ท่ามกลางกระแสสังคมที่เกิดขึ้นของวงการแพทย์เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงจรรยาบรรณบุคลการศาสตร์การรักษา ทว่าในจังหวัดชัยนาทที่โรงพยาบาลบาลมโนรมย์กลับมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ โดยเฉพาะเมื่อคนไข้ผู้ป่วยได้รับการรักษากับ “อธิคม ตุ้ยขม” หรือ “หมอบิว” หนุ่มนักกายภาพบำบัดที่ใครๆ ในละแวกนั้นต่างยกเรียกขาน
แน่นอนว่า ไม่ใช่เพราะมีใบหน้าละอ่อนหล่อใสในวัย 28 ปีเป็นแรงดึงดูด
หากแต่คือการบริการด้วยใจอย่างสุจริตจริงแท้
รวมถึงการให้... ซึ่งทำด้วยใจจิตอาสา
(1)
เรียนรู้ที่จะให้ จึงได้รับ…
ปฐมบทคุณหมอนักกายภาพจิตอาสา
“จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักความชอบในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา และในระหว่างเรียนชั้นมัธยมปลาย ก็ได้ศึกษาและได้รับการแนะแนวความรู้เรื่องการเรียนสายสุขภาพว่าเขามีแบ่งออกเป็นสายอะไรบ้าง ซึ่งในตอนนั้นที่คิดไว้ก็มีสาธารณสุขศาสตร์กับกายภาพบำบัด ด้วยความที่เป็นคนชอบเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ก็เลือกที่จะมาเรียนทางสายกายภาพบำบัด
“ส่วนเหตุผลอีกข้อก็เกิดจากการได้เล่นกีฬาที่สอนให้เรารู้จักการเสียสละ การให้ อาชีพนี้สามารถดูแลเรื่องสุขภาพของคนในครอบครัวได้อย่างหนึ่ง และสองยังสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือสังคมได้อีก”
คุณหมอนักกายภาพบำบัดหนุ่มกล่าวถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางแห่งการช่วยเหลือผู้อื่น จากจุดแรกๆ ที่ได้ใช้วิชาความรู้เยียวยาบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งอย่างคุณปู่ที่ประสบอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมองแตก ป่วยเป็นอัมพาตจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“ตอนเรียนอยู่ประมาณชั้นปีที่ 2 คุณปู่ได้รับอุบัติเหตุ และเส้นเลือดในสมองแตก เรากำลังเรียนอยู่ ก็ได้เอาความรู้เอาไปฟื้นฟูท่านที่อยู่บ้าน โดยใช้การออกกำลังกาย ซึ่งในตอนนั้นเราก็เริ่มได้เรียนเรื่องสรีระวิทยา กายภาพศาสตร์ ก็พอเริ่มมีความรู้ แล้วก็ปรึกษารุ่นพี่กับอาจารย์ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เราก็เอากลับไปฟื้นฟูดูแลเบื้องต้น
“ผลก็คือร่างกายของคุณปู่กระเตื้องขึ้นมา ท่านหมั่นออกกำลังกายมากขึ้น ขยับแขนขยับขา ช่วยเหลือตัวเองในการถัดตัวไปกับพื้นเพราะไม่สามารถเดินได้ ท่านก็สามารถถัดตัวไปกินน้ำหรือใช้แขนอีกข้างหนึ่งกินข้าวเอง ลุกนั่งเอง อาการก็ดีขึ้นตามลำดับ แต่ที่สำคัญคือท่านดีใจ เพราะหลานกลับมาดูแล ท่านก็มีกำลังใจขึ้นมาก
“พอเรียนจบ ทำงานเราก็เจอคนไข้หลายคนหลายประเภท แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เขาก็จะมีความเครียดโรคของเขาที่กำลังเจ็บป่วยเป็นอยู่แล้ว เมื่อบวกกับการรอคิวรักษา บางทีมีอารมณ์ เราก็ต้องรับอารมณ์ตรงนั้นให้ได้ ต้องเก็บ ต้องใจเย็น ทำให้เขาเชื่อใจแล้วก็ค่อยๆ ใจเย็นลง ก่อนจะรักษา เขาก็สามารถคุยกับเราได้
“คือไม่ใช่แค่รักษาอาการภายนอกแต่รวมถึงภายในด้วย ต้องเยียวยาจิตใจของเขาไปด้วย เพราะโรคทุกอย่าง ความเครียดวิตกกังวลเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งตอนเรียน อาจารย์ก็สอนเสริมในเรื่องการดูแลจิตใจด้วย แล้ววันหนึ่งเรารับคนไข้ไม่ใช่แค่คนสองคน มากกว่า 10 คน นักกายภาพของเรามี 2 คน ถือว่าน้อย แล้วคนหนึ่งต้องรักษาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่าชั่วโมงหรือชั่วโมงครึ่ง ภาระงานจึงหนักพอสมควร พูดง่ายๆ ว่าแทบไม่ได้พัก คนต่อคนเข้ามา ก็เลยคิดหางานอดิเรกที่ช่วยในเรื่องตรงนี้”
ช่วยให้เรามีสมาธิ ใจเย็น ก็มาได้เรื่องการแกะสลักที่มีพื้นฐานศิลปะที่ชอบเรียนและได้รับโอกาสจากโรงเรียนเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถม 4 ซึ่งได้รับผลที่ดีในเรื่องของการทำงานและอารมณ์ ส่งผลให้ก้าวต่อไป จึงเกิดการสานต่อ สอนเด็กแกะสลักผักผลไม้ ที่โครงการถนนเด็กเดิน ต.หางน้ำสาคร อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งมีอาจารย์พรเทพ พรหมตระกูล เป็นผู้ก่อตั้ง
“สุขภาพจิตดี ก็ไม่ค่อยเกิดการเจ็บป่วย คุณภาพชีวิตดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขลักษณะอนามัยที่ดี เป็นการรักษาอย่างแท้จริง”
(2)
หนักก็ต้องทำ เหนื่อยก็ต้องทน
เพราะเคยได้รับ ถึงมีวันนี้
“ในระหว่างที่เริ่มจากตัวเองก่อน เราก็ไปซื้อมีดแกะสลักมา 20 บาท มาฝึกแกะแตงโม เราก็ได้สมาธิ ได้ผ่อนคลาย ก็เลยฝึกต่อเพิ่มเติมด้วยการศึกษาจากเว็บไซต์อย่างยูทูป แกะลายใหม่ๆ เพราะตอนประถมได้เรียนแค่ลายพื้นฐาน แล้วก็มีลืมๆ ไปบ้างแล้ว (ยิ้ม) ก็มาฝึกใหม่แกะตาม เสร็จแล้วก็ถ่ายรูปเล่นลงเฟซบุ๊กได้สองสามครั้ง ก็เริ่มมีคนสนใจ มีคนเข้ามาชื่นชม และมีพี่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมโนรมย์ที่เราทำงานอยู่มาเห็นเข้า เขาก็มาจ้างแกะสลักเพื่อที่จะเอาไปถ่ายรูปขึ้นโต๊ะอาหาร
“ก็เป็นแรงจูงใจอีกว่าสามารถนำมาฝึกเป็นอาชีพและรายได้เสริมของเราด้วย ก็หัดเรื่อยมา ทีนี้อาจารย์พรเทพ ท่านเห็นรูปในเฟซบุ๊กจึงได้ชักชวนให้เข้าร่วมสอนที่ถนนเด็กเดิน ซึ่งเด็กๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถเข้าร่วมได้ทุกคน จะมีการสนับสนุนทุนทรัพย์จากอาจารย์ท่านเองบ้าง ทีมงานถนนเด็กเดิน ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ใหญ่ใจดีในชุมชนเขาก็จะร่วมกัน เด็กๆ ที่มาเรียนกับเรา บางวันก็ 20-30 คน บางวันก็ 40-50 คน ก็ได้รับประโยชน์ ซึ่งเราก็เห็นว่ามันมีประโยชน์ ตรงกับเป้าหมายเราที่อยากช่วยเหลือสังคมใน ด้านที่เรามีความสามารถ เราไปสอนเด็กๆ เด็กเขาก็จะมีวิชาติดตัวไป ไม่มากก็น้อย”
นักกายภาพบำบัดทำงานหนักไม่แพ้บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ อย่างหมอหรือพยาบาล มีเวรอยู่ดึก มีตารางเข้าเช้า แต่อย่างไรก็ตาม อธิคมก็หาเวลาว่างจัดสรรปันส่วนเพื่อไปช่วยงานที่ถนนเด็กเดิน
“ถ้าถามว่าทำไมต้องทำขนาดนี้ เพราะว่าหนึ่ง เราเคยได้รับโอกาสจากโรงเรียน จากอาจารย์ที่สอนสั่งเรา ท่านก็ทุ่มเทให้เรา เราถึงได้มีวิชาความรู้ติดตัวมาหล่อเลี้ยงชีพเราได้ในวันนี้ มาช่วยคุณปู่ท่านให้หาย ให้มีความสุขอีกครั้ง ก็เกิดจากการถ่ายทอดความรู้ หรือในแง่ความชอบส่วนตัวอย่างกีฬาที่ได้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลประจำจังหวัดตากบ้านเกิดทุกปีในการแข่งขันรอบคัดเลือกภาค 5 หรือตัวแทนที่จังหวัดชัยนาท ก็เกิดจากโอกาสที่ผู้อื่นให้
“เราก็เอาความรู้ความสามารถที่พอมีทำความดีเพื่อชุมชนหรือสังคมเท่าที่จะทำได้ ซึ่งด้านสุขภาพทำเป็นประจำอยู่แล้วในงานหลัก ไม่ว่าจะรักษาฟื้นฟูในโรงพยาบาล ออกนอกสถานที่ ออกเยี่ยมบ้าน เป็นวิทยากรให้ความรู้ การรักษาด้านกายภาพบำบัด ในด้านจิตอาสา ก็สอนการสอนแกะสลักให้น้องๆ
“การแกะสลัก นอกจากได้มาฝึกปฏิบัติลงมือทำ ก็จะได้สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ การเข้าสังคม เพราะปัจจุบัน การเข้าสังคมอาจจะน้องลง เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีมากขึ้น นั่งเล่นเกม เล่นแทบเลตอยู่คนเดียว มาทำกิจกรรมตรงนี้ไม่กี่ชั่วโมงก็จะได้กิจกรรมที่หลากหลาย ได้ความรู้ ความสุข ผ่อนคลาย ทั้งผู้ปกคอรง เด็ก พอเกิดความเข้าใจ มันก็ส่งต่อไปยังการศึกษา อาชีพ วิถีชีวิตมันดีทั้งภายนอกและใน นำไปสู่สุขภาพที่ดีอย่างที่กล่าวไปตอนต้น
“แล้วความคาดหวังก็คือเขาอาจจะเอาไปใช้ในวิชาเรียนของเขาได้และจนถึงอาจจะได้รับโอกาสได้ไปแข่งขันหรือเอาไปต่อยอดอนาคตด้านงานคหกรรมเป็นเชฟทำอาหาร เป็นครูสอนศิลปะต่อไปหรืออย่างน้อยอาจจะได้เป็นไม้ต่อที่มาส่งต่อความรู้อนุรักษ์ความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นอันมีคุณค่าอัตลักษณ์คนเหนือ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดเล็กๆ ที่เราจะพัฒนาไปเป็นแหล่งค้นหาตัวตนของตัวเองว่าชอบทางด้านไหน”
(3)
ความรักเยียวยาทุกสิ่ง
บทส่งท้ายการดูแลรักษากันและกัน
“การเป็นผู้ให้ และได้ทำในสิ่งที่ชอบที่รัก มักจะได้ความสุขกลับมา เวลาเราชอบอะไร เราก็จะได้ความสุขจากตรงนั้น อย่างเช่นชอบดูแลคนไข้ พอเรารักษาได้ เราทำให้เขาดีขึ้น เราก็ได้ความสุขกลับมา แม้ว่าจะโดนด่าบ้าง แต่ถ้าเราค่อยๆ ทำไปเรื่อย ใจเย็นเขาก็ไม่ด่าเราเอง เขาก็เข้าใจและรักเรามากขึ้น กลายเป็นว่าจากแอนตี้ เขาค่อยๆ ชอบแล้วก็รัก”
คุณหมอนักกายภาพบำบัดกล่าวถึงผลลัพธ์ที่ได้รับจากการเป็นผู้ให้และส่งต่อโดยยืนยันได้จากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคนไข้เอ็นดู มีหิ้วผลหมากรากไม้ทั้งที่ปลูกเองหรือไม่ได้ปลูก บางทีแวะตลาดเห็นซื้อมาฝากทั้งกับข้าว น้ำ ขนม
“ปัญหาที่เกิดระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้ในปัจจุบันที่เราๆ ได้เห็นกันเพิ่มขึ้น คือคนไข้มีความเครียด เขามีความเจ็บปวดอยู่แล้ว เขาไม่สบายใจอยู่แล้ว มีแรงกดดัน มีคิดอะไรเยอะแยะ ด้วยความที่เขาไม่รู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ แต่เรารู้ เรามีความรู้ เราอาจจะไม่ได้กังวลหรือวิตก แต่ถ้าคนไข้ที่เครียดๆ มาเจอเราดุหรือมีเสียงแข็งกระแทกกับเขาในการอธิบาย เขาก็อาจจะเกิดอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นมาได้
“การแก้ไขก็คืออย่างแรกต้องเข้าใจเข้าก่อน แล้วก็นิ่งๆ อ่อนๆ กับเขา แล้วก็ย้อนกลับไปตรองดูว่า ถ้าเราทำสิ่งที่เรารักเราชอบ ชอบดูแลคนไข้ พอเรารักษาได้ เราทำให้เขาดีขึ้น เราก็ได้ความสุขกลับมา มันก็จะขยับความสัมพันธ์
“ทุกวันนี้ที่โรงพยาบาลของเราก็มีการพัฒนาระบบอย่างเรื่อการรอนาน ก็มีการพัฒนาระบบขึ้นว่าคนไข้คนหนึ่งรอนานกี่นาที กี่ชั่วโมงแล้วเรามาดูว่ามันติดขัดตรงไหน ตรวจช้า เครื่องอุปกรณ์ไม่พอ เจ้าหน้าที่ไม่พอ เราก็เสริมไปทีละอย่าง แก้ไขไปทีละอย่างเพื่อให้เวลารอนั้นเร็วขึ้น เขาได้รับการรักษาที่เร็วและพึงพอใจ ส่วนที่สองก็คือ มีการเสริมสร้างพัฒนาบุคลากรให้มีความร่าเริง ยิ้มแย้มกับคนไข้ พูดคุยอ่อนน้อม ซึ่งก็ได้ผล มีเคสคุณป้าท่านหนึ่งมาบ่อยมาก (ยิ้ม) เราก็ถามเขาว่ามาทำไมบ่อยๆ เขาบอกว่ามาที่นี่แล้วอารมณ์ดีมีความสุข อยากมาเจอหมอ ซึ่งตามความจริง ถ้าไม่เจ็บป่วยอะไรร้ายแรง เราไม่อยากมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว นั่งรอนาน เครียดเจอคนเยอะ วุ่นวาย แต่มันกลับกัน ถ้าเราทำตรงนี้ดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
“เราก็จะแนะนำแต่สิ่งที่ดี รักษาแต่สิ่งที่ดี เพราะบุคลากรทางการแพทย์มองคนไข้ไม่ใช่แค่คนไข้ แต่คือพี่น้อง ญาติ ครอบครัว ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพรัก ปัญหาจะหายไป ถ้าเราใช้ใจในการรักษา และที่สำคัญเมื่อใจดี ชีวิตก็ดี คือการรักษาอย่างแท้จริง”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : อธิคม ตุ้ยขม
แน่นอนว่า ไม่ใช่เพราะมีใบหน้าละอ่อนหล่อใสในวัย 28 ปีเป็นแรงดึงดูด
หากแต่คือการบริการด้วยใจอย่างสุจริตจริงแท้
รวมถึงการให้... ซึ่งทำด้วยใจจิตอาสา
(1)
เรียนรู้ที่จะให้ จึงได้รับ…
ปฐมบทคุณหมอนักกายภาพจิตอาสา
“จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักความชอบในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา และในระหว่างเรียนชั้นมัธยมปลาย ก็ได้ศึกษาและได้รับการแนะแนวความรู้เรื่องการเรียนสายสุขภาพว่าเขามีแบ่งออกเป็นสายอะไรบ้าง ซึ่งในตอนนั้นที่คิดไว้ก็มีสาธารณสุขศาสตร์กับกายภาพบำบัด ด้วยความที่เป็นคนชอบเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ก็เลือกที่จะมาเรียนทางสายกายภาพบำบัด
“ส่วนเหตุผลอีกข้อก็เกิดจากการได้เล่นกีฬาที่สอนให้เรารู้จักการเสียสละ การให้ อาชีพนี้สามารถดูแลเรื่องสุขภาพของคนในครอบครัวได้อย่างหนึ่ง และสองยังสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือสังคมได้อีก”
คุณหมอนักกายภาพบำบัดหนุ่มกล่าวถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางแห่งการช่วยเหลือผู้อื่น จากจุดแรกๆ ที่ได้ใช้วิชาความรู้เยียวยาบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งอย่างคุณปู่ที่ประสบอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมองแตก ป่วยเป็นอัมพาตจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“ตอนเรียนอยู่ประมาณชั้นปีที่ 2 คุณปู่ได้รับอุบัติเหตุ และเส้นเลือดในสมองแตก เรากำลังเรียนอยู่ ก็ได้เอาความรู้เอาไปฟื้นฟูท่านที่อยู่บ้าน โดยใช้การออกกำลังกาย ซึ่งในตอนนั้นเราก็เริ่มได้เรียนเรื่องสรีระวิทยา กายภาพศาสตร์ ก็พอเริ่มมีความรู้ แล้วก็ปรึกษารุ่นพี่กับอาจารย์ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เราก็เอากลับไปฟื้นฟูดูแลเบื้องต้น
“ผลก็คือร่างกายของคุณปู่กระเตื้องขึ้นมา ท่านหมั่นออกกำลังกายมากขึ้น ขยับแขนขยับขา ช่วยเหลือตัวเองในการถัดตัวไปกับพื้นเพราะไม่สามารถเดินได้ ท่านก็สามารถถัดตัวไปกินน้ำหรือใช้แขนอีกข้างหนึ่งกินข้าวเอง ลุกนั่งเอง อาการก็ดีขึ้นตามลำดับ แต่ที่สำคัญคือท่านดีใจ เพราะหลานกลับมาดูแล ท่านก็มีกำลังใจขึ้นมาก
“พอเรียนจบ ทำงานเราก็เจอคนไข้หลายคนหลายประเภท แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เขาก็จะมีความเครียดโรคของเขาที่กำลังเจ็บป่วยเป็นอยู่แล้ว เมื่อบวกกับการรอคิวรักษา บางทีมีอารมณ์ เราก็ต้องรับอารมณ์ตรงนั้นให้ได้ ต้องเก็บ ต้องใจเย็น ทำให้เขาเชื่อใจแล้วก็ค่อยๆ ใจเย็นลง ก่อนจะรักษา เขาก็สามารถคุยกับเราได้
“คือไม่ใช่แค่รักษาอาการภายนอกแต่รวมถึงภายในด้วย ต้องเยียวยาจิตใจของเขาไปด้วย เพราะโรคทุกอย่าง ความเครียดวิตกกังวลเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งตอนเรียน อาจารย์ก็สอนเสริมในเรื่องการดูแลจิตใจด้วย แล้ววันหนึ่งเรารับคนไข้ไม่ใช่แค่คนสองคน มากกว่า 10 คน นักกายภาพของเรามี 2 คน ถือว่าน้อย แล้วคนหนึ่งต้องรักษาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่าชั่วโมงหรือชั่วโมงครึ่ง ภาระงานจึงหนักพอสมควร พูดง่ายๆ ว่าแทบไม่ได้พัก คนต่อคนเข้ามา ก็เลยคิดหางานอดิเรกที่ช่วยในเรื่องตรงนี้”
ช่วยให้เรามีสมาธิ ใจเย็น ก็มาได้เรื่องการแกะสลักที่มีพื้นฐานศิลปะที่ชอบเรียนและได้รับโอกาสจากโรงเรียนเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถม 4 ซึ่งได้รับผลที่ดีในเรื่องของการทำงานและอารมณ์ ส่งผลให้ก้าวต่อไป จึงเกิดการสานต่อ สอนเด็กแกะสลักผักผลไม้ ที่โครงการถนนเด็กเดิน ต.หางน้ำสาคร อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งมีอาจารย์พรเทพ พรหมตระกูล เป็นผู้ก่อตั้ง
“สุขภาพจิตดี ก็ไม่ค่อยเกิดการเจ็บป่วย คุณภาพชีวิตดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขลักษณะอนามัยที่ดี เป็นการรักษาอย่างแท้จริง”
(2)
หนักก็ต้องทำ เหนื่อยก็ต้องทน
เพราะเคยได้รับ ถึงมีวันนี้
“ในระหว่างที่เริ่มจากตัวเองก่อน เราก็ไปซื้อมีดแกะสลักมา 20 บาท มาฝึกแกะแตงโม เราก็ได้สมาธิ ได้ผ่อนคลาย ก็เลยฝึกต่อเพิ่มเติมด้วยการศึกษาจากเว็บไซต์อย่างยูทูป แกะลายใหม่ๆ เพราะตอนประถมได้เรียนแค่ลายพื้นฐาน แล้วก็มีลืมๆ ไปบ้างแล้ว (ยิ้ม) ก็มาฝึกใหม่แกะตาม เสร็จแล้วก็ถ่ายรูปเล่นลงเฟซบุ๊กได้สองสามครั้ง ก็เริ่มมีคนสนใจ มีคนเข้ามาชื่นชม และมีพี่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมโนรมย์ที่เราทำงานอยู่มาเห็นเข้า เขาก็มาจ้างแกะสลักเพื่อที่จะเอาไปถ่ายรูปขึ้นโต๊ะอาหาร
“ก็เป็นแรงจูงใจอีกว่าสามารถนำมาฝึกเป็นอาชีพและรายได้เสริมของเราด้วย ก็หัดเรื่อยมา ทีนี้อาจารย์พรเทพ ท่านเห็นรูปในเฟซบุ๊กจึงได้ชักชวนให้เข้าร่วมสอนที่ถนนเด็กเดิน ซึ่งเด็กๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถเข้าร่วมได้ทุกคน จะมีการสนับสนุนทุนทรัพย์จากอาจารย์ท่านเองบ้าง ทีมงานถนนเด็กเดิน ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ใหญ่ใจดีในชุมชนเขาก็จะร่วมกัน เด็กๆ ที่มาเรียนกับเรา บางวันก็ 20-30 คน บางวันก็ 40-50 คน ก็ได้รับประโยชน์ ซึ่งเราก็เห็นว่ามันมีประโยชน์ ตรงกับเป้าหมายเราที่อยากช่วยเหลือสังคมใน ด้านที่เรามีความสามารถ เราไปสอนเด็กๆ เด็กเขาก็จะมีวิชาติดตัวไป ไม่มากก็น้อย”
นักกายภาพบำบัดทำงานหนักไม่แพ้บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ อย่างหมอหรือพยาบาล มีเวรอยู่ดึก มีตารางเข้าเช้า แต่อย่างไรก็ตาม อธิคมก็หาเวลาว่างจัดสรรปันส่วนเพื่อไปช่วยงานที่ถนนเด็กเดิน
“ถ้าถามว่าทำไมต้องทำขนาดนี้ เพราะว่าหนึ่ง เราเคยได้รับโอกาสจากโรงเรียน จากอาจารย์ที่สอนสั่งเรา ท่านก็ทุ่มเทให้เรา เราถึงได้มีวิชาความรู้ติดตัวมาหล่อเลี้ยงชีพเราได้ในวันนี้ มาช่วยคุณปู่ท่านให้หาย ให้มีความสุขอีกครั้ง ก็เกิดจากการถ่ายทอดความรู้ หรือในแง่ความชอบส่วนตัวอย่างกีฬาที่ได้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลประจำจังหวัดตากบ้านเกิดทุกปีในการแข่งขันรอบคัดเลือกภาค 5 หรือตัวแทนที่จังหวัดชัยนาท ก็เกิดจากโอกาสที่ผู้อื่นให้
“เราก็เอาความรู้ความสามารถที่พอมีทำความดีเพื่อชุมชนหรือสังคมเท่าที่จะทำได้ ซึ่งด้านสุขภาพทำเป็นประจำอยู่แล้วในงานหลัก ไม่ว่าจะรักษาฟื้นฟูในโรงพยาบาล ออกนอกสถานที่ ออกเยี่ยมบ้าน เป็นวิทยากรให้ความรู้ การรักษาด้านกายภาพบำบัด ในด้านจิตอาสา ก็สอนการสอนแกะสลักให้น้องๆ
“การแกะสลัก นอกจากได้มาฝึกปฏิบัติลงมือทำ ก็จะได้สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ การเข้าสังคม เพราะปัจจุบัน การเข้าสังคมอาจจะน้องลง เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีมากขึ้น นั่งเล่นเกม เล่นแทบเลตอยู่คนเดียว มาทำกิจกรรมตรงนี้ไม่กี่ชั่วโมงก็จะได้กิจกรรมที่หลากหลาย ได้ความรู้ ความสุข ผ่อนคลาย ทั้งผู้ปกคอรง เด็ก พอเกิดความเข้าใจ มันก็ส่งต่อไปยังการศึกษา อาชีพ วิถีชีวิตมันดีทั้งภายนอกและใน นำไปสู่สุขภาพที่ดีอย่างที่กล่าวไปตอนต้น
“แล้วความคาดหวังก็คือเขาอาจจะเอาไปใช้ในวิชาเรียนของเขาได้และจนถึงอาจจะได้รับโอกาสได้ไปแข่งขันหรือเอาไปต่อยอดอนาคตด้านงานคหกรรมเป็นเชฟทำอาหาร เป็นครูสอนศิลปะต่อไปหรืออย่างน้อยอาจจะได้เป็นไม้ต่อที่มาส่งต่อความรู้อนุรักษ์ความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นอันมีคุณค่าอัตลักษณ์คนเหนือ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดเล็กๆ ที่เราจะพัฒนาไปเป็นแหล่งค้นหาตัวตนของตัวเองว่าชอบทางด้านไหน”
(3)
ความรักเยียวยาทุกสิ่ง
บทส่งท้ายการดูแลรักษากันและกัน
“การเป็นผู้ให้ และได้ทำในสิ่งที่ชอบที่รัก มักจะได้ความสุขกลับมา เวลาเราชอบอะไร เราก็จะได้ความสุขจากตรงนั้น อย่างเช่นชอบดูแลคนไข้ พอเรารักษาได้ เราทำให้เขาดีขึ้น เราก็ได้ความสุขกลับมา แม้ว่าจะโดนด่าบ้าง แต่ถ้าเราค่อยๆ ทำไปเรื่อย ใจเย็นเขาก็ไม่ด่าเราเอง เขาก็เข้าใจและรักเรามากขึ้น กลายเป็นว่าจากแอนตี้ เขาค่อยๆ ชอบแล้วก็รัก”
คุณหมอนักกายภาพบำบัดกล่าวถึงผลลัพธ์ที่ได้รับจากการเป็นผู้ให้และส่งต่อโดยยืนยันได้จากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคนไข้เอ็นดู มีหิ้วผลหมากรากไม้ทั้งที่ปลูกเองหรือไม่ได้ปลูก บางทีแวะตลาดเห็นซื้อมาฝากทั้งกับข้าว น้ำ ขนม
“ปัญหาที่เกิดระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้ในปัจจุบันที่เราๆ ได้เห็นกันเพิ่มขึ้น คือคนไข้มีความเครียด เขามีความเจ็บปวดอยู่แล้ว เขาไม่สบายใจอยู่แล้ว มีแรงกดดัน มีคิดอะไรเยอะแยะ ด้วยความที่เขาไม่รู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ แต่เรารู้ เรามีความรู้ เราอาจจะไม่ได้กังวลหรือวิตก แต่ถ้าคนไข้ที่เครียดๆ มาเจอเราดุหรือมีเสียงแข็งกระแทกกับเขาในการอธิบาย เขาก็อาจจะเกิดอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นมาได้
“การแก้ไขก็คืออย่างแรกต้องเข้าใจเข้าก่อน แล้วก็นิ่งๆ อ่อนๆ กับเขา แล้วก็ย้อนกลับไปตรองดูว่า ถ้าเราทำสิ่งที่เรารักเราชอบ ชอบดูแลคนไข้ พอเรารักษาได้ เราทำให้เขาดีขึ้น เราก็ได้ความสุขกลับมา มันก็จะขยับความสัมพันธ์
“ทุกวันนี้ที่โรงพยาบาลของเราก็มีการพัฒนาระบบอย่างเรื่อการรอนาน ก็มีการพัฒนาระบบขึ้นว่าคนไข้คนหนึ่งรอนานกี่นาที กี่ชั่วโมงแล้วเรามาดูว่ามันติดขัดตรงไหน ตรวจช้า เครื่องอุปกรณ์ไม่พอ เจ้าหน้าที่ไม่พอ เราก็เสริมไปทีละอย่าง แก้ไขไปทีละอย่างเพื่อให้เวลารอนั้นเร็วขึ้น เขาได้รับการรักษาที่เร็วและพึงพอใจ ส่วนที่สองก็คือ มีการเสริมสร้างพัฒนาบุคลากรให้มีความร่าเริง ยิ้มแย้มกับคนไข้ พูดคุยอ่อนน้อม ซึ่งก็ได้ผล มีเคสคุณป้าท่านหนึ่งมาบ่อยมาก (ยิ้ม) เราก็ถามเขาว่ามาทำไมบ่อยๆ เขาบอกว่ามาที่นี่แล้วอารมณ์ดีมีความสุข อยากมาเจอหมอ ซึ่งตามความจริง ถ้าไม่เจ็บป่วยอะไรร้ายแรง เราไม่อยากมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว นั่งรอนาน เครียดเจอคนเยอะ วุ่นวาย แต่มันกลับกัน ถ้าเราทำตรงนี้ดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
“เราก็จะแนะนำแต่สิ่งที่ดี รักษาแต่สิ่งที่ดี เพราะบุคลากรทางการแพทย์มองคนไข้ไม่ใช่แค่คนไข้ แต่คือพี่น้อง ญาติ ครอบครัว ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพรัก ปัญหาจะหายไป ถ้าเราใช้ใจในการรักษา และที่สำคัญเมื่อใจดี ชีวิตก็ดี คือการรักษาอย่างแท้จริง”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : อธิคม ตุ้ยขม