xs
xsm
sm
md
lg

แฉมีอีก 3 สิทธิบัตร ต่างชาติขอจดใช้สารกัญชารักษามะเร็ง-ลมชัก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์(ภาพจากแฟ้ม)
“ปานเทพ” แฉ ยังมีอีก 3 รายการต่างชาติขอจดสิทธิบัตรใช้สารกัญชารักษาโรค ครอบคลุมโรคลมชัก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ ตั้งคำถามปลดล็อกให้คนไทยใช้ทางการแพทย์ล่าช้า แต่กลับให้ต่างชาติจดสิทธิบัตร ทั้งที่กัญชายังผิดกฎหมาย ครอบครองไม่ได้

วันนี้ (7 มิ.ย.) ภายหลังจาก นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เกี่ยวกับการขอจดสิทธิบัตรของชาวต่างชาติในการใช้สารสกัดจากกัญชาไทยรักษาโรคลมบ้าหมู ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ล่าสุด เมื่อเวลา 18.22 น. วันนี้ นายปานเทพ ได้โสต์ข้อความเพิ่มเติมว่า ไม่ใช่แค่สิทธิบัตรเดียว จากข้อมูลพบว่าสารสกัดจากกัญชาไทยได้ถูกบริษัทต่างชาติจดสิทธิบัตรในประเทศไทยไปแล้วถึง 3 ฉบับ ครอบคลุมโรคลมชัก, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ แม้ว่าจะยื่นคำขอตั้งแต่ปี 2553 - 2554 แต่การประกาศโฆษณาสิทธิบัตรเริ่มตั้งแต่ปี 2557 - 2559

“น่าเสียดายมากเพราะแม้แต่จะปลดล็อกกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ หรือการวิจัยในมนุษย์ของประเทศไทยเป็นไปด้วยความล่าช้า แต่ในความล่าช้านั้นกลับมาพร้อมกับการที่ประเทศไทยยอมให้ต่างชาติจดสิทธิบัตรสารสกัดจากัญชาได้หลายโรคทั้งๆ ที่กัญชายังผิดกฎหมายและไม่สามารถครอบครองได้ ประเทศไทยปล่อยให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร” นายปานเทพ ระบุ

ทั้งนี้ นายปานเทพยังได่โพสต์ภาพประกาศคำขอสิทธิบัตรอีก 3 รายการ ได้แก่

1. ประกาศโฆษณาคําขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ยื่นผ่านระบบพีซีที เลขที่คําขอ 1201004672 วันที่รับคําขอ 12 กันยายน 2555 วันที่ยื่นคําขอ 11 มีนาคม 2554
ผู้ขอรับสิทธิบัตร คือ จีดับเบิลยู ฟารมา ลิมิเต็ด, โอซึกะ ฟารมาคิวติคอล คอมปะนี ลิมิเต็ด
ผู้ประดิษฐ์ คือ พาโรลาโร, เดเนียลา และคณะ ตัวแทน คือ นายจิรายุทธ์ ปัทมสุวรรณ บริษัท แพทริค มิรานดาห์ (ประเทศไทย) จํากัด 388 อาคารเอ็กเชนจ์ทาวเวอร์ ห้องที่ 1202-1 ชั้นที่ 12 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ “ไฟโตแคนนาบินอยดในการรักษามะเร็ง”

บทสรุปการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เกี่ยวกับการใช้งานของไฟโคแคนนาบินอยด์ (phytocannabinoids) ทั้งในรูปแบบที่ถูกแยกโดดเดี่ยว หรือ ในรูปแบบของสสารยาที่มาจากพืช (botanical drug substance (BDS) ในการรักษาของมะเร็ง โดยที่พึงประสงค์ มะเร็งที่จะถูกรักษาคือมะเร็งของต่อมลูกหมาก, มะเร็งของเต้านม หรือ มะเร็งของโคลอน

2. ประกาศโฆษณาคําขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ยื่นผ่านระบบพีซีที เลขที่คําขอ 1301003751 วันที่รับคําขอ 2 กรกฎาคม 2556 วันที่ยื่นคําขอ 3 มกราคม 2555

ผู้ขอรับสิทธิบัตร จีดับเบิลยู ฟารมา ลิมิเต็ด โอซึกะ ฟารมาคิวติคอล คอมปะนี ลิมิเต็ด
ผู้ประดิษฐ์ เวลลี่, เบนจามิน และคณะ

ตัวแทน คือ ว่าที่ ร.ต.วินยาธกร ใจเอก และ/หรือ นายปรารถนา อุบลสุวรรณ บริษัท มิรานดาร์ เอเซีย (ประเทศไทย) จํากัด หอง 1202-1 เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 12 388 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ “การใชไฟโตแคนนาบินอยดแคนนาบิไตออล (CBD) รวมกับยาต้านโรคลมชักแบบมาตรฐาน (SAEID) ในการรักษาโรคลมชัก (Use of the Phyticsunruabirhoid Curabidil (CBD) in Corbination with a Strudard Anti-Epileptic Drug (SAED)”

บทสรุปการประดิษฐ์ การประดิษฐ์เกี่ยวข้องกับการใช้แคนนาบิไคออล (cannabidiol) (CBD) ที่ขนาดยามากกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน รวมกับยาต้านโรคลมชักแบบมาตรฐาน (SAED) ซึ่งกระทําการผ่านช่องโซเดียม หรือแคลเซียม สําหรับใช้ในการรักษาโรคลมชัก SAED คือ สิ่งที่พึงประสงค์ซึ่ง ดัดแปรขีดจํากัด ขั้นต่ําหรือกระแสแคลเซียมทางประสาทชั่วคราว • ลดการส่งสัญญาณประสาทความถี่สูงและ ศักย์ไฟฟ้าในการกระทําการที่ขึ้นกับโซเดียมและเพิ่มผลของ GABA SAED ที่พึงประสงค์ คือ อีโธ ซูซิไมค์และวาลโพรเอต

3. ประกาศโฆษณาคําขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ยื่นผ่านระบบพีซีที เลขที่คําขอ 1201005115 วันที่รับคําขอ 28 กันยายน 2555 วันที่ยื่นคําขอ 30 มีนาคม 2554 ผู้ขอรับสิทธิบัตร จีดับเบิลยู ฟาร์มา ลิมิเต็ด , โอซึกะ ฟารมาคิวติคอล คอมปะนี ลิมิเต็ด 30 มีนาคม 2553

ผู้ประดิษฐ์ เวลลี่, เบนจามิน และคณะ

ตัวแทน นายจิรายุทธ ป้ามสุวรรณ บริษัท แพททริค มิแรนดาห์ (ประเทศไทย) จํากัด ห้อง 1202-1 เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 12 เลขที่ 388 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ การใช้งานของไฟโดแคนนาบินอยดแคนนาบีคิวาริน (CBDV) ในการรักษาของโรคลมบ้าหมู

บทสรุปการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับการใช้งานของไฟโตแคนนาบินอยด์ แคนนาบิคิวาริน (phytocannabinoid cannabidivarin) (CBDV) และ การร่วมกันของไฟโตแคนนาบินอยด์ CBDV ร่วมกับเตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV) และ แคนนาบิไดออล (CBD) ในการรักษาของโรค ลมบ้าหมู การประดิษฐ์เกี่ยวข้องต่อไปกับการใช้งานของไฟโตแคนนาบินอยด์ CBDv ในการ ร่วมกันกับยาต้านโรคลมบ้าหมูมาตรฐาน (SAEDs) โดยที่พึงประสงค์ SAED คือชนิดหนึ่งของอีโธ ซูซิไมค์, วาลโพรเอต หรือ ฟีโนบาร์บิทัล






กำลังโหลดความคิดเห็น