติสุขและความมั่นคง โดยเฉพาะความเข้าใจในพื้นที่ที่พอเข้ามาศึกษาแล้วสามารถที่จะเข้าใจกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความคิดเห็นที่แตกต่าง เขาก็จะได้พยายามให้เขาเป็นเพื่อนกัน กิจกรรมที่เรานำมาใช้ในยุทธศาสตร์นี้ คือ กิจกรรมลูกเสือ ซึ่งท่าน ฉก.ปัตตานี ได้มีส่วนผลักดันส่วนช่วยในการเตรียมงาน ครั้งนี้เป็นนวัตกรรมในการจัดงานลูกเสือครั้งแรกที่ปัตตานี เพราะจัดมา 13 ครั้ง ยังไม่เคยจัดที่นี่เลย เพราะฉะนั้น การจัดครั้งนี้ในรอบ 13 ปี ก็จะมีลูกเสือจากประเทศอาเซียนมาร่วมงาน นั้นก็จะได้ผลดีในเรื่องของเด็กได้เพื่อนใหม่ และรู้จักในเรื่องป่าเขาลำเนาไพร รักในสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของตนเอง อันนี้ก็เป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคง การให้โอกาสเด็กได้บำเพ็ญประโยชน์ เราเชื่อว่าจะทำให้เขารักกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 หลายท่านเห็นว่า เรียนแล้วทำอะไรล่ะ เรียนแล้วมีงานทำ ฉะนั้น ข้อนี้ให้ผู้เรียนที่อยู่ในพื้นที่ จบแล้วมีงานทำ ปีนี้เป็นปีแรกที่ทำโครงการประชารัฐ เอานักเรียนมาพักนอน โดยรุ่นแรกจะมีประมาณ 3,000 กว่าคน ในระดับประถมถึงมัธยมมาพักนอน เพื่ออะไรครับ เพื่อมาปลูกฝังอัธยาศัยที่ดี ปลูกฝังการเรียนรู้อยู่ร่วมกัน การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม แท้ที่จริงแล้วความต่าง สามารถอยู่ด้วยกันได้กับ 4 วิทยาลัยอาชีวศึกษา ก็เอาเข้ามากินนอนในวิทยาลัยและให้ทุนการศึกษาด้วย โดยทั้ง 4 วิทยาลัยนี้ก็จะผลิตนักศึกษาทางด้าน ปวช.-ปวส. เพราะฉะนั้นจะเป็นมิติใหม่ของการทำงานในชายแดนใต้ที่ว่าเด็กที่ไม่มีอาชีพ ก็จะได้มาเรียนทางด้านนี้
ไปที่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเด็กตั้งแต่ชั้นประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ขึ้นมหาวิทยาลัย ที่นี่มีเด็กที่ตกหล่นและหายไปจากระบบการศึกษาระหว่างทางประมาณ 45,000 คน ถามว่าเด็กกลุ่มนี้ไปทำอะไร ซึ่งเป็นข้อห่วงใยที่ฝ่ายจัดการศึกษาห่วงใยมาก ก็พยายามที่จะให้เด็กคืนสู่ระบบการศึกษา จากทั้งการทำงานของ กศน. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา ขณะนี้นำเด็กเข้ามาอยุ่ในระบบการศึกษาได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคน ยังขาดอีกครึ่งหนึ่ง เราก็มีการติดตามว่าเด็กกลุ่มนี้ยังอยู่ในพื้นที่หรือไม่ ถ้ายังอยู่เราจะจัดการอย่างไรต่อ เพราะฉะนั้น เราจะให้โอกาสเด็กในทุกช่วงวัย

“ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ ความเสมอภาคทางการศึกษา เราจะไม่ทิ้งใครไว่ด้านหลัง ไม่ว่าจะเป็นสายอาชีพหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสายการศึกษานอกระบบ ซึ่งมีทาง กศน.ดูแลอยู่ เด็กสามารถสมัครกลับเข้ามาเรียนในระบบได้ตลอดเวลา เรียกว่าใช้ระบบ walk in เข้ามาเลย มาที่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ข้อนี้เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม ในส่วนของภูมิรัฐศาสตร์ ที่นี่ถือว่าสมบูรณ์ครับ จากการจัดอันดับเราไม่มีปัญหาในเรื่องการร่อยหรอหรือถูกทำลาย แต่จะมีเพียงว่าเราจะทำยังไงให้เด็กรักในมาตุภูมิ รักในสิ่งแวดล้อม อย่างเบตงก็มีไก่เบตงที่ทางอาชีวะขอให้มีการส่งเสริม มีทุเรียนมูวาฮินที่จะออกผลในอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็อร่อยไม่แพ้หมอนทอง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กสนใจและภาคภูมิใจ มีขนมที่เป็นพื้นถิ่น คือ ขนมตุมปะ ที่เป็นข้าวต้มลูกโยนชนิดหนึ่ง แต่ห่อด้วยใบกะพ้อ ข้างในจะมีธัญพืชชนิดต่างๆ ใส่เข้าไป ใส่คู่กับข้าวเหนียว เป็นต้น
ไปที่ยุทธศาสตร์สุดท้าย เป็นการปรับสมดุลราชการ ขณะนี้เรากำลังทำ KPI คือ ให้แต่ละที่ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่ เราจะเห็นว่าในตอนแรกที่เราโปรยปัญหาว่าเรามีปัญหาในเรื่องการเรียน ก็เพราะว่า คุณภาพการศึกษาของเรายังอยู่ในลำดับท้ายๆ เพราะฉะนั้น เราจะมีการรีบูตครูใหม่ให้มีความเข้าใจในมิติการสอนแบบใหม่ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมแบบใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของภาษาไทย ปีนี้เป็นปีแรกที่เราจะสแกนการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน จากนั้นก็จะนำผลงานภาษาไทยที่ดีเด่นของโรงเรียน ทำเป็นศึกษานิเทศก์ โดยตัวครูเข้าไปใกล้ชิดกับนักเรียนเพื่อที่จะใกล้ชิดกับนักเรียนได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นห้องสมุดซึ่งเป็นยุคดิจิตอล เราพยายามทำห้องสมุดที่มีชีวิต นำภาษาไทยไปบรรจุในแอปห้องสมุดที่เป็นห้องสมุดจริงและห้องสมุดเสมือนจริง ทำภาษาไทยให้สื่อสารกันได้ ไม่แพ้ภาษาถิ่น
นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่เราเป็นห่วงและจะดำเนินการในปีหน้าก็คือ ตัววาทกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาทางไอที เราจะต้องให้ภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กนักเรียนวิเคราะห์วาทกรรมได้ เพื่อให้เด็กแยกแยะในบางอย่างที่ทำให้เกิดความแตกแยก เข้าใจผิด หรือบางอย่างที่แสดงในเชิงสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ซ่อนตัวอยู่ในชุมชนสังคมต่างๆ เราจะค้นหาและเอามาวางไว้บนโต๊ะ และให้เรียนรู้ อยู่ร่วมกัน และสามารถปรับความเข้าใจกัน เมื่อมีความไว้วางใจกันได้แล้ว ก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข แต่ที่ทุกวันนี้ที่เกิดความขัดแย้งกันเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน จึงทำให้ข้อเท็จจริงไม่มี พอไม่มีสิ่งนี้ก็จะทำให้คนจ้องจับผิดและเกิดความระแวง
ฉะนั้น เราจะเห็นว่าสิ่งที่ฝ่ายจัดการศึกษาได้จัด คือ การจัดระเบียบความคิด ให้นักเรียนรู้เท่าทันสื่อไอทีสมัยใหม่ ซึ่งปีหน้าก็มีดครงการที่ร่วมกับทางฝ่ายความมั่นคงหลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกันทั้งหมด 20 รุ่น ซึ่งทาง สสบ., จชต.จะร่วมดำเนินการด้วย ก็จะทำให้เด็กเท่าทันกับสื่อชนิดใหม่ หรือมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เชิงบวกในพื้นที่ มากกว่าการเข้าไปในความรู้สึกเชิงลบ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น”
สถานการณ์ความไม่สงบ
ส่งผลต่อตัวผู้เรียนในพื้นที่
หากพูดถึงในเรื่องการศึกษาในพื้นที่จังหวัดปัตตานีแล้ว ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบนี่เอง ที่ทำให้การเรียนในพื้นที่นั้นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.) ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้เองที่คอยฉุดรั้งถึงเรื่องคุณภาพของการศึกษาในพื้นที่ และทำให้กลายเป็นโจทย์หลักที่ต้องแก้ไขในภาพรวม
“สำหรับประเด็นแรกที่จะพูดคุยกันในเรื่องการศึกษา ทางฝ่ายการศึกษาโดยการบูรณาการของกระทรวงศึกษาธิการที่มีส่วนร่วมในการศึกษาไทยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้วางแนวการทำงานอย่างไรบ้าง แล้วก็สามารถไปบูรณาการต่อไปยังเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการมั่นคงได้ ดูปริมาณงานก่อนในชายแดนภาคใต้ของเรานี้นะครับ
เรามีสถานศึกษาทั้งสิ้น 5,747 แห่ง มีผู้เรียน 946,746 คน มีผู้สอน 75,744 คน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ก็ตกอยู่ในราว 1,028,237 คน นี่คือภาระงานที่รัฐบาลได้มอบหมายงานให้ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้เป็นโหมดบริหารแล้วก็ประสานร่วมกับโรงเรียนทั้งหมดที่ว่ามา อย่างโรงเรียนตาดีกาที่อยู่ที่นี่ทั้งหมด 2,103 แห่ง ถือว่าเยอะมาก แล้วก็มีผู้เรียนที่อยู่ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดประมาณ 204,550 คน มีผู้สอนอยู่ประมาณ 14,343 คน
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การทำงานให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องแล้วตัดเป็นตัวเลขกลมๆ จะต้องวางยุทธศาสตร์กัน ผมจะฉายภาพยุทธศาสตร์ง่ายๆ คือ เราน้อมนำงานที่เป็นพระบรมราโชวาท ว่างานการศึกษาเป็นงานที่สำคัญที่สุด นำมาซึ่งความเจริญ เราจะยึดหลักตรงนี้ เสร็จแล้วในการจัดตั้งหน่วยประสาน 1 หน่วย เพื่อทำหน้าที่เป็นกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าเพื่อที่จะดูแล จากนั้นก็น้อมนำถึงการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ของพระองค์ท่านมาใช้เป็นหลัก
ถ้ามาดูภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลักจะเห็นว่า เรามียุทธศาสตร์และเป้าหมายที่ชัดเจนว่านโยบาย Education for All ซึ่งเป็นการศึกษาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และที่นี่จะมีความเป็นพิเศษก็คือว่า จะต้องน้อมนำในเรื่องการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาใช้ โดยถ้าไม่มีความไว้วางใจก็จะไม่มีความสงบ พอไม่มีความสงบ สมาธิในการเรียนและเวลาเรียนก็จะน้อยลงซึ่งก็จะเป็นปัญหาของที่นี่
แล้วปัญหาที่ว่านี้ 1. คือเรื่องของสถานการณ์และความสงบ เป็นยาขมหม้อใหญ่ที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ 2. เรื่องยาเสพติด เพราะว่าเรามีเยาวชนในพื้นที่กว่า 1 ล้านคน ย่อมที่จะมีสิ่งเหล่านี้ผ่านเข้ามา เราก็ต้องเฝ้าระวังป้องกัน คัดกรองกันอย่างเต็มที่ ส่วนปัญหาที่ 3 คือ เรื่องเรียน ปัญหาของคุณภาพของผู้เรียนและผลการเรียน เราจะเห็นว่าเวลาที่มีการจัดอันดับในส่วนของการศึกษาโดยภาพรวมที่ออกมาแล้ว ของเราทั้งภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ จะสู้ส่วนกลางไม่ได้ นี่คือ 3 ปัญหาใหญ่ที่เราต้องเข้าใจในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา แล้วก็ทำงานกันอย่างแน่นแฟ้นในทุกส่วน ทุกโรงเรียนทุกรูปแบบ”
ปรับเปลี่ยนแนวคิด
เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน
สำหรับปัจจัยหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาหลักของภาครวม คือ แนวความคิดที่แตกต่างที่เผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่น นับว่าเป็นปัญหาอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่จะต้องทลายกำแพงไปให้ได้ ตรงนี้ พล.ต.จตุพร กลัมพสุต ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี (ผบ.ฉก.ปัตตานี) ได้เปิดเผยในภาครวมว่ายังมีความกังวลอยู่พอสมควร แต่จะต้องให้แนวคิดที่แตกต่างหมดลงไปได้ในสักวัน
“ในมิติของความมั่นคงโดยเฉพาะในปัตตานี เรามองที่การจัดลำดับความเร่งด่วนของงาน นั่นคือการจัดการในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ 1 ก่อน การควบคุมพื้นที่ เนื่องจากรักษาสถานการณ์ไว้ให้ได้ ใช้ในการก่อเหตุ ถ้าเรามาไล่จับ หรือทำร้ายอย่างเดียว มันไม่ทันและไม่พอ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าในด้านการพัฒนาการของเราทำให้เราสามารถจับกุมได้เร็วขึ้น
อย่างกรณีของระเบิด ภายใน 1 สัปดาห์เราสามารถจับได้แล้ว และในอีกสัปดาห์ต่อมา เราสามารถจับได้ทั้งขบวนการจนสามารถดำเนินคดี จากเมื่อก่อนที่ใช้เวลานานมากกว่าที่จะจับคนร้ายได้ นี่คือความร่วมมือของประชาชน ถามว่าเรื่องมาจากสาเหตุใด ก็เกิดมาจากความเข้าใจของประชาชนว่าเข้าใจในเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าใจในเรื่องของการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทีนี้สิ่งที่เรายังกังวลอยู่ก็คือจำนวนมันไม่ได้ลดลง
ใน 14 ปีที่เราดำเนินการทางกฎหมายมา เราดำเนินคดีต่อผู้ก่อเหตุไปประมาณ 500 เราวิสามัญฯ ไป 200 ส่วนที่เหลือดำเนินคดี แต่มันก็จะมีหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ทีนี้ประเด็นที่เรากังวลก็คือ หน้าใหม่ๆ มันเกิดมาจากการสร้างขึ้นมาใหม่ ตอนนี้ที่เราศึกษามีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความคิดความเชื่อเดิม กับเรื่องที่เรากังวลมากที่สุด คือ การเข้ามาของแนวคิดรุนแรงที่มาจากข้างนอก จากสื่อในออนไลน์
ฉะนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชนของเราเป็นเรื่องสำคัญครับ การเข้ายึดฐานปฏิบัติการที่บ้านไอกิส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 เรายึดโทรศัพท์มือถือได้ 24 เครื่อง จาก 10 เครื่องในจำนวนนี้เราพบว่ามีการโหลดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ในนั้นมีเรื่องของการแพร่กระจายแนวคิดของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม อันนี้เรากังวลว่าเราจะสร้างคุ้มกันเยาวชนอย่างไรเพื่อไม่ให้การเข้ามาของสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของความมั่นคงทั้งปัจจุบันและอนาคต
สิ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า พยายามแก้ปัญหาก็คือ 1. ให้ความรู้อย่างเพียงพอ คือ เขาสามารถจะแยกแยะว่าอะไรถูก-ผิด ควร-ไม่ควร หรือไม่ใช่ มันมีเส้นบางๆ ระหว่างความเชื่อกับความจริง คือสรุปว่าเราต้องการให้เด็กของเรามีความรู้และมีคุณธรรม การดำเนินการในการเรียนทางศาสนา คนในท้องถิ่นเชื่อว่ามีความจำเป็น แต่ขณะเดียวกัน ความรู้ทางศาสนาเหล่านี้กลับถูกใช้ประโยชน์ในเรื่องของความรุนแรง อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงกำลังมองหา
หรือวิธีการใดๆ หรือกระบวนการใดๆ ที่เราสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนของเรา ที่เขาเปิดคลิปในโลกออนไลน์ อะไรใช่ อะไรควร หรืออะไรที่เสพอย่างระมัดระวัง เพราะว่าปัจจุบันนี้ในสิ่งที่เราพบ หลักฐานที่เราพบ จากการดำเนินการของเราทั้งในเรื่องของการติดตามในสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลาย การติดตามจากเอกสารหลักฐาน การซักทางผู้ก่อเหตุรุนแรง และหลักฐานที่ได้จากการติดตามจับกุม เราค่อนข้างกังวล ค่อนข้างกังวลในความรู้ที่เด็กจะต้องมี
ในขณะเดียวกัน เรามองไปอีก 10 ปีข้างหน้า เราทำงานร่วมกันกับเลขาธิการส่วนหน้า เรียกร้องในเรื่องของการปรับโครงสร้างทางการศึกษา ให้มีวิชาการ วิชาสามัญเพิ่มมากขึ้น แล้วก็ให้มีครูที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าในสิ่งที่เราพบในขณะนี้คือครูที่ไม่มีวุฒิ แล้วเข้ามาถ่ายทอดแนวความคิดที่ทำให้เยาวชนของเรานั้น มองในเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่เขาควรทำ นี่คือปัญหา ทำเพื่ออะไรไม่ใช่ปัญหา จะทำอย่างไรว่าความศรัทธาควรจะเป็นคนดี แต่ความศรัทธาเพื่อศาสนา อันนี้คืออันตราย
ฉะนั้น เรามองไปอีก 10 ปี ในเยาวชนล้านกว่าคนตามที่คุณศรีชัยบอกที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คำถามจะสะท้อนกลับ ในเมื่อประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอ ไปทำงานอะไรก็ไม่ได้ เราพัฒนาในเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อีก 3 ปีข้างหน้าเราต้องการแรงงานอีกประมาณ 3 หมื่นกว่าคน ทิศทางของเยาวชนของเราที่จะมีคุณวุฒิ-คุณสมบัติเข้าไปในรายงานเหล่านั้น เพียงพอหรือไม่ และต้องมีฝีมือด้วย ถ้าไม่เพียงพอก็จำเป็นจะต้องนำเข้าแรงงานจากข้างนอกซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของแรงงานแน่นอน อันนี้ผมก็หารือกันแล้วสรุปว่าให้เร่งรัดในการเรียนภาษาไทย เร่งรัดในการเรียนอาชีวะเพื่อให้ประชาชนมีงานทำ เมื่อพวกเขามีงานแล้วก็สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วเราเชื่อว่ามีความรู้ มีอาชีพ มีรายได้ ก็จะมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะแยกแยะว่าเรื่องใดที่เขาจะทำ อันนี้คือเรื่องที่เรียนให้ทราบว่าเรากำลังกังวลในเรื่องของสื่อ สังคมที่เข้ามาแล้วก็แทรกในเยาวชนของเรา เราจะสร้างภูมิคุ้มกันสิ่งเหล่านี้ยังไง นี่คือสิ่งที่เราจะต้องทำงานต่อไป”
หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข
สร้างกิจกรรมลดความระแวง
“สิ่งหนึ่งที่ทางภาครัฐได้ดำเนินการในพื้นที่ นั่นคือการตั้ง หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างกิจกรรมให้คนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะเป้าหมายไปที่โรงเรียนต่างๆ ได้ร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งทาง พ.อ.อิศเรศ พุ่มมาก ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจสันติสุข (ผบ.ฉก.สันติสุข) ก็ได้กล่าวโดยเบื้องต้นว่าจะเสริมสร้างให้เยาวชนในพื้นที่ได้ทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้อง ลดอคติ และหันมาร่วมมือกับทางภาครัฐมากยิ่งขึ้น และได้เข้าใจถึงหลักการทางศาสนาอย่างถูกต้องและแท้จริง
ในส่วนของหน่วยเฉพาะกิจสันติสุขเองก็ขึ้นตรงต่อกองบังคับภาค 4 ส่วนหน้า เป็นหน่วยหนึ่งที่มีลักษณะของการต่อสู้ทางด้านความคิด คืองานด้านการเมือง หมายความว่าเราพยายามสร้างความคิดและความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมายที่เราเข้าไปทำมีทัศนคติในเชิงบวก ยอมรับในเรื่องที่รัฐเข้าไปในพื้นที่ ผมว่ามันเป็นงานยุทธศาสตร์ที่ต้องทำค่อนข้างยาวนาน โดยในส่วนของภารกิจเองไม่ใช่แค่เรื่องเข้าสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว เราก็ยังทำเรื่องของการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้านเป้าหมายที่หน่วยรับผิดชอบ มีอยู่ 14 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่เสริมสร้างความมั่นคง ในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการก่อเหตุรุนแรง แล้วก็หมู่บ้านรอบสถานศึกษาที่เราเข้าไปดำเนินการ
ในส่วนหนึ่งของอีกหน่วยหนึ่ง คือ เรามีสถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ เรื่องของการปฏิบัติการจิตวิทยาประชาสัมพันธ์ให้แก่สื่อให้แก่มวลชนในพื้นที่ได้รับทราบเกี่ยวกับงานในส่วนของงานที่มีทั้ง 3 หน่วย มีชุดควบคุม 951, 93 และ 94 แต่ละกลุ่มก็รับผิดชอบในแต่ละจังหวัด แล้วก็กระจายกันรับผิดชอบ ผมโฟกัสไปที่โรงเรียนนะครับ คือทั้งปอเนาะ หรือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ที่ กอ.รมน.รับผิดชอบ 60 โรง และเพิ่มเติมจาก ศอ.บต.อีก 30 โรง รวมเป็น 90 โรง ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว โรงเรียนในพื้นที่นี่โดยเฉพาะสถาบันปอเนาะ ผมว่าไม่ต่ำกว่า 400-500 แห่ง แล้วก็โรงเรียนสอนศาสนามีประมาณ 300-400 แห่ง แต่เราก็รับผิดชอบแค่นิดหน่อยเท่านั้นเอง ถือว่าค่อนข้างจะมีความคิดเห็นที่ต่างกัน ทางเราก็คอยดำเนินการ ในการดำเนินการก็จะมีแผนงานเข้าไป ในส่วนที่เราทำก็จะมีในแผนงานเรื่องการศึกษา เรื่องของแผนงานในการมีส่วนร่วมของการขยายโอกาสในสถานศึกษา การที่เราเข้าไปในสถานศึกษา อาจจะเห็นว่าในหลายๆ โรงเรียนก็ยังมีการขาดโอกาสอยู่
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนที่เราเข้าไปดำเนินการ ผมขออนุญาตแบ่งกลุ่มเป้าหมายแบบชัดๆ นะครับ กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน คือ มี บาบอ เจ้าของโรงเรียน ผู้จัดการ และ ผอ. กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มครูสายสามัญ และอุสตาซ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มนักเรียน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ของโรงเรียน จะมีการหมุนเวียนตามห้วงเวลา ในส่วนของสองกลุ่มแรก ค่อนข้างอยู่กับที่และนิ่ง ในการดำเนินการเราทำทั้ง 3 กลุ่มในลักษณะของความร่วมมือในการทำ
ในส่วนกิจกรรม เราต้องเรียนให้ทราบว่าจะเข้าไปพัฒนาสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี 2556 ที่ทางหน่วยตั้งขึ้นมา และดูแลเรื่องดังกล่าว นับถึงตอนนี้ก็ 5 ปีแล้ว ตอนที่เข้าไปแรกๆ นั้นก็มีการปรากฏในเรื่องไม่ต้อนรับ และตอบรับในเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไป แต่ในตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ดีขึ้นตามลำดับ ดีขึ้นเพราะว่าเราพยายามที่จะสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบดำเนินการผ่านทางกิจกรรม เช่น เราเข้าไปในกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยใช้ลักษณะของกีฬา โดยสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือการมอบอุปกรณ์ทั้งตู้ยา หรือกีฬา ให้มีความเข้าใจในเรื่องความคิด เมื่อเราเข้าไปแล้วเราก็จะมีในเรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
หน่วยสันติสุขไม่ใช่แค่ทำงานหน่วยงาน แต่ก็มีหลายหน่วยงานที่เข้าไป ผมเชื่อมั่นว่าองค์กรที่เข้าไปคือตัวแทนของรัฐที่เข้าไปสู่โรงเรียน เรามีหลายๆ กลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มสานฝัน กลุ่มลูกเหรียง กลุ่มกิจกรรมคลื่นลูกใหม่ชายแดนใต้ เป็นกลุ่มที่เราฝึกและดำเนินการ กลุ่มนี้ก็เป็นเหมือนตัวแทนขยายผลความเข้าใจความรู้สึกที่ดีของน้องๆ ต่าง โดยใช้สื่อ การพบปะ และการประชาสัมพันธ์ แล้วก็รูปแบบที่เราเข้าไปทำก็มีหลายๆ ส่วนด้วยกัน เราทำงานกับ ศอ.บต. เช่น กิจกรรมโครงการคำสอนพ่อสู่การเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งโครงการนี้เราทำงานในลักษณะเชิญผู้บริหารของโรงเรียน และครูอุซตาด เราทำมา 4-5 รุ่น ซึ่งเราพยายามทำความเข้าใจที่ดี
เช่นเดียวกัน กลุ่มเด็กและเยาวชน เราก็เข้าไปทำ บางครั้งเราอาจจะได้รับการตอบรับที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แล้ว ทุกอย่างค่อนข้างที่จะไปได้ด้วยดี และก็เด็กเยาวชนให้ความร่วมมือ เราสังเกตจากกรที่เราเข้าไปจากตัวชี้วัดว่าค่อนข้างชัดเจนที่มีความพึงพอใจ ท่าทีจากทัศนคติที่มีสองกลุ่ม คือ กลุ่มครู และนักเรียน ซึ่งผลตอบรับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หมายถึงว่าผลตอบรับในเรื่องของกิจกรรม และจากก่อนหน้านี้ที่ไม่มีรอยยิ้มเลย ขอถ่ายรูปก็หันหลังกลับ คือแจกของก็ทิ้ง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่มากขึ้น เช่น กอดคอคุยกัน ถ่ายรูปร่วมกัน มีโครงการเปิดโลกทัศน์ ทำให้เด็กได้เขียนข้อมูลในสิ่งที่ถูกต้อง โดยกิจกรรมที่เข้าไปจัดในแต่ละพื้นที่ก็ไม่ต่ำกว่า 50 กิจกรรม ซึ่งเราก็พยายามสร้างความเข้าใจและสร้างความรู้สึกที่ดี และให้รู้หลักคิดในเรื่องศาสนาที่ถูกต้อง ผมยืนยันว่าในปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในเรื่องของการสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่ ก็ยังมีการประเมินมา เรียกว่าเป็นรายบุคคลดีกว่าที่เป็นส่วนน้อย แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นสิ่งที่ดี
ฉะนั้น ในการสร้างความเข้าใจในหลักศาสนา ผมยืนยันว่าในพื้นที่นั้นเน้นในเรื่องศาสนาเป็นหลักในการดำรงชีวิต เมื่อเราให้ศาสนาที่ถูกต้องแล้ว รวมถึงในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา ต้องให้ศึกษาเหมือนกันครับ ไม่ใช่ว่ากีดกัน ต้องให้น้องๆ เข้าใจในเรื่องดังกล่าว น้องๆ ก็จะคลายในเรื่องที่ไม่เข้าใจออกมา ความจริงเหนือความจริง ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง และในเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปดำเนินการ แล้วสิ่งหนึ่งที่ต้องมีนั้น คือ ความมั่นคงในเรื่องความคิด เราจะต้องสร้างความคิกให้กับนักเรียนได้คิดบวกก่อน ไม่ใช่แค่เรามุ่งเน้นในเรื่องการศึกษาและศาสนาที่ให้เคร่งอย่างเดียว แต่ให้เน้นเรื่องอุดมการณ์ เราต้องให้น้องๆ คิดว่า เขาคือคนไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ ให้เกิดความภาคภูมิใจ
ที่ทุกหน่วยงานพูดตรงกันว่าตรงนี้มีมิติที่ดีแล้ว ในปีต่อไปเราจะมีลักษณะของการสร้างความมั่นคงในกิจกรรม เรื่องของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรามีกิจกรรมอาสา เรามีกิจกรรมการเรียน การเคารพธงชาติ หลายๆ โรงเรียนที่เข้าไปครั้งแรก ร้องเพลงชาติไม่ได้เลยนะ น้องก็ร้องผิด ต้องใช้เทป แต่ปัจจุบันนี้ก็ดีขึ้น หมายความว่าร้องเพลงชาติได้ชัดขึ้น เพราะฉะนั้นเป็นอุดมการณ์ที่ต้องปลูกฝัง รวมถึงการมีรอยยิ้มกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้เข้าไป การยกมือไหว้ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ชุดสันติสุขที่เข้าไปในโรงเรียน ก็พยายามที่จะบอกน้องๆ และครูอุสตาซว่ามันเป็นประเพณี ไม่ผิดหลักศาสนา การยกมือไหว้เป็นสิ่งที่ดี และเป็นลักษณะในการทักทาย เราจะเห็นว่าในหลายโรงเรียนก็ดีขึ้น สรุปคือ ในการทำงานผมว่าเป็นยุทธศาสตร์ในเรื่องความคิดที่ดี เพราะเด็กจะต้องเติบโตไปสถาบันการศึกษา ถ้าเขามีความคิดดี อุดมการณ์ดี เขาจะต้องเป็นคนดีแน่นอน เพียงแต่ว่าเราต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ก็ค่อนข้างใช้เวลานิดหนึ่งครับ”
6 ยุทธศาสตร์หลัก
เพื่อการศึกษาในพื้นที่
จากความตั้งใจในเรื่องของการยกระดับในเรื่องการศึกษาในพื้นที่นี่เอง ทำให้ทาง ผอ. ศปบ.ได้เปิดเผยถึง 6 ยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียน ให้สอดคล้องและทัดเทียมเท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศไทย โดยมีความคาดหวังว่าเด็กนักเรียนจะมีความภาคภูมิใจทั้งในพื้นที่และมีการพัฒนาทางการศึกษาไปพร้อมๆ กัน
“ในการดำเนินการในยุทธศาสตร์ 6 ด้านนะครับ เพื่อให้เห็นว่าปัญหาที่เราเผชิญอยู่และแนวทางที่เรากำลังแก้นั้นจะไปในทิศทางอย่างไร เรื่องของ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง นี่คือการดำเนินการที่ตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรเราจะธำรงไว้ซึ่งสันติสุขและความมั่นคง โดยเฉพาะความเข้าใจในพื้นที่ที่พอเข้ามาศึกษาแล้วสามารถที่จะเข้าใจกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความคิดเห็นที่แตกต่าง เขาก็จะได้พยายามให้เขาเป็นเพื่อนกัน กิจกรรมที่เรานำมาใช้ในยุทธศาสตร์นี้ คือ กิจกรรมลูกเสือ ซึ่งท่าน ฉก.ปัตตานี ได้มีส่วนผลักดันส่วนช่วยในการเตรียมงาน ครั้งนี้เป็นนวัตกรรมในการจัดงานลูกเสือครั้งแรกที่ปัตตานี เพราะจัดมา 13 ครั้ง ยังไม่เคยจัดที่นี่เลย เพราะฉะนั้น การจัดครั้งนี้ในรอบ 13 ปี ก็จะมีลูกเสือจากประเทศอาเซียนมาร่วมงาน นั้นก็จะได้ผลดีในเรื่องของเด็กได้เพื่อนใหม่ และรู้จักในเรื่องป่าเขาลำเนาไพร รักในสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของตนเอง อันนี้ก็เป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคง การให้โอกาสเด็กได้บำเพ็ญประโยชน์ เราเชื่อว่าจะทำให้เขารักกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 หลายท่านเห็นว่า เรียนแล้วทำอะไรล่ะ เรียนแล้วมีงานทำ ฉะนั้น ข้อนี้ให้ผู้เรียนที่อยู่ในพื้นที่ จบแล้วมีงานทำ ปีนี้เป็นปีแรกที่ทำโครงการประชารัฐ เอานักเรียนมาพักนอน โดยรุ่นแรกจะมีประมาณ 3,000 กว่าคน ในระดับประถมถึงมัธยมมาพักนอน เพื่ออะไรครับ เพื่อมาปลูกฝังอัธยาศัยที่ดี ปลูกฝังการเรียนรู้อยู่ร่วมกัน การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม แท้ที่จริงแล้วความต่าง สามารถอยู่ด้วยกันได้กับ 4 วิทยาลัยอาชีวศึกษา ก็เอาเข้ามากินนอนในวิทยาลัยและให้ทุนการศึกษาด้วย โดยทั้ง 4 วิทยาลัยนี้ก็จะผลิตนักศึกษาทางด้าน ปวช.-ปวส. เพราะฉะนั้นจะเป็นมิติใหม่ของการทำงานในชายแดนใต้ที่ว่าเด็กที่ไม่มีอาชีพ ก็จะได้มาเรียนทางด้านนี้
ไปที่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเด็กตั้งแต่ชั้นประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ขึ้นมหาวิทยาลัย ที่นี่มีเด็กที่ตกหล่นและหายไปจากระบบการศึกษาระหว่างทางประมาณ 45,000 คน ถามว่าเด็กกลุ่มนี้ไปทำอะไร ซึ่งเป็นข้อห่วงใยที่ฝ่ายจัดการศึกษาห่วงใยมาก ก็พยายามที่จะให้เด็กคืนสู่ระบบการศึกษา จากทั้งการทำงานของ กศน. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา ขณะนี้นำเด็กเข้ามาอยุ่ในระบบการศึกษาได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคน ยังขาดอีกครึ่งหนึ่ง เราก็มีการติดตามว่าเด็กกลุ่มนี้ยังอยู่ในพื้นที่หรือไม่ ถ้ายังอยู่เราจะจัดการอย่างไรต่อ เพราะฉะนั้น เราจะให้โอกาสเด็กในทุกช่วงวัย
“ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ ความเสมอภาคทางการศึกษา เราจะไม่ทิ้งใครไว่ด้านหลัง ไม่ว่าจะเป็นสายอาชีพหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสายการศึกษานอกระบบ ซึ่งมีทาง กศน.ดูแลอยู่ เด็กสามารถสมัครกลับเข้ามาเรียนในระบบได้ตลอดเวลา เรียกว่าใช้ระบบ walk in เข้ามาเลย มาที่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ข้อนี้เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม ในส่วนของภูมิรัฐศาสตร์ ที่นี่ถือว่าสมบูรณ์ครับ จากการจัดอันดับเราไม่มีปัญหาในเรื่องการร่อยหรอหรือถูกทำลาย แต่จะมีเพียงว่าเราจะทำยังไงให้เด็กรักในมาตุภูมิ รักในสิ่งแวดล้อม อย่างเบตงก็มีไก่เบตงที่ทางอาชีวะขอให้มีการส่งเสริม มีทุเรียนมูวาฮินที่จะออกผลในอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็อร่อยไม่แพ้หมอนทอง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กสนใจและภาคภูมิใจ มีขนมที่เป็นพื้นถิ่น คือ ขนมตุมปะ ที่เป็นข้าวต้มลูกโยนชนิดหนึ่ง แต่ห่อด้วยใบกะพ้อ ข้างในจะมีธัญพืชชนิดต่างๆ ใส่เข้าไป ใส่คู่กับข้าวเหนียว เป็นต้น
ไปที่ยุทธศาสตร์สุดท้าย เป็นการปรับสมดุลราชการ ขณะนี้เรากำลังทำ KPI คือ ให้แต่ละที่ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่ เราจะเห็นว่าในตอนแรกที่เราโปรยปัญหาว่าเรามีปัญหาในเรื่องการเรียน ก็เพราะว่า คุณภาพการศึกษาของเรายังอยู่ในลำดับท้ายๆ เพราะฉะนั้น เราจะมีการรีบูตครูใหม่ให้มีความเข้าใจในมิติการสอนแบบใหม่ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมแบบใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของภาษาไทย ปีนี้เป็นปีแรกที่เราจะสแกนการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน จากนั้นก็จะนำผลงานภาษาไทยที่ดีเด่นของโรงเรียน ทำเป็นศึกษานิเทศก์ โดยตัวครูเข้าไปใกล้ชิดกับนักเรียนเพื่อที่จะใกล้ชิดกับนักเรียนได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นห้องสมุดซึ่งเป็นยุคดิจิตอล เราพยายามทำห้องสมุดที่มีชีวิต นำภาษาไทยไปบรรจุในแอปห้องสมุดที่เป็นห้องสมุดจริงและห้องสมุดเสมือนจริง ทำภาษาไทยให้สื่อสารกันได้ ไม่แพ้ภาษาถิ่น
นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่เราเป็นห่วงและจะดำเนินการในปีหน้าก็คือ ตัววาทกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาทางไอที เราจะต้องให้ภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กนักเรียนวิเคราะห์วาทกรรมได้ เพื่อให้เด็กแยกแยะในบางอย่างที่ทำให้เกิดความแตกแยก เข้าใจผิด หรือบางอย่างที่แสดงในเชิงสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ซ่อนตัวอยู่ในชุมชนสังคมต่างๆ เราจะค้นหาและเอามาวางไว้บนโต๊ะ และให้เรียนรู้ อยู่ร่วมกัน และสามารถปรับความเข้าใจกัน เมื่อมีความไว้วางใจกันได้แล้ว ก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข แต่ที่ทุกวันนี้ที่เกิดความขัดแย้งกันเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน จึงทำให้ข้อเท็จจริงไม่มี พอไม่มีสิ่งนี้ก็จะทำให้คนจ้องจับผิดและเกิดความระแวง
ฉะนั้น เราจะเห็นว่าสิ่งที่ฝ่ายจัดการศึกษาได้จัด คือ การจัดระเบียบความคิด ให้นักเรียนรู้เท่าทันสื่อไอทีสมัยใหม่ ซึ่งปีหน้าก็มีดครงการที่ร่วมกับทางฝ่ายความมั่นคงหลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกันทั้งหมด 20 รุ่น ซึ่งทาง สสบ., จชต.จะร่วมดำเนินการด้วย ก็จะทำให้เด็กเท่าทันกับสื่อชนิดใหม่ หรือมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เชิงบวกในพื้นที่ มากกว่าการเข้าไปในความรู้สึกเชิงลบ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น”