xs
xsm
sm
md
lg

เปิดบันทึกของตุ๊ดสุดฮิต “ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จากแฟนเพจบันทึกไดอารีส่วนตัว ที่บันทึกเรื่องราวประสบการณ์ส่วนตัว เล่าเรื่องกลุ่มเพื่อนสนิทของบนความหลากหลายทางเพศ จนพัฒนามาเป็นพ็อกเกตบุ๊ก และเป็นละครซีรีส์ตามลำดับ ทำให้ ช่า-ธีร์ธวิต เศรฐไชย ได้เป็นที่รู้จักในที่วงกว้างในที่สุด... รายการ พระอาทิตย์  Live ทางสถานีโทรทัศน์นิวส์วัน ได้เชิญมาพูดคุยในรายการพร้อมกับ ภัทร เลิศสุกิตติพงศา แฟนหนุ่ม ถึงเรื่องราวดังกล่าวทั้งหมด

 • ทำไมถึงได้ทำแฟนเพจ “บันทึกของตุ๊ด”

ช่า : มันเริ่มจากที่เราเปิดเพจในช่วงน้ำท่วมปี 2554 มันเหมือนกับว่าง หยุดงานไง ไปไหนไม่ได้ แล้วเราก็ชอบเขียนมาตั้งแต่เด็ก เราก็รู้สึกว่าเราอยากเอางานเขียนของเรามาบันเทิงในช่วงนี้ เลยเขียนเป็นไดอารี ปรากฏว่าคนชอบ ก็เลยตั้งเป็นเพจ ตอนแรกสุดเกือบตั้งชื่อว่า “เรื่องของกะเทยกลัวน้ำ” แล้ว แต่คิดได้ว่าเป็นแง่ไกลๆ คือ บันทึกของตุ๊ดแทน แล้วพอพ้นช่วงน้ำท่วมไป 2-3 ปี เพจก็ดูร้างๆ ไป เราก็มีประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างเรากับเพื่อนเราก็เลยเขียนอีกรอบหนึ่งเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ แล้วก็มีคนนิยมมากขึ้น นั่นคือจุดเริ่มต้น เป็นเรื่องของเราบ้าง คนอื่นบ้าง เอามายำๆ รวมกัน

จริงๆ เราทำเพจก็อยากให้คนสนใจแหละ เราก็มียอมรับว่าอยากให้ content เราไปสู่วงกว้างมากขึ้น แต่เราก็คิดแค่ว่าคงมีคนอ่านแหละ ตอนนั้นที่สูงสุดก็หมื่น 7 ก็มีความสุขแล้ว แต่ตอนนี้ก็ถือว่ามาไกลมาก ทำให้เราคิดว่าคนไทยไม่ใช่ไม่ชอบอ่านหรอก เขาก็อ่านแหละ อย่างโควตา 7 บรรทัด แค่เรื่องของเราเรื่องเดียวมันก็เต็มแล้ว แต่เขาอยากอ่านในสิ่งที่เขาสนใจมากกว่า โดยเนื้อหามันก็แล้วแต่ปีๆ ไป อย่างปีแรกๆ ก็เป็นประสบการณ์สนุกๆ ในช่วงมหา'ลัย แต่พอเข้าสู่ปีที่ 6-7 แนวการเขียนเราก็เปลี่ยนไป เราแก่ขึ้น เราก็เล่าแบบมุมมองชีวิตเรา คนอ่านก็เข้าใจว่าเพจเราโตขึ้น ก็มีการเปลี่ยนไปตามวัย มาอ่านในสิ่งที่เราตั้งใจจะเขียนไป

 • อยากให้ช่วยเล่าถึงช่วงที่มาเป็นซีรีส์ “ไดอารีตุ๊ดซีล์” หน่อยครับ

ช่า : ตอนแรกก็ตกใจ คิดว่าแม่หลอก คือเหมือนเขาส่งข้อความมาประมาณว่า พี่ชื่อนี้จาก GDH นะคะ สนใจจะเอาเรื่องของเราไปทำซีรีส์ มีความเป็นไปได้มั้ยที่เราจะมานั่งคุยกัน ซึ่งเราดีใจมาก เราก็โทร.หาเพื่อน แต่เพื่อนก็ถามว่าหลอกหรือเปล่า จนเรามานัดคุยกัน ปรากฏว่าเป็นเรื่องจริง จากวันนั้นก็ปีหนึ่งแหละกว่าที่จะออกมา แล้วเรามีส่วนในการเขียนบทด้วย มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราภูมิใจในแง่ของการเขียนของเรา

ส่วนการทำงานของเราในซีรีส์เรื่องนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นซีซันแรก เราเขียนบทคนละครึ่งกับ พี่เติ้ล (ปิยะชาติ ทองอ่วม) เลย เขียนสลับคนละตอน แต่เรื่องแคสติ้งเราไปมีส่วนในตอนออดิชันเป็นตัวละครเราเอง แล้วก็มีส่วนในการเลือก ซึ่งเรา พี่เติ้ล และครูเงาะ ก็มีส่วนในการเลือกด้วยว่าเป็นใคร สุดท้ายก็เป็น 3 คนนี้ เพชร (เผ่าเพชร เจริญสุข), ปิงปอง (ธงชัย ทองกันทม) และ เต๋อ (รัฐนันท์ จรรยาจิรวงศ์) ซึ่งตอนที่เพชรและเต๋อเข้ามา เขามีความเข้าใจในเพศที่ 3 อีกแบบหนึ่ง คนที่เป็นผู้ชายเวลาเขามาแคสต์งานลักษณะนี้ เขาจะคิดก่อนว่าต้องสะดุ้งสะดิ้ง แอ็กติ้งมือหักตลอดเวลา ซึ่งเต๋อกับเพชรเขาไม่เป็น เต๋อกับเพชรเล่นเป็นคนปกติ เรารู้สึกว่าเขามีอะไร คือเข้าใจในบุคลิกของเราว่าทุกคนจะต้องมือหัก หรือโอเวอร์แอ็กติ้งตลอดเวลา เต๋อจะเก่งในเรื่องการตีบท ส่วนเพชรก็ดีค่ะ แต่ในตอนแรกเราก็กังวลว่าจะไหวหรือเปล่า แต่พอไปๆ มาๆ นางก็เป็นนางเอกได้

 • แล้วทำไมถึงไม่เล่นเองเลย

ช่า : ไม่ได้ๆ เรากลัวมาก คือเราก็มีการคุยกันว่า เล่นเองมันจะดูตลกมาก จะดูเป็นกะเทยวัลลาบีมาก แบบอยู่ดีๆ จะเอาตัวเองมาเล่นเป็นตัวเองอีกที มันจะดูตลก ล้วเราเป็นนักเขียน เราชอบการเขียนมากกว่า ซึ่งให้เหมาะกับนักแสดงที่ดีกว่า ซึ่งผลลัพธ์มันก็ตรงตามที่เราเขียน มันก็มีความเป็นเราอยู่ในนั้นด้วย แบบนี้ดีกว่า แต่ก็มีไปรับเชิญนะ 2 ซีซันเลย เรามาเล่นแบบนี้ดีกว่าไปเล่นเป็นตัวเอง ก็มีคนมาบอกว่าให้เล่นเองมั้ย เราก็รู้สึกว่าไม่ได้หรอกจะให้มาเล่นเป็นตัวเอง เรารู้สึกว่ามันดูแปลกเกินไป และความนิยมอาจจะไม่ได้มากขนาดนี้ เพราะว่าแต่ละคนมันก็มีทางของเขา นักแสดงอาจจะมี charisma ในเรื่องนี้ ซึ่งเราคิดว่าเรื่องแบบนั้นเราอาจจะไม่มี

 • หลังจากที่ซีรีส์ได้ออกอากาศไป ทำให้มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นมั้ย

ช่า : ก็มีคนรู้จักมากขึ้นจากซีรีส์ และทำให้เพจเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย แล้วทำให้พ่อรู้จักด้วย เพราะว่าพอมันมาแล้วก็ปิดไม่อยู่แล้ว คือท่านก็รู้แหละ แต่มันไม่ใช่คุยกับที่บ้านประมาณว่าเราเป็นตุ๊ดนะ คือเขาน่าจะรู้เองว่าไม่ใช่ผู้ชายปกติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมาคุยกันอย่างโจ่งแจ้ง เราก็เกรงใจเขา จนหนังสือออก เขาก็ไม่พูดนะ เราก็ไม่ได้บอกว่าหนังสือเราชื่ออะไร คือเราว่าท่านก็รู้แหละแต่เหมือนทำเป็นไม่รู้ว่าหนังสือชื่ออะไร แต่ก็มีหลายคนที่ทำงานพ่อเอาหนังสือมาฝากให้เราเซ็น ชื่อหนังสือก็บอกชัดเจนขนาดนี้ แต่วันหนึ่งเราแต่งหญิงออกรายการก็ขนลุกเหมือนกัน มันเหมือนตอนหนึ่งในซีรีส์ที่เราพยายามเอาเรื่องนี้มาเล่า

 • ในซีรีส์เป็นเรื่องจริงประมาณกี่เปอร์เซ็นต์
 
ช่า : เราให้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นเรื่องจริง เราจะโดนยำเยอะมาก แล้วเวลาที่เราเขียนเรื่องนี้เราจะเขียนเป็นตอนๆ ใช่ปะ แล้วพอเป็นซีรีส์ เราจะต้องเรียงเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกันเลย เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีการเชื่อมต่างๆ ซึ่งในเรื่องก็เป็นงานเปิดตัวหลอดไฟ มีการปรับให้เนื้อเรื่องยาวและสนุกสนานได้ แต่อย่างท็อปในตอนฉากนี้เป็นแฟนเก่าเรา ที่พี่เติ้ลอยากมาโมด์มาเป็นพระเอก แต่จริงๆ มันไม่ได้มีบทบาทในชีวิตเราขนาดนี้หรอก แค่แฟนเก่าคนหนึ่ง เราเข้าใจแหละว่าการเขียนบทจะต้องผูกเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ฉากประชันกันก็มีจริง คือเป็นพนักงานบริษัทคนหนึ่งที่เมา แล้วมาเต้นใส่เพื่อนเรา เต้นสู้เรา เราก็บอกบรรยากาศให้พี่เติ้ลไป แล้วเขาก็เข้าใจ

 • ถามถึงเรื่องความรัก ทั้งสองคนมาเจอกันได้ยังไง

ช่า : รู้จักก่อนที่จะมาทำหนังสือเป็นช่วงแรกๆ 3-4 ปี ช่วงที่กำลังจะออกเล่มแรก ตอนแรกสุดนางเข้ามาถามเลยว่ายิ้มน่ารักจังเลย ลองยิ้มบ่อยๆ สิครับ แต่ก็มีเดตแล้วก็หายไปเป็นปีเลย คือคุยกันตอนแรกแค่ 1-2 สัปดาห์ แล้วก็มีเรื่องทะเลาะกัน แล้วหายไปเลย จนกระทั่งวันหนึ่งเราก็ไปถามเขาว่าช่วยดูปกหนังสือให้หน่อยสิ ตอนนั้นเล่มหนึ่งกำลังจะออก แล้วนางเป็นพวกออกแบบไง เราเลยส่งปกให้ดู แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดไง แค่ไปกินข้าวเฉยๆ แต่พอหลังๆ คิดไปๆ เราก็คิดว่าอาจจะเป็นคนนี้แหละ เพราะว่าคุยกันรู้เรื่องแหละค่ะ คุยไปหลายๆ อย่างไปในทางเข้าใจในทางเดียวกัน ความชอบต่างๆ หลังๆ ก็มีทะเลาะกันแหละ เป็นเรื่องแบบหยุมหยิม แต่ตอนที่หายไปปีหนึ่ง พัทก็มีคุยกับคนอื่นบ้าง แล้วก็ทำงานของตัวเองไป

ภัทร : เราชอบในเรื่องความมั่นใจของเขา ตั้งแต่แรกเลย ตั้งแต่ยังไม่มีซีรีส์ บางคนอาจจะมีในเรื่องความมั่น เวลาที่เขาโพสต์รูปอะไร เขาจะมีความเต็มที่กับลุคตลอดเวลา แล้วเวลาที่มีด้านที่ 2 ออกมา เขาก็มีหลายมุม แล้วเวลาที่เขาทำอะไร อย่างหนังสือ เขาดูมั่นใจ เรารู้สึกว่าชอบคนที่ทำอะไรในสิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม แล้วมุมของเขาชอบเป็นนักเขียน เขาเต็มที่มาก นี่คือจุดหลักที่เราชอบคนอย่างนี้ ส่วนที่เหลือคือสิ่งที่บวกและลบแล้วแต่สถานการณ์ไป คือตอนแรกที่บอกไป เราไม่คิดว่าเราจะจีบเขาได้ เพราะเขาไม่มีช่องให้เราเลย พอมันมีมุมหนึ่ง ก็รู้สึกว่าอีนี่มันก็หวานได้ด้วยนะ แสดงว่าไม่น่าจะกัด ก็เลยลองทักดู

 • แล้วพอได้ดูหน้าเขาครั้งแรกแล้วเป็นไง

ช่า : เจ๊ก (หัวเราะ) ก็แบบหน้าจีนๆ แป้นๆ ต่างคนก็ไม่ใช่สเปกของกันและกันหรอก เราชอบแบบ บอย-ปกรณ์ หรือกันต์ ส่วนภัทรจะชอบคนที่ผอมๆ แห้งๆ ประมาณแบบเข้มๆ ไทยๆ ผอมๆ ผิวแทนๆ ไม่ใช่สเปกที่ตัวเองชอบอยู่แล้ว แต่พอคนเรามีแฟนจริงๆ มันเป็นเรื่องชีวิตด้วย คือมันไม่มีหรอกที่จะได้แฟนตามสเปกจริงๆ

ภัทร : คือเรื่องหน้าตา ไม่ใช่อย่างที่ช่าบอก แต่จะเป็นเรื่องนิสัยและอื่นๆ มากกว่า ซึ่งพอมาถึงช่วงที่ทำงาน แล้วเราก็ไม่ได้หาอะไรที่หวือหวาขนาดนั้น คือถ้าเปลี่ยนหน้าได้อาจจะได้มั้ง (หัวเราะ)

 • วางแพลนอนาคตรึยัง

ช่า : อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก่อน ยังไม่ได้ถึงขั้นว่าซื้อบ้านอยู่ด้วยกัน เพราะกฎหมายทันยังไม่ได้เอื้อด้วยไง

ภัทร : ไม่ได้ถึงขั้นว่าแต่งงานอยู่ด้วยกัน แล้วมีลูก ก็คือต่างฝ่ายต่างทำงาน อาจจะมีในเรื่องมาทำงานร่วมกันบ้าง ทะเลาะกันในการทำงานบ้าง

ช่า : ในส่วนที่ตัวเองหวังก่อน หลังๆ เลยมาบอกว่า จะไม่ทำงานด้วยกันดีกว่า ขำๆ ได้ แต่จะไม่แบบจริงจังแน่นอน เพราะต่างคนก็ต่างหาเงินได้เอง เราก็มีงานของเรา เขาก็มีของเขา เรื่องนี้ตัดไปเลย อาจจะมีเลี้ยงข้าวบ้าง แต่เรื่องเงินทองจะไม่ยุ่งกัน มันเลยเป็นจุดที่ว่าทำให้เราคบได้นาน เพราะว่าบางคู่เขาจะมีปัญหาเรื่องนี้

 • อย่างเรื่องกฎหมาย คู่เราต้องการมั้ย

ช่า : เราไม่รู้สึกว่ามันไม่จำเป็นกับเราเท่าไหร่ จนกระทั่งเราได้ไปเจออะไรที่มันจำเป็น เช่น เรื่องซื้อบ้าน ที่เราจะผ่อนด้วยกัน มันก็ยากอีก เพราะว่ามันจะต้องเป็นชื่อของใครสักคนอีก มันไม่ได้เป็นชื่อเรื่องกันได้ อย่างเรื่องผ่อนก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ คือถ้าชื่อเราชื่อเดียวมันก็ไม่แฟร์

ภัทร : มันต่างจากคู่สมรสปกติที่เขาทำได้จริงๆ

ช่า : เรารู้สึกว่าถ้ามันมีอะไรที่มาสนับสนุนในตรงนี้จริงๆ เราก็อยากให้คู่รักสามารถที่จะทำธุรกรรมได้ หรือเรื่องการรักษา การทำประกัน เพราะมันจำเป็นนะ ถ้าเราจะซื้อบ้านด้วยกัน แล้วผ่อนด้วยกันเอง สมมติว่าชื่อเป็นบ้านแฟนเราแต่เราต้องผ่อน เราก็รู้สึกว่ามันไม่แฟร์ แล้วถ้าเลิกกันล่ะ ซึ่งมีความคิดแวบนึงว่าจะผ่อนบ้านด้วยกัน แต่พอคุยกันไปมาอย่าเลย เพราะสุดท้ายจะเป็นชื่อเรา แล้วถ้ามีปัญหากัน เลิกกันล่ะ มันแบ่งกันไม่ได้ ก็ไม่ดีกว่า เราคิดว่าถ้ากฎหมายมารองรับตรงนี้ เราก็โอเคกว่า บางคนคิดว่าเรื่องแต่งงานด้วย แต่คนละอย่างกัน มันก็ครอบคลุมตรงนี้ด้วย เราคิดว่ามันควรจะมาร่วมกันจะดีกว่า ตอนนี้ก็มีกลุ่มที่จะผลักดันกฎหมายตรงนี้อยู่นะ เรายินดีที่จะสนับสนุนตรงนี้

 • มีเรื่องอะไรมั้ยที่ห้ามทำเลย

ช่า : เรื่องมีชู้ อันดับ 1 ซึ่งไม่มีเลย เพราะว่าเรารู้รหัสมือถือ รหัสที่เขาเข้ามือถือ แรกๆ เราเช็กนะ แล้วนางก็รู้ เวลามีอะไรเราก็บอกนางว่าไปเจออะไรแบบนี้มานะ เขาก็อธิบายว่าเจอแบบนี้ๆ มานะ แต่พอหลังๆ ก็ไม่เช็กแล้ว เพราะเรารู้สึกว่ามันไม่มีอะไรหรอก แบบอยู่ด้วยกันเยอะแล้ว ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรอีก

ภัทร : กลับบ้านก็เฟซไทม์อยู่ ทุกวันนี้ไม่ต้องเอียงคอ เอามือถือโชว์เลย นางรู้แล้ว คือทะเลาะเรื่องอื่นแล้วคุยเจรจาได้ ยกเว้นเรื่องนี้ คือครั้งเดียวจบเลย ไม่ให้โอกาสด้วย คือเวลามีปัญหาจะโกหก เที่ยว กินเหล้า สูบบุหรี่ เราสามารถเจรจาได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องนี้ยาก ไม่ได้เลย เพราะความสบายใจในแต่ละคู่ก็ไม่เหมือนกัน บางคู่ก็ฟรีๆ หน่อย แต่คู่เราคือเรื่องนี้ไม่ได้ เป็นกฎเลย

ช่า : แต่บางเรื่องก็ยากเหมือนกัน อย่างเรื่องกดไลก์ เราก็รู้ไงว่านางชอบแบบไหน กูแคปหน้าจอแล้วคุยเลย บ้านแตกเลยนะ นางก็ไม่รอดนะ แก้ตัวไม่ได้ เลยทะเลาะจริงจังเลย แต่นางก็บอกว่าจะระวังในการทำอะไรแบบนี้มากขึ้น ซึ่งมันเป็นเรื่องปกตินะที่ไปไลก์รูปผู้ชาย แต่พอเขาทำมันดูผิดไง

ภัทร : ประเด็นคือ เราเป็นคนไม่เช็กเลย บางทีนางโพสต์ไปก็ไม่ได้อ่านของนางด้วยซ้ำ แต่เราอ่านหมดนะ เราก็ไม่ได้ไปซอกแซกว่าคนนี้คือใคร ก็คือกลุ่มเพื่อนที่เรารู้จัก แต่กลับกันนางจะใช้เวลากับเราเยอะ

ช่า : แต่พอพ้นช่วงเวลานั้นไป เรามาคิดในแง่ว่าเราก็ไลก์รูปผู้ชายนี่หว่า คือเจอรูปผู้ชายน่ารัก มันก็แค่ไลก์ไง แต่บางทีเราก็รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องไง แต่ก็เคลียร์ลงตัวในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็น่าจะไม่มีใครคู่แบบนี้ด้วย ที่จู่ๆ ลงตัวทุกอย่าง อาจจะ 60-70 เปอร์เซ็นต์ที่ประคองกันไปได้

 • มาที่เรื่องงานบ้าง

ช่า : จากโปรเจกต์ yellow Thailand อยากให้มีรายการนี้ในประเทศไทย

ภัทร : คือก่อนหน้านี้ เราเป็นแฟนคลับ rule paul อยู่แล้ว แล้วเราก็ทำงานในด้านออกแบบ universal design เรื่องบุคคลหลากหลาย เราก็จะอ้างอิงในเรื่องความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ เราอินมาก แล้วรายการนี้มันสร้างความบันเทิงไปพร้อมๆ กับการให้ความรู้เรื่องของเพศทางเลือกที่นั่น เรารู้สึกว่ามันเจ๋งมาก และอยากให้มีในไทย ซึ่งก็ไม่คิดว่าจะมีในไทย จนถึงวันที่ออดิชัน เรารู้สึกว่ามันเป็นจังหวะที่ดี และใกล้ตัวเรา เรารู้จักหลายๆ คนที่อยู่ในทีมนี้ที่ทำงาน เรารู้สึกว่าเราควรจะใช้โอกาสนี้ได้ทำอะไรบางอย่าง ก็เลยเปิดช่องนี้ขึ้นมา เพราะชื่อนี้มันบอกอยู่แล้ว ซึ่งเราไม่มีปัญหาเลย จะเรียกเรายังไงก็ได้ แต่ถ้าเขาจำช่องเราจากชื่อนี้ได้ เราก็โอเค เพราะเราชอบสีเหลือง อย่างอีกเพจหนึ่งเราก็มีสีเหลืองประกอบ ทุกอย่างเป็นสีเหลืองหมด เราก็ทำควบคู่มากพร้อมกับ drag race Thailand แล้วก็มีเวลาที่จะทำคอนเทนต์ คือเราชอบทำเกี่ยวกับด้านออกแบบ เราก็ทำโปสเตอร์อะไรของเราเอง ดูแล้วมีความสุข พอได้ทำแล้วเราก็ได้สนับสนุนผู้เข้าแข่งขันด้วย จริงๆ เราอยากสนับสนุนกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสื่อเลย เพราะหลายคนคือเก่งมาก อีกอย่างโดยส่วนตัวเราเป็นแฟนคลับที่อยากจะสนับสนุน drag queen ซึ่งมันก็จะมีรุ่นเก๋าที่เขาอยู่ในวงการมานานมาก แต่ว่ามันก็อยู่ในเฉพาะกลุ่มไง แต่รายการนี้ทุกคนดูได้ทุกเพศทุกวัย แล้วหลายคนอยากจะเข้ารายการนี้เราไม่ได้มีอำนาจหรือเกี่ยวข้องกับทีมงาน เราเลยคิดว่า มาทำโปรไฟล์ให้ มาถ่ายรูป ทำวิดีโอให้ อย่างน้อยให้พื้นที่เล็กๆ มีแฟนคลับรู้จัก แล้วสักวันหนึ่งจะได้มีคนรู้จักเขา ถ้ามีส่วนได้ก็จะดีใจ

 • กระแสรายการเป็นยังไงบ้าง

ภัทร : ถ้าเป็นกระแสของแฟนคลับถือว่าโอเค เขารู้สึกว่าอย่างน้อยรายการจบแล้ว แต่ยังติดต่อผู้เข้าแข่งขันยังติดตาม ชีวิตหลังจากนั้นเป็นยังไง แต่ก็พยายามที่จะให้อยู่ในกระแสอยู่ แล้วก็มีโปรเจกต์ Dragathon วึ่งมันมาจาก Drag กับ มาราธอน ซึ่ง Drag ยังไม่จบแค่นี้หรอก มันจะมาเรื่อยๆ คือเราพยายามมีโปรเจกต์ทุกๆ เดือน ซึ่งเราจะหา Drag Queen ใหม่ๆ เอามาทำโปรไฟล์ คือทำอะไรทุกอย่างให้ แล้วแต่ Theam แต่ละคนจะเป็นยังไง ปล่อยออกไปให้คนรู้จัก คือได้ทั้งเก่าและใหม่ได้หมด ที่โชว์มาตลอด แต่ยังไม่มีใครมาถ่ายรูปสวยๆ ให้เลย หรือมีวิดีโอดีๆ สามารถติดต่อมาได้เลย แค่คุณเตรียมชุดและแต่งหน้ามา ที่เหลือจัดการให้ ถามว่าทำไปได้อะไร คือสปอนเซอร์เราก็อยากได้นะ แต่สุดท้ายเราอยากได้พาร์ตเนอร์ที่เขาเข้าใจ drag ด้วย ไม่ใช่แบบเอาสินค้าหนึ่งมาให้ถือมันก็ไม่ได้ แต่ถ้าอยากให้มาร่วมกันก็ได้ อยากจะสนับสนุนติดต่อได้เหมือนกัน อยากให้เป็นคนที่ชอบแบรนด์เหมือนกัน

กัส : ถามว่าเพจมันวงกว้างหรือยัง มันก็เป็นความชื่นชอบเฉพาะกลุ่ม จริงๆ เราก็หวังว่าจะให้วงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรามองว่ามันเป็นศิลปะนะ แต่บางคนก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร อาจจะเป็นแบบกลัวด้วยซ้ำ มันไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ภัทร : อย่างทีมงานเราก็เป็นผู้ชายและผู้หญิงจริงๆ เพียงแค่เขาเป็นศิลปินคนหนึ่ง แล้วเป็นผู้ชายที่แต่งหญิงแค่นั้นเอง ที่เหลือเหมือนกันหมด เขาแสดงได้ ร้องเพลงได้ ถามว่าความต่างนี้เป็นยังไง เราจะไม่ชอบนิยาม เพราะมันเหมือนว่าใช่หรือไม่ใช่ทันที เราว่ามันเป็นไปตามสถานการณ์ สมมติว่าผู้ชายที่สร้างคาแรกเตอร์บางอย่างขึ้นมา อาจจะมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของเราเองก็ได้ สร้างขึ้นมาเป็นตัวละครใดตัวละครหนึ่ง อาจจะเป็นคนเพศใดสักอย่าง นี่คือการทำ drag เพื่อที่จะโชว์ในแบบของเขา แล้วนางโชว์หลายๆ คนเป็นแบบนี้ อย่างเวลาเป็นคนปกติก็ใช้ชีวิตไป แต่พอมาเป็นพาร์ตนางโชว์เขาก็จะมีอีกคาแรกเตอร์หนึ่ง เราว่านี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ drag เพียงแต่ว่าบ้านเราอาจจะจดจำว่านางโชว์ต้องมีโชว์แบบเดียวกัน เพียงแต่ว่าพอมันเป็น dragqueen ปุ๊บ มันจะเห็นอะไรที่หลากหลายมากขึ้น โชว์ตลกก็ได้ โชว์ลิปซิงก์ แต่วส่วนใหญ่จะเป็นงี้ เพราะว่ามันเข้าถึงง่าย สุดท้ายมันมีหลากหลายมากเลย แล้วในบ้านเราจะเป็นแบบว่าผู้เข้าแข่งขันจะไม่เหมือนกันเลย ก็คือแต่ละแบบ แต่มันก็จะมีมากกว่านั้นอีก โดยรวมให้มองเป็นศิลปิน ง่ายที่สุด

ช่า : ส่วนเรามีสองรายการ คือ ดูเหอะ และ พาเธอกลับบ้าน โดยเฉพาะรายการหลังจะเป็นในแบบพาแขกรับเชิญกลับบ้าน จะเป็นแบบเชิญแขกรับเชิญแล้วพาไปส่งบ้าง หรือไปรับแขกฯ มาเพื่อวนเล่นๆ อาจจะพาไปร้านกาแฟ แต่รายการจะเป็นแบบพูดคุยเปิดใจในหลายๆ เรื่อง แล้วเราจะพูดคุยแบบนี้ไปเรื่อยๆ อันนี้ลงในยูทูป และเพจในบันทึกของตุ๊ด



กำลังโหลดความคิดเห็น